ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2010, 11:28:52 pm »

 :45: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับน้องฝน
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2010, 06:26:03 pm »

เอื้อชีวิตให้เป็นอิสระและโปร่งเบา   
:13: :13: :13: :13:
 ท่านอาจารย์พุทธทาสจะเตือนให้ลูกศิษย์ใส่น้ำมาเพียงครึ่งแก้ว อย่าใส่เต็มแก้ว ท่านว่าท่านฉันครึ่งแก้วแล้วต้องทิ้งอีกครึ่งแก้ว

มีศิษย์เพียงไม่กี่คนที่รู้ว่าท่านอาจารย์พุทธทาสมี "สมบัติชิ้นเอก" อยู่ชิ้นหนึ่ง สมบัติชิ้นนี้หาในกุฏิก็ไม่พบเพราะอยู่ข้างกายท่านตลอดเวลา สมบัติชิ้นที่ว่าก็คือ แหนบถอนหนวด

แหนบดังกล่าวไม่ได้ทำด้วย วัสดุพิเศษอะไรเลย ออกจะด้อยคุณภาพด้วยซ้ำ เพราะทำจากขาปิ่นโตที่ลูกศิษย์เอามาถวาย ท่านเพียงแต่เอามาพับก็เป็นแหนบได้แล้ว หากจะมีความพิเศษก็ตรงที่เป็นของที่ท่านใช้มานานร่วม ๗๐ ปี คือตั้งแต่บวชมาได้ ๒ พรรษา แม้จบบั้นปลายชีวิตท่านก็ยังใช้แหนบดังกล่าวอยู่

ท่านอาจารย์ พุทธทาสเป็นพระที่ขึ้นชื่อในเรื่องความประหยัดและใช้สิ่งต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง ท่านเคยเล่าว่าหากไม่ประหยัด สวนโมกข์คงจะ "พินาศ" ไปนานแล้ว เนื่องจากตั้งอยู่ในป่า ไกลจากแหล่งชุมชนมาก สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ จึงหาได้ยากไม่เหมือนปัจจุบัน แม้กระทั่งกระดาษชำระก็เป็นของมีค่าสำหรับสวนโมกข์ ท่านเคยเล่าว่าหากมีคนเอาวิมานมาให้ท่านหลังหนึ่งกับกระดาษชำระม้วนหนึ่ง ท่านขอเอากระดาษชำระม้วนเดียว เพราะกระดาษมีประโยชน์ ตรงกันข้ามกับวิมานซึ่งใช้ทำอะไรไม่ได้เลย

เวลาฉันอยู่ หากมีแกงหก ท่านจะดึงกระดาษชำระ (แบบม้วน) มาใช้เพียงแผ่นเดียว เมื่อเช็ดเสร็จท่านจะไม่ทิ้ง แต่วางไว้บนโต๊ะ หากมีใครจะเก็บไปทิ้งท่านจะห้ามไว้ โดยให้เหตุผลว่าปล่อยไว้สักครู่กระดาษก็จะแห้ง สามารถเอามาเช็ดใหม่ได้อีก

กระดาษ คาร์บอนที่ใช้พิมพ์สำเนาต้นฉบับ สมัยนี้ใช้ ๒ -- ๓ ครั้งก็ทิ้งแล้ว แต่ท่านจะใช้พิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้คาร์บอนจะจางแล้ว หากยังพิมพ์ได้อยู่ท่านก็ยังใช้ต่อจนกว่าคาร์บอนจะจางกระทั่งอ่านไม่ออก ที่ยิ่งแย่กว่านั้นก็คือต้นฉบับพิมพ์ดีดหลายพันหน้าที่ออกจากสวนโมกข์สมัย ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น เรียกได้ว่าไม่เคยได้สัมผัสกับยางลบหมึกเลย เวลาลูกศิษย์พิมพ์ผิด ท่านจะแนะให้ใช้เข็มซ่อนปลายค่อย ๆ เขี่ยเอา การแก้ไขคำผิดด้วยวิธีนี้ ทำให้ลูกศิษย์ต้องพิมพ์ดีดอย่างระมัดระวัง พยายามไม่ให้ผิด นับเป็นการฝึกสติอย่างดี

ท่านอาจารย์ไม่ได้ ประหยัดเฉพาะกับอุปกรณ์ที่ต้องซื้อหามาเท่านั้น กระทั่งของที่หาได้ง่าย ๆ ในสวนโมกข์ท่านก็ใช้อย่างระมัดระวัง เวลาฉันน้ำ ท่านจะเตือนให้ลูกศิษย์ใส่น้ำมาเพียงครึ่งแก้ว อย่าใส่เต็มแก้ว ท่านว่าท่านฉันครึ่งแก้วแล้วต้องทิ้งอีกครึ่งแก้ว ไม่เป็นการประหยัด เรียกว่าไม่ใช้น้ำด้วยสติปัญญา

ทุกวันนี้เรามักได้ยินคำ ประกาศเชิญชวนให้ประหยัดน้ำไฟและอะไรต่ออะไรมากมาย แต่การรณรงค์ให้ประหยัดในปัจจุบันมักเกิดจากความจำเป็นบีบบังคับ เช่น เพราะว่าทรัพยากรกำลังขาดแคลน สิ่งแวดล้อมกำลังวิกฤต

แต่สำหรับท่านอาจารย์พุทธทาส ความประหยัดไม่ได้เกิดจากความจำเป็นเท่านั้น หากยังเป็นคุณธรรมในตัวมันเอง นั่นหมายความว่าแม้สิ่งของจะมีมาก ก็ไม่ควรใช้อย่างฟุ่มเฟือย การใช้อย่างประหยัดนอกจากจะเป็นการฝึกให้มีสติ ใช้สิ่งของอย่างระมัดระวังและละเอียดลออแล้ว ยังทำให้พึ่งพิงวัตถุน้อยลง และเอื้อให้ชีวิตเป็นอิสระและโปร่งเบามากขึ้น

ท่านเคยเล่าว่า ธรรมะเป็นของละเอียด ดังนั้นคนที่จะรู้ธรรมะได้ จึงต้องเป็นคนละเอียดลออ ความละเอียดลออนี้มาจากไหน ส่วนหนึ่งก็มาจากการใช้สิ่งต่าง ๆ อย่างระมัดระวังนั่นเอง

_____________________
จาก facebook.com พระไพศาล วิสาโล
  :07: :07: :07: :07: