ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 10:23:12 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่เล็ก
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 04:32:12 am »

อริยะสัจ 4 เป็นความจริงสัจจะธรรมที่มองเห็นได้จริง
เราทุกคนพิจารณาเบื้องต้น เพื่อเข้าให้ถึงเบื้องลึก ได้ดังนี้

1. ทุกข์ ทุกข์คืออะไร ทุกข์กล่าวมองให้เห็นเป็นภาพลักษณ์โดยง่าย
คือ ความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
ความคับแค้นทั้งกาย และ ใจ ทั้งหลาย   ก็เมื่อทุกข์เกิดมีตั้งอยู่
ก็คงไม่มีใครต้องการ การจะดับทุกข์คนส่วนมากจะดับที่ปลายเหตุ
หรือ ปล่อยให้มันเกิดก่อนจึงค่อยหาทางแก้
แต่ไม่ดับหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดทุกข์ตรงต้นเหตุ
แต่อย่างที่กล่าวการดับทุกข์นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆต้องค่อยๆพิจารณา
และดำเนินไปเพื่อละของเหตุแห่งทุกข์คือสมุทัย
เพราะผลอันเกิดจากสมุทัยคือทุกข์นั่นเอง

2. สมุทัย สมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์ เป็นสาเหตุให้มีปัจจัยดำเนินไป
ให้เราเสวยทุกเวทนาทางกายและใจ
คือให้เราได้รับรู้ถึงที่ถึงความคับแค้นกาย-ใจ ไม่สบายกาย-ใจ
โศรกเศร้าร่ำไรรำพัน เป็นต้น
หากเราพิจารณาจากผลที่เกิด(ทุกข์) ว่าทุกข์เพราะอะไร ทำไมถึงทุกข์
แล้วถอยมาถึงเหตุปัจจัยที่ให้ดำเนินไปจนถึงต้นตอ
ที่เรียกว่ารากฐานของทุกข์ เราจะเห็นเหตุแห่งทุกข์คือสมุทัย
และจากนั้นเราจะเริ่มรู้ถึงหนทางการดับทุกข์พร้อมรู้ว่า
ถ้าละมันได้ความสุขที่เกิดขึ้นจะเป็นเช่นไร

3. นิโรธ นีโรธคือความดับทุกข์ คือความสุข
ที่ได้จากการดับทุกข์ทั้งหมดให้สิ้นไปแล้วจากกายใจ
เบื้องต้น นิโรธ จะเกิดขึ้นได้ เราต้องรู้ สมุทัยก่อน เมื่อรู้สมุทัย
เราจะเริ่มเห็นทางปฏิบัติเพื่อให้ดับทุกข์
แต่เบื้องต้นอาจจะมีหลายหนทางให้เลือก และในขณะนี้
เราจะเห็นนิโรธในอุดมคติ คือเป็นความสุขที่เราคาดว่าจะได้รับ
เพื่อเราสามารถดับมันไปแล้วที่เราตั้งขึ้นในใจ
แต่ตอนนี้แค่เป็นในอุดมคติ ยังไม่สามารถรับ นิโรธได้จริง
จนกว่าเราจะปฏิบัติตามหนทางดับทุกข์ที่เจอจนดับทุกข์ได้หมดสิ้นไป
ถึงจะได้รับ นิโรธที่แท้จริง

4. มรรค มรรคคืออะไร คนส่วนมากกล่าวกล่าวถึงว่ามรรคคืออะไร
คือศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
แต่หัวใจหลักของมรรคล่ะจำทำยังไงถึงจำดับทุกข์ได้
ถึงแม้รู้สมุทัยแล้ว รู้แค่ว่าศีล สมาธิ ปัญหา แล้วจะดับทุกข์ได้มั้ยล่ะ
หากคนไม่เข้าใจหรือจับใจหลักของมรรคเอามาใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้
ก้อไม่มีทางที่รู้ทางดับทุกข์ ก็ไม่มีทางจะได้เห็นนิโรธที่แท้จริงตามที่คาดหวังไว้
หัวใจสำคัญของมรรคคือ สัมมาสังกัปปะ ความดำหริชอบ
ก็คือความนึกคิดที่ดี หากคิดดีแล้วเราก็จะเจอ
สัมมาสติ ความระลึกชอบ ระลึกนึกคิดรู้ตัวเองว่าสิ่งไหนดี ไม่ดี
ควรไม่ควร รู้ตัวเองว่ากำลังทำสิ่งใดอยู่ ให้ตัวเองก้าวไปสู่ในสิ่งที่ดี
ในทางที่ดีเป็นกุศลเสมอ เมื่อมีความคิดชอบ และ ระลึกชอบเกิดขึ้นเรา
เราก็จะเริ่มประพฤติปฏิบัติ กระทำ หรือพูด แต่ในสิ่งที่ดีงาม
ที่เป็นกุศล คือ สัมมากัมมันตะ เมื่อสัมมากัมมันตะแล้ว 
เราก็จะเริ่มมี สัมมาวาจา คือ วาจาชอบ ไม่พูดส่อเสียดเบียดเบียนคนอื่น
ไม่พร่ำเพ้อ หรือ เพ้อเจ้อ และจะมี สัมมาอาชีวะ คือความปฏิบัติเลี้ยงชีพชอบ
คือ ไม่เลี้ยงชีพด้วยการคดโกง ขโมย ทำสิ่งผิดต่อตนเองเอง
และผู้อื่นเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด เมื่อเข้ามาถึงจุดนี้แล้ว
เราก็จะเริ่มมีก็จะเริ่มรู้จักแยกแยะได้ว่าทางนี้ถูกจริงพ้นจริง คือ สัมมาทิฏฐิ
ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
และ เมื่อมีสัมมาทิฏฐิแล้วเราก็จะมี สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม
ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม เมื่อมีสัมมาวายามะ เราก็จะมี
สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
นีคือการเจริญมรรคในรูปแบบของฆราวาสทั่วไป
โดยความความคิดชอบและระลึกชอบเป็นจุดตั้ง
( มรรค 8 นี้ที่แยกแยะไว้เป็น 8 ข้อไม่รวมเป็นหนึ่งก็เพื่อให้เรารู้จักใช้
แต่ละข้อมาปฏิบัติตามกาลอันควรอาจจะเอาหัวข้อใดขึ้นก่อนก็ได้
เพื่อความเป็นไปที่ถูกต้องตามจริตของตน)

ส่วนในเพศบรรชิตนั้นต้องเรียงทุกอย่างตามที่ตถาคตได้ตรัสไว้ดีแล้วดังนี้
สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ

คิดดี ก้อจะเกิดความระลึกดี ก็จะ ทำดีทั้งกายวาจาใจ
และมีความพยายามตั้งใจที่จะทำดีเสมอ แล้วใจก็จะวางเป็นกลางๆ
หมดซึ่งความทุกข์ หรือทำให้ทุกข์เบาบางลง
นี่คือเบื้องต้นของอริยะสัจ 4 เพื่อเดินทางเข้าสู่อริยะสัจกรรมฐาน

ขอบพระคุณท่านtalent ที่มา http://www.loengjit.com/board/index.php?topic=1205.msg3019;topicseen#msg3019