ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 12:29:27 am »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 06:27:41 pm »



:02:     :13: :13: :13:

 :45: :07: :45:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 04:31:33 pm »



สำหรับดนตรีครั้งนี้ ขอเสนอเพลงกู่เจิง (古箏)
เพลง 秋思 (ครุ่นคำนึงฤดูศารท) ตามฤดูกาลปัจจุบัน


Music slideshow -古箏 Autumn meditation秋思


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dingtech&month=11-2010&date=16&group=11&gblog=3
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 04:28:22 pm »



พระโพธิธรรม (菩提達摩祖師) รูปเคารพที่บ้านผม : ภาพเขียน-ปฏิมากรรม

.
.
.
.
.

เริ่มจากนิยายกำลังภายในที่กล่าวถึงวัดเสียวลิ้มยี่ (少林寺 เส้าหลินซื่อ)
นำมาสู่...................


ปฐมปรมาจารย์นิกายเซนสายจีนก็คือท่านตั๊กม้อโจวซือ (達摩祖師) หรือ
เรียกขานนามท่านว่า "พระโพธิธรรม" ผู้เป็นสังฆปรินายกองค์แรก
ท่านจาริกจากอินเดียสู่อาณาจักรจีนเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนา ในสมัย
จักรพรรดิ์เหลียงบู๊ตี่


ประวัติของท่านมีผู้เขียนไว้มากมาย ไม่น่าจะหาอ่านยาก

ท่านเป็นโอรสของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นคันธารราษฎร์ ชมพูทวีป
มีสติปัญญายอดเยี่ยม สามารถเข้าฌานขั้นสูงได้แต่เยาว์วัย
ท่านได้ศึกษาธรรมะจากอาจารย์คือท่านสังฆปรินายกองค์ที่ 27
(般若多羅 ท่านปรัชญาตาระเถระ)
และรับมอบตำแหน่งสืบต่อมาเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 28
(菩提達摩大師... 二十八祖 中國初祖)
ซึ่งนับเป็นองค์แรกของนิกานเซน สายจีน


เรื่องราวของท่านมีผู้นำไปแต่งเป็นนิยาย บทละคร หรือภาพยนตร์
มีบทแทรกเสริมเติมแต่งเพื่อความสนุกสนาน



แต่อีกด้านหนึ่งที่เป็นอานิสงส์มากมายก็คือ "จุดประกาย" ให้ผู้สนใจ
ได้สืบค้นแสวงหาเรื่องราวตลอดจน "แก่นธรรมะ" อันเป็นสารัตถะยิ่ง



เชื่อได้ว่ามีผู้บรรลุหลักธรรมมากมายจากคำสอนของท่านตั๊กม้อ
และแน่นอนที่สุดคือ ท่านฮุ่ยเข่อ (慧可) เป็นผู้รับสืบทอดองค์ถัดมา







โศลกบทหนึ่งที่ท่านรจนาขึ้นเพื่อสั่งสอนสานุศิษย์คือ

吾 本 來 磅 土,ฉันเดิมมาถึงแผ่นดินนี้
傳 法 救 迷 情。ถ่ายทอดธรรมช่วยผู้หลงงมงายอารมณ์
一 花 開 五 葉,หนึ่ง-ดอกไม้บานครบ 5 กลีบแล้ว
結 果 自 然 成。ผลที่สุดธรรมชาติจะปรากฏขึ้นมาเอง


........สำนวนแปลเป็นภาคไทยโดยท่าน "ธีรทาส"





รูปภาพของท่าน ศิลปินได้รังสรรค์ขึ้นตามจินตนาการ
ท่านเป็นชาวอินเดีย จึงมีตาโต จมูกโด่ง หน้าผากโหนก หนวดเคราดก
หลายภาพจะใส่ห่วงตุ้มหู และเม้มปาก

ในภาพรวมจะดูว่า "ดุ" ซึ่งเป็นการจ้องดูศิษย์ให้ตั้งใจและมีวิริยะ
แต่บางท่านจะตีความว่า ถ้ามองที่ดวงตาท่านนานๆแล้วจะรู้สึก
ผ่อนคลาย เป็นดวงตาที่ทำให้สงบ นิ่ง มีสมาธิ และเกิด "จิตว่าง"

ในบรรดาภิกษุจิตรกรชาวญี่ปุ่น ที่นิยมใช้การวาดภาพ เขียนอักษร
ด้วยพู่กัน-หมึก เส้นหมึกที่ป้ายลงไปจะแสดงสมาธิจิต และพลังลมปราณ
เรียกรูปที่วาดเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "ทะรุมะ" ซึ่งมาจากคำว่า "ตั๊กม้อ" นั่นเอง


ชาวญี่ปุ่นยังมีตุ๊กตาทะรุมะ ที่ตายังไม่แต้มตาดำไว้
เจ้าของจะแต้มตาดำไว้ 1 ดวงตา แล้วอธิษฐานตั้งใจ
เมื่อความตั้งใจไว้ประสบความสำเร็จแล้ว จึงแต้มดวงตาอีกข้างหนึ่ง
ก็จะได้ตุ๊กตาทะรุมะที่สมบูรณ์พร้อม
น่ายกย่องในกุศโลบายอันนี้ ที่ใช้เป็นเครื่องเตือนสติตนเอง
ให้มุ่งมั่นจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตั้งใจไว้ แล้วพยายามพากเพียรให้สำเร็จ


ความเพียรยิ่งของท่านตั๊กม้อที่เล่าขานคือ การนั่งหันหน้าเข้ากำแพง
เป็นเวลานานถึง 9 ปี ซึ่งเป็นการเข้าฌานสมาบัติที่ยาวนานมาก
ศิษย์คอยเฝ้าปรนนิบัติอย่างตั้งใจ สุดท้ายศิษย์ได้ตัดมือตนเอง
แสดงออกถึงความตั้งใจอย่างยิ่ง ท่านตั๊กม้อจึงถ่ายทอดธรรมะให้
จนได้เป็นคุรุทายาทคือ สังฆปรินายกองค์ที่สอง (สายจีน)







สำหรับผมเองได้เก็บงานศิลปะรูปท่านตั๊กม้อไว้ 3 แบบ คือ




I รูปหล่อโลหะทองเหลืองขนาดเล็ก สูงราว 4 นิ้ว
ได้มาจากแผงแบกะดินแถวสวนจตุจักร ฝีมือน่าจะเป็นช่างจีน
รูปทรงสัดส่วนก็ดูดี เป็นตอนที่ท่านถือรองเท้า เหยียบบนต้นอ้อข้ามน้ำ
คอนหมวกก๊วยเล้ยกับน้ำเต้าไว้ข้างหลัง



1

รูปหล่อขนาดสูง 4"


2

ขยายให้เห็นใหญ่ขึ้น (คลิกที่รูป) สังเกตว่ามือซ้ายถือรองเท้า





II เป็นรูปเขียนหมึก (ขาว-ดำ) ขนาดสูงประมาณ 3 ฟุต กว้าง 1 ฟุต
ได้มาจากห้างสรรพสินค้าใต้ฟ้า เป็นตอนที่ท่านตั๊กม้อเหยียบต้นอ้อข้ามน้ำ เช่นเดียวกับรูปหล่อ
เส้นพู่กันก็เฉียบ มีพลัง เข้าใจว่าเป็นรูปที่เขียนเลียนแบบจิตรกรยุคเก่า
จิตรกรเป็นสมณะนามชิงยวี่
ผมเคยเห็นรูปต้นแบบอยู่ แต่จำไม่ได้ว่าเป็นฝีมือใคร ค้นเจอแล้วจะใส่ไว้ให้ทราบทีหลังครับ
[/COLOR]
3

ภาพเขียนพระโพธิธรรมตอนเหยียบไม้อ้อข้ามน้ำ


4

ภาพขยายส่วนใบหน้า ขยายให้เห็นฝีพู่กัน


5

ส่วนอักษรลายมือของจิตรกร


6

ลงนามจิตรกร ภิกขุชิงยวี่ (比丘清欲) นมัสการน้อมสรรเสริญ
และประทับตรา
ตราตัวขาว 沙門清欲 ซาเหมินชิงยวี่ (สามเณรมุ่งวิสุทธิ์)
ตราตัวแดง 少林心印 เส้าหลินซินยิ่น (ตราจิตแห่งเส้าหลิน)





III รูปปั้นดินเผาจากเมืองโทเบ อยู่แถบฮิโรชิมา
ผมได้มาตอนไปสานสัมพันธ์กับสถาบันแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นเมื่อ 3 ปีก่อน
ไปเยี่ยมชมโรงงาน และห้องจัดแสดงผลิตภัณฑ์เซรามิก
รูปปั้นท่านตั๊กม้อ ขนาดสูง 14 นิ้ว มี 2 แบบ คือ จีวรสีน้ำเงิน กับจีวรสีแดง
รูปลักษณ์เป็นแบบภาพเขียนสไตล์ญี่ปุ่น เนื้อดินแกร่งแต่เบา
เขียนลายเส้นที่ใบหน้าและอก ส่วนจีวรเคลือบมันสวยงามมากครับ
[/COLOR]
7

รูปปั้น Stoneware ของญี่ปุ่น จากเมืองโทเบ (Tobe)
ซึ่งมีชื่อเสียงมากในด้านเครื่องปั้นดินเผาชนิดเนื้อแข็ง


8

ภาพขยายส่วนใบหน้า





พูดถึงรูปเคารพแล้ว

ในฝ่ายอิสลามนับว่าเคร่งที่สุดที่ไม่ยอมให้มีภาพพระเป็นเจ้า(อัลลอฮ์ ซ.บ.)
แม้รูปท่านนบีทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ สิ่งที่เคารพจึงมีเพียงอักษรอาหรับ
ที่เขียนเป็นข้อความคำสอนและวาทะอันศักดิ์สิทธิ์
ในทางอิสลามแม้ภาพสัตว์ก็ยังมิยินยอมให้ปรากฏในศาสนสถาน
ตามสุเหร่าจึงมีแต่รูปดอกไม้เครือเถา และลายประดิษฐ์แบบเรขาคณิตทั้งสิ้น

ทางคริสต์มีรูปเคารพมากมาย รูปพระเป็นเจ้าเป็นรูปแบบมนุษย์ผู้ชายมีหนวดเครา
เพราะเชื่อว่ามนุษย์นั้นจำลองแบบมาจากพระเจ้า
รูปแม่พระ พระเยซู และนักบุญต่างๆ วาดและปั้นขึ้นเพื่อเสริมสร้างศรัทธาปสาทะ

ทำนองเดียวกับทางพุทธ ไม่ว่านิกายฝ่ายมหายาน หรือเถรวาท
ล้วนมีการสร้างรูปเคารพมากมาย ทั้งวาด ปั้น จำหลัก หล่อ ฯลฯ
นัยว่าเป็นสิ่งเตือนให้รำลึกถึงคำสอน รำลึกถึงแบบอย่าง
และที่เพิ่มเติมออกไปอีก คืออิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ที่สามารถปกป้องคุ้มครองจากภยันตราย
ดลบันดาลประสาทความสำเร็จให้ หรือลงโทษหากฝ่าฝืน

สมัยก่อนความเชื่อและขนบเช่นนี้มีอิทธิพลหนักแน่นต่อคนเราและสังคม
แต่ปัจจุบันนี้....ผมว่าความเชื่อแบบนี้คงผ่อนคลายไปมาก
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้คนเชื่อไปอีกทางหนึ่ง


เหมือนว่าเรากำลังอยู่บนทางสองแพร่ง

สองทางนี้มีทั้งส่วนดีและส่วนด้อย

จำต้องอาศัย "ปัญญา" หรือ "พุทธิปัญญา"





ลองถามตัวเองหน่อยซิว่า


ท่านมีรูปเคารพไว้เพื่ออะไร ?