ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 11:00:19 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 05:36:10 pm »

คลิปนี้ ไม่เกี่ยวกับเรื่องค่ะ แต่เกี่ยวกับ ‘ตัวตุ่น’


ป้าเห็นว่าขำขันดี ก็เลยขอนำมาพักคั่นเวลา ความยาว 4.19 นาที


Gopher Broke 3D


เมื่อคิดจะเอาชนะใครสักคน(หรือสักตัว) ความคิดนั้นก็สามารถผลักดันให้เราทำทุกอย่าง เพื่อจะได้ชัยชนะ โดยไม่สนใจหรือเผื่อใจคิดว่าจะสูญเสียอะไรบ้าง



ใช่หรือไม่ว่า บ่อยครั้งสิ่งที่เราสูญเสียไป ก็คือ สิ่งที่เราแสนรักแสนห่วง และหมายจะปกป้องนั่นเอง ไม่ว่าทรัพย์สมบัติ บุคคล ความคิด รวมไปถึงชื่อเสียงเกียรติยศ หรืออะไรก็ตาม




เมื่อใดที่เราถือว่ามันเป็นของเรา เมื่อนั้นเราก็กลายเป็นของมันทันที

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? คำตอบก็คือ เป็นเพราะความยึดมั่นนั่นเอง



เมื่อเรายึดมั่นอะไรก็ตาม ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเอาสุขหรือทุกข์ของเรา ไปขึ้นอยู่กับสิ่งนั้น ถ้ามันเป็นไปตามใจเรา เราก็สุข แต่ถ้ามันไม่เป็นไปตามใจเรา เราก็ต้องทุกข์ ดังนั้นเราจึงพยายามที่จะควบคุมบังคับมัน ให้เป็นไปตามใจเราให้ได้









แต่ในโลกนี้มีอะไรบ้างที่เราสามารถควบคุมบังคับได้อย่างแท้จริง

อย่าว่าแต่ร่างกายเลย แม้แต่จิตใจ เรายังไม่รู้เลยว่าอีกหนึ่งนาทีข้างหน้า จะคิดอะไรบ้าง ยังไม่ต้องพูดถึงการบังคับให้นิ่งสงบ


ดังนั้นยิ่งพยายามควบคุมบังคับให้เป็นไปตามใจ เราก็ยิ่งทุกข์ แม้บางครั้งจะสุข (เพราะมันเป็นไปตามใจเรา) แต่ก็ชั่วคราวเท่านั้น ในที่สุดก็ต้องกลับมาทุกข์ใหม่



น่าแปลกก็คือ เราชอบยึดอะไรต่ออะไรเป็นของเรา ทั้งๆ ที่บางอย่างก็ไม่น่ายึด เช่น ศัตรูของเรา



ศัตรูนั้นเป็นสิ่งที่...น่ามี ...น่าเอา อย่างนั้นหรือ???? แต่ทำไมจึงยึดมาเป็นของเรา ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ไม่มีศัตรูคนไหนที่อยู่ในบังคับบัญชาของเราได้เลย แต่พอเรายึดมาเป็นของเรา เราก็ตกอยู่ในอำนาจของเขาทันที




ถ้าเขาด่า เราก็ทุกข์ / หากเขาโจมตี เราก็โกรธแค้น / ยามเขาได้ดี เราก็อิจฉา

คำถามคือ .....ทำอย่างไรเราจึงจะไม่อยู่ในอำนาจของเขา

คำตอบง่าย ๆ ก็คือ .....เลิกยึดมั่นว่าเขาเป็นศัตรูของเรา



ที่จริงไม่ใช่แค่ศัตรูเท่านั้น แม้แต่คนรัก ทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียงเกียรติยศ หรือสิ่งทั้งปวง ก็น่าคลายความยึดมั่น .....ไม่ถือว่าเป็นของเรา









พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า ต้องสละทุกสิ่งทุกอย่าง

เราจะมีอะไร ก็มีได้ แต่น่าจะมีให้เป็น คือ ไม่ยึดมั่นว่าเป็นของเรา

เพราะความจริงก็เป็นเช่นนั้นอยู่แล้วคือ .....ไม่มีอะไรที่เป็นของเราจริง ๆ



ทรัพย์สมบัติก็เป็นเพียงสิ่งที่เรามีอยู่ชั่วคราว สักวันหนึ่งก็ต้องไปอยู่ในมือของคนอื่น จะโดยความยินยอมของเราหรือไม่ก็แล้วแต่ ดังนั้นแทนที่จะยึดมั่นว่าเป็นของเรา (แล้วต้องทุกข์เมื่อมันหลุดจากมือเราไปหรือกลายสภาพไป) ก็ให้ถือว่าของเหล่านี้มาอยู่ในความดูแลของเราชั่วคราว จะเรียกว่ายืมมาใช้ชั่วขณะก็ได้




การที่พูดว่าทรัพย์สมบัติเป็นเพียงสิ่งที่ยืมมาใช้ชั่วคราว ไม่ได้หมายความให้ละทิ้งความรับผิดชอบ


เวลาเรายืมของของใครมา ไม่ว่าโทรศัพท์ นาฬิกา รถยนต์ ใช่หรือไม่ว่าเรามีหน้าที่ช่วยดูแลรักษาให้ดี เพื่อคืนแก่เจ้าของเดิมในสภาพที่ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด แต่หากมันมีอันเป็นไป ก็ต้องพร้อมทำใจ








มีเรื่องเล่าว่าสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์หนึ่ง ได้รับแจกันลายครามอายุหลายร้อยปี และมีราคาแพงมากจากผู้ศรัทธา เวลาศิษย์วัดทำความสะอาดพระตำหนัก พระองค์จะคอยกวดขันดูแลศิษย์ให้ระมัดระวังแจกันนั้นเป็นพิเศษ เวลาศิษย์ขยับแจกัน พระองค์ก็กำชับให้ค่อยๆ จับ เป็นเช่นนี้ทุกครั้ง



แล้ววันหนึ่งศิษย์ก็เผลอ ทำแจกันตกจากโต๊ะ แตกเสียงดังสนั่น พระองค์อยู่ตรงนั้นพอดี เมื่อได้ยินเช่นนั้น แทนที่จะโกรธหรือเสียใจ พระองค์กลับบอกว่า เออ หมดภาระไปเสียที



สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นี้ ไม่ได้มีความหวงแหนแจกัน แต่พระองค์ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของพระองค์ ที่จะต้องดูแลแจกันนี้ให้ดีที่สุด แต่เมื่อมีอันเป็นไป ก็ปล่อยวางได้ เพราะพระองค์ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นแจกันนี้มาแต่แรก



พุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธการมีทรัพย์ พระพุทธองค์ยอมรับความสุขจากการมีทรัพย์ และการใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์ แต่ขณะเดียวกันพระองค์ก็แนะว่า จะต้องมีและใช้ทรัพย์อย่างรู้เท่าทัน
สามารถรักษาใจให้เป็นอิสระหรือเป็นนายเหนือทรัพย์ด้วย มิใช่สยบมัวเมาหรือเป็นทาสมัน



กับร่างกายก็เช่นเดียวกัน แทนที่จะยึดมั่นว่ามันเป็นของเรา ควรมองว่ากายนี้เป็นสิ่งที่เราหยิบยืมมา สักวันหนึ่งก็ต้องคืนให้แก่ธรรมชาติไป ในขณะที่อยู่ในความดูแลของเรา เรามีหน้าที่รักษาให้ดี เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เมื่อเจ็บป่วยก็ต้องรักษา เหมือนเรือที่ยืมมา หากรั่วก็ต้องซ่อม เพื่อรอวันคืนเจ้าของ








คนรัก .....ลูกหลาน .....พ่อแม่ .....มิตรสหาย เขาก็มีชีวิตของเขา เป็นตัวเขาเอง เขาไม่ใช่ของเรา มิอาจอยู่ในบังคับบัญชาของเราได้ ยิ่งยึดมั่นว่าเป็นของเรามากเท่าไร นอกจากเราจะทุกข์แล้ว การยึดมั่นของเราอาจผลักเขาให้อยู่ไกลจากเราเท่านั้น




ใช่หรือไม่ว่า .....ยิ่งพยายามครอบครอง ก็ยิ่งสูญเสีย

ยิ่งอยากให้เขารัก .....เขาก็ยิ่งหน่ายแหนง



แม้แต่งานการที่เราทำมากับมือ ก็หาใช่ของเราจริงๆ ไม่ เราเป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่ทำให้งานสำเร็จ แม้จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ แต่ความสำเร็จนั้นล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่อยู่ในวิสัยที่เราจะควบคุมได้




ดังมีภาษิตจีนกล่าวว่า ‘การกระทำเป็นของมนุษย์ ....แต่ความสำเร็จเป็นของฟ้า’



พูดอีกอย่างก็ได้ว่า ‘ความพยายามเป็นของมนุษย์ .....แต่ความสำเร็จเป็นของธรรมชาติ’



ธรรมชาติในที่นี้ หมายถึง กระแสแห่งเหตุปัจจัยซึ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน



ถ้าเราทำงานโดยหมั่นยกผลงานให้เป็นของธรรมชาติ เราจะทุกข์น้อยลง เวลาคนตำหนิหรือวิจารณ์ผลงานดังกล่าว .....ขณะเดียวกันจะเปิดใจรับฟังได้มากขึ้น และพร้อมจะแก้ไขปรับปรุง ในทางตรงกันข้ามเมื่อมีคนชม ก็ไม่เหลิงจนลืมตัว




เมื่อใดก็ตามที่เรายึดมั่นถือมั่นในผลงาน ว่าเป็นของเรา ตัวกู... ของกู จะเกิดขึ้นทันที


ผลที่ตามมาก็คือ เมื่องานนั้นถูกวิจารณ์ ตัวกู ก็จะถูกกระทบอย่างจัง ทำให้เกิดความขุ่นเคืองและไม่อยากรับฟังคำวิจารณ์นั้นต่อไป



ในทำนองเดียวกันเมื่อยึดมั่นความคิดว่าเป็นของเรา ใครที่วิจารณ์ความคิดของกู ก็เท่ากับเล่นงานตัวกู ความไม่พอใจหรือความเป็นปฏิปักษ์จะเกิดขึ้นทันที ส่วนสติและปัญญาจะหายไป ทีนี้จะไม่สนใจแล้วว่า สิ่งที่เขาพูดมานั้นถูกต้องหรือไม่ แต่จะคิดหาทางตอบโต้มากกว่า






คำสอนของท่านพุทธทาส









ถึงที่สุดแล้ว ความยึดมั่นว่าเป็นของเราเกิดขึ้นได้ เมื่อมี ตัวกู ของกู ผุดมาเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆ



เมื่อมี ตัวกู ของกู เกิดขึ้น ทุกอย่างก็ถูกดึงมา สนองกิเลสตัวนี้ (หรือความหลง) แต่ยิ่งดึงสิ่งต่างๆ เข้ามาเป็น ตัวกู ของกู มากเท่าไร เราก็ยิ่งถูกผลักเข้าไปอยู่ในอำนาจของสิ่งเหล่านั้นมากเท่านั้น กลายเป็นทาสของมันไปโดยไม่รู้ตัว



วิธีเดียวที่จะเป็นอิสระจากสิ่งเหล่านั้น คือไม่ยึดมันมาเป็นของเรา ซึ่งหมายถึงการรู้เท่าทัน ตัวกู ของกู ไม่ปล่อยให้มันมีอำนาจเหนือเรา



เมื่อไม่ยึดสิ่งต่างๆ มาเป็นของเราแล้ว นอกจากเราจะเป็นอิสระจากสิ่งต่างๆ ไม่สุขหรือทุกข์ไปตามอำนาจหรืออาการของสิ่งต่างๆ แล้ว เรายังจะกลับเป็นนายเหนือสิ่งต่างๆ




คือ สามารถใช้มันให้เกิดประโยชน์แก่เราอย่างแท้จริง ...มีเงิน ก็ใช้เงินได้อย่างอิสระ

มีชื่อเสียง ก็ใช้ชื่อเสียงให้เกิดประโยชน์ โดยไม่ทุกข์เมื่อเงินหายหรือชื่อเสียงหด



ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อคลายความยึดมั่น หรือสละสิ่งต่างๆ ออกไป มันกลับหลั่งไหลเข้ามา



นักบวชที่สละทรัพย์สมบัติ และชื่อเสียงเกียรติยศ จะพบว่าทรัพย์สมบัติ และชื่อเสียงเกียรติยศ กลับเข้ามาสยบอยู่แทบเท้า เห็นได้จากพระป่าจำนวนมากที่บรรลุธรรมขั้นสูงและเคร่งครัดในธรรมวินัย คานธี เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของคนทียิ่งสละโลก แต่กลับมีอำนาจเหนือโลก ในคริสต์ศาสนา มีนักบุญจำนวนไม่น้อยที่สละทุกอย่าง เช่น นักบุญฟรานซิส แห่งอัสสิสิ หรือนักบุญเบเนดิคท์ แต่ในเวลาไม่นาน ผู้คนก็พากันสละทรัพย์สมบัติและที่ดินให้แก่ท่านมากมาย จนคณะของท่านมีความมั่งคั่งอย่างยิ่ง



แต่ทันทีที่นักบวชรุ่นหลัง หมายมั่นเป็นเจ้าของทรัพย์เหล่านั้น ก็กลับกลายเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้นไป เช่นเดียวกับพระภิกษุจำนวนไม่น้อย ที่ได้รับอานิสงส์จากครูบาอาจารย์ที่สละโลก แต่แล้วกลับเป็นทาสของโลกไปในที่สุด




ยิ่งอยากได้ ก็ยิ่งสูญเสีย / ยิ่งยึดมั่นเป็นเจ้าของ ก็ยิ่งกลับเป็นทาส

แต่เมื่อสละไป ...กลับได้มา

เมื่อไม่ยึดมั่นเป็นเจ้าของสิ่งใด .....สิ่งนั้นก็กลับมาเป็นของเรา





เมื่อคืนทุกอย่างให้แก่โลก .....ทุกอย่างในโลกก็กลับเป็นของเรา

นี้คือความจริงของโลก ที่ดูเหมือนเล่นตลกกับเรา.









ธรรมสวัสดี


ร่มไม้เย็น ค่ะ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=trees&month=20-08-2010&group=8&gblog=43

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 05:25:18 pm »

= = = = เมื่อโลกเล่นตลก = = = =



เขียนโดย พระไพศาล วิสาโล จาก เว็บบอร์ด palungjit.com







ไม่ว่ามนุษย์เราสร้างอะไรขึ้นมาก็ตาม ในที่สุดสิ่งนั้นก็กลับมาสร้างเรา หรือมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม และวิถีชีวิตของเรา



เราสร้างเทคโนโลยีขึ้นมา และแล้วทุกวันนี้เทคโนโลยีก็มากำหนดชีวิตของเรา ตั้งแต่การกินอยู่ การใช้เวลาว่าง และการวางเป้าหมายของชีวิต (เช่น ตั้งเป้าว่าจะมีรถของตัวเองก่อนอายุ 30 ปี) แม้แต่การแสดงความรักหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น



ในทำนองเดียวกัน มนุษย์เรากำหนดมูลค่าของทองขึ้นมา แล้วในที่สุดทองก็กลายเป็นสิ่งวัดมูลค่าของตัวเราและคนอื่น (ไปงานราตรีสโมสรแล้วไม่มีทองหรือเพชรใส่สักเส้น จะรู้สึกอย่างไร)



ภาษาเป็นประดิษฐกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ แต่ในเวลาเดียวกันเราก็เป็นประดิษฐกรรมของภาษา โลกทัศน์และความรู้สึกนึกคิดของเราถูกกำหนดโดยภาษามาก เพียงแค่คำว่า ‘ไอ้’ หรือ ‘ท่าน’ ย่อมให้ความรู้สึกแก่เราต่างกัน หากเราเป็นฝ่ายถูกเรียกด้วยสองคำนั้น



แต่อิทธิพลของภาษามีมากกว่านั้น มันยังกำหนดวิธีคิดหรือทัศนะของเราต่อชีวิตและโลกอย่างลึกซึ้งและไม่รู้ตัว คงมีคำไม่กี่คำที่มีอิทธิพลต่อเราอย่างลึกซึ้ง เท่ากับคำว่า ‘ของ’



เรามักเรียกสิ่งต่าง ๆ ที่เรามี ว่าเป็น ‘ของเรา’



คำ ๆ นี้ ชวนให้เข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นของเราจริง ๆ คือ อยู่ในอำนาจของเรา สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามใจเราได้ และสามารถจะอยู่กับเราไปชั่วฟ้าดินสลาย



แต่ความจริงก็คือ ไม่ใช่ทั้งเพ

แต่นั่นก็ไม่ร้ายเท่ากับข้อที่ว่า ‘อะไรก็ตามที่เราคิดว่าเป็นของเรา แท้จริงแล้ว เราต่างหากที่เป็น ของมัน’







เมื่อเราซื้อรถคันใหม่มา และคิดว่ามันเป็นของเรา เราก็ตกอยู่ในอำนาจของมันทันที คือ ต้องคอยเป็นห่วงมัน เฝ้าประคบประหงมมัน ถ้าจอดไว้ข้างถนนที่เปลี่ยว ก็อยู่ไม่เป็นสุข เพราะเฝ้ากังวลถึงมัน เจอรอยขีดข่วนเมื่อไร ก็หงุดหงิดอารมณ์เสียไปทั้งวัน ถ้ารู้ว่าเป็นฝีมือของลูกเมีย เป็นต้องระเบิดอารมณ์ใส่ ยิ่งถ้ารถเกิดหายไป ก็กินไม่ได้นอนไม่หลับเลยทีเดียว







อะไรก็ตามที่เราคิดว่าเป็นของเรา ในความเป็นจริงมันต่างหากที่เป็นนายเรา


ทันทีที่คิดว่าเงินเป็นของเรา เราก็กลายเป็นข้ารับใช้มันไปโดยไม่รู้ตัว เราต้องคอยปกปักรักษามันเอาไว้ บางทีถึงกับเอาชีวิตเข้าแลก เพราะกลัวโจรเอาไป



หาไม่ก็ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ เพื่อให้มันมีปริมาณเพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ต่างไปจากทาสที่สละหยาดเหงื่อแรงงาน เพื่อเติมคลังสมบัติของเจ้านายให้เต็ม แม้จะมีมากมายมหาศาล ก็หยุดหาเงินไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่กิน 10 ชาติก็ไม่หมด



กลายเป็นว่าแทนที่จะได้ใช้มัน มันกลับใช้เรา

เศรษฐีบางคนร่ำรวยสุดจะพรรณนา แต่อยู่อย่างอัตคัดราวยาจก เพียงเพราะเสียดายเงิน








แม้แต่บุคคลที่เราคิดว่าเป็นของเรา ถ้าเผลอเมื่อไร เราก็กลายเป็นของเขาไปทันที เพราะชะตาชีวิตของเรากลับไปขึ้นอยู่กับเขา



เราจะสุขหรือทุกข์ ขึ้นอยู่กับว่าเขาคิดหรือพูดกับเราอย่างไร ถ้าเขาไม่พูดด้วยหรือทำท่ามึนตึง ก็แทบจะอยู่ไม่ได้เอาเลย ที่ฆ่าตัวตายก็มีไม่น้อย ทั้งหมดนี้เริ่มต้นจากการยึดมั่นว่า .....เขาเป็นของฉัน .....ไม่ว่าคนรักของฉัน .....พ่อแม่ของฉัน .....หรือลูกของฉันก็ตาม







แม่บางคนต่อว่าลูกที่เอาแต่เล่นเกมคอมพิวเตอร์ จนไม่เป็นอันกินอันนอนหรือเล่าเรียน ส่วนลูกก็รำคาญแม่ จนไม่พูดด้วย ยังคงขลุกอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างเดียว



แม่ไม่พอใจมาก จึงยื่นคำขาดกับลูกว่า ถ้าลูกไม่คุยกับแม่ แม่จะฆ่าตัวตาย ลูกได้ยินก็ยังเฉย แม่ทั้งผิดหวังและน้อยใจอย่างรุนแรง จึงโดดลงจากตึกทันที



ยิ่งยึดมั่นว่าเป็นลูกของเรามากเท่าไร ก็ยิ่งคาดหวังให้เขาอยู่ในอำนาจของเรามากเท่านั้น แต่หารู้ไม่ว่า ยิ่งคาดหวังเช่นนั้นมากเท่าไร เราก็ยิ่งกลับอยู่ในอำนาจของลูกมากเท่านั้น



ดังนั้นชีวิตจึงเป็นทุกข์ เพราะท่าทีหรือพฤติกรรมบางอย่างของเขา



ใช่หรือไม่ว่า เมื่อยึดใครว่าเป็นคนรักของเรา .....เราก็กลับตกอยู่ในอำนาจของเขา จนอาจเผลอทำร้ายตนเองหรือทำร้ายผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว



มองดูให้ดี ไม่มีอะไรเลยที่เมื่อยึดมั่นว่าเป็นของเราแล้ว เราไม่กลับเป็นของมัน แม้กระทั่งความคิด



ความคิดใดก็ตามเมื่อเกิดขึ้นมาในใจแล้ว เรามักคิดว่ามันเป็นของเรา แต่ในความเป็นจริงมันไม่ยอมอยู่ในอำนาจของเราเลย มีหลายเรื่องที่เราไม่อยากคิด แต่มันกลับผุดขึ้นมาเอง



ไม่เชื่อ ก็ลองนั่งสมาธิทำใจสงบดู หรือเวลาเกลียดใครสักคน แล้วไม่อยากคิดถึงหมอนั่น ไม่ช้าไม่นานเราจะเผลอคิดถึงเขา แล้วก็จะคิดไม่หยุด บางทีกินก็คิด นอนก็คิด ทั้งๆ ที่ไม่อยากคิดเลย



ความคิดนั้นเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว มันดูเหมือนจะมีชีวิตของมันเอง เช่น ต้องการดำรงอยู่ต่อไปเรื่อย ๆ ไม่ยอมตาย ดังนั้นมันจึงพยายามกระตุ้นให้เราคิดถึงมันอยู่บ่อยๆ เพราะถ้าไม่คิดถึงมัน มันก็จะตายไปในที่สุด



เหมือนไฟที่ไม่มีเชื้อ ยิ่งคิดก็เท่ากับเติมชีวิตให้มัน เสมือนเติมเชื้อเพลิงให้กองไฟ สังเกตได้เวลาอยู่ในที่เงียบๆ หรือหลีกเร้น ความคิดต่างๆ จะพรั่งพรูออกมา เพื่อหลอกล่อหรือยั่วยุให้เราคิดถึงมันเรื่อย ๆ



ใช่แต่เท่านั้นมันยังต้องการให้เราปกปักรักษามัน หรือเผยแพร่มันไปเรื่อยๆ



ใครก็ตามที่พยายามหักล้าง หรือขัดขวางความคิด(ที่หลงคิดว่าเป็น)ของเรา เราจึงอยู่เฉยไม่ได้ ต้องไปเถียงหรือทะเลาะกับเขา จนอาจถึงขั้นทำร้ายกัน บางทีถึงกับทำสงครามกัน เพื่อปกป้องความคิด ซึ่งอาจมาในรูปของศาสนาหรืออุดมการณ์ทางการเมือง







การที่เรายอมให้ความคิดผลักดันเราไปตายหรือไปฆ่าคนอื่น แสดงว่ามันอยู่ในอำนาจของเรา หรือเราอยู่ในอำนาจของมันกันแน่



น่าแปลกก็คือ พอไปยึดมั่นว่าเป็นความคิดของเราแล้ว มันสามารถผลักดันให้เราทำอะไรได้ร้อยแปด ทั้งๆ ที่เป็นผลเสียกับเราเอง (แม้ไม่ถึงขั้นพาไปตายก็ตาม)



ชายคนหนึ่งรักและหวงแหนสนามหญ้ามาก พยายามดูแลรักษามันทั้งเช้า-เย็น ทั้งฉีดยาและใส่ปุ๋ยอย่างดี ใครมาเดินเหยียบก็ไม่ยอม เป็นต้องทะเลาะกัน (ตกลงสนามหญ้าเป็นของเขา หรือเขาเป็นของสนามหญ้ากันแน่)



แล้ววันหนึ่ง เขาก็พบว่า มี ตัวตุ่น มาขุดรูทำรังอยู่ใต้สนามหญ้า นับวันรูตุ่นก็ขยายเป็นเครือข่ายกว้างขวาง ทำให้สนามหญ้ามีรอยนูนไปทั่ว เขาเห็นแล้วก็ทนไม่ได้ พยายามกำจัดมันหลายวิธีแต่ก็ไร้ผล



นับวันเขาก็ยิ่งคั่งแค้นเจ้าตัวตุ่นทั้งวันทั้งคืน คิดแต่จะหาทางเอาชนะเจ้าตุ่นนรกนี้ให้ได้ แล้วในที่สุดเขาก็พบวิธีเผด็จศึก



วันรุ่งขึ้นเขาเอาน้ำมันฉีดอัดเข้าไปในรูตุ่น จนกระทั่งแน่ใจว่าน้ำมันท่วมรูตุ่นทุกชั้นและทั้งเครือข่าย แล้วเขาก็โยนไม้ขีดไฟใส่เข้าไปในรู ไม่นานไฟก็ไหม้ลามตามรูตุ่นจนทั่วหมด ไม่มีตุ่นตัวไหนมีชีวิตรอด



แต่ผลที่เกิดขึ้นตามมา ก็คือ สนามหญ้าแสนรักแสนหวงของเขาก็พังพินาศด้วย