ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 12:21:01 am »

 :13: อนุโมทนาครับ
ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 10:47:26 am »





ก่อนจะเข้าพิธีอภิเษกในแต่ละครั้ง คูไคจะถูกผูกตาและให้โยนดอกไม้ หรือพวงมาลัยไปยังมณฑลตถาคตครรภและมณฑลวัชรธาตุ ซึ่งในการ โยนพวงมาลัยทั้ง 2 ครั้งนี้ คูไคสามารถโยนให้พวงมาลัยนั้นไปตกลง ยังตำแหน่งศูนย์กลางมณฑลหรือตำแหน่งของมหาไวโรจนะได้ทั้ง 2 ครั้งซึ่งยังความทึ่งห้แก่ตัวอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นอย่างมาก เพราะแม้แต่ตัวอาจารย์ ฮุ่ยกั๋วเอง ตอนที่เข้าพิธีอภิเษกก็ยังโยนพวงมาลัยลงตำแหน่งพระโพธิสัตว์ องค์หนึ่งเท่านั้นยังหาใช่ตำแหน่งตถาคตมหาไวโรจนะเหมือนอย่างคูไคไม่ อนึ่ง ถ้าพวงมาลัยไปตกลงตำแหน่งใด พระโพธิสัตว์ที่อยู่ ณ ตำแหน่งนั้น ก็จะกลายเป็นสิ่งบูชาและบริกรรมของผู้โยนพวงมาลัยนั้นไปจนตลอดชีวิต ตอนที่ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเห็นคูไคโยนพวงมาลัยตกลงตำแหน่งมหาไวโรจนะ ท่านก็อดนึกถึงอาจารย์ของท่านคืออาจารย์ปู้คงไม่ได้ เพราะท่านอาจารย์ ปู้คงตอนเข้าพิธีอภิเษกก็สามารถโยนพวงมาลัยตกลง ณ ตำแหน่งมหาไวโรจนะได้เช่นเดียวกับคูไค จนท่านได้รับคำชมจากอาจารย์วัชรโพธิ ซึ่งเป็นอาจารย์ของปู้คงว่า

" ปู้คง ต่อไปเธอคงทำนุบำรุงศาสนาของพวกเราให้รุ่งเรืองอย่างแน่นอน " และก็จริงตามนั้น เพราะศาสนาพุทธสายวัชรยานประสบความสำเร็จรุ่งเรือง ที่สุดในจีนในช่วงที่อาจารย์ปู้คงเป็นเจ้าสำนัก และเป็น ' อาจารย์ ' ของ จักรพรรดิจีน ถึง 3 พระองค์ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าอาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็ต้อง คาดหวังเป็นอย่างสูงว่า คูไคก็จะทำนุบำรุงศาสนาพุทธสายวัชรยานของ ท่านให้รุ่งเรืองสืบไปในดินแดนบูรพาทิศอย่างแน่นอนเช่นกัน และตัวคูไค ผู้กลายมาเป็นเจ้าสำนักวัชรยานคนล่าสุดด้วยวัยหนุ่มเพียง 32 ปีก็ไม่ได้ ทำให้อาจารย์ของเขาผิดหวังเลย

ในช่วง 2 เดือนเศษที่คูไคเข้าพิธีอภิเษกถึง 3 ครั้งนี้ นอกจากเขาจะต้อง เรียนรู้เคล็ดลับแห่งหลักวิชาวัชยานทั้งสายมณฑลตถาคตครรภและสาย มณฑลวัชรธาตุแล้ว อาจารย์ฮุ่ยกั๋วยังสั่งให้เขาศึกษาคัมภีร์หลัก ๆ ของ สายวัชรยานไม่ตำกว่า 200 เล่ม และให้อ่านข้อถกเถียงในเชิงอภิธรรม เกี่ยวกับพระสูตรต่าง ๆ อีกด้วย เรียกได้ว่าแทบไม่ต้องกินไม่ต้องนอน เลยทีเดียว ถ้าหากคูไคไม่ได้ฝึกฝนร่างกายอย่างหนักด้วยการฝึกเดินธุดงค์ บำเพ็ญตบะตามป่าเขาในช่วง 7 ปีก่อนที่เขาจะเดินทางที่นครฉางอานนี่ บางทีเขาอาจจะไม่สามารถทนทานต่อการฝึกฝนและศึกษาที่เร่งรัดขนาด นี้ได้เป็นแน่แต่เขาก็ทำสำเร็จ จนได้ในสิ่งที่คนธรรมดาไม่อาจทำได้แม้ จะมีเวลาศึกษา ( กว่าค่อนชีวิต ) ... หรือว่านี่คือเจตนารมณ์ของประวัติ ศาสตร์ หรือว่านี่เป็นประสงค์ของฟ้าดิน ?

ส่วนท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว ภายหลังจากที่ท่านได้ถ่ายทอดเคล็ดวิชาวัชรยาน ทั้งหมดของตนให้แก่คูไค ท่านก็วางใจและมรณภาพไปอย่างสงบในอีก 4 เดือนหลังจากนั้น ก่อนที่จะดับขันธ์ ท่านได้เรียคูไคเข้ามาพบและสั่ง เสียเป็นครั้งสุดท้ายว่า



" ศิษย์รัก วาระสุดท้ายที่อาจารย์จะอยู่บนโลกนี้ไกล้จะถึงแล้วอาจารย์ขอ ให้เธอเอามันดาลา ( มณฑล ) ทั้งสองกับคัมภีร์พระสูตรของวัชรยาน และ อุปกรณ์ท่านอาจารย์ได้รับมาจากท่านอาจารย์ปู้คงกลับไปประเทศของเธอ และเผยแพร่คำสอนของวัชรยานออกไป... ตอนแรกที่เธอมาหาอาจารย์นั้น อาจารย์ยังวิตกเลยว่าอาจารย์จะไม่มีเวลาพอที่จะสอนเธอได้ทั้งหมด แต่ ตอนนี้อาจารย์ก็ได้สอนเธอหมดทุกอย่างแล้ว และงานคัดลอกคัมภีร์พระสูตร จำนวนนับร้อยเล่มก็ไกล้จะสำเร็จสมบูรณ์แล้ว พร้อมกับการทำเครื่องมือ ประกอบพิธีกรรมทางสายวัชรยานและภาพมันดาลาทั้งสอง ดังนั้นอาจารย์ จึงขอให้เธอเร่งรีบกลับไปประเทศของเธอ เผยแพร่คำสอนนี้ให้กับจักรพรรดิ ญี่ปุ่นและเหล่าประชาชน เพื่อช่วยคนเหล่านี้ให้พ้นทุกข์และพบความสุขที่แท้ จริงให้ได้ ไม่มีอะไรที่เธอจะต้องห่วงใยที่นี่อีกต่อไปแล้ว หน้าที่ของเธอคือ การถ่ายทอดคำสอนเหล่านี้ไปยังดินแดนแห่งบูรพาทิศ และอาจารย์ขอให้เธอ ทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุดนะศิษย์รัก "

ด้วยเหตุนี้คูไคจึงพำนักอยู่ที่ฉางอานเพียงปีเศษ ๆ ก็เดินทางกลับประเทศ ญี่ปุ่น มิได้อยู่ถึง 20 ปีตามข้อบังคับที่มีต่อ ' รุกักคุโช ' แต่ประการใด เกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อที่น่าคิดอยู่หลายประการด้วยกัน



- บางส่วน จาก คัมภีร์มังกรวัชระ -

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 10:40:40 am »



ควรรู้ว่า ประเพณีการสืบทอดหลักวิชาสายวัชรยานนั้นจะให้ความสำคัญ ที่สุดกับการถ่ายทอดวิชาจากอาจารย์ไปสู่ศิษย์ก้นกุฎิ ดุจ ' การเทน้ำจากจอก หนึ่งไปอีกจอกหนึ่ง โดยไม่หกหรือรั่วไหลเลยแม้แต่หยดเดียว ' เพราะฉะนั้น อาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชาจะต้องดูคุณสมบัติของศิษย์แต่ละคน แล้วถ่ายทอด หลักวิชาให้แต่ละคนตามความสามารถของคนผู้นั้น ในขณะที่อาจารย์ฮุ่ยกั๋ว กำลังวิตกกังวลว่า หลักวิชาของตตนกำลังจะสาบสูญเนื่องจากขาดผู้สืบทอด ที่มีคุณสมบัติคู่ควรอยู่นั้น ท่านคงจะได้ยินกิติศัพท์เกี่ยวกับคูไคว่า เป็นพระ หนุ่มรูปหนึ่งที่อุตส่าห์ดั้นด้นจากแดนไกลมาจากหมู่เกาะบูรพาทิศมาที่นคร ฉางอานนี่ พระหนุ่มรูปนี้นอกจากจะมีความสามารถทางด้านภาษา เขียน แต่งกาพย์กลอนได้อย่างไพเราะแล้ว ยังรู้ภาษาสันสกฤต และปราดเปรื่อง ทางหลักวิชาศาสนาสายต่าง ๆ อีกด้วย ไม่เป็นที่ต้องสงสัยเลยว่า อาจารย์ ฮุ่ยกั๋วคงต้องอยากเจอตัวจริงของคูไคด้วยตนเองดูสักครั้ง

ตอนที่อาจารย์ฮุ่ยกั๋วพบคูไคนั้น ถึงแม้ท่านจะอาพาธอยู่ก็จริงแต่บุคคล ระดับ ' เจ้าสำนัก ' อย่างท่านน่ะหรือ จะดูไม่ออกถึง ' ความไม่ธรรดา ' และความเป็น ' ยอดคน ' ที่มีอยู่ในตัวของคูไคซึ่งแทบไม่แตกต่างไปจาก บุคลิกภาพของท่านอาจารย์ปู้คง ผู้เป็นอาจารย์ของท่านเลย บุคลิกภาพ ของคูไคที่ท่านสัมผัสได้จากใบหน้าและอากัปกิริยานั้นเป็นบุคลิกภาพ ของบุคคลที่สามารถเข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจักรวาลได้ อันเป็นบุคลิกภาพที่ไม่อาจลอกเลียนแบบกันได้ เพราะฉะนั้นแม้เพียง แรกพบ ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็ไม่ลังเลใจเลยที่จะรับปากกับคูไคว่า

' พ่อหนุ่ม เราจะถ่ายทอดหลักวิชาของวัชรยานทั้งหมดที่เรามีอยู่ ให้แก่ตัวเธอ '

คูไคเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับการสืบทอดวิชาสายมณฑลตถาคตครรภใน วันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 805 จากนั้นจึงเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับการสืบ ทอดวิชาสายมณฑลวัชรธาตุ ในช่วงต้นเดือนกรกฏาคม และเข้าพิธี อภิเษกรับตำแหน่งอาจารย์หรือเจ้าสำนักวัชรยานในวันที่ 16 สิงหาคม ของปีเดียวกัน เป็นที่เหลือเชื่อว่าคูไคใช้เวลาเพียง 2 เดือนเศษ ๆ เท่านั้นในการสืบทอดหลักวิชาวัชรยานทั้งหมดจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว เพราะถ้าเป็นคนธรรมดาแล้วไม่แน่ว่าต่อให้คร่ำเคร่งศึกษาถึง 20 - 30 ปี ก็ไม่แน่ว่าจะรียนรู้ได้หมดได้ ในช่วง 2 เดือนเศษนี้ คูไคต้อง เดินทางด้วยเท้าทุกวันจากวัดไซหมิงที่เขาพำนักไปยังวัดชิงหลง ของอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว ซึ่งอยู่ห่างจากวัดไซหมิงที่ไปราว ๆ 10 ลี้ เพื่อเรียน รู้ ' เคล็ดวิชา ' จากอาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่ถ่ายทอดอกจากปากโดยตรง สิ่งที่อาจารย์ฮุ่ยกั๋วถ่ายทอดด้วยวาจาให้แก่คูไคนั้น เขาจะเขียนบันทึก ไว้หมด ภายหลังจากที่กลับสู่ที่พักแล้ว อันที่จริง ก่อนที่จะมาพบกับ อาจารย์ฮุ่ยกั๋วนี้ ตัวคูไคก็ได้คร่ำเคร่งฝึกฝนและวิชาวัชรยานดัวยตัวเอง ในป่าเขาเป็นเวลาถึง 7 ปีเต็มอยู่แล้ว สิ่งที่เขายังติดอยุ่หรือยังไม่เข้าใจ กระจ่างนั้นจึงเป็น ' เคล็ด ' ในการทำมุทรา ทำสมาธิแบบวัชรยาน และมนตราซึ่งเป็นวิธีกรจำเพาะของวัชรยานเป็นส่วนใหญ่ เพราะ ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า คูไคยามที่เขาได้พบกับอาจารย์ฮุ่ยกั๋วนั้น เปรียบเหมือนพระจันทร์ที่กำลังจะเต็มดวงอยู่แล้ว การได้พบอาจารย์ ฮุ่ยกั๋วและรับการถ่ายทอดทอดเคล็ดวิชาจากท่านจึงเป็นการทำให้ พระจันทร์ดวงนี้เต็มดวงเป็นวงกลมอย่างสมบูรณ์นั่นเอง

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 10:32:37 am »




ในชีวิตอันยาวนานของคนเรานี้ คิดว่าแต่ละคนคงจะได้พานพบกับประสบ การณ์ที่น่าอัศจรรย์ใจมาบ้างเป็นแน่ แต่ประสบการณ์ที่น่าอัศจรรย์ใจอันใหน เล่าจะเทียบเท่ากับการได้พานพบรู้จักกับ ' คนบางคน ' เช่นที่ว่านี้หาใช่ใคร อื่นไม่ แต่คือ ' ครู ' ของตนนั่นเอง

จังหวะเวลาที่คูไคได้พบกับอาจารย์ฮุ่ยกั๋วนั้น เป็นจังหวะที่พอดิบพอดีอย่าง น่าอัศจรรย์ใจจริง ๆ แบบไม่เร็วเกินไปและช้าเกินไปนั่นเอง เพราะเพียงอีก 7 เดือนหลังจากนั้น อาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็ดับขันธ์แล้ว พึงทราบว่าวิชาวัชรยาน ในขณะนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 สายคือ สายมณฑลตถาคตครรภ กับสายมณฑล วัชรธาตุ ทั้ง 2 สายนี้ต่างแยกกันพัฒนาในอินเดีย จึงไม่มีผู้ใดในอินเดียขณะ นั้นสืบสายวิชา 2 แขนงนี้อยู่ในตัวคนคนเดียว อาจารย์ปู้คงผู้เป็นอาจารย์ ของฮุ่ยกั๋วนั้นก็เป็นอาจารย์ทางสายมณฑลวัชธาตุเท่านั้น แต่ตัวอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว โชคดีที่ได้วิชาจากจากสายมณฑลตถาคตครรภมาจากอาจารย์อินเดียอีกท่าน หนึ่งด้วย เพราะฉะนั้น อาจารย์ฮุ่ยกั๋วจึงเป็นบุคคลเพียงท่านเดียวของโลก ในขณะนั้นที่รับสืบทอดวิชาวิชาวัชรยานขนานแท้ของทั้ง 2 สาย

แต่อาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็กำลังเผชิญกับวิกฤตของการขาดผู้สืบทอดเนื่องจากท่าน กำลังอาพาธ และรู้ตัวดีว่าจะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ไม่นานแล้วทั้ง ๆ ที่อาจารย์ ฮุ่ยกั๋วมีศิษย์ถึง 1,000 คน แต่ก็ไม่มีศิษย์คนใดโดดเด่นพอที่จะสืบทอด ตำแหน่ง ' อาจารย์ ' หรือ ตำแหน่งเจ้าสำนักวัชรยานของท่านต่อจากท่านได้ ที่กล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่า แผ่นดินตงง้วนอันกว้างใหญ่ไพศาลไม่มีคนดี - คนเก่งอยู่เลยก็หาไม่ เพียงแต่ว่าคนดี-คนเก่งเหล่านั้น ส่วนใหญ่ถ้าไม่ไป ศึกษาลัทธิขงจื้อก็ศึกษาลัทธิเต๋า หรือศาสนาพุทธสายอื่นที่ไม่ใช่สายวัชรยาน และจะว่าไปแล้วเนื้อหาวิชาสายวัชรยานที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยตรรกะ แบบอินเดีย ( อภิธรรม ) ก็หาได้ถูกฉโลกกับชาวจีนที่ชอบอะไรที่ง่าย ๆ เป็นรูปธรรมไม่ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ศาสนาพุทธสายวัชรยาน เสื่อมความนิยมจนกระทั่งสาบสูญไปจากประเทศจีนภายหลังการมรณะภาพ ของอาจารย์ฮุ่ยกั๋วไปไม่นานนัก

ควมจริง อาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็มีศิษย์เอกอยู่เหมือนกันราว ๆ 7 คน แต่ในบรรดา ศิษย์เอกทั้ง 7 คนนี้นอกจากศิษย์คนที่ชื่ออี้หมิงแล้ว ก็ไม่มีใครเลยที่สืบทอด วิชาทั้งสองสายจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋วได้ แต่ตัวอี้หมิงผู้นี้ก็เพิ่งอาพาธและดับขันธ์ ไปก่อนที่คูไคจะมาถึงนครฉางอานได้ไม่นานนักจึงเห็นได้ว่า หากคูไคมาเร็ว กว่านี้สัก 1 - 2 ปี เจ้าสำนักวัชรยานต่อจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็น่าจะตกอยู่กับอี้หมิง และถ้าคูไคมาช้ากว่านี้ไปเพียง 1 ปี คูไคก็จะไม่ได้พบทั้งอาจารย์ฮุ่ยกั๋วและ อี้หมิง นอกจากนี้หากคูไคมิได้เป็นเจ้าสำนักวัชรยานสืบต่อจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว วิชาวัชรยานนี้ก็คงสาบสูญการสืบทอดไปจากจีนอีกไม่กี่ปีหลังจากนั้น แต่นี่ เพราะคูไคกลายมาเป็นเจ้าสำนักวัชรยานสืบต่อจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว ทั้ง ๆ ที่เขา เป็นคนต่างชาติ เป็นคนนอก และเพิ่งมาพบกับอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นครั้งแรก อาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็ยกตำแหน่งเจ้าสำนักให้แก่เขาในทันทีโดย ' ข้ามหัว ' ลูกศิษย์ 1,000 คนของท่านอย่างไม่ลังเล วิชาวัชรยานนี้จึงไม่สาบสูญและได้รับการ สืบทอดที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 1,000 กว่าปีมาจนทุกวันนี้ สิ่งนี้ถ้าไม่เรียก ว่าเป็นความน่าอัศจรรย์ หรือ ปาฏิหาริย์แล้วจะให้เรียกว่าอะไรเล่า ?

ถ้าไม่มีปัจจัยจากฝ่ายอาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่ ' ใจกว้างยิ่งกว่ามหาสมุทร ' เพราะไม่ ยึดติดกับความเป็นคนนอกหรือคนต่างชาติ แต่ดูที่ความสามารถ ศักยภาพ และอัจฉริยภาพของผู้ที่จะมาสืบทอดวิชาของตนเป็นหลัก และถ้าไม่มีปัจจัย จากฝ่ายศิษย์คือคูไคที่ได้ศึกษาวิชาวัชรยานด้วยตัวเอง แม้ไม่มีอาจารย์ตั้งแต่ อยู่ญี่ปุ่นอย่างจริงจังแล้ว ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คูไคจะสามารถสืบทอด วิชาวัชรยานต่อจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋วได้อย่างรวดเร็วและราบรื่นในช่วงเวลาอัน สั้นเพียงไม่กี่เดือนเช่นนี้ได้

บรรยากาศของการพบกันในครั้งแรก ระหว่างท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วกับคูไค นั้นน่าประทับใจมาก ดังที่ในเวลาต่อมาคูไคได้เขียนบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ว่า '

ผมเดินทางเข้ามาหาท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วพร้อมกับพระอีก 5 หรือ 6 รูป จากวัดไซหมิง ในทันทีที่ท่านอาจารย์เห็นหน้าผม ท่านก็ยิ้มให้อย่างปรีดา ปราโมทย์ พร้อมกับพูดกับผมว่า ... " พ่อหนุ่ม เรารู้ดีว่าเธอต้องมาแน่ ตัวเราได้รอการมาของเธอมาเนิ่นนานแล้ว ตัวเราดีใจจริง ๆ ที่ได้เห็นเธอ ในวันนี้จนได้ รู้มั้ยพ่อหนุ่มว่าชีวิตของเราใกล้จะถึงเวลาสิ้นสุดลงแล้ว และก่อนที่เธอจะมาที่นี่ ตัวเราไม่มีใครที่จะมาสืบทอดคำสอนและหลัก วิชาของเราไปได้เลย เพราะฉะนั้น เราขอให้เธออย่าได้รอช้า รีบไป เตรียมธูปกับดอกไม้เพื่อเข้าพิธีอภิเษกเป็นเจ้าสำนักสืบต่อจากเราเถอะ นะพ่อหนุ่ม " ... จากนั้นผมจึงกลับไปวัดไซหมิงเพื่อเตรียมสิ่งของที่ จำเป็นสำหรับการเข้าพิธีอภิเษกที่มีขึ้นในเดือนมิถุนายนนั้นเอง '

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 10:28:16 am »




คณะของคูไคถึงเมืองหลวงฉางอานในวันที่ 23 ธันวาคม ปีเดียวกันนับ เป็นการเดินทางที่รีบเร่งมากเลยทีเดียว เมืองหลวงฉางอานแห่งราชวงค์ ถัง ( ค.ศ. 618 - 907 ) ในขณะนั้นถือว่าอยู่ในช่วงสุดยอดของอารยธรรม จีนในฐานะที่เป็นประเทศที่เจริญที่สุดในโลกในยุคนั้น เมืองฉางอานก็เลย กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมจีนและทวีปเอเชียกลางและตะวันออก ไปโดยปริยาย มีผู้คนจากนานาชาติพำนักอยู่ที่เมืองนี้ กล่าวกันว่าในยุคนั้น มีวัดสำหรับภิกษุในศาสนาพุทธอยู่ถึง 64 แห่ง ในเมืองฉางอาน และ สำหรับชีอีก 27 แห่ง นอกจากนี้ยังมีวัดนิกายเต๋าอีก 10 แห่ง สำหรับบุรุษ และ 6 แห่งสำหรับสตรี รวมทั้งยังมีวัดต่างชาติอีก 3 วัดด้วยคือ โบสถ์ ของศาสนาคริสต์ อารามของลัทธิโซโรแอสเตอร์ กับสุเหร่าของมุสลิม พูดง่าย ๆ คือ เมืองฉางอานในยุคที่คูไคไปศึกษานั้น เป็นศูนย์รวมของ ศาสนานิกายต่าง ๆ เอาไว้เกือบทั้งหมดนั่นเอง โดยที่ศาสนาพุทธนิกาย วัชยาน ( มิกเคียว ) ที่เพิ่งนำเข้าจากอินเดียมาไม่นานกำลังเป็นที่นิยมใน หมู่ชนชั้นปกครองจีนขณะนั้น

ที่นครฉางอาน คูไคพำนักอยู่ที่วัดไซหมิงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 804 ภายหลังจากที่คณะฑูตจากญี่ปุ่นได้อำลาและเดินทางออกจากนครฉางอาน เพื่อกลับญี่ปุ่นแล้ว ในขณะที่อยู่ฉางอาน คูไคคงได้ทราบกิตติศัพท์ของ อาจารย์ฮุ่ยกั๋ว ( ภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า เคกะ ) แล้วว่าเป็นปรามาจารย์สายตรง ผู้สืบทอดวิชาสายวัชยานจากอินเดีย โดยเป็นศิษย์ของอาจารย์ปู้คงผู้โด่งดัง อาจารย์ปู้คง เป็นพระอินเดียมีชื่อจริงว่าอโมกขวัชรซึ่งได้ติดตามอาจารย์ วัชรโพธิมาเผยแพร่ธรรมะสายวัชยานที่เมืองจีนตั้งแต่ยังเล็ก ถ้ามองจากจีน อาจารย์วัชรโพธิคือ ปรามาจารย์สายวัชรยานของจีนรุ่นที่ 1 อาจารย์ปู้คง เป็นรุ่นที่ 2 และอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นรุ่นที่ 3 แต่เป็นคนจีนรุ่นแรกที่ได้เป็น ปรามาจารย์สายวัชรยานในจีน มิหนำซ้ำอาจารย์ทุกท่านยังเป็นอาจารย์ ของจักรพรรดิ์แห่งราชวงศ์ถังทั้งหมดด้วย

ถ้ากล่าวตามเหตุผลแล้ว คูไคน่าจะเร่งรีบไปพบอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเพื่อขอร่ำเรียน วิชาจากท่านโดยเร็ว แต่ในความเป็นจริง กว่าที่คูไคจะเดินทางไปพบอาจารย์ ฮุ่ยกั๋วก็เป็นเวลา 4 เดือน ภายหลังจากที่พำนักอยู่ที่วัดไซหมิงแล้ว เพราะเหตุ ใดหรือ ? คูไคคงคิดว่าถ้าหากตัวเขาไปหาอาจารย์ฮุ่ยกั๋วโดยที่ยังไม่ค่อยมีใคร รู้จักความสามารถในตัวเขาดีก่อนแล้ว การเริ่มเรียนวิชาวัชรยานของคูไคกับ อาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่วัดชิงหลงคงจะต้องไต่อันดับจากขั้นประถมเป็นแน่ และคงต้อง ใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้เรียนรู้ถึงแก่นแท้ของวัชรยาน นอกจากนี้คูไคยังได้ ทราบข่าวมาว่า ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั่วขณะนี้มีอายุ 60 ปีแล้ว และกำลังอาพาธด้วย บางทีท่านอาจไม่สามารถมีชีวิตยืนยาวพอที่จะถ่ายทอดเคล็ดวิชาให้แก่เขาใน อีกหลายปีให้หลังก็เป็นได้ มิหนำซ้ำ คูไคผู้มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะ สถาปนานิกายวัชรยานขึ้นในประเทศญี่ปุ่นก็มีความตั้งใจตั้งแต่แรกแล้วว่าจะ ไม่คิดศึกษาวิชาอยู่ที่เมืองจีนถึง 20 ปี กว่าคูไคจะได้กลับญี่ปุ่นก็มีอายุ 52 ปี แล้ว ซึ่งแก่เกินไปที่จะมารณรงค์เคลื่อนไหวเผยแพร่หลักวิชาของตน เพราะ ฉะนั้น คูไคจึงตั้งปณิธานในใจว่า เขาจะต้องศึกษาวิชาวัชรยานให้สำเร็จภายใน ระยะเวลาอัสั้นที่สุด และรีบเดินทางกลับญี่ปุ่นในช่วงที่เขายังมีอายุ 30 ปีกว่า ๆ อันเป็นช่วงที่เขายังมีกำลังวังชาและพลังความคิดเต็มเปี่ยมอยู่

เมื่อพิจารณาจากแรงจูงใจของตัวเอง และปัจจัยอื่น ๆ โดยเฉพาะวัยและ สุขภาพของอาจารย์ฮุ่ยกั๋วแล้ว คูไคจึงเลือกใช้ " วิธีการอื่น " ในการเข้าหา อาจารย์ฮุ่ยกั๋ว คือ ปล่อยให้กิติศัพท์และคำโจษจันเกี่ยวกับตัวเขาในหมู่ ชาวฉางอานไปก่อน เริ่มจากบรรดาพระในวัดไซหมิงที่คูไคพำนักอยู่และ คบหาสมาคมด้วย ในบรรดาพระเหล่านั้นมีหลายรูปที่รู้จักกับอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว เป็นการส่วนตัว พระเหล่านั้นเมื่อไปพูดคุยกับคูไค ต่างก็ทึ่งในความรอบรู้ ความฉลาดของคูไคด้วยกันทั้งสิ้น เพราะอันที่จริง วิชาวัชรยานที่คูไคศึกษา และฝึกฝนด้วยตนเองในขณะที่เขายังอยู่ที่ญี่ปุ่นนั้น ก็ได้ก้าวหน้าไปจนถึง ระดับขั้นที่สูงมากแล้วด้วยความเป็นอัจฉริยะของเขา เพียงแต่เขายังไม่ทราบ " เคล็ดลับ " บางอย่างที่จำเป็นต้องได้รับการถ่ายทอดจาก " ครูที่แท้ " โดย ตรงเท่านั้น

นอกจากนี้ คำร่าลือเกี่ยวกับความสามารถในการเขียนหนังสือจีนของคูไค ที่เป็นที่ประจักษ์เป็นครั้งแรกที่มณฑลฮกเกี้ยนก็มาถึงที่นครฉางอานแล้วแพร่ หลายโดยเร็วในหมู่ปัญญาชนกับชนชั้นสูงที่นั่น ในระหว่างนั้นคูไคยังไป รำเรียนภาษาสันสกฤตจากพระอินเดียรูปหนึ่งเพิ่มเติมอีก ( อาจกล่าวได้ว่า คูไคเป็นคนญี่ปุ่นคนแรกที่ไดร่ำเรียนและเชี่ยวชาญภาษานี้ ) และเชี่ยวชาญ ภาษาสันสกฤตนี้อย่างรวดเร็ว จนเป็นที่ฮือฮาในวงการสงฆ์ของที่นั่น

ช่าวคราวเกี่ยวกับคูไค และจุดประสงค์ในการเดินทางมานครฉางอานของ คูไคย่อมเข้าหูอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นระยะ ๆ อย่างแน่นอน อาจารย์ฮุ่ยกั๋วผู้ชรา และอาพาธผู้นี้มีลูกศิษย์ถึง 1,000 คน แต่ท่านก็ยังไม่ได้รับมอบหมายใคร ให้สืบทอดตำแหน่งปรามาจารย์วัชรยานรุ่นที่ 4 สืบต่อจากท่าน เพราะใน บรรดาศิษย์ทั้ง 1,000 คนนี้ ท่านยังไม่เห็นว่ามีศิษย์คนไหนที่มีความสามารถ และศักยภาพมากพอที่จะบำรุงพัฒนาวิชาวัชรยานของท่านให้รุ่งเรืองสืบไปได้เลย พอถึงจุดนี้แหละ การณ์กลับเป็นว่า คราวนี้ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วกลับ เป็นฝ่ายเฝ้ารอคอยการมาของคูไคอย่างกระวนกระวายด้วยใจจดจ่อเสียเอง จากนั้นคูไคจึงเดินทางไปพบท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่วัดชิงหลง ( วัดมังกรเขียว ) ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 805 หรือ 6 เดือนภายหลังจากที่เขาเดินทาง

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 10:22:38 am »




คณะของคูไคถึงเมืองหลวงฉางอานในวันที่ 23 ธันวาคม ปีเดียวกันนับ เป็นการเดินทางที่รีบเร่งมากเลยทีเดียว เมืองหลวงฉางอานแห่งราชวงค์ ถัง ( ค.ศ. 618 - 907 ) ในขณะนั้นถือว่าอยู่ในช่วงสุดยอดของอารยธรรม จีนในฐานะที่เป็นประเทศที่เจริญที่สุดในโลกในยุคนั้น เมืองฉางอานก็เลย กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมจีนและทวีปเอเชียกลางและตะวันออก ไปโดยปริยาย มีผู้คนจากนานาชาติพำนักอยู่ที่เมืองนี้ กล่าวกันว่าในยุคนั้น มีวัดสำหรับภิกษุในศาสนาพุทธอยู่ถึง 64 แห่ง ในเมืองฉางอาน และ สำหรับชีอีก 27 แห่ง นอกจากนี้ยังมีวัดนิกายเต๋าอีก 10 แห่ง สำหรับบุรุษ และ 6 แห่งสำหรับสตรี รวมทั้งยังมีวัดต่างชาติอีก 3 วัดด้วยคือ โบสถ์ ของศาสนาคริสต์ อารามของลัทธิโซโรแอสเตอร์ กับสุเหร่าของมุสลิม พูดง่าย ๆ คือ เมืองฉางอานในยุคที่คูไคไปศึกษานั้น เป็นศูนย์รวมของ ศาสนานิกายต่าง ๆ เอาไว้เกือบทั้งหมดนั่นเอง โดยที่ศาสนาพุทธนิกาย วัชยาน ( มิกเคียว ) ที่เพิ่งนำเข้าจากอินเดียมาไม่นานกำลังเป็นที่นิยมใน หมู่ชนชั้นปกครองจีนขณะนั้น

ที่นครฉางอาน คูไคพำนักอยู่ที่วัดไซหมิงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 804 ภายหลังจากที่คณะฑูตจากญี่ปุ่นได้อำลาและเดินทางออกจากนครฉางอาน เพื่อกลับญี่ปุ่นแล้ว ในขณะที่อยู่ฉางอาน คูไคคงได้ทราบกิตติศัพท์ของ อาจารย์ฮุ่ยกั๋ว ( ภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า เคกะ ) แล้วว่าเป็นปรามาจารย์สายตรง ผู้สืบทอดวิชาสายวัชยานจากอินเดีย โดยเป็นศิษย์ของอาจารย์ปู้คงผู้โด่งดัง อาจารย์ปู้คง เป็นพระอินเดียมีชื่อจริงว่าอโมกขวัชรซึ่งได้ติดตามอาจารย์ วัชรโพธิมาเผยแพร่ธรรมะสายวัชยานที่เมืองจีนตั้งแต่ยังเล็ก ถ้ามองจากจีน อาจารย์วัชรโพธิคือ ปรามาจารย์สายวัชรยานของจีนรุ่นที่ 1 อาจารย์ปู้คง เป็นรุ่นที่ 2 และอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นรุ่นที่ 3 แต่เป็นคนจีนรุ่นแรกที่ได้เป็น ปรามาจารย์สายวัชรยานในจีน มิหนำซ้ำอาจารย์ทุกท่านยังเป็นอาจารย์ ของจักรพรรดิ์แห่งราชวงศ์ถังทั้งหมดด้วย

ถ้ากล่าวตามเหตุผลแล้ว คูไคน่าจะเร่งรีบไปพบอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเพื่อขอร่ำเรียน วิชาจากท่านโดยเร็ว แต่ในความเป็นจริง กว่าที่คูไคจะเดินทางไปพบอาจารย์ ฮุ่ยกั๋วก็เป็นเวลา 4 เดือน ภายหลังจากที่พำนักอยู่ที่วัดไซหมิงแล้ว เพราะเหตุ ใดหรือ ? คูไคคงคิดว่าถ้าหากตัวเขาไปหาอาจารย์ฮุ่ยกั๋วโดยที่ยังไม่ค่อยมีใคร รู้จักความสามารถในตัวเขาดีก่อนแล้ว การเริ่มเรียนวิชาวัชรยานของคูไคกับ อาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่วัดชิงหลงคงจะต้องไต่อันดับจากขั้นประถมเป็นแน่ และคงต้อง ใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้เรียนรู้ถึงแก่นแท้ของวัชรยาน นอกจากนี้คูไคยังได้ ทราบข่าวมาว่า ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั่วขณะนี้มีอายุ 60 ปีแล้ว และกำลังอาพาธด้วย บางทีท่านอาจไม่สามารถมีชีวิตยืนยาวพอที่จะถ่ายทอดเคล็ดวิชาให้แก่เขาใน อีกหลายปีให้หลังก็เป็นได้ มิหนำซ้ำ คูไคผู้มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะ สถาปนานิกายวัชรยานขึ้นในประเทศญี่ปุ่นก็มีความตั้งใจตั้งแต่แรกแล้วว่าจะ ไม่คิดศึกษาวิชาอยู่ที่เมืองจีนถึง 20 ปี กว่าคูไคจะได้กลับญี่ปุ่นก็มีอายุ 52 ปี แล้ว ซึ่งแก่เกินไปที่จะมารณรงค์เคลื่อนไหวเผยแพร่หลักวิชาของตน เพราะ ฉะนั้น คูไคจึงตั้งปณิธานในใจว่า เขาจะต้องศึกษาวิชาวัชรยานให้สำเร็จภายใน ระยะเวลาอัสั้นที่สุด และรีบเดินทางกลับญี่ปุ่นในช่วงที่เขายังมีอายุ 30 ปีกว่า ๆ อันเป็นช่วงที่เขายังมีกำลังวังชาและพลังความคิดเต็มเปี่ยมอยู่

เมื่อพิจารณาจากแรงจูงใจของตัวเอง และปัจจัยอื่น ๆ โดยเฉพาะวัยและ สุขภาพของอาจารย์ฮุ่ยกั๋วแล้ว คูไคจึงเลือกใช้ " วิธีการอื่น " ในการเข้าหา อาจารย์ฮุ่ยกั๋ว คือ ปล่อยให้กิติศัพท์และคำโจษจันเกี่ยวกับตัวเขาในหมู่ ชาวฉางอานไปก่อน เริ่มจากบรรดาพระในวัดไซหมิงที่คูไคพำนักอยู่และ คบหาสมาคมด้วย ในบรรดาพระเหล่านั้นมีหลายรูปที่รู้จักกับอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว เป็นการส่วนตัว พระเหล่านั้นเมื่อไปพูดคุยกับคูไค ต่างก็ทึ่งในความรอบรู้ ความฉลาดของคูไคด้วยกันทั้งสิ้น เพราะอันที่จริง วิชาวัชรยานที่คูไคศึกษา และฝึกฝนด้วยตนเองในขณะที่เขายังอยู่ที่ญี่ปุ่นนั้น ก็ได้ก้าวหน้าไปจนถึง ระดับขั้นที่สูงมากแล้วด้วยความเป็นอัจฉริยะของเขา เพียงแต่เขายังไม่ทราบ " เคล็ดลับ " บางอย่างที่จำเป็นต้องได้รับการถ่ายทอดจาก " ครูที่แท้ " โดย ตรงเท่านั้น

นอกจากนี้ คำร่าลือเกี่ยวกับความสามารถในการเขียนหนังสือจีนของคูไค ที่เป็นที่ประจักษ์เป็นครั้งแรกที่มณฑลฮกเกี้ยนก็มาถึงที่นครฉางอานแล้วแพร่ หลายโดยเร็วในหมู่ปัญญาชนกับชนชั้นสูงที่นั่น ในระหว่างนั้นคูไคยังไป รำเรียนภาษาสันสกฤตจากพระอินเดียรูปหนึ่งเพิ่มเติมอีก ( อาจกล่าวได้ว่า คูไคเป็นคนญี่ปุ่นคนแรกที่ไดร่ำเรียนและเชี่ยวชาญภาษานี้ ) และเชี่ยวชาญ ภาษาสันสกฤตนี้อย่างรวดเร็ว จนเป็นที่ฮือฮาในวงการสงฆ์ของที่นั่น

ช่าวคราวเกี่ยวกับคูไค และจุดประสงค์ในการเดินทางมานครฉางอานของ คูไคย่อมเข้าหูอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นระยะ ๆ อย่างแน่นอน อาจารย์ฮุ่ยกั๋วผู้ชรา และอาพาธผู้นี้มีลูกศิษย์ถึง 1,000 คน แต่ท่านก็ยังไม่ได้รับมอบหมายใคร ให้สืบทอดตำแหน่งปรามาจารย์วัชรยานรุ่นที่ 4 สืบต่อจากท่าน เพราะใน บรรดาศิษย์ทั้ง 1,000 คนนี้ ท่านยังไม่เห็นว่ามีศิษย์คนไหนที่มีความสามารถ และศักยภาพมากพอที่จะบำรุงพัฒนาวิชาวัชรยานของท่านให้รุ่งเรืองสืบไปได้เลย พอถึงจุดนี้แหละ การณ์กลับเป็นว่า คราวนี้ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วกลับ เป็นฝ่ายเฝ้ารอคอยการมาของคูไคอย่างกระวนกระวายด้วยใจจดจ่อเสียเอง จากนั้นคูไคจึงเดินทางไปพบท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่วัดชิงหลง ( วัดมังกรเขียว ) ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 805 หรือ 6 เดือนภายหลังจากที่เขาเดินทาง

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 10:20:21 am »




ข้ามสมุทรไปแสวงธรรมที่จีน

 

เมื่อ 1,000 กว่าปีก่อนนั้น การจะไปเรียนเมืองนอกที่ ' ถัง ' ( ชื่อ ราชวงศ์จีน ในขณะนั้น ) ทำได้ 2 วิธีด้วยกันคือ เป็น ' รุกักคุโช ' กับเป็น ' เก็นกักคุโช ' ' รุกักคุโช ' คือ นักเรียนนอกที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลให้ไปพำนัก ศึกษาวิทยาการที่ประเทศจีนเป็นเวลาอย่างน้อย 20 ปี ถึงจะอนุญาตให้เดิน ทางกลับประเทศได้ ส่วน ' เก็นกักคุโช ' คือ นักวิจัยทุนรัฐบาลที่ไปทัศน ศึกษาหรือดูงานระยะสั้น โดยไม่จำเป็นต้องพำนักอยู่ที่ประเทศจีนเป็นเวลา นานเป็นสิบ ๆ ปีเหมือนอย่างรุกักคุโช จึงสามารถเดินทางกลับประเทศ ได้ทุกเมื่อ

ในปี ค.ศ. 804 ที่คูไคติดตามราชทูตญี่ปุ่นที่ชื่อฟูจิวาร่า คะโดะโนะมาโร่ ไปจีนในเรือลำที่หนึ่งของคณะเรือที่มีด้วยกันทั้งหมด 4 ลำนั้น คูไคเดินทาง ไปในฐานะ ' รุกักคุโช ' ที่ไร้ชื่อเสียงไม่มีใครรู้จักคนหนึ่งเท่านั้น ขณะนั้น คูไคมีอายุ 31 ปี เขาเพิ่งบวชเป็นพระสงฆ์อย่างเป็นทางการเมื่ออายุ 30 ปี ไม่ถึง 1 ปีก่อนเดินทางไปจีนเท่านั้น เหตุที่เขาต้องบวชเป็นพระสงฆ์ที่อยู่ ในการดูแลควบคุมของรัฐบาล ก็เพื่อที่เขาจะได้มีสิจน์ถูกคัดเลือกไปเป็น นักเรียนทุนรัฐบาล ( รุกักคุโช ) เท่านั้น หาได้มีเหตุผลอย่างอื่นไม่ อนึ่ง นอกจากคูไคแล้วในคณะเรือที่เดินทางไปจีนในครั้งนั้น ยังมีพระสงฆ์ชื่อดัง อีกรูปหนึ่งที่เดินทางไปด้วยในฐานะ ' เก็นกักคุโช ' คือ ไซโจ ซึ่งมีอายุ มากกว่าคูไค 7 ปี ขณะนั้น ไซโจมีฐานะเป็นเจ้าสำนักนิกายเทียนไต๋แห่ง วัดที่ภูเขาฮิเออิ ซึ่งมีจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นเป็นองค์อุปถัมภ์แล้ว ไซโจต้องการ ไปทัศนะศึกษานิกายเทียนไต๋ ( หรือเท็นไดในภาษาญี่ปุ่น ) ที่จีนเพื่อเป็น การเปิดหูเปิดตา ท่านจึงเดินทางไปจีนในครั้งนี้ด้วย

ในคณะเรือที่เดินทางไปจีนทั้งหมด 4 ลำนั้น มีเพียง 2 ลำเท่านั้นที่ไปถึง เมืองจีนได้อย่างปลอดภัย คือ เรือลำที่ 1 ที่คูไคนั่งไป กับเรือลำที่ 2 ที่ไซโจนั่งไป ส่วนเรือลำที่ 3 เกิดเหตุขัดข้องกลางทางต้องแล่นกลับ ญี่ปุ่น ขณะที่เรือลำที่ 4 อับปางกลางทะเล มีผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว ทั้งนี้ก็เพราะคณะเรือที่เดินทางไปจีนเผชิญมรสุมพายุกลางทะเล จนทำให้ เรือลำที่ 1 ที่คูไคนั่งไปหลงทิศทางต้องเคว้งอยู่กลางทะเลเป็นเวลา 1 เดือน กว่าจะมาเทียบท่าได้ที่ชายฝั่งแถวมณฑลฮกเกี๊ยนในปัจจุบัน ส่วนเรือลำที่ 2 ที่ไซโจนั่งไปนั้นสามารถไปถึงท่าหนิงโปได้ตามแผนการเดินเรือที่วางไว้ ทุกอย่าง

เราควรเข้าใจกันก่อนว่า เกาะญี่ปุ่นหรือเกาะบูรพาเมื่อ 1,000 กว่าปี ก่อนนั้น เป็นเกาะที่อยู่โดดเดี่ยวห่างไกลจากความเป็นสากลของโลก มากโดยที่ตัวแทน ' ความเป็นสากล ' หรือ ' อารยธรรม ' สำหรับคนญี่ปุ่น ในยุคนั้นก็คือจีนนั่นเอง นับตั้งแต่ที่ศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่สู่ประเทศ นี้ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 6 ศาสนาพุทธก็ได้กลายเป็น ' สิ่งสากล ' สำหรับชนชาตินี้ไปโดยไม่เกี่ยวข้องกับชนชั้นวรรณะใด ๆ

ด้วยความหลงใหลใน ' อารยธรรม ' หรือ ' ความเป็นสากล ' ของจีน ทางจีนจึงได้ส่งเรือไปจีนเพื่อนำเอาวิทยาการและความก้าวหน้าต่าง ๆ ของจีนมายังประเทศตนตั้งแต่ปี ค.ศ. 600 เป็นต้นมา นับจากครั้งนั้น จนถึงครั้งที่คูไคร่วมเดินทางไปด้วยในครั้งนี้นั้นรวมได้เป็น 16 ครั้งแล้ว กล่าวคือในช่วง 200 กว่าปีมานี้นั้น ทางการญี่ปุ่นสามารถส่งเรือไปจีน ได้เพียง 15 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้เพราะการเดินทางข้ามสมุทรกว่า 3,000 ลี้ เพื่อไปจีนนั้น ยังเป็นเรื่องที่ยากลำบากมากเมื่อคำนึงถึงคุณภาพของเรือ สำเภาของยี่ปุ่นและทักษะการเดินเรือทะเลของญี่ปุ่นในยุคนั้น

" อาจารย์ครับ ทำไมคูไคถึงเพิ่งมาบวชเป็นสงฆ์เอาเมื่อตอนก่อนเดินทางไป จีนเพียง 1 ปีเท่านั้นล่ะครับ "

" ถูกแล้ว สันติชาติ เธอคิดว่าคนหนุ่มที่รักในชีวิตแห่งการแสวงหาสัจจะ อย่างคูไค ขนาดยอมทิ้งหนทางก้าวหน้าในชีวิตของการเป็นขุนนางออกมา ร่อนเร่พเนจรตามป่าเขาเป็นเวลาหลายปีอย่างเขาจะทนกับชีวิตของพระสงฆ์ ในการควบคุมดูแลของทางการได้หรือ ? เพราะชีวิตพระสงฆ์ที่อยู่ภายใต้ การควบคุมดูแลของทางการนั้น ถ้ากล่าวในความหมายนี้แล้ว พระสงฆ์ จำพวกนี้ก็คือหุ่นเชิดทางวัฒนธรรมของรัฐเท่านั้นเอง นี่หรือคือชีวิตที่น่าพึง ปรารถนาขนาดยอมสละ ยอมอดกลั้นความต้องการทางเพศอันเป็นธรรมชาติ อย่างหนึ่งของมนุษย์ได้กระนั้นหรือ ? คูไคเป็นชายหนุ่มที่มีพลังสร้างสรรค์ อยู่ในตัวมาก แน่นอนว่าเขาน่าจะเป็นชายที่มีความต้องกรทางเพศสูงด้วย ถ้าหากเขาไม่พบเป้าหมายที่สูงส่งพอที่จะแปรพลังทางเพศเหล่านี้ให้เป็น พลังทางจิตวิญญาณที่สูงส่งและสร้างสรรค์แล้ว เขาคงไม่ยินยอมบวช เป็นพระอย่างเป็นทางการแน่นอน "

" นั่นคือ การเป็นผู้ก่อตั้งนิกายมิกเคียวขนานแท้ขึ้นใในประเทศญี่ปุ่นนี้ ใช่มั้ยครับ "

" ใช่แล้ว "

เนื่องจาก เรือของคูไคนั่งมาพลัดหลงทางมาไกลจากปลายทางค่อนข้างมาก คือ หลงมาจนถึงชายฝั่งแห่งหนึ่งในมณฑลฮกเกี้ยน ซึ่งขณะนั้นยังไม่ใช่เขต แดนที่ชนชาวฮั่นพำนักอาศัยอยู่ ตอนแรกทางการท้องถิ่นที่นั่นยังไม่ทราบ เรื่องของคณะฑูตจากญี่ปุ่นจึงระแวงว่าอาจเป็นเรือของพวกโจรสลัด คณะ ของคูไคจึงถูกกักตัวให้อยู่บนเรือไม่ยอมให้ขึ้นฝั่งตั้งเกือบ 2 เดือน กว่าทาง ฝ่ายจีนจะตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางการเมืองหลวงที่ฉางอาน จึงยอมให้ คณะฑูตจากญี่ปุ่นคณะนี้ขึ้นฝั่งและได้รับการต้อนรับอย่างเป็นทางการได้ กล่าวกันว่าในตอนแรกที่ทางการจีนท้องถิ่นไม่เชื่อว่าคณะนี้เป็นฑูตจากญี่ปุ่น จริงนั้น นอกจากสารรุปของท่านฟูจิวาร่าที่ขาดความสง่าผ่าเผยอันเนื่อง มาจากต้องรอนแรมกลางทะเลเป็นเวลาหลายสิบวันแล้ว ที่สำคัญคือ ลายมือ และสำนวนของท่านฑูตฟูจิวาร่ายังไม่ถึงขั้นพอที่จะน่าเชื่อถือได้ เราต้อง เข้าใจก่อนว่าคนจีนในยุคนั้นเขาวัดระดับสติปัญญาของผู้คนจากลายมือ ( พู่กัน )และสำนวนภาษาที่ใช้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของที่ไม่อาจปิดบังกันได้

ภายใต้บรรยากาศแห่งความสิ้นหวัง ท่านฟูจิวาร่าก็ได้ทราบข่าวจากคนใน คณะว่า คูไคซึ่งเป็นพระหนุ่มนอกสายตาในทัศนะของท่าน ความจริงเป็น ผู้ที่มีความสามารถในการเขียนภาษาจีนมาก ท่านฟูจิวาร่าจึงต้องไปกราบ กรานอ้อนวอนขอให้คูไคเขียนจดหมายแทนท่านไปยังทางการท้องถิ่นของ จีนตั้งแต่บัดนั้นแหละที่เป็นเวลาที่คูไคปรากฏตัวบนเวทีแห่งประวัติศาสตร์ อย่างแท้จริง และเริ่มทอแสงส่องประกายแห่งความเป็นอัจฉริยะในตัวเขา ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนทั้งทางการญี่ปุ่นและทางการจีนจดหมายฉบับที่ คูไคเขียนแทนท่านฟูจิวาร่านั้น กล่าวกันว่า สวยงามากทั้งสำนวนภาษาและ ลายมือ จนทำให้ทางการท้องถิ่นจีนทึ่งและเชื่อว่า คณะนี้เป็นคณะฑูตจาก ญี่ปุ่นจริง

หลังจากนั้น คณะคูไคได้พำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 39 วันเพื่อรอคำตอบ จากเมืองหลวงที่เจ้าเมืองฮกเกี้ยนส่งคนไปรายงาน จึงได้คำตอบกลับมา ว่า ให้มณพลฮกเอี้ยงต้อนรับคณะฑูตนี้อย่างสมเกียรติ และคัดเลือกตัว แทนจากคณะฑูตญี่ปุ่นจำนวน 23 คน จากจำนวนทั้งหมด 100 กว่าคน พาไปยังเมืองหลวงฉางอาน โดยทางฝ่ายจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและความเป็นอยู่ในระหว่างนั้นทั้งหมด ระยะทาง จากฮกเอี้ยงไปฉางอานยาว 7,500 ลี้ คณะของคูไคได้ออกจากมณฑล ฮกเอี้ยงในวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 804 หรือ 4 เดือนให้หลังจากที่ได้ ออกเดินทางจากญี่ปุ่นในวันที่ 6 กรกฎาคม กล่าวกันว่าก่อนออกเดินทาง เจ้าเมืองฮกเกี้ยนชื่นชมในความสามารถของคูไคมากอยากจะรั้งตัวเขาให้ อยู่ช่วยงานที่นี่ จึงไม่ได้ใส่ชื่อของคูไคอยู่ในคณะที่จะเดินทางไปเมือง หลวงฉางอานด้วย ร้อนถึงคูไคทำให้เขาต้องเขียนจดหมายอีกฉบับหนึ่ง ชี้แจงจุดประสงค์การมาแสวงหาธรรมที่ประเทศจีนของเขาจึงได้รับอนุญาต ให้เดินทางไปฉางอานด้วยได้ในที่สุด

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 10:17:08 am »




ในส่วนของคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรส่วนที่เป็นภาษาจีนนั้น คูไคคง จะอ่านได้และทำความเข้าใจได้ไม่ยาก ถึงแม้ว่า ตรรกกะที่ใช้ในคัมภีร์ มหาไวโรจนะสูตรนี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าคัมภีร์ศาสนาพุทธทั่วไป ก็ตามจนยากที่คนธรรมดาจะทำความเข้าใจได้ แต่สำหรับตัวคูไคผู้ผ่าน การศึกษาคัมภีร์หัวเยนอย่างทะลุปรุโปร่งมาแล้ว เขาจึงไม่น่าประสบ ปัญหาในการศึกษาแต่ประการใด ยกเว้นในส่วนภาษาสันสกฤต และ เคล็ดลับวิธีการปฏิบัติที่จะเป็นจะต้องได้รับการถ่ายทอดจากปากโดย ตรงจาก ' ครู ' เท่านั้นเอง แต่ ' ครู ' ที่รู้วิชามิกเคียวอย่างแท้จริงก็ไม่มี อยู่เลยแม้แต่คนเดียวในญี่ปุ่นสมัยนั้น ถ้าอยากจะได้รับการถ่ายทอด เคล็ดลับวิธีการปฏิบัติจาก ' ครู ' จริง ๆ แล้ว ก็มีแต่จะต้องข้ามน้ำ ข้ามทะเลไปหา ' ครู ' ที่เมืองจีนเท่านั้น

ตรรกะของคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรนั้น แทบไม่แตกต่างไปจากตรรกะ ของคัมภีร์หัวเยนที่เพิ่งสรุปโดยย่อไปข้างต้น เพราะกล่าวถึงการดำรงอยู่ ' มหาไวโรจนะพระพุทธเจ้า ' ซึ่งเป็น ' ธรรมกาย ' และเป็น ' สัจธรรม ของจักรวาล ' จะมีที่พิเศษกว่าของคัมภีร์หัวเยนก็ตรงที่กล่าวถึง ความ เป็นไปได้ที่มนุษย์ซึ่งเป็นแค่เศษธุลีของจักรวาล จะสามารถฝึกฝนตนเอง ในชาตินี้ให้กลายเป็น ' พุทธะ ' ได้ คือสามารถสื่อสารกับเหล่าพระ พุทธเจ้ากับเหล่าพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็น ' นิรมาณกาย ' ของมหาไวโรจนะ และ ' ยืมพลัง ' ของท่านเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง

เมื่อคูไคได้อ่านคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรส่วนที่แปลเป็นภาษาจีน และ เข้าใจตรรกะของคัมภีร์เล่มนี้ดังข้างต้น เขาจึงตื่นเต้นดีใจจนเนื้อเต้น แล้วรู้สึกหดหู่ใจตามมา เพราะว่ายังมีบางส่วนในคัมภีร์เล่มนี้ซึ่งคูไค ยังไม่อาจเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งได้ ส่วนนั้นไม่ใช่ส่วนของตรรกกะ แต่เป็นส่วนของวิธีการฝึกเพื่อสื่อสารและ ' ยืมพลัง ' จากพุทธคุณ ของเหล่าพระโพธิสัตว์ ส่วนนี้เป็นเคล็ดลับ เป็นส่วนเร้นลับดุจ ลมหายใจของจักรวาลที่กล่าวถึงความจำเป็นของการท่องมนตรา ( ภาษาจักรวาล ) กับการทำมุทราเพื่อสื่อสารและยืมพลังของเหล่า พระโพธิสัตว์ แต่ก็เป็นส่วนที่บรรยายออกมาเป็นอักษรคำพูดได้ยาก มาก มิหนำซ้ำยังเขียนเป็นภาษาสันสกฤตเพิ่มเติมจากพระชาวอินเดีย อีก แต่ถึงกระนั้นคูไคพอจะมีพื้นความรู้สันสกฤตอยู่แล้วก็ตาม และต่อมาเมื่อไปที่เมืองจีน ยังได้ศึกษาภาษาสันสกฤตเพิ่มเติมจาก พระชาวอินเดียอีก แต่ถึงกระนั้นคูไคก็ยังไม่อาจทำความเข้าใจได้ อย่างสมบูรณ์

ด้วยเหตุนี้ คูไคจึงตัดสินใจที่จะไปเมืองจีน เพื่อ ' ต่อวิชา ' และเพื่อ ทำความเข้าใจในส่วนที่เขายังไม่กระจ่างแจ้งในคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตร จุดประสงค์ในการไปเมืองจีนของคูไคนั้นชัดเจนมาก เขาไม่ได้จะไปเรียน ต่อที่ ' เมืองนอก ' ( จีนในสมัยนั้นหรือสมัยราชวงศ์ถัง คือประเทศที่พัฒนา แล้วและเจริญที่สุดในโลกในสายตาของคนญี่ปุ่น ) เพื่อ ' ชุบตัว ' หรือ เพื่อ ' ไต่เต้าทางสังคม ' เหมือนกับเพื่อนร่วมชาติส่วนใหญ่ของเขาที่แห่ ไปเมืองจีนกัน และเขาก็ไม่ได้ต้องการไปเมืองจีนเพื่อ ' เปิดหูเปิดตา ' ชมเมืองฉางอานที่เป็นศูนย์กลางอารยธรรมจีนในขณะนั้น แต่เขาไปเพื่อ แสวงหาความจริงเกี่ยวกับคัมภีร์เร้นลับที่ชื่อคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตร ที่เขาได้พบที่วัดคุเมะเดร่า นับตั้งแต่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้สถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตกับราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถังของจีนและได้มีการ ส่งเรือบรรทุกคนและสิ่งของเพื่อไปแสดงความสวามิภักดิ์ต่อประเทศจีน เป็นระยะ ๆ อยู่เสมอแล้ว อาจกล่าวได้ว่าไม่มี ' นักเรียนนอกคนใหนเลย ที่มีจุดประสงค์ที่แจ่มชัดและแหลมคมเท่ากับของคูไคอีกแล้ว '

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 10:14:06 am »





ในบรรดาคัมภีร์ศาสนาพุทธจำนวนเป็นพัน ๆ เล่มทีคูไคได้อ่านในช่วงนั้น มีคัมภีร์อยู่เล่มหนึ่งที่เขาได้เจอและมีผลกระทบชีวิตของเขาอย่างรุนแรง จนถึงกับทำให้เขาตัดสินใจเสี่ยงชีวิตเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปประเทศจีน เพื่อหา ' คำตอบ ' ที่ยังคาใจเขาอยู่ให้ได้ คัมภีร์เล่มนั้นคือ ' คัมภีร์มหาไวโจนะสูตร ' คัมภีร์เล่มนี้มี 7 เล่ม 36 บท เป็นภาษาสันสกฤต พระชาวอินเดียรูปหนึ่งนำมาเผยแพร่ที่เมืองฉางอาน ประเทศจีน สมัยราชวงศ์ถัง และได้มีการแปลเป็นภาษาจีนออกาในราวปี ค.ศ. 730 แต่เนื่องจากความยากของเนื้อหาของคัมภีร์เล่มนี้ที่มีการแปลทับศัพท์ภาษาสันสกฤตอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่มีใครในญี่ปุ่นขณะนั้นสามารถตีความหรือทำความเข้าใจได้คัมภีร์เล่มนี้จึงถูกเก็บซุกไว้ในหอคัมภีร์ของวัดคุเมะเดร่าเป็นเวลาหลายสิบปี จนกระทั่งคูไคได้ไปพบคัมภีร์เล่มนี้เข้าในช่วงราว ๆ ปี ค.ศ. 800

ก่อนที่คูไคจะได้พบคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรเล่มนี้นั้น คูไคได้ศึกษา ศาสนาพุทธในญี่ปุ่นขณะนั้น ซึ่งมีอยู่ 6 สายอย่างทะลุปรุโปร่งหมดแล้ว ' ศาสนาพุทธ ' ในญี่ปุ่นขณะนั้น ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องตามสภาพความ เป็นจริง น่าจะเรียกว่าเป็น ' สำนักความคิด ' มากกว่า ในบรรดาสำนัก ความคิดศาสนาพุทธทั้งหกซึ่งนำเข้า ' นำเข้า ' มาจากอินเดียโดยผ่าน ประเทศจีนอีกต่อหนึ่ง คูไคชื่นชอบคัมภีร์หัวเยนมากที่สุด เพราะในช่วง อีกเนิ่นนานภายหลัง เมื่อคูไคทำการเปรียบเทียบจัดลำดับความสูงต่ำ ของสำนักความคิดทั้งหลายแล้ว คูไคถึงกับกล่าวออกมาอย่างชัดเจนว่า

" ในบรรดาสำนักความคิดทั้งหลายนั้นแม้ไม่มีสำนักความคิดไหนที่เทียบ กับสำนักมิกเคียวของเราได้เลยก็จริง จะมีก็แต่เฉพาะคัมภีร์หัวเยนเท่านั้น ที่มีความสมบูรณ์พร้อมในระดับที่ไกล้เคียงกับมิกเคียวมากเลย "

หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่งได้ว่า ก็เพราะคูไคได้ศึกษาคัมภีร์หัวเยนจนแตกฉาน แล้วมาก่อนนั่นเอง จึงทำให้ตัวเขามีพื้นฐานที่มั่นคงพอที่จะเรียนรู้สืบทอด วิชามิกเคียวที่เขาดั้นด้นไปร่ำเรียนที่ประเทศจีนได้ สารัตถะของคัมภีร์หัวเยน ที่ส่งผลกระทบกระเทือนอย่างลึกซึ้งต่อการก่อตัวของปรัชญาตะวันออกในจีน และญี่ปุ่นมีใจความโดยย่อดังต่อไปนี้ ...

แม้ในผลธุลีเพียงอันเดียว ก็ได้บรรจุจักรวาลทั้งหมดเอาไว้ ทั้งนี้เพราะ หนึ่งคือทั้งหมด และทั้งหมดก็คือหนึ่งเดียว เฉกเช่น ในความเคลื่อนไหว มีความสงบ และในท่ามกลางความสงบก็มีการเคลื่อนไหวอยู่ สรรพสิ่ง ทั้งหลายในโลกนี้แต่ละอย่างต่างหุ้มห่อสิ่งอื่นทั้งปวงเอาไว้ในตัวเองของ กันและกันทั้งสิ้น สรรพสิ่งทั้งปวงจึงมีความผูกพันกันและเป็นปัจจัย ให้แก่กันและกันอย่างไม่มีขอบเขตที่สุดในโลกที่เคลื่อนไหวหลอมรวม เป็นวัฏฏะนี้ มิหนำซ้ำ การดำรงอยู่และการเคลื่อนไหวของสรรพสิ่ง ทั้งปวงในมหาสากลจักรวาลต่างล้วนเป็นการแสดงออกของการรู้แจ้ง มหาไวโรจนะพระพุทธเจ้าทั้งสิ้นด้วย

.... จะเห็นได้ว่า จักรวาลทัศน์ที่คัมภีร์หัวเยนบรรยายนี้มีเนื้อหาสาระที่ใกล้เคียง กับจักรวาลทัศน์ของนิกายมิกเคียวมากเลย ขอเพียงแต่ผู้ปฏิบัติธรรมปฏิบัติ ตามคัมภีร์หัวเยนสามารถเปลี่ยนวิธีการฝึกแบบเผยแจ้งมาเป็นวิธีการฝึกแบบ เร้นลับที่เน้นด้านในที่เป็นความลี้ลับของจักรวาลได้เท่านั้น คัมภีร์หัวเยนนี้ ก็จะกลายเป็นคัมภีร์ปฏิบัติของนิกายมิกเคียวไปในทันที

เพราะฉะนั้น ในช่วงขณะที่คูไคหนุ่มยังรู้วิชามิกเคียวแบบงู ๆ ปลา ๆ ไม่เป็นระบบและกระจัดกระจายอยู่นั้น พอเขาได้ศึกษาคัมภีร์หัวเยน จนช่ำชองแล้วมาพบคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรเล่มนี้ได้มีการบันทึกวิธี การฝึกฝนในแนวมิกเคียวได้อย่างละเอียด จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าตัวเขา จะต้องตื่นเต้นดีใจจนเนื้อเต้นเป็นแน่ เป็นความโชคดีอย่างยิ่งสำหรับ ประเทศญี่ปุ่นที่ทำให้บุคคลที่ปราดเปรื่องและมีจิตใจมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า อย่างคูไคได้มาพบกับคัมภีร์ที่ไม่มีใครในยุคนั้นของญี่ปุ่นอ่านรู้เรื่อง อย่างแท้จริงเล่มนี้เพราะนั่นหมายถึงการปฏิวัติ ' กระบวนทัศน์ ' ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวงการศาสนาพุทธญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในประวัติ ศาสตร์นั่นเอง

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 10:08:15 am »




... เราใช้ชีวิตวัยหนุ่มตลอดช่วงอายุ 20 ปีกว่า จนกำลังจะย่างเข้าสู่ช่วง 30 ปีนี้ เพื่อการฝึกฝนตนและการปฏิบัติธรรมมาโดยตลอดโดยไม่ทราบ ว่าการฝึกฝนนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไร บางทีตัวเราอาจจะตายไปท่ามกลาง ป่าเขาในขณะที่กำลังฝึกฝนตนอยู่นี้ก็เป็นได้ ตัวเราเองไม่เคยมีปัญหา ทุกข์ใจในเรื่องส่วนตัวเลยแม้เพียงเรื่องเดียว แต่ที่เราต้องมาทุ่มเทชีวิต ในวัยหนุ่มทั้งหมดของเราให้กับการฝึกฝนปฏิบัติธรรมอย่างหนักหน่วง เช่นนี้ ก็เพราะตัวเรามุ่งหวังที่จะช่วยเหลือผู้คนทั้งหลายให้หลุดพ้นจาก ความทุกข์เท่านั้น ก็เพราะเราคิดที่จะยินดีแลกชีวิตของเราเพื่อช่วยชีวิต ของผู้คนทั้งปวงเท่านั้น ตัวเราคงเป็นคนโง่อย่างยิ่งแน่นอนถึงคิดเช่นนี้ กระทำเช่นนี้อันเป็นสิ่งที่ถูก ผู้คนจำนวนมากหัวเราะเยาะว่าเพี้ยน ว่า งี่เง่า ใช่แล้วละว่าตัวเราเกิดมาเป็น ' คนโง่ ' เช่นนี้เอง และตัวเราก็ไม่ อาจหยุดความคิดและการกระทำเช่นนี้ด้วย

เรานึกไม่ถึงเลยว่ายามค่ำคืนของภูเขาจะมืดขนาดนี้ ปีนี้ฝนตกถี่และ ยาวนานมาก การเดินธุดงค์ในยามที่ฝนตกจะทำให้ร่างกายใช้พลังงาน มากกว่าปกติ เพราะฉะนั้น พอเดินไปได้ไม่นาน เราก็รู้สึก 2 ขา ของเรานี้หนักราวกับถ่วงลูกตุ้ม และเริ่มรู้สึกเจ็บที่หัวเข่า ' นี่เราจะ บำเพ็ญตบะอันนี้สำเร็จมั้ยหนอ หรือว่าตัวเราจะต้องล้มตายในป่านี้ ? ' ความคิดอันนี้แวบผ่านสมองเราขณะที่ยังเดินต่อไปเรื่อย ๆ

เราจะต้องทรมาณตัวเองไปอีกนานแค่ไหนถึงจะพอ ? ฟ้าเอ๋ย พระพุทธ เจ้าข้า ตัวเราจะต้องอดทนต่อความยากลำบากแค่ไหนถึงจะเพียงพอต่อ การไถ่บาป ชดใช้ทดแทนความทุกข์ของผู้คนทั้งหลายได้ ? เราถามต่อฟ้า เราถามต่อพสุธา เราถามต่อต้นไม้ เราถามต่อแม่น้ำลำธาร เราถามต่อ ทุกสรรพสิ่งรอบ ๆ ตัวเรา ในท่ามกลางความมืดสนิทของราตรี

ภายหลังจากที่ธุดงค์ทุกคืน คืนละ 9 ชั่วโมง ฝ่าเท้าของเราก็เริ่มแตก ถลอก น้ำฝนที่ซึมผ่านถุงเท้าเข้ามากระทบกับฝ่าเท้าทำให้เรารู้สึกแสบ เจ็บทุกครั้งที่ก้าวเดิน อากาศหนาวเย็นมากจนเราต้องหายใจอย่างรุนแรง เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายอบอุ่น ไม่แข็งทื่อจนขยับไม่ได้

ในที่สุด ก็รุ่งเช้าแล้ว ฟ้าสางแล้ว เราเห็นพระอาทิตย์ยามเช้าที่กำลังลอย ขึ้นจากพสุธา พระอาทิตย์ยามนี้ช่างสวยเหลือเกิน ราวกับสรรพชีวิตทั้งปวง ล้วนตื่นจากความหลับใหลเพราะแสงอันอบอุ่นจากดวงอาทิตย์ดวงนี้ พระอาทิตย์คือตัวแทนของพลังชีวิตโดยแท้ ...

... คืนนี้ เราออกไปบำเพ็ญตบะ ด้วยการธุดงค์เหมือนเช่นเคย

เส้นทางยาวเหยียดสุดลูกหูลูกตาของภูเขา สายลมที่พัดกระโชกรุนแรง กระทบใบหน้าเรา บางครั้งเราเดินสะดุดหกล้มกลิ้งลงไปนหุบเขา ต้อง ปีนไต่กลับขึ้นมา ต่อให้เป็นคนโดดเดี่ยวอ้างว้างเพียงใดก็ตาม คนคน นั้นก็ย่อมต้องมีใครบางคนที่คอยห่วงวิตกกังวลความเป็นไปของเขา ใครกันหนอที่เป็นห่วงเป็นใยในตัวเรา เป็นตัวเธอใช่ใหมหนอ ? ดวงดาว บนท้องฟ้ายามราตรีอันมืดมิด แต่ไม่ว่าเรามองดูดวงดาวดวงใหน เรากลับ เห็นเป็นใบหน้าของเธอทั้งสิ้น ราตรีอันหนาวเหน็บกับผู้บำเพ็ญตบะ เดียวดายที่มีแสงดาวเป็นเพื่อน หยาดน้ำฝนที่โปรยลงมาจากท้องฟ้า หรือนั่นคือน้ำตาของเธอที่หลั่งให้แก่ตัวเรา ? เราแลเห็นดอกไม้ป่า ที่เบ่งบานบนภูเขา ดอกไม้ที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน ดอกไม้ที่เราไม่ ทราบชื่อเรียก โอ้ เจ้าดอกไม้ป่าที่มีชีวิตแสนสั้น เราเห็นใบหน้าของ เธอจากดอกไม้เหล่านี้ เราเห็นรอยยิ้มของเธอจากดอกไม้ที่เบ่งบาน อย่างสวยงามดอกนี้ เราเห็นความรัก ความอ่อนโยน ความเงียบสงัด ของเธอจากดอกไม้เหล่านี้ ...

" ท้องฟ้า คือ หลังคากระท่อมอันเป็นที่พักพิงของเรา "

เมฆขาวที่ลอยอยู่เหนือยอดเขาคือผ้าม่าน เราจึงไม่เคยกังวลในเรื่องที่พัก หลับนอน ยามฤดูร้อน เรายืดแขนเหยียดขาสูดรับอากาศบริสุทธิ์อย่าง ผ่อนคลายสบายตัวดุจราชาผู้หนึ่ง ยามฤดูหนาว เราขดตัวอยู่ข้างกองไฟ เฝ้ามองประกายไคลที่เต้นระบำเริงร่า ขอเพียงมีถั่วและผักขม เราก็สามารถ มีชีวิตอยู่ได้เป็นแรมเดือนโดยไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจ แม้สารรูปภายนอก เราจะเหมือนกระยาจกทที่เป็นที่หัวเราะเยอะของผู้คนที่ได้พบเห็น แต่ เจตจำนงอันมุ่งมั้นของเราก็ไม่มีใครมาโยกคลอนได้ เราท่องธุดงค์ไปตาม ที่ต่าง ๆ อย่างเดียวดาย โดยตัดขาดจากญาติพี่น้องอย่างสิ้นเชิง เราพเจร ไปทั่วประเทศ ดุจจอกแหนที่ล่องลอยไปตามสายน้ำ หรือหญ้าแห้งที่ ถูกลมพัด "

นี่คือข้อความตอนหนึ่งในข้อเขียนของคูไคเรื่อง Indications of The Goals of The Tree Teachings อันลือชื่อของเขา ซึ่งสะท้อนให้เห็น ถึงอารมณ์ความรู้สึกในขณะนั้นของตัวเขาได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตามในช่วง 7 ปีนั้น เขามิได้เก็บตัวบำเพ็ญตบะอยู่ตลอดเวลา ภายหลังจากการสิ้นสุดการฝึกตบะ ในแต่ละช่วงของแต่ละปี คูไคจะ กลับคืนสู่สังคมโลก และหมกตัวให้กับการศึกษาคัมภีร์ต่าง ๆ ของ ศาสนาพุทธที่เมืองนารา ( เมืองหลวงเก่า ) เป็นส่วนใหญ่ เพราะใน สมัยนั้น นาราจะเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ศาสนาพุทธในญี่ปุ่น และเป็นที่เก็บสะสมคัมภีร์ต่าง ๆ ของศาสนาพุทธใหญ่ที่สุดของประเทศ การเก็บตัวบำเพ็ญตบะ สลับกับการกลับคืนสู่สังคมโลกเป็นระยะ ๆ คือลีลาชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ของคูไค ตั้งแต่วัยหนุ่ม และดำรงสืบต่อ เช่นนั้นไปจนถึงช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตเขาเลยทีเดียว