ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 12:31:58 am »

 :06: ขอบคุณครับน้องฝน เข่าพี่ดีนะ รอดๆ
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2010, 11:19:17 pm »

หยุดพฤติกรรม “ทำร้ายเข่า"
  โดยมากแล้ว อาการปวดเข่าเป็นสิ่งที่บรรดาวัยรุ่นและวัยทำงานไฟแร งทั้งหลายมองว่าเป็น อาการเจ็บป่วยที่แสนจะไกลตัว และเป็นธรรมดาของภาวะสูงอายุ แต่ที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยไม่เคยรู้เลยก็คือ ข้อเข่าเสื่อมไม่ใช่ภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะผู้สูงอายุเ ท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แล้วแต่ลักษณะนิสัยและการดำเนินชีวิตของแต่ละคน และที่น่ากังวลไปกว่านั้นก็คือ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุชัดว่า แนวโน้มการเกิดขึ้นของข้อเข่าเสื่อมนั้น นับวันจะเกิดขึ้นกับคนที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ

...ที่สำคัญก็คือ พฤติกรรมทั้งหลายทั้งปวงที่เราคิดว่าเป็นพฤติกรรมปกต ิ ทำเป็นประจำทุกวัน และไม่น่าจะอันตรายอะไร กลับเกี่ยวข้องกับการเกิดข้อเข่าเสื่อม และเป็นความเสี่ยงที่หลายๆ ทำกันเป็นประจำเสียด้วย!?

รศ.นพ.พัชรพล อุดมเกียรติ แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านออร์โธปิดิกส์ กระดูกและข้อภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ภาพเค้าโครงของหัวเข่ามนุษย์ให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ว่า ข้อเข่าประกอบด้วยกระดูก 3 ส่วน คือ กระดูกส่วนล่างของกระดูกต้นขา กระดูกส่วนบนของกระดูกหน้าแข้งและกระดูกสะบ้า บริเวณที่กระดูก 3 ชิ้น ที่สัมผัสกันจะมีกระดูกอ่อนผิวข้อปกคลุมอยู่ ปกติแล้วกระดูกอ่อนผิวข้อจะหนาประมาณด้านละ 3-4 มิลลิเมตร

“โรค ข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อนั้นถูกทำลาย ตามปกติกระดูกอ่อนผิวข้อจะมีเรียบลื่น เป็นมัน ทำหน้าที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อเป็นไปอย่างเรีย บลื่นไม่สะดุด ช่วยกระจายแรงและลดแรงกดกระแทกที่เกิดขึ้นกับข้อต่อ ซึ่งในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจะพบว่ากระดูกผ ิวข้อจะบางลง มีการแตกและเปื่อยยุ่ย จนในที่สุดจะมีการสูญเสียกระดูกอ่อนผิวข้อไป ระหว่างนี้อาจมีการอักเสบของเยื่อบุข้อทำให้มีน้ำในข ้อมากขึ้นจนมีการบวมของ ข้อเข่าให้สังเกตได้และจะมีกระดูกงอก ตามขอบผิวข้อเดิม ร่วมกับจะมีการโก่งผิดรูปของข้อเข่าในระยะท้ายของโรค ” แพทย์ผู้เชี่ยวชาญรายนี้ให้ข้อมูลต่อไปอีกว่า โดยมากแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ส่วนใหญ่จะมีการเจ็บปวดที่หลากหลาย อาจรู้สึกปวดตื้อๆ เจ็บแปลบๆ เจ็บเสียวตามแนวบริเวณข้อเข่า ซึ่ความเจ็บปวดนี้มีแนวโน้มจะเป็นมากขึ้นตามลักษณะกา รทำลายผิวข้อนี้มีมาก ขึ้น

รศ.นพ.พัชรพล ยังแสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดโรค ดังกล่าวนี้ว่า แม้โรคนี้มักจะเกิดในผู้ป่วยที่มีการเกิดอุบัติเหตุท ี่บริเวณข้อเข่า หรือมีประวัติป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อ เช่น เกาต์ รูมาตอยด์ หรือมีประวัติการติดเชื้อในข้อเข่า แต่ก็ยังมีพฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นพฤติกรรมป กติและไม่อันตราย ทว่าในความเป็นจริงแล้ว พฤติกรรมธรรมดาๆ ก็กลายเป็นการทำร้ายหัวเข่าและเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิ ดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ โดยไม่รู้ตัว

“หลายคนไม่ทราบเลยว่า ท่านั่งธรรมดาสไตล์คนไทยอย่างการนั่งขัดสมาธินี่ก็เป ็นการทำร้ายข้อเข่า การนั่งพับเพียบด้วย และที่ห่วงที่สุดคือคุณผู้หญิงทั้งหลายที่สวมรองเท้า ส้นสูง เวลาสวมรองเท้าส้นสูง เข่าจะต้องรับน้ำหนักตัวเต็มที่ ถ้าใส่ประจำก็ทำให้เข่าเสื่อมได้เช่นกัน คือธรรมดาไม่ทำอะไร นั่งเฉยๆ ไม่ถูกท่าก็ทำร้ายหัวเข่าแล้ว แค่นั่งแล้วงอเข่าเกิน 90 องศาก็จะเกิดแรงกดจากกล้ามเนื้อรอบๆ เข่า กระดูกหัวเข่าจะถูกบีบ ก็เป็นสาเหตุทำให้ข้อเสื่อมเร็วเหมือนกัน รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีแรงกระแทกแรงๆ ต่อเข่า โดยเฉพาะในคนที่น้ำหนักมาก ต้องระวังเป็นพิเศษ”

รศ.นพ.พัชรพลแนะนำด้วยว่า อาการปวดเข่ารวมถึงโรคข้อเข่าเสื่อม แม้ไม่ได้เป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็เป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมาน และกระทบกับคุณภาพชีวิตโดยตรง อีกทั้งเป็นโรคที่ป้องกันได้ จึงฝากข้อมูลดีๆ ไปยังผู้อ่าน ให้ใส่ใจสุขภาพและป้องกันอาการปวดเข่าและโรคข้อเข่าเ สื่อม ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้ได้ตามมาตรฐานดัชนีมวลกาย เพื่อลดภาระการรับน้ำหนักของข้อเข่า หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการทำร้ายข้อเข่าต่างๆ และออกกำลังกายสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อรอบเข่า

“สร้าง กล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรงง่ายๆ ด้วยการนั่งเหยียดขาตึงแนบพื้น พร้อมกับกระดกปลายเท้าเข้าหาตัว สลับกับการจิกเท้าไปข้างหน้า หากทำจะรู้สึกตึงหน้าแข้งและเมื่อย ทำเป็นประจำจะช่วยให้กล้ามเนื้อรอบเข่าแข็งแรงขึ้น”

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญรายนี้ทิ้งท้ายด้วยว่า แต่หากวิถีการออกกำลังกายและการดูแลตัวเองให้ห่างจาก การปวดเข่าและเข่า เสื่อมได้ผลไม่ทัน ผู้ป่วยพบว่าตัวเองเป็นโรคนี้เสียแล้วก็อย่าเพิ่งตกใ จ และขอให้มาพบแพทย์โดยด่วนทันทีที่พบความผิดปกติ เช่นรู้สึกปวดหรือเสียวบริเวณข้อ เพราะยิ่งพบเร็วก็จะยิ่งหาสาเหตุและรักษาได้เร็ว

“ทุก วันนี้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าทันสมัยขึ้นมาก แผลเล็กลงเยอะ เจ็บน้อยลง และใช้เวลาพักฟื้นน้อยลงด้วย แต่สิ่งที่คนไข้ต้องทำคือ เมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติ ต้องรีบมาหาหมอ จะได้รักษาได้ทันท่วงที” รศ.นพ.พัชรพลกล่าว
 :07: :07:  http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?p=375975