ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2010, 11:49:46 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด อนุโมทนาครับ
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2010, 08:48:25 pm »

บทแนะนำ Collapse ของผู้เขียน - เคยเขียนแนะนำลงในคอลัมน์ Dog-Ear, D-Life ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 เมษายน 2552

ถึงแม้ว่าภัยธรรมชาติที่มาพร้อมกับภาวะโลกร้อนกำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และมิใยที่นักวิทยาศาสตร์จะผนึกกำลังประสานเสียงป่าวร้องอันตรายแทบจะเป็นเสียงเดียวกัน ประเทศส่วนใหญ่ก็ยังไม่ยอมเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาออกจากเส้นทางที่จะนำมนุษยชาติไปสู่หายนะ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาขนาดยักษ์อย่างจีนและอินเดีย ซึ่งกำลังเจริญรอยตามวิถีการพัฒนาของอเมริกากับยุโรป ซึ่งอาจสรุปเป็นประโยคสั้นๆ ว่า “เศรษฐกิจต้องมาก่อน เอาไว้เรารวยแล้วค่อยว่ากันเรื่องอื่น”
 
ในภาวะที่คนส่วนใหญ่ยังติดอยู่ใน ‘จุดบอด’ ที่ส่วนใหญ่ประกอบสร้างจากความเคยชินกับความสะดวกสบายที่มาพร้อมกับมหกรรมบริโภคนิยมที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองและทำลายสิ่งแวดล้อม การได้อ่านหนังสือที่ทำให้เรารู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่นักการเมืองและนักธุรกิจกระแสหลักยังมองไม่เห็นหรือไม่ยอมปรับตัวตาม น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดที่คนธรรมดาอย่างเราสามารถทำได้


วันนี้ผู้เขียนขอแนะนำหนังสือชั้นยอดเรื่อง Collapse: How Societies Choose to Fail or Succeed โดย Jared Diamond นักภูมิศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียลอสแองเจลิส ผู้โด่งดังจาก Guns, Germs, and Steel หนังสือที่ ‘พลิกความคิด’ คนทั่วโลกด้วยการนำเสนอหลักฐานว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในทวีปยูเรเซีย (ยุโรป+เอเชีย) ซึ่งมีแกนตะวันออก-ตะวันตกพาดผ่าน สามารถพัฒนาอารยธรรมได้รวดเร็วกว่าทวีปที่มีแกนเหนือ-ใต้อย่างทวีปอเมริกาและแอฟริกา เพราะมีสภาพภูมิอากาศคงที่กว่า ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการสร้างสังคมเกษตรและสังคมอุตสาหกรรมตามลำดับ มิได้เป็นเพราะชาวยูเรเซียมีสติปัญญาเลิศเลอกว่าคนทวีปอื่นแต่อย่างใด หนังสือเล่มนี้ชนะรางวัลพูลิตเซอร์ปี 1997 และปัจจุบันใช้สอนในโรงเรียนทั่วโลก


ในขณะที่ Guns, Germs, and Steel ถ่ายทอดอิทธิพลของธรรมชาติ (โดยเฉพาะปัจจัยทางภูมิศาสตร์) ที่มีต่อการพัฒนาของมนุษย์ Collapse ถ่ายทอดเรื่องกลับข้างกัน นั่นคือ อิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติ ประเด็นหลักที่ Diamond วิเคราะห์คือ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้


อารยธรรมซึ่งเคยเกรียงไกรหลายอารยธรรมต้องล่มสลายไปในอดีต อาทิ อารยธรรมมายา เกาะอีสเตอร์ และชาวนอร์สในกรีนแลนด์ โดยเขาวิเคราะห์เจาะลึกอารยธรรมเหล่านี้อย่างละเอียด อธิบายวิธีที่ปัจจัยเหล่านั้นกำลังคุกคามอารยธรรมหลายแห่งในปัจจุบัน อาทิ รวันดา ไฮติ จีน และมลรัฐมอนทานาในอเมริกา ปิดท้ายด้วยตัวอย่างของการร่วมมือกันที่น่ายินดีระหว่างนักสิ่งแวดล้อมและนักธุรกิจ และข้อเสนอแนะว่าคนทั่วไปทำอะไรได้บ้างในโลกที่ธุรกิจยังมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะทำกำไรสูงสุด เพื่อให้การทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่อง ‘ไม่คุ้ม’ สำหรับธุรกิจ


Collapse อัดแน่นไปด้วยบทพิสูจน์ความสามารถพิเศษของ Diamond ที่โด่งดังตั้งแต่ Guns, Germs, and Steel นั่นคือ การขมวดรายละเอียดที่สลับซับซ้อนเกี่ยวกับอารยธรรมต่างๆ ที่แตกต่างกันมาก ให้อยู่ในรูปของ ‘เรื่องเล่า’ ที่เข้าใจง่ายและน่าติดตาม โดยไม่ใช้วิธีเหมารวมหรืออ้าง ‘สูตรสำเร็จ’ ใดๆ ที่นักเขียนสารคดีจำนวนมากชอบใช้ (และทำให้คนอ่านเข้าใจผิดอย่างไม่น่าให้อภัย) Diamond ฉายภาพให้เราเห็นปฏิกิริยาระหว่างปัจจัยหลักห้าประการที่นำอารยธรรมไปสู่หายนะ อันได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพื่อนบ้านที่ไม่เป็นมิตร การมีคู่ค้า (แปลว่าสังคมมีทางเลือกในการบริโภคสินค้าจำเป็น) ปัญหาสิ่งแวดล้อม และการตอบสนองที่ผิดพลาดของสังคมต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม Diamond ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าปัจจัยสี่ประการแรกอาจอยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ มนุษย์ ‘เลือกได้’ เสมอว่าจะตอบสนองต่อปัญหาเหล่านั้นอย่างไร ดังที่ Diamond พยายามชี้ให้เห็นตั้งแต่ชื่อรองของหนังสือเล่มนี้ – “วิธีที่สังคมเลือกว่าจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว”

สิ่งที่ Diamond ทำได้ดีมากใน Collapse คือการเปรียบเทียบระหว่างสังคมที่ร่วมยุคกันและตั้งรกรากอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน เพื่อขับเน้นความสำคัญของปฏิกิริยาของมนุษย์ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น บทที่ดีมากในแง่นี้ (และเป็นบทที่ผู้เขียนคิดว่าสนุกที่สุดในหนังสือเล่มนี้ด้วย) คือตอนที่เขาเปรียบเทียบระหว่างประสบการณ์ของชาวนอร์ส (ไวกิ้ง) และชาวอินูอิตบนทวีปกรีนแลนด์ Diamond อธิบายให้เห็นว่า สาเหตุหลักที่ชาวนอร์สต้องประสบกับความอดอยากหิวโหยจนล้มหายตายจากไปหมดทวีป คือการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง (หลายครั้งอย่างไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ) และไม่ยอมปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ Diamond สรุปว่า ชาวนอร์สมี “ทัศนคติไม่ดี” ต่อธรรมชาติ และด้วยเหตุนั้นจึงประสบหายนะ ในขณะที่ชาวอีนูอิต ผู้มีวิถีชีวิตที่เคารพนบนอบและอ่อนน้อมต่อธรรมชาติ ถูกชาวนอร์สค่อนแคะดูถูกว่า “ป่าเถื่อน” และ “ประหลาด” กลับสามารถเอาตัวรอดในสภาพแวดล้อมอันเหน็บหนาวของกรีนแลนด์ต่อเนื่องสืบมาจวบจนปัจจุบัน


กรณีเปรียบเทียบแบบนี้มีอีกมากมายใน Collapse แต่ละกรณีเขียนด้วยสำนวนอ่านง่ายและน่าติดตามอย่างที่นักวิชาการน้อยคนจะทำได้ อีกตัวอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนชอบคือ ตอนที่ Diamond เปรียบเทียบระหว่างสาธารณรัฐโดมินิกันและไฮติ สองประเทศร่วมเกาะฮิสปานีโอลา ในเมื่อทั้งสองประเทศนี้มีระดับทรัพยากร ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน เราจึงน่าจะมั่นใจได้ว่า ความแตกต่างของสถานการณ์ปัจจุบันมาจาก “ทัศนคติ” ต่อสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ปัจจุบันไฮติกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนข้นแค้นที่สุดในซีกโลกตะวันตก มีผืนป่าปกคลุมประเทศเพียงร้อยละ 1 เทียบกับร้อยละ 28 ในสาธารณรัฐโดมินิกัน ประเทศที่แม้จะไม่ร่ำรวยอะไรมาก แต่เศรษฐกิจก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี และประชากรรายงานว่า ‘มีความสุข’ เป็นอันดับต้นๆ ของโลก (กรณีที่คล้ายกันอีกตัวอย่างหนึ่งที่ Diamond ไม่ได้ยก คือความแตกต่างระหว่างเนปาลและภูฏาน สองประเทศเพื่อนบ้านเชิงเขาหิมาลัย)
Diamond พิสูจน์ให้เราเห็นด้วยข้อมูลหลักฐานมากมายว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจไม่ได้อยู่ ‘ตรงข้าม’ กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างที่คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิด Diamond ตอกย้ำด้วยข้อเท็จจริงว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมนั้นมีความสำคัญทัดเทียมกับมิติอื่นๆ ที่เรามักจะใช้วัด “ความสำเร็จ” ของสังคม หรืออาจจะสำคัญกว่าด้วยซ้ำ เพราะถ้าสิ่งแวดล้อมทรุดโทรมลงเรื่อยๆ ถึงจุดหนึ่งสังคมมนุษย์ก็ไม่อาจจะอยู่ได้ สิ่งที่น่าทึ่งไม่น้อยคือ Diamond สามารถถ่ายทอดเรื่อง ‘หนักๆ’ เหล่านี้ได้อย่างน่าสนใจ เปี่ยมอารมณ์ขันและตลกร้าย ผ่านวิธีการเขียนแบบตั้งคำถามที่ทำให้ฉุกคิดก่อนจะหาคำตอบ เช่น “ชาวเกาะอีสเตอร์ที่ตัดต้นปาล์มต้นสุดท้ายพูดว่าอะไรระหว่างที่เขาตัดไม้ต้นนั้น? เขาร้องว่า ‘เราต้องการงานทำ ไม่ใช่ต้นไม้!’ หรือเปล่า?” หรือ “เป็นไปได้อย่างไรที่สังคมจำนวนมากจะทำผิดพลาดอย่างรุนแรงซ้ำแล้วซ้ำเล่า?”

ถ้าคุณสงสัยว่าเหตุใด Diamond จึงบอกว่า “แก่นแท้ที่จะกำหนดว่าสังคมจะสำเร็จหรือล้มเหลว คือการมีปัญญาพอที่จะรู้ว่าคุณค่าใดที่สำคัญจริงๆ และคุณค่าใดที่สมควรทิ้งและทดแทน” ปัญหาสิ่งแวดล้อม 12 ปัญหาที่ Diamond มองว่าเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าหายนะกำลังคืบคลานเข้าใกล้มีอะไรบ้าง และเหตุใดเขาจึงเชื่อว่าการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ล้มเหลวจะนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองและหายนะของทุกสังคม คุณก็ต้องอ่าน Collapse – หนังสือดีที่จะไม่มีวันล้าสมัย เพราะถ่ายทอดสัจธรรมจากอดีตที่คนปัจจุบันจะต้องสำเหนียกอย่างเร่งด่วน.


http://www.fringer.org/?p=450


อ่าน เพิ่มเติม

http://www.midnightuniv.org/midnight2544/0009999740.html
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2010, 08:47:17 pm »


 
 
ล่มสลาย” - ฉบับแปลไทยของ Collapse โดย Jared Diamond ออกแล้ว
สฤณี อาชวานันทกุล http://www.fringer.org/
October 7th, 2009
 
บทแนะนำ Collapse ของผู้เขียน

เคยเขียนแนะนำลงในคอลัมน์ Dog-Ear, D-Life ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 เมษายน 2552

ถึงแม้ว่าภัยธรรมชาติที่มาพร้อมกับภาวะโลกร้อนกำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และมิใยที่นักวิทยาศาสตร์จะผนึกกำลังประสานเสียงป่าวร้องอันตรายแทบจะเป็นเสียงเดียวกัน ประเทศส่วนใหญ่ก็ยังไม่ยอมเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาออกจากเส้นทางที่จะนำมนุษยชาติไปสู่หายนะ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาขนาดยักษ์อย่างจีนและอินเดีย ซึ่งกำลังเจริญรอยตามวิถีการพัฒนาของอเมริกากับยุโรป ซึ่งอาจสรุปเป็นประโยคสั้นๆ ว่า “เศรษฐกิจต้องมาก่อน เอาไว้เรารวยแล้วค่อยว่ากันเรื่องอื่น”
 
แวะมาแจ้งข่าวดีว่า “ล่มสลาย” ฉบับแปลไทยของหนังสือยอดเยี่ยมเรื่อง Collapse ของ Jared Diamond จัดพิมพ์เสร็จสมบูรณ์แล้วโดย สนพ. Oh My God ค่ะ หนังสือเล่มนี้หน้ากว่า 800 หน้า ราคา 480 บาท หาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไปเร็วๆ นี้และในงานหนังสือ 15-25 ต.ค. ที่ศูนย์สิริกิติ์ ฝีมือการแปลของคุณอรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธ ผู้แปล Guns, Germs & Steel หนังสือเล่มก่อนหน้านี้ของผู้เขียนคนเดียวกัน ดังนั้นรับประกันคุณภาพได้แน่นอน


ถ้าอยากรู้ว่าหนังสือเล่มนี้ดีและสำคัญอย่างไร ดาวน์โหลดไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มไปอ่านได้ฟรีๆ จากที่นี่ [25 MB, PDF format] (อยู่ในหน้า “Downloads” แล้วด้วย) - ขอเชิญทุกท่านนำไปเผยแพร่ต่อได้ตามอัธยาศัย

ขอขอบคุณคุณอัฐพงศ์ เพลินพฤกษา บรรณาธิการ สนพ. Oh My God ที่ตัดสินใจเผยแพร่หนังสือดีเล่มนี้บนอินเทอร์เน็ตโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยให้เหตุผลว่า “พวกผมตั้งใจไว้ว่า ถ้าใครที่อยากซื้อหนังสือก็ให้เขาได้ซื้อ (ดีเลย อิอิ) แต่ถ้าใครอยากอ่านแต่ไม่อยากซื้อ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ก็ให้เขาดาวน์โหลดไปอ่านได้ตามสบายเลย อยากให้คนได้มีโอกาสอ่านกันเยอะๆ โดยไม่ต้องมีปัจจัยทางการเงินมาเป็นอุปสรรคในการนี้ครับ” แถมยังใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ อีกต่างหาก ถ้าอยากขอบคุณสำนักพิมพ์ดีๆ อย่างนี้ ขอความกรุณาให้ช่วยกันอุดหนุนหนังสือในร้านหนังสือด้วย
 
 
http://www.measwatch.org/autopage/show_page.php?t=21&s_id=92&d_id=92