ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2010, 12:16:33 am »

 :45: อนุโมทนาครับพี่มด^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 08:41:54 am »




คำนิยม 


หนังสือเล่มนี้มิใช่เป็นเรื่องของการเยียวยารักษาความเจ็บป่วยทางกายเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาที่ลึกซึ้งกว้างไกลกว่านั้น ได้แก่การเยียวยาความเจ็บป่วยทางจิต รวมถึงการขจัดความทุกข์ทางใจ ความเจ็บป่วยทางกายอาจเกิดขึ้นกับเรานาน ๆ ครั้ง แต่ความทุกข์ทางใจนั้นเกิดขึ้นกับเราเป็นนิจ หนังสือเล่มนี้จึงมิได้เหมาะแก่ผู้ป่วยเท่านั้น หากยังเป็นประโยชน์แก่เราทุกคนด้วยแม้จะยังไม่มีโรคภัยไข้เจ็บก็ตาม

โอสถนั้นมีหลายชนิด แต่โอสถสำคัญที่ผู้คนยุคนี้มักมองข้ามไปคือ ธรรมโอสถ โดยเฉพาะเมตตากรุณา หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่าเมตตากรุณานั้นมีอานุภาพอย่างยิ่งในการเยียวยารักษาทั้งทางกายและใจ เมตตากรุณาดังกล่าวมิได้หมายถึงเมตตากรุณาของผู้รักษา (และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรานับถือเท่านั้น) หากยังรวมถึงเมตตากรุณาในใจเราด้วย

ผู้เขียนได้ย้ำว่า จิตที่เป็นอกุศล โดยเฉพาะความเห็นแก่ตัว เป็นรากเหง้าแห่งความทุกข์ทั้งปวงไม่ว่าทางกายหรือทางใจ ดังนั้นการบำเพ็ญเมตตาภาวนา อาทิ การแผ่เมตตาจิตให้แก่สรรพสัตว์ การไถ่ชีวิตสัตว์ รวมทั้งการน้อมรับความทุกข์ของผู้อื่นมาไว้ที่ตัวเรา และถือว่าเรากำลังแบกรับความทุกข์แทนสรรพสัตว์นั้น จึงเป็นวิธีการเยียวยาความทุกข์ทั้งกายและใจที่ทรงพลานุภาพ

จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ มิได้อยู่ที่เทคนิคหรือวิธีการเยียวยา (ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมากและอิงพิธีกรรมที่คนไทยไม่คุ้นเคย) แต่อยู่ที่มุมมองต่อความเจ็บป่วยโดยโยงไปถึงทัศนคติต่อชีวิต และการใช้ความเจ็บป่วย(และความทุกข์ชนิดอื่น ๆ รวมทั้งความตาย) มาเป็นอุบายในการเปิดใจให้เราลดละความเห็นแก่ตัว และนึกถึงประโยชน์สุขของสรรพชีวิต จนละวางความยึดติดถือมั่นในตัวตน อันเป็นหนทางสู่ความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง ด้วยวิธีการดังกล่าว (ซึ่งพุทธศาสนาเรียกว่าอุปายโกศล) หลายคนจึงมิเพียงหายป่วยจากโรคร้ายเท่านั้น แต่ชีวิตจิตใจยังมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีความทุกข์น้อยลง และเอื้ออาทรต่อเพื่อนร่วมโลกมากขึ้น มองในแง่นี้ความเจ็บป่วยและความทุกข์ทั้งปวง(รวมถึงสิ่งที่มิพึงปรารถนา เช่น ศัตรู คำตำหนิ) จึงมิใช่สิ่งเลวร้ายในตัวเอง หากยังมีประโยชน์ในการบ่มเพาะให้เราเกิดปัญญาและกรุณา ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เราพึงน้อมรับ แทนที่จะปฏิเสธผลักไส ซึ่งมีแต่จะทำให้เราทุกข์ยิ่งกว่าเดิม

สำหรับชาวพุทธที่คุ้นกับพุทธภาษิตว่า “ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจประเสริฐสุด สำเร็จแล้วที่ใจ” หนังสือเล่มนี้ย่อมย้ำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของใจอันได้แก่ความรู้สึกนึกคิด อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงความเจ็บป่วยทางกายแล้ว พุทธศาสนาแบบเถรวาทมิได้มองว่ามีสาเหตุมาจากอกุศลกรรมในจิตใจประการเดียวเท่านั้น หากยังสามารถเกิดจากเหตุปัจจัยอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ดังพระสารีบุตรเคยจำแนกว่า สมุฏฐานของโรคนั้นมีมากมาย อาทิ ดี เสมหะ ลม ฤดูแปรปรวน การบริหารไม่สม่ำเสมอ ความเพียรเกินกำลัง ผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ฯลฯ ดังนั้นในการเยียวยารักษาโรคจึงควรคำนึงถึงเหตุปัจจัยเฉพาะกรณีด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ไม่ควรเหมารวมให้เป็นเรื่องของกรรม(เก่า)เสียหมด อย่างไรก็ตามจิตที่เป็นกุศล โดยเฉพาะจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตา นึกถึงประโยชน์สุขของผู้อื่นยิ่งกว่าความทุกข์ของตนเอง ย่อมช่วยเยียวยากายและใจให้ดีขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย

ท่านลามะโซปะ ริมโปเช ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์และแนวคิดของท่านด้วยภาษาและขนบของพุทธศาสนานิกายวัชรยาน ซึ่งคนไทยอาจไม่คุ้นเคย แต่หากจับสารัตถะได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตและจิตใจของตนเอง แต่ในเวลาเดียวกันก็พึงตระหนักว่าคัมภีร์หรือเรื่องราวในพุทธศาสนาที่ท่านผู้เขียนได้อ้างอิงนั้น มีบางส่วนที่ไม่ตรงกับของฝ่ายเถรวาท จึงขอให้ตราไว้ว่าส่วนนั้น ๆ เป็นทัศนะจากฝ่ายวัชรยานหรือทัศนะส่วนตัวของท่านผู้เขียน

หนังสือเล่มนี้หากอ่านแล้วนำไปปฏิบัติ ไม่ว่าท่านจะป่วยหรือไม่ก็ตาม เชื่อแน่ว่าเมตตากรุณาในใจท่านจะเจริญงอกงาม และหากถึงคราวต้องประสบกับความเจ็บป่วยหรือความพลัดพรากสูญเสีย เมตตากรุณาดังกล่าวจะบรรเทาความทุกข์หรือแปรให้กลายเป็นความสุข อีกทั้งยังสามารถเพิ่มพูนปัญญาให้มากขึ้น จนเห็นชัดว่าความทุกข์นั้นเป็นธรรมดาโลก เพียงแค่ยอมรับมันตามที่เป็นจริง ใจก็ไม่เป็นทุกข์อีกต่อไป

พระไพศาล วิสาโล
๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๓

http://www.visalo.org/prefaces/palangYeawya.htm