ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2010, 12:53:16 am »

 :45: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่แทน
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2010, 09:24:45 pm »

ในอดีตกาลล่วงแล้วนาน ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในเมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นพราหมณ์ชาวนา ตั้งบ้านอยู่แถบประตูเมืองพาราณสี มีบุตรชาย ๑ บุตรหญิง ๑ บุตรสะใภ้ ๑ ทาสี ๑ ภรรยา ๑ พระโพธิสัตว์สั่งสอนชนทั้ง ๕ ให้ข้อคิดมรณสติอยู่เป็นนิตย์ ชนทั้งห้าก็หมั่นพิจารณา มรณสติเป็นอารมณ์อยู่เสมอ

        วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ออกไปไถนากับบุตร ส่วนบุตรขนหญ้าและมูลฝอยไปเผาไฟใกล้ที่อยู่อสรพิษ ควันไฟไปรมอสรพิษ ๆ โกรธออกมากัดล้มลงตายอยู่กับที่ พระโพธิสัตว์เห็นบุตรล้มก็วางไถวิ่งไปเห็นบุตรตายพิจารณาดูก็รู้ว่าอสรพิษกัดก็มิได้มีความเศร้าโศก เอาผ้าคลุมศพไว้แล้วก็กลับไปไถนา

        เวลานั้นชาวบ้านซึ่งอยู่ใกล้เคียงเดินมาจะกลับบ้านพระโพธิสัตว์ก็สั่งให้ช่วยบอกกับภรรยา ว่าวันนี้ในนางทาสีนำอาหารมาส่งแต่ส่วนเดียว และให้นุ่งผ้าขาวถือเครื่องสักการะมาให้พร้อมกันทุกคนชายนั้นก็ไปบอกกับพราหมณีตามถ้อยคำพระโพธิสัตว์

        นางพราหมณีได้ฟังก็ทราบทางนัยแห่งคำสั่ง รู้แน่ว่าบุตรนั้นตายก็มิได้มีความโศกอาลัย บอกหญิงสะใภ้กับธิดาและทาสีตามคำสั่งพระโพธิสัตว์แล้วก็พากันไปสู่สถานที่นา จะได้มีผู้ใดผู้หนึ่งร้องไห้ก็หาไม่

        พระโพธิสัตว์ก็บริโภคอาหาร ครั้นอิ่มแล้วก็ช่วยกันหาฟืนมาลำดับเป็นเชิงตะกอน ยกศพ ขึ้นตั้งบูชาด้วยดอกไม้และของหอมแล้วก็ช่วยกันเผา

        ขณะนั้น อาสน์ของพระอินทร์ก็บันดาลให้ร้อนด้วยอำนาจ สีลาทิคุณของชนทั้งปวงนั้น พระอินทร์จึงเล็งดูด้วยทิพยจักษุ ก็ทราบว่าชนทั้ง ๕ มีพระโพธิสัตว์เป็นต้น มิได้มีความเศร้าโศกต่างพากันกระทำฌาปนกิจ พระอินทร์คิดจะบูชาด้วยสมบัติทิพย์ จึงแปลงกายเป็นมนุษย์มายืน ณ ที่นั้นแล้วถามว่า ท่านทั้งปวงชวนกันทำอะไร ?

        พระโพธิสัตว์บอกว่าเผาศพ พระอินทร์จึงแกล้งว่า เราสำคัญว่าท่านชวนกันย่างเนื้อ ธรรมดาคนทั้งหลายที่เผาศพย่อมมีความเศร้าโศกอาลัยถึงผู้ตาย นี่ทำอาการเหมือนนายพรานที่ยิงเนื้อ ได้และมีความยินดีช่วยกันอย่างเนื้อฉะนั้นแล้วจึงถามว่า ศพที่เผานั้นเป็นอะไรกับท่าน

        พระโพธิสัตว์บอกว่าเป็นบุตร
        พระอินทร์จึงแกล้งถามว่า บุตรที่ตายเห็นจะไม่เป็นที่รักของท่านหรืออย่างไร?
        พระโพธิสัตว์บอกว่า เป็นบุตรที่รักใคร่ของข้าพเจ้าทีเดียว
        พระอินทร์จึงถามว่า บุตรเป็นที่รัก เหตุใดท่านจึงไม่ร้องไห้เศร้าโศกเล่า ?
        พระโพธิสัตว์ตอบว่า คนตายเหมือนงูลอกคราบได้ชาติใหม่ภพใหม่ก็ไม่อาลัยของเก่า เช่นงูไม่มีอาลัยต่อคราบฉะนั้น ถึงเราจะร้องไห้สักเท่าไร ๆ ก็ไม่มีประโยชน์แก่ผู้ที่ตายแล้ว ผู้ตายก็ไปตามยถากรรมของเขา
        พระอินทร์จึงถามนางพราหมณีผู้เป็นมารดาว่า คนที่ตายเป็นอะไรกับท่าน
        นางพราหมณีบอกว่า เป็นบุตรเกิดแต่อุทร
        พระอินทร์จึงถามว่า ส่วนบิดาเป็นชายมีจิตใจเข้มแข็งไม่ร้องไห้ก็ตามที แต่ท่านเป็นสตรีใจอ่อน เหตุใดจึงไม่ร้องไห้
        นางพราหมณีก็ตอบว่า ผู้ที่ตายแล้ว เวลาเมื่อจะมาเกิด ข้าพเจ้าก็ไม่ได้อ้อนวอนและเชื้อเชิญให้มาเกิด เมื่อเวลาจะตาย ข้าพเจ้าก็ไม่ได้อนุญาตและขับไล่ให้ตาย มาเกิดเองก็ตายไปเอง         ข้าพเจ้าจะร้องไห้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว
        พระอินทร์จึงถามน้องหญิงว่า ท่านเป็นอะไรกับผู้ตาย
        น้องสาวบอกว่า เป็นพี่ชาย
        พระอินทร์ถามว่า ท่านไม่รักพี่หรือจึงไม่ร้องไห้
        น้องสาวตอบว่า ถ้าข้าพเจ้าร้องไห้ก็จะซูบผอมเกิดโรคไม่มีความสบาย         การร้องไห้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ตายก็หามิได้
        พระอินทร์จึงถามภรรยาว่า ท่านเป็นอะไรกับผู้ตาย
        ภรรยาบอกว่าเป็นสามี
        พระอินทร์จึงถามว่า ธรรมเนียมสามีกับภรรยาย่อมเป็นที่เสน่หายิ่งนัก สามีตายเหตุไฉนท่านจึงไม่ร้องไห้
        ภรรยาตอบว่า การร้องไห้ถึงคนตาย ก็เหมือนกับทารกร้องไห้ อยากได้พระอาทิตย์พระจันทร์ การร้องไห้ไม่มีประโยชน์ทั้งคนเป็นทั้งคนตาย
        พระอินทร์จึงถามว่า ผู้ตายเห็นจะเคี่ยวเข็ญท่านนักหรือ ? ท่านจึงไม่มีความเสียดายอาลัยรัก
        หญิงทาสีจึงตอบว่า คนตายก็เหมือนหม้อน้ำที่แตกจะกระทำให้คืนดีเป็นปรกติอย่างเดิมไม่ได้ การร้องไห้ถึงคนตายก็เหมือนร้องไห้อาลัยหม้อแตก การร้องไห้ไม่มีประโยชน์อันใด         เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงมิได้ร้องไห้

        เมื่อพระอินทร์ได้สดับถ้อยคำของชนทั้งห้าแล้ว ก็มีความเลื่อมใสปรารถนาจะบูชา จึงมีสุนทรวาจาอันเป็นที่ยินดีว่าตั้งแต่นี้ต่อไปท่านทั้งหลายอย่าพึงกระทำการหว่านไถให้ลำบากเลย จงตั้งใจกระทำแต่กองการกุศลเถิด เราคือองค์อัมรินทราธิราช เราจะให้ทิพยสมบัติแก่ท่านทั้งปวง ครั้นพระอินทร์มีวาจาดังนี้แล้วก็บันดาลให้ทรัพย์สมบัติบริบูรณ์ในเคหสถานของพราหมณ์มีแก้วเจ็ดประการเป็นต้น แล้วก็กลับไปสู่ทิพยพิมานแห่งตน

http://www.dhammathai.org/dhammastory/story40.php