ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 10:33:26 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด^^
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 09:51:08 pm »

อนุโมทนาค่ะ

ขอบคุณที่แบ่งปันจ้ะ มดเอ็กซ์

^^

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 09:06:51 pm »





ภาวนาสนทนาฉบับ ติช นัท ฮันท์


คอลัมน์ “จุดประกาย”ของกรุงเทพธุรกิจฉบับวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน 2553 นำบทสัมภาษณ์ของท่านติช นัท ฮันท์ ผู้นำด้านการเจริญสติและการพัฒนาจิตวิญญาณวิถีพุทธมหายาน มีประโยชน์ อ่านแล้วประทับใจมาก ขออนุญาตนำมาขยายความต่อ โดยเฉพาะส่วนที่ท่านพูดถึงการทำ “ภาวนาสนทนา” ร่วมกันระหว่างคนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองขัดแย้งกันแบบสุดขั้ว ถ้าหากสามารถทำตามที่ท่านแนะนำได้ กระบวนการ “ปรองดอง”ในประเทศไทย อาจเริ่มต้นได้จริงๆสักที


เมื่อถูกถามเกี่ยวกับบทบาทของสื่อมวลชน ว่าจะมีส่วนช่วยสังคมลดความขัดแย้งในสังคมไทยได้หรือไม่อย่างไร ท่านไม่ตอบตรงๆ แต่พูดถึงความทุกข์ของคนทำหน้าที่สื่อมวลชน ซึ่งเป็นผู้นำเสนอ “ความจริง” สู่สังคม ถ้าหากสื่อมวลชนมีทุกข์แต่ไม่รู้จักทุกข์ของตัวเอง ความจริงที่สะท้อนออกมาจากความรู้สึกนึกคิดของคนที่มีความทุกข์อยู่แล้ว ก็ยิ่งสร้างทุกข์ให้แก่สังคมผู้เสพความจริงที่เจือมากับความทุกข์ด้วย สังคมจึงหาความสุขไม่ได้ ท่านจึงสอนให้สื่อมวลชนกลับมาดูทุกข์ของตนเองด้วยการใช้พลังแห่งสติ


ผมไม่แน่ใจว่า สื่อมวลชนไทยจะยอมรับว่าตนเองมีทุกข์ได้หรือไม่ เพราะหมกมุ่นจมปลักอยู่กับปัญหาของสังคมและความทุกข์ของคนอื่นจนชาชิน เมื่ออยู่กับทุกข์ ก็ต้องสร้างกลไกทางจิตเพื่อแยกตัวเองออกจากความทุกข์ด้วยการไม่เอาตัวเองไปปะปนกับเนื้อข่าวและความจริงในนามของ “ความเป็นกลาง” พฤติกรรมการแยกตัวเองออกจากความจริงนี้ยังไม่นับรวมถึงการมีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น ผลประโยชน์ทางธุรกิจ การเมืองที่อยู่เบื้องหลังการเสนอข่าว ทำให้สื่อต้องเลือกข้าง แบ่งแยก และเป็นตัวแพร่เมล็ดพันธ์แห่งความเกลียดชังขึ้นในใจคน


“ถ้าเราปล่อยให้เมล็ดพันธ์แห่งความเกลียดชังเติบโต เราจะกลายเป็นเหยื่อของความโกรธ ความเกลียด ความสิ้นหวังและจะเป็นอันตรายมากหากคนในสังคมส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้น” 


คำแนะนำสำหรับการช่วยเหลือคนไทยที่ตกอยู่ในวังวนของความทุกข์ ความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นของท่าน ติช นัท ฮันห์ คือ “ขอให้พวกเรามาฟังซึ่งกันและกัน” กระบวนการฟังอย่างลึกซึ้ง เป็น “มรรควิธี” ดับทุกข์ทางสังคมหรือ “ทุกข์หมู่” ที่มีความเรียบง่าย ทรงพลังและมีต้นทุนค่าใช้จ่ายน้อย แต่คนอาจให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยไปหน่อย


ความจริงก่อนที่ประเทศไทยจะพูดเรื่องโครงสร้าง เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องการแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคม ควรจะหาวิธีที่ทำให้คนในสังคม “ฟัง” กันก่อน มิฉะนั้นเรื่องใหญ่ๆเหล่านี้ จะกลายเป็นเรื่อง ประเภท“อาจินไตย” ที่หาข้อยุติได้ยาก


“ในฐานะที่เราเป็นนักปฏิบัติธรรมชาวพุทธ เราจะขอฟังความทุกข์ของเราก่อน ถ้าเกิดว่าเราสามารถเข้าใจความทุกข์ของตัวเอง เราก็จะมีความทุกข์น้อยลง (เพราะทุกข์ถูกดับด้วยปัญญา – ผู้เขียน) ความกรุณาก็จะบังเกิดขึ้นในตัวเรา และอยากจะเข้าใจความทุกข์ของเธอเช่นเดียวกัน เพราะฉันก็รู้ว่า ตัวเองก็มีความทุกข์ด้วย และความตั้งใจของฉันไม่ใช่จะลงโทษเธอเพราะฉันก็รู้ว่าเธอมีความทุกข์เช่นเดียวกับฉัน”
 


ดังนั้น การยอมรับว่าตัวเองมีทุกข์ ทำให้มองเห็นทุกข์ และสามารถเปิดใจรับฟังทุกข์ของคนอื่นได้ง่ายขึ้น แต่ความจริงก็คือ เรามักกลบเกลื่อนทุกข์ของตัวเองเสมอ นัยว่า “ข้าแน่” เมื่อมีทิฐิดื้อรั้นแบบน้ำเต็มแก้ว การจะโน้มตัวลงไปรับรู้ทุกข์ของคนอื่นว่า เป็นทุกข์ของเราด้วยเช่นกัน ก็จะกลายเป็นเรื่องยาก การทำตัวเป็นแก้วเปล่า พร้อมที่จะรับฟังทุกข์ของตัวเองและทุกข์ของคนอื่น จึงเป็นคุณมากกว่าโทษ


“ฉันอยากรับฟังเธอ เพราะว่าฉันอยากเข้าใจทุกข์ที่มีในตัวเธอ ถ้าฉันเข้าใจความทุกข์ของเธอ ฉันคงไม่มีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่เธอทำมาก่อน”


แปลว่า ถ้าหากเข้าใจความทุกข์ของคนอื่น เราคงไม่เสียเวลาไปเพ่งโทษ ซ้ำเติม ตำหนิติเตียนการกระทำของคนอื่น เพราะทุกข์ของคนอื่น ก็คือทุกข์ของเราด้วยเช่นเดียวกัน


ท่านติช นัท ฮันห์ เสนอแนะวิธีการปฏิบัติภาวนาสนทนา (deep listening dialogue) เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย ด้วยการให้คนไทยหันมารับฟังความทุกข์ซึ่งกันและกันมากขึ้น ผู้เขียนขอขายความต่อว่า แค่ฟังกันเท่านั้นนะครับ ยังไม่ต้องก้าวกระโดดไปค้นหาปฏิบัติการทางสังคมอื่นๆ เพราะแค่ฟังกันได้ ก็ถือเป็นความสำเร็จที่สำคัญแล้ว 


ท่านเสนอแนะโดยให้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ทุกฝ่ายยอมรับ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ผู้นำทางจิตวิญญาณ ซึ่งอาจหมายถึงประมุขทางศาสนาต่างๆ เป็นผู้เชื้อเชิญให้กลุ่มคนที่มีความขัดแย้งกันมาร่วมปฏิบัติภาวนาสนทนา เพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีโอกาสรับฟังซึ่งกันและกัน ได้พูดในสิ่งที่มีอยู่ในหัวใจของเขา


“เราอาจจัดภาวนาในสถานที่ที่มีบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่มีความน่ารัก ความเมตตา และให้เขาได้กลับมาฝึกปฏิบัตินั่งสมาธิร่วมกับเรา มีสติร่วมกับเรา เพื่อให้สิ่งที่คุกรุ่นของเขาได้สงบลง”


ควรกล่าวด้วยว่า การเจริญสติ สมาธิภาวนา มิได้จำกัดอยู่ในศาสนาพุทธเท่านั้น ศาสนิกชนอื่นๆก็น่าจะทำได้ แต่อาจต้องปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับสภาพ


คงไม่มีความจำเป็นต้องบังคับเคี่ยวเข็ญให้คนที่มาร่วมนั่งขัดสมาธิหลับตาในทันที ท่านแนะนำให้ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป สัปดาห์แรกอาจจัดให้มีการทานอาหารอย่างมีสติร่วมกันเพื่อให้เกิดความสงบ ให้เขามีโอกาสได้ผ่อนคลายร่างกายและคลี่คลายสิ่งต่างๆที่อยู่ภายในความรู้สึก ได้อยู่กับตัวเอง ครุ่นคิดพินิจนึกเพื่อแสวงหาความสงบภายใน อาจหากิจกรรมให้ทำ เช่น เขียนภาพระบายสี จัดดอกไม้ หรือทำงานศิลปะอื่นๆที่แต่ละคนสนใจ ส่วนสัปดาห์ที่สองค่อยเปิดเวทีให้ทุกฝ่ายพูดถึงสิ่งที่อยู่ในใจทั้งหมด โดยไม่มีการประณาม หยามเหยียด เพราะจะทำให้เกิดความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ ตอบโต้กันไปมาและเสียโอกาสที่จะทำให้เกิดการพูดคุยและรับฟังซึ่งกันและกัน


“ถ้าหากทั้งสองกลุ่มสัญญาและสามารถพูดจากันในแบบไม่ประณาม ไม่ดูถูกกัน เราก็สามารถออกข่าวได้ทั่วประเทศ”


วิธีการแบบนี้ใช้กับกรณีของประเทศไทยได้หรือไม่ ผมว่าน่าลองดู แต่ก็ไม่ควรตั้งความหวังสูงเกินไป โดยเฉพาะการนำเอาพวกแกนนำการเมืองนอกสภาที่สวมเสื้อเหลืองเสื้อแดงห้ำหั่นกันให้ตายกันข้างนั้น คงต้องเก็บไว้ก่อน เพราะยังไงเสีย คนพวกนี้คงไม่ญาติดีกันแน่


ผมว่าลองทำกันในระดับท้องถิ่นน่าจะดี โดยให้คนมีบารมีในท้องถิ่นเชิญพวกที่มีความคิดเห็นต่างกัน มาทำแบบที่ท่านฮันห์ว่า เลือกสถานที่น่ารักๆขึ้นมาสักแห่ง เช่นวัดที่สงบร่มรื่น สัปดาห์แรกไม่ต้องให้พูดจากันเลย แต่ละคนอยู่กับตัวเอง ทำสิ่งที่ตัวเองชอบ เป็นการพักผ่อนทางใจ เช่น ฟังดนตรี วาดรูป จัดดอกไม้ ฯลฯ พอจิตอ่อนลงควรแก่งานแล้ว ค่อยเอาคนพวกนี้มานั่งล้อมวง พูดถึงความรู้สึกนึกคิด ความใฝ่ฝัน ความทุกข์ความสุขของตัวเอง ตอนนี้ต้องระวัง ต้องให้เขาพูดอกมาจากชีวิตจริงของตัวเอง มิใช่พูดเพื่อสร้างภาพให้ตัวเองดูดี เหมือนการพูดอภิปรายในเวทีการเมือง ข้อสำคัญ ต้องไม่ให้มีการตอบโต้แลกเปลี่ยนวาทะซึ่งกันและกันโดยเด็ดขาด เพราะคำพูดของอีกฝ่าย จะไปกระตุกอีโก้ของอีกฝ่ายให้ลุกขึ้นมาตอบโต้ พังเลยครับ คราวนี้


การพูดจาตอบโต้ เป็นส่วนที่เปราะบางที่สุดในกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ เพราะการตอบโต้คือการเลือกยืนคนละฝั่งโดยอัตโนมัติ ถ้าหากแต่ละคนมีความกล้าหาญที่จะไม่พูดพาดพิงอีกฝ่าย หรือกล้าหาญที่จะให้อภัยหากถูกพาดพิงหรือแตะต้องโดยเจตนาหรือไม่เจตนา ย่อมส่งผลต่อบรรยากาศการสนทนา และทำให้บรรยากาศคลี่คลายไปได้เอง หลังจากที่ผ่านจุดนี้ไป ทั้งสองฝ่ายก็สามารถพูดคุยกันด้วยเรื่องหนักๆหรือเรื่องที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆและในที่สุด อาจพบทางออกจากปัญหาร่วมกัน


 
http://www.oknation.net/blog/Thaidialogue/2010/11/09/entry-1