ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 10:09:28 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2010, 09:15:13 pm »

ทุกครั้งที่ผมฝึกอบรมหลักสูตร “ทักษะการสอนงาน ” หรือ “Coaching Skill” ผมมักให้ผู้เข้าอบรมได้อ่านกรณีศึกษาของครูสมพร…คนสอนลิง เพื่อนำแง่คิดและมุมมองที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

 

เรื่องราวของครูสมพรได้รับการยอมรับ และเป็นที่กล่าวขานถึงด้วยความชื่นชมจากนักวิชาการด้านการศึกษาทั้งของไทยและต่างประเทศ 

ดร.รุ่ง แก้วแดง กล่าวยกย่องให้ครูสมพรเป็นปราชญ์ชาวบ้าน   
ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ก็กล่าวชื่นชมครูสมพรว่าเป็นครูที่ “ให้ความรักก่อนที่จะให้ความรู้”

ผมชื่นชมที่ครูสมพรสอนได้แม้กระทั่งลิงที่เป็นสัตว์ที่ซุกซน ดูเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยมีสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง   

แต่หลาย ๆ ครั้งที่ผมกลับได้ยินลูกศิษย์ บ่นถึงลูกน้องของตัวเองว่า “สอนยากสอนเย็นเหลือเกิน” หรือไม่ก็ “สอนก็แล้ว บอกก็แล้ว ไม่เห็นมีอะไรดีขึ้นเลย” รวมทั้งคำพูดที่ว่า  .”ลูกน้องคนนั้นพัฒนายาก ส่วนคนนี้ก็พัฒนาไม่ได้แล้ว”   

ผมจึงอยากให้ใครก็ตามที่มีความรู้สึกคล้าย ๆ กับคำพูดข้างต้น ได้อ่านบทความเรื่องของครูสมพร ที่ผมถ่ายเอกสารมาจากหนังสือพิมพ์มติชนเมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว  ตอนนั้นผมนำมาให้ผู้เข้าอบรมอ่านกัน    ตอนหลังผมแนะนำให้ทุกคนไปหาซื้อหนังสือ เรื่อง “ ครูสมพร คนสอนลิง “ ที่เขียนโดย โดย ดร.รุ่ง แก้วแดง  มาอ่านก่อนเข้าอบรม เพื่อจะได้เข้าใจวิธีสอนวิธีคิดทั้งหมดของครูสมพร

วันนี้ผมได้มีโอกาสอ่านบทความนั้น อีกครั้งหนึ่ง จึงนำบางส่วนมาให้ทุกท่านได้อ่านดู เผื่อจะเป็นประโยชน์ในการสอนลูกที่บ้าน  สอนลูกน้องที่ที่ทำงาน  หรือสอนใจตัวเองก็ได้ครับ  ต่อไปนี้คือบางส่วนจากหนังพิมพ์มติชน ครับ

            สมพร นามสกุล แซ่โค้ว เป็นชาวบ้าน อ.กาญจนดิษฐ์  จ.สุราษฎร์ธานี เป็นชาวสวนมะพร้าว เรียนจบเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

            ในวัยเพียง 17 ปี เขามีความคิดที่จะก่อตั้งวิทยาลัยฝึกลิง หลังเกิดแรงบันดาลใจจากความเวทนาลิงเก็บมะพร้าว และคิดที่จะหาทางช่วยไม่ให้ลิงต้องถูกเฆี่ยนเพราะเก็บมะพร้าวไม่เลือกแก่อ่อน ประกอบกับแรงหนุนส่งจากคำสอนของท่านพุทธทาส ภิกขุ แห่งสวนโมขพลาราม อริยสงฆ์ที่สมพรให้ความนับถือ

            ท่านพุทธทาสจุดประกายคิดให้กับเขาว่า

            “การศึกษามิใช่การเรียน ๆ ท่อง ๆ  แต่เป็นการเห็นอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ด้วยตนเอง….การศึกษามีอยู่รอบตัว ธรรมชาติจะสอนให้เราเรียนรู้อย่างสะอาดและสวยงาม” 

            ถึงแม้มีแรงบันดาลใจที่จะก่อตั้งโรงเรียนฝึกลิงแล้วก็ตาม แต่เขายังไม่มีโอกาสทำมันเป็นจริงเป็นจังเสียที สิ่งที่ทำได้มีเพียงฝึกฝน “ไข่นุ้ย” ทหารเอกของเขา และคิดค้นวิธีการสอน การวางแผน การปฏิบัติงาน การวัดผล และการแสวงหานวัตกรรม การสอนใหม่ๆ โดยไม่ทำให้ลิงเกิดความกลัวจากการลงโทษเฆี่ยนตี แต่ฝึกได้ด้วยความรักและความเมตตา

            “การฝึกผู้ไม่รู้ให้รู้ ไม่จำเป็นต้องลงโทษ เฆี่ยนตี  แต่ต้องสอนแบบไม่บังคับ ไม่เฆี่ยนตี เพราะการเฆี่ยนตีคือโทสะ เหมือนการทำให้น้ำขุ่นจะไม่เห็นตัวปลา จิตไม่สงบก็ไม่เกิดปัญญา การเรียนการสอนเราต้องการปัญญา”  ลุงสมพรอธิบายถึงแก่นของการเรียนการสอน

            จวบจนกระทั่งเตรียมหลักสูตรพร้อมแล้ว ครูสมพรจึงได้ก่อตั้ง “วิทยาลัยฝึกลิงเพื่อการเกษตร” เมื่อปี พ.ศ.2500 ที่ อ.กาญจนดิษฐ์ โดยเขาเป็นครูเพียงคนเดียว ทำหน้าที่ทุกอย่าง นับตั้งแต่เป็นผู้บริหารฝึกสอน ผู้กำกับการแสดง และผู้บรรยาย

            การเรียนมี 4 ระดับ ระดับอนุบาลและประถมศึกษา รวม 8 เดือน ระดับมัธยมศึกษาใช้เวลาอีก 3 เดือน ระดับอุดมศึกษานั้นแล้วแต่ลักษณะความเชี่ยวชาญพิเศษที่ต้องการให้เกิด ที่ผ่านมามีลูกศิษย์หน้าขน 80% จบประถมศึกษาแล้วเจ้าของรับไปสอนต่อเองมี 15% จบมัธยมศึกษา และ 5% หรือประมาณ 20 ตัว จบอุดมศึกษา

            หนึ่งในบัณฑิต 20 ตัว มีตัวหนึ่งโด่งดังเป็นพลุแตก ชื่อ “ไข่นุ้ย” มันโด่งดังจากการแสดงละครลิง แสดงภาพยนตร์ เดินสายโชว์ในรายการโทรทัศน์ ฯลฯ เป็นที่รู้จักทั่วเมืองไทย

            กลับมาที่หัวใจการเรียนการสอนลิงเก็บมะพร้าว ลุงสมพรบอกว่า มันก็เหมือนกับสอนเด็ก คือเรียนจากง่ายไปหายาก โดยจัดหลักสูตรไว้คร่าวๆ ดังนี้ เดือนที่  1 ใช้มือ เดือนที่ 2 ใช้เท้า เดือนที่ 3 ท่ายืน ท่ากระโดด เดือนที่ 4 ไต่ราว เดือนที่ 5 ขึ้นต้น เดือนที่ 6 ฝึกงาน ฯลฯ

            สำหรับการจากไปของครูสมพร ดร.รุ่ง แก้วแดง เลขาธิการกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กล่าวไว้อาลัยตอนหนึ่งว่า
            “ครูสมพรไม่ใช่เป็นเพียงคนสอนลิง แต่ทว่าจากประสบการณ์ของครูสมพรที่ใช้สอนลิงยังสามารถนำมาใช้สอนคนได้เป็นอย่างดี จุดเด่นของครูสมพรที่มากกว่าเรานักการศึกษาคือครูสมพรนำหลักจิตวิทยามาใช้ในการสอนลิง โดยเฉพาะเรื่องความรักและความเข้าใจในพฤติกรรมและความต้องการของลิง สามารถจัดกระบวนการขั้นตอนการเรียนรู้ให้ลิงอย่างเป็นลำดับ นับตั้งแต่นำลิงมาจากป่า จะดูเรื่องสุขภาพก่อน เช่น ให้ถ่ายพยาธิ สอนให้กินอาหาร กินข้าว และจัดบริบทสิ่งแวดล้อมให้ลิง เช่น เวลาให้ลิงเก็บมะพร้าวเฉพาะสีน้ำตาล ครูสมพรก็จะมีสิ่งแวดล้อมเฉพาะสีน้ำตาลให้ลิงได้เห็น ฉะนั้นเมื่อลิงขึ้นต้นมะพร้าวก็จะเก็บเฉพาะมะพร้าวสีน้ำตาลไม่เก็บมะพร้าอ่อนสีเขียว เหตุนี้จึงไม่เกิดความสูญเสียเหมือนลิงทั่วไป ผมถือว่าครูสมพรเป็นนักการศึกษา ที่สำคัญมากคนหนึ่ง”

 
 
http://www.oknation.net/blog/chaiyospun/2008/04/29/entry-1