ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2010, 11:46:02 pm »




*0* ... สุดยอดค๊า
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 08:26:05 pm »

ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกร่วมได้ดีมากนะครับ เหมือนเดินตามไปด้วยเลย 55+
 :13: ขอบคุณเจ้าของบทความและขอบคุณพี่มดครับ^^
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 05:15:44 pm »

คิดพูดทำ...ความเห็นความเข้าใจให้ตรงกลางตามความจริง :19: :07:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 04:49:49 pm »






ถึงแล้วคะ เร็วจัง







[/FONT]
พี่หน่อยจะรีบไปไหนก็ถ่ายรูปก่อนคะ











ไม่ทันเวลานัดแล้ว รีบๆ เดินเร็วน้องไผ่











ผ่านเอ็มโพเรียมแล้ว เดี๋ยวใกล้จะถึงแล้วล่ะ



นี่ไงถึงแล้ว สวนสาธารณะเบญจสิริ





อ้าว...แล้วอยู่ที่ไหนกัน โทรหาพี่ตู๋ดีกว่า











นี่ไงเจอแล้ว ตัวเป็นๆ ตัวจริง เสียงจริง ดร. วรภัทร์  เพลินจะรู้ - ภู่เจริญ











เริ่มฝึกรำไทเก็กกันเลย ท่าแรกๆ ไม่ยากนะ ดูแล้วมีแวว พอใช้ได้ สอนไม่ยาก "มีลูกบอลหนึ่งลูก ถือไว้"











ท่านี้เรียกว่า ท่าเผิง ใช่อ๊ะป่าว ไม่แน่ใจ











อาจารย์เริ่มสำรวจท่าทางแล้ว แก้ไข ปรับปรุงตรงไหน ค่อยๆ ทำ ไม่ต้องรีบ








ดีแล้ว เก่งมาก











ทำให้ดูใหม่อีกรอบสิพวกเรา











ช่วงเบรคอาจารย์รำพัดให้ดูด้วย ในที่สุดน้องไผ่สนใจรำพัดอยากให้อาจารย์สอน











ลองทำดูแบบนี้นะ











ทำแบบนี้ ย่อเข่าด้วยนะ











แบบนี้ใช้ได้มั้ยคะ ท่าสวยมั้ยเนี่ย











ท่านี้เรียกว่า นกกระเรียนคู่  แสดงโดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ และว่าท่าดอกเตอร์ในอนาคต ดร. ณัฐรดา หริ่มเจริญ











ไปกินข้าวเช้ากัน แวะถ่ายรูปก่อนดีกว่า "ดอกอะไร" อีกแล้ว



ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ข้าวหมูแดง ข้างทางริมฟุตบาทนี่แหละ สุดยอด อย่าลืมล้างมือกันก่อนนะ





ข้าวหมูแดง น่ากินมั้ย











อาจารย์บอกว่า พวกมันสามารถถ่ายรูปได้ทุกสถานที่ ไม่เว้นแม้แต่ข้างถนน เอากะพวกมันสิ อิอิ



อำลา สวัสดีอาจารย์แล้ว พวกเราเดินทางต่อ เจอแล้ว "ดอกอะไรคะแม่ค้า"





นั่งรถกระป้อไปหาร้าน อะกาลิโก Agalico ที่มีขนมแสนอร่อยของหนูไผ่




พี่ตู๋ถามน้องไผ่ ร้านอยู่แถวไหน หนูจำไม่ได้คะ จำได้แค่ตึกสีขาว อยู่ต้นซอย แล้วหนูถือ "ดอกอะไร"



จำไม่ได้เลยเหรออยู่ตรงไหน เราเดินหากันเถอะ





เจอแล้ว...อาคารบุญจิราธร อยู่ซอย 51 แนะ ไม่ใช่ซอย 39



โอ้โห ไม่เสียใจเลย กว่าจะหาเจอ ร้านสวยมาก ภายนอกเป็นสวนเขียวขจี ชอบ ชอบ





บรรยากาศนอกร้าน



ร้าน AGALICO แปลว่าอะไรไม่รู้ พี่ตู๋บอกแปลว่า ไม่มีกาลเวลา




บรรยากาศในร้าน ดูอบอุ่นน่านั่งสุดๆ หายเหนื่อยเลยกว่าจะตามหาเจอเนี่ย



มาถึงก็หิวอีกล่ะ ข้าวหมูแดงมันหมดไปตอนตามหาร้านแล้วคะ



บรรยากาศเหมือนบ้านเลยนะ






อ้าวเฉลย.....ดอกอะไร ก็ดอกไม้มามอบให้พี่ตู๋ที่นำพาให้พวกเราไปเจอ ดร.วรภัทร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง "ดอกอะไร หรือไดอะล็อก Dialogue" เราสองคนขอขอบคุณพี่ตู่มั๊กๆ (ดูสายตาน้องไผ่...ซาบซึ้งขนาดไหนไม่ต้องบรรยาย) จบการเดินทางครึ่งวันของเช้าอาทิตย์ที่สนุกมาก
ต่อไปนี้คือเบื้องหลังการถ่ายทำ (เชิญชมแบบไม่ต้องมีคำบรรยายใดๆ)







































http://www.oknation.net/blog/sontana/2009/06/29/entry-2



ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 04:47:29 pm »

ไหลไปอย่างไร้กาลเวลา “สนทนา” พาสุนทรีย์


มันเจอกา..มาเจอกันอีกแล้ว เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเวลาประมาณห้าโมงเย็นผู้เขียนได้รับโทรศัพท์จากรุ่นน้องที่นิด้าที่มิบังอาจกล้าเรียกว่าน้อง โดยธรรมเนียมปฏิบัติคงเป็นรุ่นน้องเพราะอยู่รุ่น 3 (ผู้เขียนอยู่รุ่น 2) แต่วัยวุฒินั้นเป็นรุ่นพี่ที่เคารพนับถือกันเป็นอย่างมาก

“วันอาทิตย์นี้ว่างมั้ยครับ สนใจไปพบ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญด้วยกันหรือเปล่า อาจารย์จะสอนรำไทเก็ก ถ้าสนใจพี่จะได้โทรบอกอาจารย์” ผู้เขียนดีใจและตอบตกลงด้วยความรู้สึกตื่นเต้น ทั้งๆ ที่วันนั้นผู้เขียนเองมีอาการเส้นเลือดฝอยในลูกตาแตก โดยไม่รู้สาเหตุ ตั้งใจไปหาหมอและคิดว่าคงไม่เป็นไรมาก วันอาทิตย์น่าจะหายแล้ว จึงไม่อยากเสียโอกาสที่จะได้พบเจอผู้ที่เชี่ยวชาญในการทำ “ไดอะล็อก” “เจอกันเวลา 6.30 น. ที่อุทยานเบญจสิริ ข้างๆ เอ็มโพเรียมนะครับ แล้วพบกัน”


ผู้เขียนมีความสนใจเรื่องการทำ Dialogue เริ่มต้นจากการได้เห็นการทำไดอะล็อกในหลักสูตร Interpersonal Skills ที่องค์กรตนเอง (นกแอร์) โดย ดร.จุฑามาศ แก้วพิจิตร และการฟังแง่คิดของ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ผู้แต่งหนังสือ Dialogue บรรยายในงานมหกรรมตนสร้างตนที่จัดโดยนิด้าช่วงเช้า รวมถึงในช่วงบ่ายหัวข้อ “สร้างตนก่อนสร้างคน” โดยอาจารย์วิชัย อุตสาหจิต ซึ่งมีแขกรับเชิญพิเศษนำเสนอว่าได้นำการทำไดอะล็อกไปใช้ในการพัฒนาคนในองค์กร ยิ่งทำให้รู้สึกน่าสนใจมากขึ้นอีก เนื่องจากการทำไดอะล็อกเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการบริหารที่สามารถทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างยั่งยืน


Dialogue “ดอกอะไร – ไดอะล็อก” บ้างแปลเป็นภาษาไทยว่า “สุนทรียสนทนา หรือสนทนาวิวัฒน์ หรือสนทนาภิวัฒน์ หรืออารยสนทนา” ในหนังสือบอกว่า เป็นทักษะและ Competency ที่จำเป็นของผู้นำในยุคนี้ทีเดียว แปลว่าอะไรดี ก็ไม่ต้องแปลก็แล้วกัน ดร.วรภัทร์ บอกว่าให้นึกถึง “การพูดจาภาษาดอกไม้” พูดจากันด้วยความเคารพ ไม่มีฉัน ไม่มีเธอ ฟังกันไปก่อน “หากคิดไม่ตรงกัน การทดลองย่อมเกิดขึ้น” คิดต่างกันไม่ใช่ศัตรูก็เอาไปแบ่งย่อย ทดลองทำดู ไม่ต้องมาเอาเป็นเอาตายด้วยการทะเลาะกัน ทำแล้วกลับมาคุยกันดีๆ มันก็เป็นวงจรการเรียนรู้ ง่ายๆ แค่นี้เอง


ไหลไปอย่างไร้กาลเวลา


การเดินทางในเช้าวันอาทิตย์ ได้เริ่มต้นจากการออกจากบ้านตีห้านิดๆ เพื่อขับรถไปรับน้องไผ่แถวพุทธมณฑลสาย 2 และค่อยเอารถไปจอดไว้ที่การไฟฟ้าเพลินจิต จากนั้นเราสองคนก็เดินทางด้วยรถไฟฟ้าต่อเพื่อไปตามเวลาและสถานที่ที่นัดพบอย่างตั้งใจ


ครั้งแรกของการเรียนและฝึกไทเก็ก โดย ดร.วรภัทร์ เป็นผู้สอนและถ่ายทอดวิทยายุทธ์ให้ด้วยความเต็มใจ อาจารย์ใจดี ใจเย็น และรู้สึกได้ถึงความเมตตา เพราะได้ยินบ่อยครั้งด้วยคำพูดที่ฟังแล้วรู้สึกสบายๆ มีผู้มาร่วมเรียนด้วยกันประมาณ 10 คน มีหลายอายุ ทั้ง Gen Y, X และ Baby Boom (บางคนวิ่งผ่านมา ยืนมองด้วยความสนใจ อาจารย์ตะโกนถามว่า มารำด้วยกันมั้ย มาได้เลย) อาจารย์เรียกคุณแม่ (ผู้ใหญ่ที่มาเรียนด้วย) “ถ้าคุณแม่ทำท่าไหนไม่ได้ ไม่ต้องทำนะ อย่าฝืน ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ช้าๆ ไม่ต้องรีบ” “ไหวมั้ยคุณแม่ เมื่อยมั้ย ร้อนมั้ย” จะได้ยินอาจารย์ถามผู้เรียนแต่ละคนบ่อยๆ ให้ความใส่ใจ และสนใจทุกๆ คน ด้วยความห่วงใย เหมือนในหนังสือที่อาจารย์เขียนเป๊ะเลย ให้ความรักก่อนให้ความรู้ ซึ่งสัมผัสและรู้สึกได้ ที่สำคัญอาจารย์มีอารมณ์ขันตลอดเวลา มีมุขตลก ขำ ขำ ได้ยินเสียงหัวเราะกันเป็นระยะๆ บรรยากาศไม่รีบร้อน อาจารย์พูดเสมอว่า “ช้าให้เป็น” ไม่ต้องรีบ


ความประทับใจคือ ความใจเย็นของอาจารย์ ที่มักสอบถามผู้เรียนเป็นระยะๆ ว่าร้อนมั้ย เปลี่ยนไปที่ร่มๆ ใต้ต้นไม้กันเถอะ เวลาผ่านไปเริ่มได้เหงื่อและเหนื่อยกันพอสมควร อาจารย์ให้พักและมีน้ำดื่มให้ หลังจากนั้น ให้ฝึกหัดทำทีละคน อาจารย์จะให้คำแนะนำว่าท่าทางถูกต้องหรือยัง ต้องปรับปรุงอย่างไร สุดท้ายอาจารย์สรุปให้ทุกคนรู้ถึงประโยชน์ของการรำไทเก็กว่าดีต่อสุขภาพอย่างไร  การรำไทเก็กจะส่งผลต่อ 5 อวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เราจะสุขภาพดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับ ไต ตับ หัวใจ ม้าม ปอด และทำท่าไหนได้ประโยชน์สำหรับอวัยวะส่วนไหนอย่างละเอียด ไม่มีกั๊กความรู้เลยทีเดียว และยังบอกอีกว่าครั้งหน้าเรามาเรียนด้วยกันอีกนะ


ออกกำลังกายกันจนลืมเวลา แทบไม่รู้สึกเลยว่าเป็นเวลา 9.00 น.แล้ว ทุกคนกล่าวอำลาสวัสดี ขอบคุณอาจารย์และต่างแยกย้ายกันกลับบ้าน แต่กลุ่มนิด้าชวนอาจารย์ไปทานข้าวเช้าด้วยกัน ด้วยความประทับใจอีกแล้วที่อาจารย์ให้ความเป็นกันเองอย่างมาก ไปทานข้าวด้วยกันกับพวกเราแบบไม่ถือตัว ช่วงเช้าขนาดนั้นยังไม่ค่อยมีร้านค้าไหนเปิด ยกเว้นร้านข้างทาง อาจารย์ก็โอเค ชายสี่บะหมี่เกี๊ยวข้างร้านเซเว่นนี่แหละพวกเรา โดยระหว่างทานข้าว พวกเราได้สนทนากับอาจารย์อย่างสุนทรีย์ และสนุกสนานมากถึงมากที่สุด ได้ความรู้ ได้มุขขำขำจากอาจารย์เพิ่มรสชาดของอาหารให้อร่อยยิ่ง กินกันอิ่มแล้วก็กล่าวคำอำลา ขอบคุณและสวัสดีอาจารย์ จากนั้นแยกย้ายกันตรงริมฟุตบาทด้วยความประทับใจ ต้องย้ำว่ารู้สึกประทับใจมากจริงๆ 


แต่การเดินทางของผู้เขียนยังไม่จบแค่ช่วงเช้า เพราะน้องไผ่อยากไปซื้อขนมอันแสนอร่อยที่ร้าน Agalico ที่รู้แค่ว่าอยู่แถวๆ สุขุมวิทซอย 39 เป็นตึกสีขาว อยู่ต้นซอย และความสนุกสนานก็เกิดขึ้นอีกหลังจากนั้น เนื่องจากหลงทางอีกเช่นเคย โชคดีที่พี่ตู๋มีจิตอาสาอยู่กับเราสองคน เพื่อช่วยกันหาร้านนั้นให้จงได้ด้วยพี่ตู๋ก็บอกว่าอยากไปซื้อขนมอันแสนอร่อยที่น้องไผ่บอกด้วยเช่นกัน ดังนั้น มีรูปสวยๆ พร้อมเล่าเรื่องราวสนุกสนานของพวกเรามาฝากกัน


“1 วันพักผ่อนสบายๆ ไม่รีบร้อน” ตาม concept ดร.วรภัทร์ “จะรีบไปไหน จะรีบไปไหน ช้าให้เป็นบ้าง” ดังนั้น ในวันพักผ่อนเช่นนี้ เราจึงไหลไปอย่างไร้กาลเวลา ไม่เร่งรีบ ทำแต่ละกิจกรรมด้วยการสนทนาอย่างสุนทรีย์ตลอดวันและตลอดทางด้วยกันอย่างมีความสุข






Dialogue “ดอกอะไร – ไดอะล็อก”



หลังจากนำรถจอดไว้ที่การไฟฟ้าแล้ว เรากำลังจะนั่งรถไฟฟ้าจากสถานีชิดลมเพื่อไปลงสถานีพร้อมพงษ์ ไม่ค่อยมีผู้คนมากมายเนื่องจากยังเช้าอยู่ 6.30 น. เลยใช้เจ้าหน้าที่รถไฟฟ้าถ่ายรูปให้ซะเลย

บนรถไฟฟ้าก็ยังคงมีแต่เรา เราและนาย "พี่หน่อยกะน้องไผ่"