จิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์
Contemplative education : education for human development
เป้าหมายที่แท้ของการศึกษา คือ การเปลี่ยนผู้เรียนจากผู้ไม่รู้ สู่ผู้รู้ และผู้เป็นที่เห็นได้จากการมีวิธีคิด จิตสำนึก ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อตอนที่ยังไม่รู้และเกิดพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า การศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นสร้างผู้เรียนให้เป็นเพียงผู้จำล้วนเป็นเพียงการจำเพื่อไปสอบ สร้างให้ผู้เรียนมีสภาพเป็นตำราที่เดินได้ โดยไม่ได้นำเอากระบวนการ “การเปลี่ยนคน สร้างสรรค์สังคม” มาเป็นเป้าหมายสำคัญของการศึกษา คำถามที่เกิดตามมา คือ หากการศึกษาที่เป้นอยู่ พาเราไปสู่ทางออกของปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ไม่ได้ หนำซ้ำกลับยิ่งสร้างปัญหาใหม่เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะวิถีของการศึกษาในยุคปัจจุบันเป็นการศึกษาที่สร้างให้คิดแบบแยกส่วน หล่อหลอมให้คนมีจิตสำนึกการแข่งขัน และยึดเอาตนเอง หรือหมู่พวกของตนเป็นศูนย์กลาง
สารพันปัญหาที่มีดีกรีความรุนแรงระดับโลกที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ เช่น ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสิ่งแวดลอม ในขณะที่วิกฤติแฮมเบอร์เป็นปัญหาเศรษฐกิจ ส่วนปัญหาความแตกต่างทางความคิดทางด้านการเมืองจนกลายเป็นความแตกแยกก็เป็นปัญหาที่พบได้ทั้งในระดับประเทศ หรือในระดับบุคคล ก็ยังพบว่าคนในยุคนี้ “ทุกข์ง่าย สุขยาก” ทั้งนี้ล้วนเกิดขึ้นมาจากการที่บัจเจกบุคคลขาดสำนึกที่ดีง่าย และขาดซึ่งความตระหนักถึงภาวะหน้าที่ของตนที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสิ่งในธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ การเรียนเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) จึงเกิดขึ้นเพื่อผ่าทางตันให้กับปัญหาที่ดูเหมือนจะไร้ทางออก หากเรายังคิดและทำไปบนกระบวนทัศน์เดิม
การเรียนรู้ที่นำสู่การเปลี่ยนแปลง
หากมนุษย์สักคนมีความสุขอยู่กับการได้เสพวัตถุ และนึกอยู่แต่เพียงว่ามีวัตถุพรั่งพร้อมเป็นวิธีที่ทำให้เขามีความสุข เป้าหมายของการมีชีวิตอยู่ก็คือ การเสพสุขจากวัตถุไปเรื่อย ๆ ด้วยความหิวกระหาย และเมื่อใดก็ตามที่เขาหรือเธอคนนั้นฉุกคิดขึ้นมาว่าเกิดค้นพบว่า ความจริงแล้ว “ชีวิตเราจักรวาลเป็นหนึ่งเดียวกันเมื่อหายใจเข้าจักรวาลทั้งหมดก็มาเชื่อมกับตัวเรา หายใจออกตัวเราก็ไปเชื่อมกับจักรวาลทั้งหมด” จะเกิดความรู้สึกนึกคิดใหม่อย่างสิ้นเชิง อย่างที่เรียกว่าจิตเปลี่ยน หรือบางคนเรียกว่าเกิดจิตสำนึกใหม่ (New Consciousness) มีความสุขอย่างลึกล้ำ มีพลังดื่มด่ำความงามในสรรพสิ่ง และมีความรักอันไพศาล... ในสภาพที่มีความสมบูรณ์เป็นตัวเองอย่างนี้ วัตถุนิยมบริโภคนิยมก็ยุติลง* (*จากหนังสือความเป็นมนุษย์กับการเข้าถึงสิ่งสูงสุด : ความจริง ความดี ความงาม. จัดพิมพ์โดยสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล) กระบวนการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเน้นให้ผู้เรียนไปกับความจริงสูงสุด ที่เมื่อเข้าถึงแล้วจะก่อเกิดอิสรภาพความสุข ความรักเพื่อมนุษย์และธรรมชาติ อันเป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างศานติ การศึกษาเช่นนี้จึงเป็นการศึกษาที่ต้องพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง และส่งผลต่อชีวิตด้านในของผู้เรียนจนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงผ่าน วิธีการหลักที่ใช้ คือ การสร้างความรู้เชิงประจักษ์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน จากการมีประสบการณ์ตรงด้วยการทำสมาธิและวิปัสสนาในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การเรียนรู้ผ่านการฝึกฝนทางกาย เช่น ชี่กง โยคะ การเคลื่อนไหวร่างกายแบบต่าง ๆ การเรียนรู้ผ่านการทำงานศิลปะรูปแบบต่าง ๆ การใคร่ครวญทางความคิดโดยอาศัยประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นบทเรียน ตลอดจนการเข้าร่วมในประสบการณ์ต่างๆ ทางสังคมและในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนผ่านขั้นตอนสำคัญในแต่ละช่วงชีวิตของทั้งบุคคลและกลุ่มสังคมมาตั้งแต่ครั้งโบราณ หากจะกล่าวโดยย่อแล้ว จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) คือหนึ่งในวิธีการเรียนรู้ที่นำผู้เรียนไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะพิเศษคือ มุ่งไปที่การพัฒนาชีวิตโดนการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก จากรากฐานของการปฏิบัติและฝึกฝนจริง
จิตตปัญญาเพื่อการศึกษาทางรอด แนวคิดเรื่องจิตปัญญาศึกษา เริ่มต้นขึ้นที่มหาวิทยาลัยนาโรปะ มลรัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา ในค.ศ. 1947 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก่อตั้งโดยเชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ผู้นำจิตวิญญาณชาวทิเบต ที่มีอิทธิพลต่อการเผยแพร่ความรู้ด้านจิตวิญญาณให้แก่ชาวตะวันตก มหาวิทยาลัยนาโรปะมีการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นไปที่การสืบค้นสำรวจภายในตนเอง การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงและการรับฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง ซึ่งจะนำไปสู่การตระหนักรู้การหยั่งรู้ ความเปิดกว้าง ความเคารพในความเป้นมนุษย์และการยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย อกจากที่มหาวิทยาลัยนาโรปะแล้วปัจจุบันยังมีสถาบันอุดมศึกษาที่มีปรัชญาและพันธกิจของสถาบันในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาจิตอยู่หลายแห่งด้วยกัน อาทิ Californin Institute of Integral Studies (CIS) ประเทศสหรัฐอเมริกา Budhist Tzu Chi University ประเทศไต้หวัน และ Sathya Institute of Higher Learning ประเทศอินเดีย ในประเทศไทยได้มีการรวมตัวของภาคีเครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา อันเป็นการร่วมตัวอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มผู้สนใจในการเข้าร่วมหารือ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานสร้างคนที่เป็นกำลังสำคัญในการให้ศึกษาตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษา กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทั่วไปในหลักสูตรการศึกษาทุกประเภทและทุกระดับ สภามหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้มีมติให้จัดตั้งศูนย์จิตตปัญญาศึกษาขึ้นในมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดยมีพันธกิจในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และร่วมขับเคลื่อนกับภาคประชาสังคม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ รวมถึงการพัฒนากระบวนการและวิธีการเรียนรู้ด้านจิตตปัญญาศึกษา ทั้งในการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา การวิจัย และฝึกอบรม โดยร่วมมือกับสถาบันและองค์กรต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาสื่อและสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านจิตตปัญญาศึกษากับองค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เครือข่ายที่ทำงานด้านจิตตปัญญากลุ่มอื่น ๆ เช่นสถาบันการศึกษาสัตยาไส เสถียรธรรมสถาน สถาบันขวัญเมืองเสมสิกขลัย และสถาบันอาศรมศิลป์ เป็นต้น