ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 11:45:25 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด เรื่องนี้น่าดูจังนะครับ
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 04:02:09 pm »




  หลังเกิดการจลาจลของชาวนา ในปี ค.ศ.1894 ระหว่างการเดินทางอันหนาวเหน็บ ขณะที่หิมะยังล่วงหล่นลงมาไม่ขาดสาย
       
       ชิว วา- ซวอน โผตัวเข้าหาชายแก่ผู้มีหนวดเคราขาวเฟิ้มและคลุกเข่าลงทั้งน้ำตา ด้วยไม่คิดฝันว่า ชาตินี้จะมีโอกาสได้พบกับผู้ใจดี หรือ อาจารย์คิม บง มูน ของเขาอีกครั้ง
       
       ที่ผ่านมาผู้ใจดีใช้ชีวิตอยู่อย่างเงียบๆและสอนหนังสือให้กับเด็กๆ ณ หมู่บ้านที่ห่างไกลแห่งหนึ่ง
       
       “ท่านน่าจะกลับไปที่กรุงโซล พอมีพวกญี่ปุ่นหนุนหลังพวกคณะปฏิวัติก็เลยฮึกเหิมเข้าไปใหญ่”
       
       “ข้าชอบที่นี่ แล้วการเปลี่ยนแปลงก็เป็นความฝันที่ไร้ประโยชน์ เราควรจะพึ่งพิงตัวเอง ถ้าการปฏิวัติครั้งนี้สำเร็จได้เพราะการช่วยเหลือของญี่ปุ่น ชาติเราจะมีอนาคตแบบไหนกัน”
       
       พักจากการสนทนาถึงความเป็นไปของบ้านเมืองผู้ใจดีหยิบเอาภาพเขียนของวา-ซวอน ที่บังเอิบเก็บรักษาเอาไว้ได้ ในระหว่างที่บ้านเมืองยังรำส่ำระสายขึ้นมากล่าวชมเชยถึงฝีมืออันเยี่ยมยุทธ
       
       “ในภาพใบนี้ ข้ารู้สึกว่ามันมีแรงเต้นของหัวใจของเกาหลีแฝงอยู่มากมาย มันเป็นผลงานชิ้นเอก ทุกเส้นสายล้วนแต่ไม่สูญเปล่า”
       
       เมื่อหัวหน้ากลุ่มกบฎ ถูกทรยศโดยคนที่ไว้วางใจ และถึงคราวสิ้นสุดของราชวงศ์โชซวอน
       
       ขณะที่พวกกบฏถูกนำตัวไปรับโทษ คิม อ็อค ฮุน ตัวแทนฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้กล่าวต่อวา-ซวอน เมื่อพบกันว่า
       
       “ภาพของท่านคือแสงเทียนริบหรี่ส่องให้ประเทศชาติที่กำลังจะสิ้นลม”
       
       ขณะเดียวกันนั้นเขาได้เหลือบไปเห็นเมฮง และนางเองกำลังจ้องมองเขาอยู่อย่างไม่วางตา วัยวันที่เปลี่ยนผ่าน มิอาจพรากความปรารถนาดีไปจากแววตาคู่นั้นเลยสักนิด

 
   
 
 
       “พวกแคทอลิกถูกประหารชีวิตน้อยลง ข้าก็เลยย้อนกลับมาที่กรุงโซลเมื่อไม่นานมานี้ เพราะข้าเป็นนางโลมเพียงคนเดียว ข้าก็เลยสามารถจากบ้านโน้นเข้าออกบ้านนี้ ผู้ว่าเมืองเจจูชอบข้ามาก ข้าก็เลยเดินทางมาเมืองเจจูพร้อมกับเขา หลังจากนั้นเขาก็ตาย ข้าก็เลยเปิดบ้านนี้เพื่อแสดงความขอบคุณเขา”
       
       เมฮงพาวา-ซวอนมายังบ้านหลังที่นางได้ครอบครองเป็นเจ้าของและเล่าถึงชีวิตของตัวเองในช่วงที่ต้องหนีเอาตัวรอดจากการถูกประหาร
       
       เพื่อให้วา-ซวอน ไม่มีความกังวลเรื่องปากท้องและสามารถคิดฝันสร้างงานของตัวเองต่อไปได้ นางจึงชักชวนให้เขาพักอาศัยอยู่กับนาง โดยที่นางจะเป็นฝ่ายสนับสนุนเขาทุกอย่าง
       
       “เพราะข้าแน่ใจว่าซักวันท่านต้องมาหาข้าแน่ ข้าได้ตัดเย็บเสื้อคลุมนี้ด้วยความรัก ในที่สุด มันก็ได้พบเจ้าของของมันจนได้”
       
       แพรผ้าสีขาวประดับด้วยภาพเขียนดอกพลับถูกนำมาคลี่เผยต่อสายตาจิตรกร อันเป็นที่รัก เพื่อรำลึกถึงความทรงจำที่เคยมีร่วมกัน
       
       “ท่านยังจำมันได้ไหม ท่านวาดมันตอนที่เราได้พบกันครั้งแรก ถ้าข้าขอให้ท่านวาดให้ข้าอีกภาพหนึ่ง ท่านจะวาดให้ข้าได้ไหม”
       
       ยังไม่ทันรับปากวา-ซวอนกลับถามถึงเจ้าของแจกันใบที่ไร้ลวดลายซึ่งตั้งโชว์อยู่ภายในบ้าน
       
       ความรักและความศรัทธาที่เมฮงมีต่อเขา เป็นแรงบันดาลใจให้นางเป็นศิลปินโดยไม่รู้ตัว
       
       “มือที่ต่ำต้อยได้ปั้นมันขึ้นมา ด้วยการนำทางของหัวใจที่เป็นสุขเหลือล้น ถึงเหมือนจะยังไม่เสร็จ มันก็ยังมีความจริงใจและความอบอุ่นแฝงอยู่อย่างมากมาย”
       
       วา-ซวอนเขียนภาพมอบให้กับนางตามคำขอ ทว่าเมื่อเมฮงได้เห็นภาพๆนั้นนางก็พบว่ามันวางอยู่ข้างเสื้อคลุมที่ถูกพับอย่างเรียบร้อย
       
       น้ำตาของเมฮงไหลอาบแก้ม ที่มิอาจล่วงรู้เหตุผลของการจากลา
       
       วา-ซวอนใช้ชีวิตพเนจรมาจนถึงโรงงานเครื่องปั้นดินเผาแห่งหนึ่ง และของานทำเพื่อแลกกับอาหารและที่พัก
       
       “ข้าเป็นจิตรกรร่อนเร่ ข้าพอจะขอพักอยู่ที่นี่ได้ไหม”
       
       “ตอนนี้เราต้องแข่งขันกับพวกถ้วยกระเบื้องเคลือบของญี่ปุ่น ก็เลยหากินลำบากหน่อย”
       
       “ขอแค่มีกินข้าก็พอใจแล้ว”
       
       ความสามารถในการเขียนภาพของวา-ซวอนเป็นสิ่งที่เจ้าของโรงงานหวังจะได้รับเป็นสิ่งแลกเปลี่ยน
       
       “หม้อพวกนี้ ถ้าไม่มีภาพสวยๆเขียนเอาไว้ก็ขายไม่ดีหรอก”
       
       ณ ที่พึ่งพิงของชีวิตแห่งนี้วา-ซวอนได้ค้นพบสัจธรรมของชีวิตมากมาย แม้จะได้รับการดูถูกจ้างลูกจ้างหนุ่มบางรายที่เห็นว่าจิตรกรแก่ๆเช่นเขา คงหมดสมรรถภาพที่จะทำงานต่อไปได้ แต่เมื่อได้รู้จักในตัวตนของวา-ซวอนมากขึ้น มิตรภาพก็คลี่คลายไปในทางที่ดี
       
       “โปรดอภัยให้กับความโง่เขาของข้าด้วยเถิดนะ ท่านคงจะไม่ใช่แค่จิตรกรธรรมดาแน่นอน” ลูกจ้างหนุ่มเอ่ยขึ้น ในคืนที่หลายคนต่างหลับไหล แต่วา-ซวอนยังนั่งพินิจมองเถ้าถ่านในเตาเผาที่ยังครุแดง
       
       วา-ซวอนฉีกยิ้มตอบสนองคำกล่าวนั้น และตั้งคำถามกับลูกจ้างหนุ่มกลับไปว่า
       “แล้วเจ้าหล่ะ เจ้าอยากจะปั้นแจกันแบบไหนออกมา”
       
       และเขาก็ได้ค้นพบสัจธรรมจากคำตอบ

       
       “จิตรกรอย่างท่านคงต้องการผงเหล็กเพื่อใช้วาด เพื่อให้ชิ้นงานมีชีวิตีวาขึ้นมาได้ ผู้จ้องมองก็อยากให้สายตาของพวกเขากวาดมองอย่างเหมาะสม เจ้าของเตาเผาก็ย่อมหวังผลงานชิ้นเอกซักชิ้นสองชิ้น แต่การตัดสินใจนั้นไม่ได้อยู่ที่พวกเรา แต่เป็นที่ไฟต่างหากหล่ะ”

       
       เมื่อลูกจ้างหนุ่มขอตัวไปเข้านอน วา-ซวอนค่อยๆคลานเข้าสู่เตาเผา อุทิศตัวเป็นเชื้อเพลิงให้ผลงานชิ้นเอก
       
       ให้ไฟช่วยตัดสินชีวิตของตัวเขาเอง
       
       นับแต่นั้นก็ไม่มีใครล่วงรู้ว่าทำไมเขาถึงหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอยไป แต่ตามตำนานเล่าขาน ใน ปี ค.ศ.1897เขาเดินทางไปยังเทือกเขาเพชร และกลายเป็นผู้บำเพ็ญเพียร ผู้เป็นอมตะ
       
       หมายเหตุ : ชิว วา- ซวอน จิตรกรผู้หยิ่งผยอง ที่มาจากภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตจิตรกรชาวเกาหลีเรื่อง CHIHWASEON ซึ่งคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก CANNES FILM FESTIVAL 2002


http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9510000089784


Chihwaseon Trailer


 
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 03:55:55 pm »






ชิว วา-ซวอนไม่ได้เขียนแค่ภาพต้นสน แต่เขายังทำให้ผู้ชมภาพของเขารู้สึกได้ถึงสายลมที่พัดผ่าน
       
       และเพื่อให้คนเข้าถึงความพอดีในงานศิลปะและกระตุ้นให้ดึงจินตนาการส่วนตัวออกมาใช้ เขามีคำแนะนำที่ดีเสมอ
       
       “ข้ามีลูกชายทั้งหมดเจ็ดคน เจ้าจงวาดนกกระเรียนเจ็ดตัวยืนรอบต้นสนนี้ซะ”
       
       “แค่นึกภาพต้นสนที่รายล้อมด้วยภูเขา แม่น้ำ กับนกกระเรียนที่ยืนอยู่เจ็ดตัวก็พอแล้วนะครับท่าน”
       
       วา-ซวอนจะมอบเขียนของเขาให้กับคนที่เขาพอใจจะให้เท่านั้น ภาพเขียนที่แต่ละคนได้รับจะกลายเป็นภาพปลอมแปลงขึ้นมาในทันที หากเขารู้ว่าคนเหล่านั้นใช้มันเพื่อเป็นสินบน
       
       “มีคนให้ภาพนี้กับข้ามาตั้งแต่ยังรับราชการ หลายคนบอกว่ามันเป็นของปลอม ท่านมาแล้วช่วยไขข้อข้องใจนี้ให้หน่อยเถอะ” ชายคนหนึ่งขอร้องให้เขาช่วยยืน
       
       แม้จะจดจำภาพเขียนฝีมือตัวเองได้ดี ที่ครั้งหนึ่งเคยมอบให้เป็นของขวัญวันเกิดพ่อของเพื่อน ทว่าคำตอบที่ชายคนนั้นได้รับ “ภาพเขียนของข้าส่วนมากเป็นของปลอมทั้งนั้นแหล่ะ ภาพนี้ก็ใช่”
       
       จากคำบอกเล่าของบรรดาเพื่อนสาวของเมฮง ทำให้วา-ซวอนได้ทราบข่าวว่านางได้วิ่งเปลือยกายหนีหายไปจากชายคาที่เคยพำนัก ในคืนที่มีทหารบุกเข้าไปตรวจตรา สามเดือนต่อจากนั้นนางหวนคืนกลับมาอีกครั้ง เพื่อมาคว้าเอาสิ่งหนึ่งที่นางหวงแหน
       
       “เสื้อคลุมตัวนั้น นางเฝ้าถนอมมันด้วยความรักใคร่ นางเย็บมันมากับมือ ตั้งใจจะมอบให้กับท่าน”
       
       ณ ทุ่งข้าวอันกว้างใหญ่แห่งมืองโกบู วา-ซวอนเพ่งสายตามองดูฝูงนกกลุ่มใหญ่ที่บินอยู่เหนือขอบฟ้า พร้อมๆไปกับเรื่องราวของขุนนางผู้คดโกงของเมืองๆนี้ ที่ทำให้ผลผลิตอันมากมายไม่อาจมีเพียงพอต่อการเลี้ยงปากท้องของประชาชน ทำให้ วา-ซวอนเกิดแรงบันดาลใจเขียนภาพฝูงนกกระจอกที่มีเหยี่ยวไล่จิก
       
       โดยปฏิเสธที่จะเขียนภาพตามที่เจ้าเมืองของเมืองนี้อยากจะได้ ขณะที่เหล่าขุนนางที่ต้องการเอาอกเอาใจเจ้าเมืองของตัวเองต่างตำหนิว่าเขาช่างโง่นักที่บังอาจปฏิเสธเจ้าเมืองผู้มีอำนาจ
       
       “ข้าเคยเห็นภาพต้นกกกับห่านป่าของท่าน มันเป็นภาพของห่านป่าฝูงที่บินอย่างอิสระอยู่เหนือกอต้นกก ถ้าข้าได้เห็นมันอีกซักครั้ง ข้าคงรู้สึกเบาใจ”
       
       “ขอบคุณที่ชมเชย แต่ข้าวาดภาพห่านป่าภาพนั้นตั้งแต่เมื่อสิบปีที่แล้ว ข้าจะวาดมันซ้ำอีกครั้งได้ยังไงกัน สำหรับจิตรกรทุกคน ทำซ้ำหมายถึงความตาย”
       
       วา-ซวอนดูจะมีความสุขมากกว่าที่ภาพฝูงนกกระจอกของเขาเป็นที่ประจำใจนางโลมของเมืองนี้
       
       “ภาพฝูงนกกระจอกถูกเหยี่ยวไล่ ทำให้เศร้านัก เพราะว่ามันทำให้ข้านึกถึงราษฎรที่ต้องทนทุกข์ของเมืองโกบู แต่ข้าประทับใจ เมื่อพวกมันตรงเข้าจิกเหยี่ยวนั่น เหมือนกับผู้คน เวลาที่พวกเขาเป็นคนดีแล้วเริ่มโกรธเกรี้ยว”
       
       นอกจากยอมพลีกายเพื่อมอบความสุขให้กับวา-ซวอนด้วยความเต็มใจนางยังปรารถนาที่จะมีทายาทกับเขาด้วย เพราะสำหรับนางแล้ววา-ซวอนคือจิตรกรผู้กล้าหาญ
       
       “ข้าจะให้เขาเป็นจิตรกรที่ยิ่งใหญ่กว่าท่านเสียอีกเพื่อขจัดความแค้นที่ข้าเกิดมาต่ำต้อย”
       
       แต่ไม่ทันที่นางจะเดินทางไปสู่เป้าหมาย คณะปฏิวัติก็ได้ลากตัววา-ซวอนออกไปถามไถ่ถึงที่ซ่อนตัวของผู้ว่าการเมืองโกบู
       
       วา-ซวอนได้รับการปล่อยตัวเมื่อคนเหล่านั้นเข้าใจว่าเขาเป็นเพียงแค่จิตรกรชื่อดังที่อาศัยกินน้ำเลี้ยงจากขุนนางโฉด เป็นพวกขายวิญญาณ ที่เห็นแก่เงินและความสบายของตัวเอง ไม่อาจล่วงรู้ได้ว่ายามนี้ท่านผู้การของเมืองวิ่งหางจุกตูดไปที่ไหนเสียแล้ว
       
       เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้วา-ซวอนจากเมืองโกบูไปด้วยความโดดเดี่ยว เพราะศิษย์รับใช้ผู้คอยติดตามเขาไปทุกหนทุกแห่ง ขอเลือกพาชีวิตเดินไปในเส้นทางใหม่ โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะปฏิวัติ
       
       “ การได้เป็นจิตรกรแบบท่าน เป็นความฝันอันโลดโผนสำหรับข้าแล้ว ข้ารับใช้ท่าน ข้าสนุกที่ได้อยู่กับท่าน แต่พอได้เห็นคนพวกนั้น ข้าได้พบความต้องการที่แท้จริงแล้ว ถ้าข้าสามารถช่วยเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้ ข้าคงอยากจะเข้าร่วมด้วย”
       
       ขณะที่ศิษย์รับใช้ก้มตัวลงพื้นคาราวะผู้เป็นอาจารย์ด้วยความอาลัย และไตร่ถามว่าต่อจากนี้เขาจะนำพาชีวิตไปสู่หนไหน
       
       ถ้อยคำสุดท้ายก่อนการจากลาที่หลุดออกจากปากจิตรกรผู้กล้า
       
       “ชีวิตมันก็เหมือนเมฆล่องลอย ข้าจะไปทุกที่ที่ขาพาไป”
       
       (อ่านต่อวันพฤหัสบดีหน้า)
       
       หมายเหตุ : ชิว วา- ซวอน จิตรกรผู้หยิ่งผยอง ที่มาจากภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตจิตรกรชาวเกาหลีเรื่อง CHIHWASEON ซึ่งคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก CANNES FILM FESTIVAL 2002


http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9510000086257
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 03:50:27 pm »




  ชิว วา- ซวอน คว้าภาพมาฉีกทำลายและทิ้งลงไปที่ธารน้ำตก เมื่อมิตรสหายบางคนประสงค์จะเก็บภาพที่เขาทดลองเขียนเล่นๆไว้
       
       ไม่เพียงเท่านั้นยังแสดงความบ้าบิ่น ด้วยการกระโดดลงไปในน้ำ เกาะก้อนหินใต้น้ำเอาไว้แน่น ราวไม่ต้องการให้ใครช่วยเหลือให้รอดพ้นจากความตาย
       
       แต่เมื่อถูกพาตัวขึ้นมาจากน้ำ เขากลับนั่งเป่าขลุ่ยผิงไฟอย่างสบายอารมณ์ โดยไม่มีใครสามารถล่วงรู้ความคิด ว่าอะไรทำให้หุนหันพลันแล่น อยากจะตายไปเสียจากโลกนี้
       
       หลังเคยถูกแนะนำให้รู้จักกับ คิม อ็อค ฮุน ตัวแทนฝ่ายอนุรักษ์นิยมมาแล้วครั้งหนึ่ง
       
       ณ กรุงโซลในปี ค.ศ.1883 วา- ซวอน ได้พบกับคนผู้นี้อีกครั้งที่บ้านหลังใหม่ของผู้ใจดี
       
       “พักหลังดูเหมือนเรื่องของเจ้าจะกลายเป็นหัวข้อให้คนพูดถึงกันทั่วทั้งเมืองภาพเขียนของเจ้ากลายเป็นเครื่องหย่อนใจของผู้คน มีคำกล่าวว่าการได้ครอบครองภาพของเจ้า ซักเพียงหนึ่งภาพก็ถืออว่าเป็นเกียรตินักแล้ว”
       
       วาระนี้วา-ซวอนนำสมุนไพรมาเยี่ยมผู้ใจดีซึ่งล้มป่วย และได้อยู่สนทนาอยู่นานสองนาน
       
       “เขาพูดกันว่าไม่มีอะไรที่เจ้าไม่สามารถวาดได้ไม่ว่าจะเป็นภาพคน ภาพนิ่ง หรือภาพวิวทิวทัศน์ เจ้าถูกปิดตาด้วยความนิยม นี่เจ้าสูญเสียพลังของเจ้าไปแล้วงั้นเหรอ”
       
       “นักปารชญ์กล่าวไว้ ในแต่ละวันบังเกิดสิ่งใหม่ขึ้น ข้าต้องการความก้าวหน้าในทุกวัน ข้าจะไม่ยอมติดอยู่ในตาข่ายของข้าเองหรอก ไม่ต้องห่วง”
       
       “ดีแล้วที่เจ้ารู้ตัว ในยุคสมัยก่อน ภาพต้องกลมกลืนกับความจริง แต่ภาพของเจ้า กลับแสดงโลกในความฝัน เป็นความเป็นจริงที่ถูกทำให้เกินเลยไป รากฐานคือสิ่งที่สะท้อนคววามรู้สึก เจ้าไม่สามารถวาดภาพชีวิตบนโลกที่มีความเจ็บปวด และทรมานอย่างนั้นเหรอ”
       
       “ผู้คนไม่มีสิ่งใดให้สามารถหย่อนใจได้ ถ้าข้าจะสามารถทำให้พวกเค้าผ่อนคลายด้วยการวาดภาพฝัน ข้าขอกระทำตามสิ่งที่ใจข้าบอกดีกว่า ภาพวาดเป็นเพียงภาพวาด ถ้ามันไม่แสดงให้เห็นถึงความต้องการของพวกพ้องก็ไร้ค่า”
       
       การสนทนากับผู้ใจดีในครั้งนี้ทำให้วา-ซวอนรู้สึกโกรธและน้อยใจอยู่มากที่ผู้ใจดีดูเหมือนจะไม่เข้าใจในแนวทางที่เขายึดมั่น
       
       ท่ามกลางฝนที่กำลังตกลงมาอย่างหนัก เขาถูกอ้อนวอนจากภรรยาและลูกชายของผู้ใจดีให้อยู่ต่อ ขณะที่เขาเองอยากจะพาตัวเองหนีออกไปจากบ้านหลังนั้นเสียให้พ้น
       
       เมื่อระงับความโกรธลงได้ วา-ซวอนจึงล้มเลิกความคิด และตัดสินใจอยู่พักค้างคืนที่บ้านของผู้ใจดี ในคืนซึ่งหลับไม่ลงนี้ เขานอนตื่นขึ้นมาเขียนภาพเพื่อมอบให้แก่เจ้าของบ้านแทนคำขอโทษ
       
       “เมื่อมองดูภาพวาด มันทำให้ข้ารู้สึกผ่อนคลาย ทำไมเจ้ามาลงสีหลังคาด้วยสีเหลืองล่ะ ว่างเมื่อไหร่เจ้าค่อยมาลงสีแล้วกัน”
       
       หันสือศิษย์รับใช้เดินทางมาแจ้งข่าว ว่ามีคนมาตามตัววา-ซวอนให้เข้าไปเขียนภาพในวัง
       
       วา-ซวอนได้รับตำแหน่งอันดับหกซึ่งทำให้เขาสามารถเข้าเฝ้าองค์จักรพรรดิได้ แม้จะเป็นตำแหน่งชั่วคราว แต่ก็ไม่มีมีจิตรกรนอกราชสำนักรายได้เคยได้รับเกียรตินี้
       
       ชีวิตที่สุขสบายในวัง ไม่ได้ทำให้วา-ซวอนเกิดแรงบันดาลใจอยากจะเขียนภาพเลยแม้แต่น้อย ยิ่งเมื่อทราบว่าเขาถูกเรียกตัวมาเขียนภาพเพื่อจะนำไปอวยพรวัดเกิดแม่ทัพหยวนซื่อไข่ แม่ทัพจากเมืองจีน จึงเดินหนีออกจากวังโดยไม่สนใจว่าใครจะทัดทานไว้
       
       “จะให้วาดภาพให้ต่างชาติ ซึ่งบุกรุกชาติของเราอย่างนั้นเหรอ”
       
       ซ่อนตัวอยู่แรมเดือนเขาก็ถูกจับเข้าไปในวังอีก เมื่อทราบข่าวว่าผู้ปฏิวัติโดยการช่วยเหลือญี่ปุ่นได้เข้ายึดอำนาจ วา-ซวอนก็หาทางหนีออกมาอีกจนได้เช่นกัน
       
       ผู้ใจดี หรือ อาจารย์คิม บง มูน ของวา-ซวอน ถูกตั้งความผิดว่าเป็นผู้ทรยศ จึงได้หนีไปซ่อนตัวยังที่ห่างไกลเพื่อไม่ให้ถูกฆ่า
       
       ท่ามกลางสถานการณ์ของบ้านเมืองที่กำลังตรึงเครียด วา-ซวอนพยายามปีนเข้าไป
       
       ในบ้านของผู้ใจดีซึ่งถูกปิดตาย โดยไม่สนใจป้ายติดประกาศห้ามเข้า
       
       ความตั้งใจของเขามีเพียงเข้าไปลงสีเหลืองที่ภาพของกระท่อม
       
       (อ่านต่อวันพฤหัสบดีหน้า)
       
       หมายเหตุ : ชิว วา- ซวอน จิตรกรผู้หยิ่งผยอง ที่มาจากภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตจิตรกรชาวเกาหลีเรื่อง CHIHWASEON ซึ่งคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก CANNES FILM FESTIVAL 2002
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 03:47:41 pm »




  “ดูก้อนหินสีดำโน่นซิ พวกเจ้าว่ามันขยับอยู่หรือไม่ ก้อนหินต่ำต้อยเพียงก้อนเดียวก็มองดูมีชีวิตได้ในสายตาของจิตรกร ถ้าก้อนหินมีชีวิตมันจะขยับ แต่ถ้ามันตาย มันก็จะหยุดนิ่ง พวกเจ้าไม่สามารถวาดก้อนหินที่ตายแล้วได้หรอก”

       
       ชิว วา-ซวอน สอนวิธีการมองธรรมชาติในแบบที่ตนเองมองให้แก่ศิษย์ ก่อนที่จะปล่อยให้พวกเขาวาดในสิ่งที่ตาเห็นลงไปบนแผ่นกระดาษ
       
       ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ไม่ได้ผ่านสายตาเขาเพียงแค่จะผ่านเลย เขามองมันอย่างพินิจพิจารณา เพื่อค้นหาความงามที่ใครอาจไม่ได้ใส่ใจ
       
       ของกำนัลจำนวนมากถูกส่งมาถึงเขา เพื่อหวังว่าจะได้ภาพวาดของเขาเป็นการแลกเปลี่ยน แต่วา-ซวอน ก็มิได้กระตือรือร้นที่จะทำให้คนเหล่านั้นได้สมหวัง ตราบใดที่หัวใจยังมิได้สั่งการให้มือตวัดปลายพู่กัน
       
       “หินก้อนนั้นมันเป็นของขวัญแด่ท่าน ท่านก็วาดมันสิ ของขวัญกองเป็นภูเขา พวกเขาเฝ้ารอภาพวาดของท่านอยู่นะ แต่ท่านไม่ยอมวาดอะไรเลยมาเดือนหนึ่งแล้วนะ ข้าเองก็เบื่อเต็มทีแล้วเหมือนกัน”
       
       ความพยายามของวา-ซวอน ที่จะทำให้ ศิษย์รับใช้อย่าง “หันสือ” มองหินโมกชองให้เข้าถึงความดำสนิทราวหมึกและหนักราวภูเขาลูกหนึ่ง มากกว่ามองเห็นแค่ความงามที่ผิวเผินและการเป็นหินที่หายาก กลับไม่เป็นผล ซ้ำยังถูกทวงถามว่าเมื่อไหร่เขาจะเริ่มต้นเขียนภาพให้แก่บรรดาเจ้าของ ของกำนัลเสียที
       
       “เด็กบ้า จะต้องอยากก่อน ข้าจะเขียนโดยไร้อารมณ์ได้ยังไง”
       
       ระหว่างนั้นเอง “กวักมินซุง” จิตรกรผู้มีชื่อในเรื่องการเขียนภาพเหมือนคน ได้ใช้ให้คนมายั่วโมโหวา-ซวอน ด้วยการสั่งให้เขาเขียนภาพอื่นแทนภาพที่เคยต้องการให้เขาเขียนให้แต่แรกเริ่ม จนวา-ซวอนเอะใจว่าเป็นใคร และได้ตามไปก่นด่าถึงที่บ้านของจิตรกรผู้นั้น
       
       “พวกบัณฑิตผู้ร่ำรวยและสุขสบายอย่างเจ้า ทำไมถึงขาดเขลายิ่งนัก ถ้าต้องการอะไรก็บอกข้ามาตรงๆ เลยดีกว่า อย่าสั่งให้ข้าวาดภาพ เพื่อให้เจ้าลอกเลียนแบบ”
       
       แต่แท้จริงแล้วมันคือกลอุบายเพื่อที่จะได้พบและสนทนากับวา-ซวอน ด้วยกวักมินซุงนั้นชื่นชมในฝีมือการวาดภาพของเขาอยู่ไม่น้อย
       
       “ในภาพวาดต้นกล้วยของท่าน แค่ไม่กี่เส้นสาย ท่านก็เข้าถึงความเต็มอิ่มของใบ และความว่างเปล่าของต้นกล้วยได้อย่างลึกซึ้ง ท่านใช้วิธีใดจึงวาดได้ยอดเยี่ยมเช่นนี้”
       
       ความสัมพันธ์ในฐานะศิลปินด้วยกันจึงเริ่มผลิบานอย่างช้าๆ โดยมีความรู้ที่แต่ละฝ่ายสั่งสมมาและเหล้าเป็นเครื่องสานสัมพันธ์
       
       แต่ฤทธิ์ของเหล้าก็ทำเอากวักมินซุงผู้ยังคออ่อน เมามายไม่ได้สติ จนไม่สามารถเรียนรู้การเขียนภาพจากวา-ซวอนได้มากอย่างที่ตั้งใจ
       
       ในวันที่ไปตามทวงคืนภาพม้าคู่จากร้านโชว์ภาพเพื่อนำกลับมาแก้ไข ดวงตาของวา-ซวอนเบิกกว้าง เมื่อไปสะดุดตากับใบหน้าอันอ่อนหวานของสาวนางหนึ่งในร้านขายผ้าไหม นางคือ “หางเอียน” นางโลมวัย 18 ปี จากสำนักคิมหันต์ ที่ทำให้เขาทุ่มใจเขียนภาพนกกับดอกไม้ เพื่อทำฉากกั้นห้องมอบเป็นของขวัญให้แก่นาง
       
       ทว่าเมื่อได้สนทนากับนางอย่างจริงๆ จังๆ เขากลับสิ้นเสน่หาในตัวนาง เพราะสำหรับเขาแล้วนางมีแค่เพียงความสวยที่ห่อหุ้มความขลาดเขลาเอาไว้เท่านั้นเอง
       
       “เจ้ามอบฉากกั้นห้องที่เจ้าใช้เวลาวาดนานถึงสามเดือน และวาดลงบนผ้าไหมราคาแพง แต่เจ้ากลับไม่ได้แตะต้องแม้แต่ปลายเล็บของนางเลย เจ้าทำไปทำไม ตอนนี้ฉากกั้นห้องถูกขายให้กับเศรษฐีรายนึงไปแล้ว”
       
       มิตรสหายต่างแจ้งข่าวให้วา-ซวอนทราบในคราวที่นัดแนะกันไปพักผ่อนที่น้ำตกแห่งหนึ่ง ทุกคนต่างแปลกใจที่เขายอมลงแรงโดยไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างที่ควรจะได้
       
       วา-ซวอนไม่ใส่ใจ ได้แต่ใช้ก้านไม้ที่ถูกทุบทำพู่กันเขียนภาพของเขาต่อไป
       
       “เอาก้านไม้มาใช้แทนพู่กันงั้นเหรอ นับว่าแปลกประหลาดยิ่งนัก”
       
       “ใครเป็นคนกำหนดว่า พู่กันต้องทำมาจากหางม้าเท่านั้น ข้าไม่ได้ตั้งใจหรอก ข้าลองวาดเล่นเท่านั้นเอง”
       
       มิตรบางคนบอกว่าเขาได้มาถึงจุดสูงสุดของชีวิตแล้ว ทั้งยังตั้งคำถามว่าเพราะอะไรเขาถึงต้องพยายามสร้างผลงานให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา
       
       วาซวอนตอบด้วยถ้อยคำสั้นๆ แต่มากด้วยความหมายกลับไปว่า
       
       “เพราะว่าข้ายังวาดภาพอยู่”
       
       (อ่านต่อวันพฤหัสบดีหน้า)
       
       หมายเหตุ : ชิว วา- ซวอน จิตรกรผู้หยิ่งผยอง ที่มาจากภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตจิตรกรชาวเกาหลีเรื่อง CHIHWASEON ซึ่งคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก CANNES FILM FESTIVAL 2002


http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9510000080809
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 03:43:59 pm »




“ตำแหน่งและโครงสร้างก็ถือว่ายอดเยี่ยมแล้ว ความกลมกลืนของสีสันหาที่ติได้ไม่ ความพึงพอใจในการสื่อความหมายออกไปก็นับว่าไม่มีที่ติ” 
     
       เมื่อเห็นว่าฝีมือของ ชิว วา- ซวอน พัฒนามากพอ ผู้ใจดีได้เสนอแนะแก่เขาว่า เขาควรจะฉีกตัวจากการเขียนภาพตามแนวทางของผู้อื่น มุ่งแสวงหาแนวทางของตัวเองได้แล้ว
       
       “จงแสดงจิตและวิญญาณของเจ้าออกมา...ภาพที่วาดเพื่อหากำไรและชื่อเสียงเพียงประเดี๋ยวประด๋าว เป็นสิ่งไร้ค่าและดันทุรัง”
       
       ใช่ว่าวา-ซวอนจะไม่เคยครุ่นคิดถึงเรื่องนี้ เขาคิดมาตลอดเพราะระยะหลังมานี้เขารู้สึกเป็นทุกข์เสมอที่ต้องเขียนภาพตามคำสั่งผู้อื่น และบ่อยครั้งที่เขาต้องละทิ้งพู่กันไป ท่ามกลางความฉงนของผู้ที่ไม่เข้าใจในสิ่งที่ใจจิตรกรถวิลหา
       
       เสียงขลุ่ยของจิตรกรผู้โดดเดี่ยวก้องกังวาล ในวันที่สีขาวของหิมะโปรยปรายลงสู่พื้น
       
       เด็กเร่ร่อนกลับมาหาวา-ซวอนอีกครั้ง เพื่อมาขออาศัยอยู่กับเขาเพียงช่วงฤดูหนาว
       
       “ข้าอยากจะวาดรูปให้ได้เหมือนท่าน แล้วข้าจะเอามันไปขายและจะได้คิดถึงท่าน”
       
       ถ้อยคำที่ใสซื่อนั้น ยังมากไปด้วยความชื่นชมในตัวเขา
       
       “นับแต่ข้าเลิกวาดภาพ แม้แต่รูปห่วยๆก็ไม่มี”
       
       เด็กน้อยอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมวา-ซวอนจึงเลิกเขียนภาพอย่างที่เคยเขียน และการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สำคัญอย่างไรกับจิตรกร
       
       “เพราะพวกเขาพบสิ่งที่คาดหวังได้ในภาพของข้า ข้าต้องหนีมันให้พ้นก่อน เพราะถ้าข้าหนีมันไม่พ้น ข้าจะต้องกลายเป็นทาสของพวกเขาตลอดไป”
       
       วา-ซวอนฝึกเขียนภาพอย่างหนัก กระดาษที่เขาใช้ทดสอบฝีมือมากมายจนแทบจะใช้เผาตัวองได้ ร้านขายกระดาษปฏิเสธที่จะให้เขาเชื่อค่ากระดาษอีกต่อไป เพราะไม่มีสักภาพที่เขาเขียนจะแปรค่าเป็นเงินได้
       
       อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดความพยายาม ก็ทำให้เขาบรรลุผลที่มุ่งหวัง
       
       “พู่กันของเขาไม่สั่นไหวเลย มันเป็นภาพที่งามจริงๆ เขาเปลี่ยนแปลงตัวเองได้แล้ว...ถ้าขายภาพนี้เขาซื้อบ้านหลังโตได้หลังนึงเลยนะเนี่ย หลังงามๆซะด้วย”
       
       ผู้ที่เฝ้าดูเขามาตลอดต่างพากันวิจารณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
       
       ก่อนที่เด็กเร่ร่อนจะลากลับไปทำงานในฤดูใบไม้ผลิ วา-ซวอนเขียนภาพมอบแก่มิตรผู้เยาว์วัยหนึ่งภาพ และทำสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนในชีวิต นั่นคือ ประทับชื่อลงไปในภาพนั้นด้วย
       
       “ถ้าให้เด็กอย่างเจ้าไปเที่ยวขาย ใครจะเชื่อว่านี่เป็นภาพที่ข้าวาดล่ะ”
       
       เวลาผ่านไปหลายปี ชาวญี่ปุ่นผู้เคยสะสมภาพของวา-ซวอน ตามมาอ้อนวอนขอให้เขาเขียนภาพให้อีกครั้ง เพราะได้ไปเห็นภาพเขียนภาพเหยี่ยวซึ่งเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ตำบลชงชุงครอบครองอยู่ นัยย์ตาเหยี่ยวช่างดูมีชีวิตจนอยากจะได้ภาพแบบนั้นเก็บไว้สักภาพ
       
       “จะซื้อเขาแต่เขาบอกว่าจะไม่ขายภาพนั้น จนกว่าท้องทะเลจะแห้งเหือด” ชายชาวญี่ปุ่นบอกแก่วา-ซวอน
       
       เด็กหนุ่มคนนั้นคือเด็กเร่ร่อนคนที่เคยร่วมทุกข์มากับเขานั่นเอง ยามนี้เลี้ยงชีพด้วยการเปิดแผงเล็กๆขายกระดาษอยู่ในตลาดโบเอ

       
       ขณะที่วา-ซวอน กำลังเริ่มต้นทำหน้าที่เป็นดั่งครามซึ่งเปล่งแสงสีฟ้าให้งดงาม
       
       
       (อ่านต่อวันพฤหัสบดีหน้า)
       
       หมายเหตุ : ชิว วา- ซวอน จิตรกรผู้หยิ่งผยอง ที่มาจากภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตจิตรกรชาวเกาหลีเรื่อง CHIHWASEON ซึ่งคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก CANNES FILM FESTIVAL 2002


http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9510000076640
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 03:40:49 pm »




ครบรอบวันคล้ายวันเกิดของผู้ว่าการหัวเมือง ซึ่งไกลออกไปจากกรุงโซล บรรดาอาจารย์และลูกศิษย์ที่มีฝีมือของโรงเรียนศิลปะ ต่างถูกเรียกไปรวมตัวเพื่อร่วมหารือเรื่องการเขียนภาพชิ้นพิเศษมอบให้เป็นของขวัญเจ้าของวันเกิด
       
       
       เฮซันผู้เป็นอาจารย์ซึ่งผ่านการเขียนภาพให้กับจักรพรรดิ์มาแล้วหลายคน กลับไม่ได้สร้างความปลื้มใจให้กับท่านผู้ว่าการรายนี้ได้เท่า การที่ได้รู้ว่า ชิว วา- ซวอน จะเป็นหนึ่งในคณะจิตรกรผู้เขียนภาพ
       
       ไม่เพียงท่านผู้ว่าการจะไม่ประสงค์อยากได้ภาพต้นสนและภาพนกกระเรียนตามที่อาจารย์เฮซันเสนอ ท่านผู้ว่าการยังขอเปลี่ยนให้เขียนภาพไก่ฟ้า และมีข้อแม้ด้วยว่าต้องเป็นวา-ซวอนเท่านั้นที่เป็นคนเริ่มต้นเขียนภาพก่อนใครๆ
       
       “ไก่ฟ้า เป็นคำขอเพื่อให้ได้ตำแหน่งสูงสุด จะเป็นรองก็แต่องค์จักรพรรดิ์เท่านั้น ดอกโบตั๋น คือความร่ำรวยและลาภยศ ผลของลูกท้อ หมายถึงอายุที่ยืนยาวและมีความรุ่งเรืองยาวไกล กระดองปู หมายถึงการรู้จักเลือกที่พำนักในชีวิต เพราะปูรู้จักวิธีหลบหลีก มนุษย์เราจึงต้องเรียนรู้ว่า เมื่อไหร่ควรจะล่าถอย”
       
       ท่านผู้ว่าการบรรยายถึงปรัชญาที่ซ่อนอยู่ในภาพให้บุตรชายตัวน้อยฟัง เมื่อภาพเขียนในแบบที่ปรารถนาเสร็จสมบูรณ์ โดยหารู้ไม่ว่าความปรารถนาของเขาได้ทำให้อาจารย์เฮซันรู้สึกเสียหน้า เพราะได้แสดงฝีมือก็แต่การเขียนรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆของภาพเท่านั้น หาใช่ภาพไก่ฟ้าซึ่งเป็นส่วนที่กุมหัวใจสำคัญของภาพไว้ทั้งหมด
       
       ลูกศิษย์คนอื่นๆเกลียดชังวา-ซวอน ที่บังอาจลงมือเขียนภาพก่อนผู้เป็นอาจารย์ พวกเขาให้เหตุผลว่าวา-ซวอน น่าจะเอ่ยปากปฏิเสธความต้องการของท่านผู้ว่าการให้ถึงที่สุด
       
       เมื่อวา-ซวอนแวะไปเยี่ยมอาจารย์เฮซันที่โรงเรียนศิลปะ พวกเขาต่างพากันขับไล่วา-ซวอนด้วยความโกรธแค้นและกล่าวว่าอาจารย์เฮซันได้ลาออกจากโรงเรียนไปแล้ว
       
       วา-ซวอนจึงตามไปที่บ้านของผู้เป็นอาจารย์ เพื่อขอให้ยกโทษให้ เพราะเขามิเคยคิดจะหลบหลู่หรือเทียบตัวเสมอผู้อาวุโสแต่อย่างใด
       
       จากเย็นย่ำของวันไปจนถึงเช้าตรู่ของอีกวัน วา-ซวอน นั่งคลุกเข่าอยู่อย่างนั้นเพื่อพิสูจน์ตัวเอง กระทั่งผู้เป็นอาจารย์ใจอ่อนยอมให้พบ
       
       “เจ้าลุกขึ้นเถอะ เจ้าไม่จำเป็นต้องมาขออภัยจากข้าหรอก เพราะมันคงจะเป็นการพิสูจน์แล้วว่า ความสามารถของเจ้าได้รับการชื่นชมมากกว่าข้า สีฟ้าที่เปล่งแสงออกมาจากคราม ย่อมงดงามกว่าตัวครามเอง แต่ถ้าปราศจากคราม ก็มิบังเกิดสีฟ้าได้เช่นกัน เจ้าต้องเป็นตัวอย่างให้กับลูกหลานของพวกเราในอนาคตข้างหน้า จงทำตัวเช่นคราม”
       
       เมื่อเมฆก้อนที่บดบังมิตรภาพระหว่างอาจารย์และศิษย์สลายไป วา-ซวอนกลับไปยังบ้านของผู้ว่าการ ณ หัวเมืองซึ่งมีชื่อกระฉ่อนในเรื่องพวกผู้ดีเกียรติคร้านและขุนนางฉ้อฉลอีกครั้ง เพื่อไปขอพบกับหญิงสาวนางหนึ่งผู้ซึ่งเขาเคยคิดว่าจะไม่มีโอกาสได้พบหน้าตลอดชีวิต เพราะที่ผ่านมาเขาเฝ้าตามหานางไปทุกหนทุกแห่งแต่ก็ไม่พบ นับแต่เหตุการณ์ที่ผู้สำเร็จราชการเดวอง สั่งให้ประหารชาวแคทอลิค
       
       นางคือเมฮง ดอกพลับในใจเขานั่นเอง
       
       ทว่าการได้พบกันและได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข นางกลับมิอาจติดตามเขากลับไปยังกรุงโซลและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ เพราะนางยังห่วงในความปลอดภัยของตัวเอง และกำลังเตรียมหนีไปซ่อนตัวยังเมืองอื่น ด้วยมีขุนนางบางคนเริ่มระแคะระคายว่านางคือชาวแคทอลิกที่หนีรอดจากการถูกประหารมาได้
       
       “เวลาที่ข้าเห็นผลงานท่าน ข้าแทบจะลืมเรื่องทางโลกทั้งหมด มันก็แปลกดีนะ”
       
       “การปลอบประโลมด้วยภาพ และการยอมรับการปลอบประโลมคืองานจิตรกร”
       
       ทั้งคู่จึงจำต้องพรากจากกัน ทั้งๆที่เยื่อใยยังมีต่อกัน
       
       (อ่านต่อวันพฤหัสบดีหน้า)
       
       หมายเหตุ : ชิว วา- ซวอน จิตรกรผู้หยิ่งผยอง ที่มาจากภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตจิตรกรชาวเกาหลีเรื่อง CHIHWASEON ซึ่งคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก CANNES FILM FESTIVAL 2002


http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9510000074660
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 03:38:44 pm »




จากทุ่งนาสีเขียว สู่แผ่นดินอันแห้งแล้ง จากผืนน้ำ สู่ใบไม้ในราวป่า จากการโผผินของฝูงนก สู่ฤดูหนาวอันแสนยาวนาน
       
       ชิว วา- ซวอน ดื่มด่ำกับความงามของธรรมชาติจนเป็นที่พอใจ ก่อนจะคืนสู่เรือนพำนักของผู้ใจดีอีกครั้ง
       
       ด้วยความกรุณาของผู้ใจดี เขาได้ชื่อใหม่อีกชื่อว่า “อูวอน” พ้องกับจิตรกรดังอย่าง แดนวอน และเฮวอน
       
       “แม้ว่าศิลปะของจีนจะมีความงามก็ตาม แต่เจ้าควรจะได้เห็นผลงานที่แสดงถึงจิตวิญญาณของบรรพบุรุษเราด้วย”
       
       ผู้ใจดีกล่าวระหว่างนำเขาไปยังบ้านของญาติสนิทซึ่งมีผลงานศิลปะของเกาหลีสะสมอยู่มากมายและไม่ง่ายนักที่จะเปิดบ้านให้ใครได้เข้าชม
       
       “จิตรกรไร้การศึกษาทำไมถึงสามารถสร้างภาพเขียนอันยอดเยี่ยม การวาดภาพถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ของเขาจริงๆเลยนะ”
       
       แม้จะได้เปิดตาชมภาพเขียนรูปแบบใหม่ๆ แต่วา- ซวอนก็มิวายถูกชายบางคนในบ้านหลังนั้นกล่าวกระทบกระเทียบ ให้เจ็บช้ำน้ำใจ
       
       ด้วยความคับแค้นใจ เขาถึงกลับดื่มหนัก และพาร่างที่โซซัดโซกลับไปยังบ้าน ที่เช่าไว้อาศัยกับนางโลมและเด็กเร่ร่อนคนหนึ่งที่เขาช่วยชีวิตเอาไว้
       
       “ภาพวาดที่แท้จริงบอกตัวมันเองได้โดยไม่ต้องถ้อยคำ มีแต่พวกชั้นปลายแถวที่ต้องใส่บทกวีลงไปในภาพวาด พยายามหลอกคนอื่นด้วยปรัชญาจอมปลอมของพวกมัน ”
       
       สิ่งที่ฝังแน่นอยู่ในใจวา-ซวอนพรั่งพรูออกมาราวทำนบแตก เขาไม่เห็นด้วยกับภาพเขียนที่ต้องอาศัยบทกวีมาเป็นสิ่งเชิดชู เพื่อช่วยให้ภาพสมบูรณ์ เพราะเขาเชื่อว่าภาพเขียนสามารถสมบูรณ์ได้ในตัวมันเอง
       
       ความหมกมุ่นคุ่นคิดอยู่แต่กับการเขียนภาพไม่แยแสใดๆกับทั้งทุกข์และสุขของนางโลมที่เขามีชีวิตอยู่ร่วม ทำให้อัดอั้นใจไว้ไม่อยู่ จำต้องระบายออกมาด้วยความน้อยใจ ตามมาด้วยการทะเลาะกันรุนแรง จนเขาต้องหอบหิ้วอุปกรณ์เขียนภาพหนีออกจากบ้านเช่าหลังนั้นไป
       
       แม้วา-ซวอนจะดูไม่เอาไหนกับชีวิตคู่ แต่เพราะความชื่นชมในความสามารถของเขา ที่แม้ในยามเมามายก็สามารถใช้สองมือต่างพู่กัน เขียนภาพได้อย่างน่าอัศจรรย์ เด็กเร่ร่อนจึงเลือกที่จะติดตามวา-ซวอนไปทุกหนทุกแห่ง ด้วยหวังว่าจะได้เรียนรู้เรื่องการเขียนภาพจากเขาบ้าง
       
       ทว่าความลำบากที่ได้พบ ทำให้เด็กเร่ร่อนคนนั้นจำต้องบอกลา เพื่อไปหาเลี้ยงปากท้องด้วยการทำงานในฟาร์มให้กับญาติห่างๆที่ยังหลงเหลืออยู่
       
       วา-ซวอนได้แต่เข้าใจ ด้วยรู้ดีว่าการมีชีวิตอยู่ร่วมจิตรกรผู้ยากไร้เช่นเขา ไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับเด็กตัวเล็กๆคนหนึ่ง
       
       เมื่อหาเงินจากการเขียนภาพได้จำนวนหนึ่ง เขาจ่ายเงินเพื่อซื้อหีบราคาแพงไปฝากนางโลมที่บ้านเช่า เพื่อหวังจะขอคืนดีกับนาง ทว่าภาพที่เขาพบคือนางได้พาผู้ชายอื่นมานอนร่วมห้อง ทั้งยังเป็นผู้ชายที่เขาเกลียดชังในพฤติกรรม จึงทำให้เขาตัดสินใจแยกทางกับนางอย่างแท้จริง
       
       แม้นางจะไม่เรียกร้องให้เขาอยู่ต่อ แต่นางก็มีข้อแม้ว่าเขาต้องเขียนภาพที่ดีสุดให้กับนางสักภาพ
       
       ภาพเขียนชิ้นเดียวและชิ้นสุดท้ายที่วา-ซวอนเขียนให้กับนาง มีขนาดใหญ่พอที่จะใช้ประดับฉากกั้นห้อง ซึ่งเมื่อวา-ซวอนจากไปไม่นาน นางก็ได้นำมันไปขายให้กับเศรษฐี
       
       ความงามของภาพ เป็นที่กล่าวถึงกันไปทั่ว จนใครๆก็อยากจะเห็นเป็นบุญตาสักครั้ง

       
                                                                              (อ่านต่อวันพฤหัสบดีหน้า)
       
       หมายเหตุ : ชิว วา- ซวอน จิตรกรผู้หยิ่งผยอง ที่มาจากภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตจิตรกรชาวเกาหลีเรื่อง CHIHWASEON ซึ่งคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก CANNES FILM FESTIVAL 2002

http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9510000071655
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 03:36:37 pm »

 


       ความสามารถในการคัดลอกภาพต้นฉบับภาพเขียนของราชวงศ์จีน ของ ชิว วา- ซวอน ยังเป็นที่เลื่องลือ ไม่ว่าชีวิตของเขาจะซัดเซเพนจรไปที่ไหน ก็มักถูกถามถึงอยู่เสมอ
   
     

       แต่ไม่ว่าจะได้รับคำสรรเสริญเยินยอมากมายเพียงใด วา-ซวอน ก็ดูจะทำเป็นฝนตกไม่ต้องฟ้าร้องไม่ถึง
       
       พ่อค้าภาพบางรายหวังจะได้รับประโยชน์จากความสามารถของเขา พยายามหาเหตุจูงใจให้เขาคัดลอกภาพเขียนอื่นๆ เพื่อนำไปค้าขาย บ้างก็ยกตัวอย่างศิลปินดังให้ฟัง ว่าพวกเขาก็มิได้ปฏิเสธที่จะทำกัน
       
       วา-ซวอน พลิกชมอัลบั้มภาพเชิงสังวาสที่พ่อค้าภาพเลือกมาเสนอ อย่างไม่ใส่ใจกระไรนัก ก่อนจะตอบไปว่า
       
       “ข้าจะรอจนกว่าข้าดังแล้วถึงจะวาดให้”
       
       ดูเหมือนพ่อค้าภาพจะไม่เข้าใจในสิ่งที่วา-ซวอน พูด ว่าไม่มีใครผู้ใดสามารถบังคับให้ศิลปินทำในสิ่งที่ฝืนใจได้ ซ้ำยังเรียกนางโลมมาสนองกำหนัดชายผู้ไม่เคยผ่านการต้องเนื้อต้องตัวสตรีมาก่อนเช่นเขา เผื่อว่าหลังจากนั้น เขาอาจคิดเปลี่ยนใจ
       
       ทว่ามีแต่ภาพเขียนของราชวงศ์จีนเท่านั้นที่วา-ซวอนพึงใจจะคัดลอก เพื่อหาเงินมาประทังชีวิต จนวันหนึ่งข่าวคราวได้รู้ถึงหูผู้ครอบครองภาพต้นฉบับ เจ้าของรังนอนที่เขาจากมา
       
       ชายผู้นั้นเดินทางมาพบ วา-ซวอน ด้วยตัวเอง นอกจากกวาดสายมองดูภาพลอกแบบ ด้วยความอิดหนาระอาใจ ยังหยิบดูภาพของหญิงสาวนางหนึ่งที่วา-ซวอนตั้งใจเขียนอยู่นานสองนาน ขึ้นมาพินิจพิจารณา โดยมิได้เอะใจว่ามันคือภาพของซงวุนลูกสาวคนเล็กที่ป่วยกระเสาะกระแสะของตัวเอง ซึ่งนางเพิ่งจะออกเรือนไปเมื่อไม่นาน
       
       “เจ้าน่าจะศึกษาฝีมือจนกว่านิ้วของเจ้าจะหลั่งโลหิต จะมามัวเสียเวลาทำอย่างนี้ทำไม”
       
       ชายผู้นั้นกล่าวเตือนสติ เพราะไม่อยากเห็นอนาคตของวา-ซวอนจมปลักอยู่แค่การคัดลอกภาพขาย
       
       ทั้งยังเลิกถือโทษโกรธเคืองเรื่องราวที่วา-ซวอนเคยประพฤติ เพราะหลังจากนั้นชายผู้นั้นก็ได้พา วา-ซวอนไปฝากเรียนที่โรงเรียนศิลปะแห่งหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียง
       
       “กรุณารับเขาเป็นศิษย์ด้วย เขาอาจจะเรียนรู้มาไม่นานนัก แต่ความสามารถของเขาไม่ควรจะเสียเปล่า”
       
       วา-ซวอนได้ถูกเคี่ยวกรำอย่างหนักในเรื่องการเขียนภาพ
       
       “ทำไมถึงออกมาหยาบอย่างนี้หล่ะ อย่าใช้วิธีหักพู่กันไปมา แต่จงลากไปมันไป...การวาดไม่ใช่แค่มองเห็นรูปร่าง แต่ให้เข้าถึงหัวใจของมันด้วย...สิ่งที่สำคัญกว่าเส้นสายก็คือสิ่งที่อยู่ระหว่างเส้น มีเพียงจิตใจที่นำทางปลายพู่กัน”
       
       นับวันวา-ซวอนยิ่งลึกซึ้งในสิ่งที่บรรดาอาจารย์ในโรงเรียนศิลปะชี้แนะ และฝีมือของเขาได้พัฒนาจนสามารถเป็นตัวตายตัวแทนอาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาให้
       
       ในงานเลี้ยงฉลองตอบแทนปลายปลายพู่กันของวา-ซวอน หลังจากที่ถูกเลือกให้ทำหน้าที่เขียนภาพประดับพัดให้แก่ขุนนางแทนผู้เป็นอาจารย์ โชคชะตานำพาให้วา-ซวอนพบกับเมฮง หญิงสาวนักดนตรี ผู้มีอีกสถานะเป็นนางโลมมาช่วยชุบชีวิตให้ตื่นฟื้นและหลับฝันด้วยใจอันเป็นสุขอีกครั้ง
       
       “ดอกพลับนี้เบ่งบานเพื่อเจ้าคนเดียวเท่านั้น”
       
       วา-ซวอนจดปลายพู่กันเขียนภาพดอกไม้อันแสนสวยลงบนแพรผ้าสีขาวมอบแด่นางด้วยความรักใคร่
       
       แต่แล้วในปี ค.ศ.1866 ผู้สำเร็จราชการเดวอง สั่งให้ประหารชาวแคทอลิก มิสชันนารี 9 คน และชาวเกาหลี 8,000 คน ถูกตัดหัว
       
       ดอกพลับที่เพิ่งเบ่งบานในใจวา-ซวอนพลันสยายกลีบร่วงหล่น
       
       เพราะเหตุการณ์นี้ทำให้วา-ซวอนเชื่อว่านางโลมเมฮง ซึ่งเป็นแคทอลิก อาจถูกประหารไปด้วย
       
       “ท่านมักพูดว่านอกจากพระเจ้าแล้วเราต่างเท่าเทียม ท่านต้องการจะกำจัดความไม่เท่าเทียมในเกาหลีให้สิ้นไป แต่ท่านได้ละทิ้งความฝันแล้ว”
       
       อาจารย์ผู้หนึ่งกล่าวถึงผู้สำเร็จราชการให้วา-ซวอนฟัง ขณะเดินตามรถเข็นศพของผู้ใกล้ชิดไกลออกไปจากกองศพที่ถูกทิ้งเกลื่อนกลาด





       
       ชีวิตต่อจากนั้นของวา-ซวอนมุ่งทุ่มเทให้กับการเขียนภาพ จนเมื่อพ่อของซงวุน นางผู้เคยทำให้เขาเฝ้าคิดถึง สั่งผู้รับใช้ให้มาตามตัวเขากลับไปพบ เขาจึงได้ทราบข่าวว่านางกำลังจะจากโลกนี้ไปและหวังอยากให้เขาเขียนภาพให้ชื่นชมเป็นครั้งสุดท้าย
       
       หยาดน้ำตาของซงวุนรินไหลเมื่อเอียงหน้ามองดูภาพนกตัวที่โดดเดี่ยวตัวหนึ่ง ที่วา-ซวอนเขียนให้
       
       ภาพนกและภาพใบหน้าของจิตรกรที่นางรักเลือนหายไปพร้อมร่างกายที่ดับสูญของนาง
     

 
       (อ่านต่อวันพฤหัสบดีหน้า)
       
       หมายเหตุ : ชิว วา- ซวอน จิตรกรผู้หยิ่งผยอง ที่มาจากภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตจิตรกรชาวเกาหลีเรื่อง CHIHWASEON ซึ่งคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก CANNES FILM FESTIVAL 2002
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 03:29:20 pm »






...จงจับพู่กันไว้ราวกับเจ้าประคองไข่เอาไว้ในมือ จับมันด้วยนิ้วทั้งห้าของเจ้า จากปลายนิ้วสู่พู่กัน จากพู่กันสู่กระดาษ พลังชีวิตของเจ้า จะหลั่งไหลลงไป ขั้นแรกจงวาดโครงร่างซะก่อน ทุกๆการสะบัด คือโครงร่างหลักของภาพ ตามมาด้วยการแรเงา การลงแรเงา ทำให้เกิดระยะห่าง ทำให้วัตถุมีความตื้นลึกต่างกัน...
       
       นอกจากเสียงขลุ่ยอันไพเราะในทุกค่ำคืนแล้ว ชิว วา-ซวอน ยังจดจำถ้อยคำเหล่านี้ของผู้เป็นอาจารย์ได้จนขึ้นใจ เขาเรียนรู้และฝึกฝนตนเองเรื่อยมา แม้ในวันที่เสียงขลุ่ยและถ้อยคำนั้น ไม่มีโอกาสขับขานและกล่าวซ้ำได้อีก
       
       “ท่านบอกว่าจิตรกรทุกคนต้องรู้จักบทกวี แม้จะล้มป่วยหนักท่านก็สอนบทกวีอันเก่าแก่ให้แก่ข้า ตอนนี้ดวงตาข้าเปิดกว้างแล้ว”
       
       วา-ซวอน รำลึกถึงอาจารย์ผู้จากไปต่อผู้ใจดีที่เคยช่วยเหลือเขา ขณะคลี่ผ้าเผยเครื่องดนตรีชิ้นเดียวที่อาจารย์ฝากไว้ให้ติดตัว

 
   
       สิ้นอาจารย์ วา-ซวอนต้องมาอาศัยอยู่ภายใต้ชายคาใหม่ ที่ผู้ใจดีเป็นผู้ฝากฝังให้อีกเช่นเคย แตกต่างกันตรงที่คราวนี้เขาไม่มีผู้ซึ่งเป็นเสมือนเข็มทิศชี้ทางในการเขียนภาพให้อีกต่อไป หนำซ้ำชีวิตในแต่ละวัน หนักไปกับการใช้แรงงานเพื่อแลกกับที่ซุกหัวนอนและข้าวปลาอาหาร
       
       ริจะเป็นศิลปินโดยไม่มองดูตัวเอง เป็นคำที่เขามักถูกค่อนขอดจากผู้ใช้แรงงานด้วยกัน ซ้ำยังถูกตราหน้าว่าขี้เกียจ กินแรงผู้อื่น


       
       แม้จะถูกทำร้ายจนบาดเจ็บแต่ วา-ซวอนก็ปลีกตัวเองจากการงานที่เหน็ดเหนื่อยและความเกลียดชังนั้น หันมาชื่นชมธรรมชาติรอบๆตัวที่สำแดงให้เห็นถึงความงามอยู่ทุกเสี้ยววินาที และบางครั้งความงามนั้นก็สะท้อนออกมาจากหญิงลูกสาวคนเล็กของเจ้าของบ้านผู้ที่เขาต้องตาโดยไม่ทันตั้งตัว นางผู้มองคุณค่าของหมึกเปื้อนกระดาษชื่นชมในผลงานของเขาเป็นยิ่งนัก ขณะที่เขาแอบหลงรักนางอยู่อย่างเจียมเนื้อเจียมตัว
       
       แต่ ไม่นานวา-ซวอนก็ต้องเขียนภาพปลอบประโลมตัวเอง ในวันที่ชีวิตของเธอพบคนที่คู่ควร แววตาที่เคยมุ่งมั่นของเขาจึงคล้ายมีม่านของความเศร้าปกคลุมอยู่บางๆ

 
 
       เหตุจากการแอบลักลอบเข้าไปชมอัลบั้มภาพเขียนของราชวงศ์จากเมืองจีนเพื่อนำมาคัดลอกแบบ โดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้วา-ซวอนถูกผู้เป็นเจ้าของบ้านจับได้ในเวลาต่อมา แม้มันจะไม่ใช่ภาพต้องห้ามอะไร ทว่าสิ่งที่เขาทำเข้าข่ายโจร ที่ไม่อาจเลี้ยงไว้ให้เสียข้าวสุก
       
       “ข้าว่าภาพวาดที่ลอกแบบมันมีความร่าเริงแฝงอยู่ด้วย นับว่าเขามีความจำดี มีพรสวรรค์ในการสังเกต”
       
       บางคนแสดงความเห็น เมื่อภาพที่เขาวาดถูกนำมาเทียบเคียงกับภาพต้นฉบับ
       เขาทำให้หลายคนได้ทึ่งถึงความสามารถในการคัดลอกภาพต้นฉบับ ได้เหมือนราวกับเป็นภาพเดียวกัน ทั้งที่เคยเห็นภาพต้นฉบับแค่เพียงครั้งเดียวและที่สำคัญเขาทำให้ภาพลอกแบบนั้นสัมผัสได้ถึงอารมณ์และจิตวิญญาญซ่อนอยู่ในภาพ มากยิ่งกว่าภาพต้นฉบับ
       
       อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดชีวิตของเขาก็ต้องระเห็ดออกมาสู่โลกภายนอก และมันเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตจิตรกรไร้ที่พำนักถาวร ไปพร้อมๆกับการใช้ชีวิตในแบบบุรุษเจ้าสำราญ ผู้มีสุราและนารีเป็นเครื่องชโลมใจ     
 
       (อ่านต่อวันพฤหัสบดีหน้า)
       
       หมายเหตุ : ชิว วา- ซวอน จิตรกรผู้หยิ่งผยอง ที่มาจากภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตจิตรกรชาวเกาหลีเรื่อง CHIHWASEON ซึ่งคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก CANNES FILM FESTIVAL 2002
 
http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9510000065314