ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2010, 12:32:53 am »

 :13: อนุโมทนาครับน้องฝน
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 08:08:26 pm »

  รู้แล้วไม่ยึดติด
 


เวลาที่เรายึดติดอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ใจจะมีความห่วง มีความกังวลคอยคิดอยู่เรื่อยว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เรารัก ที่เราชอบ ยังอยู่กับเราหรือเปล่าแล้วจะอยู่กับเราไปได้นานสักแ ค่ไหน เรื่องเหล่านี้นั้นล้วนเป็นการสร้างความเครียดให้กับ ใจ สร้างความวิตก สร้างความกังวล ทำให้ใจไม่สงบไม่นิ่งเพราะความหลงนั่นเอง แต่ถ้าได้ลองมาปฏิบัติธรรมแล้ว ใจจะเริ่มก้าวเข้าสู่ความสงบ จะเริ่มเห็นความสุขที่เกิดจากความสงบของใจแล้วจะเข้า ใจเห็นโทษของการไปหลง ไปยึด ไปติดกับสิ่งต่าง ๆ ภายนอกเพราะล้วนเป็นโทษทั้งสิ้น ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ไม่มีอะไรที่เป็นความสุขที่แท้จริง เรา อาจจะมีความสุขในขณะที่ได้สัมผัส ได้อยู่ได้ใกล้ชิดสิ่งเหล่านั้น แต่เราหารู้ไม่ว่าสิ่งเหล่านั้น ไม่สามารถที่จะอยู่ใกล้ชิดกับเราไปได้ตลอดเพราะโดยธร รมชาติของตัวเราเองก็ดี หรือของสิ่งต่าง ๆ ก็ดี ล้วนเป็นของไม่เที่ยง คือมีอายุขัย ไม่อยู่ไปตลอด ชีวิตเราอยู่ไปได้ไม่กี่ปีก็ต้องจากทุกสิ่งทุกอย่างไ ป ถ้าเขาไม่จากเราไปก่อน เราก็จากเขาไปก่อน นี่เป็นสัจธรรมความจริง

เมื่อ เป็นเช่นนั้น เวลาเกิดการพลัดพรากจากกัน ก็จะต้องร้องห่มร้องไห้ เศร้าโศกเสียใจ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ แต่ถ้าได้ฝึกจิต ปฏิบัติจิตให้ปล่อยวาง ให้มีความพอใจกับความสุขที่เกิดจากความสงบแล้ว ก็จะไม่ยึดติดกับอะไร เวลาไม่ยึดไม่ติดกับอะไรแล้ว เวลาสิ่งต่าง ๆ จากเราไปก็จะไม่รู้สึกเศร้าโศกเสียใจอาลัยอาวรณ์ เพราะรู้ด้วยปัญญาแล้วว่า เราไม่สามารถอยู่กับสิ่งต่าง ๆไปได้ตลอดหรือสิ่งต่าง ๆ ไม่สามารถอยู่กับเราไปได้ตลอด ไม่ช้าก็เร็ว ก็ต้องจากกันไป ถ้ามีปัญญา ก็จะไม่ยึดไม่ติด การจากกันก็จะเป็นการจากกันแบบธรรมดา จากกันแบบสบาย ๆ ไม่มีความเศร้าโศกเสียใจ ไม่มีการกินไม่ได้นอนไม่หลับ เหมือนกับเวลาที่พระอาทิตย์ได้ตกลับขอบฟ้าไป เราก็ไม่ได้มานั่งร้องห่มร้องไห้เศร้าโศกเสียใจอะไร เพราะเราเข้าใจถึงธรรมชาติของพระอาทิตย์ว่าจะต้องเป็ นเช่นนั้น

ฉัน ใด ถ้าได้ศึกษาพระธรรมคำสอน แล้วนำมาคิดใคร่ครวญอยู่อย่างสม่ำเสมอ แล้วนำมาปฏิบัติกับใจแล้ว เราก็จะสามารถทำใจให้ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางแล้ว ใจก็จะไม่เดือดร้อนกับอะไร ที่จะต้องจากเราไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่ต้องมีอะไรเลย เราอยากจะมีอะไรก็มีได้ อย่างในขณะนี้ เรามีอะไร ก็มีอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ว่าทัศนคติ ปัญญาความรู้ของเราได้เปลี่ยนไป เมื่อก่อนนี้เรารู้แบบหลง รู้แบบยึด รู้แบบติด คือ อยากให้สิ่งต่าง ๆ ที่เรารัก ให้อยู่กับเราไปตลอดแต่เดี๋ยวนี้เราเข้าใจแล้วว่า ความรู้แบบนั้นเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความเศร้าโศกเสีย ใจ เป็นความทุกอย่างยิ่ง เมื่อเราเปลี่ยนทัศนคติแล้วเรา ก็ยังอยู่กับสิ่งนั้นอยู่ เรายังปฏิบัติกับสิ่งนั้นอยู่เหมือนเดิม คือยังมีความเมตตา มีความกรุณา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีการดูแลรักษากันไปตามปรกติ ตามกำลังสติปัญญาความสามารถของเรา จนกว่าเมื่อถึงเวลาที่จะต้องจากกันไป เราก็ยอมรับความจริงนี้ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ใจของเราก็จะไม่เศร้าโศกเสียใจกับอะไร
 

 :13: :13: :13: :13:
นี่ แหละอานิสงส์ของการได้พบพระพุทธศาสนา ได้ยินได้ฟังเรื่องราวที่แท้จริงของชีวิตนั่นเองเมื่ อก่อนนี้ถ้ายังไม่ได้พบ พระพุทธศาสนาเราจะไม่รู้เรื่องเหล่านี้ เราจะหลงยึดติดกับสิ่งต่าง ๆ สิ่งที่เรารัก ที่เราชอบเราก็จะหวง เราก็จะห่วง แต่เดี๋ยวนี้เมื่อได้ศึกษา ได้ยินได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เริ่มเห็นแล้วว่า ความทุกข์ไม่ได้เกิดจากใครที่ไหน เกิดจากความหลงผิด ความเห็นผิดเป็นชอบ ความไม่รู้ความเป็นจริงที่ไหน เกิดจากความหลงผิด ความเห็นผิดเป็นชอบ ความไม่รู้ความเป็นจริงของธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยนั่นเอง แต่ถ้ารู้แล้วเราก็จะไม่ทุกข์กับสิ่งนั้นอีกต่อไป เพราะเราจะเตรียมตัวเตรียมใจไว้รับกับสภาพที่จะต้องเ กิดขึ้น คือไม่ช้าก็เร็วก็ต้องมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา นี่แหละคือปัญญาทางพระพุทธศาสนา คือการรู้ถึงความไม่เที่ยงของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี ้ เมื่อรู้แล้วจะได้ไม่ไปยึดไปติด

เราจึงต้องพยายามศึกษาหาความรู้ นี้อย่างสม่ำเสมอ พระพุทธเจ้าจึงต้องสอนให้เราเข้าวัดกัน อย่างน้อยอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง ฟังเทศน์ฟังธรรมกัน ฟังแล้วก็นำเอาไปคิดพิจารณาต่อ หลังจากที่ออกจากวัดไปเพราะถ้าไม่นำไปคิดพิจารณาต่อ เวลาไปทำกิจการงานต่าง ๆ ใจก็จะไปอยู่กับเรื่องราวต่างๆ ทำให้เรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังในขณะที่อยู่ในศาลาก็จ ะค่อย ๆ จางไปหายไป และในที่สุดก็จะลืมไป เราจึงต้องกลับมาฟังอยู่เรื่อย ๆ นอกจากการฟังอยู่เรื่อย ๆ แล้ว เรายังต้องนำสิ่งที่ได้ยินได้ฟังไปคิดต่อ ไปเตือนสติไว้ ไม่ใช่ฟังแล้วก็แล้วกันไป เมื่อออกจากวัดไปแล้วเวลาเห็นสิ่งใดก็ตาม ถ้าเกิดความยินดี เกิดความชอบอยากจะได้ก็ควรสอนใจว่า สิ่งที่จะเอามานี้ ก็จะไม่อยู่กับเราไปตลอดนะ เอามาก็เอามาได้แต่เวลาได้มาก็ดีใจหรอก แต่เวลาเสียไป ยังจะดีใจเหมือนกับขณะที่ได้มาหรือเปล่า ถ้าเสียไปแล้ว ก็จะต้องเกิดความเศร้าโศกเสียใจ ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็อย่าไปเอามาไม่ดีกว่าหรือ อย่างนี้เป็นต้น

ต้องคิดแบบนี้ในการ ใช้ชีวิตประจำวัน ขอให้เราอย่าลืม ขอให้มองทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นของชั่วคราว ไม่ใช่เป็นของที่จะอยู่กับเราไปอย่างถาวร นี่ก็คือการสร้างปัญญาให้เกิดขึ้น ธรรมที่ได้ยินได้ฟังแล้วเราก็เอามาคิด เอามาใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วถ้ามีโอกาสว่าง ไม่มีภารกิจการงาน ก็ให้มาทำความสงบกับจิตใจของเรา เพราะว่าเวลาที่จิตสงบ ใจจะเย็น ใจจะมีความสุข แล้วใจจะรู้ว่า ความสุขที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่การได้มาซึ่งสิ่งของต ่าง ๆ แต่ความสุขที่แท้จริงมาจากความสงบของจิตใจต่างหาก เมื่อเห็นเช่นนั้นแล้วใจก็เกิดปัญญา เกิดความรู้ขึ้นมาว่า การมีอะไรมาก ๆ แทนที่จะมีความสุขกลับมีความทุกข์ ยิ่งมีมากก็ยิ่งทุกข์มาก เพราะจะมีความห่วง มีความอาลัยอาวรณ์กับสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นไปนั่นเอง ถ้ามีน้อย ความทุกข์ก็น้อย ถ้ามีลูกคนเดียว ก็ทุกข์กับลูกเพียงคนเดียว ถ้ามีลูก 10 คน ก็ต้องทุกข์กับลูกถึง 10 คน ความทุกข์ก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ

เมื่อมีปัญญา เราจะรู้ความจริงว่า แม้ กระทั่งลูกของเรา เราก็ต้องจากเขาไป หรือเขาก็ต้องจากไปเราไปในวันหนึ่ง ถ้าคิดอย่างนี้แล้ว เราก็จะปล่อยวาง ไม่ไปยึดไปติดกับเขา เขาจะอยู่กับเราก็ดี เขาจะจากเราไปก็ดี ถ้าเราทำใจได้แล้ว จะมีมากมีน้อย เราก็จะไม่ทุกข์ เพราะว่าความทุกข์เกิดจากความไม่รู้จริง ความทุกข์จะดับได้ก็เกิดจากความรู้จริงหรือความรู้ทา งพระพุทธศาสนา ดังที่ท่านได้ยินได้ฟังกันในวันนี้ นี่แหละคือความรู้จริง เพราะเป็นความรู้ที่เป็นตามหลักความเป็นจริง เป็นความรู้ที่ไม่ได้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง ความคิดของพวกเราส่วนใหญ่จะเป็นความคิดที่สวนกระแสขอ งความจริง เช่นคิดว่าอยากจะให้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่กับเราตลอดไป ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เป็นสิ่งที่เราจะต้องมาแก้ไขเสียตั้งแต่บัดนี้ เราจึงต้องมองให้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงมีการสูญสลาย มีการดับไปเป็นธรรมดา ไม่ช้าก็เร็วทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องหมดสิ้นไปจากเรา เราก็ต้องจากเขาไปในที่สุด

ถ้าคิดอย่างนี้แล้ว จะได้ไม่ยึดไม่ติดกับสิ่งต่างๆ เมื่อไม่ยึดไม่ติดแล้ว ใจก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ ความกังวลใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนากัน แต่เราก็ยังมีกันอยู่ ก็เป็นเพราะเราไม่ได้อบรมสอนใจ ไม่ได้ดูใจ ในขณะที่ใจกำลังคิดเรื่องอะไรอยู่ เราก็ไม่ค่อยรู้กัน เวลาเห็นอะไรที่เราชอบ ก็เกิดความอยากลึก ๆ ขึ้นมาในใจแล้ว อยากจะให้สิ่งนั้นอยู่กับเราไปนาน ๆ นี่ก็เป็นความคิดที่ผิดแล้ว เป็นความคิดที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่มีอะไรจะอยู่กับเราไปตลอดอยู่กับเราไปได้นาน เราจึงต้องมาเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่ โดยเอาความคิดหรือความรู้ของพระพุทธเจ้ามาใส่ใจเรา มาสอนใจเรา พยายามเตือนสติเราอยู่เสมอว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่ควรไปยึดไปติด เราจะไม่ทุกข์ เราจะมีแต่ความสุข
__________________
 :07: :07: :07: :07: http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?p=380567