ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 08, 2010, 09:21:12 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 08, 2010, 07:05:46 am »

       

ดวงตาเห็นธรรม ดวงตาเห็นทำ ดวงตาเห็นแต่ไม่ทำ
โดย ท่านชัยยัสสุ

วันนี้ขออนุญาตแหวกแนวนิดหน่อย
จริง ๆ จะว่าแหวกแนวคงไม่ถูกต้องนักถ้าจะพูดแบบสุภาพและให้กำลังใจกัน
ควรจะเรียกว่าคิดต่อทำต่อน่าจะฟังรื่นหูกว่า
จะคิดต่อ ทำต่ออะไรอีกละ ?

ขอนำคำพ้องเสียงมาตีสำนวนเล่น เผื่อจะได้อะไรใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นกับชีวิต
อย่างน้อย แม้จะไม่ได้ “ดวงตาเห็นธรรม” ก็ขอให้ได้ดวงตาเห็น “ทำ” ก็ยังดี
ดีกว่ามีดวงตาเห็นแล้วแต่ “ไม่ทำ”


เอาเรื่องแรกที่เราทราบกันดีก่อน

   

...ดวงตาเห็นธรรม....

การบรรลุธรรมในทางพระพุทธศาสนา ท่านแบ่งออกเป็น ๔ ระดับ
ได้แก่ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์


ความแตกต่างของการบรรลุธรรมแต่ละระดับขึ้นอยู่กับกิเลส (สังโยชน์ ๑๐) ที่ละได้

ในคัมภีร์บาลี ตลอดจนอรรถกถาทั่วไป มักเรียกผู้ได้บรรลุธรรมขั้นโสดาบันว่า ผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม
มีความหมายคล้าย ๆ ว่า ก่อนหน้านั้น ดวงตามืดมิด มองไม่เห็นความจริงว่าอะไรเป็นอะไร
ครั้นได้ฟังธรรมแล้วก็ตาสว่าง มองเห็นเหตุมองเห็นผล มองเห็นความสืบเนื่องของเหตุของปัจจัยที่กำหนดความเป็นไปของสรรพสิ่ง


ในอรรถกถาท่านจึงมักอธิบาย สภาวะ ของผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า คือผู้ที่เห็นแจ้งด้วยปัญญา
ตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นก็มีความดับไปเป็นธรรมดา


เกิดก็เป็นเรื่องธรรมดา ดับไปก็เป็นเรื่องธรรมดา

คำว่า ธรรมดา ฟังดูแล้วอาจเป็นเรื่องเล่น ๆ แต่จริง ๆ แล้ว
ท่านหมายถึง
ความเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้สรรพสิ่งเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไป

ธรรมดาในความหมายนี้จึงหมายถึง ความเป็นเหตุเป็นผลที่กำหนดความเป็นไปของสรรพสิ่ง

สรรพสิ่งถูกกำหนดด้วยกฎแห่งความเป็นเหตุเป็นผลอันอิงอาศัยกันและกันอย่างนี้
จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไป ไม่ใช่เรื่องพิเศษ เรื่องลึกลับแต่อย่างใด เขาดำรงอยู่ของเขาอย่างนั้น

พร้อมกับความเห็นเช่นนี้ ย่อมละกิเลสที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา ๓ ประการตามมา
กล่าวคือ สักกายทิฏฐิ (ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน - หลวงพ่อพุทธทาสเรียกว่า ตัวกู ของกู)
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยในคำสอน ในบาป ในบุญ เป็นต้น)
และ สีลพัตตปรามาศ (ความยึดมั่นในจารีตประเพณี ในข้อวัตรต่าง ๆ
จนทำให้ขาดความเป็นอิสระทางจิต เป็นการหลงยึดถืออย่างงมงาย ไร้เหตุผล เป็นต้น)


   

ผู้มองเห็นความจริงเช่นนี้อย่างแจ่มแจ้งแล้ว ท่านเรียกผู้นั้นว่า ผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม
ทีนี้ลองมาดูประเด็นพ้องเสียง...ดวงตาเห็นทำ ดวงตาเห็นไม่ทำบ้าง

ในความหมายที่ผู้เขียนล้อเสียง (ทำ,ธรรม) นี้ มีความหมายค่อนข้างจะเป็นเรื่องโลก ๆ
มุ่งต้องการให้เรามาสำรวจพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันดูว่า เรามีลักษณะแบบไหน ?


เห็นแล้วทำ หรือว่า เห็นแล้วไม่ทำ

คำว่า เห็นแล้วในที่นี้ หมายถึงเห็นสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เป็นความดี เห็นสิ่งที่เป็นความเจริญ
เห็นเหตุ เห็นผลที่จะเกิดขึ้นจากการทำสิ่งดีงาม สิ่งที่เป็นความดี ความเจริญ
เห็นแล้วส่งผลสู่การตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
เห็นแล้ว “ทำ” หรือว่า ได้แต่มองเห็น แต่ “ไม่ทำ”

ดูตัวอย่างใกล้ ๆ ตัวกันหน่อยดีไหม ?

ตื่นเช้าขึ้นมา สว่างโร่แล้ว เห็นไฟสาธารณะอยู่หน้าบ้านยังไม่ปิด พอที่จะเดินไปปิดได
้แต่ไม่ทำ คิดว่า ไม่ใช่ธุระ ไม่ใช่ไฟบ้านสักหน่อย อย่างนี้เรียกว่า เห็น แต่ไม่ทำ
เข้าข่ายความหมายที่ว่า มีดวงตาเห็น แต่ไม่ทำ

     

เคยมีนะในหมู่บ้าน เกือบ ๓ โมงเช้าแล้วไม่ยอมปิด เดินผ่านไปมองเห็น นึกสงสารหลอดไฟ ต้องไปปิดให้ ทั้ง ๆ ที่มีคนนั่งคุยนั่งเล่นแถวนั้นก็หลายคน พอเห็นเราเดินไปเปิด กลับมองหน้าเลิกลัก คงเขินกระมัง !

บ้านสกปรก รกรุงรัง วางข้าวของไม่เป็นระเบียบ ควรจะจัดให้เรียบร้อย วางให้เป็นที่เป็นทาง
ดวงตาเห็นแล้ว แต่...เห็นเฉย ๆ ไม่ยอมทำ รอ รอให้คนอื่นทำ


เห็นคุณแม่ถือของพะรุงพะรัง พอจะช่วยได้ แต่ไม่ช่วย กลับนั่งดูทีวีเฉย ไม่นำพา อย่างนี้ก็เข้าข่าย มีดวงตาเห็น แต่ไม่ทำ

เคยไปสอนหนังสือในโรงเรียน สังเกตห้องพักครู (นี่แหละตัวดี) คุณครูเสร็จภาระจากการสอนก็มานั่งทำงาน นั่งพักในห้อง ร้อนก็เปิดพัดลม ให้เย็นกายเย็นใจ ได้เวลาคาบใหม่ชั่วโมงใหม่จะออกไปสอน ก็ถือสมุดถือดินสอ อุปกรณ์การเรียนการสอนออกจากห้องไป ปล่อยให้พัดลมหมุนอยู่เพียงลำพัง ทั้ง ๆ ที่รู้ ทั้ง ๆ ที่เห็น ว่าควรปิด ไม่ควรเปิดทิ้งไว้ แต่....มีดวงตาเห็น...ไม่ทำ

นักเรียนเดินเข้าประตูโรงเรียน เห็นเศษกระดาษ หรือถุงพลาสติก พอที่จะเก็บใส่ถังขยะได้ เพื่อความสะอาด สวยงามของโรงเรียน ตามองเห็นแล้ว ....มีดวงตาเห็น....แต่..ก็ไม่ทำอีกนั่นแหละ..รอให้ครูบอก รอให้คนอื่นเก็บ ฉันไม่ทำ


เห็นคนทุกข์ คนยาก พึ่งตนเองไม่ได้ ต้องการความช่วยเหลือ เราอยู่ในฐานะพอจะช่วยเหลือเกื้อกูลได้
แต่...
ได้แต่เห็น ไม่ยอมทำ มีดวงตาเห็นแต่ไม่ทำ
ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างคร่าว ๆ ของคำว่า มีดวงตาเห็นทำ และมีดวงตาเห็นแต่ไม่ทำ
ตรวจสอบตัวเองดูว่า วันนี้ คุณ มีดวงตาเห็น “ทำ” แล้วหรือยัง ?

โดย ท่านชัยยัสสุ
กราบนมัสการพระคุณเจ้า ขอนุญาตนำมาเผยแพร่เจ้าค่ะ

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/bunruang/2008/05/23/entry-1
สาธุๆๆ อนุโมทามิ
สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ