ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2010, 10:43:10 am »

 :45: :45: :45: :45: :45:

สาธุครับ
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2010, 01:51:46 am »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่แทน
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2010, 08:01:32 pm »



พระบรมสารีริกธาตุ คือธาตุส่วนต่างๆ ในพระวรกายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่กลายเป็นพระธาตุหลังถูกพระเพลิง

ซึ่งแยกชิ้นส่วนเป็นของแข็งคือ กระดูก วนที่เป็นของอ่อน คือ ส่วนเนื้อหนังและอวัยวะภายในทั้งหมด

ซึ่งกล่าวได้ว่า "พระวรกายของพระพุทธเจ้าทั้งหมดหลังการถูกพระเพลิงจะกลายเป็นพระบรมสารีริกธาตุทั้งสิ้น"

พระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือที่เรียกเป็นภาษาสามัญว่า "กระดูกของพระพุทธเจ้า" เป็นพระธาตุที่เกิดขึ้นภายหลังการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

หลังจากทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้มีการจัดการพระศพเยี่ยงพระเจ้าจักรพรรดิทั่วไป คือพระห่อพระศพด้วยผ้าใหม่ แล้วหุ้มสำลีสลับกัน ๕๐๐ ชั้น ใส่ลงในรางน้ำมันที่ทำด้วยเหล็ก แล้วปิดด้วยฝาเหล็ก ตั้งเผาบนไม้หอม เสร็จแล้วจึงนำไปบรรจุในสถูป ที่สร้างไว้บนทางสี่แพร่งเพื่อเป็นที่สักการบูชาของคนที่มาทั้งสี่ทิศ

แต่ในการถวายพระเพลิงพระศพของพระพุทธเจ้า ได้จัดสถานที่ให้ประชาชนได้มาถวายบังคม ๗ วัน ก่อนที่จะอัญเชิญพระศพเข้าพระนคร

เสร็จแล้วจึงได้อัญเชิญพระเพลิงติดขึ้นในทันใด เมื่อพระศพไหม้พระเพลิงดับ จึงได้มีพิธีรวมพระอัฐิธาตุและพระอังคาร (เถ้าถ่าน) ไปตั้งสักการะกลางพระนครอีก ๗ วัน

ซึ่งปรากฏว่าหลังพระเพลิงดับ

พระฉวี (หนังกำพร้า) พระมังสะ (เนื้อ) พระจัมมะ (หนัง) และพระลสิกา (ไขข้อ) และพระนารหุ (เอ็น)

ได้ไหม้และกลายเป็นเถ้าถ่าน

ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า

ภายหลังได้กลายเป็นพระธาตุทั้งสิ้น นอกจากนี้ผ้าชั้นนอกและผ้าชั้นในคู่หนึ่งไม่ไหม้

ส่วนพระอัฐฺธาตุทั้งปวงนั้นไหม้ทั้งหมด
แต่กลับกลายเป็นเกล็ดสีขาวบริสุทธิ์
สัณฐานใหญ่เท่าเมล็ดถั่วแตก
สัณฐานกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก
สัณฐานเล็กเท่าเมล็ดผักกาด และเท่าเมล็ดงา

ส่วนที่ยังเป็นชิ้นตามรูปเดิม คือ

พระอุณหิสธาตุ (พระอัฐิหน้าผาก) ๑
พระทาฐธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ๔
พระอักขธาตุ (พระรากขวัญ) ๒
พระทันต์ทั้ง ๓๖ ซี่
พระเกศา พระโลมา และพระขนา

ตามตำนานพบพระบรมสารีริกธาตุมีเพียง ๔ สัณฐาน ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นเท่านั้น

แต่ตามความเป็นจริงแล้ว พระบรมสารีริกธาตุยังมีสัณฐานพิเศษ นอกเหนือจากที่ตำรากล่าวไว้อีกมากมาย

นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า พระบรมสารีริกธาตุในส่วนที่มาจากกระดูกนั้น จะสามารถลอยน้ำได้ แต่ต้องค่อยๆ เอาภาชนะช้อนองค์พระธาตุไปวางไว้ในน้ำ ให้น้ำค่อยๆ รองรับองค์พระธาตุ

ลักษณะการลอยนั้นองค์พระธาตุจะลอยปริ่มน้ำ กดน้ำจนเป็นแอ่งคล้ายวังน้ำวน และองค์พระธาตุก็จะอยู่ระดับเดียวกันกับผิวน้ำ แล้วจะค่อยๆ เคลื่อนเข้ามารวมกัน

พระธาตุของพระอรหันต์ชั้นสูงก็เช่นเดียวกัน เมื่อพระสาวกได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุธรรมชั้นสูง จิตใจที่บริสุทธิ์หมดซึ่งกิเลส พลังแห่งการสั่งสมบารมีจะปรากฏให้เห็น ซึ่งเราเรียกพระธาตุของพระอรหันต์ว่า "พระอรหันตธาตุ" ซึ่งสามารถลอยน้ำได้เช่นกัน

http://variety.teenee.com/saladharm/29974.html