ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2010, 01:21:28 pm »

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ ที่นำมาปันให้อ่านค่ะ

จะลองนำไปปฏิบัติค่ะ ^^

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2010, 09:50:51 am »

     
     
     ...รถติด งานล้น ลูกค้าขี้วีน เจ้านายขี้บ่น เพื่อนร่วมงานขี้นินทา

     สถานการณ์ทั้งหมดนี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งเร้าให้สติของชาวออฟฟิศอย่างเราๆ หลุดกระเจิงแทบทุก 5 นาที

     และด้วยเหตุที่ครึ่งค่อนข้างชีวิตของเราๆ ท่านๆ ต้องอยู่กับงาน จึงไม่รอช้าที่ให้พวกเรามาฝึกเทคนิคเรียกสติให้กลับคืนมาในระหว่างวันทำงาน เพราะเมื่อสติกลับคืนมา ปัญญาที่จะสร้างสรรค์งานให้มีคุณภาพก็จะตามมาทันทีโดยไม่ต้องสงสัย
   
1. “ไฟแดง” ไฟแห่งสติ: สิ่งแรกที่ทำให้สติของชาวออฟฟิศขาดกระเจิงพร้อมกับอารมณ์ที่ขุ่นมัวตามมา เห็นจะเป็นการจราจรที่แสนจะติดขัด ยิ่งวันไหนที่ต้องติดไฟแดงแทบทุกแยกด้วยแล้ว มันหนีไม่พ้นที่จะบ่นกับตัวเองว่า “วันนี้ต้องเป็นวันซวยอย่างแน่นอน” ทางออกก็คือ ต้อง “เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส” ลองใช้ไฟแดงเป็นเครื่องมือเตือนสติดู ติดไฟแดงครั้งใด ก็ให้หยุดดูความหงุดหงิดของตัวเอง พร้อมดึงสติมาจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ คราวนี้กว่าจะถึงออฟฟิศ เชื่อได้เลยว่าคุณจะมีสติพร้อมยิ้มรับกับทุกเรื่องที่กำลังรออยู่แล้ว



2. ตั้งจิตอธิษฐานก่อนเริ่มงานทุกวัน: เมื่อมาถึงที่ทำงาน สิ่งแรกที่ควรทำไม่ใช่การเริ่มงานอย่างลุกลี้ลุกลน แต่สิ่งที่ดีที่สุดคือ หาเวลาสัก 5 นาทีเพื่อทำใจให้สงบ จากนั้นตั้งจิตให้มั่นแล้วนึกถึงธรรมะที่ต้องการน้อมมาปฏิบัติ เช่น เมื่อวานขี้เกียจไปนิด วันนี้ต้องตั้งใจทำงานด้วยความเพียร การตั้งจิตอธิษฐานไม่ได้หมายถึงการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อช่วยให้ทำงานสำเร็จ ทว่าการอธิษฐานเป็นการเตือนใจไม่ให้พลัดหลงไปกับอารมณ์และความเร่งรีบที่จะมาบั่นทอนจิตใจการทำงานนั่นเอง



3. ล้างจานเพื่อล้างจาน: การทำงานไม่ว่าอาชีพไหนก็สามารถเจริญสติขณะทำงานได้เช่นกัน เพราะการเจริญสติในที่ทำงานหมายถึงการดึงจิตใจให้อยู่กับงาน รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ จะล้างจานก็รู้ว่าล้างจาน ถูบ้านก็รู้ว่ากำลังถูบ้าน คิดเรื่องอะไรก็ใช้สติอยู่กับเรื่องนั้นๆ ไม่กังวลกับอดีตที่ผ่านไปแล้ว หรือพะวงอยู่กับอนาคตที่ยังไม่ถึง ข้อดีของการเจริญสติตลอดเวลาที่ทำงานนั้น นอกจากจะทำให้งานสำเร็จแล้ว ยังทำให้ทำงานด้วยความผ่อนคลายโปร่งเบา เพราะจิตใจไม่มี “ขยะ” ให้ต้องแบกรับ



4. ตามลมหายใจไปกับเสียงโทรศัพท์: เคยไหมขณะกำลังทำงานอยู่เพลินๆ ก็มีเสียงโทรศัพท์จากลูกค้าขี้วีนที่สุดเข้ามา ทำให้อารมณ์ขุ่นมัวตั้งครึ่งค่อนวัน และเมื่อมีโทรศัพท์เข้าอีกครั้ง (แม้จะไม่คนเดิมก็ตาม) คราวนี้เราก็พร้อมจะระเบิดความขุ่นมัวเผื่อแผ่ไปให้ปลายสายอย่างไม่ยั้งคิด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ แน่นอนว่ามีแต่เสียมากกว่า เผลอๆ อาจทำให้เราต้องเสียลูกค้าดีๆ ไปโดยไม่ได้คาดคิด ทางออกนั้นก็ใช่ว่าจะไม่มี

     ขอแนะนำให้ใช้โทรศัพท์นี่แหละเป็นเครื่องมือเรียกสติ โดยก่อนรับสายให้ค่อยๆ ตามลมหายใจเข้า – ออกช้าๆ 3 ครั้ง เพื่อให้อารมณ์สงบนิ่ง บางคนอาจใช้อุปกรณ์เสริมอย่างเช่นกระจกบานเล็กๆ วางใกล้ โทรศัพท์ ขณะคุยอาจยิ้มน้อยๆ ไปด้วย การมองตัวเองในกระจกช่วยให้ไม่เผลอส่งอารมณ์โกรธไปถึงคนปลายสายโดยไม่รู้ตัว



5. เจริญสติด้วยคำวิจารณ์: การทำงานกับการวิพากษ์วิจารณ์เป็นสิ่งที่คู่กัน แต่หลายคนมักสติหลุดเพียงเพราะถูกวิพากวิจารณ์ ดังนั้นสิ่งที่ต้องท่องให้ขึ้นใจเมื่อได้ยินคำวิพากษ์วิจารณ์คือ เราเอาปัญญาออกหน้า หรืออัตตาออกหน้า หากเอาปัญญาออกหน้าจะเกิดคำถามในใจว่า “ฉันผิดพลาดตรงไหน” แต่หากเลือกอัตตาก็จะมีประโยคหนึ่งตามมาคือ “แกทำให้ฉันเสียหน้า” สุดท้ายถ้าเราพยายามเตือนตัวเองให้ใคร่ครวญแต่ข้อผิดพลาด ความทุกข์ความรู้สึกเสียหน้าก็จะมาไม่ถึงเหมือนอย่างที่คุณเล็ก – ประไพ วิริยะพันธุ์ ผู้ก่อตั้งเมืองโบราณมักเตือนตัวเองเสมอว่า“วันไหนไม่ถูกตำหนิ วันนั้นเป็นวันอัปมงคล” เพราะนั่นหมายถึงมีแต่คนสรรเสริญเยินยอจนหลงลืมตัว ซึ่งนำไปสู่ความเสื่อมในที่สุด



6. เจริญสติด้วยคำนินทาหลายคนคงจะเคยเจอปัญหาที่แก้เท่าไหร่ก็แก้ไม่ตก นั่นคือคำนินทา ซึ่งถ้าเป็นเรื่องที่จริงก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นเรื่องไม่จริงก็อาจทำหลายคนเกิดอาการเครียดไปตามๆ กัน ทางที่ดีที่สุด แม้เราจะห้ามคนนินทาไม่ได้ แต่เราก็สามารถห้ามใจไม่ให้คิดตามจน “จิตตก” ได้ และหนึ่งในวิธีที่ได้ผลชะงัด คือ การมองโลกในแง่ดี คิดเสียว่าที่เขานินทาคือการเตือนทางอ้อม ให้เราได้แก้ไขปรับปรุงในเรื่องที่เรายังบกพร่อง

     เวลาที่เราได้ยินเสียงนินทาให้ถือเสียว่าเป็นระฆังแห่งสติ ที่จะเตือนให้เราหันกลับมามองตัวเอง สิ่งไหนจริงก็ปรับปรุงแก้ไข สิ่งไหนไม่จริงก็ปล่อยให้ผ่านไป ที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องคิด พูด และทำแต่สิ่งดีๆ เพื่อจะได้ไม่หวั่นไหวไปกับคำนินทาที่ไม่เป็นความจริง



7. สร้างทางเดินแห่งสติ: ปัญหาอย่างหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมมักใช้เป็นข้ออ้างเมื่อการปฏิบัติไม่คืบหน้าคือ ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่จะฝึกฝน เราจึงขอเสนอเส้นทางเดินแห่งสติในที่ทำงาน เริ่มตั้งแต่ลานจอดรถ ขั้นบันได ทางเดินไปห้องน้ำ และที่จะขาดไม่ได้คือทางเดินไปห้องเจ้านาย แม้ทางเดินเหล่านี้จะเป็นระยะทางสั้นๆ เพียงไม่กี่ก้าว แต่หากเราเดินด้วยความรู้สึกตัว มีสติในทุกย่างก้าว ซ้ายก็รู้ ขวาก็รู้ ขึ้นบันไดก็รู้ ไม่เผลอคิดฟุ้งซ่าน ถ้าทำได้อย่างนี้ สติจะไม่อยู่กับเราขณะทำงานก็ให้รู้ไป



8. พักยกด้วยระฆังแห่งสติ: สำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศที่งานยุ่ง จนไม่มีแม้แต่เวลาจะดูนาฬิกา ขอแนะนำให้ใช้บริการระฆังแห่งสติเป็นผู้ช่วย ระฆังแห่งสตินี้อาจจะใช้โทรศัพท์มือถือในการตั้งเวลาปลุกทุกครึ่งชั่วโมง หรือ 1 ชั่วโมง เคล็ดลับคือ เมื่อได้ยินเสียงระฆังแล้วให้วางมือจากการทำงานและกลับมาอยู่กับลมหายใจทันทีสัก 3 ลมหายใจ จากนั้นจึงค่อยทำงานต่อ เท่านี้สติก็อยู่กับตัวได้ตลอดทั้งวันแล้ว



9. ซ้อม “สอบ” ในที่ทำงาน: จริงอยู่ว่าในการทำงานย่อมมีอารมณ์หลากหลายเข้ามาปะทะอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะดีใจ เสียใจ โกรธ โมโห อิจฉา ริษยา แต่จริงๆ แล้วอารมณ์เหล่านี้ใช่ว่าจะเป็นผลร้ายกับเราเสียหมด ตรงกันข้ามอารมณ์หลากหลายที่เราต้องเผชิญในที่ทำงานคือ บททดสอบที่ดียิ่งใน “ วิชาสติ” ดังนั้นขอให้ใช้บททดสอบเหล่านี้ดูว่าเราสามารถควบคุมอารมณ์ไม่ให้วูบวาบไปตามสิ่งที่มากระทบและเรียกสติมาช่วยได้ทันหรือไม่ หากเผลอก็ถือว่าสอบตก ต้องรีบสอบซ่อมและทำให้ดีกว่าเดิมในครั้งต่อไป



     คนเราต้องทำงานเกือบทั้งชีวิต  หากเราหมั่นฝึกใช้สติควบคู่ไปกับทำงาน ก็เท่ากับเรามีโอกาสฝึกปฎิบัติธรรมกันตลอดชีวิตเลยทีเดียว.
   
~*~*~*~*~*~*~*

เรื่องจาก FW Mail – ขออภัยที่ไม่ทราบแหล่งที่มาและชื่อผู้เขียน

http://www.oknation.net/blog/tocare/2010/06/16/entry-1