ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 12:21:48 am »

:13: อนุโมทนาครับ
ขอบคุณครับพี่มด^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 03:26:29 pm »

คำสอนของท่านเต้าฉีคงจะประทับใจ จ่าง แซ่ตั้ง มาก
โดยเฉพาะบทที่ว่าให้ "เหนืออามิส"
จ่างไม่เคยขายรูปเขียนเลยแม้แต่รูปเดียว
รูปของเขา ชีวิตและจิตวิญญาณของเขา อยู่ "เหนืออามิส"


ไม่สามารถตีคุณค่าเป็นราคาได้


ช่างน่านับถือจริงๆ


ขอใช้คำของจ่างเองว่า


จ่าง แซ่ตั้ง นั้น ภูมิสูง บริสุทธิ์






.........................................................



สำหรับดนตรีคราวนี้ ขอชวนมาฟัง "ขลุ่ย" ครับ
เป็นขลุ่ยที่เป่าขวาง เรียกว่า "ติ๊จื่อ" ชื่อเพลง มหาทะเลทราย ( 大 漠)
เดี่ยวขลุ่ยโดย หม่าตี๋ (馬 迪) เพลงออกสำเนียงทางแขกๆแถวทางสายไหม
ไพเราะมากครับ



Chinese bamboo flute music:大漠Great Desert / 演奏:馬迪


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dingtech&month=03-2010&date=09&group=2&gblog=15
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 03:24:48 pm »




ด้วยความระลึกถึงท่านซินแส จ่าง แซ่ตั้ง


"จิตรกร กวี พ่อค้าขายเก๊กฮวย ผู้ทรนง"







ย้อนหลังไปเมื่อตอนผมเข้ามหาวิทยาลัยใหม่
ผมตื่นเต้นมากกับอิสรภาพของการเรียนรู้


จากชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ระเบียบวินัยเคร่งครัดเปรี๊ยะ
แม้ยามพักเที่ยง นักเรียนชาย-หญิงต้องแยกกันอยู่
แตะต้องตัวกันนิดเดียว อาจารย์จะบ่นว่า "น่าเกลียด"
เอาเถอะ...นั่นมันเมื่อนานเนกาเลมาแล้ว


ผมบอกกับตัวเองว่า พอกันที เรียนเอาติดบอร์ด
โลกข้างนอกยังมีอะไรให้เรียนรู้อีกมหาศาล
ถึงเวลาต้องเรียนมหาวิทยาลัยชีวิตแล้ว




และจวบจนบัดนี้



ผมว่า...ผมคิดไม่ผิด








ขอเล่าข้ามๆมา
จากความสนใจในศิลปะเป็นทุนเดิม
เคยได้ยินถึงอาจารย์ศิลป์ พีระศรี
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
น. ณ ปากน้ำ ฯลฯ ฯลฯ





จนวันหนึ่ง มีข่าวว่า จ่าง แซ่ตั้ง จัดนิทรรศการ

แสดง ภาพเขียน หนังสือ บทกวี



ที่บ้านไม้หลังย่อมของเขาที่ฝั่งธนบุรี
เดินเข้าซอยไปลึกพอดู มีสะพานไม้พาดๆข้ามน้ำครำ


และที่นั่น มีกองหนังสือ(จีน)ส่วนมาก วางสุมๆกองเบ้อเร่อเทิ่ม
รูปที่วาดด้วยฝีแปรงขนาดใหญ่ ป้ายๆเปรอะเต็มไปด้วยสีดำ-ขาว
วางบนพื้นบ้าง แขวนที่เสาบ้าง ฝาผนังบ้าง



ชอบมั้ย? รู้เรื่องมั้ย? เข้าใจมั้ย?



ตอบว่า "ไม่" ครับ






แต่หลังจากนั้นมาผมก็ติดตามงานของจ่าง แซ่ตั้ง มาตลอด
แทบจะอ่านหนังสือทุกเล่มที่เขาเขียน




และเล่มหนึ่งที่เขาเขียนคือ


"อภิปรัชญาศิลปของท่านเต้าฉี"

เป็นเล่มหนึ่งที่ผมอ่านด้วยความตื่นเต้น
ตื่นตาตื่นใจในข้อเขียนของคนสมัยปลายราชวงศ์หมิง-ต้นราชวงศ์ชิง
ยังทันสมัย คมเฉียบ ชัดแจ้ง






ครับผม........ผมจะพาท่านมารู้จักกับท่านเต้าฉี (道 济)


ซึ่งผมเคยกล่าวถึงบ้างแล้วเล็กน้อยในบล๊อก ปาต้าซานเหริน

ผู้เป็นสหายร่วมชะตากรรม ร่วมนฤมิตกรรม

ที่ผลงานของท่านยังเป็นอมตะ พิพิธภัณฑ์ทั้งหลายต่างเสาะแสวงหา

ผลงานของท่านไปสะสม แสดง เพราะทรงคุณค่าและมีเอกลักษณ์ยิ่ง






รูปที่ 1 ภาพคนปลูกต้นสน (ภาพเหมือนตนเอง) โดยเต้าฉี






เต้าฉี (道 济) มีนามปากกาว่า สือเทา (石 涛),
ต้าตี๋จื่อ (大 涤 子), ชิงเซียงเหล่าเหริน (清 湘 老 人),
ขู่กวาเหอส้าง (苦 瓜 和 尚), หยวนฉี (元 济, 原 济)



เป็นเชื้อสายเจ้าชั้นสูงแห่งราชวงศ์หมิง อายุอ่อนกว่าปาต้าซานเหรินราว 15 ปี
เกิดที่ฉวนโจว มณฑลกว่างซี ราวช่วงปี 1638-1641
ตายที่หยางโจว มณฑลเจียงซู ก่อนปี 1720

ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ท่องเที่ยวพเนจรไปตามที่ต่างๆ
พำนักในหลายๆแห่ง เช่น
หลูซาน ในมณฑลเจียงซี พักอยู่ไปๆมาๆรวม 20 ปี
ซวนเฉิง ในมณฑลอานฮุย ราว 10 ปี
หนานจิง(นานกิง) ราว 7 ปี
หยางโจว ราว 3 ปี
เป่ย์จิง(ปักกิ่ง) ราวเกือบ 3 ปี
และท้ายสุดพำนักที่หยางโจว(อีกครั้ง) 25 ปี

เหตุการณ์ที่สำคัญยิ่งในชีวิตคือ
ตอนที่เป็นสหายร่วมเดินทางกับท่าน เหมยชิง (1623-1697)
จาก ซวนเฉิงไปสู่ภูเขาหวงซาน ในมณฑลอานฮุย ในปี 1670
เต้าฉียังหนุ่มแน่นวัย 30 กว่าปี

ผลงานของท่านเต้าฉี แม้จักรพรรดิ์(แมนจู) เฉียนหลง ก็ยังชื่นชอบนับถือ


เป็นงานที่เข้าถึงจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติ สูงส่ง
มีความริเริ่มเหนือธรรมดา สังเกตเห็นสิ่งใหม่ๆเสมอ
มีพลังที่สร้างสรรค์ขุนเขา ธารน้ำ




ท่านเคยกล่าวว่า (สำนวน จ่าง แปล)



"ฟ้ามีอำนาจ สามารถเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ

ขุนเขาให้เกิดชีวิตชีวา

พื้นดินคือดุลย์แห่งสายเลือดชีวิตของขุนเขา

ฉันมี "หนึ่งขีด" สามารถบรรจุรูปร่างแห่ง "ทิพย์" ของขุนเขาธรรมชาติ"





ท่านเต้าฉีได้เขียนบทความเกี่ยวกับปรัชญาศิลปะคือ



ฮว่า อวี่ ลู่ (畫 語 錄) ที่กล่าวถึง "หนึ่งขีด" (一 畫)




ในบทความนี้จะตอกย้ำถึงความริเริ่มสร้างสรรค์
ความเป็นตัวตนของตนเอง
ความเป็นอิสระ ปราศจากการ "ครอบงำ" ของครูบาอาจารย์
บันทึกว่า เขียนขึ้นในปี 1703




"หนวด คิ้วของคนโบราณ

จะมีเกิดอยู่บนใบหน้าของคนปัจจุบันได้อย่างไร

ท้องไส้ของคนโบราณจะมายัดอยู่ในท้องของตัวของตนได้อย่างไร?

ฉะนั้นตนต้องขยายความรู้สึก

ความรู้

รูปปัญญา

ของตนเพื่อหน้าตาของตน

แม้มีบังเอิญไปเหมือนลัทธิอื่นๆบ้าง

ก็อื่นๆนั่นแหละอาศัยตน

หาใช่ตนเพื่อลัทธิอื่นๆ?

นี่แหละธรรมชาติโลกสอนแก่ตน

ฉะนั้นใครเล่าจะมาเป็น 'ตน' ได้"






จ่าง แซ่ตั้ง เขียนถึงประวัติท่านว่า(สะกดตามต้นฉบับเดิม)



"เต้าฉี" หรืออีก "เซียจุงเจีย"
ที่เกิด"ก่วงไซง่อโจว" เป็นลูกหลานของ "กษัตริย์จิงพวง"

มีนิสัย รักสันโดษ อยู่อย่างง่ายง่ายสบายสบาย
มีชีวิตอยู่อย่างไม่ยอมก้มหัวให้ผู้กับผู้ไม่รู้
มองเหนือทุกสิ่ง มีภูมิสูง เก่งทั้งวรรณคดี ศิลปอักษรจีน
ศิลปกรรมภาพเขียน กวี

ชาวโลก ได้ผลงานของท่าน รักษายิ่งกว่าเพ็ชรนิลจินดา
หวงแหนไม่ยินยอมให้ผู้อื่นพบเห็นอย่างง่ายนัก

ชีวิตของท่านตอนเยาว์วัยจนเป็นหนุ่มทนง ไม่ยอมใครอย่างง่ายๆ
ผู้รู้จึงรักและเคารพ
ผู้ไม่รู้ทั้งเกลียดทั้งชังยิ่งนัก

แม้นมีผู้คนนินทาท่านอย่างไร ท่านก็ไม่รับฟัง ไม่รับรู้

ราชวงศ์ "หมิง" ล่ม ท่านก็เข้าบวชเป็นเณร มีนามว่า "หยวนฉี"
และมีฉายาอื่นๆอีก เช่น "สือโฉว" ขู่กวอเหอส้าง
อีก "เซียจุงเจี่ย" หรือ "เถรบอด"

มีผู้ถามว่า "อาจารย์นัยน์ตาทั้งสองนั้นแจ่มแจ๋วสดใสยิ่งนัก
ทำไมจึงเรียกตนว่า "บอด" ?

ท่านตอบว่า "นัยน์ตาของฉันมันประหลาดเมื่อพบ "อามิส" ก็บอด
ไม่เรียกว่า "บอด" แล้วเรียกว่าอะไร ?

ท่านชอบเที่ยวตามธรรมชาติขุนเขา ทั่วประเทศจีน
ชอบดื่มเหล้ากับเพื่อนฝูงในยามราตรี แล้วก็แต่งกลอนกวี

"ระลึกถึงก่อนพบกันที่ "หวงเปีย"

เคยร่วมวงสังสรรค์กัน แต่ปัจจุบันหัวขาวโพลนเป็นตาเฒ่า

อยู่โดดเดี่ยวไม่มีผู้อื่น อีกเย็นหนาวดั่งเหล็กจูงมือมา

ร่วมหัวเราะในดงเบ็ญจมาศแล้วชมศิลปกรรม

คงคาว่าง แสงไฟสว่างดังกลางวัน กลิ่นเหล้าทลวงทั้งเวียงวัง

เจ้าภาพนั้นคือผู้รู้ที่มีประสบการณ์มามาก

ยามเมาก็เห็นความผุดผ่องบริสุทธิ์

แขกนั้นสัมพันธ์ร่วมสังสรรค์ ทนงองอาจมีชีวิตชีวา

ด้วยพู่กันหัวทู่ ยิ้มกับท่านสุภาพบุรุษ ขึ้นร่ายรำร้องเสียงดัง

"ร้องถึงนภากว้างใหญ่ กลมๆแจ่มจันทร์นั้นเล็กเหลือ"

อีก แต่งกลอนบทกวีบนภาพศิลปกรรมของท่าน


ศิลปหาใช่ศาสตร์เล็กๆ
คนนั้นรู้แต่ว่าเหมือนหรือไม่เหมือนรูปร่างเท่านั้น
เมื่อสร้างสรรค์โลกก็เกิดสู่ผิดทาง แสงสว่างก็ดับ
เหตุสิ้นหลักสุด
หลักสิ้นเหตุเกิด
หลัก ไม่มีเผยแพร่
คนโบราณเผยแพร่เพราะจำเป็น
ฉันเขียนกระดาษนี้ จิตได้มุ่งสู่ "คงคาฤดูใบไม้ผลิ"
ดอกคลื่นเบิกบานตามฉัน
คลื่นคงคาเกิดตามฉัน
พร้อมกับผลงานนั่งบนหอนี้ใกล้คงคา
ร้องเรียกสุภาพบุรุษแห่งความงาม
เมื่อยิ้มน้ำเมฆที่ลงต่ำสร้างสรรค์สภาวะแห่ง "ทิพย์"
ช่างเป็นผลงานงดงาม ภูมิสูง ฯลฯ
"เซียจุงเจีย" ภูมิสูง บริสุทธิ์.....


(จ่าง แปลเมื่อปี พ.ศ. 2511)




ในจำนวน 18 บท ประกอบด้วย

บทที่ 1 หมวด "หนึ่งขีด"
บทที่ 2 หมวด "หลักแจ้ง"
บทที่ 3 หมวด "บันดาลเปลี่ยนแปลง"
บทที่ 4 หมวด "รับ" สูงส่ง
บทที่ 5 หมวด "พู่กันและหมึก"
บทที่ 6 หมวด "ข้อมือ"
บทที่ 7 หมวด "ชีวิตใหม่"
บทที่ 8 หมวด "ธรรมชาติ"
บทที่ 9 หมวด "ผิวพรรณ"
บทที่ 10 หมวด "พื้นพิภพ"
บทที่ 11 หมวด "ทางเดิน"
บทที่ 12 หมวด "ดงไม้"
บทที่ 13 หมวด "คลื่นทะเล"
บทที่ 14 หมวด "ฤดูกาล"
บทที่ 15 หมวด "เหนืออามิส"
บทที่ 16 หมวด "เหนือสามัญ"
บทที่ 17 หมวด "อักษรเจียน"
บทที่ 18 หมวด "หน้าที่"
บทที่สุดท้าย






เชิญชมรูปเขียนของท่านเต้าฉี หรือ สือเทา ครับ

เอามาให้ดู 50กว่าภาพ ดูกันให้เต็มอิ่มเลยครับ









รูปที่ 2 ไผ่ หิน




รูปที่ 3 เที่ยวไปที่หัวหยางซาน




รูปที่ 4 อัลบัม แปดวิวของซีหนาน -1




รูปที่ 5 อัลบัม แปดวิวของซีหนาน -2




รูปที่ 6 พระโพธิสัตว์กวนอิม




รูปที่ 7 ทิวทัศน์ฤดูศารท




รูปที่ 8 ไผ่ หิน บ๊วย




รูปที่ 9 ศึกษาภาพภูเขาจากหน้าต่าง




รูปที่ 10 ชมดอกบ๊วย




รูปที่ 11 เสียงฤดูศารท(เป็นชื่อบทกวีฟู่ 秋声赋)





รูปที่ 12 ชมศิลป์ที่สวนปัจจิม-1




รูปที่ 13 ชมศิลป์ที่สวนปัจจิม-2




รูปที่ 14 ชมศิลป์ที่สวนปัจจิม-3




รูปที่ 15 ชมศิลป์ที่สวนปัจจิม-รายละเอียด




รูปที่ 16 อัลบัม ภาพและอักษร -1




รูปที่ 17 อัลบัม ภาพและอักษร -2




รูปที่ 18 อัลบัม ภาพและอักษร -3




รูปที่ 19 อัลบัม ภาพและอักษร -4




รูปที่ 20 อัลบัม ภาพและอักษร -5




รูปที่ 21 อัลบัม ภาพและอักษร -6




รูปที่ 22 จุงขุย (ผู้ปราบภูตผีปีศาจ)




รูปที่ 23 ดอกท้อ




รูปที่ 24 กล้วย เบญจมาศ ไผ่ หิน




รูปที่ 25 ฝนปรอยที่เนินสน




รูปที่ 26 เมฆลอยสู่เจียงหนาน




รูปที่ 27 ขับลำนำยามเมา




รูปที่ 28 ไผ่ บ๊วย




รูปที่ 29 เห็ดหลิงจือ




รูปที่ 30 ต้นสน




รูปที่ 31 อัลบัม ดอกไม้พืชผัก-1 บ๊วย




รูปที่ 32 อัลบัม ดอกไม้พืชผัก-2 สุ่ยเซียน




รูปที่ 33 อัลบัม ดอกไม้พืชผัก-3 กล้วย




รูปที่ 34 อัลบัม ดอกไม้พืชผัก-4 ดอกสาลี่




รูปที่ 35 อัลบัม ดอกไม้พืชผัก-5 ดอกไฮเดรนเจีย




รูปที่ 36 อัลบัม ดอกไม้พืชผัก-6 ดอกแม็กโนเลีย




รูปที่ 37 อัลบัม ผักผลไม้-1 ถั่วลันเตา




รูปที่ 38 อัลบัม ผักผลไม้-2 มะเขือเทศ




รูปที่ 39 อัลบัม ผักผลไม้-3 ทับทิม




รูปที่ 40 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-1 ชาวประมง




รูปที่ 41 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-2 เด็กเลี้ยงควาย




รูปที่ 42 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-3 เบญจมาศ ไผ่ หิน




รูปที่ 43 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-4 กล้วยไม้ดิน




รูปที่ 44 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-5 ทิวทัศน์




รูปที่ 45 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-7 ทิวทัศน์




รูปที่ 46 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-8 ฝูงห่าน หลิว




รูปที่ 47 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-9 ทิวทัศน์




รูปที่ 48 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-10 ทิวทัศน์




รูปที่ 49 สระบัว ต้นกก หลิว




รูปที่ 50 ทิวทัศน์ประกอบบทกวี- 1




รูปที่ 51 ทิวทัศน์ประกอบบทกวี- 2




รูปที่ 52 ดอกบัว (Mr. and Mrs. R.W. Finlayson collection, Toronto)