ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2010, 04:54:27 pm »ทำไมศิลปะที่เราถูกสอนกันมาว่าวัฒนธรรมที่ดี ราคาสูง ต้องไปอยู่กับตะวันตก ?
ดร. สุวรรณา สถาอานันท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ช่วยสรุปว่าเหตุที่ตะวันตกมีพลังนั้นเป็นเพราะเขาสามารถหาภาษากลาง และสร้างตัวเลขออกมา
ออกมาใช้ เขาจึงสามารถตีคุณค่าของโลกด้วยตัวเลข ดังนั้น เงิน ความรู้ และเหตุผลนั่นเองที่
ทำให้มนุษย์พูดกันรู้เรื่องผ่านตัวเลข ทุกอย่างตีค่าเป็นราคาได้ ความรู้ และตัวเลขเป็นสิ่งสากล
ที่ทำให้โลกตะวันตกมีอำนาจ อนุญาตให้ตะวันตกเป็นผู้ตั้งค่าและสามารถกำหนดค่านั้นเป็น
มาตรฐานกลาง จึงสามารถควบคุมโลกได้
ธีรยุทธย้อนกลับมาที่ปรัชญาความคิดแบบ post western ต่ออีกว่า โดยส่วนตัวผมชอบการมี
เสรีภาพที่พ้นไปจากการพัฒนา เสรีภาพในการตั้งเป้าหมายให้กับสังคม ให้กับชีวิต เสรีภาพ
ในแนวกว้างในการบรรลุเป้าหมาย เสรีภาพในการหลุดจากกรอบดั้งเดิม อันนี้นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า
alternative modernity หรือ alternative post modernity ก็แล้วแต่ แต่เป็นทางเลือกหรือ
เป็นทางเปิดมากขึ้นของโลกยุคหลังการพัฒนา
"ผมคิดว่าสังคมตะวันตกเองกำลังถอดรื้อตัวเอง เขาหันกลับมาอยู่กับไลฟ์สไตล์มากขึ้น ใน
โลกตะวันออก ความจำเป็นทางเศรษฐกิจ จีน เอเชียจะมีบทบาทมากขึ้น อินเดียก็จะเติบใหญ่
ขึ้นมา ในทางเศรษฐกิจจะบังคับให้เอเชียก้าวออกมา ...ภาวะเศรษฐกิจทำให้ชาวโลกหันมา
ทาง post western มากขึ้น
"ผมไมได้เสนอว่าหลังตะวันตกต้องเป็นใคร ไม่จำเป็นต้องเป็นเอเชีย หรือเป็นที่ไหนสักแห่ง
แต่เป็นเครือข่าย มองวัฒนธรรมอย่างหลากหลายและเชื่อมโยง"
ในบทที่ 3 ของบทความดังกล่าว ธีรยุทธเสนอเรื่อง โลกศตวรรษที่21 จะเป็นอย่างไร จุด
สำคัญคนไทยต้องคิดแบบหลังตะวันตก (post western) ข้อหนึ่งระบุว่า สำหรับประเทศไทย
และ "ประเทศโลกที่สาม" ทั้งหลาย ปรัชญา post western จะมีความสำคัญที่สุด ลักษณะ
สำคัญของความคิดแบบ post western ก็คือการทำให้พ้นจากการยึดเอากรอบตะวันตกเป็น
สรณะ แต่ไม่จำเป็นต้องคัดค้าน หรือมองตะวันตกเป็นสิ่งเสื่อมทรามเสมอ
คำถามก็คือว่า ถ้าเราจะไปให้พ้นจากกรอบตะวันตกแล้วทำไมคนไทยต้องคิดแบบหลัง
ตะวันตกด้วย?
"ผมคิดว่าความรู้สัมพันธ์กับอำนาจ เงินเป็นตัววัดแรงงาน แต่ไม่ได้วัดคุณค่าของมนุษย์ ถามว่า
มนุษย์ทั่วไปตาบอดกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหรือ ผมว่าไม่ใช่ มนุษย์อยู่บนผลผลิตร่วม
ของโลก ผมคิดว่าที่ผิดก็คือ เพราะคิดว่าเป็นผลผลิตของตะวันตกต่างหาก ตะวันตกใช้เทคโน-
โลยีในการผูกขาดทางการทหาร ทั้งๆ ที่ทุกอย่างคือการยำใหญ่กันของมนุษย์บนโลก ญี่ปุ่นเขา
ผลิตเทคโนโลยีออกมาใช้อย่างสนุกสนาน เพียง 250 ปี เปลี่ยนมือมาตะวันออกค่อนข้างมาก"
การใช้คำว่า "หลังตะวันตก" ก็เพื่อมุ่งปลดปล่อยความคิดแบบตะวันตก ?
"ผมไม่ชอบคำว่า "พัฒนา" เพราะคำนี้ทำให้เกิดความบิดเบี้ยวของการใช้ทรัพยากร ทั้งทาง
เศรษฐกิจ ความคิดไปในกลุ่มนักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจกันเท่านั้น เท่าที่ทราบ ประเทศ
ที่ยังมีแผนพัฒนาอาจจมีอยู่ไม่มากนัก ถ้ามีคำว่า "พัฒนา" จะมีผลกระทบเกิดขึ้น ถ้าไม่พัฒนา
คนในประเทศจะมีความสุขมากกว่า"
ธีรยุทธอธิบายอย่างเป็นรูปธรรมว่า อย่างเช่น การสร้างทาวเฮาส์ โดยภูมิศาสตร์ของเราต้อง
เจอกับน้ำท่วม ถ้าเราศึกษาดีๆ เราจะไม่สร้างบ้านสองชั้น แต่จะสร้างบ้านไม่มีชั้นหนึ่ง แต่มีชั้น
สองเลยแล้วให้ข้างล่างเปิดโล่ง ถ้าบ้านเราอยู่กับน้ำท่วมแล้วไปฝืนน้ำท่วมเป็นไปไม่ได้
"วิศวะอย่างพวกผม เรียนจบกันมาสามปีรู้เรื่องโลกหมดเลย สามารถตัดภูเขาตัดอะไรได้หมด
แต่ไม่รู้เลยว่าชีวิตไมโครเล็กๆ เป็นอย่างไร นั่นอาจจะเป็นข้อผิดพลาดขนาดใหญ่ที่เราต้องกลับ
มาทบทวนมากกว่าการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างเดียว"
โยงกลับที่การศึกษาอีกครั้งหนึ่ง ธีรยุทธแนะว่า การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ทุกระดับ ต้อง
ถอดรื้อ อย่างเช่นเคยบอกว่านักคิดตะวันออกไม่มี นักคิดไทยไม่มี นักคิดอินเดียไม่มี ผมว่า
สร้างได้ เพราะจริงๆ แล้วเรามีอยู่มากมายแต่ไม่เคยถูกอ้างอิง
"ผมคิดว่าการก้าวไปข้างหน้าของของโลกาภิวัตน์ หยุดไม่ได้ก็จริง แต่เราหยุดตัวเราเองได้
เสรีภาพจากการไม่พัฒนาอาจจะยิ่งใหญ่กว่า มันไม่ได้อยู่กับที่ แต่มันทำให้เราเห็นว่าปัญหา
เราคืออะไร แล้วเราจะเลือกเดินไปทางใด เสรีภาพตัวนี้น่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่มีความหมายมาก"
อาจารย์สุวรรณาบอกว่า สิ่งที่เราลืมไปในวิชาปรัชญาคือ เราจะดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
อย่างไร รู้สึกว่าความสุขมันหายไปในสิ่งที่เราพูด ความสุขคืออีกข้างหนึ่งของเศรษฐศาสตร์
ความสุขเกี่ยวกับความต้องการ ความทุกข์ก็เกี่ยวกับความต้องการ แต่เศรษฐศาสตร์ ไม่สนใจ
ข้างที่เกี่ยวกับความต้องการ แต่คิดเพียงว่า ทำอย่างไรจึงจะตอบสนองความต้องการให้ได้
"ในประเด็นนี้ศาสนาพูดมาตลอดว่าเราจะจัดการอย่างไรกับความต้องการของเรา แต่ว่า ถ้าเรา
ไม่สามารถจัดการกับความต้องการของเราได้ หรือว่าเราอ่อนแอ เราจะ post capitalist หรือ
ไปให้พ้นจากทุนนิยมคงลำบาก เพราะทุนนิยมเป็นระบบที่ตอบสนองความต้องการได้อย่างมี
ประสิทธิภาพระบบหนึ่ง"
สุวรรณาช่วยปลดปล่อยความคิดหลังตะวันตก โดยพาผู้เข้าร่วมเสวนาทั้งหมดเดินทางผ่าน
เรื่องราวของชาวลาวที่เพิ่งไปสัมผัสมาเมื่อสองเดือนก่อนว่า ที่หลวงพระบาง เห็นเด็กเป็น
ร้อยคนกระโดดไปในแม่น้ำว่ายน้ำเล่น เขาไม่ต้องอายที่จะล้าหลัง ไม่ต้องอายที่จะไม่มี
เทคโนโลยี ไม่ต้องอายกับการไม่พัฒนา
"กลับมาสงสัยว่า เราจะพัฒนาไปทำไม ถ้าพัฒนาไปแล้วไม่มีความสุข"
หรืออีกตัวอย่างหนึ่งที่สุวรรณายกขึ้นมาเปรียบเทียบ
"ข่าวในเมืองไทยที่เกิดขึ้น มีนักศึกษาขายบริการทางเพศมากขึ้น ส่วนใหญ่ที่ตัดสินใจทำ
อย่างนี้เพราะอายที่ไม่มีมือถือ แต่ไม่อายที่ขายบริการทางเพศ คล้ายๆ ระบบทุนนิยมทำให้
ความต้องการของเรามีทิศทางที่ชัดเจนบางอย่างว่า ถ้าเราไมได้อย่างนั้นเราจะอาย"
สุวรรณาย้อนกลับมาที่ปรัชญาความคิดแบบ post western ของอาจารย์ธีรยุทธว่า จริงๆ
สิ่งที่ทุนนิยมกดขี่มากที่สุดคือ มันกำหนดขอบฟ้าความต้องการของเราด้วย เราไม่มีเสรีภาพ
ที่จะมีความต้องการโดยไม่ถูกการกำหนดโดยระบบทุน พอกลไกของโลกเป็นแบบนี้ มันเลย
เกิดปัญหาขึ้นว่า คนอีกจำนวนหนึ่งที่ยากจนแล้วไม่มีอะไรเลย เพราะสิ่งที่เขา need ถูกคน
ที่ want ไปหมดแล้ว
"ในที่สุดแล้วเราต้องคิดเหมือนกันว่า ความสุขมันเกี่ยวกับความพอใจด้วย แต่ไม่ใช่แค่การ
ตอบสนองความต้องการแบบไร้ขอบเขต ซึ่งศาสนาให้คำตอบมานานแล้วว่า เสรีภาพที่แท้จริง
กลับไม่ต้องการอะไรเลย"
อย่างที่ รศ.ดร.สุวิชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม จุฬาฯ กล่าวไว้ก็คือ
แทนที่เราจะไปชมสวนคนอื่นก็มาชมสวนของตัวเองกันดีกว่า ก่อนที่จะไม่มีสวนให้ชม!
อ่านเพิ่มเติม
http://www.midnightuniv.org/midschool2000/newpage19.html