ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 11:15:21 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 10:33:55 pm »

โพธิสัตว์เป็น 1000 มือ

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมทืี่ผ่านมา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เชื้อเชิญวิทยากรจากมูลนิธิพุทธฉือจี้ในประเทศไทย นำทีมมาบรรยาย ณ อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ คณะฉือจี้เดินทางมาถึงตอนสายวันจันทร์ที่ 17 และเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยกันหนึ่งรอบในตอนบ่ายวันนี้ก่อนการบรรยายจริงในวันรุ่งขึ้น ก็มีผู้เข้าร่วมสนทนารอบโต๊ะ (เหลี่ยม ไม่กลม) เป็นผู้ที่เคยไปดูงานมูลนิธิพุทธฉือจี้ที่ประเทศไต้หวันหลายท่าน (ดังที่ผมเคยเขียนการผจญภัย... อืม.. ไม่เชิง "ภัย" แต่เป็น "ประสบการณ์ชีวิต" ที่ทรงพลัง ทรงคุณค่า ไว้ 12 ตอน) การมาในครั้งนี้ของมูลนิธิพุทธฉือจี้ อาจจะกลายเป็น "ปฐมบท" ของอะไรบ้างนั้น ยังเป็นสิ่งที่เหนือการคาดเดา แต่จากประสบการณ์ตรงที่ผู้เข้าร่วมฟังในครั้งนี้ จนผมต้องนำมาบันทึกไว้ ณ ที่นี้ สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆก็คือ "ความประทับใจและแรงบันดาลใจ" ว่า เมื่อทั้งสองสิ่งมีมากเพียงพอ และถูกนำมาใช้ผลักดันพฤติกรรมแล้วนั้น สิ่งที่เกิดตามมานั้น ต้องเรียกได้ว่า "เหนือความคาดหมาย" อย่างไร้พรมแดนโดยแท้
นอกเหนือจากกัลยาณมิตรที่เราคุ้นเคยเพราะได้เจอะเจอมาก่อนหน้า ได้แก่ คุณสุชล คุณเมตตา และคุณหญิงแล้ว เรายังได้พบกับสมาชิกหน้าใหม่ ได้แก่ คุณปัญญา (ซึ่งเป็นคนไต้หวัน แต่ชื่อ "ปัญญา" นี้พึ่งได้มาหมาดๆในเครื่องบินที่นั่งมากันนี่เอง) และอาสาสมัครฉือจี้ประเทศไทยอีกสามท่าน คือ พี่หมอสมบูรณ์ นันทานิช รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพธาราม และพี่แป๊ว พี่พยาบาลที่เคย early retired ไปกว่า 8 ปีแล้ว แต่กลับมาเป็นอาสาสมัครฉือจี้ร่วมมือกับพี่สมบูรณ์ ทำกิจกรรมอันสวยงามน่าประทับใจให้แก่ชุมชนราชบุรีมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และน้องอาสาสมัครอีกคน ซึ่งเรียกว่าเป็นหนึ่งเดียวของหาดใหญ่เลยทีเดียว
 
ห้องบรรยายวิจารณ์ พานิช ที่พึ่ง renovate ใหม่จุ 250 ที่นั่งเกือบเต็ม ตั้งแต่ต้นจนจบ
คุณสุชลและคุณปัญญา
พี่สมบูรณ์ พี่หมออาสาสมัครฉือจี้ที่นำพากิจกรรมกุศลก่อกำเนิดในโพธาราม
 
น้องหญิงและคุณเมตตา สองอาสาสมัครฉือจี้ที่กรุณามาเล่าประสบการณ์ให้ฟัง
พี่สมบูรณ์ เป็นรองแพทย์ อยู่ที่ รพ.โพธาราม มีโอกาสไปดูงานฉือจี้ที่ไต้หวัน และเกิดแรงบันดาลใจจนสมัครเป็นอาสาสมัคร และไปอบรมการเป็นอาสาสมัครทั้งฉบับทฤษฎีและที่สำคัญคือฉบับปฏิบัติที่เชียงรายด้วย มีการลงมือทำจริงกับผู้ยากไร้และด้อยโอกาส สัมผัสกับความรู้สึกจริง ทั้งทุกข์ (ของคนที่กำลังทุกข์) และปิติ (ของอาสาสมัครขณะปฏิบัติงาน) และเหนืออื่นใดคือความสุข สงบทางจิตวิญญาณ เมื่อความทุกข์สลายหายไปโดยการชะล้างของกระแสเมตตาธรรมที่เป็นการทำกุศล ทำทานที่ปราศจากเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้นจากการเป็นอาสาสมัครฉือจี้ พี่สมบูรณ์เล่าให้ฟังว่าเมื่อเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นที่เชียงรายจากการไปช่วยในครั้งนั้น ในฐานะที่ตนเองก็เป็นลูกราชบุรีแท้ๆ ทำไมเราจะไม่ทำอย่างเดียวกันในบ้านของเราเอง เมื่ิิิอนั้นเองที่โครงการช่วยเหลือผู้ยากไร้และทุกข์ทรมานและอื่นๆ อาทิ ค่ายจริยธรรมเพื่อเยาวชน ก็ได้กำเนิดขึ้นและลงมือทำต่อเนื่องมาทันที
พี่สมบูรณ์เล่าให้ฟังถึงความรู้สึกที่ได้เห็นอาสาสมัครรุ่นพี่ของฉือจี้ที่ลงมือช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยปราศจากการตั้งแง่รังเกียจ แม้แต่กับคนไข้ที่ขาดคนดูแลมานาน ร่างกายเน่าเปื่อย มีกลิ่นมูตรคูถอุจจาระ กี่รายต่อกี่รายที่อาสาสมัครเหล่านี้ได้ลงมือชำระล้างอาบสระจนกระทั่งร่างกายของผู้ป่วยเริ่มสดใสและสะอาดสะอ้านขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เห็นการโอบกอดระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์อันปราศจากความถือตัว ความรังเกียจ แต่เป็นโอบกอดของจิตวิญญาณที่เปี่ยมเมตตา กรุณา จนบางครั้งนำ้ตาหลั่งไหลออกมาอย่างไม่รู้ตัวด้วยความตื้นตัน
พี่แป๋ว พี่พยาบาลของ รพ.โพธาราม เล่าเรื่องราวที่เธอได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมผัสการปฏิบัติงานในพื้นที่ คือที่บ้านของผู้ยากไร้ ด้อยโอกาส และทุกข์ทรมานจากภาวะไร้ญาติขาดมิตร ทุพพลภาพถาวร เพียงแค่คิดถึงคนไข้เหล่านี้ที่จะมานั่งรอคอยพี่แป๋วในวันเยี่ยมที่หน้าบันได หน้าประตูอย่างตั้งตาตั้งตา ไม่ว่าพี่แป๋วจะติดธุระ หรือกำลังคิดว่าจะทำอย่างอื่น ก็จะอดไม่ได้และต้องเดินทางมาตามเสียงเรียกร้องแห่งจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์
เสียง และ ภาพเหล่านี้ บางครั้งที่ถูก "ตาเนื้อ หูเนื้อ" ปกปิดกลบไว้จนเรามืดบอดไปได้อย่างน่าพิศวง
มองเห็นเพียงแค่สิ่งที่เราอยากเห็น อยากมอง อันตื้นเขินเท่านั้น
พี่สมบูรณ์บอกว่าทางคติพุทธมหายานที่มีพระมหาโพธิสัตว์หลายพระองค์ มีสามพระองค์ที่ค่อนข้างมีคนนิยมบูชาสูงสุดคือ พระอวโลกิเตศวรหรือเจ้าแม่กวนอิม พระพุทธเจ้า และพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ ทั้งหมดนั้นโดยเฉพาะพระมหาเมตตาบารมี จะเป็นบารมีที่ยิ่งใหญ่โอบอุ้มหล่อเลี้ยงเวไนยสัตว​์ทั้งหลายทั้งปวง เจ้าแม่กวนอิมพันมือนั้นกล่าวว่า ต้องการช่วยเหลือมวลมนุษย์ที่กำลังตกทุกข์ได้ยากอย่างยิ่ง อันมีจำนวนมากมาย จนกระทั่งขออธิษฐานให้เป็นพันมือหมื่นตา จะได้ดูแลช่วยเหลือคนทุกข์ได้ทั่วถึง

แต่ที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่ามีพระรูปเจ้าแม่กวนอิมพันมือให้เรากราบไหว้บูชามากมายเพียงไหน แต่เรายังพอจะมีทางอื่นที่จะทำเพื่อเป็นพุทธบูชาพระเมตตาบารมีได้ นั่นก็คือ หากอยากจะได้พระมหาโพธิสัตว์พันมือ ทำไมเราไม่ช่วยกันหล่อหลอมและสร้างจิตอาสา ที่มีสองมือสองเท้า มาสัก 500 คนขึ้นมาในชุมชน อาสาสมัคร 500 คนนี้รวมกันก็จะมีพันมือ เปรียบได้เป็น "โพธิสัตว์เป็น" 500 ท่าน ซึ่งมีเลือดมีเนื้อ มีชีวิต และทำงานจริงๆกับผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยากจริงๆในแผ่นดิน
จากปรารภเช่นนี้ พี่สมบูรณ์จึงได้ริเริ่มโครงการการสร้างจิตอาสา อบรม และเน้นที่การปฏิบัติจริงของการเป็นอาสสมัคร ไปจนถึงการปลูกฝังจิตอาสาตั้งแต่ยังเด็ก ด้วยการจัดค่ายเยาวชนจริยธรรมขึ้น
ในระยะยาว เราหวังว่าจิตอาสาจะค่อยๆซึมลงไปในตัวตน และผลิดอกออกผลออกมาในระยะยาว จะเป็นชั่วลูกชั่วหลาน ก็ไม่เป็นไร ขอให้เมื่อถึงเวลา ดินฟ้าครบปัจจัย อบรมบ่มธาตอากาศน้ำอันเหมาะสม ก็จะเติบโตและแพร่ขจรเกสรแห่งธรรมต่อๆไปได้อีก
ตอนที่พี่สมบูรณ์เล่าเรื่องนั้น ไม่ต้่องเตรียมโพย เตรียมบทอะไรเลย เล่าออกมาสดๆ จากความทรงจำและจากหัวใจ สไลด์ฉายโดยทีมฉือจี้ที่ได้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆออกมา พี่สมบูรณ์ก็เพียงชำเลืองดูภาพ ก็สามารถเล่าออกมาได้อย่างลื่นไหลและเปี่ยมความสุข (ผมไม่ค่อยได้มองภาพสไลด์เท่าไหร่ เพราะผมชอบมองหน้าคนกำลังเล่าเรื่องทำนองนี้มากกว่า)
นี่นับเป็นเพียงแค่ยกแรก ก่อนวันจริงเท่านั้น จะขอยกยอดไปเล่าในตอนต่อไปว่า เรามีเรื่องราวอะไรที่เล่าสู่กันบ้างในงานนี้


http://gotoknow.org/blog/phoenix-mirror?page=10