ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 12:24:58 am »

:13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 04:06:49 pm »

ก่อนจบขอเชิญฟังเพลงเพราะๆตามเคย

คราวนี้ขอนำเอา ไวโอลินคอนแชร์โต้ บรรเลงเพลง
ตำนานแห่งผีเสื้อ "เหลียงซานพอ กับ จุ๊อิงไถ"
กระบวนแรกที่แสนหวานชื่นสลับร่าเริงในรักแรกเริ่ม
ฝีมือเดี่ยวไวโอลินโดย หลี่ว์ซือฉิง (ชนะเลิศรางวัลปากานีนี่ 1987)


Butterfly Lovers Violin Concerto 1st 梁祝小提琴協奏曲:第一樂章



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dingtech&month=09-2010&date=13&group=2&gblog=29
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 04:05:28 pm »



หลิ่งหนานฮว่าพ่าย (嶺南畫派) ภาค 2 : ชมผลงานชิ้นเยี่ยม (ต่อ)





คงได้ชื่นชมกับผลงานของจิตรกรสำนักหลิ่งหนานกันพอควรแล้ว

(ท่านที่เพิ่งเข้ามาโปรดอ่านเอนทรี่นี้ก่อน ตามลิงก์ข้างล่างครับ)
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dingtech&month=09-2010&date=04&group=2&gblog=28


แต่ยังมีอีกสัก 2 ท่าน ที่ผมอยากให้ชมรูปเขียนสวยๆชิ้นเยี่ยม

สองท่านนี้คือ



เฉินซู่เหริน (陳樹人)
ผู้เป็นหนึ่งในจิตรกรผู้บุกเบิก เกิดในรัชสมัยจักรพรรดิ์กว่างซวี่ปีที่ 9
เขาเป็นชาวกว่างตงและเป็นศิษย์ของจวีเฉาและจวีเหลียน
ได้ไปศึกษาต่อที่ญี่ปุ่นเช่นเดียวกับสองพี่น้องสกุลเกา
มีชื่อเสียงมากในทางฝีพู่กันที่แม่นยำลื่นไหล...คล้ายแบบแผนดั้งเดิม
แต่การลงสีเขาประยุกต์ตามแบบตะวันตก
เฉินสามารถจับเอาวิญญาณของนกน้อยเกาะพักบนกิ่งต้นไม้ใหญ่หรือ
บนก้านกล้วยที่มักจัดไว้ตรงกลางภาพ
ภาพที่ดูเรียบง่าย ทว่าลื่นไหลของเขาที่สีสันบรรเจิด ทำให้มีผู้กล่าวขานว่า
 งดงามดังบทกวีของปัญญาชน





เจ้าเส้าอ๋าง (趙少昂)
ผู้เป็นจิตรกรเอกที่นำผลงานของสำนักหลิ่งหนาน
ไปเผยแพร่ทั่วโลก จขบ.ชื่นชมเป็นพิเศษกว่าของท่านอื่นครับ

ตอนเด็กเรียนวาดรูปกับครูในหมู่บ้าน พออายุ 16 ปี จึงได้เรียนกับพี่น้องสกุลเกาทั้งสอง
เมื่ออายุได้ 23 ปี ได้เป็นครูสอนศิลปะ
ในปี 1930 ได้รับรางวัลจากเบลเยี่ยมในงานระดับโลก และได้ตั้งสำนักหลิ่งหนานที่กว่างโจวในปีนี้
เขาได้จัดนิทรรศการที่กว่างโจว และปีต่อๆมาก็เวียนจัดไปทั่วเมืองจีน
ช่วงหลังเจ้าเส้าอ๋างได้ย้ายไปอยู่ที่ฮ่องกง
ปี 1939 จัดนิทรรศการเดี่ยวที่ฮ่องกง
ปี 1941 จัดนิทรรศการเดี่ยวที่นิวซีแลนด์
การท่องเที่ยวและแสดงผลงานยิ่งนำพาให้เขาประทับใจในทัศนียภาพ
อันงดงามของแผ่นดินจีน เช่น กุ้ยหลิน ภูเขาเอ๋อเหม่ย(ง๊อไบ๊) สามโตรก(แม่น้ำฉางเจียง)
ปี 1946 หลังสงครามจีน-ญี่ปุ่น เจ้าเส้าอ๋างกลับมายังจีนตอนใต้ สร้างงานอยู่ที่ฮ่องกง มาเก๊า
ปี 1948 ได้รับเกียรติแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ได้รับเชิญไปแสดงภาพเขียนในหลายประเทศ
เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น เอเซียอาคเณย์
ปี 1953 ได้ตระเวณไปยุโรป แสดงผลงานที่ สวิส สหราชอาณาจักร
ปี 1954 แสดงภาพที่ฝรั่งเศส และอิตาลี
ปี 1960 - 1971 จัดนิทรรศการกว่า 30 ครั้ง ที่แคนาดา เยอรมนี ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา
ปี 1977 ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในไทเป
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
เจ้าเส้าอ๋าง ชมชอบที่จะวาดภาพทิวทัศน์ สัตว์ ดอกไม้ แมลง ปลา และจักจั่น
ผลงานของเขาสำแดงเอกลักษณ์ของสำนักหลิ่งหนานได้แจ่มชัดมากทีเดียว




ความจริงสายสำนักต่างๆยังสามารถไล่สาวย้อนกลับไปกลับมาได้ยาวโข

บอกชื่อไปมากมายจะชวนเวียนหัวเปล่าๆ.......ชมรูปเขียนดีกว่าครับ




............................................................



ผลงานของ เฉินซู่เหริน (陳樹人) 5 ภาพ



1


สีสันวสันตฤดูในหลิ่งหนาน


2


นกแม็กพายทักทาย


3


ผึ้งบินผ่านลำไผ่เขียว


4


นกนางแอ่นคืนรัง


5


ห่านป่ากับพงอ้อ




............................................................



ผลงานของ เจ้าเส้าอ๋าง (趙少昂) 10 ภาพ


6


นกกระยางขาวในสระบัว


7


ปลาคาร์พ 9 ตัว


8


กบในสระคราวสันต์


9


ขุนเขาหน้าผาขจีกับสายธาราแห่งแคว้นฉู่


10


ทิวทัศน์อเมริกาพาให้คิดถึงบ้าน


11


เรือน้อยยามฝนพรำค่ำคืนสู่เคหา


12


เกาะคอนยามฤดูศารท


13


ตั๊กแตนตำข้าวขย้ำเหยื่อ


14


หุบเขาดอกท้อยามหลังฝน


15


นกกระเต็นเกาะก้านบัว




.......................................................................



ก็คงได้ชื่นชมกับผลงานอันวิเศษของสำนักหลิ่งหนานไปแล้ว

เป็นอย่างไรบ้างครับ?....ชอบ..ไม่ชอบ อย่างไรก็เชิญคอมเม้นท์

ดูเก่าบ้าง ใหม่บ้าง สลับกันเปลี่ยนบรรยากาศนะครับ




........................................



มีของแถมนะครับ อิ อิ รูปสุดท้ายนี่ ผมวาดเอง
ไม่ใช่สำนักหลิ่งหนานนะ แต่เป็นสำนักหุยคง (ห้วยขวาง) ครับ หุ หุ





นกกะรางหัวหงอก