ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2010, 09:26:23 pm »

เข้าใจว่าเป็นสุข(คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                ชีวิตหมดไป  วันหนึ่งๆ  ด้วยการกินอิ่ม  หลับนอนเพลิดเพลินไปอยู่กับความหลง  สรรพสัตว์ก็เข้าใจว่าเป็นสุข

                ไม่ได้รู้  ไม่ได้เข้าใจว่าในขณะเวลาเดียวกันนั้น  ทุกข์ก็กำลังเกิดขึ้นกับตัวตน  ทุกข์เพราะ  ความเป็นอนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  ที่ใครบังคับไม่ได้  มันจัดการเล่นงานอยู่กับรูปกายของสรรพสัตว์              และก็ในขณะเดียวกัน  ความอยากหนาตัณหาแรงก็เป็นตัวช่วยทิ่มแทง  เล่นงานใจของสรรพสัตว์  เดี๋ยวโลก  เดี๋ยวหลง  เดี๋ยวโกรธ   พยายาท  เดือดร้อนอยู่ไม่มีหยุด  ไม่มีหย่อน

                ผู้ที่พิจารณาตามรู้ได้โดยแยบคายมีน้อย  ผู้ไม่รู้มีมากมาย

                จึงมีแต่ผู้ที่หลงตัวเองว่า  กำลังเป็นสุขนั้นอยุ่ดาษดื่นทั่วทั้งโลก

                ด้วยอุบายตื้นๆ  เช่นนี้  กิเลสก็หลอกครองโลกได้ทั้งหมดทั่วไตรภพ  คือ  ตลอดกามภพ  รูปภพ  และอรูปภพ

                เมื่อเข้าใจเช่นนั้นว่าเป็นสุข  สรรพสัตว์ก็จึงหลงเสาะแสวงหา  จึงได้แต่ภาพลวงตา  ภาพลวงใจ  เวียนว่ายตายเกิด  อยู่มิรุ้สิ้นสุด

                ความไม่รุ้จริง  คือรู้ผิด  เพียงเท่านี้ก็ทำให้ทางเดินในวัฎสงสารยาวไกลไม่รู้สิ้นสุด

                เมื่อรู้จักคิดรู้จักพิจารณา  เพียงรู้ความจริง  ว่างจากตัวตนได้จริง  เพียงเท่านี้  การเดินทางอันยาวไกลในวัฎสงสารก็จะสิ้นสุดลงได้  จบกรรม!

 
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2010, 09:24:46 pm »

ดูให้มันรู้ (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)
                ถ้ามีความประมาทมัวเมาเพลิดเพลินอยู่  อย่างที่เป็นกันเช่นนี้แล้ว  ชีวิตประจำวันจะได้อะไร  ก็ได้แต่ทุกข์เท่านั้นเอง  ได้แต่ความสกปรกเศร้าหมองของใจ  ก็ทุกข์เท่านั้น  ไฟทั้งนั้น
                เป็นปัญหาเฉพาะหน้า  ที่เราควรรีบพยายามไม่ให้จิตมันใฝ่ต่ำ  ไปทำตัวเป็นทาสรับใช้กิเลส  หรือไม่ยึดถืออะไรให้เป็นทุกข์  ไปปั้นนำให้เป็นตัวขึ้นมา

                ถ้าพยายามกันจริงๆ  ก็ดับทุกข์ในชีวิตประจำวันได้ตลอดจนเวลาจะเจ็บจะตาย  ที่จะเกิดทุกข์โทษอะไรนานัปการขึ้นมา  ก็รู้จักดับได้  ปล่อยได้  วางได้

                แล้วจิตก็จะไม่วุ่น  มันว่างเรื่อย  พอปล่อยอะไรได้  มันก็จะว่างเพิ่มขึ้นได้อีก  ไม่ขันตัวอัดฝังแน่นอยู่ในเกลียวทุกข์เกลียวระทมใดๆ  มีแต่จะผ่อนคลายลงไปเรื่อยๆ  เรียกว่า คลายน๊อตของความทุกข์ลงได้เป็น

                ดูให้มันรู้ความจริงให้ได้ว่า  เรากำลังหลงงุ่มง่ามในความมมืดของกิเลสอยู่  คือมองไม่เห็นความจริง  จึงว่ามืด  กำลังหลงอยู่ต่อหน้า  ทั้งๆ  ที่กำลังลืมตาอยุ่เดี๋ยวนี้

                ตอกย้ำซ้ำซากกับตน  เรียนเอาในใจในตัวเองทั้งหมดเพียรกันเรื่องรู้ทุกข์นี้ตลอดเวลาของชีวิต  หยุดความอยากทั้งหลายทั้งปวง  แล้วห้องหัวใจก็จะเหลือแต่ความว่างในที่สุด

(ท่านใดต้องการหนังสือธรรมะแจกฟรี 7 เล่ม  เขียนโดยพระอาจารย์ยุทธนา เตชปัญโญ ติดต่อได้ที่เบอร์ 086-1637969 089-9154499 ชื่อหนังสือมีดังนี้ 1.วันหนึ่งก็ต้องจากลา 2.ดีชั่วรู้หมดแต่มันอดใจไม่ไหว 3.ช้าอีกนิดสุขอีกนาน 4.ชีวิตเสรีจิตอิสระจึงไร้ทุกข์ 5.หลงตัวตนสับสนหนทาง 6.สิ่งที่ดีที่สุดเพื่อตัวเรา 7.เส้นทางใจ  รีบหน่อยนะคะ ช้าหมดค่ะ )

 
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 06:38:39 pm »

เจริญอายุ  บรรลุธรรม (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                เมื่อปฏิบัติก็ต้องมีการพัฒนาเกิดขึ้น  ต้องมีการละวางอะไร
ไปได้ทีละเล็ก  ทีละน้อย  เรียกว่า  ต้องมีการบรรลุธรรม  การบรรลุดธรรมที่ว่านี้ 
ไม่ได้หมายถึงการบรรลุธรรมสูงสุดหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์  แต่หมายถึง 
การเข้าถึงธรรมะไปเป็นขั้นๆ  การเข้าถึงธรรมะแต่ละขั้น  มีการปลงตกออกไปบ่อยๆ 
ถือว่าเป็นการบรรลุไปตามลำดับ

                เราต้องหัดปฏิบัติละเว้นสิ่งต่างๆ  การบริโภคปัจจัย 4 ควรบริโภค 
คือใช้ตามความจำเป็น  และต้องหมั่นพิจารณาว่า  เราบริโภคเพื่อยังอัตภาพ
ของเราให้เจริญธรรมอยู่ได้  ไม่ใช่สุรุ่ยสุร่ายใช้ไปด้วยความมัวเมา 
มันจะเป็นการปฎิบัติกิเลสไม่ใช่การปฏิบัติธรรม

                ยิ่งทำ  ยิ่งปฏิบัติ  ก็ควรจะละเว้น  ปล่อยวางอะไรให้ได้มากขึ้น 
ไม่ใช่ยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งกอดรัดอัดแน่นเข้ามาเป็นของข้าทั้งหมด 
วันเวลาผ่านไปจิตใจควรจะงอกงาม  สงบ  ฉลาด  สุขุมไม่ยึดถือตนยิ่งขึ้น 
สมกับที่ว่า  “เจริญอายุ  บรรลุธรรม”

                การให้พรเขาว่า  “จงเจริญอายุ  บรรลุธรรม” 
เราก็ต้องปฏิบัติตัวของเราด้วย  ไม่ใช่ให้พรเขาแต่ปาก 
เราต้องทำตัวเราให้เป็นเนื้อนาบุญของเขาด้วย 
คือเราก็ต้องปฏิบัติตัวเราให้สมกับที่เขานับถือ
ว่าเรากำลังเป็นผู้แสวงหาทางหลุดพ้น  ถ้าทำอย่างนั้นได้ 
ผู้ที่เขามอบปัจจัย 4 แก่เรา  ก็เท่ากับได้ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมไปกับเราด้วย 
เขาก็ได้สละละความตระหนี่  ละโลภ  โกรธหลง  ลงในเนื้อนาบุญ 
เพิ่มบุญขึ้นโดยชอบ  สมกับที่ได้รับพร  “เจริญอายุ  บรรลุธรรม”

ขอบพระคุณ คุณนริศรา

 [/size]
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 06:06:58 pm »

ต้องรู้ดวยปัญญา (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                การที่เที่ยวคิด  เที่ยวใฝ่ฝันไปนั่น  ฝันมานี่ 
มันก็ฝันเอาทุกข์มาใส่ตัวเองทั้งนั้น  เลิกฝันกับมันเสียที 
หยุดกันเสียที  มีอะไรขึ้นมา  ก็ปล่อยวางมันไป  ถึงเราไม่ปล่อย 
มันก็ต้องดับไปเอง  แต่ผลที่เกิดกับเรา  มันจะต่างกันมาก 
หนักอกหนักใจมากกว่ากันเยอะเลย

                ถ้าเราเที่ยวนึกคิดไปต่างๆ  นานา 
จิตก็มีการปรุงแต่งไปสารพัด  ล้วนแต่จะเป็นความสกปรก 
เศร้าหมอง  อยู่กับดีๆ  ชั่วๆ  ตัวตนของเรา  ของเขา 
จนจิตนี้ก็จะถูกผูกมัดทำให้หมดอิสระ

                การสลัดคืน  การไม่เอาอะไร  จะทำให้จิตนี้เป็นอิสระขึ้นมา
มันก็เป็นเรื่องตรงไปตรงมาง่ายๆ  อย่างนี้

                จิตที่เป็นอิสระได้  ย่อมไม่ตกเป็นทาสอารมณ์ 
ไม่ยอมเป็นทาสแก่ความอยากที่ยุแหย่  จิตจะไม่เอาอะไร 
ถ้าไม่เอาปล่อยวางได้แล้ว  ก็ไม่รู้ว่ามันมีอะไรที่จะมาเป็นสายใย
ที่จะผูกมัดจิตใจให้หมดอิสระได้

                เหล่านี้แหละเป็นความรู้ที่ถูกต้องแล้ว 
ไม่ต้องไปหาความรู้ที่ไหนก็ได้  แต่ที่สำคัญก็คือ 
ความรู้นี้ต้องรู้ด้วยสติปัญญา  ไม่ใช่รู้ด้วยความทรงจำ 
การรู้ด้วยความทรงจำนั้น  มันเป็นขันธสัญญา 
ยังแก้ปัญหาชีวิตไม่ได้  ต้องรู้ด้วยปัญญาจึงจะแก้ไขได้ 
จะมีปัญหาอย่างไร  สุขทุกข์อย่างไร  มันปลงตก 
แล้วก็ปล่อยวางไปได้  มันพิเศษอย่างนั้น 
แต่ถ้ารู้ด้วยเพียงความทรงจำก็จะมีแต่ความยึดมั่นถือมั่นเท่านั้นเอง 
แก้ปัญหาไม่ตก  ไม่ว่าเรื่องอะไร

                รู้ด้วยปัญญา  คือรู้ด้วยการอบรมจิตใจ 
ต้องมีความพยายามอยู่เนืองนิตย์  แล้วทำให้ติดต่อให้มากขึ้น
ในทุกอิริยาบถ  เพ่งดูความไม่เที่ยงให้เห็น 
หรือว่าจะมีการกำหนดละตัณหาหรือรู้จักตัณหาอยุ่ทุกอิริยาบถ 
เมื่อทำมากเข้าก็จะละกิเลสได้  วางเรื่องทั้งปวงไว้อย่างที่มันเป็นได้!


ขอบพระคุณ คุณนริศรา
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2010, 01:20:53 pm »

ทำตัวง่ายๆ(คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

            พวกฤาษีไม่ได้เรียนรู้สรีรศาสตร์  หรือจิตเวชศาสตร์ไป
มีความสงบกาย  สงบวาจา  สงบจิตใจ  อยุ่ในป่าคนเดียว 
กินผลไม้ประจำวัน  ยังชีวิตไปเท่านั้น  จะตายก็ไม่ต้องไปหาหมอ 
ตายก็ตายไป  อยู่ก็อยู่ไป  จิตใจก็สงบไป  ว่างไปตามธรรมชาติ

                เพราะฉะนั้นจะเอาสิ่งภายนอกมาเป็นเกณฑ์ไม่ได้ 
ไม่จำเป็นที่จะต้องห่วงใยกับสิ่งภายนอก เรื่องของกายที่ว่าอวัยวะใด
อยู่ที่ไหน  ก็ไม่ต้องไปค้นคว้า  เรื่องตับไตอยู่ที่ไหนไม่ต้องไปสนใจ 
ให้รู้แต่ว่ามันไม่เที่ยง  ปรับปรุงมันไปตามสมควร 
ไม่ถือกายเป็นเรื่องสำคัญ  ถือจิตเป็นเรื่องสำคัญ

                พวกมุนีที่อยู่กันเงียบๆ  จิตใจมีความสงบ 
เอาความเยือกเย็นของจิต  อาบ  รด  ดื่มกินอยุ่ได้ 
โดยที่ไม่ไปคอยวิตกกังวลถึงเรื่องที่จะต้องไปพูดกับใคร 
ไม่ต้องว่ามันจะขาดอาหาร  ไม่ต้องเป็นห่วง 
ห่วงแต่ธาตุจิตที่มันถูกกิเลสเผาอยู่นี่ 
ให้มันอยู่รอดปลอดภัยเท่านั้นเป็นพอ

                ร่างกายมันก็จะต้องแตกดับไปด้วยกันทั้งหมด 
ไม่มีอยู่ค้ำฟ้าไปได้  อย่าไปคิดเอาใจอะไรมันมากนัก  มันจะเป็นกังวล

                พระอริยเจ้าทั้งหลายที่ท่านหมดกิเลสไปแล้ว 
ท่านก็รู้แต่เรื่องข้างใน  ส่วนเรื่องข้างนอกจะมีอะไรวิจิตรบรรจง 
พิสดารปานใด  ท่านก็ไม่เห็นเป็นความคีเด่นอะไร 
เขาเอาอะไรมาให้ก็รับ  แต่ถ้าเขาจะแย่งเอากลับก็ไม่ขัดขืน 
อยู่อย่างเรียบง่าย  ไม่เป็นปัญหากับใคร  ความสุขสงบของท่านๆ 
หมายเอาที่ใจหมดเหตุปัจจัยปรุงแต่ง

ขอบพระคุณ คุณนริศรา
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2010, 01:55:42 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่เล็ก ขอบคุณครับ
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2010, 07:31:42 pm »

ความรู้ที่เต็มปรี่ (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                ทุกสิ่งทุกอย่างมีแต่ความเกิดดับอย่างนี้เหมือนกันหมด 
ถ้าไปยึดถือเข้าก็เป็นทุกข์  ถ้าไม่ยึดถือก็ว่างๆ  เปล่าๆ  อยู่อย่างนั้น
จะเพ่งไปดูในอะไรๆ  ก็เห็นอยู่ในลักษณะอย่างนี้

                อย่าเที่ยวไปอยากดู  อยากรู้อย่างอื่นเลย 
มันไม่มีอะไรจริงจังทั้งนั้น  ดูเลวของตัว  ดูชั่วของใจ 
กวาดทุกข์ให้เกลี้ยง เรียงทุกข์ดูให้เข้าใจ  ถ้าดูอย่างนี้แล้ว
 มันหมดเรื่องหมดราวไปสิ้น

                ถ้ารู้จักทุกข์  รุ้จักอนัตตา  ได้ถูกต้องชัดประจักษ์ใจ 
แม้จะไม่พูดอะไรสักคำเดียว  นั่นก็เป็นความรู้ที่เต็มปรี่อยุ่ภายในแล้ว

                ศึกษาจากตำรับตำรามามาก  อ่านกันเท่าไรๆ 
ก็เหมือนหนอนแทะหนังสือ  ไม่เกิดความรู้แจ้งด้วยสติปัญญาของตัวเองเลย 
ปล่อยวางอะไรก็ไม่ได้  ยังยึดถืออยู่อย่างนั้น  เป็นการอ่านแล้วจำได้ 
ถ้าไม่มีการฝึกหัดปฏิบัติแล้ว  มันก็รู้เหมือนไม่รู้อะไรไปตามเดิม

                ทำความเพียรให้รู้แจ้งถึงความเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  ดับไปของรูปธาตุ 
นามธาตุ  ที่ไม่มีอะไรเป็นตัวตนเลย  จะเป็นการรู้อะไรจริงๆ  ขึ้นมาด้วยสติปัญญา

                ในการศึกษาจากปัจจุบันธรรมที่มีความเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  ดับไป 
เป็นปรกติอยู่อย่างนี้  จะเป็นหนทางเพื่อความสิ้นอาสวะนี้
เป็นแนวทางที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเปิดเผยไว้นานแล้ว


ขอบพระคุณ คุณนริศรา
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2010, 07:21:19 pm »

หัดกลัวไว้บ้าง (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                การไถ่ถอนอุปาทาน  ทียึดมั่นถือมั่น  มีตัวเรา  ตัวเขา 
ของเรา  ของเขา  ต้องทำกันด้วยการใช้สติปัญญาจริงๆ 
มิฉะนั้นมันจะคุ้นเคยอยู่อย่างเดิม  ไม่เปลี่ยนนิสัยเดิมออกไปได้

                การปฏิบัติก็ยังป้วยเปี้ยน  วนเวียนอยู่ในกองทุกข์กองไฟนั่นเอง 
ไม่ค่อยจะกลัวกันเลย  กลับกล้าไปเสียด้วยซ้ำ

                ต้องสังวรระวังจิตใจด้วยการใช้สติปัญญา 
พอมันคุ้นเคยมาทางนี้ได้  มันก็ค่อยเห็นโทษ 
แม้พอจะผิดพลาดไปมันก็เห็นโทษได้เร็ว 
เช่นเคย  สังวรวาจา  เป็นคนพูดน้อย  มัธยัสถ์คำพูด
ถ้าไปเผลอไผลพูดมากเข้า  ก็จะรุ้สึกตัวว่า 
“เราพูดไม่เป็นการเหมาะสม  ไม่เป็นการสมควรเลย”

                ต้องคอยพิจารณาตัวเองอยู่  ทำตัวเองให้มีธุระน้อยที่สุด
ศีลจึงจะค่อยบริสุทธิ์  ผุดผ่องขึ้นมาได้  พร้อมทั้งกายวาจาใจ 
สติปัญญาจะได้มีโอกาสพิจารณาตัวเอง

                อะไรมันก็สกปรกไปหมดตั้งแต่ต้นแล้ว

                เมื่อเป็นอย่างนี้  จะให้ใครจะมาชำระสะสางให้  ฟอกให้ 
ตัวเองต้องใช้สติปัญญา  ต้องใช้ธรรมะเป็นเครื่องซักฟอกตัวเอง

                การเจริญวิปัสสนา  ถ้าไม่ได้ทำไปเพื่อให้รู้เรื่องทุกข์โทษของกิเลส 
เพื่อทำลายกิเลส  จะมุ่งทำให้ไปรู้ไปเห็นอะไรกัน 
จะทำให้เป็นคนวิเศษประเภทไหน

                ขอให้ผุ้ปฏิบัติพิจารณาดูเอาเอง  และมีการสนใจในเรื่องทุกข์นี้
ให้มากเป็นพิเศษ  อยู่ในทุกๆ  ขณะจิตเถิด


ขอบพระคุณ คุณนริศรา
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2010, 05:00:14 am »

แนวทางปฏิบัติธรรม
โดย ท่าน ก.เขาสวนหลวง


ผู้ปฏิบัติควรจะศึกษาให้เข้าใจเป็นลำดับไปดังนี้

การศึกษาที่เรียนรู้ได้ง่าย ทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกาละ ทุกขณะ
ได้ผลทันที ไม่ต้องรอรับผลข้างหน้า ก็คือ ศึกษาในโรงเรียน
กล่าวคือ ในร่างกายยาววาหนาคืบมีสัญญาใจครอง
ในร่างกายนี้มีสิ่งที่น่าเรียนรู้ ตั้งแต่ขั้นหยาบจนถึงขั้นละเอียด

ขั้นของการศึกษา

ก. เบื้องต้น ให้รู้ว่ากายนี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุต่างๆ
ส่วนใหญ่ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม
ส่วนย่อยได้แก่ ส่วนที่จับติดอยู่กับส่วนใหญ่
เป็นต้นว่า สี กลิ่น ลักษณะ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้มีลักษณะไม่คงทน (ไม่เที่ยง) เป็นทุกข์
เต็มไปด้วยของปฏิกูล พิจารณาให้ลึก
ก็จะเห็นไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร มีแต่สภาพธรรมล้วนๆ
ไม่มีสภาวะที่ควรเรียกว่า “ตัวเราของของเรา”
เมื่อตามเห็นกายอยู่อย่างนี้ชัดเจน
ก็จะคลายความกอดรัดยึดถือในกายว่าเป็นตัวตน
เป็นเรา เป็นเขา เป็นนั่นเป็นนี่เสียได้

ข. ขั้นที่สอง ในส่วนนามธรรม (คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
กำหนดให้รู้ตามความเป็นจริง ล้วนเป็นเองในลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
คือเกิดๆ ดับๆ เป็นธรรมดา พิจารณาเห็นจริง
แล้วจะคลายความยึดถือในนามธรรมว่า เป็นตัวตน
เป็นเรา เป็นเขา เป็นนั่น เป็นนี่ เสียได้

ค. การศึกษาขั้นปฏิบัติ มิได้หมายเพียงการเรียน การฟังการอ่านเท่านั้น
ต้องมีการปฏิบัติให้เห็นประจักษ์แจ้งด้วยจิตใจตนเอง ด้วยการ

(๑) ปัดเรื่องภายนอกทั้งหมดทิ้งเสียก่อน มองย้อนเข้าดูจิตใจตนเอง
(จนรู้ว่ามีความแจ่มใส หรือมัวหมองวุ่นวายอย่างไร)
ด้วยการมีสติสัมปชัญญะกำกับ รู้กายรู้จิตใจอบรมจนจิตทรงตัวเป็นปกติ

(๒) เมื่อจิตทรงตัวเป็นปกติได้ จะเห็นสังขารหรืออารมณ์ทั้งหลาย
เกิดดับเป็นธรรมดา จิตจะว่างวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย
และเห็นรูปนามเกิดดับเองตามธรรมชาติ

(๓) ความรู้ว่าไม่มีตัวตน แจ่มชัดเมื่อใด จึงจะพบเข้ากับสิ่งที่มีอยู่ภายใน
เป็นสิ่งที่พ้นทุกข์ ไม่มีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง เป็นอมตะ
ไม่มีความเกิด ความตาย สิ่งที่มีความเกิดย่อมมีความแก่
ความเจ็บ ความตาย เป็นธรรมดา

(๔) เมื่อเห็นความจริงชัดใจแล้ว จิตจะว่าง ไม่เกี่ยวเกาะอะไร
แม้ตัวจิตเองก็ไม่สำคัญว่าเป็นจิต หรือเป็นอะไร
คือ ไม่ยึดถือตัวเองว่าเป็นอะไรทั้งหมด จึงมีแต่สภาพธรรมล้วนๆ เท่านั้น

(๕) เมื่อบุคคลมองเห็นสภาพธรรมล้วนๆ อย่างแจ่มแจ้ง ย่อมเบื่อหน่าย
ในการทนทุกข์ซ้ำๆ ซากๆ เมื่อรู้ความจริงฝ่ายโลกและฝ่ายธรรมตลอด
แล้วจะเห็นผลประจักษ์เฉพาะหน้าว่า สิ่งที่หลุดพ้นจากทุกข์นั้น
มีอยู่อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องเชื่อตามใคร ไม่ต้องถามใครอีก
เพราะพระธรรมเป็นปัจจัตตังคือรู้เฉพาะตนจริงๆ
ผู้ที่มองเห็นความจริงด้านในแล้ว จะยืนยันความจริงอันนี้ได้เสมอ


ก. เขาสวนหลวง

.................................................

หมายเหตุ

สรุปแนวการปฏิบัติธรรมนี้ ท่าน ก. เขาสวนหลวงได้เรียบเรียงเขียนขึ้นด้วยตนเอง
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2497 เพื่อพิมพ์ในหนังสือ “อ่านใจตนเอง”
ท่าน ก. ได้สังเกตพิจารณาศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ตามแนวนี้มาด้วยตนเอง และเป็นแนวทาง
ที่ท่านได้ย้ำอธิบายแก่ผู้ปฏิบัติธรรม ณ เขาสวนหลวง เสมอมา

.................................................

คัดลอกมาจาก :: ผู้จัดการออนไลน์
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ขอบพระคุณท่านสายลม
ขอบพระคุณที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1902
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2010, 04:18:01 am »

ท่านพุทธทาสกล่าวถึง ก. เขาสวนหลวง


ท่านพุทธทาสได้กล่าวถึงท่าน ก. เขาสวนหลวง
ในการสัมภาษณ์ลงหนังสือ “เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา”
ในฐานะสหายธรรมทาน ว่า

“สำหรับทางฝ่ายราชบุรีนั้น คุณกี นานายน
ได้ร่วมมือในการเผยแผ่อย่างเต็มกำลังสติปัญญาของตน
เป็นผู้มีความประสงค์เพื่อความรู้เรื่องธรรมะโดยแท้
ตลอดเวลาที่ติดต่อกันมาเพื่อธรรมะทั้งนั้น
เมื่อค้าขายรวบรวมเงินทองได้ทุนสำรองไว้เป็นหลักแล้ว
ก็ออกไปตั้งสำนักเองที่สวนหลวง ตอนจะออกไปก็ได้มาคุย
มาบอก มาปรึกษา แกเป็นคนกล้าหาญ ไม่กลัวตาย
มีลักษณะเป็นผู้นำ คิดจะเปิดสำนักสำหรับผู้หญิงขึ้นปกครองดูแลกันเอง
ก็ทำได้อย่างที่แกคิด แกอ่านหนังสือพิมพ์พุทธสาสนา
ศึกษามาอย่างดีแล้วค่อยมาพบ ผมก็ให้พักที่บ้านโยม
กลางวันก็มาคุยกันใต้ถุนกุฎิ ตรงริมสระเล็ก (สวนโมกข์เก่า)
เรื่องที่คุยกันก็เป็นเรื่องปรมัตถธรรม ที่แกได้ศึกษามาแล้ว
มาซักถามเพื่อความเข้าใจ ก็ต้องนับว่าเป็นผู้หญิงพิเศษ
ไม่แต่งงาน น้องสาวก็ไม่แต่งงาน และรับงานทางสำนัก
ต่อมาเมื่อคุณกีตายแล้ว ตอนมาหาผม ไม่มีแววว่ามีความทุกข์อะไรมา
มาแบบนักศึกษาธรรมะ แกอยากแต่งกลอน แต่แต่งไม่เป็น
ผมเลยสอนให้ทางไปรษณีย์
ยังได้เอามาลงหนังสือพิมพ์พุทธสาสนาอยู่หลายชิ้นในสมัยนั้น” 

ขอบพระคุณที่มาhttp://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1922