ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 05, 2010, 05:51:57 am »



มรดกที่  ๑๘๑

สัญญลักษณ์กางเขนของศาสนาคริสต์
อาจมองเป็นสัญลักษณ์แห่งหัวใจของพุทธศาสนา
คือการตัดเสียซึ่งตัวตน หรือ The "I";
ถ้ามองเช่นนี้ ก็จะทำงานร่วมกันได้ ในการช่วยโลกให้พ้นจากความเห็นแก่ตัว
ซึ่งเป็นรากฐาน แห่งวิกฤตกาลอันถาวร ของโลก.
 

มรดกที่ ๑๘๒

คำพูดของพระเยซู ที่พุทธบริษัทยินดีรับฟัง
คือข้อความที่ว่า เขี่ยผงในตาตัวเองก่อน,
–จูงอูฐลอดรูเข็ม ง่ายกว่าจูงมิจฉาทิฎฐิมาหาพระ,
–ชีวิตมิได้รอดอยู่ด้วยข้าวปลาอาหาร แต่รอดอยู่ด้วยพระธรรมของพระเจ้า;
และคำตรัสอย่างอื่น ๆ อีกบางแห่ง.

 
มรดกที่ ๑๘๓

การศึกษาที่เปรียบด้วยสุนัขหางด้วนของทั้งโลก
นั้นคือให้เรียนแต่วิชาหนังสือกับวิชาชีพ
ไม่เรียนธรรมะหรือศาสนา ที่สอนให้รู้ว่า เป็นมนุษย์กันให้ถูกต้อง-
-ได้อย่างไร กันเสียเลย.
ขอให้รีบลืมตา และแก้ไขกันเสียก่อนแต่ที่โลกจะเกิดมิคสัญญี.

 
มรดกที่ ๑๘๔

เด็กทั้งหลายนั่นแหละ คือผู้สร้างโลกในอนาคต
เราจงพากัน สร้างโลก โดยผ่านทางการสร้างเด็ก อย่างถูกต้อง-
-เสียแต่บัดนี้เถิด,
อย่าปล่อยเด็กให้เป็นไปตามบุญตามกรรมเลย
จึงจะเป็นการกระทำ ที่มีความรับผิดชอบ อย่างสูงสุด
ของบิดามารดา ครูบาอาจารย์ แห่งยุคนี้
ซึ่งถือว่า เป็นยุคของสติปัญญา.

 
มรดกที่ ๑๘๕

ดี ๖ ดี
: บุตรที่ดีของบิดามารดา
–ศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์
–เพื่อนที่ดีของเพื่อน
– พลเมืองที่ดีของชาติ
–สาวกที่ดีของศาสนา
–มนุษย์ที่เต็มตามความหมายของมนุษย์
เหล่านี้เป็นวัตถุประสงค์ ของการจัดการศึกษาที่ถูกต้องแท้จริงสำหรับมนุษย์.

 
มรดกที่ ๑๘๖

ครู ผู้เปิดประตูทางวิญญาณ เป็นผู้นำทางวิญญาณ
คือผู้สร้างโลกในอนาคต โดยผ่านทางเด็ก
และเป็นผู้มีอาชีพอย่างปูชนียบุคคล.
จงรู้จักครูกันในลักษณะนี้
และร่วมมือกับครู ในการทำหน้าที่ของครูอย่างแท้จริง.


มรดกที่ ๑๘๗

ในที่บางแห่ง วันครู นั่นแหละเป็นวันที่ครูกินเหล้า-
-มากกว่าวันธรรมดา
เมามายกันอย่างลืมตัว เพราะว่าวันอื่น ไม่ได้มาชุมนุมกัน-
-มากมายเหมือนวันนี้.
ควรจะปรับปรุงวันครู ให้เป็นวันครูอย่างแท้จริง
คือรับความเคารพอันบริสุทธิ์ของมหาชน
ด้วยความเป็นปูชนียบุคคลอย่างเพียงพอ.

 
มรดกที่ ๑๘๘

โลกเสียเวลาไปมาก ในการศึกษาเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับความดับ ทุกข์ของโลก โดยตรง
เช่น ศิลปะ–โบราณคดี–ประวัติศาสตร์–ภูมิศาสตร์–วิทยาศาสตร์ และอารยธรรมทางวัตถุ ฯลฯ
ที่ไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกับการดับทุกข์ของมนุษย์ มักจะเตลิดเลยไปแต่ในเรื่องนั้น ๆ.
น่าจะมีการค้นคว้าและศึกษากันเสียให้ถูกต้อง
เกี่ยวข้องกับกรณีที่จำเป็นสำหรับการดับทุกข์ของมนุษย์.


มรดกที่ ๑๘๙

ธรรมิกสังคมนิยม เป็นหัวใจของพุทธธรรม หรือของศาสนาทุกศาสนา
อย่างทีไม่มีใครมอง. ลัทธินี้ มุ่งประโยชน์ร่วมกัน ทั้งของฝ่ายนายทุนและฝ่ายกรรมกร,
และของชีวิตทุกชนิด กระทั่งสัตว์เดรัจฉาน และแม้ต้นไม้ต้นไร่
โดยถือเอาหลักแห่งการเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน เป็นหลักพื้นฐาน.




Credit by : http://www.buddhadasa.org/html/life-work/heritage/index.html
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 05, 2010, 05:37:24 am »



มรดกที่  ๑๗๑

ท้าวมาลีวราช ที่นั่งจับปูใส่กระด้ง อย่างไม่มีวันสิ้นสุด
นั้นน่าจะได้แก่องค์การสหประชาชาติ
ที่ระงับวิกฤตการณ์แต่ละกรณี โดยไม่ใช้หลักธรรมะ ในแต่ละศาสนา
เข้าไปเป็นเครื่องตัดต้นเหตุเสียเลย.

 
มรดกที่ ๑๗๒

แผ่นดินทอง ต้องสร้างด้วยแผ่นดินธรรม ของแผ่นดินไทย
ที่พลเมืองไม่เป็นทาสของกิเลส จนอยู่ใต้กะลาครอบของอวิชชา
ซึ่งทำให้บูชาอบายมุข เป็นต้น จึงจะสำเร็จ.

 
มรดกที่ ๑๗๓

การทำความเข้าใจระหว่างศาสนา
ไม่อาจตกเป็นหน้าที่ของประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ
แต่เป็นหน้าที่ขององค์การรวมประเทศ เช่นสหประชาชาติเป็นต้น จะพึงกระทำ
เพื่อสามารถใช้หัวใจของทุกศาสนารวมกัน แล้วใช้แก้ปัญหาของโลกได้
ซึ่งจะไม่ต้องใช้เงินเหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
ซึ่งกำลังใช้อยู่ ในการกระทำบางอย่าง.

 
มรดกที่ ๑๗๔

พุทธศาสนาก็มีพระเจ้า
แต่มิใช่เป็นพระเจ้าอย่างบุคคลหรือ เป็นจิตเป็นวิญญาณ
ที่มีความรู้สึกอย่างบุคคล;
หากแต่เป็นกฏของธรรมชาติที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาโท
ที่สามารถสร้างพระเจ้าอย่างบุคคล ขึ้นในหัวใจของมนุษย์ ผู้ไม่อาจจะรู้จักพระเจ้าที่แท้จริง.
อย่าคิดว่าพุทธศาสนาไม่มีพระเจ้า.

 
มรดกที่ ๑๗๕

ความหมายของคำว่าพระเจ้า ในภาษาธรรม
คือกฏหรืออำนาจที่บันดาลให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามกฏ.
ส่วนพระเจ้าในภาษาคน คือผู้ที่ถูกสมมติเรียกกันว่า ผู้สร้าง–ผ้ควบคุม–ผู้ทำลาย
มีไว้สำหรับพวกที่ ทำอย่างไรเสียก็ไม่สามารถเข้าถึงพระเจ้าในภาษาธรรม.

 
มรดกที่ ๑๗๖

พุทธศาสนาเป็นระบบวิทยาศาสตร์
และมีกฏธรรมชาติเป็นพระเจ้า อย่างมิใช่บุคคล
เป็นกฏที่สามารถแทรกซึม อยู่ในทุกปรมาณูของทุกสิ่งที่ประกอบกันขึ้นเป็นจักรวาล,
และบังคับสิ่งนั้ฯให้เป็นไปตามกฏ.

 
มรดกที่ ๑๗๗

ในแง่ของจริยธรรม พระเจ้าก็คือหน้าที่ของมนุษย์ ที่ช่วยให้ มนุษย์รอด ทั้งสองความหมาย
(คือรอดชีวิตและรอดจากความทุกข์)
ซึ่งที่แท้ก็คือ ธรรมะที่ต้องประพฤติ ให้ถูกต้องแก่ความเป็นมนุษย์ของมนุษย์ นั่นเอง.
เราจงบูชาพระเจ้ากันด้วยการทำหน้าที่ของตน ๆ อย่าให้บกพร่องแม้แต่ประการใด.
ทุกคนก็จะมีพระเจ้า ที่อาจจะช่วยหรืออาจจะคุ้มครองตนได้อย่างแน่นอน.

 
มรดกที่ ๑๗๘

GOD ก็คือกฏ ในเมื่อเราออกเสียงคำนั้นให้สั้นเข้า,
นี้เป็นการบังเอิญทางภาษาที่น่าขบขัน,
แต่ก็ทำให้มี GOD กันได้ทุกพวก ทั้งที่เป็นและมิได้เป็นนักวิทยาศาสตร์;
ทำให้มีทางที่จะหันหน้ามามองดูกันได้ ในระหว่างมนุษย์ ของทุก ๆ ศาสนา.

 
มรดกที่ ๑๗๙

สิ่งที่เรียกว่า Religion หรือศาสนา ที่แท้จริง
นั้น คือระบบการปฏิบัติ ที่ทำให้เกิดการผูกพันและถึงกันเข้า
ระหว่างมนุษย์กับสิ่งสูงสุดหรือบรมธรรม
ซึ่งในทางพุทธศาสนาเรียกสิ่งนั้นว่านิพพาน
อันเป็นจุดหมายปลายทาง ของชีวิตที่แท้จริง
ยิ่งกว่าการเข้าอยู่กับพระเป็นเจ้า ที่มีความรู้สึกอย่างบุคคล.

 
มรดกที่ ๑๘๐

หัวใจของพุทธศาสนา ที่มีอยู่ที่หน้าแรก ๆ ของคัมภีร์ไบเบิ้ล
คือคนเริ่มมีความทุกข์หรือมีบาป ตั้งแต่เริ่มรู้จักดี–ชั่ว
สำหรับจะยึดถือด้วยอุปาทาน เพราะได้กินผลไม้ (คือการเจริญขึ้นมาถึงขั้น)
ขนาดที่รู้จักดี – ชั่ว สูงกว่าสัตว์ก่อนหน้านั้น.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 05, 2010, 05:32:41 am »



มรดกที่  ๑๖๑

ความเจริญที่เต็มไปด้วยแสง–สี–เสียง
นั้นมีไว้สำหรับให้ผีหัวเราะเยาะคนว่าดีแต่ทำสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้
แล้วสร้างปัญหายุ่งยาก ทางเศรษฐกิจและศีลธรรม ให้แก่ตัวเอง
จนเป็นโรคประสาท และมีอาชญากรรม กันเต็มบ้านเต็มเมืองแล้ว.

 
มรดกที่ ๑๖๒

กิจกรรมที่เป็นอบายมุข คือขุมทรัพย์สมบัติของพวกนายทุน
ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน จนถึงกับทำนาบนหลังคนเขลาคนผีสิง ได้อย่างสนุกสนาน
แต่เดือดร้อนกันค่อนบ้านค่อนเมือง,
ทั้งนี้ เพราะเห็นแก่ตัว โดยไม่เห็นแก่ธรรม อย่างที่ไม่น่าจะมีในโลก.


มรดกที่ ๑๖๓

ผลลัพธ์ของปรัชญาชนิด Philosophy นั้นเป็นเพียงทรรศนะหนึ่ง ๆ เท่านั้น
ยังมิใช่ความเห็นแจ้งแทงตลอด ตามความหมายของคำว่าปรัชญา-
ในภาษาของชาวอินเดีย;
แต่ชาวโลกแห่งยุคปัจจุบัน ได้ฝากจิตใจไว้กับปรัชญา-
ชนิด Philosophy กันมากเกินไปจนถอนไม่ออก.

 
มรดกที่ ๑๖๔

ขอชักชวน ในความกล้าหาญทางจริยธรรม
แม้ในกรณี ที่ต้องสละชีวิต เพื่อความคงอยู่ของจริยธรรมในโลก
อันเป็นหนทางรอดทางเดียวของมนุษยชาติ.
แต่การศึกษาของโลกสมัยนี้ไม่ได้ให้คุณค่าทางจริยธรรมมากถึงขนาดนี้.

 
มรดกที่ ๑๖๕

กินแต่เนื้อก็เป็นยักษ์ กินแต่ผักก็เป็นค่าง
ดังนั้น พุทธบริษัทจึงกินแต่อาหารที่บริสุทธิ์
ปราศจากความหมายมั่นด้วยอุปาทาน ว่าเป็นนั่นเป็นนี่,
นอกจากเป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติ ควรแก่การบริโภค
ของบุคคลผู้ปรารถนาความเป็นอิสระจากกิเลส.

 
มรดกที่ ๑๖๖

ระบบธรรมชีวีของฆราวาสในทุกอิริยาบถ เป็นระบบที่ควรสนใจ
นั่นคือความมีสติสัมปชัญญะในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
ทุกชนิดทุกระดับ ในฐานะเป็นธรรมะที่ช่วยให้รอด
ทั้งทางกายและทางจิต อยู่อย่างเป็นสุขในขณะที่กำลังทำหน้าที่นั้น ๆ
ไม่ต้องซื้อหาความสุขอย่างอื่น ให้เปลืองเงิน และเป็นสิ่งหลอกลวง.

 
มรดกที่ ๑๖๗

สัตว์ไม่กลัวผี เลยไม่มีผี; คนกลัวผี เลยมีผี
นี่น่าหัว และน่าละอายสัตว์ไหม?
มันเป็นความโง่ของพวกที่สร้างผีขึ้นมาเอง แล้วกลัวผีอยู่หรือเปล่า?
จงได้พิจารณาดูให้ดี ๆ เถิด จะได้หมดปัญหาเรื่องผี กันเสียที.

 
มรดกที่ ๑๖๘

ในโลกนี้ มีแต่การแลกวัฒนธรรมผีสิง
(เช่นแบบระบำที่คุณย่าคุณยาย ดูแล้วเป็นลมเป็นต้น)
ไม่มีผลเพื่อสันติภาพเลย แล้วยังส่งเสริมกิเลส
ซึ่งเป็นรากฐานของวิกฤตการณ์ทุก ๆ อย่างในโลกอีกด้วย.
ระวังการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระดับชาติประเภทนี้ กันให้ยิ่งกว่าระวังคอมมิวนิสต์
ซึ่งระวังกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ให้พวกคอมมิวนิสต์หัวเราะเยาะเปล่า ๆ.

 
มรดกที่ ๑๖๙

ขอเน้นความกล้าหาญทางจริยธรรมอีกครั้งหนึ่ง
ว่าเป็นสิ่งที่ใช้แก้ปัญหาของสังคมได้
คือกล้าหาญในการเว้นชั่ว–ทำดี–ช่วยให้มีการทำดี และปราบปรามการทำชั่ว,
ซึ่งสรุปความได้ว่าเป็นการยอมเสียสละทุกอย่าง
เพื่อความมีอยู่แห่งธรรมะ และยอมตายด้วยการมีธรรมะ
ซึ่งเป็นยอดสุดของความกล้าหาญ.

 
มรดกที่ ๑๗๐

รบกันพลาง แลกธรรมะกันพลาง
นี้คือการกระทำที่เหมาะสมแก้โลกยุคปัจจุบัน
อันเต็มไปด้วยวิกฤตการณ์แห่งสงคราม;
อย่ามัวแต่แลกวัฒนธรรม ที่ส่งเสริมกิเลสและความเห็นแก่ตัว กันอยู่เลย.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 04, 2010, 09:52:15 am »


มรดกที่  ๑๕๑

ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า นิพพานหาพบได้ที่วัฏฏสงสาร
เพราะความดับแห่งวัฏฏสงสาร ก็ต้องมีที่วัฏฏสงสารนั่นเอง,
เหมือนการดับของไฟ ก็ต้องมีที่ไฟนั่นแหละ;
นิพพานคือการดับแห่งวัฏฏสงสารจึงหาพบได้ที่วัฏฏสงสาร ฉันใดก็ฉันนั้น.
นี้เป็นอภิธรรมที่ยิ่งกว่าอภิธรรม !

 
มรดกที่ ๑๕๒

การพูดว่า ทุกข์เพราะยึดมั่นนั้นถูกกว่า เข้าใจได้ง่ายกว่า
กว่าที่จะพูดว่า ทุกข์เพราะตัณหา,
เพราะยึดมั่นสิ่งใด ก็หนักอกหนักใจเพราะสิ่งนั้น;
และตามกฏปฏิจจสมุปบาทก็กล่าวว่า ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน
อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ–ชาติ–ทุกข์;
นั่นคือตัณหาต้องปรุงเป็นอุปาทานเสียก่อน
คือยึดมั่นถือมั่นเสียก่อน จึงจะเกิดความหนักและเป็นทุกข์
ได้ในบทว่า ภารา หเว ปัญจักขันธา ภาราทานัง ทุกขัง โลเก ดังนี้.

 
มรดกที่ ๑๕๓

ทฤษฏีและคำพูดที่เกี่ยวกับ ตัวกู–ของกู นั้นมีทั้งภาษาคนและภาษาธรรม
: ภาษาคนสำหรับเด็ก ๆและคนโง่ พูดตามที่พูดกันอยู่ ด้วยความรู้สึกยึดมั่นในตัวตน;
ส่วนภาษาธรรมนั้น สำหรับพระอริยเจ้าพูด ด้วยจิตที่ปราศจากความยึดถือ จึงฟังยากสำหรับบุถุชน.

 
มรดกที่ ๑๕๔

โลกรอดได้ แม้เพียงด้วยมนุษย์เป็นผู้กตัญญูกตเวที
คือรู้ว่ามนุษย์แต่ละคน ต่างมีบุญคุณต่อกัน แล้วก็เบียดเบียนกันไม่ได้,
และรู้ว่าโลกมีบุญคุณแก่มนุษย์ โดยให้ปัจจัยแก่ชีวิต
จึงทำลายโลกไม่ได้ : เพียงเท่านี้โลกก็รอดแล้ว.

 
มรดกที่ ๑๕๕

สวรรค์มีขึ้นในใจของผู้นั้น ทันทีที่เขายกมือไหว้ตัวเองได้
ในการทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องตามธรรม และพอใจตัวเองถึงขีดสุด.
นี่เป็นสวรรค์ที่แท้จริง ที่นี่และเดี๋ยวนี้. สวรรค์อย่างอื่นทุกชนิด ขึ้นอยู่กับสวรรค์นี้.

 
มรดกที่ ๑๕๖

สิ่งที่ต้องรู้จักเป็นพิเศษ คือ ๓ ก. และ ๓ ส.
๓ ก. คือ กิน–กาม–เกียรติ ย่อมกัดเอาผู้เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างโง่เขลา แล้วก่อให้เกิดกิเลส.
กำจัดโทษของ ๓ ก. แล้วมี ๓ ส. คือ สะอาด–สว่าง–สงบ.
ที่ต้องรู้จักเป็นพิเศษ ก็เพราะยากที่จะรู้จักมันตามที่เป็นจริง,
มักจะรู้จักกันอยู่ ตามที่มันแสดงตัวอย่างที่มันไม่เป็นจริง
เพราะความเขลา ของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องนั่นเอง.

 
มรดกที่ ๑๕๗

คู่ชีวิตที่แท้จริง คือธรรมะที่ปฏิบัติอย่างถูกต้อง อยู่กะเนื้อกะตัว
ช่วยให้รอดชีวิต และปราศจากปัญหาทั้งปวง;
มิใช่คู่กินคู่นอน ซึ่งมีการกระทำอันส่งเสริมกิเลส และสร้างปัญหาผูกพันขึ้น นานัปการ
โดยมีการกระทบ ฮื่อแฮ่กันอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะต้องใช้ธรรมะเป็นเครื่องระงับอีกนั่นเอง.
ขอให้รู้จักสิ่งที่อาจจะเป็นคู่ชีวิตได้จริง อย่างที่ผีจะไม่หัวเราะเยาะ.

 
มรดกที่ ๑๕๘

หน้าที่และสิทธิของสตรีที่แท้จริงและควรจะมี
เพื่อความรอดของมนุษยโลกนั้น มิใช่ความมีสิทธิเสมอภาค และอย่างเดียวกันกับบุรุษ,
หากแต่ยอมรับหน้าที่ในการอบรมลูกที่เกิดมา ให้มีความเป็นมนุษย์ ที่ถูกต้องและสมบูรณ์,
โดยไม่ต้องแย่งหน้าที่ของพ่อบ้านมาทำ อย่างที่ทำกันอยู่
ซึ่งจะทำให้�โลกนี้ ปราศจากมารดา.
 

มรดกที่ ๑๕๙

ทำไมต้องไปหาหมอดูให้เสียเวลา
: เพราะแม้หมอจะทายว่าโชคดี เราก็ยังต้องทำดีด้วยความไม่ประมาทอยู่ดี,
แม้หมอทายว่าโชคร้าย เราก็ยังต้องทำดี ด้วยความไม่ประมาทอย่างเต็มที่อย่างนั้นเอง.
พุทธบริษัทไม่ต้องไปดูหมอ ให้เสียทรัพย์เสียเวลา
เพราะเขารู้จักสิ่งที่มีอำนาจอยู่เหนือโชค โดยประการทั้งปวง,
คือการประพฤติถูกต้อง ตามกฏอิทัปปัจจยตา
ชนิดที่ทำให้อยู่เหนือโชคเหนือกรรม ได้โดยสิ้นเชิง.

 
มรดกที่ ๑๖๐

คนที่เติบโตขึ้นมา โดยไม่เคยเกี่ยวข้องกับระบบของศีลธรรม
ได้รับการแวดล้อมแต่ด้วยระบบความก้าวหน้าแห่งยุคปรมาณู
นั้นจะมีนิสัยทนงก้าวร้าวโอหัง ด้วยความเห็นแก่ตัว
อย่างไม่เห็นแม้แก่ชาติของตัว แล้วจะเห็นแก่โลก ได้อย่างไร.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 04, 2010, 06:46:07 am »

มรดกที่  ๑๔๑

ขอให้ตั้งต้นการศึกษาธรรมะด้วยการรุ้จักนิวรณ์ และภาวะที่ไม่มีนิวรณ์
อันเป็นสิ่งที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน ด้วยกันทุกวันและทุกคน.
นี้จะเป็นการง่ายเข้า ในการที่จะรู้จักกิเลสอย่างชัดเจน
และปรารถนาชีวิตที่ไม่มีกิเลส หรือคุณค่าของพระนิพพาน ได้ง่ายเข้า.

 
มรดกที่ ๑๔๒

"ชีวิตใหม่" สำหรับผู้ถือศาสนาอะไรก็ได้
คือการทำหน้าที่ให้ถูกต้อง แก่ความเป็นมนุษย์ของตน ๆ
ทุกขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการ ตั้งแต่เกิดจนตาย
ทั้งเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ผ้อื่น.


มรดกที่ ๑๔๓

อนุปาทิเสสนิพพาน ไม่เกี่ยวกับความตาย
หากหมายถึงความดับเย็น ถึงระดับเย็นสนิท ของกิเลสและเบญจขันธ์
มีชีวิตอยู่เสวยรสแห่งความเย็นนั้น จนกว่าจะสิ้นชีวิต
เพราะหมดปัจจัยส่วนชีวิตหรือรูปนาม.
ถือเป็นหลักได้ว่า "นิพพานในพุทธศาสนา ในทุกความหมาย ไม่เกี่ยวกับความตาย".

 
มรดกที่ ๑๔๔

นิพพานเป็นของให้เปล่า โดยไม่ต้องเสียสตางค์
นั้นเป็นเพียงการเสียสละความยึดถือว่าตัวตนออกไปเสีย,
เป็นความสงบเย็นสูงสุดแห่งชีวิต ที่มีความเต็มสูงสุดแห่งความเป็นมนุษย์ กันที่นี่และเดี๋ยวนี้.
แต่ก็ยังไม่เป็นที่สนใจในหมู่พุทธบริษัทเอง
ต้องการแต่ชนิดในอนาคตกาลนานไกล และต่อตายแล้ว
โดยยอมเสียสตางค์มาก ๆ เพื่อเตรียมสิ่งที่เป็นปัจจัยแก่นิพพาน.

 
มรดกที่ ๑๔๕

ขอยืนยันว่า นิพพานก็มิใช่ตัวตนของใคร หรือแม้แต่ของนิพพานเอง
แล้วจะมาเป็นสมบัติของใครได้;
เพียงแต่ทุกคนเปิดใจให้ถูกต้องเพื่อรับรัศมีเย็น
อันเกิดมาจากความไม่มีตัวตนของนิพาน จนตลอดชีวิตก็พอแล้ว
คือทำตนไม่ให้เป็นของใคร หรือแม้แต่ของตนเอง.

 
มรดกที่ ๑๔๖

ดับทุกข์ที่ทุกข์ ดับไฟที่ไฟ อย่าเอาไปไว้คนละแห่งคนละชาติ
คือทุกข์อยู่ในชาตินี้ แล้วจะดับทุกข์หรือนิพพาน ต่อชาติอื่น อีกหลายร้อยหลายพันชาติ
: จะดับไม่ได้ และมีแต่การละเมอเฟ้อฝัน.
จะต้องดับที่ตัวมัน และให้ทันแก่เวลา เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น
ก็มีสติสัมปชัญญะทันควัน จัดการกับผัสสะนั้นทันที
จนทุกข์ไม่อาจจะเกิดขึ้น หรือดับไป,
เดี๋ยวนี้มักจะเอาทุกข์กับดับทุกข์ ไว้คนละชาติ.


มรดกที่ ๑๔๗

ทั้งชั่วทั้งดี ล้วนแต่อัปรีย์ คือไม่น่ารัก
ล้วนแต่ทำให้วิ่งแจ้น ไปในความวนเวียน
ด้วยอำนาจการผลักดันของความชั่วและความดีนั้น.
มาแสวงหา และอยู่กับความสงบ ที่ไม่ชั่วไม่ดีกันดีกว่า, ไม่ต้องวิงให้วุ่นวาย;
ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ แล้วอยู่ด้วยความสงบเย็น.

 
มรดกที่ ๑๔๘

ปัญญาต้องมาก่อนทุกสิ่งที่จะปฏิบัติ นี้คือหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง
เหมือนอริยมรรคมีองค์แปดที่มีสัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ;
มิฉะนั้นการปฏิบัติจะเข้ารกเข้าพง พลาดวัตถุประสงค์ไปเสียหมดสิ้น
นับตั้งแต่สรณาคมน์ และศีล ดังที่กำลังมีอยู่ในที่ทั่วไป.
 

มรดกที่ ๑๔๙

สวดปัจจเวกขณ์กันเพียงครึ่งท่อน ของความจริงทั้งหมด
ว่าเรามีความเกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมดา ไม่อาจพ้นความเกิดแก่เจ็บตายไปได้;
แต่พระพุทธองค์ตรัสว่า
"ถ้าได้อาศัยเราเป็นกัลยาณมิตรแล้ว สัตว์ทั้งหลายจะพ้นจากความเกิดแก่เจ็บตาย"
และตรัสระบุการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์แปดว่าเป็การมีพระองค์เป็นกัลยาณมิตร.
เรามีแต่การสวดบทที่หลอนตัวเอง ให้กลัวความเกิดแก่เจ็บตายอย่างเปล่า ๆ ปลี้ ๆ,
นี้เป็นความเหลวไหลของสาวกเอง ในการรับถือพุทธศาสนา.

 
มรดกที่ ๑๕๐

จิตว่างแท้จริงทางธรรมะ ต่างจากจิตว่างของอันธพาล
ซึ่งไม่รู้จักจิตว่างที่แท้จริง แล้วกล่าวหาว่า จิตว่างไม่ทำอะไร ไม่รับผิดชอบอะไร;
ทั้งที่จิตว่างแท้จริงนั้น ทำหน้าที่ทุกอย่าง ได้อย่างฉลาดเฉลียว ถูกต้องและไม่เห็นแก่ตัว.
จงรู้จักจิตว่างกันเสียใหม่เถิด.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 02, 2010, 04:03:15 pm »

มรดกที่  ๑๓๑

ขอย้ำอีกว่า สิ่งที่เรียกว่า "ตัวตน" เป็นเพียงความรู้สึก ที่เพิ่งเกิดปรุงขึ้นมา
เมื่อมีความอยากอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยอำนาจของอวิชชา เกิดขึ้นมาในใจเท่านั้น.
เมื่อเป็นเพียงความรู้สึก ที่เป็นปฏิกิริยาของความอยากเช่นนี้
จึงเป็นสิ่งที่เป็นของลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีตัวจริงอะไรที่ไหน;
แต่ถึงกระนั้น ก็มีอำนาจมากพอ ที่ทำให้เกิดกิเลสสืบต่อไป และเป็นความทุกข์ได้.

 
มรดกที่ ๑๓๒

นรกที่แท้จริง คือความรู้สึกอิดหนาระอาใจตัวเอง จนยกมือไหว้ตัวเองไม่ลง ตรงกันข้ามจากสวรรค์ คือความรู้สึกพอใจตัวเอง จนยกมือไหว้ตัวเองได้อย่างชื่นใจที่นี่และเดี๋ยวนี้. นรกและสวรรค์อย่างอื่น ๆ จะมีอีกกี่ชนิด ก็ล้วนแต่ขึ้นอยู่กับนรกและสวรรค์ ๒ ชนิดนี้ทั้งนั้น.

 
มรดกที่ ๑๓๓

การเห็นตถตา หรือ "ความเป็นเช่นนั้นเอง" ของสิ่งทุกสิ่ง
นั้นคือญาณทัสสนะอันสูงสุดของพระอริยเจ้า
สามารถห้ามเสียซึ่งความประหลาดใจในสิ่งใด ๆ
ห้ามความรัก–โกรธเกลียด–กลัว–วิตกกังวล–อาลัยอาวรณ์–อิจฉาริษยา–หึง–หวง–ลังเล–ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
อันเป็นสมบัติของบุถุชนเสียได้โดยเด็ดขาด.

 
มรดกที่ ๑๓๔

การที่จะเกิดสุขหรือทุกข์ ทำผิดหรือทำถูก
นั้นขึ้นอยู่กับการสัมผัสอารมณ์ที่มากระทบ
ว่าสัมผัสมันด้วยวิชชาหรืออวิชชา, คือมีสติสัมปชัญญะหรือไม่.
ถ้ามีสติสัมปชัญญะ ก็ควบคุมการปรุงแต่งของจิตไว้ได้
ในลักษณะที่ไม่เกิดกิเลสและความทุกข์;
ถ้าปราศจากสติสัมปชัญญะ ก็ตรงกันข้าม.

 
มรดกที่ ๑๓๕

ของจริง เห็นด้วยใจของพระอริยเจ้า, ของเท็จ เห็นด้วยตาของบุถุชน
ดังนั้นจึงต่างกันมาก : ต่างฝ่ายต่างเชื่อตามความรู้สึกของตน ๆ และได้ผลตรง
ตามสถานภาพแห่งจิตของตนๆ ด้วยกันทั้งสองฝ่าย.

 
มรดกที่ ๑๓๖

หลักตัดสินว่า ผิด–ถูก ชั่ว–ดี ในพุทธศาสนา
ไม่ยุ่งยากลำบาก เหมือนของพวกปรัชญาชนิด Philosophy หรือพวกตรรกวิทยา Logics
คือถ้ามีผลไม่เป็นที่เสียหายแก่ใคร และเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ก็ถือว่าถูกหรือดี.
ถ้าตรงกันข้าม ก็ถือว่าผิดหรือชั่ว, ไม่ต้องอ้างเหตุผลอย่างอื่น ให้ลำบาก.

 
มรดกที่ ๑๓๗

อย่าทำอะไรด้วยความหวัง หรือด้วยความยึดมั่นถือมั่น
แต่ทำด้วยสติปัญญา หรือสมาทานด้วยสติปัญญา,
มิใช่ด้วยอุปาทาน อันมีความหมายแห่งการทำเพื่อตัวกู.
การทำด้วยสติปัญญานั้น เป็นการทำเพื่อธรรมอย่างที่เรียกว่า ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่,
มิใช่ทำเพื่อตน แต่ทำเพื่อคนทั้งโลก หรือทุกโลก.

 
มรดกที่ ๑๓๘

ลัทธิที่สอนว่ามีตัวตน ย่อมนำไปสู่ความเห็นแก่ตน ระดับใดระดับหนึ่งเสมอไป
จึงดับทุกข์โดยสิ้นเชิงไม่ได้ เพราะเป็นกิเลสหรือมีกิเลสอยู่ในความเห็นแก่ตัวนั่นเอง.
ต้องเห็นแก่ธรรมคือหน้าที่ที่ถูกต้องสำหรับการดับทุกข์, โดยหมดตนจึงจะหมดทุกข์.

 
มรดกที่ ๑๓๙

ความไม่ยึดมั่นอะไรว่าเป็นตัวตนของตน
ยังมีแต่สิ่งที่กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
นั้นไม่เกี่ยวกับลัทธิอะไร ๆ ที่ถือว่าตายแล้วสูญ หรือว่าไม่มีอะไรเสียเลย.
มันต่างกันยิ่งกว่าฟ้ากับดิน,
ขอให้พยายามเข้าใจอย่างถูกต้องเถิด
จะเข้าถึงหัวใจของพทธศาสนาที่ว่า
ทุกอย่างมิใช่ตัวตน นั้นอย่างถูกต้อง.

 
มรดกที่ ๑๔๐

ความสุขที่แท้จริง ไม่ต้องใช้เงินเลย แต่กลับทำให้เงินเหลือ
: ความสุขที่หลอกลวง ยิ่งต้องใช้เงิน จนเงินไม่พอใช้.
ความสุขที่แท้จริง เกิดจากการทำงานด้วยความพอใจ
จนเกิดความสุขเมื่อกำลังทำงาน จึงไม่ต้องการความสุขชนิดไหนอีก,
เงินที่เป็นผลของงาน จึงยังเหลืออยู่,
ส่วนความสุขที่หลอกลวงนั้น คนทำความพอใจให้แก่กิเลส ซึ่งไม่รู้จักอิ่มจักพอ เงินจึงไม่มีเหลือ.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 02, 2010, 03:42:57 pm »

มรดกที่  ๑๒๑

การจัดพระไตรปิฎกเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด ให้เหมาะสมสำหรับยุคปรมาณูโดยเฉพาะ
คือชักออก ๓๐% สำหรับนักศึกษาปัญญาชน,
ชักออกอีก ๓๐% สำหรับนักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีตัวยง;ที่เหลืออยู่ ๔๐% เป็นเรื่องดับทุกข์โดยตรง
ก็ยังมากกว่าคัมภีร์ในศาสนาอื่น ๆ อีกมากมายหลายเท่า.
ทั้งหมดนี้มิได้เป็นการจ้วงจาบพระไตรปิฎก
แต่เป็นการปรับให้เหมาะสม สำหรับยุค.

 
มรดกที่ ๑๒๒

เรียนชีวิตจากชีวิต ดีกว่าเรียนจากพระไตรปิฎก
ซึ่งบอกเพียงวิธีเรียนชีวิตได้อย่างไร แล้วนำไปเรียนที่ตัวชีวิตเอง
เมื่อยังไม่ตายและมีเรื่องดับทุกข์โดยเฉพาะ ให้เรียนอย่างเพียงพอ;
นี้คือการเรียนความทุกข์จากความทุกข์
และพบความดับทุกข์ที่ตัวความทุกข์นั่นเอง.

 
มรดกที่ ๑๒๓

การเตรียมพระไตรปิฎกเพื่อเสนอแก่โลกยุคปรมาณูอันสูงสุด
นั้นต้องเป็นคนกล้าและบริสุทธิ์ใจ
พอที่จะใช้หลักกาลามสูตร เป็นเครื่องคัดเลือกและจัดสรร
ให้เหลืออยู่แต่แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
แล้วจึงหยิบยื่นให้ไป จึงจะสำเร็จประโยชน์.


มรดกที่ ๑๒๔

นิพพานแท้ ที่เป็นสันทิฏฐิโก
คือความเย็นแห่งชีวิต ที่เย็นที่นี่และเดี๋ยวนี้
อยู่ตลอดเวลาเพราะกิเลสไม่เกิดขึ้น และไม่มีอุปาทานว่าตัวตน
สำหรับรับผลกรรมใด ๆ ทั้งดีและชั่ว;
นี่แหละคือข้อที่นิพพานแท้
นั้นเป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับความตาย.

 
มรดกที่ ๑๒๕

ยิ่งเจริญคือยิ่งบ้า ตามประสาวัตถุนิยมชักนำไป แล้วเข้าใจว่ายิ่งเจริญ;
นั่นคือการวิ่งฝ่าเข้าไปในดงแห่งปัญหาอันยุ่งยาก
อันมนุษย์สร้างขึ้นมาเอง โดยไม่รู้ความหมายแห่งความเป็นมนุษย์.

 
มรดกที่ ๑๒๖

การอยู่อย่างเป็นเกลอกับธรรมชาติ
นั้นให้ความสะดวกในการเข้าถึงสัจจธรรมของธรรมชาติ
อันจะทำให้หมดปัญหาทุกประการ ที่เกิดมาจากธรรมชาติ
เพราะสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้โดยแท้จริง.

 
มรดกที่ ๑๒๗

บุถุชน คือคนที่ยังไม่รู้จักสิ่งที่ควรรู้จัก
แม้จะตำตาอยู่เสมอ คือไม่รู้จักนิวรณ์ทั้งห้า
อันได้แก่ความครุ่นในกาม–พยาบาท–หดหู่–ฟุ้งซ่าน–ลังเลในชีวิต
ว่าเป็นสิ่งทำลายความสงบสุข
หรือไม่รู้ว่า ความโลภ–โกรธ–หลง
นั้นเป็นสิ่งนำมาซึ่งทุกข์, แล้วก็ไม่กลัว;
จึงได้ชื่อว่าบุถุชน คือคนมีความหนา แห่งไฝฝ้าในดวงตา.

 
มรดกที่ ๑๒๘

ธรรมะสำหรับคนเกลียดวัด
ที่บูชาอบายมุข ทรมานอยู่ด้วยโรคประสาท เพราะบูชาเงิน จะได้สำนึกตัวเสียบ้าง
ก็คือความรู้ในข้อที่ว่า เราไม่ได้เกิดมาสำหรับเป็นทาสกิเลส
หรือเป็นทาสตา หู จมูก ลิ้น กาย ทางเนื้อหนัง
แล้วจมปลักอยู่ในกองทุกข์ในโลกนี้ เพราะความเป็นทาสนั่นเอง.
 

มรดกที่ ๑๒๙

ศีลห้า ที่มีความหมายอันสมบูรณ์
นั้นสรุปลงได้ในคำว่า "ความไม่ประทุษร้าย ๕ ประการ"
คือ ไม่ประทุษร้ายชีวิต
–ไม่ประทุษร้ายทรัพย์
–ไม่ประทุษร้ายของรัก
–ไม่ประทุษร้ายความป็นธรรมของผู้อื่น
–ไม่ประทุษร้ายสติสัมปฤดีของตนเอง.
อย่างนี้แล้วไม่มีช่องว่างสำหรับจะบิดพริ้วหลีกเลี่ยง
หรือแก้ตัวแต่ประการใด.

 
มรดกที่ ๑๓๐

โดยปรมัตถ์แล้ว : ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครอยู่ ไม่มีใครตาย
มีแต่กระแสแห่งสังขารการปรุงแต่งตามกฏอิทัปปัจจยตา ของธาตุตามธรรมชาติ.
เมื่อไม่มีใครตาย แล้วจะมีใครไปเกิด
ดังนั้น ตามหลักพุทธศาสนา จึงไม่มีวิญญาณนี้ หรือวิญญาณไหนสำหรับไปเกิดใหม่,
เว้นเสียแต่จะพูดโดยภาษาคนของมนุษย์ในสมัยที่ยังไม่มีความรู้เรื่องนี้
แล้วก็พูดตาม ๆ กันมา.
ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: ธันวาคม 02, 2010, 03:36:03 pm »



:07: :07: :07:

:07:คลิ๊กที่่ spoiler :07:

[spoiler]http://video.th.msn.com/watch/video/sleeping-puppy-dreaming/1jkggygtd?from=th-th&fg=dest[/spoiler]
ข้อความโดย: ดอกไม้ในที่ลับตา ~ ღ
« เมื่อ: ธันวาคม 02, 2010, 02:48:21 pm »

มรดกที่ ๖๒

ธรรมะมีไว้ช่วยให้อยู่ในโลกอย่างชนะโลก หรือเหนือโลก
มิใช่ให้หนีโลก แต่อยู่เหนืออิทธิพลใด ๆ ของโลก ไม่ใช่จมอยู่ในโลก.
มักสอนให้เข้าใจกันผิด ๆ ว่า ต้องหนีโลก ทิ้งโลก สละโลก
อย่างที่ไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใครเลย.

 
มรดกที่ ๖๓

ธรรมะเป็นสิ่งที่อธิบายยากเพราะคำพูดของมนุษย์มีไม่พอ
คือไม่มีคำสำหรับใช้กับสิ่งที่มนุษย์ยังไม่เคยรู้จักมาก่อน;
ดังนั้น จึงต้องพยายามพูดและพยายามฟัง จนเข้าใจหรือรู้จัก
โดยความหมาย ทั้งในภาษาคนและภาษาธรรม พร้อมกันไป.

 
มรดกที่ ๖๔

ธรรมะมิใช่ตัวหนังสือหรือเสียงแห่งการแสดงธรรม แต่เป็นการกระทำหน้าที่ที่ถูกต้อง
ของผู้ปฏิบัติแต่ละคน อยู่ทุกอิริยาบท–ทุกเวลา–ทุกสถานที่
อย่างถูกต้องแก่ความเป็นมนุษย์ของตน และผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกัน,
จึงจะเป็นธรรมะที่ถูกต้องตามหลักแห่งพุทธศาสนา
อันนำมาซึ่งความสงบสุขได้จริง.

 
มรดกที่ ๖๕

ศีลธรรมกลับมา เพื่อโลกาสงบเย็น,
ปรมัตถธรรมกลับมา เพื่อโลกาสว่างไสว
ถ้าศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ,
ถ้าปรมัตถธรรมไม่กลับมา โลกาจะมืดมนท์;
ดังนั้น ทุกคนต้องช่วยกันทำให้กลับมา
ในฐานะเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องมีสำหรับโลก.




:13:  ..สาธุ สาธุ!!~ .. อนุโมทนา+ขอบคุณมากมายค่ะ พี่แป๋มจ๋า ..^^
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 02, 2010, 02:04:56 pm »

มรดกที่  ๑๑๑

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นสิ่งที่ต้องควบคุมให้ดี ๆ
: มันจะเกิดเป็นนรกขึ้นมาเมื่อมีการปฏิบัติผิด
และจะเกิดเป็นสวรรค์ขึ้นมา เมื่อมีการปฏิบัติถูก ณ ที่นั้น ๆ.
จงจัดการกับตา ฯลฯ ใจให้ถูกต้อง ในเมื่อมีการสัมผัส ณ ที่นั้น ๆ
จนเป็นสวรรค์อยู่ได้ จนตลอดเวลาเถิด
จะเป็นพุทธบริษัทโดยสมบูรณ์ อยู่ในขั้นต้น.

 
มรดกที่ ๑๑๒

ถ้าไม่มีการเกิดทางจิตทางวิญญาณในจิตใจว่าตัวกู–ของกู
แล้วการเกิดทางกายที่เกิดครั้งเดียวตายครั้งเดียว
ก็หาอาจทำให้เกิดทุกข์ใด ๆ ได้ไม่
เพราะไม่มีการรับเอามาเป็นของกู.

 
มรดกที่ ๑๑๓

การบรรลุมรรคผลนิพพาน มิได้มีไว้ให้ผู้อื่นทราบ
และแม้ที่จะรู้เอง ก็ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าบรรลุขั้นไหนเท่าไร
เพียงแต่รู้ว่าทุกข์กำลังดับไป ๆ จนกว่าจะหมดสิ้น ก็พอแล้ว;
เหมือนรองเท้าสึก ก็รู้ว่าสึก (จนกว่าจะใช้ไม่ได้) ก็พอแล้ว,
ไม่ต้องรู้ว่ามันสึกกี่มิล. ในวันหนึ่ง ๆ.

 
มรดกที่ ๑๑๔

ความสุขที่แท้จริงเป็นสิ่งที่ต้องได้มาเปล่า ๆ โดยไม่ต้องเสียสตางค์
เหมือนดั่งที่ตรัสว่า ถอนความรู้สึกว่าตัวตนเสียได้แล้ว
ก็ได้นิพพานมาเปล่า ๆ ไม่ต้องเสียมูลค่าอะไร.
ส่วนความสุขเทียม หรือความเพลิดเพลินที่หลอกลวงนั้น
ใช้เงินซื้อมาเท่าไรก็ไมารู้จักพอ,
จนตัวตาย ก็ไม่พบกับความสุขที่แท้จริง.

 
มรดกที่ ๑๑๕

สังขารทั้งปวงแม้ไม่เที่ยง
แต่มันก็ตะโกนฟ้องตัวเองว่าไม่เที่ยง อยู่ตลอดเวลา.
พวกเรามันหูหนวกเอง ไม่ได้ยินแล้วก็หาว่าลึกลับ;
ดูจะช่วยแก้ตัวให้ความหลงของตัวเอง
เสียมากกว่าแล้วจะได้หลงต่อไปตามใจกู.

 
มรดกที่ ๑๑๖

โลกต้องมีศาสนาครบทุกชนิดทุกระดับ เพื่อเหมาะสำหรับคนทุกชนิดที่มีอยู่ในโลก
การที่พยายามจะทำให้มีศาสนาเดียว นั้นเป็นเรื่องบ้าหลังและไม่อาจจะเป็นไปได้
มีแต่จะสร้างความยุ่งยาก โดยมีมนุษย์ที่ไม่เหมาะสม ที่จะอยู่ในโลก มากขึ้น.

 
มรดกที่ ๑๑๗

ชาวพุทธแท้ ไม่กินสิ่งที่หมายมั่นว่าเป็นเนื้อหรือเป็นผัก
แต่กินอาหารที่บริสุทธิ์ถูกต้อง สมควรแก่การกิน
โดยความเป็นธาตุตามธรรมชาติ
และกินเท่าที่จำเป็นจะต้องกิน เหมือนน้ำมันหยอดเพลารถ
หรือการกินเนื้อบุตรของตนเอง ที่ตายลง เมื่อหลงทางกลางทะเลทราย
เพื่อประทังชีวิตให้รอดออกไปได้เท่านั้น.

 
มรดกที่ ๑๑๘

ในร่างกายและจิตใจ มีสิ่งที่อาจเรียกว่าพระไตรปิฎก
ที่แท้จริงให้ศึกษา ชนิดที่ไม่อาจเติมเข้าหรือชักออก แม้แต่อักขระเดียว.
ขอให้พยายามอ่านพระไตรปิฎกเรื่องทุกข์ เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ เรื่องความดับทุกข์ และทางให้ถึงความดับทุกข์
จากพระไตรปิฎกเล่มนี้ กันจงทุกคนเถิด.

 
มรดกที่ ๑๑๙

ต้องศึกษาเรื่องดับทุกข์จากร่างกายที่ยังเป็น ๆ มิใช่จากสมุดพระไตรปิฎกในตู้,
นี้ถือเอาตามคำตรัสที่ตรัสว่า โลก เหตุให้เกิดโลก ความดับสนิทของโลก และทางให้ถึงความดับสนิทนั้น ตถาคตกล่าวว่า มีอยู่พร้อมในกายอันยาววาหนึ่ง ซึ่งมีทั้งสัญญาและใจ (คือยังเป็น ๆ ).

 
มรดกที่ ๑๒๐

ยิ่งเรียนพระไตรปิฎก แล้วยิ่งวนเวียนไม่บรรลุธรรมะ
ก็ต้องเปลี่ยนไปเรียนที่ขันธ์ห้าโดยตรง
จนรู้จักการเกิด–ดับแห่งอุปาทาน ว่า ตัวกู–ของกู อันมีอยู่ในขันธ์ห้านั้น
จนเป็นภาวนามยปัญญา ตัดอุปาทานนั้นได้.