ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 12:24:37 am »

:13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 04:02:36 pm »

ก่อนจบฟังเพลงเพราะๆสักเพลง มีบรรยากาศของจีนที่รับเอา
วัฒนธรรมตะวันตกทางดนตรีและบัลเล่ต์มาแสดง เป็นการปรับ
จิตสำนึกของประชาชนให้เข้ากับระบอบการเมืองการปกครอง
แบบฝรั่ง ปลุกใจและเร้าใจทีเดียวครับ

การแสดงบัลเล่ต์ประกอบเพลง Yellow River Concerto กระบวนที่ 4



Chinese Dance - Yellow River Piano Concerto (Mvmt 4)



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dingtech&month=09-2010&date=04&group=2&gblog=28
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 04:01:16 pm »



จะไม่พูดมากกว่านี้แล้ว ดูชมภาพเลย
คงจะทำให้ทราบซึ้งกว่าที่ผมว่ามาข้างต้นครับ





ชุดแรกของ จวีเฉา (居巢) 3 ภาพ


1


ลั่วหยางฮวา


2


ปลาตระกูล catfish


3


นกกระยางคู่


....................................................


ชุดที่ 2 ของ จวีเหลียน (居廉) 2 ภาพ



4


ใบบัวห่อดอกไม้


5


ดอกโบตั๋นกับแอสเตอร์


....................................


ชุดที่ 3 ของ เจ้าจือเชียน (赵之谦) 2 ภาพ



6


ดอก...(ไม่รู้จักชื่อ)


7


ดอกโบตั๋นกับกุหลาบ


.......................................



ชุดที่ 4 ของ เกาเจี้ยนฝู้ (高劍父) 4 ภาพ



8


เหยี่ยวจ้อง


9


เสือคำรามใต้ดวงจันทร์


10


ฟักทอง


11


บัวขาว



...............................................


ชุดที่ 5 ของ เกาฉีฟง (高奇峰) 6 ภาพ


12


ฝนคราวสันต์ ต้นหลิวริมบึง


13


นกอินทรี


14


วานรชมจันทร์


15


ม้าขาวกับแรกหิมะ


16


ภาพทิวทัศน์


17


พระโพธิธรรม(ตั๊กม้อ) เพ่งกำแพง


................................................



ดูว่าบล๊อกจะยาวเกินไปแล้ว

ขอต่อคราวหน้านะครับ

จะเป็นภาพเขียนของ เฉินซู่เหริน กับ เจ้าเส้าอ๋าง

รับรองสวยสะเด็ดยาดแน่นอน.....
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 03:59:42 pm »

หลิ่งหนานฮว่าพ่าย (嶺南畫派) : สกุลช่างศิลปะจีนยุค "เปลี่ยนแปลง"










"Change"..........

คำที่เป็นพระเอกมานานพอควร
พอๆกับคำว่า Globalization (โลกาภิวัตร)
ในวงการไหนๆก็เหมือนกัน เขาว่ากันว่าอะไรๆมันไปรวดเร็ว
คนอยู่กับที่คือคนที่ถอยหลัง ตามไม่ทันเพื่อน
น้ำที่มันขังนิ่ง...ไม่ช้าก็จะเน่า...
ศิลปะจีน โดยเฉพาะด้านจิตรกรรม ทำกันมาตามประเพณี
ย่ำอยู่กับที่หลายร้อยปีดีดัก.........คนวาดก็เบื่อ คนดูก็เซ็ง

ลัทธิขงจื่อทำให้เกิดศรัทธาแห่งการเคารพบรรพชน
เคารพสิ่งที่บรรพชนสร้าง...........จึงหาคนกล้า "นอกครู" ยาก

แต่กรุงจีนรึจะสิ้นคนกล้า............ แหะ แหะ...ตามผมมาคร้าบ





............................................................



ลุ ค.ศ.1757 รัฐบาลราชวงศ์ชิงเปิดการค้าทางทะเลกับนานาชาติ
(ตรงกับสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระเจ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต)
ฝรั่งมังค่าเริ่มหาตลาดระบายสินค้ามาแถบเอเซียกันยกใหญ่
เมืองกว่างโจว ในมณฑลกวางตุ้งเป็นเพียงแห่งเดียวที่กฎหมายจีน
อนุญาตให้เป็นเมืองท่าขนถ่ายสินค้าสู่จีน นาน 86 ปี...ตราบถึงปี ค.ศ.1843
(ตรงกับไทยสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)


ด้านอุษาคเณย์ของจีนนี่แหละ รวมถึงมณฑลกวางตุ้งยุคใหม่
เรียกขานกันแบบลำลองว่า "หลิ่งหนาน" (嶺南) แปลตามศัพท์ว่า "เทือกเขาทางใต้"
บรรดาปราชญ์ทางการเมืองที่สำคัญหลายคนได้อุบัติขึ้นในแถบนี้
เช่น คังโหย่วเหวย (康有為 1858-1927) และเหลียงฉี่เชา (梁啟超 1873-1929)
ซึ่งเป็นพวกหัวก้าวหน้าต้องการสร้างระบอบรัฐธรรมนูญแทนระบอบจักรพรรดิ์ดั้งเดิม
และ ดร. ซุนยัตเซ็น (孫中山,孫逸仙 1866-1925) ผู้สถาปนาสาธารณรัฐจีนในปี ค.ศ.1911


วิวัฒนาการของจิตรกรรมจีนแบบชาวกวางตุ้งเริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19
แต่ยังไม่แพร่หลาย
มาเป็นที่ยอมรับกันในระดับชาติเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 นี่เอง




..........................................




สองพี่น้องสกุลเกา....ผู้นำของ "สกุลช่างศิลปะหลิ่งหนาน"



เกาเจี้ยนฝู้ (高劍父 1879-1951) ได้เข้าสังกัดสมาคมถงเหมิงฮุ่ย (同盟會) ซึ่งก่อตั้งโดย
ซุนยัตเซ็นเมื่อปี ค.ศ.1905 เป้าหมายคือปฏิวัติล้มล้างระบอบจักรพรรดิ์


หลังปี ค.ศ.1911 เกาเจี้ยนฝู้ได้อุทิศตนเพื่อการ "เปลี่ยนแปลง"
โดยผ่านการวาดภาพ การเผยแพร่ผลงาน-เขียนบทความ การสอนลูกศิษย์
เขาสนับสนุนส่งเสริมพัฒนา "ภาพเขียนแบบจีนใหม่" ซึ่งเขากับสานุศิษย์
และน้องชายคือ



เกาฉีฟง (高奇峰 1889-1933)
ได้พยายามรวมเอาสไตล์การวาดแบบดั้งเดิมให้
เข้ากับองค์ประกอบแบบเรียลิสติคของตะวันตก ผสมผสานกับแบบญี่ปุ่นยุคใหม่(เมจิ)
จึงได้ศิลปะแนวใหม่ที่เข้าถึงประชาชนจีนในระบอบสาธารณรัฐจีนใหม่
ได้มากกว่าการวาดภาพแบบปัญญาชนยุคเก่าในอดีต

ทั้งคู่ได้พัฒนาการใช้สีและฝีแปรงอันรุนแรงที่ผลลัพธ์ออกมาเป็นเอกลักษณ์
ส่งอิทธิพลมากมายในหมู่จิตรกรทางภาคใต้


ยังมีจิตรกรอีกท่านหนึ่งที่จัดว่าเป็นผู้ร่วมบุกเบิกคือ


เฉินซู่เหริน (陳樹人 1884-1948)


ทั้ง 3 ท่านได้รับเกียรติเรียกว่า สามจิตรกรหลิ่งหนานผู้ยิ่งใหญ่
("สองเกา หนึ่งเฉิน") 三大家 ("二高一陈")
ทั้งสามท่านมีครูร่วมกัน ครูทั้งสองพี่น้องแห่งสกุล "จวี" นับเป็นผู้จุดประกาย
ของสกุลช่างศิลปะหลิ่งหนานทีเดียว ขอเอ่ยนามเพื่อให้เกียรติแก่
จวีเฉา (居巢 1811-1889) กับ



จวีเหลียน (居廉 1828-1904)


จิตรกรอีกท่านหนึ่งที่โดดเด่นของสำนักนี้คือ



เจ้าเส้าอ๋าง (趙少昂 1905-1998) ผู้ร่วมสมัยและฝีมือฉมังนัก



............................................................




มีคำกล่าวจาก หวงพินหง (黃賓虹 1865-1955)
จิตรกรร่วมสมัยท่านหนึ่งว่า


" สมัยถัง...เป็นดังส่าหมัก(เหล้า)
สมัยซ่ง...เป็นดังสุรา
สมัยหยวน...ลุมาตกต่ำ
เป็นดังสุราผสมเจือด้วยน้ำ
ยิ่งสมัยนี้ล่วงมา...
น้ำยิ่งผสมมากขึ้น
ในสมัยปัจจุบันนี้...รูปเขียน
มีแต่น้ำ แต่ไร้สุรา
ผู้เสพแล้วไม่อาจเมามาย
ดูไปแล้วช่างดูดาดไร้รสชาติยิ่งนัก "



จิตรกรผู้นำในสกุลช่างศิลปะหลิ่งหนาน เสนอให้ก้าวกระโดดเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
โดยขอเอา "ธรรมชาติเป็นครู"....มุ่งพินิจพิจารณาวาดแบบ "เขียนจากของจริง"

คำสอนมีว่า


"折衷中外 ...."เจ๋อจงจงเว่ย์
融合古今" .... หรงเหอกู่จิน"

("พินิจพิเคราะห์ใคร่ครวญถึงจีนและต่างชาติ
ผสมผสานเอาอดีตให้เข้ากับปัจจุบัน")


คตินิยมของสกุลช่างศิลปะหลิ่งหนานมีความคล้ายคลึงกับทาง
ลัทธิ "อิมเพรสชั่นนิสม์" คือ
จับเอาวิญญาณของธรรมชาติมาทั้งรูปทรงและสีสัน
สะท้อนเอามาจากของจริง คือเคารพในนฤมิตกรรมของธรรมชาติ
สิ่งที่เห็นกับสิ่งที่วาดลงไปไม่มีความแตกต่างถึงขั้นขัดแย้งกัน
รสชาติที่ได้รับถีงจะไม่เหมือนธรรมชาติ
แต่ก็มีสิ่งสะท้อนจากวิญญาณแท้จริงของธรรมชาติ

แบบอย่างที่มาคือจากญี่ปุ่นและจากทางฝรั่งตะวันตกผสมผสานกัน
ในสำนักอิมเพรสชั่นนิสม์ ก็ได้รับอิทธิพลการลงสีจากภาพพิมพ์ไม้ของญี่ปุ่น
ส่วนญี่ปุ่นเองก็ได้รับอิทธิพลจากจีนหลายครั้งหลายครา
จึงอาจกล่าวได้ว่า....

สกุลช่างศิลปะหลิ่งหนานเป็นการรับเอาวัฒนธรรมญี่ปุ่นยุคเมจิและตะวันตก
หวนกลับมาสู่จีนอีกครั้งหนึ่ง ดังมีคำกล่าวว่า


"外師造化 ...."เว่ย์ซือเซ่าฮว่า
中得心源" .... จงเต๋อซินหยวน"

(ศึกษาอารยธรรมจากเบื้องนอก-ต่างชาติ
ธำรงแก่นจิตใจดั้งเดิมของภายใน-จีน)





จขบ.ขอสรุปรวบยอดง่ายๆว่า....
แบบอย่างของจีน......เน้นหนักโดดเด่นที่เส้นฝีพู่กัน
เส้นจะไม่ใช้เป็นเส้นร่างรูป แต่จะจุ่มสีแล้วแต้มป้ายปาดไปเลย
วิธีแบบนี้เรียกว่าวาดแบบ "ไม่มีกระดูก" (沒骨)
แบบอย่างตะวันตกและญี่ปุ่นยุคเมจิ...เน้นที่สีสันแสงเงากับเพอสเพ็คทีฟ