ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 04:31:50 am »



:43:     :13: :19:

 :02:

  อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ คุณครูแทน 

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 12:43:23 am »

 :45: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่แทน
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 09:55:27 pm »

   น่าสังเกตว่า  สุจริตกรรม  ๑๐  ประการนี้  ไม่มีการงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัยและของเสพติด
ทั้งหลายรวมอยู่ด้วย  ถึงกระนั้นการดื่มสุราเมรัยเป็นต้น ก็เป็นความชั่ว ไม่ใช่ความดี โทษของการดื่มสุรา
เมรัยเสมอๆ  นั้นมีโทษมาก  ดังที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "โทษของการดื่มสุราและเมรัย อัน
บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว  ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดเดรัจฉาน 
ในเปรตวิสัย  โทษอย่างเบาที่สุดย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์"

   เพราะฉะนั้นคนดีทั้งหลาย  พึงงดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย  อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
นี้ด้วย

   ในสุจริตกรรม ๑๐ ประการนี้  ๓ ข้อแรกจัดเป็นกายกรรม  คือการกระทำทางกาย  ๔ ข้อต่อมา
เป็นวจีกรรมคือการกระทำทางวาจา  ๓ ข้อสุดท้ายเป็นมโนกรรม  คือการกระทำทางใจ  บุคคลที่ประพฤติ
ตนมั่นคงอยู่ในสุจริตธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้  ชื่อว่าเป็นผู้มีกาย  วาจา  ใจ  สะอาด  เป็นผู้มีสุคติโลกสวรรค์
รออยู่เบื้องหน้า  ส่วนผู้ที่ประพฤติทุจริตกรรม ๑๐ ประการ  ซึ่งเป็นธรรมที่ตรงข้ามกับสุจริตกรรม ๑๐ ประ
การนี้  ชื่อว่าเป็นผู้ไม่สะอาดทั้งกาย  วาจา  ใจ  แม้จะอาบน้ำล้างบาป  ประนมมือไหว้พระอาทิตย์ หรือบวง
สรวงเทวดา  อินทร์  พรหม  อย่างไรก็หาทำให้บุคคลนั้นหมดจดจากบาปไม่ บุคคลเช่นนี้ เป็นผู้มีอบายคอย
อยู่เบื้องหน้า

   บุคคลจะสะอาดและหมดจดจากบาปได้  ก็เพราะความประพฤติทางกาย วาจา ใจ สะอาดเท่านั้น

   ก็เมื่อเรายังไม่สามารถจะเป็นผู้สะอาดหมดจดจากบาปทั้งมวลได้  และยังต้องมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ 
ก็ควรจะมีชีวิตอยู่ด้วยการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ  มีเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน  สิ่งใดที่ผิดพลาดไป
แล้วเราไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้  เราจึงควรทำกรรมใหม่ของเราให้ดีที่สุด  เพื่อให้โอกาสแก่กรรมดีนำ
เราไปเกิดที่ดี  ไม่ใช่ผิดพลาดไปแล้วก็มัวแต่เศร้าโศกเสียใจ  ความเศร้าโศกเสียใจไม่อาจช่วยอะไรเราได้
เลย  กรรมดีเท่านั้นที่จะช่วยเราได้  ช่วยให้เราไปเกิดในที่ดีมีมนุษย์และเทวดาได้  ช่วยให้เราถึงนิพพานไม่
ต้องตายไม่ต้องเกิดอีก

   แต่ข้อสำคัญที่จะทำให้เราทำสุจริตกรรมได้นั้น ต้องอาศัยมโนกรรมคือความเห็นถูกเป็นเบื้องต้น 
ถ้าปราศจากความเห็นถูกแล้ว  ท่านอาจจะไม่สนใจการทำบุญทำกุศลเลย

   ทิฏฐุชุกรรม  คือการกระทำความเห็นให้ถูกตรงนั้น  ได้แก่ตรงต่อความจริง  ตรงต่อคำสอน
ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ตรงตามความเห็นของเราหรือผู้อื่น ซึ่งยังหนาแน่นอยู่ด้วยกิเลส  ทิฏฐุชุกรรมหรือ
สัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบนี้เป็นอย่างเดียวกัน  พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ ๑๐ อย่าง คือ

   ๑.  เห็นว่า  ทานที่ให้แล้วมีผล  คือต้องเชื่อว่า  ให้ทานแล้ว  ต้องได้รับผล  คือเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์
สมบัติมาก  เป็นต้น
   ๒.  เห็นว่า  การบูชามีผล การบูชาในที่นี้หมายถึง ผู้ที่ควรบูชา มีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า 
พระอริยสาวก  พระธรรม  พระสงฆ์  บิดา  มารดา  ครูอาจารย์  ฯลฯ
   ๓.  เห็นว่า  การบวงสรวงมีผล  คือการนำของไปบูชาผู้มีคุณ  ย่อมมีผล
   ๔.  เห็นว่า  การทำดีทำชั่วมีผล  คือทำดีก็ได้ผลดีทำชั่วก็ได้ผลชั่ว
   ๕.  เห็นว่า  โลกนี้มีอยู่  หมายความว่า เชื่อว่าผู้ที่ตายจากโลกอื่น  มาเกิดในโลกนี้มีอยู่
   ๖.  เห็นว่า  โลกหน้ามีอยู่  หมายความว่า เชื่อว่าผู้ที่ตายจากโลกนี้แล้วไปเกิดในอีกโลกอื่นมีอยู่
   ๗.  เห็นว่า  มารดามีอยู่  คือเห็นว่าคุณของมารดามีอยู่  การทำดีทำชั่วต่อมารดาย่อมมีผล
   ๘.  เห็นว่า  บิดามีอยู่  คือเห็นว่าคุณของบิดามีอยู่  การทำดีทำชั่วต่อบิดาย่อมมีผล
   ๙.  เห็นว่า  โอปปาติกสัตว์  คือสัตว์ที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีบิดามารดา  เกิดแล้วโตเต็มที่ทันที 
ได้แก่  สัตว์นรก  เปรต  อสุรกาย  เทวดา  พรหม  มีอยู่
   ๑๐.  เห็นว่า  สมณะพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติชอบประกอบด้วยความรู้ยิ่ง เห็นแจ้งประจักษ์ซึ่งโลกนี้และ
โลกหน้าด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้นั้นมีอยู่ คือเห็นว่าผู้ที่ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่นั่นเอง

   ทิฏฐุชุกรรม  คือการกระทำความเห็นให้ตรงต่อความจริง ๑๐ ประการนี้  จัดเป็นเรื่องสำคัญ 
เพราะเป็นหัวหน้าของบุญทั้งมวล  ถ้าบุคคลใดมีความเห็นถูกต้อง  ตรงต่อความจริงเหล่านี้แล้ว  ย่อมคิด
จะให้ทาน  รักษาศีล  เจริญภาวนาและคิดจะทำบุญทุกชนิด  เพื่อเป็นบันไดก้าวไปสู่ความสุขความเจริญ 
ในท้ายที่สุดยังเป็นบันไดให้ก้าวไปสู่การเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘  เพื่อบรรลุอริยสัจจธรรมได้อีกด้วย

   โดยนัยตรงข้าม  ผู้ใดเห็นตรงกันข้ามกับความจริง  ๑๐  ประการนี้  ผู้นั้นจะไม่ทำบุญเลย  ดังที่มี
คนเป็นอันมากในปัจจุบันนี้เชื่อมั่นว่า  คนเราเกิดหนเดียวตายหนเดียว  ชาติก่อนก็ไม่มี  ชาติหน้าก็ไม่มี 
ตายแล้วก็สูญไม่เกิดอีก  ทั้งๆ ที่ผู้นั้นยังมีความต้องการสารพัด  ผู้ที่จะไม่เกิดอีกนั้น คือผู้ที่ดับความต้องการ
ทั้งปวงได้สนิทแล้วเท่านั้น  เมื่อเชื่อเช่นนี้เขาจึงไม่ทำบุญ  นับว่าเป็นภัยแก่เขาเองอย่างใหญ่หลวง  เพราะ
ความเห็นผิดเช่นนี้จัดเป็นบาปหนัก  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในอังคุตตรนิกาย  เอกนิบาตว่า 
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด 
ไม่เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป เหมือนมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดทั้งนี้เลย"

   นอกจากนี้  พระพุทธเจ้ายังทรงแสดงถึงการที่สัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆ 
มากมาย  มิได้เกิดเพียงชาติเดียวดังที่บางคนเข้าใจเลย  ดังที่พระองค์ตรัสไว้ในอังคุตตรนิกาย  เอกนิบาต 
เอกธัมมาทิบาลี  ตอนหนึ่งว่า

   "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  สัตว์ที่จุติ  (คือตาย)  จากมนุษย์กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย  สัตว์ที่
จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก  เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน  เกิดในปิตติวิสัย  (คือเปรต)  มากกว่าโดยแท้

   สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย  สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ ไปเกิดในนรก เกิดใน
กำเนิดเดรัจฉาน  เกิดในปิตติวิสัย  มากกว่าโดยแท้

   สัตว์ที่จุติจากเทพยดากลับมาเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย  สัตว์ที่จุติจากเทพยดาไปเกิดในนรก 
เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน  เกิดในปิตติวิสัย  มากกว่าโดยแท้

   สัตว์ที่จุติจากนรกกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย  สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในนรก  เกิดใน
กำเนิดเดรัจฉาน  เกิดในปิตติวิสัย  มากกว่าโดยแท้

   สัตว์ที่จุติจากกำเนิดเดรัจฉาน  กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย  สัตว์ที่จุติจากกำเนิดเดรัจ
ฉานไปเกิดในนรก  เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน  เกิดในปิตติวิสัย  มากกว่าโดยแท้

   สัตว์ที่จุติจากกำเนิดเดรัจฉาน  ไปเกิดในเทพยดา  มีเป็นส่วนน้อย  สัตว์ที่จุติจากกำเนิดเดรัจฉาน 
ไปเกิดในนรก  เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน  เกิดในปิตติวิสัย  มากกว่าโดยแท้

   สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย  สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปเกิดในนรก 
เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน  เกิดในปิตติวิสัย  มากกว่าโดยแท้

   สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย  สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปเกิดในนรก  เกิด
ในกำเนิดเดรัจฉาน  เกิดในปิตติวิสัย  มากกว่าโดยแท้

   เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้  มีส่วนที่น่ารื่นรมย์  มีป่าที่น่ารื่นรมย์  มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ 
มีสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์เพียงเล็กน้อย  มีที่ดอนที่ลุ่มเป็นลำน้ำ  เป็นที่ตั้งแห่งตอและหนาม  มีภูเขาระ
เกะระกะเป็นส่วนมาก  โดยแท้ฉะนั้น"

   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุปมาเปรียบเทียบสัตว์ที่ไปเกิดในทุคติ  คืออบายภูมิ  เป็นสัตว์นรก 
เปรต  สัตว์เดรัจฉานว่า  มากมายเหมือนขนวัว  คือนับไม่ได้  แต่สัตว์ที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดานั้น
เท่าเขาวัว  คือน้อยเหลือเกิน  เพราะเขาวัวมีเพียง  ๒  เขาเท่านั้น  ท่านอยากจะอยู่ในพวกไหน?  เชื่อว่า
ทุกท่านคงอยากอยู่ในพวกเขาวัวด้วยกันทั้งนั้น  แต่ความอยากอย่างเดียว  ไม่สามารถช่วยให้สำเร็จผลได้ 
ท่านต้องประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ด้วย  นั่นคือ  ละความชั่ว  ประพฤติดี  คือละทุจริตกรรม 
๑๐  ประการดังกล่าวแล้ว

   ท่านที่เคยเรียกร้องขอความเป็นธรรม  โดยต้องการให้ทุกคนเสมอภาคกัน มีความเป็นอยู่เท่า
เทียมกัน  โปรดได้พิจารณาดูเถิด  ว่ามีทางจะเป็นไปได้อย่างไรหรือไม่ในเมื่อทุกคนมิได้ทำกรรมไว้เสมอ
กัน  ลูกฝาแฝดที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกัน  อยู่ในครรภ์ของแม่ด้วยกัน  เติบโตด้วยอาหารที่แม่กินเข้าไปอย่าง
เดียวกัน  ก็ยังไม่เหมือนกันทั้งหน้าตา รูปร่าง และจิตใจ  แล้วเราจะหวังให้คนที่ต่างพ่อต่างแม่  ต่างกรรมกัน 
เหมือนกันเสมอกันได้อย่างไร

   ผู้ที่จะเสมอภาคกันได้นั้น  ได้แก่ผู้ที่ไม่ต้องเกิดมารับสุข  รับทุกข์ในโลกอีก  ผู้นั้นคือ
พระอรหันต์ผู้ปรินิพพาน  ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  พวกเดียวเท่านั้น

   ชีวิตนี้สั้นนัก  ความประมาทเพียงนิดเดียวอาจพาเราไปเกิดในที่ชั่วได้  และถ้าลงไปเกิดในที่ชั่วแล้ว 
โอกาสที่จะได้กลับมาเกิดในที่ดีนั้นแสนยาก  เราจึงควรดำเนินชีวิตของเราให้ถูกต้อง  คบหาสมาคมกับบัณฑิต
ผู้รู้ทั้งหลาย  หมั่นฟังธรรมของท่าน  แล้วน้อมนำมาพินิจพิจารณา  เมื่อพินิจพิจารณารู้ว่าอะไรถูกอะไรควรแล้ว 
ก็ประพฤติแต่สิ่งที่ถูกที่ควร  ซึ่งก็ได้แก่สุจริตกรรม ๑๐ ประการ  สูงกว่านั้นก็ได้แก่การเจริญสมถะและวิปัสสนา 
พาตนให้พ้นจากทุกข์ทั้งมวล

   บุญและบาปเป็นของมีอยู่จริง และให้ผลได้จริง  ขอย้ำว่าชีวิตของเรา  ความสุขความทุกข์ 
ที่เราได้รับอยู่ในทุกวันนี้  เกิดจากการกระทำของเราเอง  ไม่มีใครมาลิขิตให้เรา  ผู้ที่ลิขิตชีวิตเรา
ทั้งในอดีตที่ผ่านมา  ในปัจจุบันที่กำลังเป็นไปอยู่  และในอนาคตที่จะตามมา  คือ กรรม การกระทำ
ของเราเองทั้งสิ้น

http://www.84000.org/tipitaka/book/bookpn04.html
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 09:54:41 pm »

กรรมที่ให้ผลในชาติที่ทำไว้  เรียกว่า  ทิฎฐิธรรมเวทนียกรรม
   กรรมที่ให้ผลในชาติหน้าต่อจากชาติที่ทำไว้  เรียกว่า  อุปปัชชเวทนียกรรม
   กรรมที่ให้ผลในชาติต่อๆ ไป จากชาติหน้าไป  เรียกว่า  อปราปริยเวทนียกรรม

   เพราะฉะนั้น  กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำสำเร็จลงไปแล้วในชาตินี้ จึงอาจจะให้ผลในชาตินี้ คือ
ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ได้  ถ้าไม่ให้ผลในชาตินี้ก็อาจจะไปให้ผลในชาติหน้า  ถ้าไม่ให้ผลในชาติหน้า ก็ยังมี
โอกาสที่จะให้ผลได้  ในชาติต่อๆ  จากชาติหน้าไปจนกว่าบุคคลนั้นจะนิพพาน  แล้วแต่ว่า  จะได้เหตุปัจจัย
พร้อมเมื่อใด  ก็ให้ผลเมื่อนั้น  ไม่มีใครจะไปบังคับให้กรรมที่ทำไว้ให้ผลในชาตินั้น  ชาตินี้  เวลานั้น เวลานี้ 
ได้ตามใจชอบเลย  ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่สมบูรณ์พร้อมเท่านั้น

   มีกรรมอยู่บางประเภท  ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยั่งทราบ  ด้วยพระปัญญาตรัสรู้ของพระองค์
เองว่า  กรรมบางพวกให้ผลไปตกนรกทันที  กรรมบางพวกให้ผลเป็นเศรษฐีภายใน ๗ วัน  กรรมบางพวกให้
ผลไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมทันทีเมื่อตายลง  กรรมบางพวกให้ผลทันทีโดยไม่รอเวลาเลย  กรรมทั้ง  ๔
ประเภทนี้  ล้วนเป็นครุกรรม  คือกรรมหนักทั้งสิ้น  กรรมเหล่านี้ชื่อว่าเที่ยงต่อการให้ผลตามเวลาที่กล่าวแล้ว 
หมายความว่าบุคคลใดทำกรรมทั้ง ๔ ชนิดนี้ไปแล้ว  เมื่อถึงกำหนดเวลาให้ผล  กรรมอื่นจะมาแทรกแซงให้
ผลก่อนไม่ได้  กล่าวคือ

   ๑.  คนที่ทำ  อนันตริยกรรม  ๕  อย่างคือ  ฆ่ามารดา  ฆ่าบิดา  ฆ่าพระอรหันต์    ทำพระโลหิต
พระพุทธเจ้าให้ห้อขึ้น  และทำสังฆเภท  อย่างใดอย่างหนึ่ง  เมื่อตายลง  กรรมที่ทำนั้นจะให้ผลนำเกิดใน
อเวจีมหานรกทันที  ไม่มีกรรมอื่นจะมาแทรกให้ผลก่อนได้  หรือถ้าในชาตินั้นทำอนันตริยกรรมหลายอย่าง 
อนันตริยกรรมที่หนักที่สุดจะให้ผลนำเกิด  ในบรรดากรรม ๕ อย่างนั้น  สังฆเภทเป็นกรรมหนักที่สุด  อย่าง
พระเทวทัตทำอนันตริยกรรมถึง  ๒ อย่าง  คือ  ทำพระโลหิตพระพุทธเจ้าให้ห้อขึ้นในคราวที่กลิ้งศิลาลงมา
จากเขาคิชฌกูฏเพื่อหวังจะปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า  แต่ก่อนที่ศิลากลิ้งลงมากระทบชะง่อนหินแตกเสียก่อน 
สะเก็ดหินกระเด็นมาถูกนิ้วพระบาทห้อพระโลหิต  และทำสังฆเภท  คือทำลายสงฆ์ให้แตกกันในคราวที่คิดจะ
ตั้งตนเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง  ก่อนตายถูกธรณีสูบ  ตายแล้วเกิดในอเวจีมหานรกทันที  ด้วยอำนาจของกรรม
คือสังฆเภท  หรือพระเจ้าอชาตศัตรูที่รับสั่งให้ทรมานพระเจ้าพิมพิสารพระราชบิดา  จนในที่สุดพระราชบิดาสิ้น
พระชนม์  เพราะการทรมานนั้น  แม้ในภายหลังพระเจ้าอชาตศัตรูจะทรงสำนึกผิด  และได้บำเพ็ญพระราชกุศล
ในพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกอย่างมหาศาลเพียงใด  ก็ไม่อาจจะลบล้างกรรมคือปิตุฆาต ซึ่งเป็นอนันตริย
กรรมได้  แม้จะไม่ได้ทรงปลงพระชนม์พระราชบิดาเอง  แต่ก็ใช้ให้ผู้อื่นทำแทน  จัดเป็นปิตุฆาตเช่นเดียวกัน 
และด้วยปิตุฆาตกรรมนี้  เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลง  จึงต้องเกิดในนรกทันที  กุศลมหาศาลที่ทรงกระทำไว้ก็
ไม่อาจช่วยได้  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากุศลมหาศาลที่ทรงกระทำไว้จะไม่ให้ผล  เพียงแต่ว่ายังไม่ถึงเวลาจะ
ให้ผลเท่านั้น

   นอกจากอนันตริยกรรม นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม ก็ให้ผลบังเกิดในนรกทันทีเมื่อตายลงเช่นเดียวกัน 
บุคคลใดมีความยึดมั่นว่า  กรรมดีไม่มีผล  กรรมชั่วไม่มีผล  การกระทำทุกอย่างสักว่ากระทำทั้งสิ้น  การกระทำ
บุญ การกระทำบาปต่อบิดามารดา  ไม่มีผล ดังนี้เป็นต้น  บุคคลนั้นยึดมั่นในความเห็นผิดอย่างนี้ไม่เปลี่ยน
แปลงจนตลอดชีวิต  บุคคลนั้นตายลงไปจะต้องเกิดในนรกทันทีด้วยอำนาจของกรรมคือ นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม 
นี้แหละ

   ๒.  บุคคลใดได้ถวายทานในพระพุทธเจ้า  พระปัจเจกพุทธเจ้า  พระอรหันต์หรือพระอนาคามี 
ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติมาใหม่ๆ  ยังมิได้รับทานจากผู้ได้เลย  ด้วยจิตใจที่เลื่อมใส  โสมนัสยินดีทั้งเวลา
ก่อนถวาย  กำลังถวาย  และถวายแล้ว  บุคคลนั้นจะได้เป็นเศรษฐีภายใน  ๗  วัน  ดังเช่น  นายปุณณะและ
ภริยาที่ได้ถวายทานที่เป็นส่วนของตนโดยชอบธรรมแก่ท่านพระสารีบุตรผู้ออกจากนิโรธสมาบัติมาใหม่ๆ

   ๓.  บุคคลใดเจริญสมถภาวนาจนได้ฌานตั้งแต่ปฐมฌานไปจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน 
ฌานใดฌานหนึ่ง  และฌานนั้นไม่เสื่อม  ตายลงจะต้องเกิดในสุคติภูมิเป็นพรหมทันที  หรือถ้าได้ฌานครบ
ทุกฌาน  ที่เรียกว่าได้สมาบัติ  ๘  ฌานที่สูงที่สุด  คือ  เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจะให้ผลนำเกิดในเนว
สัญญานาสัญญายตนภูมิ  ฌานที่ต่ำกว่าจัดเป็นอโหสิกรรม  คือไม่ให้ผล

   ๔.  บุคคลใดเจริญวิปัสสนาภาวนา  คือเจริญมรรคมีองค์  ๘  จนบรรลุอริยมรรค  อริยผล  เป็นพระ
อริยบุคคลในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นแล้วดับลง  ผลจิตซึ่งเป็นผลของมรรคจะเกิดติดต่อทันทีโดยไม่มีจิตอื่นมา
คั่น  เพราะฉะนั้น มรรคจิต จึงชื่อว่า อกาลิโก คือให้ผลทันทีโดยไม่รอกาลเวลาถ้าจะกล่าวโดยบัญญัติโวหาร
ก็กล่าวได้ว่า มรรคกรรมนี้จะทำให้ปุถุชนเปลี่ยนเป็นพระโสดาบันบุคคลในทันทีทันใดหลังจากโสดาปัตติมรรค
ดับลงแล้วและทำให้พระอริยบุคคลเบื้องต่ำเปลี่ยนเป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงตางลำดับ  กล่าวคือ

   พระโสดาบันบุคคล  เปลี่ยนเป็น  พระสกทาคามีบุคคลทันทีที่สกทาคามีมรรคดับลง
   พระสกทาคามีบุคคล  เปลี่ยนเป็นพระอนาคามีบุคคลทันทีที่อนาคามิมรรคดับลง
   พระอนาคามีบุคคล  เปลี่ยนเป็น  พระอรหันต์ทันทีที่อรหัตตมรรคดับลง

   การบำเพ็ญคุณงามความดี  หรือการบำเพ็ญกุศลในโลกนี้มีอยู่มากมายหลายวิธี  ถ้าจะจัดเป็น
พวกใหญ่ๆ  ก็ได้  ๓  พวก  คือ ทาน การให้ปัน ศีล การรักษากายวาจาให้สะอาด ภาวนา การอบรมจิตให้
สงบระงับจากกิเลสด้วยปัญญา  มรรคกรรมจัดเป็นกุศลที่ทำลายกิเลสให้ดับสนิท  ไม่ให้เกิดอีกเลยได้ตาม
ลำดับขั้น  เป็นกุศลที่สามารถตัดกรรมที่ทำไว้  ไม่ให้ให้ผลได้ตามลำดับขึ้น

   โสดาปัตติมรรค  ตัดกรรมที่จะนำไปเกิดในอบายภูมิทั้ง  ๔  มีนรกเป็นต้น  ได้หมด  เพราะ
ฉะนั้นผู้ที่เป็นพระโสดาบันแล้ว  จะไม่เกิดในอบายภูมิเลย  ถ้าจะเกิดในกามภูมิเป็นมนุษย์หรือเทวดาก็เกิด
ในอีกไม่เกิน  ๗  ชาติ
   สกทาคามิมรรค  ตัดกรรมที่จะนำเกิดในมนุษย์ให้เหลือเพียงชาติเดียว
   อนาคามิมรรค  ตัดกรรมที่จะนำเกิดในกามภูมิ คือ  อบายภูมิ ๔  มนุษย์ ๑  และเทวโลก ๖ ชั้น
ได้หมด  จะเกิดในพรหมภูมิ  แล้วปรินิพพานในพรหมภูมินั้น  เท่านั้น
   อรหัตตมรรค  ตัดกรรมที่จะนำเกิดใน  ๓๑  ภูมิได้หมด  เพราะฉะนั้นบุคคลที่บรรลุอรหัตตมรรค
เป็นพระอรหันต์  จึงเป็นผู้ตัดกรรมที่จะทำให้ต้องเกิดในภูมิต่างๆ ได้ทั้งหมด ปรินิพพานแล้วไม่ต้องเกิดอีก

   ผู้ใดเจริญกุศลถึงขั้นสูงบรรลุเป็นพระอรหันต์  ผู้นั้นชื่อว่าได้ทำตามพระโอวาทที่พระพุทธองค์ตรัส
ไว้ในโอวาทปาติโมกข์ว่า  "การไม่ทำบาปทั้งปวง ๑  การยังกุศลให้ถึงพร้อม ๑  การยังจิตใจให้ผ่องแผ้วขาว
รอบ ๑  สามอย่างนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"  เรียบร้อยแล้ว  ไม่มีกิจที่จะต้องทำเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกแล้ว

   ทั้งๆ  ที่พระบรมศาสดา  ได้ทรงแสดงเรื่องของกรรมพร้อมทั้งตัวอย่างไว้มากมาย  แต่กรรมก็ยัง
เป็นเรื่องละเอียดซับซ้อนลึกซึ้งเกินกว่า   วิสัยของใคร  ๆ   จะรอบรู้ได้หมดสิ้น   ยกเว้นแต่
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยพระปัญญาตรัสรู้ของพระองค์เอง  แม้กระ
นั้นถ้าเราเข้าใจเรื่องของกรรมพอสมควรว่า  ผลดีหรือผลชั่วที่เราได้รับนั้นเกิดจากการกระทำของเราเอง
แล้ว  เราก็จะได้ระมัดระวังไม่เผลอตัวทำสิ่งที่จะให้เกิดทุกข์โทษแก่เราในภายหน้า นั่นคือ เราจะต้องหมั่น
ทำความดี  คือ  สุจริตธรรม ๑๐ ประการ ละเว้นความชั่วทุจริตธรรม ๑๐ ประการ ละเว้นความชั่วคือ ทุจริต
กรรม ๑๐ ประการ
   สุจริตกรรม  ๑๐  ประการ  คือ

   ๑.  งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง  และใช้ผู้อื่นฆ่าแทน  ไม่ว่าจะฆ่าเพื่อเอามาทำบุญ  ฆ่า
เพื่อเอามาเลี้ยงดูบิดามารดาบุตรภรรยา  ข้าทาสบริวาร  และเลี้ยงดูตนเอง  พึงงดเว้นทั้งสิ้นเพราะโทษของ 
ปาณาติบาต  คือ  การฆ่าสัตว์  อย่างหนักที่สุด  ทำให้ไปเกิดในอบายภูมิทั้งสี่  อย่างเบาที่สุด  เมื่อเกิดเป็น
มนุษย์จะมีอายุสั้น

   ๒.  งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้อนุญาตและไม่ใช้ให้ผู้อื่นเอาของที่เจ้าของมิได้
อนุญาตด้วย  เพราะโทษของ  อทินนาทาน  คือ  การถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้อนุญาตนั้น  อย่างหนัก
ที่สุดทำให้ไปเกิดในอบายภูมิทั้งสี่  อย่างเบาที่สุดเมื่อเกิดเมื่อเกิดมนุษย์  ทรัพย์สมบัติย่อมพินาศไปด้วยภัย
จากโจรบ้าง  จากน้ำบ้าง  จากไฟบ้าง  ถูกคดโกงหรือล้มละลายบ้าง  เป็นต้น

   ๓.  งดเว้นจากการประพฤติผิดในบุตร  ภรรยา  สามีของผู้อื่น  โทษของ  กาเมสุมิจฉาจาร  คือ 
การประพฤติผิดในบุตร  ภรรยา  สามีของผู้อื่น  อย่างหนักที่สุดคือ  เป็นสัตว์นรก  เปรต  อสุรกาย  สัตว์เดรัจ
ฉาน  โทษอย่างเบาที่สุดย่อมทำให้มีศัตรูคู่เวรในเมื่อเกิดเป็นมนุษย์

   ๔.  งดเว้นจากการกล่าวเท็จ  โทษของ  มุสาวาท  คือ  การกล่าวเท็จอย่างหนักที่สุดทำให้เกิด
ในอบาย  อย่างเบาที่สุดย่อมถูกกล่าวตู่ด้วยถ้อยคำอันไม่เป็นจริง  ในเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์

   ๕.  งดเว้นจากการกล่าววาจาส่อเสียด  โทษของ  ปิสุณาวาท  คือการกล่าววาจาส่อเสียด  อย่าง
หนัก  คือ  เกิดในอบาย  อย่างเบาที่สุดเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมแตกจากมิตร

   ๖.  งดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ โทษของ ผรุสวาจา  คือการกล่าวคำหยาบ  อย่างหนักคือเกิด
ในอบาย  อย่างเบาที่สุดย่อมได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจอยู่เสมอ  เมื่อเกิดเป็นมนุษย์

   ๗.  งดเว้นจากการกล่าวคำเพ้อเจ้อไร้สาระ  เพราะโทษของ สัมผัปปลาปะ คือการกล่าวคำเพ้อ
เจ้อนี้  อย่างหนักทำให้เกิดในอบาย  อย่างเบาที่สุดเมื่อกล่าวสิ่งใดก็ไม่มีใครเชื่อถือ  เมื่อเกิดเป็นมนุษย์

   ๘.  งดเว้นจากการเพ่งเล็งอยากได้ของของผู้อื่น  ด้วยความคิดชั่วว่า  ขอให้ของนี้จงเป็นของเรา
เป็นต้น

   ๙.  งดเว้นจากการพยาบาทอาฆาตผู้อื่น  ด้วยความคิดชั่วว่า  ขอให้ผู้นี้จงถึงความพินาศ  จงถูก
ฆ่าถูกทำลาย  เป็นต้น

   ๑๐.  ไม่มีความเห็นผิดคือ  มีความเห็นถูกเป็นสัมมาทิฏฐิ  เชื่อว่าทานที่ให้แล้วมีผลเป็นต้น
(สัมมาทิฏฐินี้มี  ๑๐  ประการ  และมีข้อความอย่างเดียวกับทิฏฐุชุกรรมที่จะได้กล่าวต่อไป)
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 09:53:55 pm »

   ใน  จูฬกัมมวิภังคสูตร  มัชฌิมนิกาย  อุปริปัณณาสก์  (ข้อ ๕๗๙ - ๖๐๐)
   สุภมาณพ  บุตรโตเทยยพราหมณ์  ได้เข้ามาทูลถามพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า 
"อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ทั้งหลาย  มีอายุสั้น  มีอายุยืน  มีโรคมาก  มีโรคน้อย  มีผิวพรรณทราม 
ผิวพรรณงาม  มีศักดาน้อย  มีศักดามาก  มีโภคะน้อย  มีโภคะมาก  เกิดในสกุลต่ำ  เกิดในสกุลสูง  ไร้ปัญญา 
มีปัญญา"

   พระผู้เป็นเจ้าตรัสตอบอย่างกว้างๆ มีใจความว่า "สัตว์ทั้งหลาย  มีกรรมเป็นของตน  เป็นทายาท
ของกรรม  มีกรรมเป็นกำเนิด  มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์  มีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย  กรรมย่อมจำแนกสัตว์
ให้เลวและประณีตได้"

   สุภมานพฟังแล้วยังไม่เข้าใจ  กราบทูลขอให้แสดงโดยละเอียด  ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงแสดง
ให้ฟังว่า
   ๑.  บางคนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย  เป็นคนมักทำลายชีวิตสัตว์มีใจโหดเหี้ยม  ยินดีใน
การประหัดประหาร  ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์เหล่ามีชีวิต  เขาตายไปจะเข้าถึงทุคติวินิบาต  นรก  เพราะกรรม
คือปาณาติบาตนั้น  หากตายไปไม่เข้าถึงอบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรก  ถ้ามาเป็นมนุษย์  เกิดในที่ใดๆ ในภาย
หลัง  จะมีอายุสั้น  นี้เป็นผลของปาณาติบาตคือการฆ่าสัตว์

   ๒.  บางคนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย  เป็นคนละเว้นจากปาณาติบาต  ละเว้นจากการฆ่า
สัตว์ด้วยตนเองหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า  มีความละอาย  มีความเอ็นดู  อนุเคราะห์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย  เขาตาย
ไปจะถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะกรรม  คือ  การละเว้นจากปาณาติบาตนั้น  ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิดในที่ใดๆ  ใน
ภายหลัง  จะเป็นคนมีอายุยืน  นี้เป็นผลของการละเว้นจากปาณาติบาต

   ๓.  บางคนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย  เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์  ด้วยฝ่ามือ  ด้วยก้อน
ดิน  หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา เขาตายไปจะเข้าถึงอบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรก เพราะกรรมคือการเบียดเบียน
สัตว์นั้น  หากตายไปไม่เข้าถึงอบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรก  ถ้ามาเป็นมนุษย์  เกิดในที่ใดๆ  ในภายหลัง จะเป็น
คนมีโรคมาก  นี้เป็นผลของการเบียดเบียนสัตว์อยู่เสมอ

   ๔.  บางคนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย  เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์  ด้วยฝ่ามือ  ด้วย
ก้อนหิน  หรือท่อนไม้  หรือศาสตรา  เขาตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  เพราะกรรมคือการไม่เบียดเบียน
สัตว์นั้น  หากเขาตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิดในที่ใดๆ  ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรค
น้อย  นี้คือผลของการไม่เบียดเบียนสัตว์

   ๕.  บางคนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย  เป็นคนมักโกรธ  มากด้วยความเคืองแค้น ถูกเขา
ว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ  โกรธเคือง  พยาบาทมาดร้าย  ทำความโกรธ  ความร้าย  ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ  เขา
ตายไปจะเข้าถึงอบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรกเพราะกรรมคือความมักโกรธนั้น  หากเขาตายไปไม่เข้าถึงอบาย 
ทุคติ  วินิบาต  นรก  ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิดในที่ใดๆ  ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม  นี้คือผลของความ
มักโกรธ

   ๖.  บางคนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย  เป็นคนไม่มักโกรธ  ไม่มากด้วยความเคืองแค้น 
ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ  ไม่โกรธเคือง  ไม่พยาบาท  ไม่มาดร้าย  ไม่ทำความโกรธขึ้งเคียดให้ปรากฏ  หาก
เขาตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  เพราะกรรมคือความไม่มักโกรธนั้น  หากเขาตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์  ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์  เกิดในที่ใดๆ  ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส  (คือผิวพรรณงามน่าเลื่อมใส) 
นี้เป็นผลของความไม่มักโกรธ

   ๗.  บางคนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือเป็นชาย  เป็นผู้มีใจริษยา มุ่งร้าย ผูกใจริษยาในลาภ
สักการะ  ความเคารพนับถือ  การไหว้และการบูชาของผู้อื่น  เขาตายไปจะเข้าถึงอบาย  ทุคติ  วินิบาต 
นรก  เพราะกรรมคือความริษยานั้น  หากตายไปไม่เข้าถึงอบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรก  ถ้ามาเป็นมนุษย์
เกิดในที่ใดๆ  ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดาน้อย  นี้เป็นผลของความริษยา

   ๘.  บางคนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย  เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจริษยาใน
ลาภสักการะ  ความเคารพ  ความนับถือ  การไหว้  การบูชาของผู้อื่น  เขาตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 
เพราะกรรมคือความไม่ริษยานั้น  หากตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด  ณ  ที่ใดๆ
ในภายหลัง  จะเป็นคนมีศักดามาก นี้เป็นผลของความไม่ริษยา

   ๙.  บางคนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย  ย่อมไม่เป็นผู้ให้  ข้าว  น้ำ  ผ้า  ยาน  ดอกไม้
เครื่องหอม  เครื่องลูบไล้  ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไปจะเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก  เพราะกรรมคือการไม่ให้ข้าวน้ำ  เป็นต้นนั้น  หากตายไปไม่เข้าถึงอบาย  ทุคติ 
วินิบาต  นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด  ณ  ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นผู้มีโภคะน้อย  นี้เป็นผลของการไม่ให้
ข้าวน้ำ  เป็นต้นนั้น

   ๑๐.  บางคนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย  เป็นผู้ให้ข้าว  น้ำ  ผ้า  ยาน  ดอกไม้  ของหอม 
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป  จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 
เพราะกรรมคือการให้ข้าวน้ำเป็นต้นนั้น  หากตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  ถ้ามาเป็นมนุษย์  เกิด  ณ ที่
ใดๆ  ในภายหลัง จะเป็นผู้มีโภคะมาก  นี้เป็นผลของการให้ข้าว  น้ำ  เป็นต้นนั้น

   ๑๑.  บางคนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย  เป็นคนกระด้าง  เย่อหยิ่ง  ย่อมไม่กราบไหว้คนที่
ควรกราบไหว้  ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ  ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ  ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่
ทาง  ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ  ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ  ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ  ไม่บูชาคนที่ควรบูชา 
เขาตายไปจะเข้าถึงอบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรก  เพราะกรรมคือความกระด้างเย่อหยิ่งนั้น  หากตายไปไม่เข้า
ถึงอบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรก  ถ้ามาเป็นมนุษย์  เกิด  ณ  ที่ใดๆ ในภายหลัง  จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ  นี้เป็น
ผลของความกระด้างเย่อหยิ่ง

   ๑๒.  บางคนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย  เป็นคนไม่กระด้าง  ไม่เย่อหยิ่ง  ย่อมกราบไหว้คน
ที่ควรกราบไหว้  ลุกรับคนที่ควรลุกรับ  ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ  ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง 
สักการะคนที่สมควรสักการะ  เคารพคนที่ควรเคารพ  นับถือคนที่ควรนับถือ  บูชาคนที่ควรบูชา  เขาตายไปจะ
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  เพราะกรรมคือความไม่กระด้าง  ไม่เย่อหยิ่งนั้น  หากตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 
ถ้ามาเป็นมนุษย์  เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง นี้เป็นผลของความไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง

   ๑๓.  บางคนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย  ไม่เข้าไปหาสมณะ  หรือพราหมณ์  แล้วสอบถามว่า 
อะไรเป็นกุศล  อะไรเป็นอกุศล  อะไรมีโทษ  อะไรไม่มีโทษ  อะไรควรเสพ  อะไรไม่ควรเสพ  อะไรเมื่อทำย่อม
เป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน  เขาตายไป  จะเข้าถึงอบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรก  เพราะกรรมคือการ
ไม่เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้นั้น  หากตายไปไม่เข้าถึงอบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรก  ถ้ามาเป็นมนุษย์  เกิด 
ณ  ที่  ใดๆ  ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม นี้เป็นผลของการไม่เข้าไปหาสมณะพราหมณ์ผู้รู้นั้น

   ๑๔.  บางคนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย   เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์  แล้วถามว่า  อะไร
เป็นกุศล  อะไรเป็นอกุศล  อะไรมีโทษ  อะไรไม่มีโทษ  อะไรควรเสพ  อะไรไม่ควรเสพ  อะไรเมื่อทำ  ย่อมเป็น
ไปเพื่อไม่เกื้อกูล  เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน  เขาตายไป  จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  เพราะกรรมคือการเข้าไปหา
สมณะพราหมณ์ผู้รู้นั้นหากตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  ถ้าเป็นมนุษย์  เกิดในที่ใดๆ  ในภายหลัง จะเป็นคน
มีปัญญามาก  นี้เป็นผลของการเข้าไปหาสมณะพราหมณ์ผู้รู้

   ในบรรดากรรม ๑๔ อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นมาแสดงให้สุภมาณพฟังนี้  กรรมแต่ละ
อย่างยังต่างกันด้วยกิจคือ  หน้าที่  และกาลคือเวลาที่ให้ผลด้วย

   กรรมที่ทำหน้าที่นำเกิดในทุคติภูมิ  เป็นสัตว์นรก  เปรต  อสุรกาย  หรือสัตว์เดรัจฉานก็ดี  นำเกิด
ในสุคติภูมิ  เป็นมนุษย์  หรือเทวดาก็ดี  ชื่อว่า  ชนกกรรม  กรรมนำเกิด
   กรรมที่ทำหน้าที่อุปการะอุดหนุน  สุขและทุกข์ของบุคคลที่เกิดมาแล้ว  ให้เป็นไปตลอดกาลนาน 
ชื่อว่า  อุปถัมภกกรรม  กรรมอุดหนุน
   กรรมที่ทำหน้าที่เบียดเบียน  บีบคั้น  สุข  และทุกข์ของบุคคลที่เกิดมาแล้ว  ไม่ให้เป็นไปตลอดกาล
นาน  ชื่อว่า  อุปปีฬกกรรม  กรรมเบียดเบียน
   กรรมที่ทำหน้าที่ตัดรอน  หรือทำลายความสุขและความทุกข์ของบุคคลที่เกิดมาแล้ว  ให้สิ้นสุดลง 
ชื่อว่า  อุปฆาตกรรม  หรือ อุปัจเฉทกกรรม  กรรมตัดรอน

   ชายคนหนึ่งเกิดในตระกูลที่มั่งคั่งด้วยผลของทานครั้นต่อมากรรมที่เคยชอบเบียดเบียนสัตว์ให้เดือด
ร้อนมาแทรกให้ผล  ทำให้เป็นคนมีโรคภัยเบียดเบียนเจ็บไข้อยู่เสมอแต่ในขณะเดียวกัน  กรรมดีที่ไม่ริษยาผู้อื่น 
ยินดีในลาภสักการะของผู้อื่นก็ให้ผลด้วย  ทำให้เขาเป็นผู้มีศักดามาก  เป็นใหญ่เป็นโต  มีข้าทาสบริวารมากมาย 
ต่อมากรรมคือการฆ่าสัตว์เองบ้าง  ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าแทนบ้าง  ที่ชายคนนี้เคยทำไว้มาให้ผล  ทำให้ชายผู้นี้ถูกลอบยิง
ตายในเวลาที่อายุยังไม่ถึง  ๕๐  ปี  ซึ่งเป็นเวลาที่ยังไม่สมควรจะตาย  เพราะอายุขัยของมนุษย์ในสมัยนี้ประมาณ 
๗๕  ปี  เขาควรจะมีชีวิตอยู่ประมาณนั้นถ้าไม่มีกรรมชั่วมาตัดรอน

   รวมความว่า ชายคนนี้มีกรรมคือทานเป็น ชนกกรรม มีกรรมคือการเบียดเบียนสัตว์เป็น อุปปีฬกกรรม
มีกรรมคือความไม่ริษยาผู้อื่น  เป็น อุปถัมภกกรรม มีกรรมคือการฆ่าสัตว์ เป็น อุปฆาตกกรรม ตามตัวอย่าง
ที่ยกมานี้  เป็นตัวอย่างที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ  แต่เราไม่ทราบว่าเพราะเหตุไรจึงเป็นเช่นนั้นชีวิตของสัตว์ทั้ง
หลายนั้น  ไม่ใช่ว่าจะร่ำรวยหรือยากจนสุขหรือทุกข์คงที่อยู่ตลอดเวลา  ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเปลี่ยนแปลงอยู่
เสมอ  ทั้งนี้เพราะแต่ละคนล้วนแต่เกิดมานานนับชาติไม่ได้กรรมที่ได้เคยทำไว้ในชาติก่อนๆ  ที่เกิดผ่านมา
แล้วมีมากมายนับไม่ถ้วน เพราะฉะนั้นทุกคนจึงได้รับความสุขบ้าง ความทุกข์บ้าง คละเคล้ากันไป ไม่มีใคร
เลยที่ได้รับความสุขหรือความทุกข์เพียงอย่างเดียวต่างกันแต่ว่า  บางคนได้รับความสุขมากได้รับความทุกข์
น้อย  บางคนได้รับความสุขน้อย  ได้รับความทุกข์น้อย  บางคนได้รับความสุขน้อย ได้รับความทุกข์มาก 
แล้วแต่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่วกำลังให้ผล  ขณะใดกรรมดีให้ผลขณะนั้นก็ได้รับความสุข  ขณะใดกรรมชั่วให้
ผลขณะนั้นก็จะได้รับความทุกข์  เราจะได้รับความสุขหรือความทุกข์ก็เพราะกรรมที่เราทำไว้ด้วยตนเอง ไม่
ใช่คนโน้นคนนี้มาทำให้เลย คนอื่นสิ่งอื่นนั้นเป็นเพียงปัจจัยที่เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้รับผลของกรรม
เหล่านั้นเท่านั้น

   บางคนเคยทำความดีไว้มากในชาตินี้  แต่กลับได้รับความทุกข์เดือนร้อน  ก็คิดเสียอกเสียใจว่า
"กรรมที่ทำไว้ไม่เห็นให้ผล  ให้ได้รับความสุขบ้างเลย  เห็นทีกรรมดีจะไม่ให้  ผลดีเสียเป็นแน่แท้  เราจะ
ทำกรรมดีต่อไปให้ลำบากทำไม"

   ส่วนบางคนทำความชั่วอยู่เสมอๆ  กลับได้รับความสุขมีหน้ามีตา  จึงทำให้คิดว่า  "กรรมชั่วไม่
เห็นจะให้ผลชั่วที่ตรงไหน  เราทำกรรมชั่วแต่เราก็เป็นสุขสบายไม่เดือดร้อน  ธุระอะไรจะไปทำความดีให้
ลำบาก"  เมื่อคิดอย่างนี้ก็หลงระเริงทำกรรมชั่วหนักขึ้น

   ความคิดของคน  ๒  จำพวกนี้เป็นความคิดผิด  พระพุทธองค์ไม่เคยตรัสไว้ที่ไหนเลยว่า  กรรมดี
หรือกรรมชั่วที่บุคคลทำสำเร็จลงไปแล้ว  จะบังเกิดผลแก่ผู้ทำในชาตินี้ทันตาเห็นเสมอไป  มีแต่พระองค์ตรัส
ว่า  กรรมที่บุคคลทำแล้วดีก็ตาม  ชั่วก็ตาม  ย่อมให้ผลได้ ๓ กาลด้วยกัน  ดังที่ตรัสไว้ในมหากัมมวิภังคสูตร 
มัชฌิมนิกาย  อุปริปัณณาสก์  มีใจความว่า

   "บุคคล  ที่ประกอบทุจริตกรรม ๑๐ ประการ มีการฆ่าสัตว์เป็นต้น  มีความเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นที่สุด  เขาตายไปแล้ว  เข้าถึงอบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรกก็มี  เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  ก็มี  และบุคคลที่
ประกอบสุจริตกรรม ๑๐ ประการ  มีการละเว้นจากการฆ่าสัตว์  เป็นต้น  มีสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกเป็นที่สุด 
เขาตายไปแล้ว  เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็มี  เข้าถึงอบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรก  ก็มี  ทั้งนี้เพราะเขาย่อมเสวย
วิบากของกรรมที่เขาทำไว้ในชาตินี้  หรือในชาติหน้าหรือในชาติต่อไป  ด้วยเหตุดังกล่าวนี้  กรรมไม่ควร 
ส่องให้เห็นว่าไม่ควรก็มี  ให้เห็นว่าควรก็มี  และกรรมที่ควรแท้ๆ ส่งให้เห็นว่าควรก็มี ให้เห็นว่าไม่ควรก็มี"

   ด้วยเหตุนี้  เราจึงไม่ควรมองการกระทำของเราแต่เพียงในชาตินี้ชาติเดียว  เพราะกรรมที่เราทำ
สำเร็จแล้วในชาติใดๆ  ก็ให้ผลในชาตินั้นๆ  เอง ๑  ให้ผลในชาติหน้าต่อจากชาตินั้นไป ๑  ให้ผลในชาติต่อๆ 
ไป  จากชาติหน้าอีก ๑
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 09:52:57 pm »

ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส
ปราศจากเมฆหมอก
ทุกสิ่งดูน่าเจริญตาเจริญใจ
ลองมองออกไปรอบ ๆ  ตัวเรา
แสงแดดเรืองรองกระจายไปทั่ว
ต้นไม้ไปหญ้าเขียวชะอุ่ม
นกนานาชนิดส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้ว
บินถลาไปมาเพื่อหาอาหาร
ผีเสื้อแสนสวยตัวเล็ก ๆ
บินว่อนอยู่เหนือดอกไม้ที่แย้มบาน
          ในสายตาของชาวโลก
ธรรมชาติเป็นสิ่งที่น่ารื่นรมย์
แต่ในสายตาของนักธรรมะที่มีปัญญา
เช่น  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระอรหันตสาวกผู้ที่ดำเนินรอยตามพระองค์
หาได้เห็นเช่นนั้นไม่
ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรคงที่
ไม่ถาวรยั่งยืน  เกิดแล้วก็ตาย
มีแล้วก็กลับไม่มี

   พิจารณาให้ดี  จะเห็นจริงตามท่าน

   วันเวลาผ่านมาแล้วก็ผ่านไป  ต้นไม้ใบหญ้าที่เขียวชะอุ่มไม่ช้าก็ร่วงหล่นแห้งเหี่ยวตาย  นกก็ดี
ผีเสื้อก็ดี  ล้วนแต่มีชีวิตอยู่ไม่นานแล้วก็ตาย  แม้แต่ตัวเราเองก็ต้องตาย  ทุกอย่างในโลกนี้ตกอยู่ในลักษณะ
นี้  คือต้องเปลี่ยนแปลงแตกสลายไปในที่สุด  ถ้าเราไม่รู้จักดำเนินชีวิตของเราให้ถูกต้องแล้ว  เราจะไม่พ้น
ไปจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้เลย

   พระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกทั้งปวง  ล้วนแต่มองเห็นความจริงข้อนี้  ท่านจึงได้ดำเนินชีวิตของ
ท่าน  ไปตามทางสายกลางอันประกอบด้วยองค์ ๘  ที่เรียกว่าอริยมรรคมีองค์ ๘  จนได้บรรลุคุณธรรมขั้นสูง 
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันตขีณาสพตามลำดับ  ดับกิเลสและขันธ์ได้หมดสิ้นไม่ต้องเกิดไม่ต้อง
ตายอีกต่อไป

   มีสักกี่คนที่ต้องการดำเนินรอยตามพระพุทธองค์  ส่วนมากยังรักที่จะเกิดอยู่ทั้งสิ้น  แม้จะทุกข์บ้าง
สุขบ้าง  แต่ชีวิตก็ยังน่ารื่นรมย์  น่าอยู่  น่าทดลอง  พระพุทธองค์มิได้ทรงสอนให้ทุกคนดำเนินรอยตามพระองค์
แต่เพียงอย่างเดียว  หากแต่ผู้ใดยังรักที่จะอยู่ในโลกนี้  พระองค์ก็ทรงสอนให้อยู่ในโลกนี้ด้วยความสุข  แม้จะ
ต้องตายและเกิดใหม่อีก  ก็ให้เกิดในที่ดี  มีความสุขสบาย  มีรูปสวยรวยทรัพย์  เป็นต้น

   นั่นคือทรงสอนให้ละชั่วประพฤติดี

   เพราะถ้าประมาทพลาดพลั้ง  ต้องตกไปเกิดในที่ชั่วเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย  สัตว์เดรัจฉาน
แล้ว  โอกาสที่จะกลับมาเกิดในที่ดี  เป็นมนุษย์เป็นต้นนั้นแสนยาก  เพราะอะไร  ?  เพราะเมื่อไปเกิดในที่ชั่ว
เหล่านั้นแล้ว  ต้องทนทุกข์ทรมาน   อดอยากยากแค้น   ด้วยอำนาจของความชั่วที่ทำไว้โอกาสที่จะทำความดี
แทบจะไม่มี   เมื่อโอกาสที่จะทำความดีหายาก  เราจะได้ผลความดีที่ไหนมานำเราไปเกิดในที่ดี  ผู้ที่เกิดใน
ที่ชั่วอาศัยกรรมชั่วนำไปเกิด  ฉันใด  ผู้ที่เกิดในที่ดีก็ต้องอาศัยกรรมดีนำไปเกิด  ฉันนั้น

   สัตว์เดรัจฉานที่เราเห็นว่าน่ารัก  เช่น  นก  เป็นต้นนั้นความจริงเกิดในที่ชั่ว  โอกาสที่จะทำความดี
มีน้อยหรือเกือบไม่มีเลย  มักจะทำความชั่วเสียมากกว่า  วันหนึ่งๆ  ท่านเห็นนกทำความดีอะไรได้บ้าง  มีแต่
ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  ด้วยการหาหนอน  หาแมลงกินเป็นอาหาร  ชีวิตของนกส่วนมากจึงมีแต่จมลงไปในที่ชั่วมาก
ขึ้นทุกวัน  ฉะนั้น  โอกาสที่จะกลับมาเกิดเป็นคนนั้นแสนยาก  ยังมีสัตว์อีกมากมายรอบๆ ตัวเรา ในฤดูที่ฝน
ฉ่ำฟ้า  เราจะพบลูกกบ  ลูกเขียด  ลูกคางคกมากมายในแอ่งน้ำตื้นๆ   ส่งเสียงร้องกันเซ็งแซ่   ฝนตกที่ไหนมี
น้ำขังเพียงเล็กน้อย   เราจะเห็นสัตว์จำพวกนี้เต็มไปหมด  ยังไม่ทันโตก็ถูกคนเหยียบตายบ้าง รถทับตายบ้าง 
ที่รอดมาได้ก็ต้องตายเพราะน้ำในแอ่งแห้งเสียก่อนบ้าง แดดเผาตายบ้าง สิ้นชีวิตไปชาติหนึ่งโดยที่ไม่มีโอกาส
ทำความดีอะไรเลย

   ลองมองให้ใกล้ตัวอีกนิด  สุนัขก็ดี  แมวก็ดี  แม้จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีความสุข  มีอาหารอุดม
สมบูรณ์ด้วยผลของบุญเก่าที่เคยทำไว้  แต่บุญใหม่  ท่านเคยเห็นสุนัขหรือแมวทำคุณงามความดีอะไรบ้าง 
มีแต่คอยประจบประแจงเจ้านายให้รักใคร่เพื่อปากเพื่อท้องของตนเอง ริษยาพยาบาทกันเองบ้าง คอยทำลาย
ชีวิตนกและหนูบ้าง  โอกาสที่จะทำความดีเกือบไม่มี  เมื่อบุญเก่าก็ใช้หมด  บุญใหม่ก็ไม่ได้ทำแล้วจะได้บุญ
ที่ไหนมาช่วยให้ไปเกิดในที่  ๆ  ดี  ในเมื่อสิ้นชีวิตลง  มีแต่จะตกต่ำลงไปทุกที

   ลองมองให้ซึ้ง  จะเห็นว่าลำพังแต่เกิดมาเป็นสัตว์ก็น่าสงสารอยู่แล้ว  ซ้ำยังมีคนใจร้ายคอยเบียด
เบียนซ้ำเติมให้ทุกข์ยากลำบากขึ้นไปอีก  นี่เป็นเพียงชีวิตของสัตว์ที่เรามองเห็นได้  ส่วนที่เรามองไม่เห็นมี
อีกมากมาย  โดยเฉพาะพวกสัตว์นรก  เปรต อสุรกาย  สัตว์เหล่านี้ยิ่งลำบากทุกข์ยากยิ่งกว่าสัตว์ที่เราเห็นๆ 
กันอยู่นี้หลายแสนเท่า  ช่างน่าสงสารนัก

   เราเคยคิดกันบ้างหรือไม่ว่า  อะไรทำให้ไปเกิดเป็นสัตว์  อะไรทำให้ไปเกิดเป็นมนุษย์  อะไรทำให้
ไปเกิดเป็นเทวดา  เพราะอะไรสัตว์จึงมีมากมายหลายชนิดจนนับไม่ถ้วน  แม้เทวดาและมนุษย์เองก็มีมาก
มายหลายจำพวก  สัตว์ในโลกนี้จะมีอย่างเดียวไม่ได้หรือ  มนุษย์และเทวดาก็น่าจะมีแต่คนดีอย่างเดียวไม่
มีคนชั่ว  หรือมีแต่คนชั่วอย่างเดียวไม่มีคนดีเลยไม่ได้หรือ ?

   ตอบได้ทันทีว่า  ไม่ได้
   เพราะอะไร ?  เพราะสัตว์ทุกชนิดมีกรรมคือการกระทำแตกต่างกัน  เกิดเป็นสัตว์ก็เพราะกรรม 
เกิดเป็นมนุษย์ก็เพราะกรรม  สัตว์และมนุษย์ตลอดจนเทวดามีมากมายหลายชนิด  ก็เพราะกรรม  คือการ
กระทำของตนเอง มิใช่การกระทำของผู้อื่น  สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้  จึงเป็นไปตามกรรม มีกรรมเป็นผู้จำแนก
ให้ดี  เลว  ประณีต  แตกต่างกัน

   ทุกท่านไม่มีใครอยากถูกฆ่า  ถูกขโมย  ถูกผู้อื่นล่วงเกินบุตรภรรยาสามีของตน  ไม่มีใครอยากได้
ยินคนอื่นโป้ปดมดเท็จเรา  หรือพูดคำหยาบ  เสียดสีเรา  ไม่อยากขาดสติเป็นคนบ้าเลอะเลือน  แต่ว่าทำอย่าง
ไรเล่า  จึงจะไม่ประสบกับสิ่งที่ไม่น่าพึงพอใจเหล่านี้

   ไม่ยากเลย
   พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ว่า  เมื่อเราไม่อยากถูกฆ่าก็อย่าฆ่าคนอื่นสัตว์อื่น  และไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
แทนเราด้วย  เราไม่อยากถูกลักขโมย ก็อย่าลักขโมยหรือหยิบฉวยของที่เจ้าของหวงแหน ที่เจ้าของเขามิได้
อนุญาต ทั้งไม่ใช้ผู้อื่นลักขโมยหยิบฉวยแทนตนด้วย   เราไม่อยากให้ผู้อื่นล่วงเกินบุตรภรรยาสามีของเรา 
ก็อย่าได้ล่วงเกินบุตรภรรยาสามีของคนอื่น  เราไม่อยากได้ยินคำเท็จ  คำหยาบ  เราก็อย่าพูดคำเท็จ  อย่าพูด
คำหยาบ  พูดแต่คำสัตย์  คำจริง  คำอ่อนหวาน  เราไม่อยากเลื่อนลอย  ขาดสติ เป็นบ้า ก็อย่าดื่มสุราเมรัยของ
เสพติดมึนเมาทั้งหลาย

   ในทางตรงข้าม  ทุกคนอยากร่ำรวย  อยากรูปสวยผิวพรรณงดงามมีคนเคารพนอบน้อมเชื่อฟัง 
มีคนคอยปรนนิบัติรับใช้ช่วยเหลือกิจการงานต่างๆ  ให้สำเร็จ  ทุกคนอยากมีสติปัญญาดี  เฉลียวฉลาดด้วย
กันทั้งนั้น  ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะได้สิ่งที่เราต้องการ  ที่น่าพึงพอใจเหล่านี้มาจากไหน  ไม่ยากอีกเช่นเดียวกัน

   เราอยากร่ำรวย  ก็ต้องละความตระหนี่  ยินดีในการจำแนกแจกทาน  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
แบ่งปันข้าวของเงินทองเครื่องใช้แก่ผู้อื่น  ใครขาดแคลนสิ่งใด  เรามีเราก็หยิบยื่นให้ด้วยความเต็มใจ 
ไม่หวงแหน  ไม่หวังผลตอบแทน  ความดีที่เราเคยแบ่งปันให้ทานแก่ผู้อื่นอยู่เป็นนิตย์นั้น  มิได้สูญหายไป
ไหน  แต่จะกลับมาตอบสนองให้เราได้ข้าวของเงินทองเหล่านั้น  เป็นคนร่ำรวย  ไม่ยากจนในอนาคต

   เราอยากมีรูปงาม  พระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนให้รักษาศีล  มีศีล ๕ คือการงดเว้นจากการฆ่า
สัตว์เป็นต้น  ศีล ๘  ศีล ๑๐  ศีล ๒๒๗  ตามสมควรแก่กำลังของผู้รักษา  ศีลเป็นเครื่องขัดเกลา  กายวาจาใจ
ให้สะอาด  มีกิริยาวาจาใจเรียบร้อย  คนที่มีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อยมีใจดีนั้นเป็นคนน่ารักนักหนา ใครเห็น
ใครก็ชอบ ใครเห็นใครชม  ใครได้อยู่ใกล้ชิดก็เอ็นดูรักใคร่  มีศีลหน้าตาอิ่มเอิบ  ผิวพรรณผ่องใส  ด้วยความ
ดีคือศีลที่เราทำไว้นี้จะเป็นเหตุให้เราได้มีรูปสวย  ผิวพรรณงามในกาลภายหน้า

   เราอยากให้คนอื่นเคารพนอบน้อมเชื่อฟังเรา  เราก็ต้องหัดเคารพนอบน้อมเชื่อฟังผู้ที่
เราควรเชื่อฟังเสียก่อน  ผู้ที่ควรเคารพนอบน้อมเชื่อฟังนั้นได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มารดา
บิดา  ครูอาจารย์  ตลอดจนผู้ที่สูงกว่าเราด้วยชาติตระกูล ด้วยความรู้ และด้วยวัย ถ้าเราเคยเคารพนอบน้อมยก
ย่องผู้อื่น  ไม่ดูหมิ่นผู้อื่นอย่างนี้  เราก็จะได้รับผลเช่นนั้นเองในภายหลัง

   เราต้องการให้ใคร  ๆ  ช่วยเหลือกิจการงานของเรา  เราก็ต้องรู้จักช่วยเหลือกิจการงาน
ของผู้อื่น  กิจการงานในที่นี้หมายถึงกิจการงานที่ดีที่ชอบที่สุจริต  ไม่ใช่กิจการงานที่ทุจริตคิดมิชอบมีการลัก
ขโมยเป็นต้น  เราเคยช่วยเหลือกิจการงานของผู้อื่นด้วยความเต็มใจอย่างใด  เราก็จะได้รับผลคือการช่วยเหลือ
จากผู้อื่นอย่างนั้น

   เราอยากมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด  เราก็ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้  ด้วยการอ่านหนังสือที่ดีมี
คุณค่า และหมั่นคบหาสมาคมใกล้ชิดกับท่านผู้รู้ สดับตรับฟังคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายเหล่านั้น มีพระพุทธเจ้า
เป็นต้นอยู่เสมอ  ๆ  อ่านแล้วฟังแล้วก็นำมาคิดพิจารณาใคร่ครวญให้รอบคอบสติปัญญาความเฉลียวฉลาดจึงจะ
เกิดได้

   เพราะฉะนั้นเมื่อเราต้องการอย่างไร  ก็จงทำเหตุให้ตรงกับผลที่จะได้รับ  เหตุดีผลต้องดี  เหตุชั่ว
ผลต้องชั่ว  พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า  บุคคลหว่านพืชเช่นใด  ย่อมได้รับผลเช่นนั้น เราหว่านข้าว เราก็ย่อม
ได้รับเมล็ดข้าว  เราทำกรรมดี  เราก็ได้รับผลดี  เราทำกรรมชั่ว  เราก็ได้รับผลชั่ว  คำตรัสของพระพุทธองค์
ข้างต้นนี้  เป็นความจริงอย่างยิ่ง  และจะจริงอยู่ตลอดไป  ไม่มีสิ่งใดจะมามีอำนาจทำให้ผันแปรเป็นอย่างอื่น
ได้  ด้วยเหตุนี้  สัตว์ทั้งหลายจึงเกิดมาด้วยกัน  คือ  การกระทำของเราเองทั้งสิ้น  เกิดมาแล้วก็มีชีวิตอยู่ด้วย
กรรม  คือ  รับผลของกรรมเก่าบ้าง   สร้างกรรมใหม่ที่จะเป็นเหตุให้เกิดผลต่อไปอีกบ้าง  ตายไปแล้วจะเป็น
อย่างไรต่อไป  ก็เพราะกรรม  ไม่ใช่เพราะพระพรหมลิขิต  หรือผู้อื่นดลบันดาลให้เป็นไป  แต่กรรมที่  เราได้
สะสมเอาไว้นั่นแหละ  เป็นผู้ลิขิตชีวิตเรา  ให้เป็นไปต่างๆ

   รวมความว่าเราไม่มีวันที่จะหนีกรรมที่เราทำไว้ได้พ้น  นอกเสียจากว่า  เมื่อเราได้ทำลายเหตุ  ที่จะ
ทำให้เราเกิดได้หมดสิ้นแล้วด้วยอริยะมรรค  เมื่อนั้นเราจะไม่ต้องรับกรรมหรือสร้างกรรมใดๆ  อีกเลย  เราจะ
เป็นผู้พ้นแล้วจากกรรมทั้งหมดเช่นเดียวกับที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกของพระองค์ได้พ้นกันมาแล้ว

   ตามปกตินั้น  คนเราไม่มีใครเลยที่เคยทำแต่ความดีหรือความชั่วเพียงอย่างเดียว  ทุกคนล้วนแต่เคย
ทำความดีบ้างทำความชั่วบ้างกันมาแล้วทั้งสิ้น  บางคนเคยทำความดีมากทำชั่วน้อย  บางคนทำความดีน้อยทำ
ชั่วมาก  และก็ไม่ได้ทำกันแต่เฉพาะชาตินี้เพียงชาติเดียวเท่านั้น  หากแต่ได้เคยทำไว้ในชาติก่อนๆ  ที่เคยเกิด
มาแล้วจนนับไม่ถ้วนนั้นด้วย  ด้วยเหตุนี้คนเราจึงต่างกัน  ตามกำลังของบุญและบาปที่ได้เคยทำเอาไว้  บางคน
เกิดในตระกูลสูง  เกิดในถิ่นที่เจริญ  มีรูปสวย  รวยทรัพย์  มีคนเคารพนับถือ  มีสติปัญญา เฉลียวฉลาด  บางคน
เกิดในตระกูลต่ำ  เกิดในถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ  รูปไม่สวย  ยากจน  ขาดคนนับถือ  ขาดสติปัญญา  เมื่อเกิด
แล้วยังทำกรรมดีกรรมชั่วแตกต่างกันอีก

   พระพุทธองค์ จึงตรัสว่า  "กรรมคือบุญและบาปเป็นเครื่องจำแนกสัตว์ทั้งหลายให้  ดี  เลว 
ประณีต  แตกต่างกัน"

   บางคนกำลังทำความชั่วอยู่  แต่กลับได้รับความสุขความสบายมีหน้ามีตา  ทั้งนี้ก็เพระความดีที่
เขาเคยทำมากำลังให้ผล  แต่กรรมชั่วที่เขากำลังทำอยู่ยังไม่ให้ผล  ตรงกันข้ามบางคนกำลังทำความดีอยู่
แต่กลับได้รับความทุกข์ยากลำบากนานาประการ  ทั้งนี้เพราะความชั่วที่เขาเคยทำมาแต่ก่อนๆ  กำลังให้
ผล  ส่วนความดีที่เขากำลังทำอยู่ยังไม่ให้ผล  ขึ้นชื่อว่าบุญคือความดีนั้นจะให้ผลชั่วย่อมไม่มี  และขึ้นชื่อว่า
บาปคือความชั่วจะให้ผลดีย่อมไม่มี  ถ้าท่านเข้าใจผลของบุญและบาปอย่างถูกต้องอย่างนี้แล้ว  ท่านจะไม่
โศกเศร้าเดือดร้อนใจเมื่อได้รับความทุกข์  และจะไม่ลำพองใจเมื่อได้รับความสุข  เพราะเราทำความดี 
ความชั่วด้วยตัวเราเอง  เราจึงได้รับผลนั้นด้วยตัวเอง  สักวันหนึ่งความทุกข์นั้นก็จะหมดไปความสุขจะมา
แทนที่  แล้วแต่ว่าเมื่อไรความดีหรือความชั่วที่เราได้ทำมาแล้วมากมายนั้นจะให้ผล

   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า  การที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์นี้ยากนัก  เพราะการเกิดเป็น
มนุษย์นั้นต้องอาศัยบุญที่ได้ทำไว้แต่ปางก่อน  นอกจากนั้นพระองค์ยังตรัสว่า  มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ 
เพราะมีโอกาสที่จะบำเพ็ญบุญได้ทุกชนิดตั้งแต่บุญเล็กๆ  น้อยๆ จนถึงบุญใหญ่ที่สามารถทำให้พ้นจากความ
ทุกข์ทั้งมวลได้  ชาตินี้เราท่านได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว  โอกาสที่จะทำความดีมีไม่นานเลย  อย่างมาก
ไม่เกิน ๑๐๐ ปี  จึงควรจะสั่งสมบุญของเราไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  เพราะบุญที่ท่านได้สั่งสม
ไว้ดีแล้ว  ย่อมนำความสุขมาให้ทั้งชาตินี้และชาติหน้า  ทรัพย์สมบัติอย่างอื่นไฟไหม้ได้  เสียหายได้ 
โจรลักได้  แต่อริยทรัพย์คือบุญ  ไฟไหม้ไม่ได้  เสียหายไม่ได้  โจรลักไม่ได้  ทั้งบุญยังเป็นมิตรติด
ตามตน  เป็นที่พึ่งแก่ตนไปในภพหน้าด้วย

   ชีวิตของมนุษย์นี้น้อยนัก  ไม่นานเลยก็ตาย  ถ้ามัวรีรออยู่  ท่านอาจจะตายเสียก่อนได้ทำความดีก็ได้ 
เพราะใจของปุถุชนนั้นมักจะไหลไปหาบาปได้ง่าย

   พระพุทธองค์จึงทรงสอนว่า  "เมื่อจิตคิดจะทำบุญเกิดขึ้นก็อย่ารีรอ  จงรีบทำเสียในขณะนั้น 
เพราะมัวรีรออยู่จิตที่เป็นบาปก็จะเกิดแทน  บุญที่บุคคลทำแล้วย่อมให้ผลเร็ว  บุญที่บุคคลทำช้าย่อม
ให้ผลช้า"  ดังที่เราท่านได้เคยพบอยู่เสมอๆ  ว่า  บางคนต้องการสิ่งใด  เขาจะได้สิ่งนั้นตามต้องการโดยรวดเร็ว 
แต่บางคนต้องการสิ่งใด  แล้วไม่ได้ตามต้องการก็มี  ทั้งนี้เพราะไม่เคยคิดจะทำบุญ  หรือคิดจะทำบุญแล้วไม่ได้
ทำนั่นเอง

   รวมความว่า  ทุกคนเกิดมาด้วยกรรม  เป็นอยู่ด้วยกรรม  จะเป็นอย่างไรต่อไปอีกก็เพราะกรรม 
กรรม  จึงเป็นเรื่องน่าสนใจ  น่าใคร่ครวญ  น่าศึกษาให้เข้าใจ  มิใช่เพื่อใครเลยแต่เพื่อความสุขความเจริญ
ของผู้ศึกษาเอง  และเพื่อความสุขความเจริญของผู้ที่แวดล้อมเกี่ยวข้องกับเรา  เพื่อให้เรื่องนี้แจ่มแจ้งชัดเจน
ขึ้น  จึงขอนำเอาพระพุทธดำรัสที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาไว้ในพระสูตรต่างๆ  มาอ้างอิงประกอบดัง
ต่อไปนี้