ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 08:13:26 pm »

 :45: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 06:30:47 pm »




           เมื่อสมัยที่อรชุนรบศึกที่ทุ่งกุรุเกษตร  ต่อมาก็ขึ้นสวรรค์ไปปรากฎตนอยู่ต่อพระพักตร์ของมหาเทพ  ทันใดนั้นก็เห็นทุรโยชน์  ศัตรูยืนอยู่ที่นั่นด้วย  ทั้ง ๆ ที่ทุรโยชน์เป็นฝ่ายเลวร้าย  เป็นศัตรูกับความดีทีเดียว แต่ว่าเข้าถึงสวรรค์  ต่อหน้าพระพักตร์มหาเทพนั้น  ไม่มีคนดีหรือคนชั่ว ทุกชีวิตเสมอกันหมด  เมื่อเข้าถึงธรรมก็จะรู้ว่า  ธรรมนั้นเป็นอยู่แล้วอย่างไร  ดังนั้นการตรัสรู้เป็นเรื่องของสรรพสัตว์ ไม่ใช่เรื่องของปัจเจก มโนคติใด ที่คิดว่าการตรัสรู้ เป็นเรื่องของฉัน  ของตัวเข้า  นั่นคือการเพี้ยน  ชาวมหายานถือกันอย่างนั้น

           ดังนั้นการบวชก็เพื่อจะช่วยให้บุคคลตรัสรู้  อุดมคติของโพธิสัตว์จึงเกิดขึ้นที่ว่า  ตัวเองนั้นต้องลุพระโพธิญาณ  แต่ยังไม่ปรารถนาเข้าสู่พระนิพพาน จะต้องเข้าคนสุดท้าย  เพื่ออยู่อนุเคราะห์สรรพสัตว์ทั้งหลายเข้าสู่พระนิพพานให้หมดสิ้น  สาระมันอยู่ที่ว่า  เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ท่านเข้าถึงตถาคตและร้องอุทานว่า “ แท้ที่จริงสัตว์ทั้งหลายคือตถาคต “ ในคัมภีร์ฝ่ายเถรวาทที่บ่งบอกไว้ชัดเจนมีว่า  วันที่พระพุทธเจ้าพบอุปกชีวก  วันที่ท่านเสด็จไปพาราณสี  เขาถามว่า ท่านเป็นใคร ท่านบอกว่าเราเป็นพุทธะคือท่านบอกไปตรง ๆ ต่อตัวสภาวะ  เขาเข้าใจไม่ได้ ในที่สุดท่านได้บทเรียน  พระพุทธเจ้าได้บทเรียนว่า สิ่งนี้คนทั่วไปเข้าใจไม่ได้ ท่านก็เลยต้องบัญญัติธรรมะขึ้นสอนตามลำดับ  คือต้องเข้าใจอย่างนี้ ๆ เสียก่อน จึงเข้าใจอันนี้

ที่จริงวันแรกท่านบอกตรง ๆ เมื่อถูกถามว่าท่านคือใคร ท่านตอบว่าเรา คือพุทธะ  นั่นเป็นการสอนครั้งแรกของพระพุทธเจ้า  เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ได้เรียนรู้ว่าชาวบ้านเข้าใจไม่ได้  ในพระสูตรหนึ่งทรงตรัสว่า ยิ่งนานวันเข้าเมื่ออายุท่านมากเข้าเท่าไร  ธรรมะก็หลือแต่แก่น คือท่านค่อย ๆ บัญญัติธรรมขึ้นสอน ผมเชื่อว่าการรู้ธรรมะนั้นคือการเริ่มต้นชีวิตใหม่  ตอนนั้นพระพุทธเจ้าท่านไม่เคยสอนใครเลย  ท่านบอกตรง ๆ แล้วผลก็คือ

อุปกชีวกแลบลิ้นหลอก เขาไม่เชื่อ  ในที่สุดพระพุทธเจ้าต้องเริ่มไตร่ตรองถึงสมมติและบัญญัติ   แล้วเริ่มสอน เพราะสอนตรง ๆ ไม่ได้  เว้นไว้แต่เฉพาะบางคนเท่านั้นที่ท่านสอนแล้วเข้าใจได้เฉพาะพระพักตร์นั้น

           ถ้าว่าไปแล้ว  สิ่งที่ผมบรรยายมาทั้งหมดนี้ที่มาก็คือ  ผมอ่านจากตำราบ้าง แต่ว่าน้อย คุยกับชาววัชรยาน เคยเข้าร่วมพิธีกรรมบ้างแต่ไม่มาก  เคยเข้าเฝ้าองค์ดาไลลามะ 1 ครั้ง แต่ก็ไม่ได้สนทนากันถึงแก่นเพราะพระองค์ท่านเป็นประมุข จะถามอะไรก็ต้องระมัดระวัง แล้วก็เวลาไม่พอเพียง 20 นาที  แต่ผมก็ได้คบหากับชาววัชรยานหลายคน  แล้วก็เห็นเค้าโครง  จึงเอามาบอกเล่า  เพื่อจะให้เห็นว่าวัชรยานไม่ใช่ญาณต่ำต้อย แต่พร้อม ๆ กันนั้นก็ไม่พึงไขว่คว้าเอาอย่างรู้เท่าไม่ทัน  ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องเข้าใจ เข้าถึงอย่างมีรากฐาน  ไต่เต้าไปอย่างมีรากฐาน อย่างไม่ประมาท  สิ่งที่ดีนั้น  ถ้าเราใช้ไม่เป็นก็เกิดโทษได้  เหมือนกับไฟ ถ้าเราเข้าใจเราควบคุมมันได้ เราใช้ต้มเนื้อต้มผัก  เราก็มีอาหารที่ดี  ร่างกายเราก็ดีขึ้นด้วย  กินอาหารสุกแล้วหรืออาหารที่ร้อน ๆ  แต่ถ้าเราไม่เข้ใจธรรมชาติของไฟ ควบคุมมันไม่ได้ ในที่สุดมันก็เผาผลาญทั้งตัวเองและบ้านเรือนคือถ้าเข้าใจไม่ได้มันก็ทำลายทั้งตัวเองและบุคคลที่แวดล้อมด้วย  ฉะนั้นพึงมนสิการโดยแยบคายในทุก ๆ เรื่อง ผมขอยุติไว้เพียงนี้








Credit by : http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/003152.htm
 :13:  http://www.sookjai.com/index.php?topic=3833.0
Pics by : Google
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 06:22:58 pm »




           และดังนั้นเองเมื่อวัชรยานถูกประกาศขึ้นในยุโรป  ก็สามารถช่วยบุคคลที่เรียกว่า บุปผาชน  เป็นจำนวนมากทีเดียว  ฮิปปี้เหล่านั้นเริ่มมีระเบียบวินัยขึ้น   เริ่มมีหลักยึดขึ้น  ก่อนหน้านั้นเขาสูบทั้งกัญชา ทั้งส้องเสพความสุขทางกาม  แต่ว่าไม่รู้เพื่ออะไร  ในที่สุดกามและกัญชาก็กลายเป็น Aim แทนที่จะเป็น Means

           ผมได้อธิบายเรื่องที่เป็นอันตรายที่สุด ทำนองว่าเอายาพิษมาห่อแล้วบอกว่ากินผิดตาย กินถูกหาย ทั้งหมดนี้ความสำคัญของวัชรยาน อยู่ที่วัชรญาณ ญาณสายฟ้าแลบที่เกิดขึ้น  เนื้อหาปฏิบัติอยู่ที่มนสิการสี่และพละ สุตะพละ สัมปชัญญะพละ  ปัญญาพละ สมาธิพละ อะไรเหล่านี้ เมื่อพละเหล่านี้พร้อมเพรียงแล้ว  มีมนสิการอยู่บนฐานทั้งสี่แล้ว อะไรก็ได้ที่จะช่วยให้ตื่น

          เราจะเห็นได้ว่า วัชรยานแม้มีเรื่องกาม เรื่องดื่มเหล้า เรื่องดนตรี ดนตรีถือว่าเป็นการเร่งเร้าพลังได้  เมื่อเราได้ยินดนตรีที่จัดระเบียบโน้ตไว้อย่างดีแล้วก็เกิดอารมณ์  ผมบอกแล้วว่า  การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องของขบวนการเคมีชีวะ ไม่ใช่เรื่องเปลี่ยนแปลงทาง จริยธรรม

เมื่อใช้เครื่องดนตรีเร้า  เราจะพบว่าเมื่อดนตรีมีจังหวะจะโคนอย่างหนึ่งอย่างใด  มันก็ส่งผลกระทบระบบสัมผัสในร่างกาย  ดังนั้นชาวมหายาน โดยเฉพาะชาววัชรยานนั้น ไม่ค่อยพูดเรื่องอื่นหรอก นอกจากเรื่องของกาย เช่นกายสาม: สัมโภคกาย  นิรมาณกาย  ธรรมกาย  อะไรเหล่านี้ถือว่ากายเท่านั้น เป็นเรื่องสัมผัสได้ทั้งสิ้น


ลักษณะเด่นอันหนึ่งก็คือไม่พูดถึงมาร  เถรวาทเราพูดถึงมารในฐานะเป็นอุปสรรค มารผจญ วัชรยานหรือมหายานถือว่ามารนั่นแหละเป็นเครื่องช่วยให้พระพุทธเจ้ารู้ตัว  ตื่นขึ้น มารก็เป็นส่วนหนึ่งของพุทธะ ที่จริงพุทธศาสนาเถรวาท หินยานนี่ก็มีสิ่งดีมากมาย อย่างภาษิตทางเหนือนี่เห็นชัดว่าเป็นเรื่องเดียวกัน “ มารบ่มี บารมีบ่แก่ “  ชาวเหนือพูดกันติดปาก ถ้ามารไม่ มี รับรองบารมีไม่ถึงที่สุด  ต้องมีมารผจญนี่แหละ  ถ้าพูดไปแล้ว เถรวาท หินยาน มหายาน จริงแล้วแยกจากกันไม่ได้เลย  เนื้อหาสาระทั้งหมดคือการตรัสรู้  การบรรลุโพธิญาณ  แต่เนื่องจากมีวิธีคิดวิธีมองลุ่มลึกต่างกัน มองกว้างแคบต่างกัน

          อย่างพีธีบวชของชาวมหายาน เมื่อเจ้านาคเข้าสู่พิธีกรรมแล้ว อุปัชฌายะถามว่าจะบวชเพื่ออะไร  เจ้านาคจะต้องบอกว่าบวชเพื่อยกสรรพสัตว์ให้พ้นจากสังสารวัฎให้เข้าสู่พระนิพพาน  ในขณะที่เถรวาทนี่เวลาถามนาคก็ไปอีกแบบหนึ่ง การตรัสรู้เป็นเรื่องส่วนตัว  แต่ชาววัชรยานและมหายานนั้น การตรัสรู้เป็นเรื่องส่วนรวม ถือว่าการตรัสรู้ของปัจเจกไม่มี เรื่องนี้มีสาระสำคัญมาก  หมายความว่า  ถ้าผู้ใดเข้าถึงธรรมระดับใด  ก็จะรู้ว่าคนอื่นเข้าถึงอยู่แล้ว แต่เจ้าตัวนั้นจะรู้หรือไม่รู้อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อเข้าถึงที่สุดก็จะรู้ว่าทุกคนมีที่สุดอยู่แล้ว นั่นคือการตรัสรู้ของส่วนรวม วันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ทรงร้องอุทานว่า “ แท้ที่จริงสัตว์ทั้งหลายคือตถาคต “ เมื่อพระพุทธเจ้าเข้าถึงมัน ท่านจึงรู้ว่าทุกคนเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว แต่เจ้าตัวไม่รู้เท่านั้นเอง



ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 06:20:59 pm »




        ฐานที่สอง คำว่าฐานในที่นี้หมายถึงว่ามีสติอยุ่บนฐานทั้งสี่นี้วนเวียนเปลี่ยนแปร ซึ่งใช้ได้ทั้งนั้น  ฐานที่สอง คือ มีสติมนสิการอยู่ในขณะที่ยังมีถ้อยคำอยู่ข้างใน มีวาจาอยู่ข้างใน ถ้าพูดอีกภาษาหนึ่งคือเห็นความคิด  หรือภาษาเถรวาทเรียกว่า สมาธิในระดับวิตกวิจาร คือยังมีวิตกวิจารอยู่  นี่คือฐานที่สอง

            ฐานที่สามนั้น ไม่มีคำพูด ไม่มีภาษาในภายใน ไม่มีวิตกวิจาร  ดังนั้นเป็นความเงียบเชียบของหัวใจ  ภายใต้ฐานอันนี้กิเลส  ตัณหา ราคะ ที่เข้ามาแปรเปลี่ยนเป็นพลังที่บริสุทธิ์หมดสิ้น  ความเงียบในหัวใจหมายถึงอะไร   ความเงียบที่เราได้ยินทางหู เสียงแอร์คอนดิชั่น เสียงนกหรือเสียงผมพูด  ถ้าผมไม่พูดก็เงียบไปนี่ไม่ใช่  นี่มันเงียบเพราะเราฟังด้วยหู  แต่ความเงียบที่หัวใจนี่ไม่ใช่อันนั้น เพราะสิ้นวิตกวิจารคือปราศจากเรื่องราวใด ๆ  หรือความคิดอยู่ห่างหายแผ่วเบา เรียกว่าวิเวกก็เรียก เรียกว่าจิตนั้นไปแล้วสู่วิเวก

ดังนั้นที่ฐานนี้เองไม่มีความทรงจำเรื่องอัตตา  ไม่มีมโนคติ  เรื่องอัตตาใหญ่ ไม่มีเรื่องนิพพาน  ไม่มีเรื่องสังสารวัฏ ไม่มีมโนคติ  เรื่องอัตตาใหญ่ ไม่มีเรื่องนิพพาน  ไม่มีเรื่อสังสารวัฏ  ไม่มีเรื่องความดี ความชั่ว ไม่มีเรื่องอดีต ไม่มีเรื่องอนาคต นี่คือฐานที่สาม

            ฐานที่สี่เป็นฐานที่สำคัญที่สุด  ตรงนี้เองที่เป็นจุดที่วัชรยานถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ซึ่งชาวเถรวาทมักเอามาพูดกัน  สิ่งที่เรียกว่าสักแต่รู้ สักแต่เห็น สักแต่เป็น แต่ว่านั่นเป็นผล  ตาเห็นรูป สักแต่ว่าเห็น หูได้ยินเสียงสักแต่ว่าได้ยิน  ไม่ยินดียินร้าย  จิตรู้ธรรมารมณ์ไม่ยินดียินร้าย  แต่เราพูดกันในฐานะที่มันเป็นผล โดยประโยคนี้เองที่พระพาหิยะเข้าถึงการตรัสรู้ ท่านจับข้อเท้าพระพุทธเจ้าอยู่  ถามว่าปฏิบัติธรรมที่สุดนั้นทำอย่างไร  พระพุทธเจ้าปฏิเสธ 2 ครั้ง  เพราะที่ไม่เหมาะที่จะสอน แต่พระพาหิยะจับข้อเท้าพระพุทธเจ้าคล้าย ๆ อยากรู้ให้ได้  เมื่อเป็นเช่นนั้นพระพุทธเจ้าก็พูดโดยย่อ “ ดูก่อนพาหิยะ  เมื่อตาเห็นรูป สักแต่เห็น หูได้ยินเสียง สักแต่ได้ยิน  จิตรู้ธรรมารมณ์ใด สักแต่รู้ เมื่อนั้นเธอจะไม่ปรากฏในโลกนี้  โลกหน้า  ในโลกทั้งสอง “    ที่จริงนี่คือหลักของวัชรยานญาณสายฟ้าแลบ  ในทันใดนั้นเอง  พระพาหิยะก็ตรัสรู้ในระดับนั้นที่ตรงนั้น  กรณีเช่นนี้เกิดกับองคุลีมาล  พาหิยะ  พระยศกุลบุตร  ญาณสายฟ้านั้นเกิดในขณะพระยศไม่ได้บวช  เป็นคนเดียวที่พระพุทธเจ้าขอให้มาบวชด้วยถ้อยคำซึ่งไม่เหมือนคนอื่น  ปกติพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “ เธอจงมาเป็นภิกษุ มาทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด “  เพราะยังไม่ถึงที่สุดทุกข์  แต่กรณีพระยศกุลบุตรทรงบอก “ เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด “ ไม่ได้บอกว่าให้มาทำที่สุดทุกข์  เพราะว่าท่านถึงแล้วในขณะที่นั่งฟังพระพุทธเจ้าสอนพ่อของท่านอยู่ ท่านไม่ได้เป็นนักบวชด้วย

             ว่าที่จริงแล้วพุทธศาสนาทั้งหมด ไม่ว่าในจีน ในทิเบต ในไทย  ที่เป็นแก่นเป็นเรื่อง วัชรยานทั้งสิ้นคือ การเข้าถึงอย่างแบบพลันทันใด  วัชรยานดูไปแล้วละม้ายคล้ายกับการเอาหนามบ่งหนาม  เอาน้ำกรอกหูเมื่อน้ำเข้าไปในหู  เป็นการกระทำซึ่งดูคล้าย ๆ ว่าต้องทำเข้าไปอย่างนั้น  เพื่อไล่สิ่งนั้นที่ค้างคาอยู่ หรือเหมือนวัคซีนที่ฉีดเข้าไป เขาฉีดเชื้อโรคเข้าไปนั่นเอง  เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรค  วัคซีนก็คือเชื้อโรคที่ฉีดเข้าไปและเพื่อที่จะให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน หรือพูดง่าย ๆ อีกทีว่าภายในช่วงที่เร่าร้อนด้วยกิเลสตัณหา  ถ้าในขณะนั้นสามารถดำรงสติสมปฤดีไม่ให้ฟั่นเฟือนได้  นั่นคือทางออก  เพราะว่านักกระโดดข้ามรั้วที่ไม่มีรั้วแล้วบอกว่า เป็นนักกีฬาข้ามรั้วคงไม่ได้แน่  ความสำคัญของวัชรยานไม่ได้อยู่ตรงการใช้กามารมณ์ หรือกินเนื้อ หรือกินเหล้า อย่าเข้าใจผิดไป มันไปอยู่ตรงมนสิการนี่แหละ เพราะว่าเมื่อมนสิการอันนี้ได้แล้ว ต่อจากนั้นอะไรก็ตามในชีวิตประจำวันย่อมใช้ได้ ทั้งเรื่อกาม เรื่องอื่น ๆ ทุก ๆ เรื่อง เพราะว่าโดยธรรมดามันก็เป็นอยู่แล้ว  คนก็ร่วมเพศกันอยู่แล้ว  คนก็ดื่มกันอยู่แล้ว  แต่เขาไม่สามารถทำให้อุปสรรคให้เป็นอุปการะได้




ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 06:19:15 pm »




          ดังนั้นปัญหามันไม่ได้อยู่ตรงกิเลส  เพราะว่าตามธรรมดานี่ ไม่ว่าชาววัชรยาน ชาวทิเบต  ชาวเซ็น  ก็มีกิเลสกันอยู่แล้ว  พูดง่าย ๆ ว่าคนทั่วไปก็ร่วมเพศกันอยู่แล้ว  พูดตรง ๆ นะ เพียงแต่ว่ามนุษย์ ไม่รู้จักใช้พลังอันนั้นให้ก่อเกิดประโยชน์ทางศาสนธรรม ทีนี้พอได้ยินว่าเอาเรื่องเมถุนมาเป็นทางของการปฏิบัติ  ก็กลับไม่ชอบไม่พอใจ  ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็ร่วมกันอยู่แล้ว ก็เป็นกันอยู่แล้ว  แต่ว่าไม่เข้าใจต่อขบวนการเหล่านี้  ไม่มีเจตนาบริสุทธิ์ต่อธรรมะ  ไม่มีความมุ่งมั่น  ไม่ศรัทธาต่อทางของความหลุดรอดและข้อสำคัญคือ ไม่มีพลังของสติพอเพียงที่จะเดินผ่านสิ่งเหล่านี้อย่างอิสระและดังนั้นเองจึงเป็นการปฏิบัติการที่หนีกิเลส  การที่เราหลบเลี่ยงกิเลสไปโดยที่เราไม่สามารถเข้าใจมันอย่างถ่องแท้  นั่นคือ  เมื่อมันหวนกลับมาใหม่ก็ทวีขึ้น  แต่วิธีการของวัชรยานคือการเข้าไปสัมผัสกับกิเลส  ราคะก็ดี โทสะก็ดี  โมหะก็ดี  กิเลสชนิดหนึ่งชนิดใดที่ปรากฏขึ้นเมื่อเข้าไปสัมผัสมัน  เป็นอันเดียวกับมัน  เมื่อเป็นเช่นนี้พลังของสติปัญญาจะดูดพิษร้ายออกมาได้  เรื่องนี้ไม่สู้จะเป็นสาธารณะต่อผู้ที่ไม่เจริญภาวนา  คิดเอาด้วยเหตุผลสามัญย่อมเข้าใจได้ไม่สมบูรณ์   ผมว่าอย่างนั้นนะ  เพราะว่าเราคิดด้วยระบบตรรกะระบบหนึ่ง

เมื่อกิเลสเข้ามามันก็ไม่ปัญญาแล้วคนมีกิเลสหนา ก็คือคนโง่  คนมีตัณหาก็คือคนที่ใช้ไม่ได้  คนหลง แต่ระบบตรรกะที่ผมกำลังใช้อยู่ขณะนี้เป็นอีกระบบหนึ่ง  หมายความว่าเมื่อมีสติสมปฤดี  เมื่อกิเลสเข้ามาสัมผัส  ความไม่ฟั่นเฟือน ความตั้งมั่น สมาธิ เจตนาที่ดี  ความเข้าใจที่ถ่องแท้และพอเพียง ก็สามารถทำให้กิเลสถูกดูดพิษร้ายออกได้ ไม่กลายเป็นปัญหาอีก  เมื่อไม่เป็นปัญหาพลังก็เสริมสร้าง   ดังนั้นกิเลสนั่นเอง  ที่กลับกลายเป็นปัญญา  ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับมนสิการ 4

       มนสิการ 4 คืออะไร ฐานของสติฐานแรกคือ  มีสติอยู่บนฐานบนนิเวศน์แห่งใจ  สติกลับไปสู่ใจได้แล้ว คือรู้จักใจแล้ว  รู้ว่าใจอยู่ที่ไหนซึ่งคนธรรมดาทั่วไปไม่รู้  ดังนั้นฐานแรกนี้เป็นฐานที่สำคัญมาก   คือต้องบรรลุถึงฐานแรกก่อนหรือมโนนิเวศน์  กลับเข้าในนิเวศน์แห่งมโนได้แล้ว  มนสิการอยู่ที่นี่แล้ว อะไรจะเข้ามากระทบสัมผัสก็ล้วนแต่ก่อเกิดสติปัญญาทั้งสิ้น   คล้าย ๆ กับมันรู้เสียแล้ว อะไรเข้ามากระทบมันยิ่งรู้ยิ่งขึ้น  

ถ้ายังไม่รู้ อะไรเข้ามากระทบมันก็ยิ่งไม่รู้ยิ่งขึ้น  คล้าย ๆ นักมวยชกชิงแชมป์กัน พอเจอหมัดสักหมัดเดียวเมาติดหมัดเลย  แล้วจะงงเมื่องงก็ถูกต่อย  เมื่อถูกต่อยก็ยิ่งงงยิ่งขึ้น  ในที่สุดก็ทรุด  ในฝ่ายผู้ต่อยนั้นตรงข้าม  เมื่อต่อยไปที่คางคู่ต่อยได้แล้ว หมัดแรง ๆ ก็ยิ่งตามเป็นชุด ๆ ยิ่งขึ้น อันนี้ผมเปรียบเทียบเท่านั้น  ฐานแรกนี่สำคัญมาก  ผู้ที่ไม่ผ่านการพัฒนาตามลำดับย่อมฟั่นเฟือนได้ง่าย  ดังนั้นข้อคิดที่ว่า แรกควรสมาทานหินยานจิต  ต่อมามหายาน  ต่อมาวัชรยานนั้น ใช้ได้ทีเดียว  ผมคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องพัฒนาสมปฤดีมาตามลำดับ  รักษาศีล  มีระเบียบวินัยมาตามลำดับ  วัชรยานไม่ใช่เรื่องศีลเรื่องวินัยภายนอก  แต่เป็นเรื่องศีลวินัยภายใน  ซึ่งขึ้นกับเจตนาและสติปัญญาชั้นสูง



ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 06:17:22 pm »




         ในภาพเขียนทิเบตที่เรียก “ ทังก้า “ จะมีอยู่สองประเภท ประเภทหนึ่งสวยสดงดงามมีลักษณะเป็นทิพย์ ( Divine ) สูง เพื่อให้เพ่งพร้อม ๆ กับมนตรา “ โอมมณีปัทเมฮูม “ อีกประเภทหนึ่งนั้นดูแล้วดุดัน มีพลวัตสูงรุนแรงและภาพโดดเด่นคือ “ ยับ-ยุม “ ภาพอวโลกิเตศวรกำลังเสพเมถุนกับศักติอย่างดื่มด่ำ  ศักติที่รู้จักกันแพร่หลายมาก  คือตาราวสุนทรา ตารานี่เป้นสัญลักษณ์ของพลังที่จะมาประกอบกันเข้าแล้วก็กระทำความสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นให้ปรากฎ

        ภาพบางชนิดของทิเบตทำเป็นรูปหัวกระโหลกและก็มีเลือดอยุ่ในนั้นแล้วพระโพธิสัตว์กำลังกินเลือด  ดูแล้วน่าขยะแขยง  แต่ว่าโดยความหมายแล้วก็ถือกันว่าจะเข้าถึงการตรัสรู้ที่สมบูรณ์ได้นั้น  ชีวิตต้องมาถึงจุดของความตาย  ราคาของชีวิตต้องเสมอตาย  จุดใดระดับใดที่ทำให้บุคคลปฏิญาณตัวเองได้ว่าเป็น่ชาววัชรยานอย่างสมบูรณ์ ทุกวันนี้ที่เป็นอาจารย์ชาววัชรยานที่ลือลั่นมีชื่อเสียงมากคือ  โชกยาง  ตรุงปะ  ผมไม่เคยเจอตัวแต่เคยฟังเทศน์ ท่านเคยเป็นลามะที่สำคัญองค์หนึ่ง  เป็นสหชาติขององค์ดาไลลามะ ที่เรียกว่า รินโปเช่  ต่อมาไปสหรัฐ ฯ  แล้วก็แต่งงาน  ตั้งสถาบันนโรปะขึ้น  ในวันเปิดงานนั้นตรุงปะก็ดื่มเหล้าเมาตกเก้าอี้  มีคนนับถือมาก  ผมว่ามีสานุศิษย์คิดว่าเป็นแสน ทำไม ก็โยงกลับไปสู่ลัทธิศักติครับ หรือตันตระที่ว่า ตันตระถือว่าปลุกพลังชีวิตให้ตื่น ไม่ใช่พลังเพศอย่างเดียว พลังเพศเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น

          สำหรับตันตระมีหลัก 5 ประการ คือการเสพมัจฉา มังสะ เมรยะ เมถุน และข้าวสาลี กินเหล้าดื่มสุราเพื่อปลุกพลังชีวิตให้ตื่นตัวขึ้นให้มีพลังขึ้น  เป็นเพียงพลังหนึ่ง แล้วก็กินเนื้อ กินปลา แล้วกกินข้าวสาลีอย่างดี คือให้อาหารเหล่านั้นเข้าไปเป็นพลัง ( Energy ) เพื่อทำให้ชีวิตมี “ ไฟ “ สูง ชาวตันตระนอกเหนือเวลาปฏิบัติแล้ว เป็นผู้มีระเบียบวินัยชั้นสูง ดังนั้นอาการที่มีพลัง ยุ่งกับพลังต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ใช่ความเหลวแหลก  แต่ว่าข่าวสารที่เราทราบนั้น กระทำให้บุคคลเหล่านั้นเหลวแหลกทั้งสิ้น  ซึ่งเป็นการโจมตีที่อคติมาก ๆ  เท่าที่ผมทราบ ชาววัชรยานตันตระนั้น เป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยชั้นสูง  ควบคุมตัวเองได้อย่าดี มีพลังสติสมปฤดี มีพลังสุตะสูงส่ง พลังเหล่านี้คือ สุตพละ สติพละ  ปัญญาพละสูง ต่อแต่นั้นก็คือ การปฏิบัติวัชรยานเพื่อให้เกิดญาณสายฟ้า

         วัชรแปลว่า  เพชรหรือวิเชียร  เชื่อกันว่าวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น พระพุทธเจ้าไม่รู้อะไรมาล่วงหน้า  และอาการไม่รู้อะไรเลยอันยิ่งใหญ่นั่นเอง  เป็นสถานะที่คาดไม่ถึง  ก็ตื่นในขณะนั้น  การตรัสรู้นั้นเป็นไปอย่างฉับพลันทันใด  โดยไม่มีการรู้ล่วงหน้ามาก่อน  ดังนั้นสาระสำคัญที่สุดของวัชรยานก็คือ  ญาณสายฟ้าแล

         ดังนั้นเราคงพอจะเห็นเค้าว่า  การใช้พลังทางเพศก็ดี  กินเนื้อก็ดี ดื่มสุราก็ดี  ทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นมีเป้าหมายสำคัญคือการทำให้เกิดวัชรญาณความรุ้แจ้งอย่างฉับพลันและหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิง  ดังนั้นจึงไม่ใช่การกระทำซึ่งเหยาะแหยะ  ชาวตันตรวัชรยานจึงพูดกันว่า  สิ่งนี้ไม่เป็นสาธารณะต่อผู้ที่ขาดสติ  ดังนั้นสายนี้จึงเรียกตัวเองว่า  สายกระซิบความหูต่อหู ( Whispering Line ) เป็นการกระซิบตัวต่อตัวเท่านั้น ไม่ใช่การสอนในที่สาธารณะ  ซึ่งผู้ไม่มีพลังพอเพียงก็จะถูกทำลายย่อยยับ  สายของวัชรยานองค์ที่เด่น ๆ ในอดีตก็คือ มิลาเรปะ  ติโลปะ  นโรปะ  กัมโบปะ  บุคคลเหล่านี้ดูไปทั่วๆ ไปแล้วเป็นผู้ซึ่งถ่ายทอดวิธีการจำเพาะตัวออกมา  เรียก Whispering Line โดยเฉพาะกัมโบปะ  ซึงเป็นภิกษุที่เป็นเยี่ยมทางการศึกษา  มิลาเรปะ  ทดสอบถึงกับเอาเท้าตั้งบนหัวในวันที่กัมโบปะ  ซึ่งเป็นภิกษุ จะมาเรียนธรรมะ ซึ่งปรากฎว่ากัมโบปะภิกษุนั้นไม่ได้รังเกียจอาจารย์ตัวเอง ซึ่งเป็นเพียงโยคี ไม่ได้บวชพระ

           ทีนี้ก็มาถึงหลักในการดำรงจิตในการปฏิบัติของวัชรยาน  ส่วนนี้ผมถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุด   กล่าวได้ว่านี่เองคือสาระในการปฏิบัติ เรียกกันว่า มนสิการ 4  มนสิการ 4 นั้น เป็นการดำรงจิตไว้ในฐานะที่จะก่อเกิดวัชรญาณ และก็เมื่อดำรงจิตไว้ในฐานทั้ง 4 นี้ได้แล้ว กิเลสตัณหาจะกลับเป็นเครื่องเร้าให้ถึงที่สุดได้

        เมื่อกี้ผมได้ปูรากฐานแล้วว่า กิเลสตัณหาไม่ใช่อะไรอื่น แท้จริงเป็นรูปหนึ่งของปัญญา  แต่ว่าพลังไม่พอมันก็จะทำลายเอา  เมื่อกิเลสปรากฎขึ้นในจิตใจมนุษย์  เกิดฟั่นเฟือนทางสติทันที  ต่อจากนั้นก็คือการยึดถือความทุกข์ทรมานต่าง ๆ  แต่ถ้าหากกิเลสสัมผัส ในขณะที่กิเลสสัมผัสมีความไม่ฟั่นเฟือน  มีความตั้งมั่นของสติ มีสมปฤดี มีเจตนารมย์บริสุทธิ์มีเจตนาที่ผ่องแผ้ว  มีศรัทธาอันไม่โยกคลอนอีกแล้วต่อทางของการตรัสรู้ในขณะเช่นนั้นเอง  พลังของสติสมปฤดีนั้นก็จะทวีขึ้นตามพลังของกิเลส กิเลสมาก กิเลสลึก  ปัญญาก็จะมาก  ปัญญาก็จะลึก



ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 06:14:11 pm »




             พุทธศาสนามองชีวิตเป็นขณะ ดังภาษิตที่ว่า “ ขโณ มาโว อุปัจจคา “ อย่าล่วงขณะเสียเลย ล่วงขณะหนึ่งแล้วก็จะยัดเยียดลงในนรก หมายถึงการปฏิบัติต้องมาถึงจุดที่สอดคล้องกับพลวัตของจักรวาล  คำว่า “ ขณะ “ ของพุทธศาสนาเราใช้คำว่า “ ขณะจิต “ เราไม่ได้พูดขณะที่แปลว่าครู่หนึ่ง ยามหนึ่ง พักหนึ่ง ขณะจิตหนึ่งนี้สั้นเท่าใดไม่มีใครรู้ จนกว่าสติจะทันท่วงที

           ดังนั้นเองฐานที่สำคัญของวัชรยาน  ก็เพื่อที่จะชำแรกให้พ้นจากความไม่รู้และก็ตื่นขึ้นในห้วงของความฝัน  ส่วนความคิดที่ว่ามีพระนิพพานเป็นจุดที่สมบูรณ์ที่สุดนั้น  นี่เป็นอุดมคติ  มนุษย์จะเอามโนคติมาเป็นตัวตนอยู่เรื่อย  ทั้ง ๆ ที่ตัวเองหรือตัวตนนั้นอยู่เหนืออุดมคติโดยประการทั้งปวง แต่ว่าเมื่อมนุษย์ไขว่คว้าเอามโนคติมาเป็นตัวเอง  เช่น เที่ยวคิดว่าตัวเองเป็นนั้นตัวเองเป็นนี่  แม้ตัวเองเป็นผู้หญิงเป็นผู้ชาย  ถ้าคิดว่าเราเป็นคนก็หมายว่าเราเป็นคนที่ดีนั่นเป็นธรรมดา  ฉันเป็นผู้หญิง ก็หมายความว่าฉันต้องเป็นผู้หญิงตามแบบฉบับของผู้หญิง  ในความหมายเช่นนี้ เมื่อมนุษย์มีชีวิตอยู่เช่นนี้ นั่นคือความงมงาย

           แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นก็คือว่า  ตนซึ่งอยู่นอกเหนืออุดมคตินั้นกลับไม่ถูกรู้ถูกเห็น  หรือกลับเห็นไปอย่างผิดเพี้ยนว่าการไร้อุดมคตินั้นเป็นการตกต่ำ ที่จริงการไร้อุดมคติและการอยู่เหนืออุดมคติคนละอัน  คือตัวเรานี่อยู่เหนืออุดมคติโดยประการทั้งปวง  คือเราจะสร้างตัวเราขึ้นไม่ได้  ตัวเรานี่ว่าโดยหลักของวัชรยานแล้ว  ตัวเรานี่เป็นสภาพพ้นอยู่แล้ว  แต่พลังของสติที่จะเข้าไปรู้นี้ไม่เพียงพอ  ปัญหาอยู่ที่ว่า ทุกคนมีธรรมชาติแห่งความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่เรียบร้อยแล้ว  ถ้าพูดโดยเค้าของมหายานว่าชีวิตก็คือพุทธะ พุทธะย่อมหมายถึงความสมบูรณ์  ซึ่งอันที่จริงสอดคล้องกับหลักคิดของอุปนิษัทที่ว่า มนุษย์นี้เป็นพรหมอยู่แล้ว  ทีนี้ก็เมื่อจะรู้ให้ประจักษ์ จริง ๆ แล้วต้องปลุกพลังสติขึ้นให้พอเพียง ซึ่งหมายถึงพลังศักติ ศักติเข้าไปคลุกคลีส้องเสพกับสภาพสูงสุด  จึงจะสามารถตื่นได้

         ในเมื่อทุก ๆ คนคือพุทธะ หรือทุก ๆ คนมีธรรมชาติที่จะเบ่งบานเป็นพุทธได้อยู่เรียบร้อยแล้ว  การมองหานอกตัวก็ดี  ความเชื่อที่นอกระบบอันนี้ก็ดี ถือเป็นการผิดพลาด เป็นการฝันเฟื่องไปเท่านั้นเอง รวมไปถึงความพยายามที่จะหลุดพ้นด้วย  ความพยายามใดที่จะหลุดพ้นแสดงว่าเป็นทาสของความพยายามที่ผิด ๆ วัชรยานไปไกลมาก ในขณะที่มหายานนั้นเชื่อแต่เพียงว่ามนุษย์มีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ  แต่วัชรยานเห็นว่าทุกคนคือพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว  และความพยายามจะหลุดพ้นเป็นความโง่เปล่า ๆ

  ดังนั้นจะต้องเป็นการตื่นขึ้นในตัวเองอย่างสมบูรณ์เท่านั้น เป็นการบรรลุถึงความไม่มีอะไรให้บรรลุถึง  เป็นเพียงความแจ่มแจ้งหมดจดสิ้นเชิงเท่านั้น

เมื่อครู่ผมคุยกับอาจารย์ทวีวัฒน์ ที่ว่า  เรื่องฉัพพรรณรังสีก็ดี หรืออะไรก็ดี ปัจจุบันเป็นเรื่องพิสูจน์ทางวิชาการแล้วว่า เมื่อมนุษย์อารมณ์เปลี่ยนไป มันจะเปล่งรังสีชนิดหนึ่งออกมา  เช่นความริษยาเป็นสีหนึ่ง ความโกรธเป็นสีหนึ่ง  ดังนั้นฉัพพรรณรังสีก็ดี  สีที่ใช้ในศิลปะของทิเบตก็ดี  มีความหมายทั้งสิ้น  ถ้าของจีนผมพอจะจับเค้าได้ ถ้าของทิเบตต้องสารภาพว่ายังไม่ได้ศึกษา จีนถ้าสีเขียวหมายถึงตัณหา อ่านหนังสือ ไซอิ๋ว ดูนะครับที่จริง ไซอิ๋ว เป็นการเลียนเรื่องรามายณะ จีนแต่งเป็นสัญลักษณ์ทางธรรม  ถ้าเจอปีศาจหน้าเขียวแปลว่ากามราคะ  ปีศาจบางตัวสีดำ บางตัวสีแดง ซึ่งเป็นที่มาของสีงิ้วทุกวันนี้ ผมไปถามนักปราชญ์จีนที่ยังมีชีวิตอยู่ในเมืองไทยกลับไม่รู้เสียแล้ว  ผมอยากจะรู้แต่ท่านบอกไม่มีความหมายซึ่งผมไม่เชื่อ สีเหล่าเป็นสัญลักษณ์ของการอธิบายสภาวะ




ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 06:12:10 pm »




          ทบทวนใหม่นะครับ หลักวัชรยานนี้ที่จริงเป็นหลักแก่นแท้ ๆ พูดไปแล้ว  แต่ก็ได้รวบรวมความเชื่อของหลักอุปนิษัทและขบวนการเคมีชีวภาพหมดสิ้น  ลักษณะบางลักษณะเช่นเรื่องกามารมณ์ ที่จริงเป็นเรื่องเคมีชีวะเพราะขบวนการของกามารมณ์ เป็นขบวนการเปลี่ยนแปลงของเคมีชีวภาพจากการสัมผัส ในหลักของวัชรยานที่ว่าชีวิตเป็นดังห้วงความฝัน  พระสูตรที่สำคัญของมหายานเช่น ปรัชญาปารมิตาก็ดี หรือหลาย ๆ สูตรของเราก็มี  ในสูตรของเถรวาทสูตรหนึ่งบอกว่า  รูปดุจดังฟองน้ำ เวทนาดุจดังน้ำค้าง ( ต่อมน้ำ ) สัญญาดุจดังพยับแดด สังขารดุจกาบกล้วย วิญญาณดุจมายากล

       เมื่อวินิจฉัยถึงคำว่ามายา  ผมอยากจะแก้ข้อเข้าใจบางอย่างเพราะศัพท์ภาษาไทยที่เรานำมาจากภาษาบาลีสันสกฤตไปใช้  เราใช้ในความหมายของอีกอันหนึ่ง  ซึ่งไม่ตรงตามนิรุกตินั้น ๆ  เช่นคำว่ามายาของเราถือว่าหลอกลวงหรือมารยา  ที่จริงมายานั้นไม่ใช่หลอกลวง มันเป็นอย่างนั้นเอง

        คำว่ามายาหรือมยกังนั้นโดยรากศัพท์มันจะตรงกับคำ Magical ดังนั้นไม่ได้หมายถึงมันหลอกลวง คือมันเป็นดุจ Magic  มันเป็นอยู่อย่างนั้น  และอีกความหมายหนึ่งแปลว่า งามอย่างน่าพิศวงก็ได้  สมมติว่าเราไปในทะเลทรายหรือถนนในฤดูร้อนก็จะมีภาพปรากฎขึ้นเหมือนกับแอ่งน้ำบนถนนที่ร้อน  แต่ว่าเมื่อเราเข้าไปใกล้มันจริง ๆ เข้าไปที่ศูนย์ไส้ ศูนย์กลางจริง ๆ มันไม่มีอย่างนั้น  แต่พอกลับมายืนที่จุดนั้น ๆ ก็จะปรากฎอีกแล้ว มันไม่ได้หลอกลวงเรา  แต่มันเป็นอย่างนั้นเอง เรียกว่าอัศจรรย์มาก ๆ นี่คือคำว่ามายา  ดังนั้นมันเป็นอยู่1อย่างนี้สภาวะที่ว่าขันธ์ 5 เป็นมายา  ดังนั้นมันเป็นอยู่อย่างนี้ สภาวะที่ว่าขันธ์ 5 เป็นมายา เป็นดุจห้วงของความฝัน ปัญหามันอยู่ที่ว่าเมื่อเราไม่เข้าถึงศูนย์กลางมัน มันก็หลอกให้เท่านั้นเอง  หลอกว่าเป็นจริง  เราไม่รู้ เราเห็นแอ่งน้ำ  เราคิดว่ามีจริง ๆ หรือว่าคนเล่นกลให้เราคิดว่าจริง  แต่ว่าถ้าเราเป็นคนเล่นเอง  หรือว่าเราเข้าถึงความเป็นผู้เล่นเกมส์อันนั้น  เราจะรู้ว่าเรื่องนี้มีความจริงอยู่อย่างไร ดังนั้นมายาไม่ใช่ว่าไม่จริง แล้วก็ไม่ใช่จริงด้วย  เรียกว่ามันเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น  ถ้าไม่รู้มัน  มันก็หลอกให้  เมื่อรู้มัน มันก็เปิดเผยความจริงให้

         ทีนี้ขันธ์ 5 เป็นดุจดังห้วงฝันดุจมายาคืออันนี้เอง  ข้อปฏิบัติที่ฝ่ายเถรวาทถือว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา  พระนิพพานเป็นเป้าหมาย  ดังนั้นพยายามจะแยกสังสารวัฏออกจากพระนิพพาน  อันนี้วัชรยานหรือมหายานถือว่าเป็นวิกัลปะ  เป็นเรื่องเพี้ยนไปเท่านั้นเอง  เพราะว่าเมื่อคนติดอยู่ในห้วงสังสารวัฎแล้ว  ไม่รู้จักสังสารวัฏตามที่เป็นจริง  ก็จะสร้างพระนิพพานขึ้นมา   แล้วพยายามที่จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ เพื่อเข้าสู่พระนิพพานและนั่นก็คือความฝัน  ฝันซ้อนอยู่ในความฝันนั่นเอง  เปรียบประดุจคนขาเสียก็ฝันถึงขาดี  ดังนั้นในความฝันนั้นเป็นการไม่รู้จักตื่นเอาทีเดียววัชรยานถือว่าอาการเช่นนี้เปนวิกัลปะ เป็นเรื่องวิปลาสไป ที่สอนกันเรื่องพระนิพพาน สอนให้หนีสังสารวัฏเช่นนี้

          แต่ว่าการวนเวียนในสังสารวัฏ  โดยไม่ตื่นก็ไม่ใช่เนื้อหาของวัชรยานหรือมหายานด้วย  วัชรยานเป็นนิกายที่พัฒนาขึ้นในกลุ่มมหายาน  ดังนั้นแทนที่จะหนีสังสารวัฏ  เพื่อบรรลุพระนิพพาน คติของวัชรยานก็คือต้องประจักษ์แจ้งสังสารวัฏ จุดนี้ผมกำลังนำเข้าสู่เนื้อหาแล้วที่ว่า แทนที่จะเข้าสู่พระนิพพาน  จะต้องประจักษ์แจ้งสังสารวัฏ  เพราะว่าเมื่อเข้าสู่ใจกลางขันธ์ 5 แล้ว  ก็จะประจักษ์ต่อความจริงได้  พูดอีกทีว่าความจริงนี้ไม่เคยเข้าสู่สำนึกของมนุษย์ได้เลย  เพราะว่ามนุษย์นั้นตกอยู่ในห้วงของความฝันเปรียบประดุจคนเมาจะพูดถึงภาวะปกติที่ไม่เมาให้ฟังนั้น  ก็ย่อมเข้าใจภาวะไม่เมาโดยความมอมเมาอย่างนั้น



ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 06:10:29 pm »




เมื่อได้เข้าใจที่มาภูมิหลังวัชรยาน  สัญลักษณ์ต่าง ๆ ทฤษฎีกุณฑลินี ตันเถียน ผมเชื่อว่าสิ่งนี้จะโยงไปถึงวิชาอัลเคมีในอียิปต์ด้วย  เราพบว่ากุณฑลินีนั้นมีความเชื่อซึ่งแสดงด้วยสัญลักษณ์ว่า  ในร่างกายของคนที่เบื้องล่างสุดของกระดูกสันหลังมีงูอยู่ตัวหนึ่งที่ชื่อว่ากุณฑลินี  งูตัวนั้นนิ่งอยู่ งูตัวนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพลังจักรวาล  เมื่อใดทำถูกวิธีเข้า  งูตัวนั้นจะแผ่พังพานผงาดขึ้นเบื้องบน  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการบานขึ้น  เป็นรหัสแห่งการรู้แจ้งแทงตลอดสภาวะ  ผมเชื่อว่าจะโยงถึงอียิปต์โบราณ  เพราะว่าอียิปต์ก็มีความเชื่อเช่นนี้อยู่ด้วย  งูสองตัวที่พันคบเพลิงเป็นสัญลักษณ์ของกรมการแพทย์นั้น เป็นพ่อลูกกัน ชื่อนินาซูกับนินิซิดา  เกี่ยวพันกันมากกับการรักษาโรค  จีนเชื่อว่าโรคเกิดจากพลังชีวิตอับเฉา  คนที่ป่วยเพราะพลังชีวิตนี้อ่อนแอ  การฟื้นฟูพลังชีวิตคือการบำบัด

          ถ้าเราเพ่งมองมาที่นี่  เรารู้ว่าการบรรลุภูมิธรรมนั้นไม่ใช่เรื่องทางจริยธรรม โปรดตราสิ่งนี้ไว้ด้วย  การบรรลุธรรมเป็นการเปลี่ยนแปลงขบวนการเคมีชีวภาพ  ไม่ใช่การบรรลุถึงความคิดทางจริยธรรม  เช่นว่า  คนเป็นคนดี  เช่นความกตัญญูรู้คุณคนก็เชื่อกันว่าเป็นคุณธรรม  ความกตัญญูนั้นไม่เป็นหนึ่งในบารมี นั่นหมายความว่า เอาความกตัญญูมาปฏิบัติโลกุตรธรรมไม่ได้  แต่ว่าความกตัญญูเป็นสิ่งที่ดีในทางจริยธรรม  บารมีนั้นเป็นเรื่องกระทำให้ถึงฝั่งและเป็นองค์คุณใหญ่หลวง  การเปลี่ยนแปลงที่บารมีเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มูลฐานของชีวิต

         ดังนั้นในพระสูตรของเถรวาทจึงบอกไว้ว่า  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนั้น  ความร้อนในกายจะลดลง  ระบบหายใจจะเปลี่ยนไป  อันนี้ผมชี้ให้เห็นข้อต่างระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางจริยธรรมกับการบรรลุธรรม เช่น แต่ก่อนเคยเป็นเด็กขี้เกียจ  เป็นคนอกตัญญู  เดี๋ยวนี้กตัญญูรู้คุณคนขึ้นเป็นคนเรียบร้อย สุภาพ รู้ที่สูงที่ต่ำ อันนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางจริยธรรมซึ่งเรียนกันได้  และก็สอนกันได้ด้วย  สอนให้เป็นเด็กดีก็ดี  ดีเท่าที่จะดีได้และทั้งสามารถเสแสร้งทำท่าทีเป็นคนดีคนซื่อเพื่อหลอกลวงกันได้ด้วย แต่ว่าเรื่องของสัจธรรมหรือโลกุตรธรรมนี้ไม่ใช่อันนี้  เรื่องโลกุตรธรรมนั้นเป็นเรื่องกระทำจำเพาะเนื่องด้วยสิ่งที่เรียกว่บารมี  บารมีเป็นองค์คุณใหญ่เพื่ออนุเคราะห์โลก  เป็นกิจกรรมจำเพาะเพื่อสิ่งนั้น ๆ

           หลักของวัชรยานต่อการวินิจฉัยโลกทั้งหมดนั้น  ที่จริงคือหลักอุปนิษัทที่ว่าโลก  ปรากฏการณ์ชีวิตทั้งหมดเป็นดุจห้วงของความฝัน  ขันธ์ 5 เป็นดุจมายาและความฝัน  ตัวสภาวะของชีวิตเป็นช่วงที่เรียกว่า Dreamtime  ถือว่าชีวิตเป็น Dreamtime ที่จริงสอดคล้องกันมากกับคำสอนของพระพุทธเจ้าและหลักอุปนิษัทที่ว่า ชีวิตเป็นห้วงแห่งความฝัน ขันธ์ 5 นั้นเป็นห้วงแห่งความฝัน ทีนี้เมื่อจะปฏิบัติธรรมมันก็เลยฝันซ้อนฝัน มีประการเดียวเท่านั้นคือต้องตื่นอะไรก็ได้ที่ช่วยให้ตื่น  นั่นคือความรับผิดชอบ



ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 06:08:30 pm »




           ถ้าผมปูรากฐานแล้วก็พอฟังได้  แต่ประโยคนี้ถ้าไปพูดในวัด ถ้าไม่ปูรากฐานแล้วบอกว่า  กิเลสนี่คือปัญญาคงลำบาก  พระสงฆ์จะเข้าใจไม่ได้ด้วย  แล้วชาวบ้านก็เข้าใจไม่ได้ว่ากิเลสมันเป็นปัญญาอย่างไร  ผมกลัวว่ารากฐานจะยังไม่พอ

            ความคิดของชาวจีนในครั้งโบราณนั้นมีความเชื่อต่อพลังชีวิต ( Chi ) ซึ่งเป็นที่มาของหนังจีนกำลังภายใน  ชาวจีนนี่ตัดสินทุกสิ่งทุกอย่างจากพลังชีวิต  พัฒนาทุกสิ่งจากพลังชีวิต  เชื่อกันว่าผู้หญิงก็ได้ผู้ชายก็ได้สามารถสะสมพลังได้มาก  และกลับกลายเป็นคนพิเศษถึงระดับเซียน  เซียนก็คือเทพ ถึงระดับเทพ คนคนหนึ่งสู้คนเป็นร้อยได้ มีแนวคิดเบื้องหลัง เป็นการมองทุกสิ่ง  การเปลี่ยนแปลงความตาย  โดยผ่านทางชิ – พลังชีวิต  และพลังชีวิตนั่นเองสามารถเปลี่ยนผุ้คนจากคนธรรมดาให้กลายเป็นเซียนได้ และความเชื่ออันนี้สอดคล้องกับแนวคิดของตันตระ  ที่เรียกว่าทฤษฎีกุณฑลินีที่กำหนดระดับชีวิตจิตใจที่ตำแหน่งในร่างกาย  เรียกจักรา คือศูนย์หรือฐานพลังภายใน คนจีนเชื่อว่าที่ตำแหน่งใต้สะดือมีเตาปฏิกรณ์พลังชีวิตเรียกว่าตันเถียน  ซึ่งมนุษย์สามารถดึงพลังชีวิตขั้นตามศูนย์ต่าง ๆ แล้วแต่นิกายไหนจะบัญญัติศูนย์กี่ศูนย์ จนกระทั่งว่าพลังชีวิตนั้นขึ้นมาสู่หน้าผากหรือหลุดออกไปทางกระหม่อม  ก็บรรลุถึงความเป็นเซียน และก็จะทำทุกอย่างได้ เหาะเหินเดินอากาศได้

           อย่าเพิ่งถามผมว่าจริงหรือไม่จริง  เชื่อหรือไม่เชื่อนั้นเอาไว้ก่อนแต่ว่าโครงสร้างของแนวคิดนี้สำคัญนัก  เชื่อว่าคนสามารถเปลี่ยนได้ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเป็นขบวนการอัลเคมีของตะวันออก คือขบวนการเล่นแร่แปรธาตุ  แต่ว่าเป็นขบวนการธาตุในภายใน คือเมื่อสามารถเปลี่ยนธาตุในภายในแล้ว  คนคนนั้นก็สามารถลอยตัว  ที่เรียกว่าวิชาตัวเบา  คนสามารถเปลี่ยนได้จากธรรมดาเป็นเซียนได้โดยเคลื่อนย้ายพลังชีวิตจากฐานเบื้องบน




          โยคะทั้งหลาย  วิธีปฏิบัติโยคะทั้งหมดก็เพื่อที่จะเปิดท่อธารของพลังชีวิตให้เคลื่อนขึ้นสู่เบื้องบน จากจุดนี้เราจะเข้าใจพลังทางเพศได้  ถ้าเราศึกษาศาสนาอินเดีย  จะรับทราบแนวคิดเรื่องการเคลื่อนย้ายจุดที่เรียกว่าจักรา  จักราแปลว่าศูนย์ คล้าย ๆ เนบิวล่า  ซึ่งเป็นพลังเคลื่อนอยู่ในรูปของวงแหวน  ดังนั้นเขาถือกันว่าคนสามารถเคลื่อนพลังชีวิตขึ้นไปสู่จักร  แล้วก็จะบรรลุถึงศิริ  หมายความว่าเมื่อเคลื่อนพลังชีวิตมาถึงจักรอันใดก็จะบรรลุถึงศิรินั้น  คือได้บรรลุถึงภูมิที่จะเห็นความงาม  บรรลุถึงกฤษณจิตมหรือกฤษณมนัส  เมื่อมาถึงจุดนี้แล้วจะสามารถเห็นองค์พระเจ้า ทั้งได้รับการประสาทพรอภิเษก   ทั้งบริบูรณ์ทางปัญญาและเข้าถึงสุนทรียภาพที่เป็นทิพย์

         โครงสร้างเหล่านี้เป็นโครงสร้างที่เราจะเข้าใจวัชรยานได้  เพราะว่าวัชรยานนั้นใช้ภาพ ถังก้า ( Thanga ) คือภาพวาดของเทพต่าง ๆ เป็นเครื่องเพ่ง เมื่อมาถึงจุดนี้แล้ว  ก็จะสามารถบรรลุถึงความงามได้  ความงามไม่ใช่เป็นสิ่งที่เห็นได้ด้วยตา   แต่เป็นการบรรลุถึงด้วยระดับของพลังชีวิตเป็นสภาวธรรมหรือภูมิแห่งชีวิต

         ที่นี้ก็โยงเข้าสู่ทฤษฎีสุนทรียภาพ สุนทรียภาพที่เรารู้จักนั้นเป็นเรื่องของทางตะวันตกทั้งสิ้น  ถ้าทางตะวันออกแล้ว  ความงามเป็นเรื่องที่เราจะต้องเข้าถึง  ดังนั้นภูมิที่เห็นความงามนั้นเป็นภูมิที่สร้างสรรค์ศิลปศาสตร์นั่นหมายความว่าฐานของพลังนี้เคลื่อนถึงจุดหนึ่งนั้น  บุคคลจะกลายเป็นศิลปินหรือกวี  โดยไม่ต้องผ่านสถาบันการศึกษาใดๆ  ก็ได้  ความเชื่อเช่นนี้นับว่าเราไม่ค่อยคุ้นมากนัก  ความเชื่อเหล่านี้เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ยุคไบเซนไทน์ ในยุโรป สมัยไบเซนไทน์เชื่อกันว่าศิลปิน ศิลปะเป็นเรื่องของพรสวรรค์  พระผุ้เป็นเจ้าบันดาลให้เขากลายเป็นศิลปิน  หรือนักกฎหมายหรือผุ้นำ ในแวดวงศิลปะนั้น ศิลปะเป็นเพียงของขวัญหรือพรจากพระเจ้าหรือเรียกว่า พรสวรรค์  แต่ว่าเมื่อถึงยุค Renaissance สามยักษ์ใหญ่ ลีโอนาโด ดาวินชี , ราฟาเอล และไม่เคิล แองเจโล  ได้ทำให้ศิลปะ , ศิลปินกลายเป็นเรื่องของสถาบัน  เป็นการเรียนผ่านทางระบบ และเป็นเป็นพลังความสามารถแสวงหาเอาได้ด้วยตัณหา มานะ และความทะยานอยาก คือเขาเชื่อว่าเขาจะฝึกคนให้เป็นศิลปินได้  สองช่วงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในยุโรป ในแวดวงของศิลปะและศิลปิน  ส่วนทางตะวันออกมีความเชื่อเช่นเดียวกับสมัยไบเซนไทน์  ดังนั้นผุ้คนที่เข้าถึงความเป็นศิลปินต้องภาวนา  เพื่อให้พลังชีวิตเคลื่อนถึงภูมิหนึ่งที่บรรละถึงภูมิแห่งการเห็นความงาม  ที่จริงในพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทก็มีครบ  พระสูตรนี้ชื่อว่าอภิภายตนะ  ว่าด้วยการครอบงำอายตนะเพื่อเข้าถึงวิโมกข์  เมื่อบุคคลสามารถครอบงำอายตนะแล้วสามารถเห็นความงามได้  หมวดนี้เรียกว่าหมวดวิโมกข์  การหลุดออกจากอันหนึ่งโดยสร้างสถานการณ์ใหม่ขึ้นข่ม