ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2010, 10:42:05 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่กัลยา
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2010, 08:36:53 pm »





พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่มที่ 13 - หน้าที่ 280

97 ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ คิดว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ สิ่งที่ไม่เคย

มี ก็เกิดขึ้น แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้หนอ แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้จริงหนอ น่ากลัว

ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพก็บันลือลั่นอะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอ

เป็นปัจจัย ทำให้แผ่นดินไหวปรากฏได้

ลำดับนั้นท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ.ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์

นั่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์

เหตุไม่เคยมี ก็มีขึ้น แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้หนอ แผ่นดินนี้ไหวได้จริงหนอ น่ากลัว

ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพก็บันลือลั่น อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็น

ปัจจัยทำให้แผ่นดินไหวได้

เหตุทำให้แผ่นดินไหว 8 อย่างเหตุทำให้แผ่นดินไหว 8 อย่าง





98 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุ 8 อย่าง ปัจจัย 8

อย่างทำให้แผ่นดินไหวได้เหตุ 8 อย่างปัจจัย 8 อย่างเป็นไฉน

ดูก่อนอานนท์ แผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บน

อากาศ สมัยที่ลมใหญ่พัดเมื่อลมใหญ่พัด ย่อมทำน้ำให้ไหวครั้นน้ำไหว

แล้ว ทำให้แผ่นดินไหว นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หนึ่งทำให้แผ่นดินใหญ่

ไหวได้

ดูก่อนอานนท์ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีฤทธิ์ถึงความ

ชำนาญทางจิต หรือเทวดาผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เขาเจริญปฐวีสัญญา

เล็กน้อย เจริญอาโปสัญญา มาก เขาทำแผ่นดินให้ไหว สะเทือน กำเริบ

หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย ข้อที่สอง ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้

ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใด พระโพธิสัตว์เคลื่อนจากดุสิต มีสติสัมปชัญญะ

ก้าวลงสู่พระครรภ์พระมารดาเมื่อนั้นแผ่นดินนี้ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ

หวั่นไหว นี้เป็นเหตุ  เป็นปัจจัยข้อที่สามทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้

ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดพระโพธิสัตว์ มี สติสัมปชัญญะ ประสูติจาก

พระครรภ์พระมารดาเมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ หวั่นไหว

นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สี่ ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้

ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดตถาคต ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็น

ปัจจัย  ข้อที่ห้า  ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.

ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใด ตถาคต ยัง ธรรมจักร อันยอดเยี่ยมให้เป็นไป

เมื่อนั้นแผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็น

ปัจจัยข้อที่หก ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้

ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใด ตถาคต มีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขาร

เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุ  เป็น

ปัจจัย ข้อที่เจ็ด ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.

ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใด ตถาคต ย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส  -

นิพพานธาตุ เมื่อนั้นแผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ หวั่นไหว

นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย ข้อที่แปด ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้