ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2010, 02:09:57 am »

 :45: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2010, 08:35:32 am »




:13:     :45: :07: :45:
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2010, 08:12:45 am »

ฟัง "3 วิธีธรรม" ลดความกดดันของวัยทำงาน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    25 พฤศจิกายน 2553 12:01 น.



"พี่โอ๋-อโนทัย เจียรสถาวงศ์"

เป็นปกติที่หลายบ้านพบเจอ กับความเครียดไม่เว้นแต่ละวัน เนื่องจากสมาชิกในบ้านหอบหิ้วเอาความความตึงเครียดข้างนอกกลับมาบ้านทุกๆ เย็น โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่วัยทำงาน ที่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบมากล้วนไม่ว่าจะเรื่องงานหรือหน้าที่ในบ้าน บางคนให้ความสำคัญเรื่องงานมากกว่าเรื่องครอบครัว จนลืมไปว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ครอบครัว แต่ก็ไม่อาจทิ้งงานไปได้ วันนี้ทีมงาน Life & Family มีวิธีที่สามารถทำทั้งสองสิ่งให้ดำเนินไปด้วยกันได้อย่างลงตัว

"พี่โอ๋-อโนทัย เจียรสถาวงศ์" นัก เขียนอิสระ ผู้คร่ำหวอดในวงการนวนินายอิงธรรมะ กล่าวสะท้อนมุมมองกับเรื่องนี้ว่า ไม่แปลกนักที่คุณพ่อคุณแม่วัยทำงานต้องพอเจอกับความเครียดและความกดดันตลอด เวลา เนื่องจากความรับผิดชอบในหน้าที่การงานต่างๆ ที่บางครั้งมาพร้อมกับปัญหาที่คอยรุมเร้า ทำให้เกิดเป็นความเครียดที่หนักหนาสาหัสจนไม่สามารถควบคุมได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนให้ความกดดันและความเครียดเหล่านั้นเป็นเหมือนแรงผลัก ดันให้เกิดเป็นกำลังใจได้

"เมื่อเรามีความกดดันในตัวเอง มากๆ ควรเปลี่ยนให้มันเป็นเครื่องฝึกสติปัญญา เพราะมนุษย์จะใช้ปัญญาเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความสามารถ อารมณ์ รวมถึงทุกสิ่งที่กำลังเกิดปัญหาอยู่ เพราะบางทีการควบคุมอารมณ์ของตัวเองทำได้ยาก แต่เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถฝึกได้ดีกว่าสัตว์ประเภทอื่นๆ เพราะสัตว์จะอาศัยเพียงการใช้สัญชาตญาณเพื่อความอยู่รอดเท่านั้น แต่มนุษย์มีขอบการควบคุมสภาวะในจิตใจ ถ้าเราสามารถควบคุมมันได้ ก็จะเป็นการฝึกฝนให้เกิดความอดทนและความชำนาญในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างง่ายดาย"

เช่นเดียวกับ ความอดทน อดกลั้น และพยายามในการทำงาน ถ้าทำงานโดยปราศจากสิ่งเหล่านี้ เชื่อได้เลยว่าการทำงานจะไม่มีความสุข มีแต่ความกดดัน จนเกิดความเครียดตามมา ทำให้งานที่ออกมาจึงไม่มีคุณภาพ นักเขียนนวนิยายอิงธรรมะท่านนี้แนะว่า ควรใช้ปัญญามองปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วพลิกกลับให้ปัญหาและความกดดันต่างๆ มาเป็นเครื่องมือในการฝึกและพัฒนาตัวเองให้เกิดปัญญา โดยการสังเกตจากการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ดังนี้

1. การพัฒนาพฤติกรรม ควรเรียนรู้ว่าเวลาติดต่อหรือสื่อสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เราเป็นคนอ่อนโยนหรือแข็งกระด้าง เราเป็นคนหยาบคายหรืออ่อนน้อม เราเป็นคนเข้มแข็งหรืออ่อนแอ เราสงบหรือว่าเรากำลังวุ่นวาย รวมถึงการพูดจาด้วยว่า เราใช้คำพูดแบบไหนในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน

2. การพัฒนาจิตใจ เรา ต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า งานที่เราทำนั้น มันทำให้รู้สึกสดชื่น กระตือรือร้น และมีความสุขหรือไม่เมื่อใช้เวลาอยู่กับงาน เรามีจิตใจที่เมตตาและเอื้ออาทรต่อเพื่อร่วมงานมากน้อยแค่ไหน แม้กระทั่งลองสังเกตว่าเราแสดงจิตใจที่ละโมบเห็นแก่ตัวกับผู้อื่นหรือไม่ ฉะนั้น ถ้าอยากให้สิ่งเหล่านี้มาเป็นทุนให้เกิดความสุขในการทำงาน ก็ต้องปรับเปลี่ยนจิตใจให้คิดถึงผู้อื่นมากขึ้น

3. การพัฒนาสติปัญญา จะเป็นการพัฒนาความชำนาญในหน้าที่การงานของตัวเอง เพราะเราได้พัฒนาความสามารถอยู่ตลอดเวลา และเมื่อเจอปัญหาบ่อยๆ ใจของเราจะเห็นความเป็นจริงของโลกอย่างถ่องแท้ว่า ไม่มีสิ่งใดที่คงอยู่กับที่ ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน มันไม่มีอะไรแน่นอน การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง หรือโยกย้ายหน้าที่การงานมันก็สามารถเป็นได้เสมอ

ขณะเดียวกัน ก็เกิดคำถามขึ้นว่า ความกดดันมักเกิดขึ้น เมื่อกำหนดส่งงานแต่งานยังไม่เสร็จ พี่โอ๋ ได้ยกตัวอย่างจากนิทานให้ฟังว่า มีผู้ชาย 3 คน ทำอาชีพเป็นช่างก่อสร้าง วันหนึ่งได้รับคำสั่งให้ไปก่ออิฐ ทุกคนก็ก่ออิฐในพื้นที่ใกล้ๆ กัน ผู้ชายคนที่หนึ่งก่ออิฐไปได้ 10 นาที ก็หยุดพักแล้วเหนื่อยหน่ายกับงานที่ทำอยู่ ทำไปก็พักไปเรื่อยๆ ส่วนผู้ชายคนที่สองทำงานได้มากกว่าผู้ชายคนแรก แต่ขณะที่ทำงานก็ยกนาฬิกาขึ้นดูตลอดเวลาว่าเมื่อไหร่จะเลิกงานลักที แต่ผู้ชายคนที่สาม ตั้งใจก่ออิฐอย่างขมักเขม้นไม่ว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวมากแค่ไหน เหงื่อจะไหลอาบตัวเท่าไร เขาก็ตั้งใจก่ออิฐไปเรื่อยๆ โดยไม่มีอาการเหนื่อยหน่ายและพร่ำบ่นกับงานที่ตัวเองกำลังทำอยู่ หลังจากนั้นก็มีคนไปถามว่า ทั้ง 3 คน กำลังทำอะไร คนแรกตอบว่า "กำลังก่ออิฐ" คนที่สองตอบว่า "กำลังก่อกำแพง" ส่วนคนสุดท้ายตอบว่า "กำลังสร้างวัด"

"การที่ผู้ชายคนสุดท้ายตอบว่า เขากำลังสร้างวัดนั้นจิตใจของเขากำลังจดจ่ออยู่กับงานที่ทำด้วยความตั้งใจ และเขาก็คิดอยู่เสมอว่างานที่ทำจะเกิดประโยชน์กับผู้อื่นอย่างไรบ้าง เช่นเดียวกับการที่ต้องเร่งส่งงาน หรือต้องรับผิดชอบงานที่หนักหนาสาหัสเท่าไร ถ้าเราระลึกและรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาด้วยการมีสติ ความเครียดและความกดดันก็ไม่สามารถก่อตัวขึ้นได้ แต่ถ้าคนๆ หนึ่งทำงาน เพื่อหวังว่าเจ้านายจะรัก หรือจะได้เลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นเร็วๆ ตรงข้ามถ้าคิดว่างานที่ทำจะเกิดประโยชน์กับผู้อื่นอย่างไรบ้างมันจะทำให้เรา มีความสุขมากกว่าการมานั่งคาดหวังกับสิ่งตอบแทน และเกิดแรงบันดาลใจในการทำงานให้สำเร็จจนได้ ไม่ว่ามันจะมีอุปสรรคมากมายแค่ไหน" พี่โอ๋ อธิบายให้เห็นภาพ

อย่างไรก็ตาม หากต้องแก้งานแล้วแก้งานอีกจนหมดกำลังใจ พี่โอ๋ แนะวิธีแก้ปัญหาและทิ้งท้ายว่า ก่อน อื่นเราต้องถามใจตัวเองว่ารักงานนี้หรือไม่ ถ้ารักและมีความสุขที่ได้ทำงานนี้ก็ต้องมาปรับการคิดว่าวิสัยทัศน์ของหัว หน้าหรือเจ้านายนั้นเป็นอย่างไร และสิ่งที่เขาบอกให้เราแก้ไขนั้น มันนำไปสู่สิ่งที่ดีและเหมาะสมหรือไม่ ถ้ารักงานก็จะต้องตั้งใจแก้ไขและฝึกจนเกิดความชำนาญ หรือเวลาที่เราฟังคำตำหนิติเตือนบ่อยๆ ก็เอามันมาเป็นแรงผลักดันตั้งใจทำให้มันดีกว่าสิ่งที่คนอื่นมองเห็น ถึงที่สุดแล้วถ้าเราทำเต็มความสามารถผลจะออกมาอย่างไรก็ต้องยอมรับความเป็น จริงที่เกิดขึ้นนั้นด้วย


.

http://www.manager.co.th/Family/View...=9530000166619

.



.