ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 12:50:58 am »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 03:57:29 pm »




ภาคที่ 2   มรรคาแห่งศาสนาตะวันออก

บทที่ 8 ลัทธิเต๋า

ในระหว่างความคิดสองแนวของจีน  คือลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื้อนั้น  ลัทธิเต๋ามีคำสอนลึกซึ้งซึ่งอยู่ในประเด็นที่จะนำมาเปรียบเทียบกับฟิสิกส์สมัยใหม่  เช่นเดียวกับศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา  ลัทธิเต๋ามุ่งสนใจในญาณปัญญามากกว่าความรู้เชิงเหตุผล  ลัทธิเต๋ายอมรับข้อจำกัดและความเป็นสิ่งสัมพัทธ์ของโลกแห่งความนึกคิดเชิงเหตุผล  ดังนั้นลัทธิเต๋าโดยพื้นฐานจึงเป็นหนทางแห่งความอิสระจากโลกแห่งเหตุผล  และในแง่มุมนี้จึงอาจเทียบเท่ากับวิถีแห่งโยคะหรือเวทานตะในศาสนาฮินดู  หรืออริยมรรคมีองค์แปดของของพุทธศาสนา  ในขอบเขตของวัฒนธรรมจีน  ความเป็นอิสระอย่างของเต๋ามีความหมายค่อนข้างชัดเจนว่า  คือความเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์ที่ตายตัวในทางสังคม ความไม่เชื่อในความรู้และเหตุผลซึ่งมนุษย์กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนต่างๆนั้นปรากฏชัดเจนในลัทธิเต๋ามากกว่าในปรัชญาสาขาใดๆของตะวันตก  สิ่งนี้มีรากฐานอยู่บนความเชื่อที่แน่นแฟ้นว่าความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ไม่อาจเข้าใจเต๋าได้  จางจื้อได้กล่าวว่า

ความรู้ที่กว้างขวางที่สุดไม่จำเป็นว่าจะต้องรู้มันด้วยเหตุผลจะไม่ทำให้คนฉลาดในเรื่องราวของมัน ปราชญ์ย่อมตัดสินว่าทั้งสองวิธีนี้ใช้ไม่ได้
 

คัมภีร์ของจางจื้อเต็มไปด้วยข้อความซึ่งสะท้อนความดูแคลนของเต๋าต่อเหตุผลและการโต้เถียง  ดังที่ท่านกล่าวว่า

สุนัขไม่ได้เป็นสุนัขดีเพราะมันเห่าเก่ง คนไม่ได้เป็นคนฉลาดเพราะพูดเก่ง และการโต้เถียงพิสูจน์ถึงการเห็นที่ไม่ชัดเจน
 

ในทัศนะของเต๋า  การคิดหาเหตุผลในเชิงตรรกะเป็นส่วนของโลกแห่งสมมติของมนุษย์  เป็นส่วนของค่านิยมในสังคมและมาตรฐานทางศีลธรรม  พวกเขาไม่สนใจในโลกดังกล่าวนี้  แต่มุ่งความสนใจทั้งหมดไปในการเฝ้าสังเกตุธรรมชาติเพื่อความประจักษ์แจ้งใน “ ลักษณะแห่งเต๋า ”  ดังนั้นผู้นับถือเต๋าจึงมีทัศนะซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์โดยพื้นฐาน  เพียงแต่ความไม่เชื่อในวิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ของพวกเขา  ทำให้ไม่อาจสร้างเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมาได้เท่านั้น  อย่างไรก็ตามการสังเกตธรรมชาติอย่างละเอียดรอบคอบ  พร้อมทั้งการเพ่งเพียรที่จริงจัง  ได้ทำให้ปราชญ์ของเต๋าบรรลุญาณทัสนะอันสุขุมลุ่มลึกซึ่งได้รับการยืนยันโดยทางทฤษฎีวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

8.1  การชับเคี่ยวระหว่างขั้ว

ญาณทัสนะที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของเต๋าก็คือ  การประจักษ์แจ้งในความจริงที่ว่าการเปลี่ยนแปลงกลับกลายเป็นลักษณะสำคัญของธรรมชาติ  ข้อความในคัมภีร์จางจื้อได้แสดงอย่างชัดเจนว่า  การสังเกตโลกแห่งสรรพชีพได้ให้ความรู้ในเรื่องความเปลี่ยนแปลง  ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญขั้นพื้นฐาน

ในการเปลี่ยนแปลงการเติบโตของสรรพสิ่ง  ตาไม้ทุกตา  และรูปลักษณะทุกรูปต่างมีรูปทรงที่แน่นอนของมัน  ในสิ่งเหล่านี้มีการเจริญและการเสื่อมสลายอย่างต่อเนื่อง  กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงกลับกลายอันไหลเลื่อนอย่างสม่ำเสมอ

ผู้นับถือเต๋ามีทัศนะว่า  การเปลี่ยนแปลงทั้งมวลในธรรมชาติเป็นการปรากฏแสดงของการขับเคี่ยวระหว่างขั้วตรงกันข้ามคือหยินและหยัง  ดังนั้นผู้นับถือเต๋าจึงเชื่อว่าคู่ตรงข้ามใดๆก็ตาม  ต่างเชื่อมสัมพันธ์กันอย่างเคลื่อนไหว  สำหรับจิตใจแบบตะวันตกแล้ว  ความคิดที่ว่าสิ่งตรงกันข้ามทั้งมวลต่างเป็นเอกภาพนั้นเป็นสิ่งที่รับได้ยากยิ่ง  มันดูเหมือนผิดธรรมดาเป็นอย่างยิ่งเมื่อประสบการณ์และคุณค่าต่างๆ  ซึ่งเราเชื่อมาโดยตลอดว่าเป็นสิ่งตรงกันข้าม  ควรเป็นแง่มุมที่ต่างกันของสิ่งเดียวกัน  อย่างไรก็ตามในตะวันออกถือกันว่าการจะรู้แจ้งได้นั้น  บุคคลจะต้อง “ ก้าวพ้นสิ่งที่เป็นคู่ตรงข้ามในโลก ”  ในจีนความสัมพันธ์เชิงขั้วของสิ่งตรงกันข้ามทั้งมวลเป็นพื้นฐานอย่างยิ่งของความคิดของเต๋า  ดังที่จางจื้อกล่าวว่า

“ นี่ ”  ก็คือ “ นั่น ”  “ นั่น ”  ก็คือ “ นี่ ”  เมื่อทั้ง “ นั่น ”  และ “ นี่ ”  ต่างหยุดเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน  นั่นเป็นแก่นแท้ของเต๋า  แก่นแท้นี้เท่านั้นที่เป็นศูยน์กลางของวงเวียนแห่งการเปลี่ยนแปลงไม่รู้หยุด
 

จากความคิดที่ว่าการเคลื่อนไหวของเต๋าเป็นการขับเคี่ยวอย่างต่อเนื่องของสิ่งที่ตรงกันข้าม  ผู้นับถือเต๋าจึงได้สรุปเป็นกฎสองประการสำหรับการกระทำของมนุษย์เมื่อใดก็ตามที่เราต้องการจะได้สิ่งใด  เราควรจะเริ่มจากสิ่งที่ตรงกันข้าม  ดังที่เหล่าจื้อกล่าวว่า

จะยุบอะไรสักสิ่ง  ควรจะขยายมันก่อน จะทำให้อ่อนแอ  ต้องทำให้เข้มแข็งก่อน จะกำจัด  ต้องเชิดชูก่อน จะรับ  ต้องให้ก่อน นี่เรียกว่าปัญญาอันลึกซึ้ง
 

ในอีกทางหนึ่ง  เมื่อเราต้องการจะรักษาสิ่งใดไว้  เราควรยอมรับในสิ่งที่เป็นตรงกันข้าม

จงโค้งคำนับ  แล้วท่านจะยืนตรงอยู่ได้

จงทำตัวให้ว่างเปล่า  แล้วท่านจะเต็มอยู่เสมอ

จงทำตัวให้เก่า  แล้วท่านจะใหม่อยู่เสมอ
 

นี่เป็นวิถีของปราชญ์ผู้บรรลุถึงทัศนะอันสูงส่ง  ซึ่งสัมพันธภาพและความสัมพันธ์เชิงขั้วของสิ่งตรงกันข้ามทั้งมวล  ปรากฏในความรับรู้ของท่านอย่างแจ่มแจ้งสิ่งตรงข้ามเหล่านี้มีอาทิ  สิ่งแรกและสิ่งสุดท้าย  ความคิดเรื่องดีและเลว  ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในลักษณะเดียวกับหยินและหยัง  เมื่อทั้งดีและเลวและมาตรฐานทางศีลธรรมทั้งหมดถูกเห็นเป็นสิ่งสัมพัทธ์  ปราชญ์เต๋าจึงไม่เพียรพยายามเพื่อบรรลุคุณความดี  แต่จะรักษาสมดุลระหว่างความดีและเลว  จางจื้อเห็นประเด็นนี้อย่างชัดเจน

คำกล่าวที่ว่า  “ เราจะไม่กระทำตามและเชิดชูความถูกต้อง  และไม่เกี่ยวข้องกับความผิด  ใช่หรือไม่ ”  และ  “ เราจะไม่เชื่อฟังและเชิดชูผู้ปกครองที่ดี  และไม่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครองที่เลว  ใช่หรือไม่ ”  แสดงความปรารถนาที่จะทำความคุ้นเคยกับหลักการของฟ้าและดินและคุณภาพที่แตกต่างกันของสรรพสิ่ง  เป็นการง่ายที่จะกระทำตามและเชิดชูฟ้า  และไม่สนใจต่อดิน  เป็นการง่ายที่จะกระทำตามและเชิดชูหยิน  และไม่สนใจหยัง  เป็นที่ชัดเจนว่า  วิถีทางเช่นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ

8.2  ทีหลังต่อจากทีแรก

เป็นที่น่าประหลาดใจว่า  ในเวลาเดียวกับที่เหล่าจื้อและสานุศิษย์ของท่านได้พัฒนาโลกทัศน์ของตน  คุณลักษณะสำคัญแห่งทัศนะแบบเต๋านั้นเป็นสิ่งที่สอนกันในกรีกเช่นเดียวกัน  โดยบุคคลซึ่งคำสอนของเขาเป็นที่รู้จักเพียงบางส่วนและผู้ซึ่งถูกเข้าใจผิดตลอดมาจนปัจจุบัน  ชาวเต๋าแห่งกรีกผู้นี้ก็คือ  เฮราคลิตัสแห่งเอเฟซัส   เฮราคลิตัสมีทัศนะคติเช่นเดียวกับเหล่าจื้อ  ไม่เพียงแต่เน้นถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเขาแสดงออกในประโยคซึ่งมีชื่อเสียงว่า  “ ทุกสิ่งเลื่อนไหล ”  เท่านั้น  แต่ยังมีทัศนะที่ว่า  การเปลี่ยนแปลงทั้งมวลมีลักษณะเป็นวงเวียน  เขาเปรียบเทียบโองการแห่ง  “ ดวงไฟอันนิรันดร  บางครั้งลุกโพลง  และบางครั้งมอดลง ”  ซึ่งคล้ายคลึงกับแนวคิดของจีนในเรื่องเต๋า  ซึ่งแสดงตัวมันเองออกมาในการขับเคี่ยวในลักษญะวงเวียนระหว่างหยินกับหยาง

ความคิดที่ว่าความเปลี่ยนแปลงเป็นการขับเคี่ยวระหว่างสิ่งที่ตรงกันข้ามได้นำเฮราคลิตัสกับเหลาจื้อมาสู่การค้นพบว่า สิ่งที่ตรงกันข้ามทั้งมวลมีลักษณะเป็นขั้วตรงกันข้าม และในขณะเดียวกันก็เป็นเอกภาพ “ทางขึ้นและลงเป็นทางเดียวและเหมือนกัน”  เฮราคริตัสกล่าว “ พระเจ้าคือ กลางวัน กลางคืน ฤดูหนาว ฤดูร้อน สงคราม สันติภาพ  ความอิ่ม และความอดอยากหิวโหย  ”   เช่นเดียวกับผู้นับถือเต๋า เฮราคริตัสมีทัศนะว่าคู่ตรงข้ามทุกคู่เป็นเอกภาพ และเขาตระหนักดีถึงความเป็นสิ่งสัมพัทธ์ของความคิดเหล่านี้ทั้งหมด เขายังได้กล่าวไว้ว่า “ สิ่งที่เย็นกลับกลายเป็นอุ่น สิ่งที่อุ่นกลับเป็นเย็น สิ่งที่ชื้นกลับแห้ง สิ่งที่แห้งกลับเปียก ”  นี้ได้ทำให้เรานึกถึงคำกล่าวของเหลาจื้อที่ว่า “ ง่ายทำให้เกิดยาก…เสียงก้องทำให้ไพเราะ ทีหลังต่อจากทีแรก ”

เป็นที่น่าประหลาดใจที่ว่าความคล้ายคลึงกันอย่างมากในทัศนะของปราชญ์ทั้งสองแห่งศตวรรษที่หกก่อน

คริสตกาลไม่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป  เฮราคริตัสมักจะถูกเอ่ยถึงเชื่อมโยงกับฟิสิกส์สมัยใหม่ แต่แทบจะไม่เคยเอ่ยถึงเฮราคริตัสกับเต๋าเลยและความเกี่ยวโยงกับเต๋านี้เองเป็นสิ่งที่แสดงได้อย่างดีที่สุดว่า ทัศนะของเฮราคริตัสแฝงในเชิงศาสนา จึงทำให้ความคล้ายคลึงระหว่างความคิดของเฮราคริตัสกับความคิดในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกันในทัศนะของข้าพเจ้า

เมื่อเรากล่าวถึงความคิดของเต๋าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญคือ ต้องระลึกเสมอว่า การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้มิใช่เกิดจากแรงผลักดันภายนอก หากเป็นแนวโน้มภายในของสรรพสิ่งและเหตุการณ์ทั้งมวล การเคลื่อนไหวของเต๋า ไม่มีตัวการผลักดันแต่การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดโดยธรรมชาติ ความเป็นไปเองของกฎแห่งการกระทำของเต๋า และในเมื่อการกระทำของมนุษย์ควรที่จะจำลองเอามาจากวิถีทางของเต๋า ความเป็นไปเองจึงควรเป็นลักษณะสำคัญของการกระทำทั้งมวลของมนุษยชาติ สำหรับเต๋าการกระทำที่สอดคล้องกับธรรมชาติแท้ของบุคคลมันหมายถึงความเชื่อมั่นต่อปัญญาญาณของบุคคล ซึ่งเป็นเนื้อหาของใจมนุษย์เช่นเดียวกับที่กฏของการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อหาของสรรพสิ่งรอบ ๆ ตัวเรา

การกระทำของปราชญ์เต๋า จึงเกิดจากปัญญาญาณของท่านเป็นไปเองและสอดคล้องกับสภาพการณ์แวดล้อม ท่านไม่จำเป็นต้องบีบบังคับตนเองหรือสิ่งต่าง ๆ รอบกายท่าน เป็นแต่เพียงปรับการกระทำของท่านให้เข้ากับการเคลื่อนไหวของเต๋า ฮวยหนั่นจื้อกล่าวไว้ว่า

ผู้ซึ่งกระทำตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ย่อมไหลไปในกระแสของเต๋า
 

การกระทำในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกกันในปรัชญาเต๋าว่า อู่-วุ่ยมีความหมายตามพยัญชนะว่า “ไม่กระทำ” โจเซฟ นีดแฉม แปลความว่า “ละเว้นจากการกระทำที่ขัดแย้งกับธรรมชาติ” เราอาจจะ เทียบความหมายนี้กับคำกล่าวของจวงจื้อ ดังนี้

การไม่กระทำนี้ มิได้หมายถึงการไม่ทำอะไรเลยและอยู่อย่างนิ่งเฉย หากเป็นการปล่อยให้ทุกสิ่ง ดำเนินไปตามที่มันเป็นในธรรมชาติ เพื่อให้ธรรมชาติของมันพึงพอใจ
 

หากว่าเราละเว้นจากการกระทำที่ขัดแย้งกับธรรมชาติ หรือดังที่โจเซฟ นีลแฮม กล่าวไว้ว่า จาก “ การดำเนินที่ขัดแย้งกับแก่นแท้ของสิ่งทั้งหลาย ” เราก็จะดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับเต๋า ซึ่งจะได้รับความสำเร็จ

นี่คือความหมายของคำกล่าวซึ่งดูจะเป็นปริศนาของเหลาจื้อที่ว่า “โดยการไม่กระทำ ทุกสิ่งก็สำเร็จลงได้”

8.3  ไม่รู้ว่าตนรู้นั้นดีสุด

ความแตกต่างกันระหว่างหยินกับหยางมิใช่เป็นแต่เพียงกฎเกณฑ์พื้นฐานของวัฒนธรรมจีนเท่านั้น แต่ยังสะท้อนออกมาในแนวคิดใหญ่สองแนวของจีน ลัทธิขงจื้อนั้นเต็มไปด้วยเหตุผลมีลักษณะเข้มแข็งอย่างชาย กระตือรือร้นและมีอำนาจในทางตรงกันข้าม ลัทธิเต๋านั้นเต็มไปด้วยลักษณะแห่งญาณปัญญา นุ่มนวลอย่างหญิงลึกซึ้งและอ่อนน้อม เหลาจื้อกล่าวว่า “ ไม่รู้ว่าตนรู้นั้นดีที่สุด ” และ “ ปราชญ์ย่อมกระทำกิจโดยปราศจากการกระทำ และสอนโดยปราศจากคำพูด ” ผู้นับถือเต๋าเชื่อว่าโดยการเปิดเผยส่วนที่เป็นความนุ่มนวลอย่างหญิง และความอ่อนน้อมแห่งธรรมชาติของมนุษย์ ก็จะเป็นการง่ายที่สุดที่จะนำชีวิตซึ่งได้ดุลอย่างสมบูรณ์ให้สอดคล้องกับเต๋า อุดมคติของเต๋าอาจสรุปรวมได้อย่างดีที่สุดในคำกล่าวของจางจื้อ ซึ่งอธิบายถึงสวรรค์แห่งเต๋า

ในอดีตกาล ขณะที่ความยุ่งยากสับสนยังไม่เกิด บุคคลได้ดำรงอยู่ในความสงบซึ่งเป็นสมบัติของโลกทั้งหมด ในขณะนั้นหยินและหยางสอดคล้องต้องกันและคงสงบนิ่งอยู่ การหยุดและการเคลื่อนไหวเป็นไปโดยปราศจากอุปสรรค ฤดูกาลทั้งสี่ถูกต้องตามกำหนด ไม่มีสักสิ่งที่ได้รับอันตรายและไม่มีสิ่งมีชีวิตใดตายก่อนกำหนด มนุษย์อาจจะมีความรู้มากมายแต่ไม่มีโอกาสที่จะใช้มัน นี่คือสิ่งที่เรียกว่าสภาวะแห่งเอกภาพสมบูรณ์ ในเวลาเช่นนี้ ไม่มีการกรำทำบนหนทางของผู้ใด คงมีแต่การปรากฏแสดงอย่างสม่ำเสมอของความเป็นไปเอง


http://www.dharma-gateway.com/misc/misc_tao_of_physics_08.htm