ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 06, 2010, 07:39:09 pm »

 :13: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม อนุโมทนาครับผม
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 06, 2010, 07:19:11 am »

วิธีทำให้ความทุกข์ “หมดอายุ”


ทุกข์ทางกายเมื่อ เกิดขึ้นแล้ว หากได้รับการเยียวยาอย่างถูกต้อง ก็หายได้ไม่ยากนัก ส่วนทุกข์ทางใจนั้น หากเยียวยาไม่ถูกต้องอาจกลายเป็นปัญหาของชีวิตอย่างยืดเยื้อ....

เรื่อง : ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย

ความทุกข์มี 2 รูปแบบ
หนึ่ง คือ ทุกข์ทางกาย (กายิกทุกข์)
สอง คือ ทุกข์ทางใจ (เจตสิกทุกข์)
ทุกข์ทางกายเมื่อเกิดขึ้นแล้ว หากได้รับการเยียวยาอย่างถูกต้อง ก็หายได้ไม่ยากนัก ส่วนทุกข์ทางใจนั้น หากเยียวยาไม่ถูกต้องอาจกลายเป็นปัญหาของชีวิตอย่างยืดเยื้อเรื้อรังยาวนาน ทั้งยังอาจส่งผลกลายเป็นทุกข์ทางกายได้อีกต่างหาก
ในความทุกข์สองอย่างนี้ ความทุกข์ที่น่ากลัวที่สุด คือ ทุกข์ทางใจ
เพราะเมื่อใครก็ตามถูกความทุกข์ครอบ งำจิตใจแล้ว ต่อให้เขามีวัตถุพร้อมพรั่งแค่ไหน มีชื่อเสียง อำนาจ กามารมณ์ พร้อมพรั่งเพียงไร สมบัติบรรดามีทั้งหมด ถึงมีก็เหมือนไม่มี เพราะใจที่ถูกความทุกข์ครอบงำนั้น จะไม่อยู่ในสภาวะพร้อมต่อการบริโภคสมบัติทั้งปวง



ความจริง ความทุกข์ทางใจนั้น มีธรรมชาติเป็น “อนิจจัง” คือ ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ดำรงอยู่ ชั่วคราว แล้วก็ดับไป แต่ทำไมเราจึงรู้สึกเหมือนกับว่า ความทุกข์ที่เกิดกับใจแต่ละเรื่องนั้น ยากที่จะสลัดออกเหลือเกิน
บางคนพยายามสลัดอย่างไรก็สลัดไม่ออก เมื่อหมดหนทาง จึงต้องพึ่งยากล่อมประสาท ยานอนหลับ หรือยาเสพติด เพื่อให้ลืมทุกข์ แต่เมื่อกินยาบ่อยๆ ขึ้น ในที่สุด จึงสร้างทุกข์เพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง ด้วยการตกเป็นทาสของยา หรือได้รับผลข้างเคียงจากการกินยา จนร่างกายทรุดโทรม มีโรคแทรกซ้อน
ความทุกข์ที่เกิดกับใจนั้น หากรู้วิธีเยียวยา ก็ไม่เป็นปัญหายิ่งใหญ่แต่อย่างใด แต่ถ้าเยียวยากันไม่เป็น ไม่ถูกวิธี ก็ต้องสังเวยชีวีให้กับความทุกข์
ในทางธรรม ท่านกล่าวว่า ความทุกข์ทางใจอาศัยการหวนระลึกถึงอดีตที่จบไปแล้วอย่างหนึ่ง กับมัวกังวลถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกอย่างหนึ่ง
คนที่ไม่รู้กลไกการทำงานของใจ พอใจคิดถึงอดีต ก็ทุกข์ซ้ำทุกข์ซากกับซากของอดีตที่ตนขุดคุ้ยขึ้นมาย้ำคิดย้ำทำเสมือนควาย เคี้ยวเอื้อง หรือเพียรคิดถึงอนาคตซึ่งยังไม่เกิดขึ้นด้วยความประหวั่นพรั่นพรึง จนจิตสูญเสียปกติภาพ ประสาทเขม็งเกลียว สมองตึงเครียด กล้ามเนื้อเกร็ง เมื่อกังวลมาก จิตก็เหนื่อย กายก็หนัก พลอยส่งผลต่อระบบการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ จนรวนไปหมด ในบางคนก็ถึงกับป่วยไข้ ถึงขั้นกินไม่อร่อย นอนไม่หลับ หน้าตาอิดโรย ผิวพรรณวรรณะหมองคล้ำ ไม่สดใสอย่างที่ควรจะเป็น
แต่สำหรับผู้ที่รู้ทันกระบวนการทำงาน ของจิต ท่านจะไม่ยอมปล่อยให้จิตหลุดเข้าไปสู่โลกของอดีต และอนาคต อย่างขาดสติ เมื่อจิตคิดขึ้นมาถึงอดีต ก็รู้ทัน เมื่อจิตหมกมุ่นถึงอนาคต ก็รู้ทัน ทันทีที่รู้ทัน ความคิดที่ฟุ้งไปในอดีต หรืออนาคต ก็จะดับลงทันที พอความคิดถึงอดีตและอนาคตดับ ก็เท่ากับว่า อายุของความทุกข์ซึ่งมาพร้อมกับอดีตและอนาคต ก็พลอยจบสิ้นลงด้วย
ผู้ที่ไม่หลุดเข้าไปสู่โลกของความคิดในอดีตและอนาคต ท่านเรียกว่า ผู้อยู่กับปัจจุบัน
อยู่กับปัจจุบัน คือ มีความตื่นรู้อยู่กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ในขณะนั้นๆ อย่างเต็มเปี่ยม จนจิตไม่มีช่องที่จะฟุ้งไปในอดีตหรืออนาคต เมื่อจิตไม่ตกเข้าสู่วังวนของอดีต และไม่ฟุ้งไปในอนาคต ทว่าจ่อจดอยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ณ ขณะนั้นจริงๆ จิตจึงผ่อนคลาย สดชื่น ผ่องใส เบิกบาน เมื่อจิตดี กายก็ดีตาม เพราะจิตเป็นอย่างไร กายก็เป็นอย่างนั้น
การฝึกอยู่กับปัจจุบัน จึงเป็นศิลปะของการพรากจิตออกมาจากความทุกข์
ใครก็ตามที่ตื่นรู้อยู่เสมอกับทุก เรื่องที่คิด ทุกกิจที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกครั้งที่เคลื่อนไหว คนนั้น ก็เหมือนมีชีวิตอยู่บนสวนสวรรค์อันรื่นรมย์
สวรรค์ เป็นเรื่องของชีวิตนี้ และเราสัมผัสได้ในขณะจิตนี้ได้ทันที ขอเพียงเราไม่เผลอหลุดเข้าไปอยู่ในอดีตและอนาคตเท่านั้น สวรรค์ก็จะเปิดเผยตัวตนอยู่ตรงหน้าอย่างแจ่มชัด

.............................

พระพุทธองค์ทรงเล่าไว้ในพระสูตรหนึ่งว่า
ชายคนหนึ่งเดินทางอยู่กลางป่า เผอิญเจอเสือกลางทาง จึงวิ่งหนีสุดชีวิต เมื่อเขาวิ่งมาจนถึงหน้าผา ไม่รู้จะหนีต่อได้อย่างไร จึงตัดสินใจโหนเถาวัลย์ลงไปห้อยต่องแต่งอยู่ตรงหน้าผา เขามองขึ้นมาข้างบนเห็นเสือตัวเดิมกำลังจ้องตาเขม็ง พอมองลงไปข้างล่างนอกจากจะเห็นก้นเหวลึกสุดหยั่งแล้ว ยังเห็นเสืออีกตัวหนึ่งยืนจ้องมองเขาด้วยใบหน้ามุ่งร้ายหมายชีวิต เขาไม่รู้จะทำอย่างไร จึงโหนเถาวัลย์ค้างอยู่อย่างนั้น ระหว่างที่นาทีชีวิตกำลังดำเนินไปอย่างใจหายใจคว่ำนั้นเอง ยังมีหนูอีกกสองตัว ตัวหนึ่งขาว ตัวหนึ่งดำ กำลังใช้ฟันแทะเถาวัลย์ที่เขาโหนอยู่พอดี
ชายคนนั้นนึกไม่ออกว่า จะจัดการอย่างไรกับสถานการณ์ในขณะนั้น ขณะที่กำลังอกสั่นขวัญแขวนอยู่ท่ามกลางนาทีแห่งชีวิต ก็พอดีเขาเหลือบไปเห็นผลไม้พวงหนึ่งห้อยระย้าลงมาพร้อมกับเถาวัลย์ที่ตนโหน อยู่ นาทีนั้นเขารู้สึกหิวกระหายขึ้นมาอย่างฉับพลัน จึงคว้าผลไม้มากัดกินดับกระหาย พลันที่รสผลไม้ต้องชิวหาประสาท เขาถึงกับอุทานกับตัวเองว่า
“แหม - - มันช่างอร่อยอะไรเช่นนี้ !”

http://www.posttoday.com/lifestyle/h...B8%A2%E0%B8%B8

.



.