ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2010, 12:20:41 am »

 :45: อนุโมทนาครับพี่มด^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 03:51:15 pm »





ปุจฉา
        บทเรียนจากมหันตภัยธรรมชาติรอบด้านทำให้อดสงสัยไม่ได้ครับว่า อะไรกันแน่คือ สาระสำคัญอันเป็นสุดยอดของการฝึกตนเพื่อให้มีชีวิตพิชิตภัยพิบัติต่างๆ ได้ และจะปฏิบัติได้อย่างไรครับ
       
       วิสัชนา
        ขอตอบว่า การเพียรพยายามระแวดระวังอย่าให้จิตกระเพื่อม อย่าให้เสียสมดุลของสภาวจิต อย่าให้ขบวนการของจิตเกิดมลภาวะ นั่นคือสุดยอดของสาระสำคัญในการฝึกตนให้พ้นภัยและมีชีวิตอยู่รอดได้อย่างมีสุข
       
        เมื่อเราสามารถฝึกจิตไม่ให้กระเพื่อม ไม่ให้เกิดมลภาวะ และไม่ทำให้จิตเสียสมดุล มันก็เป็นศูนย์รวมของข้อมูล และ ศูนย์รวมของวิชาการด้วย ในการหยั่งรู้สรรพสิ่ง
       
        ผู้มีจิตอันฝึกดีแล้ว ย่อมยังปัญญา และ ความรู้มาให้ เพราะอย่างนั้น เราจะเข้าใจสรรพสิ่งได้อย่างละเอียดถ่องแท้ และสามารถวิจารณ์ พิจารณา ตอบปัญหา แก้ไขปัญหา แก้ไขสถานการณ์ได้ทุกกระบวนการ
       
        หลวงปู่จะใช้ประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อม จากเหตุปัจจุบันเป็นเครื่องกำหนดวิถีทางแห่งการนำความรู้ ใช้วิธีการของการดำรงชีวิตในปัจจุบันของผูู้คน เป็นตัวชี้ให้เห็นเหตุและปัจจัยของการผิดพลาด และการแก้ไขที่ถูกวิธี
       
        สิ่งเหล่านี้เราไปรับรู้ได้เมื่อมีเวลาอยู่คลุกคลีกันแม้เพียงน้อยนิด มันเป็นเรื่องไม่ยาก ถ้าเรารักษาสภาพสภาวจิตของเราให้คงไว้ซึ่งสมดุล และ รักษาสภาวจิตของเราไม่ให้กระเพื่อม มีจิตอันไม่เป็นมลภาวะ เราจะรับรู้สรรพสิ่งและสัมผัสได้ทุกสิ่งที่เราต้องการรู้ ต้องการสัมผัส
       
        จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมยังความรู้ทั้งหลาย ย่อมเป็นที่รวมของข้อมูลข่าวสาร ย่อมเป็นที่มาของปัญญา และ ย่อมเป็นที่มาของวิชาการทั้งปวง
       
        การฝึกจิต ด้วยการสวดมนต์ก็สามารถช่วยปูพื้นฐานให้ใจมั่นคงได้ด้วยการ พยายามควบคุมจิตจดจ่อและจับจ้องในการสวด สวดมันด้วยความรู้สึกจริงใจ หลังจากสวดไปแล้ว เราก็จะได้ความรู้สึกว่า เราสลัดตัวเอง ให้หลุดจากความฉุด หรือหยุด หรือควบคุมกักขังของความเกียจคร้าน ความเบื่อ ความเหนื่อย ความเมื่อย หรือความเซ็ง แม้กระทั่งความง่วงเหงาหาวนอน เพราะเราได้ปลดปล่อยมันออกไปจากความจริงใจ ตั้งใจ และก็มีสัจจะกับตัวเองที่จะเอาชนะมัน
       
        หลวงปู่ทำงานไปด้วยก็ฝึกจิตไปด้วย ทำให้จิตวิญญาณของเราอยู่ในคอนโทรลของเราได้ตลอดเวลา เราเป็นเจ้าของมัน และมันก็อยู่ในอำนาจของเรา เราจะใช้ จะคิด จะสั่งมันได้ตามสามัญสำนึก
       
        ขณะที่หลวงปู่ทำงาน หลวงปู่จับจ้อง ตั้งใจ และจริงจัง จดจ่อกับมันอย่างชนิดที่ว่า ไม่ให้คลาดจากมัน และก็จะรู้สึกเพลิดเพลิน เมื่อเราจับจ้อง จริงจัง ตั้งใจ และจดจ่อ เลยกลายเป็นความเพลิดเพลิน มันก็จะสนุกกับงานกับการทำงาน มันจะเป็นรสชาติที่แปลกใหม่ขึ้นอยู่เสมอกับงานแต่ละชิ้นที่ผ่านเข้ามา มันจะสร้างเสริมประสบการณ์ในการเรียนรู้และเบิกจิตวิญญาณของเรา ให้มีความละเอียดถ่องแท้ในการเรียนรู้มากขึ้น การเรียนรู้จากการงาน ทำให้เราเกิดปัญญาในการวิจารณ์และพิจารณา และมีดวงจิตที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างละเอียดอ่อน
       
        การทำงานทำให้เราเป็นคนแกร่งและกล้าต่อการทำงานทุกชนิด การงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิต และทำให้เรามีความรู้สึกนึกคิดที่ก้าวไกล หลวงปู่จะใช้เวลาส่วนใหญ่กับการฝึกจิตใจในการปฏิบัติงาน
       
        เพราะอย่างนั้น เมื่อเราได้จากการงานจากการฝึกจิตที่ได้ทำงาน และใช้จิตได้มีผลงาน เราจะรู้สึกภาคภูมิต่อการดำรงชีวิต ถึงแม้ว่าเราจะคิดว่า เรามีน้อยกว่าคนอื่น แต่ยังไงเราก็มีผลงานมากกว่าคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นผลงานทางรูปธรรม หรือสิ่งที่มองไม่เห็น เรามีมากกว่าคนที่นั่งหลับตาอยู่เฉยๆ หรือ เอาแต่ท่องบ่นสาธยาย โดยไม่ได้คำนึงนึกถึงว่า ชีวิตเรามีคุณภาพมากกว่าการกระทำเพียงเท่านี้
       
        การมีชีวิต คือ การมีพลัง จึงสามารถนำพลังของเราสามารถสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับโลกและสังคมได้มากกว่าการนั่งหลับตาภาวนาเฉยๆ ถ้าเราเสียเวลากับการนั่งหลับตาภาวนา สู้เราเอาเวลาเหล่านั้นมาใช้สร้างสรรค์ ให้กับการทำงาน ให้เกิดการงาน ทำให้เกิดกระบวนการสำเร็จในการงานพร้อมกับการฝึกจิตไปในตัวไม่ดีกว่าหรือ
       
        ธรรมะจำเป็นสำหรับทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมของการครองเรือน ไม่ว่าจะเป็นสังคมของนักบวช สังคมของอาชญากรรม หรือนักปราบอาชญากรรม หรือสังคมของโจรห้าร้อย สังคมของผู้ดี ไพร่ ขี้ยา ยาจก เศรษฐี จำเป็นต้องมีธรรมะของพระพุทธเจ้ากำกับดูแล เพราะถ้าเขาไม่มีธรรมะของพระพุทธเจ้าดูแล เขาจะขาดทุนในหน้าที่ที่มีอยู่ เขาจะเป็นคนที่ไร้สาระ และเป็นคนที่หลงลืมตัวเอง เป็นคนที่เลวร้ายชั่วช้า และเอารัดเอาเปรียบต่อสังคม
       
        เราจะเห็นได้ว่า คนที่มีธรรมะ คือ คนที่เอื้อการุณย์และมีจิตใจเมตตาอนุเคราะห์ ก็แสดงว่าธรรมะของพระองค์นั้น เป็นเครื่องกำกับดูแลปรับปรุงนิสัยของเราได้ และสามารถแก้ไขพฤติกรรมของเราได้ ปัญหามีอยู่ว่า เรารู้จักวิธีการเรียนรู้ธรรมะข้อนั้นๆ หรือไม่ รู้จักนำธรรมะข้อนั้นๆ มาใช้กับการดำรงชีวิตหรือไม่ รู้จักที่จะใส่ใจต่อธรรมะของพระศาสดาผู้สูงส่ง นำเข้ามาสถิตในจิตวิญญาณของเราหรือไม่ หากเราให้ความรู้สึกเคารพยอมรับ น้อมมาปฏิบัติทำตามเต็มความภาคภูมิ
       ก็ไม่จำเป็นต้องเตือนกันโดยตรงถึง เจตนาของการบวช ว่าคือ การเข้ามาปรับปรุงนิสัย การเข้ามาแก้ไขพฤติกรรม บวชมาแล้วต้องพยายามปรับปรุงตนให้มีคุณภาพได้สาระ เมื่อใดที่พฤติกรรมของเราได้รับการแก้ไข เมื่อใดที่นิสัยของเราได้รับการปรับปรุง ทำให้มันเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยขึ้น ถูกต้องขึ้น บรรลุเป้าหมายของการมีชีวิตได้มากขึ้น เมื่อนั้นถือว่าเรามีพระธรรม
       
        ประสบการณ์ตรงมีค่ามากกับการทำงาน ประสบการณ์ตรงย่อมให้ประโยชน์มากกว่าความรู้ที่ท่องจำ ประสบการณ์ตรงย่อมให้คุณลักษณ์ที่ดีกว่า
       การได้ยิน การบอกเล่าถ่ายทอดสู่กันฟัง
       
        เพราะฉะนั้น การทำชีวิตให้ถึงประสบการณ์ตรง ก็คือการแสวงหาความรู้
       รอบกายก่อน จากต้นไม้ใบหญ้า จากการสัมผัสดินฟ้าอากาศ จากเสียงนกร้อง จากกิริยาอาการของสัตว์ที่อยู่ใกล้ๆ สิ่งเหล่านี้มันเป็นประสบการณ์ตรงที่จะสอนความรู้ให้เกิดขึ้นมากมาย
เป็นสถาบันที่มีเกียรติสูงส่ง มีเกียรติอันยิ่งใหญ่ที่ฝึกปรือหลวงปู่ให้เกิดขึ้น และฝึกปรือพระพุทธะผู้ยิ่งใหญ่ให้อุบัติขึ้น และฝึกปรือพระสาวกอันยิ่งใหญ่ที่มีมาแล้วแต่ในอดีตให้เกรียงไกรและมีบุญฤทธิ์ มีกฤษฎาภินิหาร มีอำนาจ มีพลัง มีตบะ มีปัญญา ล้วนได้มาจากการเรียนรู้จากโรงเรียนแห่งธรรมชาติ การมีชีวิตเพื่อเข้าใจสรรพสิ่ง เนี่ยเป็นยอดของชีวิต แต่มีชีวิตเพื่อทำลายสรรพสิ่งเนี่ย เลวชีวิต เป็นทุเรศ หรือ เป็นชีวิตทุพพลภาพ เพราะฉะนั้น ขอเพียงมีชีวิตเพื่อเข้าใจสรรพสิ่ง สรรพสิ่งก็จะเข้าใจเรา เมื่อสรรพสิ่ได้อย่างไม่มีข้อแม ไม่มีข้อแตกต่าง เราก็กลายเป็นหนึ่งสิ่งในหลายสิ่งของสรรพสิ่ง
       
        และเมื่อเป็นหนึ่งในหลายสิ่งของสรรพสิ่ง สิ่งอันนั้นเราก็มีสิทธิิ์์เป็นเจ้าของสรรพสิ่ง และสรรพสิ่งก็เป็นของของเรา และในของของเราแห่งสรรพสิ่ง ก็ไม่ได้แตกแยกจากกระบวนการปรมาณู นิวตรอน โปรตรอน และอะตอม ในกระบวนการดำรงชีวิตของมันก็คงสภาพ เป็นกระบวนการสุญญากาศ และสุญญตา ที่พระศาสดาทรงเรียกว่านิพพาน
       
        นิพพาน แปลว่า ดับและเย็น ตอนนี้พวกท่านอาจจะฟังดูแล้วยังไม่เข้าใจ แต่สักวันหนึ่งพวกท่านคงจะรู้ว่า คำว่า สรรพสิ่ง หนึ่งสิ่ง หลายสิ่ง รวมกันแล้วมันจะเกิดปรากฏการณ์อะไร แต่อยากจะบอกให้พวกท่านเข้าใจถึง การมีชีวิตว่า ถ้ามีชีวิตอย่างไร้สรรพสิ่ง มีชีวิตอย่างปฏิเสธสรรพสิ่ง และไม่เข้าใจสรรพสิ่ง ถือว่าเป็นชีวิตทุเรศ เป็นชีวิตไร้สรรพสิ่ง และเป็นชีวิตที่ไม่มีชีวิต มันไม่ต่างอะไรกับก้อนหินเดินได้



http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9480000004521