ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 11:43:38 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 10:24:06 am »

ยังมีบทขับลำนำพิณผีผา เป็นภาษากวางตุ้ง
หากใครสนใจกดตามไปฟังตามลิงค์ข้างล่างนี้ครับ


琵琶行 (1 of 3)


............................................................................



สำหรับดนตรีคราวนี้ต้องเป็นเพลงพิณผีผาแน่นอน
เพลงนี้เป็นเพลงที่ศึกษาจากบทกวี "ลำนำพิณผีผา" ของไป๋จวีอี้
ท่านจะได้เห็นลีลาและเท็คนิกการใช้นิ้วที่แสนพิสดาร เช่น "หลุน"
คือการควงนิ้วดีด เสียงติดต่อกันยาวสม่ำเสมอเร่งเร็วชะลอช้าได้ตามปรารถนา
ผมว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากรองจากกู่ฉิน


Chinese pipa music:訴-讀唐詩《琵琶行》有感


ขอขอบคุณ You Tube ที่พาเพลงพิณผีผามาให้เพลิดเพลิน


สวัสดีครับ


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dingtech&month=03-2010&date=21&group=4&gblog=6
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 10:22:21 am »

ลำนำพิณผีผา (琵 琶 行)...บทกวีโรแมนติกจีน โดย ไป๋จวีอี้
 
 

ไป๋จวีอี้ (白 居 易 ค.ศ. 772-846)






เป็นกวีเอกผู้หนึ่งในสมัยราชวงศ์ถัง เกิดที่ซินเจิ้ง ใกล้ๆกับเจิ้งโจว
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน
เติบโตในตระกูลข้าราชการปัญญาชนในสิงหยาง(荥 阳 市) เมืองเล็กๆใกล้บ้านเกิด

อายุ 12 ปี สามารถเขียนบทกลอนง่ายๆได้แล้ว

ครอบครัวเขาได้หลบหลีกความวุ่นวายทางการเมืองภาคเหนือ
ลงมาอยู่ที่มณฑลเจ้อเจียง

4 ปีต่อมามีหลักฐานว่าเขาไปอยู่ที่นครหลวงฉางอาน
โดยได้ยื่นเสนอผลงานบทกวีต่อผู้ตรวจราชการ กู้คว่าง(顾 況) นักกวีโด่งดังคนหนึ่ง

ปี ค.ศ. 794 บิดาของเขาถึงแก่กรรม ขณะนั้นเขาอายุได้ 22 ปี
ต้องรับภาระดูแลครอบครัว เขาสอบเข้ารับราชการหลายครั้ง แต่ไม่ผ่าน
กระทั่งเมื่ออายุได้ 28 ปี จึงสอบได้ ทำราชการอยู่ 6 ปี จึงประสบความสำเร็จ
ได้รับการแต่งตั้งให้ได้รับตำแหน่งเป็นครั้งแรก

ปี ค.ศ. 811 กลับไปอยู่ที่หมู่บ้านเว่ย ซึ่งเป็นบ้านบรรพชน อยู่แถบแม่น้ำเว่ย
ในมณฑลส่านซี เพื่อเป็นการไว้ทุกข์ให้มารดาที่สิ้นชีพลงเนื่องจาก
ตกลงไปในบ่อน้ำขณะกำลังชมสวนดอกไม้

ปี ค.ศ. 815 หลังจากกลับมารับตำแหน่งเดิม ก็ถูกเนรเทศให้ไปอยู่ที่
สวินหยาง มณฑลเจียงซี เนื่องจากถูกใส่ร้ายโดยคู่แข่ง

ปี ค.ศ. 818 ถูกเรียกตัวกลับจากการเนรเทศ
แต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงแห่งจงโจว ในมณฑลเสฉวน

ปี ค.ศ. 822 เป็นข้าหลวงเมืองหังโจว

ปี ค.ศ. 825 เป็นข้าหลวงเมืองซูโจว

ปี ค.ศ. 829 ได้บุตรชายคนเดียว แต่พออายุไม่ถึง 2 ขวบก็เสียชีวิต

ปี ค.ศ. 831 ย้ายไปอยู่เมืองลั่วหยาง และได้รับการเลื่อนชั้น
ให้เป็นข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลเหอหนาน

ปี ค.ศ. 833 ก็ขอลาออกจากราชการเนื่องจากปัญหาสุขภาพ

ปี ค.ศ. 839 ป่วยเป็นโรคหลอดโลหิตสมองเป็นอัมพาต

ปี ค.ศ. 846 ถึงแก่กรรม สิริอายุได้ 75 ปี



ไป๋จวีอี้มีสหายสนิทคู่ใจ ชื่อ หยวนเจิ่น (元 稹 ค.ศ. 779-831) คบหาร่วมกัน
สร้างสรรค์ผลงานทางบทกวี อีกทั้งยังแต่งบทกวีเพื่อวิจารณ์สังคมและการเมือง


หลายๆผลงานของเขา แต่งขึ้นมาเพื่อเปิดโปงชีวิตที่ลำบากของชนชั้นล่าง
ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เมื่อเขาแต่งบทกวีเสร็จก็จะให้หญิงชาวนาชราอ่านดูก่อน
หากเธอสามารถเข้าใจดีไป๋จึงจะถือว่าเสร็จเป็นร่างสุดท้าย

เขาจึงมีสมญานามว่า "กวีแห่งประชาชน"


เท่าที่ปรากฏ ไป๋แต่งบทกวีไว้ประมาณ 2,000 ชิ้น
งานของเขาเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา ให้อารมณ์อ่อนไหว
ชื่นชมธรรมชาติ อ่านแล้วสะเทือนอารมณ์


ในสมัยราชวงศ์ถัง มีทั้งสงครามชายแดน การแย่งชิงอำนาจในเมืองหลวง
บางรัชกาลก็สงบรุ่งเรือง ไป๋จวีอี้มีความศรัทธาในประชาชน สามัญชน
ทำตัวสนิทสนมง่ายกับชาวบ้าน หาความสุขได้กับสิ่งธรรมดา
ไม่หรูหราฟุ้งเฟ้อ อย่างไรก็ดีในงานของเขามีความรับผิดชอบต่อสังคมเสมอ
ไม่ละเว้นที่จะวิพากษ์วิจารณ์การเมืองและสังคมเมื่อมีโอกาสด้วยสำนวนที่แหลมคมกินใจ




ลองอ่านดูบทกวี "ลำนำพิณผีผา" ดูครับ


แต่งแบบ "ซือ" บรรทัดละ 7 คำ เมื่อปี ค.ศ. 816 ขณะถูกเนรเทศไปอยู่ที่สวินหยาง
ในบทกวีที่แสนเศร้านี้ยังบรรยายถึงเท็คนิกการเล่นพิณผีผา
ซึ่งนักดนตรีที่เชี่ยวชาญล้วนต้องผ่านการศึกษาจากบทกวีนี้
ผู้แปลไม่สามารถถ่ายทอดลงละเอียดถึงเท็คนิกการบรรเลง การใช้นิ้ว
ตลอดจนลีลาเพลง หลายคำเป็นศัพท์เฉพาะทางดนตรี
หวังว่าจะได้รับการอภัยหากมีข้อผิดพลาด
และยังหวังให้ผู้รู้ช่วยเสริมเติมร่วมเรียนรู้.........เชิญครับ








ลำนำพิณผีผา

โดย ไป๋จวีอี้




ยามหัวค่ำส่งแขกที่สวินหยางเจียง
.....เสียงลมฤดูศารทพัดใบเฟิงและพงแขมดังเกรียวกราว
เจ้าภาพลงจากม้า ผู้เป็นแขกอยู่ในเรือ
.....ชูจอกสุราดื่มกัน ไร้ดนตรีขับกล่อม

ยังมิเมากลับรู้สึกเศร้าที่ต้องจากกัน
.....วารต้องพรากแม่น้ำเวิ้งว้างสะท้อนเงาจันทร์ทาบ
บัดดลยินเสียงพิณผีผาลอยมาเหนือน้ำ
.....เจ้าภาพยังมิทันขึ้นม้า แขกยังมิทันออกเรือ

จึงเคลื่อนตามถามไปว่า “เสียงพิณมาแต่ใครที่ไหน?”
.....เสียงพิณหยุดชะงัก ไร้เสียงตอบกลับ
เห็นเรือลำหนึ่งริมตลิ่งหญิงเล่นพิณท่าเอียงอาย
.....เติมสุราตามประทีปเชื้อเชิญนางร่วมวง

วอนเธอแล้ววอนเธอเล่าโปรดเล่นเพลงพิณผีผา
.....นางโอบพิณมาปิดบังหน้าซีกหนึ่งไว้
พอขึ้นสายก็ลองเสียงดังแผ่วเบา
.....เริ่มเพลงเร้าอารมณ์ซึ้งแสนกำสรด

นางก้มหน้ากรีดนิ้วกระทบสาย
.....สำเนียงเพลงบรรเลงบรรยายความรู้สึก
เริ่มด้วยเพลง “กระโปรงขนนกสีรุ้ง”
.....ตามมาเป็นเพลง “หกจังหวะ”

สายทุ้มดังซู่ซ่าเกรียวกราวราวสายฝน
.....สายเอกราวเสียงพร่ำพรอดกระซิบกระซาบ
ดังสลับขับขานประเลงประลอง
.....ดุจดังมุกเม็ดเล็กใหญ่ร่วงใส่จานหยก

และสำเนียงนกขมิ้นร้องกลางหมู่มาลี
.....เหมือนวารีไหลผุดผ่านท้องธารเย็นเยือก
แล้วพลันหยุด ความเงียบปกคลุม
.....เสียงเงียบสิกลับหวานชื่นกว่าเสียงดนตรี

และแล้วกลับฉับดังเพลงพิณอีก
.....ดังระเบิดลั่นราวน้ำกระจายจากแจกันเงินแตก
ตามด้วยเสียงศาสตราหอกดาบประกระทบ
.....กับเสื้อเกราะม้ารบดังเคล้งคล้าง

ท้ายสุดเสียงสายทั้งสี่ประสานสอดสนั่น
.....เป็นเสียงเดียวกันเฉกฉีกผ้าไหมควากจบ
เรือสองลำกลับสงัดเงียบอีกครา
.....มองท้องธาราเห็นจันทร์ฤดูศารทผ่องสกาว



เธอถอนใจพลางหยิบไม้ดีดกรีดสายพิณ
.....จัดอาภรณ์ให้เข้าที่พลางนั่งลงเล่าเรื่องราว
กล่าวว่า “ข้าน้อยนี้แต่เดิมเป็นชาวนครหลวง
.....อยู่ ณ ดำบลเซียหมาหลิง

เมื่ออายุสิบสามเรียนสำเร็จวิชาพิณผีผา
.....มีชื่อเสียงเชี่ยวชาญเป็นที่หนึ่งของชั้นเรียน
การแสดงของข้าน้อยเป็นที่ชมชอบยิ่งของอาจารย์
.....เมื่อแต่งองค์ทรงเครื่องก็ยิ่งงามโฉมน่าอิจฉานัก

บรรดาชายหนุ่มตระกูลดีแถวอู่หลิงล้วนรุมล้อม
.....เล่นเพลงเดียวก็ได้ของกำนัลผ้าไหมหลายม้วน
ยามเล่นเพลินตามจังหวะจนทำหวีเงินตกปิ่นหล่นแตก
.....กระโปรงสีแดงโลหิตก็เปื้อนเปรอะด้วยสุรารด

วันเวลาผ่านไปสุดแสนสราญรมย์ปีแล้วปีเล่า
.....ลมวสันต์จันทร์ศารทเวียนผันผลัด
น้องชายถูกโยกย้ายไปชายแดน มารดาก็เสียชีวิต
.....เมื่ออายุวัยมากขึ้นแขกเหรื่อหดหาย

ที่หน้าบ้านพวกรถม้าเคยหาสู่ลดลง
.....สุดท้ายข้าน้อยจึงแต่งงานกับพ่อค้าวานิชหนึ่ง
ผู้ซึ่งมุ่งกำไร จนไม่ใส่ใจยี่หระละทิ้งบ้านช่อง
.....หนึ่งเดือนแล้วที่เขาจากบ้านไปฟู่เหลียงซื้อใบชา

ข้าน้อยจึงออกเรือเปล่าล่องมาปากน้ำ
.....แสงจันทร์สาดต้องลำเรือบนสายนทีที่เหน็บหนาว
ย่างสู่ราตรียิ่งหวนคนึงถึงยามเยาว์ดรุณ
.....ชลนัยน์ไหลเป็นทางเลอะใบหน้าอาบสำอาง”



ยามได้ยินเรื่องราวนักพิณผีผานี้เล่าแล้ว
.....ข้าฯรู้สึกแสนเศร้ารันทดนัก
เราสองล้วนร่วมชะตาร้ายคล้ายกันถูกทอดทิ้ง
.....แม้แรกพบปะจะนับเป็นเพื่อน ควรฤาถือสา!

“ตัวข้าฯนี้ปีกลายถูกเนรเทศจากนครหลวง
.....มาพำนักพักนอนเจ็บที่สวินหยาง
สวินหยางถิ่นนี้ที่ไร้สีเสียงสุดกันดาร
.....ตราบจะหมดปีฤาห่อนมีดนตรีฟัง

อาศัยอยู่เผินเจียงที่ลุ่มแฉะ
.....พงแขมเหลืองขึ้น ไผ่ขมล้อม กระท่อมข้าฯ
ตั้งแต่เช้าถึงค่ำได้ยินแต่เสียงนกดุเหว่าร้อง
.....กับชะนีที่โหยหวนครวญดังมา

วสันต์มาลีคลี่บานเบ่ง จันทร์ศารทเปล่งในราตรี
.....ข้าฯนี้ต้องดื่มสุราแต่เดียวดาย
พอมีแต่เพลงพื้นเมืองกับขลุ่ยชาวบ้าน
.....พอถูไถให้ยินยลแก้ขัดสน

ราตรีนี้ข้าฯได้สดับเพลงพิณไพเราะของนาง
.....ดังฟังเทพบรรเลงเพลงเสนาะแสน
ขอนางโปรดนั่งลงเล่นอีกสักเพลงเถิด
.....แล้วข้าฯจะแต่งบทกวี ‘ลำนำพิณผีผา’ กำนัลนาง”

พอได้ยินวาจาข้าฯ นางยืนนิ่ง
.....แล้วค่อยนั่งลงที่เดิมโอบพิณแล้วกรีดสาย
บรรเลงเพลงเย็นโศกไม่เหมือนเพลงก่อน
.....เบือนหลบซ่อนหน้าน้ำตาเอ่อล้นริน

ใครหนอให้ทุกข์ระทมถึงปานนี้?
.....เสื้อครามของซือหม่าแห่งเจียงโจวเปียกชุ่มอัสสุชล ฯะ







เป็นอย่างไรบ้างครับ

สะเทือนอารมณ์กันบ้างหรือเปล่า?

จะเอาอะไรนักหนาเล่ากับชีวิต

นี่เป็นลิขิตของสวรรค์ กับ น้ำมือเราเอง.......แค่นี้เอง






มีผู้นิยมชมชอบบทกวีนี้มาก
นำไปแต่งเพิ่มเติมเป็นอุปรากรงิ้ว ละคร บทขับลำนำ ฯลฯ
จิตรกรหลายท่านมีจินตนาการ วาดเขียนเป็นภาพมากมาย



ของผมมีอยู่หนึ่งม้วน....ข้างล่างนี่แหละครับ





รูปที่ 1 ส่วนของภาพทั้งหมด




รูปที่ 2 รายละเอียดของกวีไป๋จวีอี้ (เสื่อสีคราม) กับสหายผู้เป็นแขก




รูปที่ 3 รายละเอียดของสตรีนักดีดพิณผีผา




รูปที่ 4 รายละเอียดของส่วนต้นบทกวี อักษรบรรจงตัวเล็ก ( 小 楷 เสี่ยวไค่)




รูปที่ 5 ไม้แกะสลักเป็นรูปสตรีนักพิณผีผา (ซื้อจากชิซูโอกะ ญี่ปุ่น)