ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:58:32 pm »

 :45: สาธุๆครับ อนุโมทนาครับพี่แทน
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:44:46 pm »

บรรณานุกรม



พระพุทธโฆษาจารย์ สมันตปาสาทิกา นาม วินัยอัฏฐกถา ปฐโม ภาโค มหาวิภังควัณณนา กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๒๕/๒๕๑๕

พระธรรมปิฏก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๘ มกราคม ๒๕๓๘

พระสังเวย ธัมมเนตติโก ภิกษุณีกับการบรรลุอรหัตผล กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ประดิพัทธ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗

สุชีพ ปุญญานุภาพ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหา-

มกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๒๕/๒๕๓๙

พันตรี ป. หลงสมบุญ พจนานุกรมไทย-มคธ ฉบับสำนักเรียนวัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร อาทรการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๐

จำเนียร ทรงฤกษ์ ชีวประวัติพุทธสาวิกา ฉบับสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว กรุงเทพมหานคร พิมพ์ครั้งที่ ๒๕/๒๕๑๕

คณะผู้จัดทำพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์วัฒนาพานิช พิมพ์ครั้งที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐





--------------------------------------------------------------------------------

[๑] อนุธรรมคือสิกขาบท ๖ ข้อ ที่สามเณรีต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตลอด ๒ ปี ได้แก่ ๑. ไม่ฆ่าสัตว์ ๒. ไม่ลักทรัพย์ ๓. ประพฤติพรหมจรรย์ ๔.ไม่พูดเท็จ ๕.ไม่ดื่มสุราเมรัย ๖.ไม่บริโภคอาหารเวลาวิกาล

ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ เพราะประพฤติสิกขาจริยวัตร เพราะทรงผ้าที่ถูกทำลายแล้ว เพราะสมญา เพราะปริญญา เพราะความหมายว่าเป็นเอหิภิกษุณี เพราะเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมณ์ เพราะเป็นผู้เจริญ เพราะเป็นพระเสขะ เพราะเป็นผู้อันสงฆ์สองฝ่ายพร้อมเพรียงกันอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมอันไม่กำเริบแก่ฐานะ (วินย.ภิกฺขุนี.๓/๖๕๘/๔)


[๒] ในมธุรัตถวิลาสินีแสดงลำดับการจำพรรษาของพระพุทธเจ้าว่าในพรรษาที่ ๑๕ ทรงจำพรรษาที่นิโครธารามเมืองกบิลพัสดุ์. (พุทธ.อ.หน้า ๕)

การจัดลำดับบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา จัดภิกษุณีอยู่ในอันดับรองจากภิกษุ เพราะอยู่ฝ่ายบรรพชิต แต่ถ้าจัดตามลำดับการเกิดขึ้นก่อนหลังภิกษุณีจะจัดอยู่ในอันดับสุดด้าย เพราะบริษัทนี้เกิดขึ้นในอันดับสุดท้ายและเกิดขึ้นด้วยความยากลำบากไม่เหมือนบริษัทอื่น ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงพุทธบริษัทผู้ที่ทำหน้าที่จะทำหน้าที่สืบอายุพระพุทธศาสนาว่ามี ๔ จำพวก ได้แก่ พระสาวก พระสาวิกา อุบาสก และอุบาสิกา ในฝ่ายบรรพชิตคือสาวกกับสาวิกา ต้องเป็นพระเถระ หรือพระเถรี ทั้งมีวัยปูนกลางและวัยนวกะ มีความรู้เชี่ยวชาญฝึกฝนอบรมตนมาแล้วอย่างดี และสามารถปราบปรับวาทะคือข้อโต้แย้งจากฝ่ายตรงข้าม ในฝ่ายคฤหัสถ์คือ อุบาสกกับอุบาสิกาต้องเป็นทั้งประเภทพรหมจารีและพรหมจาริณี ที่มีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับบรรพชิต หลักฐานนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า พุทธบริษัทผู้จะสืบอายุพระพุทธศาสนาบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลกได้นั้น นอกจากมีคุณธรรม มีความประพฤติอันเป็นคุณสมบัติภายในตนอย่างดีแล้ว จะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในหลักคำสอนฝ่ายตนเองจนสามารถสอนคนอื่นได้ เอาชนะการรุกรานทางหลักธรรมจากลัทธิศาสนาอื่นๆ คุณสมบัติเหล่านี้เป็นปัจจัยให้พระสาวก ต้องมีความรู้ความชำนาญในหลักลิทธิศาสนาและหลักวิชาอื่นๆ เกี่ยวข้องด้วย หากไม่ได้ศึกษามาก่อนต้องมาศึกษาเพิ่มเติมในภายหลัง. (ที.ปา.๑๑/๑๗๕/๑๐๘).

[๓] วินัย.อ.๑/๔๕/๒๕๔

[๔] วินัย.จูฬ.๗/๔๐๒/๒๓๑,องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๕๑/๒๒๗

[๕] วินัย.จูฬ.๗/๕๐๓/๒๓๔

[๖] ขุ.ขุ.๒๕/๑/๑

[๗] สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส, วินัยมุข เล่ม ๑ , หน้า ๑๖๗

[๘] “อนุชานามี ภิกฺขเว ทฺว วสฺสานิ ฉสุ ธมฺเมสุ สิกฺขิตสิกฺขาย วุฏฺฐานสมฺมตึ ทาตํ” (วินย.ภิกฺขุนี.๓/๑๐๘๔/๑๗๓)



[๙] “อนุชานามิ ภิกฺขเว ภิกฺขูหิ ภิกฺขุนิโย อุปสมฺปาเทตํ”(วินย.จูฬ.๑/๔๒๔/๒๕๘)

[๑๐] วินย.อ.๑/๔๕/๒๕๔.
http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=1973.msg12614#new
เจ้ธรรมฐิตาลงไว้ครับสาธุhttp://www.agalico.com/board/showthread.php?t=29598&page=3กระทู้เก่า
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:43:14 pm »

๓๑๑ สิกขาบท โดยแบ่งออกเป็น ๗ อย่าง คือ

๑. ปาราชิก มี ๔ สิกขาบท

๒. สังฆาทิเสส มี ๑๗ สิกขาบท

๓. นิสสัคคียปาจิตตีย์ มี ๓๐ สิกขาบท

๔. ปาจิตตีย์ มี ๑๑๖ สิกขาบท

๕. ปาฏิเทสนียะ มี ๖ สิกขาบท

๖. เสขิยวัตร มี ๗๕ สิกขาบท

๗. อธิกรณสมถะ มี ๗ สิกขาบท

ในศีล ๓๑๑ สิกขาบทของนางภิกษุณีนั้น เป็นของนางภิกษุณีแท้ๆ เพียง ๑๓๐ สิกขาบท ส่วนอีก ๑๘๑ สิกขาบท นำมาจากศีล ๒๒๗ สิกขาบทของภิกษุ เหตุที่นำมา ๑๘๑ สิกขาบท ก็เพราะได้เลือกเฉพาะที่ใช้กันได้ทั้งภิกษุและภิกษุณี อันใดที่เป็นของเฉพาะภิกษุแท้ๆ ก็จะไม่นำมาใช้สำหรับภิกษุณีดูจากการเปรียบเทียบ ดังนี้

ชื่อ ของภิกษุณี นำของภิกษุมาใช้ รวม

ปาราชิก ๔ ๔ ๘

สังฆาทิเสส ๑๐ ๗ ๑๗

นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๑๒ ๑๘ ๓๐

ปาจิตตีย์ ๙๖ ๗๐ ๑๑๖

ปาฏิเทสนียะ ๘ - ๘

เสขิยวัตร - ๗๕ ๗๕

อธิกรณสมถะ - ๗ ๗

รวมทั้งสิ้น ๑๓๐ + ๑๘๑ = ๓๑๑
ภิกษุณีในประเทศไทย

“…..ภิกษุณีสงฆ์ประดิษฐานในลังกาทวีป ในรัชกาลของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ โดยพระสังมิตตาเถรี พระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาจากชมพูทวีปมาประกอบอุปสมบทกรรมแก่พระนางอนุฬาเทวี ชายาของพระเจ้ามหานาค อนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พร้อมด้วยสตรีอื่นอีก ๑ พันคน ภิกษุณีสงฆ์ เจริญรุ่งเรื่องในลังกาทวีปยาวนานไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี แต่ในที่สุดได้สูญสิ้นไปด้วยเหตุใดและกาลใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้เคยมีการประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์



คำอธิบาย

พระไตรีปิฎก จะแจงเล่ม ข้อ หน้าตามลำดับ ตัวอย่างเช่น วินย.จูฬ.๗/๔๐๓/๒๓ หมายถึงวินัยปิฎก จูฬวรรค เล่มที่ ข้อ ๔๐๓ หน้า ๒๓๔

อรรถกถา จะแจ้งเล่มหน้าตามลำดับ ตัวอย่างเช่น ธ.อ.๑/๑๒๖ หมายถึง ธัมมปทัฏฐกถา เล่ม ๑ หน้า ๑๒๖


ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:42:38 pm »

อกรณียกิจ ได้แก่ กิจที่บรรพชิตไม่พึงทำ มี ๘ อย่าง คือ

๑. ไม่พึงเสพเมถุน คือ การร่วมประเวณี

๒. ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้

๓. ไม่พึงทำลายชีวิตมนุษย์ให้ตกล่วงไป

๔. ไม่พึงอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน

๕. ไม่พึงมีความกำหนัดยินดีในการลูบคลำจับต้อง

๖. หากรู้ว่า ภิกษุณีรูปใดเป็นอาบัติปาราชิก ต้องโจทด้วยตนเองหรือบอกแก่หมู่คณะ

๗. ไม่พึงประพฤติตามภิกษุที่ถูกสงฆ์ขับออกจากพระธรรมวินัย

๘. ไม่พึงมีความกำหนัดยินดีกับบุรุษผู้มีความกำหนัดยินดี เช่น จับมือ จับชายผ้ายืนด้วยกัน สนทนาด้วยกันเข้าสู่ที่มุงบังทอดกายแก่บุรุษนั้น

(กรณียกิจ คือปาราชิก ๘ ของภิกษุณีวินัย.ภิกขุนี๓/๑-๖๗๔/๑-๑๔).

เมื่อบอกนิสัย ๓ และอกรณียกิจ ๘ เสร็จแล้ว ก็เป็นอันสำเร็จการให้อุปสมบทด้วยวิธี “อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา”

๓. ทูเตนอุปสัมปทา

วิธีนี้ทรงมีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบทอย่างเดียวกับวิธีอัฏฐวาจิกาทุกอย่าง ต่างแต่ว่าผู้ปรารถนาจะบวชไม่สามารถจะเดินทางไปขอรับการอุปสมบทในสำนักของภิกษุได้ด้วยตนเอง เนื่องจากมีอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้ต้องการจะบวช พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต

ให้ส่งภิกษุณีตัวแทนของสตรีผู้ได้รับอุปสมบทจากภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวไปสำนักของภิกษุสงฆ์ตัวแทนซึ่งทำหน้าที่เป็นทูตในการให้อุปสมบท จะต้องเป็นผู้ฉลาดสามารถที่จะทำกิจของตนกล่าวให้สำเร็จได้ เมื่อผู้เดินทางไปถึงสำนักภิกษุณีสงฆ์แล้ว แจ้งความจำนงให้ทราบเมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกันจึงกล่าวแก่ภิกษุสงฆ์ ๓ ครั้งว่า

ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย นางผู้มีชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาแม่เจ้าชื่อนี้ ได้รับการอุปสมบทแล้วจากสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย นางผู้มีชื่ออย่างนี้ ขออุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดเอ็นดูยกนางขึ้นเถิด


วิธีอุปสมบทด้วยทูต พระพุทธเจ้า ทรงมีพระพุทธานุญาตให้อุปสมบทแก่นางคณิกาคนหนึ่ง ชื่อ “อัฑฒกาลี” นางได้อุปสมบทในสำนักงานภิกษุณีแล้ว ปรารถนาจะเดินทางไปขอบวชในสำนักภิกษุสงฆ์ที่เมืองสาวัตถี เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไป นักเลงในย่านในจึงคอยดักหวังประทุษร้าย นี้เป็นสาเหตุให้มีการอุปสมบทโดยส่งตัวแทน

จากนั้น ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ จะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจา เมื่อประกาศจบแล้วจึงวัดเงาแดด บอกฤดู บอกส่วนแห่งวัน นับจำนวนสงฆ์ที่ประชุมในการอุปสมบทนั้น แล้วส่งผู้เป็นทูตให้เดินทางกลับไปบอกนิสัย ๓ และอกรณียกิจ ๘ แก่ภิกษุณีที่ได้รับการอุปสมบทใหม่ เท่านี้จึงเป็นอันเสร็จพิธีการให้อุปสมบทโดยใช้ทูต ดังพุทธานุญาตว่า “เราอนุญาตให้อุปสมบทโดยทูตได้บ้าง”







สาเหตุการออกบวชของภิกษุณี

จากการศึกษาถึงสาเหตุแห่งการออกบวชของภิกษุณีจำนวน ๗๓ รูป พบว่าออกบวชเพราะสาเหตุแตกต่างกันไป เช่น บวชเพราะเลื่อมใสพระพุทธเจ้าก็มี เพราะฟังธรรมก็มี เพราะสาเหตุอื่นๆก็มี ซึ่งได้แก่ ความยุ่งยากในชีวิตครับครัว เบื่อชีวิตคฤหัสถ์ ออกบวชเพราะญาติ เป็นต้น

เครื่องนุ่งห่มของภิกษุณี

ในพระวินัยปิฎก แห่งภิกษุณีขันธกะ ได้กล่าวถึงเครื่องนุ่งห่มพระภิกษุรีว่า มี ๕ อย่าง คือ

๑. ผ้าสังฆาฏิ ผ้าซ้อนนอก

๒. ผ้าอุตราสงค์ จีวร คือ ผ้าห่ม

๓. อันตรวาสก สบง คือ ผ้านุ่ง

๔. ผ้ารัดอก

๕. ผ้าผลัดอาบน้ำ

ศีลของภิกษุณี

ในพระบาลีคัมภีร์ภิกขุนีวิภังค์ แห่งพระวินัยปิฎก กล่าวถึงศีล (วินัย) ของภิกษุณีว่ามี

ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:42:04 pm »

ต่อจากนั้น อนุสาวิกาจะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกัมมวาจาว่า

 “ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานามีชื่อย่างนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง ข้าพเจ้าพึงถามอันตรายิกธรรมอุปสัมปทาเกปกขาชื่อนี้”

จากนั้น อนุสาวิกาเริ่มถามอันตรายิกธรรมเหมือนกับที่ได้ซักซ้อมมาก่อนภายนอกสงฆ์ เมื่อถามอันตรายิกธรรมเสร็จ จึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจาว่า

ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่ออย่างนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย มีบาตรจีวรครบบริบูรณ์ อุปสัมปทาเปกขาชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็น
ปวัตตินี ขออุปสมบทต่อสงฆ์ หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง จงให้อุปสัมปทาเปกขาชื่อนี้ อันมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินีอุปสมบท นี้เป็นวาจาที่ประกาศให้สงฆ์ทราบ…. สงฆ์ใดให้การอุปสมบทแก่อุปสัมปทาเปกขาชื่อนี้ อันมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี เพราะสงฆ์เห็นชอบ จึงนิ่ง ข้าพเจ้าจะจำความนี้ไว้อย่างนี้

เมื่อเสร็จการสวดญัตติกัมมวาจา เป็นอันได้ชื่อว่า “เอกโตอุปสัมปทา” คือ “ผู้ได้รับอุปสมบทจากสงฆ์ฝ่ายเดียว” ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นภิกษุณีโดยสมบูรณ์ ดังพระพุทธานุญาตว่า “เราอนุญาตให้ผู้บวชโดยสงฆ์ฝ่ายเดียวในภิกษุณีสงฆ์ ได้บวชในภิกษุสงฆ์ต่อไป” ต้องดำเนินการอุปสมบทในชั้นต่อไปจากภิกษุสงฆ์

๒.๔ การขออุปสมบทในสำนักภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธบัญญัติว่า“เราอนุญาตให้ภิกษุบวชภิกษุณี” ดังนั้น เมื่อผ่านการอุปสมบทจากฝ่ายภิกษุณีสงฆ์แล้ว ภิกษุณี(ปวัตตินี)จะพาเธอผู้เป็นอุปสัมปทาเปกขาไปขออุปสมบทในสำนักภิกษุสงฆ์ต่อไป พึงให้อุปสัมปทาเปกขาห่มผ้าเฉวียงบ่า ทำความเคารพภิกษุทั้งหลาย นั่งคุกเข่า ประนมมือกล่าวคำขออุปสมบทต่อภิกษุสงฆ์ ๓ ครั้งว่า

ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย ข้าพเจ้าชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ เป็นผู้ได้รับการอุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดเอ็นดูยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด

ต่อจากนั้น ภิกษุผู้ฉลาดสามารถจะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจาว่า



ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางผู้มีชื่ออย่างนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ได้รับการอุปสมบทแล้วจากสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางผู้นี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินีขออุปสมบทต่อสงฆ์ หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง จงให้นางผู้มีชื่อนี้มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินีอุปสมบท นี้เป็นวาจาประกาศให้สงฆ์ทราบ.. สงฆ์ได้ให้อุปสมบทนางผู้มีชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี เพราะสงฆ์เห็นชอบ จึงนิ่ง ข้าพเจ้าจะจำความนี้ไว้อย่างนี้

เมื่อจบการสวดญัตติจตุตถกัมมวาจา อุปสัมปทาเปกขาก็ได้ชื่อว่าสำเร็จเป็นองค์ภิกษุณี ตามประพุทธญัตติทุกอย่าง จากนั้น จึงวัดเงาแดด บอกฤดู บอกส่วนแห่งวัน บอกจำนวนสงฆ์ที่รวมประชุมเพื่อให้รู้ว่า การอุปสมบทเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะที่เงาแดดอยู่ในระยะเท่าใด (การอุปสมบทของภิกษุในปัจจุบันใช้ “นาฬิกา” แทนการวัดเงาแดด) อยู่ในฤดูไหน อยู่ในส่วนแห่งวัน คือ เช้า สาย บ่าย และเพื่อรู้จำนวนสงฆ์ที่ประชุมให้อุปสมบท ต่อจากนั้น สงฆ์พึงมอบให้ภิกษุณีที่พามานั้นบอกอนุศาสน์คือ หลักสำคัญที่ภิกษุณีผู้บวชใหม่จะต้องเรียนรู้ เรียกว่า “นิสัย” และ “อกรณียกิจ”

ดังพระพุทธานุญาตที่ตรัสว่า“พึงบอกนิสัย ๓ อย่าง และอกรณียกิจ ๘ อย่าง แก่ภิกษุณีนี้”

นิสัย ได้แก่ สิ่งที่ภิกษุณีจะต้องยึดถือเป็นแนวปฏิบัติมี ๓ อย่าง คือ

๑. บรรพชิตต้องอาศัยโภชนะ คือ อาหารที่หามาได้ด้วยลำแข้ง พึงอุตสาหะในข้อนี้ตลอดชีวิต

๒. บรรพชิตต้องอาศัยผ้าบังสุกุลจีวร พึงอุตสาหะในข้อนี้ตลอดชีวิต

๓. บรรพชิตต้องอาศัยน้ำมูตรเน่า พึงอุตสาหะในข้อนี้ตลอดชีวิต

นิสัย ๓ ของภิกษุณี เหมือนนิสัยของภิกษุ ต่างแต่ว่านิสัยของภิกษุมี ๔ อย่าง ภิกษุณีไม่มีการอยู่โคนต้นไม้เหมือนภิกษุ ทั้งก็เพื่อสวัสดิภาพของภิกษุณีเอง
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:41:30 pm »

๒.๓ ขั้นขออุปสมบท

สตรีผู้เป็นสิกขมานารักษาสิกขาสมมติ ๖ ข้อ ครับ ๒ ปี ตามพระพุทธานุญาต และได้รับสมมติจากสงฆ์เพื่ออุปสมบทแล้วจึงสมควรได้รับการอุปสมบทต่อไปดังพระบรมพุทธานุญาตว่า

“เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่สิกขมานา ผู้ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ครับ ๒ ปี”

อนึ่งในการอุปสมบทของภิกษุณี ผู้บวชจะต้องมีปวัตตินีหรือพระอุปัชฌาย์ที่ฉลาดสามารถ รอบรู้ในพระธรรมวินัย มีคุณสมบัติตามพระพุทธบัญญัติคือ มีพรรษาครับ ๑๒ ปี ได้รับสมมติ จากภิกษุณีสงฆ์ให้บวชกุลธิดาได้

ส่วนข้อปฏิบัติอื่นๆ ของปวัตตินีในการให้อุปสมบท อาทิ ห้ามบวชหญิงโสดที่มีอายุไม่ถึง ๑๒ ปี ห้ามบวบให้หญิงมีครรภ์ ห้ามบวชหญิงที่มีลูกอ่อน ห้ามบวชให้หญิงทุกๆปี อนุญาตให้บวชได้ปีละ๑ คน ห้ามบวชหญิงที่ผู้ปกครองไม่อนุญาต ห้ามบวชหญิงที่เป็นโรคน่ารังเกียจ ห้ามบวชให้หญิงที่เป็นโจร ห้ามบวชสิกขมานาผู้ไม่ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี และต้องได้รับสมมติจากภิกษุณีสงฆ์ก่อนจึงบวชให้ได้ หรือถ้าจะบวชหญิงมีอายุ๑๒ปีที่ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ครบ ๒ ปีแล้ว ก็ต้องได้รับสมมติจากสงฆ์เช่นเดียวกันเมื่อให้การบวชต่อสหวีชนีหรือสัทธิวิหารินีแล้วต้องดูแลเอาใจใส่ให้การศึกษาอบรมเป็นเวลา ๒ ปี (วินัย.ภิกขุนี.๓/๑๑๒๐/๑๘๖. กล่าวถึงหน้าที่ของปวัตตินีที่พึงปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก)

สิกขมานาห่มผ้าเฉวียงบ่า เข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ ทำความเคารพ นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำขอ
“วุฎฐานสมมติ” คือ “พ้นจากภาวะที่เป็นสิกขมานา” ต่อหน้าภิกษุณีสงฆ์ ๓ ครั้งว่า

ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ตลอดเวลา ๒ ปี ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์

ต่อจากนั้น ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถ จะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกัมมวาจาว่า

ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้เป็นกุมารีของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๒๐ ปี แล้ว ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง จงให้วุฏฐานสมมติแก่สิกขมานาชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ผู้ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ครบ ๒ ปีแล้ว นี้เป็นคำที่ประกาศให้สงฆ์ทราบ สงฆ์ก็จะได้ให้วุฏฐานสมมติแก่สิกขมานาชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ครบ ๒ ปี แล้ว แม่เจ้ารูปใด เห็นชอบกับการให้วุฏฐานสมมติแก่สิกขมานาชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อครบ ๒ ปี แล้ว จงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นชอบจงทักท้วง.

สงฆ์ใดให้วุฏฐานสมมุติแก่สิขามานาชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ครบ๒ ปีแล้ว พระสงฆ์เห็นชอบจึงนิ่ง ข้าวพระเจ้าจะจำความนี้ไว้อย่างนี้
เมื่อนางสิกขามานาได้วุฏฐานสมมุติจากภิกษุณีสงฆ์แล้ว จะต้องยึดถือภิกษุณี รูปใดรูปหนึ่งเป็น

ปวัตตินี ได้แก่ เป็นผู้รับรองให้การอุปสมบท สิกขามานาผู้มีปวัตตินีแล้ว เรียกว่า “อุปสัมปทาเปกขา”หมายถึง “ผู้มุ่งการอุปสมบท”ในการอุปสมบทของอุปสัมปทาเปกขาปวัตตินีจะบอกบาตรจีวรแก่เธอแล้วบอกให้เธอออกไปพ้นเขตสงฆ์ จากนั้น ภิกษุนี้ผู้ฉลาดสามารถกล่าวสมมติตนเพื่อไปซักซ้อมถามอันตรายิกธรราม แก่อุปสัมปทาเปกขา ดังพุทธานุญาตว่า “เราอนุญาตเพื่อกล่าวสอนในที่แห่งหนึ่งแล้ว จึงถามอันตรายิกธรรม ในท่ามกลางสงฆ์” (วิ.จูฬ. ๗/๔๒๓/๒๕๕)

ภิกษุณีที่ได้รับสมมติให้เป็นผู้ซักซ้อมอันตรายิกธรรม เรียกว่า “อนุสาวิกา” จะกล่าวสมมติตนว่า“ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง ข้าพเจ้าจักซักซ้อมอุปสัมปทาเปกขาชื่อนี้” จากนั้น ภิกษุณีนั้นจะออกไปหาอุปสัมปทาเปกขาเพื่อทำการสอนว่า

สิกขมานาชื่อนี้ เธอจงฟังนะ เวลานี้เป็นเวลาที่เธอต้องพูดตามสัตย์ เมื่อถูกถามท่ามกลางสงฆ์ถึงสิ่งที่เป็นจริง ถ้าเธอมีก็ตอบว่ามี ถ้าไม่มีก็จงตอบว่าไม่มี เธออย่าละเลย ภิกษุณีทั้งหลายจะถามเธออย่างนี้ว่า เธอเป็นคนที่ไม่ใช่ผู้ไม่มีอวัยวะเพศหรือ เป็นคนไม่ใช่สักแต่ว่ามีอวัยวะเพศหรือ ไม่ใช่ผู้ที่ปราศจากโลหิต (ประจำเดือน) เป็นประจำหรือ ไม่ใช่ผู้มีโลหิตหรือ ไม่ใช่ผู้มี่มีผ้าซับในเสมอหรือ ไม่ใช่ผู้ที่มีน้ำมูตร(ปัสสาวะ) กะปริบกระปรอยหรือ ไม่ใช่ผู้ที่มีหงอนหรือ ไม่ใช่หญิงกระเทยหรือ ไม่ใช่หญิงคล้ายชายหรือ ไม่ใช่หญิงมีมรรคระคนกันหรือ ไม่ใช่คนสองเพศหรือ เธอเป็นโรคเหล่านี้หรือไม่ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคมองคร่อ(คล้ายโรคหืด) โรคลมบ้าหมู เธอเป็นหญิงมนุษย์หรือเป็นสตรีหรือ เป็นไทแก่ตัวเองหรือ มีหนี้สินหรือไม่ เป็นสตรีของพระราชาหรือไม่ ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาสามีแล้วหรือ มีอายุครับ ๒๐ ปีแล้วหรือ มีบาตรจีวรครบแล้วหรือ เธอชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร

พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติระเบียบในการบวช ที่เรียกว่า “อันตรายิกธรรม” ไว้เป็นเกราะชั้นหนึ่งก่อน อันตรายิกธรรมเริ่มต้นที่การอุปสมบทของภิกษุแล้วประยุกต์ใช้กับภิกษุณี เหตุที่ต้องมีการวักถามกันก่อนภายนอกสงฆ์นั้น สืบเนื่องจากสมัยนั้นผู้บวชเกิดละอายเก้อเขิน ไม่อาจตอบคำถามบางอย่างได้ตามจริง พระพุทธเจ้าจึงทรงให้ไปถามกันก่อนเป็นการส่วนตัว ถึงกระนั้น บางคนยังละอายอยู่พอถูกซักถามท่ามกลางสงฆ์ก็ตอบไม่ได้ หรือตอบไม่ตรงตามความจริง ดังนั้น จึงมีพระพุทธานุญาตให้ไปซักถามกันภายนอก ซึ่งห่างไกลจากหมู่ก่อนแล้วจึงค่อยกลับมาถามท่ามกลางสงฆ์อีก

เมื่ออนุสาวิกาออกไปซ้อมถามอันตรายิกธรรมแก่อุปสัมปทาเปกขาเสร็จ จึงกลับประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกัมมวาจาว่า (วิ.จูฬ. ๗/๔๒๔/๒๕๖-๒๕๗) “ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานามีชื่ออย่างนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ข้าพเจ้าสั่งสอนแล้ว หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง เธอควรเข้ามาได้”จากนั้น อนุสาวิกาเรียกอุปสัมปทาเปกขาเข้ามาท่ามกลางสงฆ์ ให้ทำความเคารพภิกษุณีในท่ามกลางสงฆ์แล้ว นั่งคุกเข่าประนมมือ กล่าวคำขออุปสมบทต่อสงฆ์ ๓ ครั้งว่า “ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดเอ็นดูยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด”
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:40:59 pm »

ต่อจากนั้น ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถจะประกาศท่ามกลางสงฆ์ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า

ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีชื่อย่างนี้ เป็นสามเณรีของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ขอสิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง จงให้สิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีชื่อนี้ ผู้มีอายุครับ ๑๘ ปีบริบูรณ์ นี้เป็นวาจาประกาศให้สงฆ์ทราบ…สงฆ์ยอมให้สิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปีเต็ม แก่สามเณรีชื่อนี้ผู้มีอายุครับ ๑๘ ปี แม่เจ้ารูปใดเห็นชอบกับการให้สิกขาบทสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีผู้มีอายุครับ ๑๘ ปี บริบูรณ์จงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นชอบ จงทักท้วง

สงฆ์ได้ให้สิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีผู้มีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์สงฆ์เห็นชอบ จึงนิ่ง ข้าพเจ้าจะจำความนี้ไว้อย่างนี้

ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากปาณาติบาต ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี.. จากอทินนาทาน จากการประพฤติผิดในสิ่งที่ไม่ใช่พรหมจรรย์ จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือสุราเมรัย.จากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาลไม่ล่วงละเมิดตลอด๒ ปี (วินัย.ภิกขุนี.๓/๑๑๒๕/๑๘๙)

เมื่อได้สมาทานสิกขาบทได้ทั้ง ๖ ข้อแล้ว สามเณรีนั้นชื่อว่า “สิกขมานา” หมายถึง ผู้กำลังศึกษาเพื่อเตรียมตัวปฏิบัติอย่างเคร่งครัดยิ่งขึ้นไป สิกขาบท ๖ ข้อนี้ สิกขมานาจะต้องรักษาไม่ให้บกพร่องตลอดเวลา ๒ ปี หากล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง ต้องเริ่มสมาทาน และนับเวลาปฏิบัติกันใหม่ ไปจนครบเวลา ๒ ปี จึงจะขออุปสมบทในสำนักภิกษุณีได้



เหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงวางกฏเกณฑ์ไว้เช่นนี้

๑.เพื่อคัดเลือก และทดสอบสตรีผู้ปรารถนาจะบวชว่า จะมีจิตใจเข้มแข็งจริงจังเพียงใด เมื่อเข้ามาบวชแล้วจะสามารถอดทนความทุกข์ยาก ตลอดจนข้อปฏิบัติอื่นๆ-ได้หรือไม่ เพราะทรงตระหนักดีถึงสภาวะจิตของสตรีว่า มีความอ่อนไหวและอดทนต่อความลำบากได้ยาก

๒. เพื่อฝึกฝนอบรมผู้จะเข้ามาเป็นภิกษุณีให้มีความรู้ขั้นมูลฐาน จะได้มีความเฉลียวฉลาด เมื่อได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีแล้ว เพราะในช่วงที่เป็นนางสิขมานา ๒ ปี ต้องอยู่ใกล้ชิดกับนางภิกษุณีอื่นๆ จึงเป็นการเรียนรู้สมณจริยา และข้อวัตรปฏิบัติอย่างอื่นด้วย

๓. เพื่อป้องกันสตรีมีครรภ์ หรือมีบุตรอ่อนยังดื่มนมอยู่เข้ามาอุปสมบท จะได้ไม่ต้องคลอดและเลี้ยงดูบุตรในระหว่างเป็นภิกษุณี ซึ่งจะเป็นช่องทางให้ประชาชนว่ากล่าวติเตียนได้ว่า มีสามี หรือประพฤติไม่เหมาะสมกับความเป็นสมณะ อันเป็นสามเหตุแห่งความเสื่อมเสียในพระพุทธศาสนา (ภิกษุณีผู้เป็นมารดาของพระกุมารกัสสปะ มีครรภ์ก่อนบวช แต่นางไม่ทราบนางได้ไปบวชในกลุ่มภิกษุณีฝ่ายพระเทวทัต จึงเกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้น คือ คลอดบุตรขณะบวชเป็นภิกษุณี ถูกพระเทวทัตขับไล่ต้องไปอยู่ในสำนักพระพุทธเจ้าพระพุทธองค์ทรงวินิจฉัย จนเรื่องราวสงบลง.ธ.อ.๖/๑๑)




๔.เพื่อให้ภิกษุณีเกิดความหวงแหนในความเป็นสมณะองตน จะได้ไม่ต้องประพฤติเสียหายอันเป็นอันตรายต่อเพศพรหมจรรย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความยากลำบาก เพราะธรรมดาสิ่งที่ได้มายากย่อมจะมีคุณค่าสูง

๕. เพื่อป้องกันไม่ให้สตรีเข้ามาอุปสมบทมากจนเกิดไป อีกทั้งยังป้องกันการปลอมแปลงเข้ามาบวชอีกด้วย เสมอ บุญมา, ภิกษุณีในพระพุทธศาสนาสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติปีที่๑ มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๔)

“จากการศึกษาในสังคมอินเดียโบราณ พบว่า ประเพณีการแต่งงานของหญิงไม่มีกำหนดอายุที่แน่นอน บางรายพ่อกับแม่ของแต่ละฝ่ายก็อาจจองกันไว้แล้วตั้งแต่เด็ก จึงปรากฏว่า คนอินเดียจับคู่แต่งงานกันตั้งแต่เด็ก หรือตั้งแต่อายุยังเยาว์เลยทีเดียว

ในสมันตปาสาทิกา กล่าวถึงเด็กอายุ ๑๐ ปี ที่แต่งงานแล้วปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุณี จะต้องรักษาสิกขาสมมติอีก ๒ ปี จนอายุครับ ๑๒ ปี จึงขอบวชได้ ถ้ามีอายุ ๑๑ ปี ก็ต้องอยู่รักษาสิกขาสมมติอีก ๒ ปี จนถึงอายุ ๑๓ ปี หรือถ้ามีอายุ ๑๒–๑๓-๑๔–๑๕–๑๖–๑๗–๑๘ ปี ก็ต้องอยู่รักษาสิขาสมมติคนละ๒ปี จนมีอายุครับ๑๔–๑๕–๑๖–๑๗–๑๘–๑๙–๒๐ปีซึ่งทุกรายจะต้องอยู่รักษาสิกขาสมมติคนละ๒ ปี

จากการศึกษาพบว่าหญิงที่เข้ามาบวชเป็นภิกษุณีครั้งพุทธกาลมี ๒ พวก คือ

๑. พวกหญิงโสดมีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ อยู่รักษาสิขาบท ๖ ข้อ อีก ๒ ปี จนมีอายุ ๒๐ ปี จึงขออุปสมบทใหม่ต่อไปได้

๒. พวกหญิงที่มีอายุไม่ถึง ๒๐ ปี แต่มีสามี ปรารถนาจะบวชก็ต้องอยู่รักษาสิขาบท ๖ ข้อ จนครบ ๒ ปี แล้วจึงบวชต่อไปได้

“หญิงที่มีสามีอายุ ๑๒ ปี ถือว่า เป็นผู้มีความรับผิดชอบในครอบครัวมาแล้ว สามารถดูแลตัวเองได้ ส่วนหญิงโสดกำหนดอายุไว้ ๑๘ ปี บริบูรณ์ ต้องอยู่รักษาสิกขาบท ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี จนมีอายุครับ ๒๐ ปี บริบูรณ์ จึงจะขอสิกขาสมมติแล้วอุปสมบทต่อไปได้ แต่หญิงอายุ ๑๒ ปี ที่ยังโสดไม่อาจขอรักษาสิกขาบท ๖ ข้อ จนครบเวลา ๒ ปี แล้วขอบวชต่อไปได้ เพราะมีพุทธบัญญัติห้ามหญิงอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี บวช หากพระอุปัชฌาย์(ปวัตตนี)ให้หญิงอายุไม่ถึง ๒๐ ปี บวชมีโทษ เธอผู้บวชถือว่าเป็นอภัพพบุคคล คือ คนที่ไม่ควรให้บวช เรียกว่า วัตถุวิบัติ” (วินัย.ภิกขุนี. ๓/๑๑๒๐/๑๘๖).
<!-- / message -->
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:40:24 pm »

สิกขาบททั้ง ๑๐ ข้อ เป็นการปฏิบัติขั้นมูลฐาน เตรียมตัวสามเณรีไว้เพื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดยิ่งขึ้น เป็นการทดสอบจิตใจและความอดทนในระยะแรกของสตรีผู้ปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุ เพื่อให้คุ้นเคยกับวิถีชีวิตของนักบวชต่อไป

ในภิกขุนีวิภังค์ มีพระพุทธบัญญัติว่า เราอนุญาตให้สักขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แก่สตรีอายุ ๑๒ ปี ที่มีสามีแล้ว (วินัย.ภิกขุนี.๓/๑๐๙๕/๑๗๗). แสดงว่า สตรีที่ปรารถนาจะบวช หากมีครอบครัวแล้วต้องมีอายุอย่างน้อย ๑๒ ปี จึงจะบวชได้ ดังนั้น ผู้ปรารถนาจะบวช และมีอายุ ๑๒ ปีห่มผ้าเฉวียงบ่าเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ ทำความเคารพ นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำขอสิกขาสมมติ ๓ ครั้ง

(วินัย.ภิกขุนี.๓/๑๒๙/๑๗๘).

ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าชื่อย่างนี้ มีอายุ ๑๒ ปี ขอสิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ต่อจากนั้น ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถ จะประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีชื่อย่างนี้ เป็นสามเณรีของแม่เจ้าชื่อย่างนี้ มีอายุ ๑๒ ปีบริบูรณ์ ขอสิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ หากสงฆ์มีความพร้อมเพรียง จงให้สิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีชื่อนี้ผู้มีอายุ ๑๒ ปี บริบูรณ์ นี้เป็นวาจาประกาศให้สงฆ์ทราบข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีชื่ออย่างนี้ มีอายุ ๑๒ ปี บริบูรณ์ ขอสิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีผู้มีอายุ๑๒ ปี จงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นชอบจงทักท้วง

สงฆ์ใดให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แก่สามเณรีชื่อนี้ ผู้มีอายุ ๑๒ ปีบริบูรณ์ สงฆ์เห็นชอบ จึงนิ่ง ข้าพเจ้าจะจำความนี้ไว้อย่างนี้

จากนั้น ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถจึงให้สามเณรีนั้นสมาทานสิกขาบท ๖ ข้อ ว่า “ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาทท คือ เว้นจากปาณาติบาต ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี จากอทินนาทาน จากการประพฤติผิดในสิ่งที่ไม่ใช่พรหมจรรย์ จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือสุราเมรัย จากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี”

(วินัย.ภิกฺขุณี.๓/๑๐๙๖/๑๗๘).
เมื่อได้สมาทานสิกขาทบ ๒ ข้อแล้ว สามเณรีนั้นชื่อว่า “สิกขมานา” หมายถึง “ผู้ที่กำลังศึกษาเพื่อเตรียมตัวปฏิบัติอย่างเคร่งครัดยิ่งขึ้น” สิกขาทบ ๖ นี้ สิกขมานาต้องรักษาไม่ให้บกพร่องตลอดเวลา ๒ ปี จึงจะขออุปสมบทในสำนักภิกษุณีได้ ในสารัตถทีปนี กล่าวว่า จริงอยู่ สามเณรี แม้มีพรรษา ๖๐ พรรษา ก็ยังต้องสมาทานสิกขาทบ ๖ข้อ ศึกษาอยู่นั่นเทียวโดยนัยมีอาทิว่า เราสมาทานไม่ล่วงละเมิดการเว้นจากปาณาติบาต ตลอด ๒ ปี เพราะว่าสิกขาบท ๖ ข้อนี้ การจะให้อุปสมบทสามเณรีผู้ไม่ได้สำเหนียกรักษาตลอด ๒ ปี หาควรไม่ (วินัย.ฎีกา.หน้า ๒๐๖) และเมื่อสิกขมานาผู้นั้น ได้ศึกษาครบ ๒ ปี ก่อนอุปสมบทต้องได้รับสมมติจากภิกษุสงฆ์เสียก่อนจึงจะขออุปสมบทได้ต่อไปดังพระบรมพุทธานุญาต (วินัย.ภิกขุนี. ๓/๑๑๐๑/๑๐๘). “เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่ตรีอายุ ๑๒ ปี บริบูรณ์ ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี แล้ว”

๒.๒ ขั้นเป็นสิกขามานา

สตรีผู้ปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุณี ต้อรักษาสิกขาบททั้ง ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี มีอายุครับ ๑๘ ปีบริบูรณ์ นางสิกขมานา คือ “สามเณรี” นั่นเอง แต่อายุถึง ๑๘ ปีแล้วอีก ๒ ปี จะครับกำหนดอุปสมบทภิกษุณีสงฆ์สวดให้สิกขาสมมติ คือ ยอมให้สมาทานสิกขาบท ๖ ข้อ ตั้งแต่ ปาณาติปาตา เวรมณี จนถึง วิกาลโภชนา เวรมณี ไม่มีเวลาล่วงเลย ตลอด ๒ ปีเต็ม ถ้าล่วงข้อใดข้อหนึ่ง ต้องสมาทานตั้งต้นไปใหม่อีก ๒ ปี เมื่อรักษาไม่ขาดเลยครบ ๒ ปี ภิกษุณีสงฆ์จึงสมมติให้อุปสมบทสิกขมานาได้ นางสิกขมานานี้อยู่ในลำดับรองภิกษุณีลงมา เหนือสามเณรี

สิกขมานา หรือ นางผู้กำลังศึกษา ห่มผ้าเฉวียงบ่าเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ ทำความเคารพนั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวขอสิกขาสมมติ หมายถึง ความตกลงยินยอมของภิกษุณีสงฆ์ที่จะให้เธอผู้มีอายุ ๑๘ ปี บริบูรณ์ เริ่มรักษาสิกขาบท ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ก่อนจะได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีต่อไป สิกขมานาพึงกล่าวต่อภิกษุณีสงฆ์ ๓ ครั้งว่า

ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าชื่ออย่างนี้ เป็นกุมารีของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครับ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์
<!-- / message -->
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:37:24 pm »

ในพระไตรปิฎกบันทึกว่า สมัยที่พระสารีบุตรได้รับพระพุทธานุญาตให้อุปสมบทราธพราหมณ์พระสารีบุตรทูลถามว่า “จะให้พราหมณ์นั้นอุปสมบทอย่างไร” พระองค์จึงทรงตรัสว่า “ตั้งแต่วันนี้ไปเราห้ามการอุปสมบทด้วยไตรสรคมน์ซึ่งอนุญาตไว้แล้ว เราอนุญาตอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจา ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ ถึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจา”

การอุปสมบทด้วยวิธีญัตติจตุตถกัมมวาจา หากเป็นสตรีก็ต้องเปลี่ยนคำตามลักษณะเพศ ดังนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพระเจ้า นางนี้ชื่ออย่างนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาของท่านชื่อนี้ หากสงฆ์มีความพรั่งพร้อม จงให้นางชื่อนี้ มีพระคุณเจ้าชื่อนี้เป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบท นี้เป็นวาจาที่ประกาศให้สงฆ์รับทราบ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางนี้ชื่ออย่างนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของท่านชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทนางชื่อนี้ มีพระคุณเจ้ารูปนี้เป็นพระอุปัชฌาย์ จงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นชอบ จงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวอย่างนี้…..แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวอย่างนี้….สงฆ์ได้อุปสมบทนางชื่อนี้ อันมีพระคุณเจ้ารูปนี้เป็นอุปัชฌาย์แล้ว เพราะสงฆ์เห็นชอบ จึงนิ่ง ข้าพเจ้าจะจำความนี้ไว้อย่างนี้

เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จพิธีการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจา ต่อมาเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นแบบแผน จึงได้เพิ่มคำกล่าวอุปสมบท การสอบถาม “อันตรายิกธรรม” การบอกนิสัย และการบอกอนุศาสน์ ดังที่ใช้อุปสมบทภิกษุอยู่ทุกวันนี้




๒. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา

วิธีนี้ทรงมีพระพุทธานุญาตให้เป็นวิธีอุปสมบทของภิกษุณี โดยประกอบญัตติจตุตถกัมมวาจา ๒ ครั้ง คือ อุปสมบทในสำนักภิกษุสงฆ์ครั้งหนึ่ง จากนั้นไปขออุปสมบทในสำนักภิกษุณีสงฆ์ซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้เป็นไปตามพระพุทธานุญาต (วินัย.จูฬ.๗/๔๐๓/๒๓๔). ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย” จึงถือว่าเป็นภิกษุณีถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติ

สตรีผู้ปรารถนาจะบวชด้วยวิธีนี้ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม เพราะมีขั้นตอนยุ่งยาก ผู้ปรารถนาจะบวชต้องมีศรัทธาอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา และต้องมีความอดทนอย่างแรงกล้าทั้งกายและใจจึงจะสามารถผ่านขั้นตอนการอุปสมบทด้วยวิธีนี้ได้ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาในการเตรียมตัว ๒ ปี แยกเป็น ๔ ขั้นตอน คือ

๒.๑ ขั้นเป็นสามเณรี

สตรีผู้ปรารถนาจะเข้ามาบวช ต้องได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรผู้หญิงเรียกว่า “สามเณรี” โดยมากอายุยังไม่ครับ ๒๐ ปี รับการบรรพชาในสำนักภิกษุณีถือสิกขาบท ๑๐ เหมือนสามเณร ได้แก่

๑. งดเว้นจากการทำลายชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป

๒. งดเว้นจากการถือเอาวัตถุสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้

๓. งดเว้นจากการประพฤติผิดในสิ่งที่ไม่ใช่พรหมจรรย์

๔. งดเว้นจากการพูดเท็จ

๕. งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นเหตุแห่งความประมาท

๖. งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

๗. งดเว้นจากการดูการฟ้อนรำขับร้อง และการประโคมดนตรี

๘. งดเว้นจากการลูบไล้ ทัดทรง ตกแต่งประดับประดาร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม

๙. งดเว้นจากการนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่ภายในยัดนุ่นสำลี

๑๐. งดเว้นจากการจับต้องเงินทอง(ขุ.ขุ.๒๕/๑/๑).
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:36:53 pm »

อุปสัมปทา คือ การรับเข้าหมู่ หรือ วิธีบวชในพระพุทธศาสนา หมายถึง การให้กุลบุตรบวชเป็นภิกษุ หรือให้กุลธิดาบวชเป็นภิกษุณี วิธีอุปสมบท หรืออุปสัมปทาในพระพุทธศาสนามี ๘ วิธีคือ

๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา วิธีนี้พระพุทธเจ้าเป็นอุปัชฌาย์บวชให้ โดยพระองค์ทรงเปล่งพระวาจาว่า “ เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด “ เพียงเท่านั้นก็ชื่อว่าได้บวชแล้ว

นอกจากนี้ หากหากมีผู้บวชคนเดียวใช้คำว่า “เอหิ ภิกขุ” แปลว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด

จึงเรียกการบวชนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ผู้บวชมีหลายคนใช้คำว่า เอถ ภิกขโว ซึ่งก็ยังเรียกว่าการบวชแบบ“เอหิภิกขุอุปสัมปทา” ดังเช่น อุปสัมปทาพระปัญจวัคคีย์ (บวชพระอัญญาโกณทัญญะ) ว่า เอหิ ภิกขุ และบวชพระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหามานะ พระอัสสชิว่า เอถ ภิกขโว (วินย. ม.๔/๑๘–๑๙/๑๖–๑๗)

๒. ติสรณคมนปสัมปทา วิธีนี้ทรงมีพระพุทธานุญาตให้พระสาวกจัดทำครั้งต้นพุทธกาล ซึ่งเวลานั้นคณะสงฆ์ยังไม่ใหญ่นัก ทรงให้สาวกต่างรูปต่างเป็นอุปัชฌาย์บาชให้เป็นกุลบุตรผู้ประสงฆ์จะบวชต่อมาเปลี่ยนวิธีนี้ให้เป็นการบวชสามเณร

๓. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา วิธีนี้ทรงมีพระพุทธานุญาตให้สงฆ์ คือ ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไปร่วมกันทำพิธีบวชให้กุลบุตรผู้ประสงค์จะบวช และเป็นวิธีที่ใช้สืบกันมาจนถึงทุกวันนี้

๔. โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา วิธีนี้ทรงกระทำโดยการประทานโอวาทให้กุลบุตร ผู้ประสงค์จะบวชรับไปปฏิบัติวิธีนี้พระพุทธเจ้าประทานให้เป็นวิธีอุปสมบทของพระมหากัสสปะเพียงผู้เดียว

๕. ปัญหาพยากรณูปสัมปทา วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงทำด้วยการให้กุลบุตรผู้ประสงค์จะบวชตอบปัญหาที่พระองค์ตรัสถาม เมื่อตอบปัญหาได้ก็เป็นอันว่าบวชแล้ว วิธีนี้เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าอนุญาตแก่
โสปากสามเณร

๖. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา วิธีนี้ที่พระพุทธทรงทำด้วยการให้ผู้ประสงค์จะบวชรับครุธรรม ๘ ประการ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้เป็นการอุปสมบทของพระนางมหาปชาบดีโคตมี

๗. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา วิธีนี้เป็นวิธีบวชของภิกษุณี หมายถึง การบวชต้องกล่าววาจา ๘ ครั้ง คือ ทำญัตติจตุตถกัมมวาจา ๒ ครั้งฝ่ายละ ๔ ครั้ง กล่าวคือ จากฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑ ครั้ง และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์อีก ๑ ครั้ง

๘. ทูเตนอุปสัมปทา วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงกระทำด้วยการให้ผู้แทนพระองค์ไปบวชแก่ผู้ที่ประสงค์จะบวช เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นการอุปสมบทของนางคณิกา ชื่อ อัฑฒกาสี(วินัย.อ.๑/๔๕/๒๕๔)



การให้อุปสมบทที่เป็นกรณีพิเศษนอกจากวิธีเหล่านี้ ใสฝ่ายภิกษุมีสามเณร ๒ รูป คือ สามเณร สุมนะกับสามเณรโสปากะ ได้บรรลุพระอรหัตผลขณะที่ท่านมีอายุ ๗ ปี ได้รับพระพุทธานุญาตให้เป็นภิกษุได้ในขณะนั้น เรียกวิธีบวชนี้ว่า ทายัชชอุปสัมปทา” (ธ.อ.๘/๙๙)



วิธีอุปสมบทของภิกษุณี

วิธีอุปสมบททั้ง ๘ วิธี ดังกล่าวแล้วข้างต้น มีวิธีอุปสมบทของภิกษุณี ๓ วิธี ได้แก่

ครุธรรม ปฏิคคหณูปสัมปทา ๑ อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา ๑ ทูเตนอุปสัมปทา ๑ ซึ่งจะศึกษาต่อไป

๑. ครุธรรมปฏิคคณูปสัมปทา

วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นการอุปสมบทของพระนางมหาปชาบดี ดังได้อธิบายไว้แล้วในข้อว่าด้วย “ประวัติความเป็นมาของปฐมภิกษุณี” สาเหตุที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ ครุธรรม ๘ ประการ กำกับไว้ ก็เพื่อเป็นหลักคุ้มกันพระธรรมวินัย เหมือนคนสร้างคันกั้นสระใหญ่ไว้ก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไม่ให้ไหลล้นออกไป จากการศึกษาพบว่า หากถือตามสภาพสังคมในสมัยนั้น พระองค์จะไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวช แต่ด้วยเหตุผลในด้านความสามารถ โดยธรรมชาติที่จะบรรลุธรรมจึงทรงยอมให้สตรีบวชได้

การอุปสมบทด้วยวิธีรับครุธรรม ๘ ประการดังกล่าว ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก เพียงแต่ให้สตรีที่ต้องการอุปสมบทยอมรับว่า จะปฏิบัติตามครุธรรม ๘ ประการ อย่างเคร่งครัดจนตลอดชีวิต ก็เป็นอันว่าได้อุปสมบทเป็นในพระพุทธศาสนา วิธีนี้เป็นวิธีอุปสมบทสตรีในระยะแรก โดยพระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาท หรือครุธรรม ๘ ประการ คือ พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอุปัชฌาย์

วิธีบวชด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจา มีพระพุทธานุญาตให้เป็นการอุปสมบทแก่เจ้าหญิงศากยะ ซึ่งเป็นข้าราชบริพารของพระนางมหาปชาบดีโคตมี คือ ภายหลังจากที่พระนางยอมรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ทำการอุปสมบทเจ้าหญิงศากยะที่เหลือ ด้วยวิธีญัตติจตุตถกัมมวาจา หรือญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา ส่วนกรรมวิธีในการอุปสมบทนั้นไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่าจะมีวิธีการบวชอย่างเดียวกันกับวิธีอุปสมบทของราธพราหมณ์ คือ วิธีญัตติจตุตตกัมมวาจา เพราะสมัยนั้นเป็นระยะแรกที่ทรงมีพระพุทธานุญาตให้สตรีบวชได้จึงยังไม่มีการกำหนดแบบอย่างไว้โดยเฉพาะเพราะเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

การอุปสมบทด้วยวิธีนี้ เป็นการขออุปสมบทด้วยการประกาศขอความเห็นจากสงฆ์ ๓ ครั้ง รวมทั้งญัตติอีก ๑ ครั้ง เรียกอีกอย่างว่า “กรรมมีวาจาครบ ๔“เป็นวิธีอุปสมบทที่พระพุทธเจ้ามอบความเป็นใหญ่ให้สงฆ์ดำเนินการ ผู้อุปสมบทวิธีนี้ จะต้องมีพระอุปัชฌาย์และมีพระสงฆ์อื่น เป็นผู้ให้ความเห็นชอบ การอุปสมบทด้วยวิธีนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์บวชราธพราหมณ์