ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2010, 12:28:52 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 04:24:17 pm »


 
 
    ปุจฉา
       คุณสมบัติของพหูสูต

       
        อยากพัฒนาตนเป็นพหูสูตกับเขาบ้าง แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจความหมายที่แท้จริง เชื่อมั่นว่าหากมีคุณสมบัติเช่นนั้นจะเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้รู้ จะตนฝึกตนอย่างไรดีขอรับ
       
       วิสัชนา
        ก็เรียนมาก ทรงจำได้มาก สำหรับที่สุด คือ กระทำให้ได้มากด้วย เรียนมากในที่นี้ ความหมายก็คือ การที่เอาตัวเองเข้าไปสัมผัสกับปัญหาต่อโจทย์ ต่อบทเรียนนั้นๆ อย่างชนิดที่ต้องการจะเรียนรู้
       
        หลวงปู่พูดว่า เรียนมาก ในที่นี้ หมายถึง การที่เอาตัวเองเข้าไปหาโจทย์ เข้าไปหาตัวปัญหาเพื่อจะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาจากตัวเอง อย่างชนิดที่ต้องการจะเรียนรู้ </B>นั่นคือ ความหมายของคำว่าเรียนมาก เมื่อเรียนมาก ความทรงจำมันจะไม่ดีเอาเลย ถ้าลูกไม่ใช้ความเข้าใจมันซะก่อน ถ้าขาดความเข้าใจแล้ว ถึงจะทรงจำมันอย่างไร ก็คงไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรที่ควรนัก
       
        เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จึงใช้คำว่า ควรจะทำให้เกิดความเข้าใจ ทำแล้วก่อให้เกิดความเข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้วทีนี้ไม่ต้องจำ มันจะสิงเข้าไปอยู่ในกระดูก เลือด ในชีวิตของเราเอง
       
        เหมือนอย่างที่หลวงปู่พูดให้พวกเราฟัง ถ้าหลวงปู่ใช้ความจำต้องมีเวลาเตรียมการ แล้วนึก สำหรับการที่จะนำมาพูด แล้วตอบปัญหา แต่นี่ไม่ใช่ หลวงปู่ใช้ปัญญาที่ได้จากการลงไม้ลงมือกระทำ เมื่อเราได้การกระทำจากความสว่าง กระจ่างชัด เปิดของที่ปิด หงายของที่คว่ำแล้วทำให้ที่มืดกลายเป็นความสว่างได้ด้วยตัวเราเอง และรู้แจ้งแทงตลอด กระจ่างชัดด้วยตัวเราเองแล้ว หนึ่งร้อยปี ล้านปี หมื่นปี ก็สามารถจะอยู่กับเราได้โดยไม่ต้องจดจำ มันจะเป็นความเข้าใจ เป็นความสว่าง กระจ่างชัด และต้องการใช้เมื่อไหร่ก็ได้ทุกเวลา
       
        สรุปความหมายก็คือ หัวใจสำคัญของพหูสูตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอาไว้มี สุ จิ ปุ ลิ อยากบอกว่าใช้ได้ แต่สำหรับหลวงปู่แล้ว แค่คิดแค่ฟัง แค่ถาม ถ้าไม่ทำใช้ไม่ได้ ต้องลงไม้ลงมือกระทำด้วยถึงจะใช้ได้
       
       ปุจฉา
       ผู้ทรงธรรมปัจจุบันเห็นมีนักบวชดาษดื่น แหละก็มีข่าวอื้อฉาวกันมาก แล้วผู้ทรงธรรมตัวจริง ควรประกอบด้วยภูมิจิตภูมิใจอย่างไรครับ ทั้งด้วยเหตุใดบุคคลจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ทรงธรรม และมีปัญญาในการกำจัดกิเลส
       
       วิสัชนา
        ผู้ทรงธรรม ก็คือ ผู้ประพฤติธรรม ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้เรียนรู้ธรรม ผู้แสดงธรรม ผู้กระจายอธิบายและพูดโดยธรรม และผู้ประพฤติธรรมให้เจริญในหลักแห่งธรรมนั้นๆ เหล่านี้เรียกว่าผู้ทรงธรรม
       
        เมื่อเรามีพระธรรมอยู่ในใจ มีพระธรรมอยู่กับตัว มีพระธรรมอยู่กับชีวิตจิตวิญญาณของเรามันก็จะรอบรู้สิ่งต่างๆ ที่เข้ามารอบกาย หรือภายในกายว่าถูก หรือผิดดี หรือชั่วเลว หรือหยาบ เมื่อนั้นเราก็จะสามารถกำจัดสิ่งที่เป็นศัตรู และยอมรับสิ่งที่เป็นมิตรได้ เป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้มีพระธรรม
       
        เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะเป็นผู้มีพระธรรม
       ก็คือ เมื่อใดที่เราเผชิญกับปัญหาที่จะทำให้เราเศร้าโศกเสียใจ และเราตั้งมั่นได้ไม่เสียศูนย์ไม่เสียสมดุล ไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจกับการที่เราต้องทะยานอยาก ร้องห่ม ร้องไห้ฟูมฟาย เศร้าโศกเสียใจไปกับเขาด้วย เราสามารถยืนหยัดได้ โดยไม่เสียอะไรออกไปไม่แสดงสิ่งเหล่านี้ออกไป ไม่ทำสิ่งเหล่านี้ให้ใครรับรู้ ถือว่านั้นคือเรามีธรรมอย่างน้อยก็ความอดทน อดกลั้น ที่เรียกว่า ขันติโสรัจจะ
       
        ขันติคือความอดทน โสรัจจะคือความสงบเสงี่ยม เหล่านี้เรียกว่าผู้ทรงธรรม แต่ถ้าเมื่อใดที่มีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้เราเศร้าโศกเสียใจแล้วร้องไห้เราก็พากันตีโพยตีพาย ร้องไห้ฟูมฟาย เสียน้ำตาเป็นตุ่มๆ อย่างนี้ แล้วเราก็บอกคนอื่นว่าเราเป็นผู้ทรงธรรม เป็นผู้รักษาธรรม นั่นไม่ใช่
       
        จำไว้อย่างคือ พระธรรมคือเครื่องกำจัดความเดือดร้อน พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดความฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญ
       พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดความทุกข์ยาก ลำบาก และสับสน พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดความกลัดกลุ้มหมกมุ่น และมึนงง พระธรรมเป็นเครื่องทำลายความมืดบอดและความดำสนิท พระธรรมเป็นเครื่องยังให้เกิดแสงสว่าง และปัญญาญาณหยั่งรู้ พระธรรมทำให้เราชาญฉลาด และอาจหาญ ทั้งสามารถที่จะดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมาย และสาระอย่างสมบูรณ์แบบ พระธรรมเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เราร้องไห้ โกรธ อาฆาตพยาบาท พระธรรมป้องกันไม่ให้เราผิดพลาดและเสียหาย ในขณะที่มีชีวิตหรือจบชีวิตแล้ว นั่นคือความหมายของคำว่าพระธรรม

http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9480000027627