ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2010, 10:06:08 pm »

:06: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม ผมไม่รู้ตัวเหมือนกันว่า เป็โรคนี้เปล่านะ รู้แต่น้ำลายยืดประจำเวลานอนหลับ
อ้อ ผมกอดคุณพ่อแล้วนะครับ วันก่อน ท่านก็ดีใจครับ แล้วบอกว่ามาอ้อนอีกแล้ว (แก่)แล้วนะ 55+(ผมแก่) คุณพ่อไม่ดุอย่างที่คิด

^^ รักษาสุขภาพครับพี่หนุ่ม ธรรมะอวยพรครับ


 :07: :46: :47:

 :13: :13: :13:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2010, 02:04:07 am »

 :06: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม ผมไม่รู้ตัวเหมือนกันว่า เป็โรคนี้เปล่านะ รู้แต่น้ำลายยืดประจำเวลานอนหลับ
อ้อ ผมกอดคุณพ่อแล้วนะครับ วันก่อน ท่านก็ดีใจครับ แล้วบอกว่ามาอ้อนอีกแล้ว (แก่)แล้วนะ 55+(ผมแก่) คุณพ่อไม่ดุอย่างที่คิด

^^ รักษาสุขภาพครับพี่หนุ่ม ธรรมะอวยพรครับ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2010, 07:24:32 pm »

โรคนอนกัดฟัน

    * คุณภาพชีวิต
    * เรื่องเด่น

ฝันร้ายจากความเครียด

คุณ หลายๆ คนเคยไหมที่ตื่นขึ้นมาพร้อมกับอาการปวดขากรรไกร หรือปวดศีรษะ นั่นแสดงว่าคุณเข้าข่ายมีอาการนอนกัดฟันเสียแล้ว เพราะการนอนกัดฟันสามารถทำให้เกิดการปวดฟันและฟันโยก หรือบางส่วนของฟันสึกกร่อนไปในที่สุด อีกทั้งการนอนกัดฟันอาจทำลายเนื้อเยื่อกระดูกและเหงือกในบริเวณที่เกี่ยว ข้อง และอาจส่งผลต่อความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรได้อีกด้วย

โดย น.พ.วรวุฒิ เจริญศิริ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ บอกว่า การนอนกัดฟัน (Bruxism) เป็น การขบเคี้ยวฟันที่ไม่ใช่การทำงานตามหน้าที่ที่ถูกต้อง อาจเกิดขึ้นในขณะนอนหลับ หรืออาจเกิดขึ้นได้ในเวลากลางวัน ขณะที่นั่งทำงานเผลอๆ หรือในขณะที่มีความเครียด การนอนกัดฟันมักจะเกิดขณะที่นอนหลับไม่ลึก หรือหลับไม่สนิท การใช้ฟันขบเขี้ยวเคี้ยวกันในเวลาที่ไม่ได้กินอาหาร เชื่อว่าเป็นการทำงานที่ไม่ถูกต้องทั้งสิ้น และไม่เกิดผลดีใดๆ มีแต่ผลเสียต่างๆ ดังนี้
“การ นอนกัดฟัน ทำให้ฟันในปากสึกกร่อน เร็วกว่าปกติมีอาการเสียวฟัน และอาจจะทำให้ฟันแตกได้ บางรายทำให้เกิดการเจ็บบริเวณหู เจ็บข้อต่อขากรรไกร และถ้าฟันสึกมากๆ อาจจะทำให้ใบหน้าสั้นกว่าปกติ และสิ่งสำคัญที่สุด คือ ก่อให้เกิดความรำคาญ และเสียสุขภาพจิตแก่คนนอนร่วมห้องเดียวกัน”

สำหรับ อาการนอนกัดฟันที่เกิดขึ้นมานั้น อาจจะไม่มีผลเสียใดๆ ต่อโครงสร้างต่างๆ ภายในช่องปากเลย หรืออาจจะทำให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้นได้มากมายเลยก็ได้ อาการ ที่มักจะเกิดเมื่อมีอาการนอนกัดฟัน คือ ฟันสึกอย่างรุนแรง เกิดอาการปวด ตึง หรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อ เกิดความผิดปกติที่ข้อต่อขากรรไกร อาการปวดศีรษะ อาจพบว่าในผู้ที่ใส่ฟันปลอมแบบติดแน่นอยู่ ฟันปลอมที่ใส่อาจจะถูกทำลายลงในระยะเวลาเพียง 6-9 เดือน อ้าปากไม่ขึ้น มีเสียงดังที่ข้อต่อขากรรไกรขณะอ้าหรือหุบปาก ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้อาจเกิดขึ้นเพียงอาการใดอาการหนึ่ง หรือเกิดพร้อมๆ กันทุกอาการเลยก็ได้

“การ นอนกัดฟันนั้นอาจมีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับความเครียดในชีวิตประจำวัน เช่น การหย่าร้าง การตกงาน หรือช่วงการสอบคัดเลือก เป็นต้น หรือเกิดในช่วงชีวิตของผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านร่างกาย หรือจิตใจ ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการนอนกัดฟัน ในช่วงสัปดาห์ที่มีปัญหาเรื่องงาน ในสตรีที่กำลังมีรอบเดือน หรือในผู้ป่วยบางคนก็อาจจะไม่มีระยะเวลา หรือวงจรที่แน่นอนของการนอนกัดฟันก็ได้

และมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่ไม่ทราบ ว่าตัวเองมีอาการนอนกัดฟันอยู่ พบว่ามีเพียง 10% ของผู้ใหญ่ และ 5% ของเด็กที่นอนกัดฟันเท่านั้นที่ทราบว่าตัวเองมีอาการนอนกัดฟัน ซึ่งคนเหล่านั้นมักจะทราบว่าตัวเองนอนกัดฟันจากการได้ยินเสียงนอนกัดฟันของ ตัวเอง หรือจากเพื่อน หรือคนที่นอนใกล้ๆ ได้บอกให้รู้”

ส่วน สาเหตุของโรคนี้นั้นเกิดจากมีสิ่งกีดขวางการทำงาน ของฟันในขณะบดเคี้ยว สิ่งกีดขวางเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกัดฟันหรือขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน ขึ้น หรืออาจเกิดจากโรคปริทันต์ที่มีการเจ็บปวดพื้นผิวของริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เป็นต้น อีกทั้ง อาจมีสาเหตุมาจากยาที่รับประทานก็ได้ ยาที่เคยมีรายงานว่าทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้ คือ แอมเฟตามีนที่ใช้ร่วมกับ Ldopa, ยา fenfluramine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของแอมเฟตามีน และมีรายงานว่า พบการนอนกัดฟันในผู้ป่วยที่เป็นโรค Tardive Dyskinesia ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลมาจากการใช้ยา phenothiazine เป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ จะสามารถทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้

อย่าง ไรก็ตาม การรักษาโรคนี้นั้นทันตแพทย์จะทำการปรับการสบของฟันให้ถูกต้อง การนอนกัดฟันอาจจะลดน้อยลงหรือหายไป หรือทันตแพทย์จะต้องแก้ไขโรคปริทันต์ พื้นผิวของริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ที่มีการระคายเคืองออกให้หมดจะช่วยลดการนอนกัดฟันได้ อีกทั้งแพทย์จะบอกให้ผู้ป่วยแก้ไขสาเหตุของความเครียด แต่ในขณะที่ยังแก้สาเหตุความเครียดไม่ได้ ให้พบทันตแพทย์เพื่อทำเครื่องมือไปใช้ใส่ขณะนอน เพื่อป้องกันไม่ให้กัดลงบนฟันแต่ให้กัดลงบนเครื่องมือแทน ฟันจะได้ไม่สึก การใส่เครื่องมือนี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยหรือความเคยชินในการขบเขี้ยว เคี้ยวลักษณะเดิมได้ ซึ่งต่อไปสักระยะหนึ่งจะทำให้เลิกนอนกัดฟันได้ นอกจากนี้ การทำสมาธิเพื่อให้นอนหลับสนิท รวมถึงการกินยานอนหลับและยาคลายกล้าม เนื้อก่อนนอนคงทำให้อาการลดน้อยลงได้เช่นกัน



ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ


โรคนอนกัดฟัน | ThaiHealth.or.th

.



.