ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 12:14:43 am »

 :13: ขอบคุณครับพี่เล็ก^^
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 06:34:48 pm »

ในยุคสมัยที่ผู้คนในสังคม เริ่มหันมาใส่ใจกับสุขภาพกันมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะท่านสุภาพสตรีทั้งหลายที่หันมาใส่ใจเรื่อง “น้ำหนักตัว”
จนทำให้ธุรกิจและผลิตภัณฑ์ “ลดความอ้วน” นั้นได้รับความนิยมอย่างสูง
ไม่ว่าจะเป็น คลินิกลดความอ้วน เครื่องออกกำลังลดหน้าท้อง เสื้อผ้าช่วยลดความอ้วน
รวมไปถึงอาหารประเภทเครื่องดื่มยอดนิยมอย่าง ชา-กาแฟ ด้วย
       
       ช่วงหลายปีที่ผ่านมา เชื่อแน่ได้ว่าท่านผู้อ่านจำนวนไม่น้อยคงเคยได้ยินชื่อ
“กาแฟเพื่อสุขภาพ เนเจอร์กิฟ” มาบ้างจากสปอตโฆษณาทางโทรทัศน์
และสื่อโฆษณาหลากหลายแขนง ทว่า คงมีไม่กี่คนที่ทราบว่า ผู้ก่อตั้ง
และเจ้าของธุรกิจกาแฟลดความอ้วนนี้แท้จริงแล้วในอดีตเป็นเพียงเด็กสลัมจนๆ คนหนึ่ง
ซึ่งต้องวิ่งขายไอศกรีม ขายเรียงเบอร์ ต้องทนนอนเบียดกัน 8 คน
ในห้องเช่าขนาดแค่ 3 คูณ 4 เมตร ......
       
       ดร.กฤษฎา จ่างใจมนต์ ผู้จัดการใหญ่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เนเจอร์กิฟ 711
เปิดใจเล่าถึงช่วงชีวิตในวัยเด็กกับ ASTVผู้จัดการออนไลน์ว่า
“ผมอยู่สลัมตั้งแต่จำความได้ เราเช่าบ้านของแม่ค้าขายผักอยู่ที่ตลาดปีระกา
ใกล้กับวัดตึก พื้นที่ที่เราเช่าอยู่เนี่ยเป็นพื้นที่หน้าห้องน้ำของบ้านแม่ค้า
เนื้อที่กว้างประมาณสองเมตรครึ่ง ลึกสองเมตร เวลานอนเลยเบียดกันมาก
อยู่ที่นี่ประมาณ 2 ปีก็ย้ายไปอยู่ที่สลัมซอยสามยอด ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกัน
พื้นที่ก็กว้างขึ้นมาหน่อยเป็น 3 คูณ 4 เมตร ตอนนั้นเราก็มีน้องเพิ่มขึ้น
และมีหลานมาอยู่ด้วย ก็รวมเป็น 8 คน เวลานอนจะมีเตียง 1 เตียง นอนกัน 3 คน
ส่วนคนที่นอนบนพื้นก็ต้องเอาขาสอดไปไว้ใต้เตียง บ้านเราคับแคบนะแต่ก็อบอุ่นดี (ยิ้ม)”
       
       แม้โชคชะตาจะทำให้ชายผู้นี้เกิดมาในสลัมซอยสามยอด แต่ด้วยความอดทน
หัวใจที่รักดี และความเป็นพี่ชายคนโตของครอบครัวเขาจึงต้องดิ้นรนช่วยเหลือพ่อแม่
ที่ต้องทำงานหนักเพื่อเลี้ยงดูลูกๆ ถึง 5 คน กับหลานอีก 1 คนตั้งแต่ยังเล็ก
       
       “วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ผมจะตื่นตั้งแต่ตี 4 ครึ่ง ไปรับขนมจากปากคลองตลาด
มาขายในตลาดแถวๆบ้านจนถึงช่วงสายๆ พอขายหมดก็ไปรับไอศกรีมแท่งมาขาย
หิ้วถังไอศกรีมเดินขายไปเรื่อยๆ หนักหลายกิโลฯ เหมือนกัน บ่ายๆก็หมดแล้ว
เสร็จแล้วก็กลับมาทำการบ้าน ส่วนวันที่ล็อตเตอรี่ออกผมก็ไปรับเรียงเบอร์จากโรงพิมพ์
แถวเฉลิมกรุงมาขาย ก็วิ่งจากเฉลิมกรุงถึงหัวลำโพง คือสมัยนั้นถ้าเลยหัวลำโพงไป
มันจะมืดมากเราก็ไม่กล้าไป ก็กลับมาที่วังบูรพาซึ่งสมัยนั้นมีโรงหนังอยู่ 3 โรง
โรงหนังแกรนด์ คิงและควีน เพื่อรอหนังรอบดึกเลิก ผมจะขายคนที่มาดูหนังจนเรียงเบอร์หมด
ถึงกลับบ้าน ทำอยู่อย่างนี้จนกระทั่งเข้าเรียนมหาวิทยาลัย"
       
       ข้อดีอย่างหนึ่งของความยากจนก็คือสิ่งนี้เป็นเหมือนแรงขับที่ทำให้กฤษฎา
มีความอดทนและมานะพยายามมากกว่าเพื่อนๆวัยเดียวกัน เด็กโรงเรียนวัดสระเกศอย่างเขา
จึงสามารถสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทั้งๆที่ไม่มีโอกาส
ได้เรียนกวดวิชาเหมือนเพื่อนๆ ขณะเดียวกันก็ต้องทำงานหารายได้ช่วยครอบครัว
       
       “ตอนเอ็นทรานซ์ติดคณะวิศวะฯ จุฬาฯ นี่พ่อกับแม่ดีใจมาก เพราะผมไม่ได้เรียนกวดวิชา
เหมือนเพื่อนๆ เขาหรอกเพราะเราไม่มีเงิน บางทีเพื่อนเขาบอกว่าวิชานี้มีอาจารย์
จากมหาวิทยาลัยมหิดลมาสอนนะ อาจารย์คนนี้สอนเก่ง ผมก็จะแอบไปเรียนโดยที่ไม่ได้จ่ายเงิน
ก็จะไปนั่งหลังๆ ห้อง อาจารย์ก็ไม่ได้สังเกต (หัวเราะ) แต่เราไม่ได้ไปเรียนทุกชั่วโมงนะ
เพราะเราไม่ได้จ่ายตังค์ สมัยที่เรียนจุฬาฯ ก็จะกินข้าวแกงที่ขายริมรั้ว
ส่วนน้ำก็ขึ้นไปกดน้ำก๊อกบนตึกกิน” ดร.กฤษฎา เล่าถึงชีวิตต้องสู้ในวัยเด็ก
       
       เจ้าของบริษัทที่ไม่มีแม้แต่เก้าอี้นั่งทำงาน
       
       หลังจากที่เรียนจบปริญญาตรีกฤษฎาได้เข้าทำงานที่การไฟฟ้าฯ อยู่พักหนึ่ง
ก่อนที่จะลาออกไปทำงานบริษัทเอกชน ด้วยความต้องการเก็บเงินสร้างฐานะ
จนกระทั่งมีเงินเก็บอยู่ก้อนหนึ่งเขาจึงตัดสินใจออกมาเปิดบริษัทนำเข้า
และจำหน่ายอุปกรณ์ด้านวิศวกรรมของตัวเอง
       
       อย่างไรก็ตาม บริษัทของกฤษฎานั้นออกจะแปลกว่าบริษัทอื่นๆ ตรงที่ทั้งบริษัท
มีเขาเป็นพนักงานเพียงคนเดียว และพื้นที่ซึ่งเขาใช้เป็นที่ทำงานนั้น
ก็อยู่ภายในบริษัทของเพื่อนชาวไต้หวัน อีกทั้งโต๊ะเก้าอี้ที่เขานั่งทำงาน
ก็ล้วนแต่หยิบยืมมาจากเพื่อนคนดังกล่าวอีกเช่นกัน
       
       “ต้องบอกว่าผมโชคดีนะ มีแต่คนช่วยเหลือ บริษัทของผมเป็นบริษัทนำเข้าสินค้า
ด้านวิศวกรรม เช่น วาล์วต่างๆ วาล์วลม วาล์วน้ำมัน ตู้ไฟฟ้า แต่ว่าตอนนั้นผมมีเงินแค่
50,000 บาท ไม่มีปัญญาจ้างพนักงาน ก็ทำอยู่คนเดียว จะเช่าตึกทำออฟฟิศเราก็ไม่มีเงิน
ผมก็ไปขอใช้พื้นที่ในบริษัทของเพื่อนชาวไต้หวันเป็นที่ทำงาน
แล้วก็ขอยืมโต๊ะเขามาตัวหนึ่ง (หัวเราะ) มานั่งทำงาน ก็ต้องขอบคุณเขาจนถึงทุกวันนี้
เพราะเพื่อนคนนี้ช่วยเหลือผมเยอะมาก ผมไม่มีเงินเขาก็เปิดแอลซีให้
พอของมาถึงท่าเรือเราก็ไม่มีเงินไปเสียภาษีนำเข้าอีก ศุลกากรเขาก็กำหนดว่าสินค้า
ต้องอยู่ที่ท่าเรือไม่เกิน 90 วัน ถ้าเกิน 90 วันเขาจะริบเป็นของหลวง
ก็เลยคุยกับเพื่อนชาวไต้วันอีกว่าจะขอยืมเงินมาเป็นค่าภาษี (หัวเราะ)
ถ้าขายได้จะเอาเงินมาคืน เขาก็ให้ พอขายของได้ผมก็คืนเงินให้เขาแล้วก็แบ่งกำไรให้เขา 10%
       
       ตอนหลังผมก็ขอคู่ค้าในต่างประเทศว่าไม่ต้องเปิดแอลซีได้ไหม
ส่งสินค้าให้ผมก่อน ภายใน 90 วันขายของได้แล้วผมจะโอนเงินไปให้ เขาก็ให้นะ
ทั้งอเมริกา ทั้งอังกฤษ ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นหน้ากันเลยนะ แล้วมีอยู่ครั้งหนึ่งผมหาเงินไม่ทัน
ผมก็เขียนจดหมายไปบอกเขาว่าผมหาเงินไม่ทันตามกำหนด ขอยืดเวลาออกไปอีก 60 วันนะ
แต่จะให้ดอกเบี้ยเขาด้วย ช่วงนั้นก็ยังขึ้นๆ ลงๆ ไม่มีเงินจ้างพนักงาน ต้องทำเองทุกอย่าง
ตอนหลังพอยอดขายเพิ่มขึ้น ก็เลยย้ายบริษัทมาอยู่ที่บ้านที่บางยี่เรือ แล้วก็จ้างพนักงาน 2 คน
ทั้งๆ ที่พนักงานแค่ 2 คน บางเดือนยังไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนเลย
คุณแม่ต้องไปยืมเงินแม่ค้าขายปาท่องโก๋ในตลาด หรือบางทีก็ยืมเงินร้านขายยามาให้
ต่อมาผมก็หันมาผลิตเครื่องฟอกอากาศยี่ห้อแอร์โรคลีน ปรากฏว่าขายดีมาก
มียอดขายเป็นอันดับหนึ่งในตลาด
       
       พอปี 2538-2539 เงินเหลือเยอะเลยไปซื้อที่ดินที่ลพบุรีประมาณ 500 กว่าไร่
มาพัฒนาเพื่อจัดสรรขาย แต่พอปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ
ที่มาจองซื้อที่ของโครงการไว้ก็ไม่มีเงินมาจ่าย ตอนนั้นโครงการเรายังไม่เสร็จ
ผมก็มานั่งคิดว่าขุดทะเลสาบไว้ถ้าฝนตกลงมาก็จะเสียหาย เราก็เลยต้องทำต่อ
โดยการโละสต็อกเครื่องฟอกอากาศทั้งหมด ได้เงินมาหลายล้านก็เอามาถมกับที่แปลงนี้
ทำให้เราเป็นหนี้ธนาคารถึง 50 ล้านบาท ขณะที่ไม่มีใครจ่ายเงินค่าที่เลย
และก็ไม่มีธุรกิจอื่นๆแล้ว” ดร.กฤษฎา เล่าถึงประสบการณ์ในการทำธุรกิจที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด
       
       ปลดหนี้ 50 ล้านใน 2 ปี
       
       ถึงแม้จะหมดเนื้อหมดตัวจากการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งยังต้องเป็นหนี้เป็นสิน
หลายสิบล้านบาทแต่ ดร.กฤษฎาก็หาได้ท้อถอย เนื่องเพราะมีภรรยาและลูกๆทั้ง 3 คน
คอยเคียงข้างเป็นกำลังใจ เขาจึงเริ่มต้นใหม่ด้วยการทำธุรกิจขายตรง ผลิตและจำหน่าย
อาหารเสริมจากสาหร่ายสไปรูลิน่า ภายใต้แบรนด์เนเจอร์กิฟ ในปี 2545
ซึ่งนับว่าโชคชะตาก็ยังไม่ใจร้ายกับเขาเกินไปนัก เพราะแม้ธุรกิจขายตรงในครั้งนั้น
จะไม่ประสบความสำเร็จแต่ก็กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เขาหันมาผลิตกาแฟลดน้ำหนัก
ซึ่งใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เหมือนกันคือ เนเจอร์กิฟ ที่กำลังขายดิบขายดีอยู่ในขณะนี้
และจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ ดร.กฤษฎาสามารถใช้หนี้จำนวน 50 ล้านบาท
ได้หมดภายใน 2 ปี หลังจากที่เริ่มผลิตกาแฟเนเจอร์กิฟออกจำหน่ายในปี 2547
อีกทั้งยังสามารถสร้างโรงงานใหม่ เป็นแห่งที่ 3 ภายในระยะเวลาเพียง 5 ปีกว่าเท่านั้น
       
       “ในช่วงที่ทำธุรกิจขายตรง สมาชิกหลายคนก็บอกว่าอาหารเสริมมันขายยาก
น่าจะขายพวกสินค้าอุปโภคบริโภค อย่างพวก กาแฟ สบู่ ยาสีฟัน ผมก็อยากทำแต่ไม่มีเงินทุน
เลยลองหาข้อมูลดู ปรากฏว่าผลิตกาแฟใช้เงินน้อยที่สุด ประกอบกับก่อนหน้านั้น
ผมมีความคิดว่าอยากผลิตอาหารที่ช่วยในเรื่องสุขภาพของผู้บริโภค
ที่มีปัญหาในเรื่องโรคอ้วน เบาหวาน ความดัน ก็เลยมาลงตัวที่กาแฟสูตรลดน้ำหนัก
โดยเริ่มขายครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม 2547 พอดีตอนนั้นมีงานเกษตรแฟร์
ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เราก็ไปออกร้าน แล้วมีนักข่าวไปทำข่าวลงหนังสือพิมพ์
เนื่องจากเขาเห็นว่ามันแปลกเพราะเนเจอร์กิฟเป็นกาแฟสูตรควบคุมน้ำหนักเจ้าแรกของไทย
คนก็เลยเริ่มรู้จักสินค้าของเรา จากนั้นก็ขายดีขึ้นเรื่อยๆ ก็เลยตั้งโรงงานขึ้นมา
       
       คือตอนที่เริ่มผลิตครั้งแรกเรายังไม่มีเงิน ก็ใช้พื้นที่ในบ้านส่วนที่เคยใช้เป็นโรงรถเป็นที่ผลิต
เพราะเรากะจะผลิตแค่เดือนละ 3 หมื่นซองเท่านั้น แต่ปรากฏว่ายอดขายเพิ่มขึ้นมาก
จนเราต้องหาสถานที่ผลิตใหม่ ก็ไปเช่าบ้านหลังหนึ่งใกล้ๆ กับบ้านที่เราอยู่เพื่อใช้เป็นที่ผลิตกาแฟ
ทำอยู่ 7-8 เดือน ยอดขายเพิ่มขึ้นไม่หยุด ประมาณเดือน มิถุนายน 2548 เราเลยตั้งโรงงานขึ้นมา
ลงทุนไป 18 ล้านบาท เนเจอร์กิฟก็โตขึ้นเรื่อยๆ จนปี 2550 จำเป็นต้องสร้างโรงงานแห่งใหม่
ซึ่งก็คือโรงงานปัจจุบัน ใช้เงินลงทุน 200 ล้านบาท และในปีนี้ (2552) เราก็จะเปิดโรงงานใหม่
อีกแห่งหนึ่ง ใช้เงินลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ตอนนี้ก็ใกล้จะเสร็จแล้ว
ส่วนตัวแทนจำหน่ายที่รับสินค้าเราไปขายนั้นปัจจุบันก็มีอยู่ประมาณ 5,000-6,000 จุดทั่วประเทศ
ซึ่งจากการที่ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องทำให้ผมสามารถใช้หนี้ซึ่งมีอยู่ 50 กว่าล้าน
ได้หมดภายใน 2 ปี คือเริ่มผลิตกาแฟเนเจอร์กิฟในปี 2457 พอปี 2548 เราก็ใช้หนี้หมด
ขณะที่การก่อสร้างโรงงานใหม่นั้นก็ใช้เงินสดทั้งหมด ปัจจุบันเราจึงไม่มีหนี้”
เจ้าของบริษัทเนเจอร์กิฟ กล่าวด้วยความภาคภูมิใจ
       
       ทั้งนี้ในปัจจุบันเนเจอร์กิฟได้ขยายไลน์การผลิตสินค้าออกไปมากขึ้น
โดยมีทั้งกาแฟและเครื่องดื่มสูตรควบคุมน้ำหนักรสชาติต่างๆ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
นอกจากตลาดภายในประเทศแล้ว ผลิตภัณฑ์เนเจอร์กิฟก็ยังมีการส่งออก
ไปยังตลาดต่างประเทศด้วย ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อินเดีย ออสเตรเลีย ดูไบ ตุรกี
นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก และสหรัฐอเมริกา
       
       “อุปสรรค” คือส่วนหนึ่งของ “ความสำเร็จ”
       
       ดร.กฤษฎา บอกว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จมาถึงทุกวันนี้
ก็คือความมุ่งมั่นและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค อีกทั้งยังเชื่อว่าการดำเนินชีวิต
ตามหลักธรรมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าจะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง
และช่วยให้เขาสามารถผ่านพ้นอุปสรรคนานัปการในชีวิตไปได้
       
       “ผมคิดว่าการทำงานทุกอย่างต้องมีอุปสรรค แต่ถ้าเจออุปสรรคแล้ว
เราคิดว่าอุปสรรคเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของความสำเร็จเราก็มีกำลังใจที่จะเดินต่อไปได้
อย่างมีอยู่ครั้งหนึ่งธนาคารโทรมาทวงเงิน คือตอนนั้นผมไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยเขาหลายเดือนแล้ว
ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ผมกำลังเริ่มผลิตกาแฟ ผมก็บอกว่ารอนิดหนึ่งนะ กำลังทำกาแฟอยู่
หน้าที่ธนาคารก็บอกว่าเห็นด็อกเตอร์ทำมาตั้งหลายอย่าง ไม่เห็นสำเร็จสักอย่าง ...
ผมก็เลยบอกเขาไปว่า คุณรู้จักมิสเตอร์ฮอนด้าไหม มิสเตอร์ฮอนด้าเขาบอกว่า
รถยนต์ฮอนด้าที่คุณเห็นเขาผลิตออกมาขายน่ะมันแค่ 5% ที่เขาทำมาทั้งหมด
คือคุณเห็นแค่สิ่งที่เขาทำแล้วประสบความสำเร็จซึ่งมันมีเพียง 5% เท่านั้น
ส่วนอีก 95% ซึ่งคุณไม่เห็นน่ะมันคือส่วนที่เขาทำแล้วล้มเหลว
เจ้าหน้าที่ธนาคารเขาก็เลยเงียบไป เพราะฉะนั้นถ้าคุณทำอะไรแล้ว
มันล้มตลอดก็อย่าเพิ่งท้อ เราต้องรู้ว่าเราล้มได้ถึง 95 ครั้งนะ
ขอแค่ชนะ 5 ครั้งก็พอแล้ว (ยิ้ม) :47:
       
       ตอนผมขายเครื่องฟอกอากาศ ผมอยู่ตึกแถวจนสามารถเก็บเงินซื้อบ้านทาวน์เฮาส์ได้
แล้วก็มาซื้อบ้านเดี่ยวซึ่งมีสนามหญ้าด้วย 2 หลัง ซื้อที่ได้หลายร้อยไร่ มีรถวอลโว่
รถบีเอ็มซีรีย์ 7 พอเกิดวิกฤตเศรษฐกิจไอเอ็มเอฟผมก็ล้มละลาย โรงงานถูกยึด
บริษัทก็ถูกยึด รถบีเอ็มก็ต้องขาย หมดทุกอย่ง ผมต้องนั่งรถเมล์ไปทำงาน
แต่ผมก็มองว่ามีได้ก็หมดได้เป็นเรื่องธรรมดาของโลก อีกอย่างที่ทำให้ผมประสบความสำเร็จ
ในชีวิตเนี่ยก็เพราะผมปฏิบัติตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า คือทำทาน รักษาศีล
แล้วก็เจริญภาวนาคือสวดมนต์และนั่งสมาธิ ผมทำธุรกิจไปด้วย ทำบุญไปด้วย
ทำครบทั้งทาน ศีล ภาวนา เวลามีปัญหา จากหนักมันก็เบาลง”
       
       ด้วยความที่เป็นคนใฝ่รู้ผู้ชายคนนี้จึงไม่เคยหยุดนิ่งในเรื่องของการศึกษา และไม่มีคำว่าแก่เกินเรียน
       
       “ผมเรียนไปเรื่อยๆ เป็นคนชอบเรียน ทำธุรกิจไปด้วยเรียนไปด้วย ปริญญาบางใบ
ได้มาตอนแต่งงานและมีลูกแล้วก็มี ผมเรียนปริญญาโท เอ็มบีเอ ที่ธรรมศาสตร์
เรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยอเมริกันโคสต์ไลน์ (American Coastline University)
สหรัฐอเมริกา แต่เรียนทางไปรษณีย์นะ แล้วก็ได้อบรมหลักสูตรธุรกิจที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
(สหรัฐอเมริกา) คือเขาเชิญไปเรียนโดยคัดจากนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
ผมเป็นนักธุรกิจไทยรุ่นแรกที่ได้รับคัดเลือก ตอนนั้นไปอบรมพร้อมกับคุณประชา มาลีนนท์
(อดีตผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3) รวมๆ แล้วทั้งปริญญาและประกาศนียบัตร
ประมาณ 10 กว่าใบได้ คืออุปนิสัยผมเป็นคนใฝ่รู้ อย่างเราเรียนจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรม
พอไปทำธุรกิจต้องติดต่อค้าขายกับต่างประเทศผมก็จะไปเรียนหลักสูตรเกี่ยวกับ
การเขียนจดหมายทางธุรกิจ เรียนการพูดภาษาอังกฤษ เรียนการเงิน การตลาด
ก็หาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอด คือผมเป็นคนไม่ชอบเที่ยว พอเลิกงานก็ไม่รู้จะทำอะไร
เลยไปเรียนหนังสือ” ดร.กฤษฎา กล่าว
       
       มีเงินพันล้าน แต่ใช้เดือนละ 6 พัน
       
       แม้ปัจจุบัน ดร.กฤษฎาจะประสบความสำเร็จอย่างสูงในธุรกิจและกลายเป็นเศรษฐีพันล้าน
แต่เขาก็หาได้ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยหรูหรา ... ตรงกันข้ามเขากลับยังคงใช้ชีวิตสมถะ
ง่ายอยู่ง่ายไม่ต่างจากเมื่อครั้งที่ยังล้มลุกคลุกคลานในช่วงที่เริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ๆ
       
       ดร.กฤษฎาบอกว่า เขาเลือกใช้จ่ายเฉพาะในสิ่งที่จำเป็น ซึ่งรวมๆแล้ว
ในแต่ละเดือนนั้นเขาจะใช้เงินไม่เกิน 6,000 บาท เพราะเขามองว่าคงเป็นการดีกว่า
หากเงินที่เขาหามาด้วยความยากลำบากนั้นจะถูกนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนา
หรือใช้ในการส่งเสริมคุณธรรมและการศึกษาให้แก่เด็กๆที่ด้อยโอกาส
       
       “ทุกวันนี้ผมใช้เงินแค่เดือนละ 6,000 บาท อาหารเช้าของผมคือถั่วต้ม
น่าจะประมาณ 3-5 บาท คือผมเอาถั่วแดง ถั่วเขียว ลูกเดือย ถุงละแค่ 10 กว่าบาท
มาต้มใส่น้ำตาล ต้มเสร็จแล้วก็แช่ช่องแข็งไว้ เช้าก็เอาออกมากิน
ถั่วนี่คุณค่าทางอาหารสูงด้วย ประหยัดด้วย มื้อกลางวันก็เป็นอาหารตามสั่ง
จากร้านแถวๆ ออฟฟิศ บางทีขับรถไปเจอเพิงก๋วยเตี๋ยวข้างทางผมก็แวะกินได้
ผมกินอะไรง่ายๆ ตกเย็นก็กินข้าวที่บ้านกับครอบครัว แค่นี้ก็มีความสุขแล้ว
คือผมมองว่าเงินทองของเราถ้าได้นำไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์มันน่าจะคุ้มค่ากว่า
เอามาใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ไร้สาระ อย่างที่บริษัทก็จะมีการแจกทุนการศึกษาให้แก่เด็กที่เรียนดี
มีความประพฤติดี แต่ฐานะยากจน แจกมาต่อเนื่องทุกปี
ซึ่งปีนี้เราก็แจกให้ 100 ทุน ทุนละ 12,500 บาท
       
       หรืออย่างรีสอร์ทที่ลพบุรีเก็บเอาไว้ก็ไม่ได้ทำอะไร ผมก็เลยถวายวัดไป
เพื่อใช้สร้างสถานปฏิบัติธรรม นอกจากนั้นเราก็สร้างธรรมสภาขึ้นมา
ซึ่งตรงนี้จุคนได้หลายพันคน ทางวัดเขาก็ใช้เป็นที่อบรมธรรมะสำหรับเยาวชนและประชาชน
ใช้เป็นที่ประชุมสงฆ์ เป็นที่จัดบวชเณร แล้วผมก็ส่งเงินไปช่วยเป็นค่าน้ำค่าไฟ
ค่าคนงาน ทุกเดือน เมื่อปีที่แล้วก็มีการจัดตักบาตรที่ศูนย์ลพบุรี 2 ครั้ง
ครั้งแรกเดือนกุมภาพันธ์ นิมนต์พระมา 1,700 รูป ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนธันวาคม 2551
มีพระมารับบาตร 10,000 รูป ปลายปีนี้ก็จะจัดอีก คือเราอยากให้คนหันกลับมาทำบุญ
ใส่บาตรกันเยอะๆ เหมือนเมื่อก่อนนี้ ผมจำได้ว่าสมัยเด็กๆ ผมอยู่ในสลัม
เราเดินไปแถวถนนเจริญกรุงจะเห็นพระเดินรับบาตรมาเป็นแถว ชาวบ้านเขาก็ใส่บาตรกัน
เรายังเป็นเด็กจนๆ เราก็ได้แต่ยกมือไหว้ แต่วันนี้เรามีโอกาสทำได้มากกว่าแค่ยกมือไหว้พระ (ยิ้ม)
ผมคิดว่าถ้าคนมีศีลมีธรรมเหมือนเมื่อก่อนบ้านเมืองเราก็สงบสุข”
       
       ดร.กฤษฎายังบอกด้วยว่า ความยากลำบากที่เขาพบเจอมาตั้งแต่วัยเยาว์นั้น
เป็นเหมือนเบ้าหลอมให้เขารู้จักมานะ อดทน จนประสบความสำเร็จได้ถึงทุกวันนี้
ดังนั้นเขาจึงปลูกฝังให้ลูกๆ ทั้ง 3 คนซึ่งจะต้องเข้ามาสืบสานธุรกิจของเขาต่อไป
ในอนาคตได้เรียนรู้ที่จะทำงานโดยไม่หวั่นต่อความยากลำบาก
       
       “ผมกับภรรยาจะไม่เลี้ยงลูกแบบคุณหนู ไม่สอนให้เขาฟุ้งเฟ้อ ลูกทุกคน
จะช่วยกันทำงานหมด เราสอนเขาว่าอย่าอายถ้างานที่เราทำเป็นอาชีพสุจริต
ลูกชายคนโตผมเขาเรียนจบปริญญาตรี ที่เอแบค ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ
จบออกมาก็หางานทำไม่ได้ เขาก็ไปสมัครเป็นเซลส์เดินขายไส้กรอก
ได้วันละ 100 บาท วันไหนขายไม่ได้ตามเป้าก็ไม่ได้เงิน
ตอนเราเริ่มทำกาแฟเนเจอร์กิฟใหม่ๆ เรายังไม่มีเงินจ้างคนงาน
ทุกคนในบ้านก็ต้องช่วยกันทำทุกอย่าง ตั้งแต่ผลิตกาแฟอยู่ในโรงรถ
กลางคืนก็ให้ลูกชาย 2 คนไปซื้อน้ำตาลจากห้างแมคโคร ช่วยกันเข็นมา
กลางวันเขาก็ต้องไปส่งกาแฟ ขับรถกระบะไปเอง แบกเองทุกอย่าง
ตอนนี้ลูกทั้ง 3 คนเรียนจบหมดแล้ว ก็เข้ามาช่วยงานในบริษัท
ผมมองว่าเราไม่ได้อยู่กับเขาไปตลอด ไม่ได้อุ้มชูเขาทั้งชีวิต
ดังนั้นถ้าให้เขาได้เจอกับความลำบากตั้งแต่วันนี้ ต่อไปวันข้างหน้า
เจอปัญหาอะไรเขาก็รับได้หมด” ดร.กฤษฎา พูดถึงสิ่งที่เขาคาดหวังจากทายาททั้ง 3
ที่จะมาสืบสานกิจการเนเจอร์กิฟต่อไปในอนาคต
       
       * * * * * * * * * *
       
       เรื่อง – จินดาวรรณ สิ่งคงสิน

ขอบพระคุณที่มา http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9520000091757