ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2010, 11:20:47 pm »

 :13: ขอบคุณครับน้องฝน
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2010, 06:13:02 pm »

สมานใจด้วยความดี   
:13: :13: :13: :13:
เราจะรู้สึกเห็นใจและอยู่เฉยไม่ได้เมื่อเห็นผู้อื่นมีความทุกข์ ทันทีที่มีโอกาสก็จะเข้าไปช่วยเหลือให้เขาพ้นทุกข์ แม้จะต้องประสบกับความเหนื่อยยากก็ตาม

 :07: :07:พระไพศาล วิสาโล :07: :07:

มนุษย์ทุกคนล้วนมีคุณธรรมความดี รวมทั้งมีเมตตากรุณาอยู่ในจิตใจ เราจะรู้สึกเห็นใจและอยู่เฉยไม่ได้เมื่อเห็นผู้อื่นมีความทุกข์ ทันทีที่มีโอกาสก็จะเข้าไปช่วยเหลือให้เขาพ้นทุกข์ แม้จะต้องประสบกับความเหนื่อยยากก็ตาม ดังเราได้เห็นคนไทยนับไม่ถ้วนพร้อมเพรียงกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิเมื่อ ๖ ปีก่อน

ใจที่พร้อมหวั่นไหวและเห็นใจในความทุกข์ของผู้อื่น คือใจที่ไม่มีการแบ่งเขาแบ่งเรา หรือยึดติดในฝักฝ่ายใด ๆ หากเห็นทุกคนเป็นเพื่อนมนุษย์ที่รักสุขเกลียดทุกข์เช่นเดียวกับเรา แต่เมื่อใดก็ตามที่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายขึ้นมา เมตตากรุณาก็จะถูกปิดกั้น ทำให้ไม่รู้สึกรู้สากับความทุกข์ของผู้อื่น กลับยินดีด้วยซ้ำหากผู้นั้นอยู่คนละฝ่ายกับตน

การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายนั้นสามารถกัดกร่อนมโนธรรมสำนึกและลดทอนความเป็นมนุษย์ในตัวเรา จึงต้องระมัดระวังและรู้เท่าทันมิให้มันครองใจเรา หาไม่แล้วเราจะกลายเป็นผู้มีจิตใจแข็งกระด้าง เฉยชาแม้เห็นผู้อื่นมีความทุกข์อยู่ต่อหน้า

การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเกิดขึ้นเมื่อเราเลือกมองเห็นแต่ความแตกต่างในตัวผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง เราทุกคนมีความเหมือนมากกว่าความต่าง ทุกคนมีพ่อแม่พี่น้อง อยากเป็นคนดีมีความสุข เคยประสบความพลัดพรากสูญเสีย รักชาติบ้านเมือง ฯลฯ หากเราหันมามองเห็นความเหมือนของกันและกันให้มากขึ้น ใส่ใจกับความแตกต่างให้น้อยลง เราจะรักและเอื้ออาทรกันมากกว่านี้

ความแตกต่างบางอย่างติดตัวมาแต่กำเนิด เช่น เชื้อชาติ ผิวสี แต่ความแตกต่างบางอย่างเป็นสิ่งที่ตามมาภายหลัง หรือเป็นการตัดสินใจเลือกเอง เช่น ความแตกต่างทางความคิด ความแตกต่างเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ ดังนั้นแทนที่จะปฏิเสธมัน เราจึงควรเกี่ยวข้องกับมันอย่างถูกต้อง เช่น มีขันติธรรม ได้แก่ความใจกว้าง ยอมรับความแตกต่างทางความคิดเห็น รวมถึงการเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น หรืออย่างน้อยก็เคารพในสิทธิของเขาที่จะแสดงความคิดเห็นต่างจากเรา

ขันติเป็นธรรมที่ช่วยให้ความแตกต่างไม่ลุกลามเป็นความแตกแยก แต่จะดียิ่งขึ้นหากมีจาคะเข้ามาเสริม ได้แก่ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ พร้อมรับฟังความทุกข์และความต้องการของผู้อื่น จาคะมีความสำคัญเพราะเป็นเครื่องสมานใจผู้คนให้เป็นหนึ่งเดียวกันแม้จะมี ความเห็นแตกต่างกันก็ตาม อย่าว่าแต่คนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนบ้านเลย แม้แต่ศัตรู เราก็สามารถชนะใจหรือเปลี่ยนเขามาเป็นมิตรได้ด้วยการให้อย่างบริสุทธิ์ใจ

ในยามที่บ้านเมืองมีความเหลื่อมล้ำอย่างมากระหว่างกลุ่มชน จาคะจะช่วยลดช่องว่างในบ้านเมือง และทำให้ผู้คนเป็นมิตรกันมากขึ้น แต่จาคะในที่นี้มิได้หมายถึงการบริจาคเงินให้แก่คนยากจนเท่านั้น ที่สำคัญก็คือการแบ่งปันโภคทรัพย์และประโยชน์สุขให้แก่ผู้คนอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะการกระจายโอกาสให้ผู้ยากไร้ได้เข้าถึงทรัพยากรและปัจจัยในการดำรง ชีวิตมากกว่านี้

คนไทยจะมีความสามัคคี มีใจเป็นหนึ่งเดียว หากขันติและจาคะได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทั้งในระดับบุคคลและระดับสาธารณะ ยิ่งมีสัจจะคือความซื่อสัตย์สุจริต และทมะ อันได้แก่การฝึกฝนตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา ก็จะทำให้สามัคคีธรรมของคนไทยมีความมั่นคงแน่นหนา เพราะการเบียดเบียนทำร้ายกันทั้งด้วยคำพูดและการกระทำจะลดน้อยลง ช่วยให้ผู้คนมีน้ำใจไมตรีต่อกันมากขึ้น

สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ รวมกันเป็น "ฆราวาสธรรม" นอกจากเป็นธรรมสำหรับการครองเรือนแล้ว ยังเป็นธรรมสำหรับการประคองบ้านเมืองให้ผ่านพ้นวิกฤต จนบังเกิดความสงบร่มเย็นได้ในที่สุด

----------------------------
จาก www.visalo.org