ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวมีขีดกลาง | จัดย่อหน้าอิสระ จัดย่อหน้าชิดซ้าย จัดย่อหน้ากึ่งกลาง จัดย่อหน้าชิดขวา
ใส่แฟลช ใส่รูป ใส่ไฮเปอร์ลิ้งค์ ใส่อีเมล์ ใส่ลิ้งค์ FTP | ตัวเรืองแสง ตัวมีเงา ตัวอักษรวิ่ง | ตัวยก ตัวห้อย ตัวพิมพ์ดีด | ใส่ตาราง ใส่โค้ด ใส่การอ้างถึงคำพูด | Insert Unordered List Insert Ordered List เส้นขวาง Insert Progress Bar | Remove Formatting Toggle View
Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 10:59:32 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ
ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 04:32:59 pm »


เขียนโดย ชัยยศ ยโสธโร

จากคอลัมน์ มองย้อนศร น.ส.พ. โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553

หรือ จากเว็บ peacefuldeath.info









สมชัย (นามสมมุติ) เป็นผู้บริหารระดับค่อนข้างสูง เขาเป็นคนที่มีความสามารถ มีผลงานดีเยี่ยม หลายปีของการอุทิศตนเองเพื่องานผ่านไป กระทั่งวันหนึ่งสมชัยรู้สึกทุกข์ทรมาน เบื่อหน่ายกับการงานที่ไม่มีความท้าทายอีกต่อไป



ขณะเดียวกันสมชัยก็ไม่เข้มแข็งและไม่กล้าหาญพอ ที่จะหลุดออกจากสภาพชีวิตที่คุ้นเคย



ความกลัวรุมเร้า ความวิตกกังวลต่อสายตาและการยอมรับของคนรอบข้าง สิ่งที่สมชัยเลือกคือ การทนอยู่ บอกตนเองว่า “อดทน อดทน”








เมื่อเราเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ศึกษาเล่าเรียน ทำการงาน กาลเวลาผ่านไป สายตาของคนรอบข้างที่มองเห็นและรับรู้ตัวเรา ประเด็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญคือ เราประสบความสำเร็จในชีวิตหรือไม่ อย่างไร



ตัวชี้วัดที่สำคัญคือ ทรัพย์สินที่เราถือครอง เช่น บ้าน รถยนต์ เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ ขณะเดียวกัน ความสำเร็จประการต่อมา ที่หลายคนจับตามอง ก็คือความก้าวหน้าในอาชีพการงาน บทบาทและ ตำแหน่งหน้าที่



สิ่งที่พวกเขาอาจไม่ได้ใส่ใจนัก คือ อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดภายในของคนทำงานมีความสุขไหม? ซึ่งมองเห็นได้ยาก และจับต้องไม่ได้ง่ายๆ นัก








เพราะว่าเราทุกคน ต่างมีความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ การยอมรับจึงเป็นเรื่องราวสำคัญที่หลายคนต้องดิ้นรน ต่อสู้เพื่อให้ได้มา



เวทีของอาชีพการงาน ถือเป็นเวทีสำคัญของการพิสูจน์ตนเองว่า สามารถบรรลุความสำเร็จ เพื่อได้มาซึ่งการยอมรับหรือไม่ จึงไม่แปลกที่ การแข่งขัน การทำงานหนัก การอุทิศตัวเพื่อการทำงาน จึงเป็นหลักศาสนาของชีวิตผู้คนจำนวนมาก








ดูเหมือนความอดทนในบริบทเช่นนี้ ถูกใช้ไปเพื่อเผาผลาญพลังชีวิต และความสดใสร่าเริงของสมชัย ให้เหือดแห้งลงไปเรื่อยๆ



สมชัยพบว่าตนเองมีอารมณ์ที่มักโกรธง่าย ฉุนเฉียว ขณะเดียวกันก็เรียกร้องความเข้าใจ ความเห็นใจต่อคนรอบข้างมากขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางความไม่เข้าใจและอึดอัดใจของคนใกล้ชิด สมชัยกำลังไร้ความสุขมากขึ้นเรื่อยๆ



หลายคืน สมชัยต้องอาศัยเหล้า เพื่อให้ตนเองนอนหลับได้ อย่างน้อยความสุขจากการนอนหลับ ก็คุ้มค่าที่จะแลกมาด้วยการดื่มเหล้า และเพื่อให้เข้าถึงความสุขที่ว่านี้ สมชัยต้องดื่มเหล้ามากขึ้นเรื่อยๆ








ความปรารถนาในความสุข คือ สิ่งที่ขับเคลื่อนในชีวิตของเรา และความสุขนี้ ก็มีความซับซ้อนราวกับศิลปะแห่งชีวิต เรามีความสุขเมื่อเราประสบความสำเร็จ เมื่อเราบรรลุและสมปรารถนาในสิ่งที่คาดหวัง โดยที่สิ่งที่คาดหวัง ก็เป็นได้ ทั้งรูปธรรม และนามธรรม เช่น บ้าน รถยนต์ รวมไปถึงชื่อเสียง เกียรติยศ ความนับหน้าถือตา



สมชัยทำได้ดี แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง สมชัยพบว่า การงานที่ตนเองทำอยู่นั้น ไม่ได้ให้ความหมายหรือสิ่งที่ดีกับใครหรืออะไร นอกจากการมีรายได้จากการงานที่ความสำเร็จขึ้นกับยอดขาย และยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น



สมชัยรู้สึกแปลกแยกกับการงานที่ตนเองทำอยู่ หลายคนปลอบใจสมชัยว่า “อย่าคิดมาก” คำปลอบใจนี้ช่วยได้บ้าง แต่ก็เพียงชั่วคราว








ทุกวันนี้การงานของหลายคน กลายเป็นความชั่วร้ายที่จำเป็น การงานกลายเป็นสิ่งที่ต้องอดทน และต้องแลกมาด้วยความเครียด รวมถึงการมีสัมพันธภาพที่ต่างต้องระมัดระวัง และหวาดระแวง



การผ่อนคลายด้วยการกิน ดื่ม เที่ยวเตร่ รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยบริโภค กลายเป็นทางออกเพื่อผ่อนคลายจากความเครียด และเมื่อใช้จ่ายเงินมาก ก็เหลือเก็บออมน้อย ซึ่งก็หมายถึง ความจำเป็นที่ต้องทำการงานต่อไป กลายเป็นวังน้ำวนที่ดูไร้ทางออก








สมชัย ในฐานะตัวแทนของหลายๆ ชีวิต ที่กำลังเป็นไปในสังคมทุกวันนี้ สิ่งที่เขาทำอยู่ กำลังมุ่งหมายอะไร ความสำเร็จอะไร ที่สมชัยกำลังเรียกร้อง หากพิจารณาถึงที่สุด เราทุกคนต่างปรารถนาความสุขสงบในจิตใจ เพียงแต่วิถีเพื่อสู่ความสุขสงบในจิตใจ อาจแตกต่างกันไป และการแสวงหาความสำเร็จ ก็เป็นวิถีที่หลายคนเลือกใช้ด้วยการทำงานหนัก อุทิศตัวเหมือนที่สมชัยกำลังทำ








แต่แล้ววันหนึ่ง ความสุขจากความสำเร็จนี้ กลับไม่ใช่ความสุขอีกต่อไป เนื่องเพราะความสำเร็จจากการบรรลุเป้าหมาย

กอรปด้วย



1) ความสำเร็จภายนอก จากการบรรลุเป้าหมายภายนอก เช่น ตำแหน่ง อำนาจ หน้าที่ เงินเดือน ชื่อเสียง ฯลฯ



และ 2) ความสำเร็จภายใน จากการบรรลุเป้าหมายภายใน เช่น การมีความสุขจากการงาน : ความสนุกเพลิดเพลิน ความเบิกบานใจ หรือการมีความภาคภูมิใจ มีคุณค่า ความหมายในการงาน








นิยามของความสำเร็จ คือ การที่เราได้พบและตระหนักรู้ว่า การงานที่เราอุทิศแรงงาน เวลา ทรัพยากรต่างๆนั้นได้ให้ความหมายบางอย่าง มากหรือน้อยก็ตามต่อโลก อันได้แก่ คนรอบข้าง ครอบครัว ชุมชนและสังคม และรวมถึงกับ ตัวเราเอง



ขณะเดียวกัน ตัวเราก็มีความสุขกับการงาน กับภารกิจที่เราทำด้วย



ท่านอาจารย์พุทธทาส ได้ให้คำสอนที่สอดคล้องกับบริบทในที่นี้ คือ “เป็นประโยชน์ และสงบเย็น”



ดังนั้น เมื่อใดที่ปราศจากความหมายในความสำเร็จข้างต้น หรือเมื่อขาดพร่องในมิติใด การงานนั้น ก็กลับกลายเป็นความเครียด ทุกข์ และเมื่อเครียด ทุกข์ พวกเราส่วนใหญ่ก็มักหาทางออกด้วย วิธีพึ่งพาสิ่งมึนเมา เพื่อหลงลืม








ความเลวร้ายอีกประการคือ การงานหลายอย่าง เลือกเรา มากกว่าเรา เลือกการงาน ความยากจน ความด้อยโอกาส ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ฯลฯ ทำให้หลายคนเลือกทำการงานที่บั่นทอนคุณค่าชีวิต สุขภาพกายและใจของตนเอง



ในอีกทาง คนทำงานในโรงงานหรือสำนักงานก็ตาม พบว่า การงานที่ตนเองทำและรับผิดชอบนั้น เชื่อมโยงอะไรและอย่างไรกับผู้คน อีกทั้งสิ่งที่ขัดแย้งในโลกการงานปัจจุบัน คือ ความก้าวหน้าในบทบาทหน้าที่ รวมถึงการเพิ่มสูงขึ้นของอำนาจสั่งการ มันแปรผันตาม เรี่ยวแรงและเวลาที่เราทุ่มเทให้องค์กร



ขณะที่ความสุขภายใน ต้องการจังหวะที่เนิ่นช้ากว่า ได้เรียนรู้และรับรู้ถึงความเป็นไปในการงาน การมีส่วนร่วม และรับผิดชอบในการงาน พร้อมกันนี้ เมื่อเราต้องทุ่มเทพลังชีวิตและเวลาเพื่อการงาน ก็ย่อมหมายถึงพลังชีวิต เวลาและทรัพยากรที่อุทิศให้กับครอบครัว และเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ก็ต้องลดน้อยลงด้วย



ในบริบทของชีวิตการทำงาน องค์ประกอบสำคัญ คือ เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ที่เรามุ่งไป คุณภาพ และความสัมพันธ์ของผู้คน รวมถึงวัฒนธรรมขององค์กร ทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกับทั้งความสำเร็จภายนอก และความสำเร็จภายใน รวมถึงการบรรลุเป้าหมายทั้งภายนอก และเป้าหมายภายใน



ก่อนการเลือกเพื่อทำงาน และเดินหน้าสู่ความสำเร็จ เราจึงพึงระลึกถึงว่า ความสำเร็จที่เรากำลังไป หน้าตาเป็นอย่างไร เพื่อชีวิตไม่ต้องทนทุกข์จากความเครียด กดดันแบบสมชัย.








……………………………………….


ธรรมสวัสดี




ร่มไม้เย็น ค่ะ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=trees&month=06-04-2010&group=8&gblog=35