ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 10:14:19 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด อนุโมทนาสาธุครับผม
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2010, 09:21:17 pm »



Dialogue คือ การร่วมกันหาความหมาย
Dialogue = shared meaning

ร่วมกันหาความหมายของชีวิต : 

 

อ ฌานเดช  พ่วงจีน   เมื่อ อธิบายถึง   ฐานกาย ใจ และ ความคิด

ก็มักจะเชื่อมโยงว่า  ฐานกาย = อยู่รอด   คือ เอาตัวรอด เลี้ยงฐานกาย  กิน ขับถ่าย สืบพันธุ์ พักผ่อน และ การดูแลตนเอง (สุขภาพของตนเอง)

ฐานใจ = อยู่ร่วม   คือ จิตใจเป็นเรื่องสำคัญ   มาทำ Dialogue เพื่อใจสู่ใจ ใจรวมกัน สามัคคี    ดังนั้น ทำ Dialogue จึงมักจะไม่ขัดใจกัน   

ฐานคิด = อยู่อย่างมีความหมาย   เพื่อตอบโจทย์ เพื่อกระทำภารกิจ (Mission) ที่ได้รับมอบหมายมา ในโอกาสที่ได้มาเกิดเป็นคน

เจ้าคำว่า "อยู่อย่างมีความหมาย" นี้ ลึกซึ้งมากนะ    ....  อยู่ไปเพื่ออะไร   เกิดมาเพื่ออะไร   ตายแล้วไปไหน  ทำไมต้องทำความดี  ฯลฯ

**********

ในการฝึก Dialogue นั้น  ผมขอเสริมว่า :-

การ Dialogue จริงๆ เป็น การฝึก สร้างตัวรู้   

ผู้รู้ มีหน้าที่ "รู้"   มี job description คือ รู้ ๆๆๆๆ

หาก ผู้รู้  ไปทำหน้าที่ คิด   ก็ผิดหน้าที่

หากผู้รู้  ไปบังคับจิต ไปบังคับความคิด  เราก็เครียด เกร็ง เพ่ง หนัก    ก็ไม่ใช่ผู้รู้อีกแล้ว เพราะ ทำผิดหน้าที่

ผู้รู้ คือ อะไร    จะค้นหาผู้รู้ในตนเองได้อย่างไร   น่าจะเป็น "พื้นฐาน" การทำ Dialogue ที่สำคัญ    ไม่ใช่จู่ๆ  โดดมาเข้าวง  มืด จุดๆเทียน  ฟังเสียงเคาะระฆัง ฯลฯ  มันโดดข้ามขั้นมาเร็วไปนิดหนึ่ง

การทำ Dialogue  เป็นเรื่องของ จิตดูจิต   ไม่ใช่ แค่ ดูจิต

ต้องมีผู้รู้่  "หาจิตให้เจอก่อน"   รู้จักจิตก่อน เข้าใจจิตก่อน จับสภาวะจิตที่โล่ง โปร่งสบายได้ก่อน   เมื่อ หาจิตเจอแล้ว  ก็เอาจิตนี่แหละไปดูจิต

ไม่ใช่ ข้ามขั้น ...เอะ อะ ก็จะดูจิต ....  มันจะหลงไปเอา "ความคิดไปดูจิต"   แทนที่ จะเอาจิตไปดูจิต

จิตเมื่อเกิดอาการ ก็รู้ ๆ เท่านั้น  ไม่ต้องไปร้องห่ม ร้องไห้   หรือ อิน ไปกับเรื่องเล่า  ยกเว้น ครั้งแรกๆ ที่ฝึก  ก็ต้องมีเผลอ ร้องไห้ไปบ้าง ก็ไม่เป็นไร   แต่ อย่าถี่ อย่าบ่อย

เมื่อจิตเกิดอาการ  ก็ต้องฝืน ข่ม ดับ ละ วาง ฯลฯ หายใจลึกๆ ดีดนิวรณ์ออกไป   หากยอมไหลตามอาการ  อีกหน่อยจะเคยชิน จะแก้ยาก   กิเลสจะได้ใจ

หาก หาจิตยังไม่เจอ  ยังไม่พบ "ผู้รุ้"     ก็จะ หลงได้ง่ายๆ

เมื่อมี ผู้รู้ (ไม่ใช่คน แต่ เป็น สภาวะในกายในใจของเรา)  รู้สภาวะจิตของตน   รักษาจิตตนให้โล่งๆ    เราก็จะเห็นความคิดที่เข้ามาปรุงแต่งจิต   

Scharmmer พูดถึง ความคิดนี้ว่า เป็นเสียงภายใน    ที่ มี 3 เสียง คือ

เสียงภายในแห่งการตัดสินพิพากษา  (VOJ)
เสียงภายในแห่งความผลักไส เหินห่าง  (VOC)
เสียงภายในแห่งความกลัว (VOF)
เมื่อ จิตเห็นจิต  แล้ว  ก็จะไม่ยากเลย ที่จะฟังเชิงลึกได้  ไม่พิพากษาได้  ... ฝึกแบบฝรั่ง บอกก็โอเค แต่ ไม่สุดยอด .... 

ฝรั่ง ศึกษา ธรรมะ จากสายธิเบต แล้ว เอาไปประยุกต์  เป็น ตำรา Dialogue บ้าง  เป็นตำรา Theory U บ้าง    ทั้งๆ  ที่ เราอยู่เมืองไทย  มีครูบาอาจารย์สายตรง  สอนธรรมะตรงๆ   แต่ เราก็ยัง อ้อมๆ  ไป เอาของฝรั่ง    ของ Bohm  ของ Senge ของ Wheatley ของ Scharmmer  เป็นต้น   มาเป็นสรณะที่พึ่ง  ... ทำไม ต้องอ้อม เนอะ ???   โอกาสที่ฝรั่ง เข้าใจผิด ก็มีได้นะ   ...โอกาสที่ฝรั่ง "สอนถูกทางแต่ไม่สุดทาง" ก็มีนะ ...  ถ้าฝรั่งพวกนี้ มาเมืองไทย  เจอ หลวงปู่ หลวงพ่อ  คงบรรลุธรรมได้อย่างสบายๆ ถ้าไม่โม้สะก่อน   เพราะ  หลายคน "เขียน ในสิ่งที่ตนทำไม่ได้"   

เป็นความรู้ จาก ฐานคิด   จำเขามา ประยุกต์เอง  ความรู้มือสอง  ไปยืนดูข้างเวทีแต่ไม่ไ่ด้เล่นเอง   นักข่าว อีกาคาบข่าว   เครื่องทำสำเนา   ฯลฯ   

 

ทำตัวเรานี่แหละให้เป็นที่พึ่งของตน   ฝึกๆๆๆๆๆๆๆ  ทำซ้ำๆๆๆๆๆ  สร้างบา (Bar) หรือ บารมี  ให้มากๆ ( บารมี แปลว่า มี ขั้น  ซ้อนๆๆๆ ทับๆๆๆ สูงขึ้นไป .. นึกถึง บาร์ โหนขึ้นไป สูงขึ้นไป  ... อย่าไปนึกถึง bar ที่แปลว่า ร้านเหล้า) .... บารมี ๑๐ ทัศ   เคยอ่านไหม

หลวงปู่ หลวงพ่อ ของไทย เรา  มีหลายรุปที่ เก่ง และ ปฏิเวธแล้ว  เป็นบัณฑิต  ของจริงแท้  ยิ่งกว่า ฝรั่ง   สอนเรื่อง จิตดูจิต  ได้ตรงๆ   เป็น คุรุ (guru) ด้าน Dialogue จริงแท้แน่นอน  ....เราควร เอากาย เอาใจ เข้าไปศึกษา  สร้างความเพียร   ค้นหา ตัวจิต  ค้นหาตัวผู้รู้ (ในกาย ในใจ ของเรา)  เมื่อแยก จิตและความคิด  ได้ชัดเจน   ... ก็จะเอาไปประยุกต์ได้หมดเลย 

http://gotoknow.org/blog/ariyachon/301350