ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 10:50:53 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่เล็ก
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2010, 08:39:19 pm »

 :07: :07: :07: :46:
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2010, 06:38:34 pm »

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่า
การศึกษาที่แท้จริงจะเกิดขึ้นต่อเมื่อ
มนุษย์รู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์อย่างรอบคอบและรอบด้าน
จึงจะทำให้เกิดปัญญาแตกฉาน เรียกว่า โยนิโสมนสิการ
โดยวิธีการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 วิธีด้วยกัน  คือ

1. วิธีคิดแบบคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม : ไม่ติดในรูปร่างภายนอกของวัตถุ
เมื่อจะอุปโภคบริโภคสิ่งใดก็จะคิดถึงประโยชน์ก่อน หรือเรียกได้ว่า
เสพปัจจัยด้วยคุณค่าที่แท้จริง ทำให้ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุ

2. วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก : เล็งเห็นว่าทุกสิ่งมีทั้งคุณและโทษ
ต้องรู้จักแยกแยะว่าคุณและโทษอยู่ตรงไหน และทางเลือกที่ดีกว่าเป็นอย่างไร

3. วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม : คิดหาประโยชน์จากเรื่องต่างๆ
จากทั้งแง่ดีและแง่เสียโดยพยายามถือเอาประโยชน์ให้ได้
เช่น เรื่องของความตาย ถ้าเราคิดถึงความตายแล้วเป็นเหตุให้ทำความดีได้
ก็ถือว่าเป็นการปลุกเร้าให้มีความพยายามในการทำความดี
ถือว่าเป็นการคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม

 4. วิธีคิดแบบอรรถสัมพันธ์ : เป็นการคิดแบบเชื่อมโยง
หลักการกับความมุ่งหมาย อาทิ การกระทำบางอย่างไม่สำเร็จ
เพราะมิได้วางเป้าหมายให้ชัดเจน หรือบางครั้งเป้าหมายชัดเจน
แต่การกระทำไม่สอดคล้องกันจึงไม่สำเร็จ เป็นต้น

5. วิธีคิดแบบอริยสัจ : เป็นการคิดแก้ปัญหาที่สาเหตุ
การคิดแบบนี้คล้ายกับการคิดแบบวิทยาศาสตร์
คือ ต้องมีการตั้งปัญหา คิดสมมติฐาน รวบรวม
และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบของปัญหานั้นๆ

6. วิธีคิดแบบสืบสาวหาเหตุและปัจจัย : การคิดพิจารณา
สืบค้นหาเหตุและปัจจัย ทำให้รู้ได้ว่าสิ่งที่ต่างๆ
ที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุใด และมีปัจจัยใดที่เกี่ยวข้องบ้าง

7. วิธีคิดแบบสามัญลักษณะ : วิธีคิดแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
“วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา” นั่นคือรู้ว่าสิ่งต่างๆ มีเกิดขึ้น
แปรเปลี่ยน และดับสลายไป เพื่อจะได้ไม่ยึดมั่นถือมั่น
และไม่เป็นทุกข์จนเกินไป

8. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบัน : คือ มีสติสัมปชัญญะ รู้ตัวอยู่ตลอด
เนื่องจากการคิดแบบไม่ยอมอยู่ในปัจจุบัน
(การจมอยู่กับอดีตหรือคิดล่วงหน้าไปในอนาคต) จะทำให้เกิดวิตกกังวล
หรือเกิดอันตรายได้ เช่น การขับรถ ถ้าขณะขับไม่มีสติอยู่กับตัว
ก็อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

9. วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ : เป็นการคิดแบบแยกย่อยเป็นส่วนๆ
เพื่อหาความสอดคล้องสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม การคิดแบบนี้
จะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น เพราะไม่มองแต่ภาพรวม
แต่มองลึกลงไปถึงรายละเอียดด้วย

10. วิธีคิดแบบแยกแยะประเด็น : การคิดแบบแยกแยะประเด็น
มีประโยชน์มากในการดำเนินชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าเรารู้จักแยกแยะหน้าที่ของตนเองก็จะทำให้เราประสบความสำเร็จ
ในชีวิตได้เป็นอย่างดี เช่น ในฐานะที่เป็นนักเรียน
ก็ควรที่จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน โดยแบ่งเวลาเรียนกับเวลาเล่นให้เป็น เป็นต้น



ที่มา: sbkmos
เว็บลิงค์: http://www.swuaa.com/webnew/inde.php?option=com_content&view=article&id=833:2009-06-15-06-03-56&catid=53:2009-02-24-06-10-59&Itemid=57 </font>

ขอบพระคุณที่มา http://www.loengjit.com/board/index.php?topic=1208.msg3024#msg3024