ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2010, 11:47:58 pm »

 :45: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2010, 06:53:24 pm »

อาตมาก็ใช้เวลาพอสมควรแล้วนะ เพื่อที่จะชี้แนวทางของการอยู่สบาย ตายสงบ ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งถ้าเรารู้แล้วว่าจะตายอย่างสงบได้อย่างไร มันก็จะทำให้เราหันมาดำเนินชีวิต ที่เป็นไปเพื่อการอยู่อย่างผาสุก เพราะว่าอยู่กับตายเป็นเรื่องเดียวกัน ถ้าเรารู้ว่าจะอยู่อย่างไร  ถ้าเรารู้วิธีจะอยู่อย่างสงบ  ก็จะสามารถตายอย่างสงบ และถ้าเรารู้วิธีที่จะตายสงบ เราก็จะสามารถดำเนินชีวิต ให้เป็นไปในทางที่สงบ ร่มเย็นได้ มีภาษิตหนึ่งที่พระเดชพระคุณ พระศาสนโสภณได้เขียนเอาไว้ ได้นิพนธ์เอาไว้ว่า
 
ระลึกถึงความตายสบายนัก 
มันตัดรักหักหลงในสงสาร (อันนี้ปล่อยวาง) 
บรรเทามืดโมหันต์อันธการ
ทำให้หาญหายสะดุ้งไม่ยุ่งใจ


ก็ขอยุติการแสดงธรรมแต่เพียงเท่านี้

(พระอาจารย์เริ่มสอนการภาวนา)

โอกาสต่อไปก็จะเป็นช่วง เรียกว่าวางจากความคิด  ให้กลับมาอยู่กับปัจจุบัน ก็คือเป็นช่วงภาวนานั่นเอง วันนี้ญาติโยมก็นั่งมามากแล้วนะ เดี๋ยวขอเชิญญาติโยมลองลุกขึ้นยืนสักหน่อย ภาวนาด้วยการยืน อยู่กับที่นะไม่ต้องไปไหน ลองหลับตาดู หลับตา รับรู้ถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับกายของเรา มันมีความเมื่อยความปวดอย่างไรบ้าง หรือมีความชา รับรู้มันเฉย ๆ นะ ไม่ต้องผลักใสมัน ทีนี้ก็น้อมใจมาที่ลมหายใจ หายใจเข้า หายใจออก ให้รู้สึกลมหายใจที่เข้า รู้เฉย ๆ ไม่ต้องกด ไม่ต้องเพ่งมาก หายใจออกก็เช่นเดียวกัน หายใจสบาย ความนึกคิดมันมีผุดขึ้นมาบ้างหรือเปล่า มีความนึกคิดผุดขึ้นมา ก็วางซะก่อน ให้น้อมมาหยุดลมหายใจอย่างเดียว ลมหายใจคือปัจจุบันขณะ คิดถึงเรื่องอะไร ใคร่ครวญถึงสิ่งที่อาตมาเพิ่งบรรยายไป ก็วางไว้ก่อน ในระหว่างนี้ก็อาจจะมีทุกขเวทนา เป็นแบคกราวด์  รู้เบาๆ ความเมื่อย ความปวดก็รู้เบาๆ และถ้าไม่มีก็แล้วไป

เอาละทีนี้โยมก็ลองกลับมา นั่งในท่าเดิม เราจะภาวนาในท่านั่ง รู้สึกถึงอาการที่กำลังเขยื้อนขยับด้วยนะ อย่าผลีผลาม เวลาเราลุกขึ้น หรือเวลาเราลงมานั่งก็อย่าทำด้วยใจที่ผลีผลาม เอาล่ะก็ ขอให้เราใช้เวลาช่วงนี้เป็นเวลาที่ เราว่างเปล่าจากความคิดมั่ง เมื่อกี้เราใช้ความคิดตามที่คำบรรยายของอาตมาพอสมควรแล้ว ก็อยากจะให้เราได้เกิดสมดุลในจิตใจ ด้วยการทำใจให้ว่างจากความคิด ไม่ใช่ด้วยการบังคับไม่ให้คิดนะ แต่ด้วยการที่เรามีสติรู้ ปฏิบัติ  เคยปฏิบัติแนวทางไหน ก็ทำอย่างนั้นตามลมหายใจหรือว่ารู้ท้องพองยุบ ก็แล้วแต่ ให้ทำด้วยใจที่สบาย ไม่พยายามบังคับควบคุม เผลอคิดก็รู้ วาง กลับมาที่ลมหายใจนี้  หรือว่าท้องที่พองยุบ ให้รู้สึกสบาย ให้เวลาช่วงนี้เป็นเวลาที่ศักดิ์สิทธิ์  อดีตกับอนาคตจะเข้ามาแทรกแซงไม่ได้ งานการสำคัญแค่ไหน ก็ค้างคาไว้ก่อนที่บ้านหรือที่ทำงาน ตอนนี้เป็นเวลาที่เราจะได้อยู่กับปัจจุบันจริง ๆ  อะไรจะล่วงล้ำเข้ามามิได้ เท่านี้ก็พอสมควรแก่เวลา


Credit by : http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y9803872/Y9803872.html
: เวปอกาลิโกโฮม
: สุขใจดอทคอม

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2010, 06:34:56 pm »

อันนี้คืออานิสงส์ในการน้อมถึงสิ่งที่ดีงาม ซึ่งเราสามารถทำเองได้ อาจจะไม่ต้องมีคนมาช่วยนำทางให้ แต่ถ้ามีก็ดี  และสองปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ รวมทั้งปล่อยวางสิ่งที่ยึดติดกังวล เราต้องเรียนรู้ที่จะปลดเปลื้องสิ่งเหล่านี้ ถ้าเราทำได้แต่เนิ่น ๆ ก็ดี แต่ถ้าเกิดว่ามันยังมีอะไรให้กังวลอยู่ก็ต้องปล่อยวางแล้วล่ะ  ตรงนี้คนทั่วๆ ไปอาจจะทำได้ยาก ถ้าไม่ได้ฝึก ก็อาจจะต้องมีกัลยาณมิตร มาช่วยนำให้ปล่อยวาง และการปล่อยวางที่สำคัญคือ ปล่อยวาง ความยึดติดถือมั่นในตัวตน ปล่อยวางแม้กระทั่ง ความอยากจะไปสวรรค์ พระพุทธองค์ได้ตรัสสอน ผู้ที่จะไปแนะนำผู้ใกล้ตายว่า

อันที่หนึ่งให้น้อมใจให้เขานึกถึงพระรัตนตรัย
 
สองให้เขามีศรัทธามั่นคงในอริยกันตศีล (ศีลที่พระอริยะเจ้าใคร่ปรารถนา
ไม่เป็นลีลัพพตปรมาส แต่ว่าเป็นศีล และวัตรที่บริสุทธิ์ ดำเนินไปเพื่อสมาธิ)

และสาม นำให้เขาปล่อยวางลูกหลานทรัพย์สมบัติ  แม้กระทั่งสวรรค์ 
คือไม่เอาอะไรเลย เพราะว่าไอ้ความอยากจะไปสวรรค์ บางทีมันก็ทำให้ทุกข์
   

นักปฏิบัติหลายคน เวลาจะตายจะทุกข์มากเลย เพราะว่ากลัวว่าจะไม่ได้ไปสวรรค์ ชั้นนั้น ชั้นนี้ อย่างที่ตั้งใจเอาไว้ ดังนั้นการปล่อยวาง แม้กระทั่งสวรรค์ เป็นสิ่งที่ควรที่จะฝึกกันด้วย  หรือแม้แต่การปล่อยวางความเจ็บความปวด ปล่อยวางความอยากจะให้จิตสงบ อันนี้ก็สำคัญนะ ปล่อยวางความเจ็บความปวด จิตมันกระเพื่อมเพราะความเจ็บความปวด ก็ดูจิตมันเฉยๆ  พวกเราที่อยากจะตายสงบนี่ พอใกล้จะตาย บางทีจิตมันก็ไม่สงบนะ เพราะว่าทุกขเวทนาบีบคั้น เราอาจจะไม่รู้วิธีที่จะปล่อยวางทุกขเวทนาได้ แต่ถ้าเราเรียนรู้ ที่จะดูใจที่มันกระเพื่อม ดูใจที่มันไม่สงบ และก็ดูรู้เฉยๆ ไม่ต้องไปควบคุมบังคับให้มันสงบ

อันนี้เราปล่อยวางจริงๆ คือมันไม่สงบก็ช่างมัน ตรงนี้แหล่ะเป็นจุดสำคัญ แม้ไม่สงบก็รู้ว่าไม่สงบ ก็จะทำให้สามารถที่จะผ่านจุดเลวร้าย แล้วในที่สุดก็สามารถจะสงบได้ แล้วก็อาจจะสว่างด้วย ก็คือเกิดปัญญา ตรงนี้แหล่ะที่อาจารย์พระพุทธทาสบอก ตกกระไดพลอยกระโจน ก็คือว่าไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่ต้องกลัวว่าจะไปไหน ให้อยู่กับปัจจุบันขณะให้ได้ ไม่ใช่ว่าโดดลงจากบันไดแล้ว ก็ไปคิดข้ามชอร์ต ไปคิดว่าจะไปลงท่าไหนดี ให้เราอยู่กับปัจจุบัน ยอมรับสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นด้วยใจที่เป็นกลาง  เวทนาก็ดี  ความไม่สงบก็ดี  จิตที่กระเพื่อมก็ดี  เห็นมันตาม   ที่เป็นกลาง  ด้วยใจที่เป็นกลาง  ก็ทำให้สามารถที่จะตายอย่างสงบได้
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2010, 06:22:59 pm »

แต่ว่าจะปล่อยวางได้ดี ถ้าเราทำหน้าที่กับเขาอย่างดี เราไม่ผัดผ่อน มีเวลาเราดูแลเขา ให้เวลากับเขา หรือตอบแทนบุญคุณคุณพ่อคุณแม่ เมื่อเราทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างดี ถึงเวลาจะไปก็ปล่อยวางได้ง่าย แต่ถ้าเกิดว่าเรายังมีอะไรขาดตกบกพร่องสักหน่อย แต่ว่าทำได้ดี ภูมิใจ พอใจแล้ว ก็ปล่อยวางได้ง่าย มันไปด้วยกัน ขวนขวายในสิ่งที่ชอบผัดผ่อน มันก็จะช่วยทำให้เราปล่อยวางในสิ่งที่ชอบยึดติดได้ง่าย และไม่ใช่แค่ปล่อยวางสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เรารักนะ ปล่อยวางสิ่งที่ไม่รักด้วย สิ่งที่ไม่ชอบด้วย สิ่งที่เป็นยาพิษด้วย ก็คือความโกรธ คือความรู้สึกผิดบางอย่างที่ยังไม่ได้ปลดเปลื้อง ถ้าเรามีเวลาที่จะสะสางในขณะที่ยังมีชีวิตปกติอยู่ก็เป็นเรื่องดี อย่าผัดผ่อน แต่ถ้าหากว่าไม่สามารถที่จะสะสางได้ทันเวลา ก็ต้องเรียนรู้ที่จะปล่อยวางให้ได้
 
การเจริญมรณะสติ มันช่วยทำให้เราปล่อยวางสิ่งที่ชอบยึดติด มันไม่ใช่เพื่อประโยชน์ในตอนที่จะตายเท่านั้น แต่ว่ามันช่วยทำให้ในชีวิตประจำวันของเรา จะมีเรื่องค้างคาใจกับคนอื่นได้น้อยลง เวลาเราทะเลาะกับคนเรื่องงานเรื่องการก็ดี เรื่องที่จอดรถก็ดี เรื่องเอาขยะมาวางไว้ที่หน้าบ้านเราก็ดี มันเป็นเรื่องจริงเรื่องจัง เรื่องเป็นเรื่องตายมากเลย แต่ทันทีที่เรานึกถึงความตายว่าสักวันหนึ่ง หรือ คืนนี้เราจะต้องตาย ไอ้เรื่องที่ทะเลาะกับเขานี่เรื่องจิ๊บจ๊อยไปเลย  พอรู้สึกเช่นนี้นี่มันปล่อยเลยนะ มันปล่อยเลย แล้วก็สบาย อันนี้เป็นประโยชน์ของการเจริญมรณะสติ ที่ไม่เพียงแต่ช่วยทำให้เราปล่อยวางได้ในเวลาเราจะตาย แต่ว่าในช่วงที่เรามีชีวิตอยู่ เราก็จะมีชีวิตที่สุขสบายมากขึ้น เพราะเราไม่มีเรื่องเคียดแค้นใครอยู่ในใจ

และการเจริญมรณสติ มันดีอีกอย่างหนึ่ง ก็คือมันทำให้เราเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรามี  สิ่งที่เรามี เรามักไม่ค่อยเห็นคุณค่า แทบทุกอย่างในชีวิตเรานี้  มันจะมีคุณค่าในความรู้สึกของเรา เมื่อเราสูญเสียสิ่งนั้นไปแล้ว แต่ทำไมเราจะต้องรอให้สูญเสียสิ่งนั้นไปก่อน จึงจะเห็นคุณค่า ทำไมเราไม่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นตั้งแต่ขณะที่ยังอยู่กับเรา ไม่ว่าจะเป็นคนรัก ไม่ว่าจะเป็นสามี ภรรยารวมทั้งเวลาด้วย รวมทั้งสุขภาพด้วย เราจะเห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร ก็เมื่อเราระลึกถึงความตาย ระลึกถึงความเจ็บความป่วย ว่าเมื่อเราเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นมา ไอ้สิ่งที่เรามีทั้งหมดก็จะสูญหายไปเลย เวลาเรานึกว่าเราต้องพิการ  จะต้องเป็นอัมพฤต อัมพาต  เราจะรู้สึกเลยว่า การที่เราเดินเหินไปไหนมาไหนได้ แค่นี้ก็วิเศษแล้ว  ไม่ต้องมีเงินทอง ไม่ต้องมีชื่อเสียง มีบริษัท บริวารมากก็ได้ ความสุขมันจะกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาทันทีเลย เพราะว่าความสุขไม่ใช่เป็นเรื่องที่ต้องไปหามาจากข้างนอก ความสุขเป็นเรื่องที่มันมีอยู่แล้วในตัวเรา ทันทีที่เราชื่นชมสิ่งที่เรามี

การเจริญมรณะสตินี้ มันไม่เพียงแต่ช่วยให้เราพร้อมให้ที่จะรับมือกับความตายได้ดีเท่านั้น แต่ว่ามันยังช่วยทำให้เรามีชีวิตได้อย่างมีความสุข มีชีวิตด้วยจิตแจ่มใสมากขึ้น แล้วคราวนี้ถ้าเกิดว่า เมื่อถึงเวลาที่เราจะต้องจากไป ถ้าหากว่าเราได้ทำ 3 สิ่งครบนี้นะ ก็คือว่า

๑ ขวนขวายสิ่งที่ชอบผัดผ่อน
๒ ปล่อยวางในสิ่งที่ชอบยึดติด และ
๓ เห็นคุณค่าของสิ่งที่เรามี


การตายก็เป็นเรื่องที่เราพร้อม  มากขึ้น และถ้าหากเราทำหน้าที่ดีกับทุกคน เราสร้างบุญกุศล  สร้างความดี เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมให้เราสามารถตายสงบได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุญย่อมนำให้เกิดสุขในเวลาสิ้นชีวิต ในเวลาสิ้นชีวิตมีสิทธิเป็นสุขได้นะ ถ้าหากว่าเราทำบุญ สร้างบุญสร้างกุศลทำความดี หนีความชั่ว และรวมถึงการฝึกจิตฝึกใจอยู่เสมอ การเจริญสติ การทำสมาธิภาวนา เป็นสิ่งที่เราควรขวนขวาย อย่าผัดผ่อน และก็ฝึกใจให้ปล่อยวางด้วย

อาตมาจะพูดอีกสักหน่อย สำหรับคนที่พอใกล้ถึงวาระสุดท้ายของชีวิต หลังจากที่ได้ทำความดีมา ชีวิตก็ได้ประสบความสุขความเจริญ จิตใสใจสบายแล้ว พอถึงช่วงระยะสุดท้ายของชีวิต ก็เป็นเรื่องที่จะต้องใส่ใจว่า เราจะวางจิตอย่างไร ก็จะมีหลักง่ายๆว่า ให้เราน้อมรำลึกถึงสิ่งดีงามที่ได้ทำมา พระพุทธเจ้าตรัสว่า เวลาพระพุทธเจ้าจะแนะนำผู้ใกล้ตาย พระองค์จะน้อมใจเขาให้ระลึกถึงพระรัตนตรัย  เพื่อปลูกศรัทธาให้มั่นคงในพระรัตนตรัย คนเรานี้พอนึกถึงความดีที่เรานับถือ  เราก็จิตใจแช่มชื่นเบิกบาน ทุกขเวทนาที่บีบคั้นก็จะเบาบางลง หรืออาจจะเป็นสิ่งดีงามที่เราภูมิใจ ใจเราจะเป็นกุศล สิ่งที่มารบกวนจิตใจไม่ว่าจะเป็นทุกขเวทนา หรือว่านิมิตที่เป็นกรรมนิมิตไม่ดีก่อนตาย บางคนเวลาใกล้ตายจะมีนิมิตหลายอย่างเกิดขึ้น ถ้าใจเราไม่น้อมไปในสิ่งที่เป็นกุศล อาจจะถูกนิมิตเหล่านี้มารบกวน หรืออาจจะมีความรู้สึกค้างคาใจอะไรบางอย่าง
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2010, 06:20:11 pm »

เมื่อเราระลึกถึงความตายเช่นนี้ ก็จะทำให้เราขวนขวายในสิ่งที่เราชอบผัดผ่อน มีหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิต ที่มีความสำคัญต่อเรามาก แต่เราผัดผ่อน เช่น การปฏิบัติธรรม การทำความดี  หรือแม้แต่เรื่องพื้น ๆเช่นว่าการดูแล เยี่ยมเยียนผู้มีพระคุณ คุณพ่อคุณแม่ หรือว่าการให้เวลากับลูกหลาน สิ่งดี ๆ สิ่งที่มีค่าเหล่านี้ เรามักจะผัดผ่อน เพราะอะไร ก็เพราะมันไม่มีเส้นตาย มันไม่เหมือนกับการทำงาน การประกอบอาชีพ เรามักจะถูกกำหนดด้วยเส้นตาย เส้นตายบางอย่างก็สำคัญ เช่น เรื่องอาชีพการงาน แต่เส้นตายบางอย่างมันก็ไม่สำคัญ เช่น การไปเที่ยว การสนุกสนาน

ถ้าเราระลึกถึงความตายอยู่เสมอ มันจะทำให้เราเกิดความตื่นตัว เกิดความไม่ประมาท เราระลึกว่าเราจะตายเมื่อไรก็ไม่รู้ หรือเราระลึกว่าคุณพ่อคุณแม่ หรือแม้กระทั่งสามีภรรยา คู่ครองของเรา จะจากไปเมื่อไรก็ไม่รู้ เมื่อระลึกได้เช่นนี้เราก็จะขวนขวาย ไปให้เวลากับท่าน ดูแลท่าน หรือถ้าเราไม่แน่ใจว่าเราพร้อมรับความตายหรือยัง เราก็จะขวนขวายไปเข้าปฏิบัติธรรม เพื่อให้มีสติ เพื่อให้รู้จักปล่อยวาง เป็นต้น การระลึกถึงความตายมันช่วยทำให้ชีวิตของเราเป็นไปโดยสามารถจัดลำดับความสำคัญอย่างถูกต้อง 

ประการต่อมาก็คือว่า เมื่อเราระลึกถึงความตายอยู่เสมอ มันก็จะทำให้เราเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง เรารู้ว่าเมื่อเราตายไปแล้วเราเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง ทรัพย์สมบัติ  ชื่อเสียงเกียรติยศ ตำแหน่งหน้าที่ก็เอาไปไม่ได้ มันก็จะเกิดความรู้สึกได้สติขึ้นมาว่า  เอ๊ะเรากำลังจะใช้ชีวิตที่เหลืออย่างจำกัด และก็น้อยลงไปเรื่อย ๆ เพื่อสิ่งนี้หรือ ในเมื่อได้ไปแล้วก็เอาไปไม่ได้ ทำไมเราไม่ใช้เวลาที่เหลืออยู่น้อยนิด ในการทำสิ่งอื่นที่มีประโยชน์มากกว่า มันจะช่วยทำให้เรา ปล่อยวางทรัพย์สมบัติ ลูกหลานคนรัก และถ้าเรายังมีความยึดติดผูกพันทรัพย์สมบัติ หรือคนรัก มันก็จะเป็นอุปสรรคต่อการตายดี  ต่อการตายสงบ มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถตายสงบได้เพราะ ความยึดติด ผูกพันชนิดที่วางไม่ลง

ในบางกรณี เราก็คงจะไม่สามารถ ที่จะจัดการสิ่งค้างคาได้หมดทุกเรื่อง อาจจะมีบางอย่างที่ยังไม่แล้วเสร็จ แต่ถ้าเรารู้จักปล่อยวาง เราก็จะไม่มีเรื่องที่ยังค้างคาใจ ไม่เสร็จก็ไม่เสร็จ ถึงเวลาจะไปก็พร้อมไป อันนี้ก็เพราะว่ารู้จักปล่อยวาง ถามว่าจะปล่อยวางอย่างนี้ได้อย่างไร เราจะมาปล่อยวางกันนาทีสุดท้ายคงทำได้ยาก เว้นแต่ว่าจะทำเป็นนิสัย  ฝึกอยู่เสมอ ฝึกปล่อยวางคือ ปล่อยวางที่ใจ เช่นเรายังทำงานทำการ เรายังมีความรับผิดชอบกับครอบครัว กับลูกหลาน แต่เราก็พร้อมจะปล่อยวาง การระลึกถึงมรณะสติเสมอ ซ้อมตายดู พอเราซ้อมตายดู เรานึกว่า ถ้าเกิดคืนนี้เราต้องตาย นึกถึงลูก เราต้องจากลูกไป นึกถึงงาน เราต้องทิ้งงานไป นึกถึงอะไรแต่ละอย่างๆ แล้วก็ลองตรวจสอบดูว่า เวลานึกถึงลูก ใจมันเป็นอย่างไร ใจมันกระเพื่อมไหมนะ การที่เราตรวจสอบตัวเอง ด้วยการซ้อมตายอยู่เป็นประจำ เราจะรู้ว่าเรามีอะไรที่ยังติดยึด และการซ้อมตายนั้นเอง ก็เป็นการฝึกให้เราปล่อยวางด้วย ใหม่ๆทำไม่ได้นะ เวลานึกถึงลูกมันก็จะไม่ยอม มันก็จะขัดขืน ไม่ยอมปล่อย บางทีก็ร้องไห้ แต่พอทำทุกวันๆก็จะเริ่มวางได้ หมายความว่าถ้าฉันจะตายวันนี้ฉันก็พร้อมจะไป โดยที่ไม่มาห่วงหาอาลัยลูกหลานหรือว่าคนรัก อันนี้ก็เป็นวิธีการฝึกใจปล่อยวาง โดยอาศัยวิธีการซ้อมตาย
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2010, 06:14:58 pm »

นี่คือโอกาสที่ความตายสามารถจะมอบให้แก่ทุกคน คือโอกาสในการหลุดพ้นจากความทุกข์ หรืออย่างน้อยก็เป็นโอกาสที่จะได้สัมผัสกับความสุขที่ไม่เคยประสบมาก่อน  รวมทั้งโอกาสที่จะได้คืนดีกัน ระหว่างพ่อกับลูก สามีกับภรรยา มิตรที่เคยวิวาทบาดหมางกัน และก็ทำให้ การจากไปนั้น เป็นไปอย่างไม่เจ็บปวด ถ้าเรารู้จักความตายว่าเป็นโอกาส ไม่ใช่แค่เป็นวิกฤติเท่านั้น เราก็จะสามารถมองความตายในแง่ที่ไม่หวาดกลัวอีกต่อไป  เราจะมองความตายไม่ใช่ศัตรู แต่เป็นมิตร หรือว่าเป็นครูบาอาจารย์ เราจะพร้อมรับมือกับความตายได้ดีขึ้น ไม่ใช่ในฐานะที่เป็นผู้ถูกกระทำ แต่เป็นผู้ที่พร้อมจะใช้ความตาย ให้เกิดประโยชน์แก่จิตใจอย่างเต็มที่

ทุกวันนี้เรายอมตัวเป็นผู้ถูกกระทำโดยความตาย  เพียงแค่นึกถึง เราก็กระเพื่อมแล้วในจิตใจ แต่เราจะต้องเปลี่ยนจากผู้ถูกกระทำ มาเป็นผู้ที่รู้จักใช้ประโยชน์จากความตาย เราจะใช้ประโยชน์จากความตายได้ ก็ต้องเข้าใจความตายให้ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงแค่ว่าความตายเป็นธรรมดาของชีวิต ซึ่งไม่มีใครหนีพ้น แต่ความตายยังเป็นโอกาส ในการที่จะทำให้เราได้เกิดความพร้อมในการที่จะดำเนินชีวิต ในแง่มุมใหม่ และก็ในที่สุดพร้อมที่จะเผชิญความตายเมื่อมาถึง และใครก็ตามเมื่อพร้อมที่จะเผชิญความตาย เขาจะไม่มีอาการทุรนทุราย เขาจะยอมรับความตายอย่างสงบ ความตายมันก็ไม่น่ากลัว ก็สามารถที่จะพบกับความสงบเย็นได้  อาตมาถึงบอกว่า จิตใส ใจสบายนี้ มันสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกที่ ในทุกโอกาส แม้แต่ในยามที่เราประสบเภทภัยก็ตาม ทั้งหมดนี้อยู่ที่การฝึกจิต ฝึกใจหรือการทำใจให้ดี การตายดีก็สามารถเกิดขึ้นได้กับเราในทุกโอกาส  ถ้าหากว่าถึงคราวที่จะต้องตาย

ทุกคนปรารถนาที่จะตายดี  แต่ความปรารถนานี้จะเกิดขึ้น เมื่อเราถาม หรือเมื่อถูกถาม ในชีวิตปกตินี้คนส่วนใหญ่ ไม่เคยถามเรื่องนี้เลย เรามีแต่ถามกันว่า ชีวิตฉันนี้จะดีขึ้นได้อย่างไร ทำไมฉันถึงจะมีความสุข ฉันจะอยู่อย่างมีความสุขได้อย่างไร ฉันจะมีชีวิตที่สงบเย็นได้อย่างไร  ผู้คนคิดแต่เพียงแค่นี้  แต่น้อยคนจะถามว่า เมื่อถึงคราวที่ฉันจะต้องตาย ฉันจะตายดีได้อย่างไร ฉันจะตายอย่างสงบได้อย่างไร  เวลาเราสร้างบ้าน เราคิดแต่จะสร้างบ้านให้น่าอยู่ แต่เราเคยคิดไหมว่า ทำอย่างไรเราถึงจะสร้างบ้านให้น่าตายได้

คนเราจำนวนไม่น้อย เวลาพูดถึงความตายเขาก็บอกว่าเป็นเรื่องไกลตัว  เขาลืมไปแล้วหรือคนเรานี้ สามารถจะตายได้ทุกเวลา  มีภาษิตทิเบตไว้ว่า ระหว่างวันพรุ่งนี้กับชาติหน้าไม่มีใครรู้หรอกว่าอะไรจะมาก่อน คนส่วนใหญ่ คิดว่าพรุ่งนี้มาก่อนชาติหน้า แต่คนที่คิดเช่นนี้คือคนประมาท เพราะว่าอาจไม่มีพรุ่งนี้สำหรับเขาก็ได้ พ้นจากวันนี้ไปแล้วก็ชาติหน้าเลย เพราะว่าวันนี้คือวันสุดท้าย สำหรับคนหลายแสนคน หรือล้านคนทั่วโลก เราก็ไม่รู้ด้วยว่า เราหรืออาตมา จะเป็นหนึ่งในจำนวนนั้นด้วยหรือเปล่า 

ถ้าเราตระหนักอย่างนี้อยู่เสมอ มันก็ทำให้เราเกิดความตื่นตัว เกิดความไม่ประมาท  เมื่อเราระลึกว่าเราอาจจะตาย เมื่อไรก็ได้ การระลึกถึงความตายว่าจะเกิดขึ้นกับเราอย่างแน่นอน อันนี้เรียกว่ามรณะสติ แต่ว่าระลึกถึงแค่นี้ยังไม่พอ จะต้องระลึกต่อไปอีกว่า ความตายเป็นของแน่นอนก็จริง แต่ว่ามันก็เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เราอาจจะตายวันนี้ พรุ่งนี้ หรือเมื่อไรก็ได้ เมื่อคิดเช่นนี้ความตายก็จะเป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะว่ามันสามารถจะเกิดขึ้นกับเราทุกเวลา ทุกสถานที่ได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่าสิ่งที่ไม่สามารถจะคาดพยากรณ์ หรือจะบอกล่วงหน้าได้ก็คือว่าจะ มีอายุได้ยืนยาวเท่าไร จะตายเมื่อไร จะตายที่ไหน จะตายอย่างไร ตายแล้วจะไปไหน เมื่อระลึกเช่นนี้แล้วถามว่าพอไหม ไม่พอ ก็เลยต้องถามว่า แล้วเราพร้อมจะตายหรือยัง เราทำความดีมามากพอหรือยัง เราได้ทำหน้าที่หรือความรับผิดชอบครบถ้วนหรือยัง
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2010, 06:04:56 pm »



อยู่สบาย ตายสงบ

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
บรรยายธรรมที่ยุวพุทธ บางแค
18 กรกฎาคม 2553 

ถอดเทปโดย  คุณพรรณระวี  ศิริภัทร
ตรวจสอบและย่อสรุปโดย kaveebsc@yahoo.com
หากท่านใดต้องการฉบับเต็มไม่ย่อ
โปรดอีเมล์แจ้งมาได้ครับ

สาธุ ขออนุโมทนากับพระอาจารย์ ท่านเจ้าภาพ
และเจ้าหน้าที่ยุวพุทธฯ ที่จัดงานบรรยายธรรมนี้
อีกทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดงาน

คุณพรรณระวี ผู้ถอดเทป
ผู้ร่วมเข้าฟังธรรมะบรรยาย ผู้อ่าน
ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรมทุกๆท่านครับ

ขอเชิญทุกท่านน้อมใจให้อยู่ในความสงบ พร้อมกับเปิดใจเพื่อที่จะรับรู้สิ่งที่ได้ยินได้ฟังในปัจจุบันขณะ  ทุกท่านมาร่วมโครงการจิตใส ใจสบาย ก็เพื่อหวังว่าจะเกิดความสุขแก่ชีวิต โดยเฉพาะแก่จิตใจของตน ที่จริงความสุขนั้นไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน มันมีอยู่แล้วนะที่ใจของเราขณะปัจจุบันนี้ ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะรักษาใจให้เป็น มีสติ มีปัญญา สามารถที่จะเจริญสมาธิให้เกิดขึ้นแก่ใจของตนได้ ไม่ว่าเราจะอยู่ในสถานที่ใด หรือแม้แต่จะเผชิญ กับเหตุการณ์ใด ๆ ที่เข้ามากระทบกับชีวิตของเรา เราก็ยังสามารถจะรักษาใจให้เป็นปกติ หรือว่าสงบเย็นได้ แม้จะพลัดพรากจะเจ็บ จะป่วย เราก็สามารถรักษาใจให้ปกติได้ และที่สุดแม้เราจะต้องเผชิญกับความตาย เราก็สามารถที่จะส่งใจให้สงบได้ อันนี้คือความสามารถที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน

มนุษย์เราก็เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตหรือสังขารทั้งหลาย ก็คือมีหน้าที่ต้องแก่ ต้องเจ็บและก็ต้องตาย นี่คือหน้าที่นะ แต่ว่าเราก็มีสิทธิที่จะตายอย่างสงบได้ มีเงื่อนไขว่า เราต้องทำหน้าที่ให้ดี คือหน้าที่ต่อความตาย เช่น เตรียมพร้อมรับความตาย หรือว่าทำความเข้าใจเกี่ยวกับความตายอย่างถูกต้อง แต่คนทุกวันนี้ส่วนใหญ่ปฏิเสธหน้าที่นี้ พยายามที่จะหลีกเลี่ยงไม่ทำหน้าที่ หาทางบิดพลิ้วก็คือพยายามที่จะหลีกหนีความตาย ไม่คิดไม่คำนึงแม้แต่น้อยว่า สักวันหนึ่งตัวเองจะต้องตาย

เพราะฉะนั้นเราก็เห็นคนจำนวนมาก พยายามที่จะหลีกหนีความตาย ไม่นึกถึงความตาย ก็เลยมีชีวิตเหมือนกับคนลืมตาย คืออยู่ไปโดยที่ไม่นึก ไม่เฉลียวใจว่า สักวันหนึ่งตัวเองจะต้องตาย พอเจอเหตุร้ายเข้ากับตัว ทำใจไม่ได้ ก็หมดเรี่ยวหมดแรง กลายเป็นว่ามีชีวิตเหมือนคนตาย  เช่นพอรู้ว่าเป็นมะเร็ง ก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ เศร้าซึม ขาดชีวิตจิตใจ ดังนั้นใจคนส่วนใหญ่ก็จะแกว่งไปมา หรือว่าจะมีอาการแบบนี้ คือตอนที่สุขสบายดีอยู่ ก็อยู่เหมือนคนลืมตาย  แต่พอเจอโรคภัยมาคุกคามถึงตัว  อยู่ก็เหมือนคนตาย และคนที่อยู่เหมือนคนตายนี้ ก็จะต้องตายหลายครั้ง กว่าจะหมดลมจริงๆ 

มีภาษิตหนึ่งเขาบอกไว้ว่า คนกล้านั้นตายครั้งเดียว แต่คนขลาดนั้นตายหลายครั้ง ก็คือว่า พอนึกถึงความตายทุกครั้งก็เหี่ยวแห้ง ใจคอเหี่ยวแห้ง ไม่มีเรี่ยว ไม่มีแรง ไม่มีชีวิตจิตใจ ที่จะอยู่ในโลกนี้ อันนี้ เราตายไปครั้งหนึ่งแล้ว ถ้าคิดแบบนี้ รู้สึกแบบนี้ บ่อยเข้า ๆ ก็เรียกว่าตายหลายครั้ง อันนี้เป็นเพราะอะไร เป็นเพราะว่าเขาไม่เคยเตรียมใจที่จะรับมือกับความตาย พยายามที่จะหลีกหนีความตาย  แม้แต่จะคิดก็ไม่อยากจะคิด แม้ใครจะพูดถึงเรื่องนี้ก็ไม่อยากให้พูด เพราะถือเป็นเรื่องอัปมงคล และเมื่ออยู่อย่างคนตายแล้วนี่ ในที่สุดเมื่อถึงเวลาตายก็จะตายอย่างทุรนทุราย ทรมาน เป็นที่น่าสังเวช เป็นที่น่าเศร้าโศกเสียใจแก่ผู้ที่ยังอยู่ ซึ่งก็ยิ่งทำให้ผู้คนที่ยังอยู่นั้น กลัวความตายมากขึ้น เพราะเห็นคนที่ตัวเองรักเขาจากไปในอาการอย่างนั้น คือทุรนทุราย กระสับกระส่าย บางทีตาค้าง ตาเหลือก ตาถลน  ก็ยิ่งพยายามที่จะหนีความตาย  เขาหารู้ไม่ว่าจริง ๆ แล้วความตายนั้นไม่น่ากลัว เท่ากับความกลัวตาย  และที่กลัวตายก็เพราะไม่ได้รู้จักความตายดีพอ

ถ้าเรารู้จักความตายดีพอเราก็จะพบว่าความตายไม่ใช่เป็นแค่วิกฤต แต่ยังเป็นโอกาสได้ด้วย ความตายของบางคนมันหมายถึงโอกาสที่ อีกหลายคนจะมีชีวิตรอด เพราะว่าเขาจะได้อวัยวะจากผู้ตาย เป็นโอกาสที่จะต่อชีวิตให้คนอีกหลายคน ความตายยังเป็นโอกาส ในทางยกระดับจิตใจของผู้ที่กำลังจะตาย ให้สู่สภาวะหรือภูมิที่สูงขึ้นได้  มีผู้คนจำนวนมาก เมื่อถึงระยะสุดท้ายของชีวิต เขาได้พบกับความสุขที่ไม่เคยประสบมาก่อน อาจจะได้พบกับสิ่งที่ประเสริฐ หรือประณีตกว่านั้นได้ เช่น ได้พบกับความสงบจากชีวิตที่เข้าถึงธรรมะ เมื่อรู้ว่าจะตายก็หันมาสนใจธรรมะ และก็ได้พบว่าชีวิตที่แท้ ความสุขที่แท้คืออะไร ก็ทำให้มีความสุข เพราะเขาเรียนรู้ที่จะปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ที่เคยเป็นภาระให้แก่จิตใจมาโดยตลอด หรือคนที่มีภูมิปัญญามากกว่านั้น ก็สามารถที่จะใช้ความตายเป็นโอกาสในการเข้าถึงธรรม เข้าถึงความจริง เข้าถึงสัจธรรม จนเกิดปัญญารู้แจ้ง ยกจิตให้หลุดพ้นจากความยึดติดถือมั่น พ้นจากกองทุกข์ได้