ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 05:41:16 am »แนวหนัง ชีวิต ... ระดับโคตรยอด!!!!!
ภาพยนตร์เรื่องเยี่ยมที่ทุกคนต่างยกให้เป็นที่ 1 หรือไม่ก็ที่ 2 ในทุกสถาบันวิจารณ์
พูดง่ายๆ คือ บูชากันแทบจะทุกที่น่ะครับ กับหนังที่สร้างจากเรื่องสั้น
Rita Hayworth and Shawshank Redemption ของ Stephen King (ใช่ครับ เจ้าเดียวกับที่เขียนนิยายสยองทั้งหลายนั่นแหละ)
กำกับและดัดแปลงเป็นหนังโดย Frank Darabont
เรื่องราวของแอนดี้ ดูเฟรย์ (Tim Robbins)
นายธนาคารที่ติดคุกข้อหาฆ่าภรรยาและชู้ตาย
เขาถูกส่งมายังคุกชอว์แชงค์ ที่นั่นเขาได้พบกับ
เพื่อนนักโทษผิวดำผู้เป็นมิตรอย่าง เรด (Morgan Freeman)
และเจอกับผู้คุมจอมโหดอย่าง แฮดเล่ย์ (Clancy Brown) กับ
พัสดีแซมมวล นอร์ตัน (Bob Gunton) ผู้ไม่เคยจริงใจกับใคร และที่นี่เอง ที่ดูเฟรย์ได้พบกับมิตรภาพที่แท้จริงพร้อมๆ กับบทเรียนชีวิตที่เขาจะไม่มีวันลืม
ดูครับ ต้องดูให้ได้ หนังมันดีเกินเหตุ ไม่ทราบว่าอะไรนักหนา
ถ้าถามว่าหนังมีอะไรเด่นมั้ย ผมตอบไม่ได้นะครับ เพราะทั้งเรื่อง มันธรรมดา
เดินเรื่องแบบเรื่อยๆ ไม่เร้าอะไรมาก แต่มีพลังตลอด น่าติดตามตลอด
มีอะไรแฝงอยู่ตลอด ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าพี่ Frank
แกทำออกมาได้ขนาดนี้ได้อย่างไร ประทับใจครับ
เป็นหนังคุณภาพขนานแท้ ยาว 2 ชั่วโมงครึ่ง แต่ไม่น่าเบื่อเลยครับ
เริ่มจากนักแสดงที่มือฉกาจทุกคน จะ Robbins จะ Freeman หรือจะใครไหนๆ
ก็ไม่มีคำว่าผิดหวัง งานดนตรีของ Thomas Newman แม้จะง่ายๆ
แต่ก็ช่วยเพิ่มอารมณ์ให้กับหนังได้ไม่ใช่น้อย
เนื้อในมีอะไรอีกมากครับ แม้มันจะเดินเรื่องแบบง่ายๆ แต่ก็มีอะไรแฝงอยู่
ทั้งเรื่องการใช้ชีวิต การปรับตัว ซึ่งเรื่องการปรับตัว
เรื่องมิตรภาพนี่ไม่ได้เป็นเรื่องของคนในคุกเท่านั้นนะครับ
มันเป็นเรื่องสากลที่ทุกคนในสังคมต้องเจอ หรือการยอมแพ้กับการสู้ต่อไรเงี้ย
มันเป็นแง่คิดชีวิตง่ายๆ ที่เรารู้กันมานานแล้วครับ เพียงแต่หนังเรื่องนี้สามารถหยิบจับเอาเรื่องราวแนวคิดอย่างที่บอกไปนั้น
เอามาเสนอได้อย่างชัดเจนและน่าสนใจ และน่าเชื่อถืออย่างยิ่ง ซึ่งก็เหมาะมากสำหรับคนพี่รู้สึกว่าตัวเองไร้ความหวังในชีวิต
ลองดูสิครับ ท่านอาจจะได้เจออะไรดีๆ ในหนังเรื่องนี้ก็ได
้ ... ผมว่าต้องเจอแหงมๆ ครับ
ผมก็คงไม่บรรยายอะไรมาก ต้องดูเองครับ ถึงจะรู้
เอาเป็นว่านี่คือตัวอย่างที่น่าศึกษามากๆ ของหนังประเภทที่มี
ดาราดี มุมกล้องดี เดินเรื่องง่ายแต่ไม่โล่งโถง และเฉียบทุกฉาก
คือมันจะมีจุดดึงดูดเราในทุกฉากครับ เช่น ฉากนี้อาจดึงเราด้วยพลังดารา อีกฉากอาจจะเน้นที่เนื้อหาหรือสิ่งที่ต้องการสื่อ พูดง่ายๆ แต่ละฉากอาจใช้อัตราส่วนดาราหรือสิ่งดึงความสนใจแตกต่างกันไป
ทว่าผลที่ได้ออกมา ตลอดสองชั่วโมงครึ่งของหนังเรื่องน
ี้ ทุกฉากทุกตอนมันมีความน่าสนใจอยู่แทบทั้งสิ้น
ทำได้ไงวะพี่ Darabont
นอกจากเรื่องมิตรภาพแล้ว หนังยังมีปมที่น่าสนใจด้วยครับ
อย่างกรณีของบรูค (James Whitmore)
นักโทษชราที่อยู่ในคุกมาไม่รู้กี่สิบปีแล้ว
เรื่องของบรูคนี้ก็เป็นอะไรที่น่าคิดไม่น้อยครับ
ดูแล้วคุณอาจจะเห็นมุมมองที่ควรรู้ของคนเฒ่าคนแก่ก็ได้นะครับ
นอกจากนี้ หนังยังมาพร้อมบทสรุปที่ถือได้ว่าสุดยอดครับ
คาดไม่ถึงจริงๆ คือ หนังทั้งเรื่องมันเรียบง่ายแต่ทรงพลังอยู่แล้วนะครับ
ประเภทว่าให้มันเป็นยังงี้ไปทั้งเรื่อง หนังก็อยู่ตัวอยู่แล้วล่ะ
แค่นี้ผมก็ทึ่งจะบ้าอยู่แล้ว และยังมาเจอไอ้เหตุการ์ตอนช่วงท้ายอีก
โอย บ้าไปเลยครับนั่นน่ะ ใครดูแล้วน่าจะทราบครับ
แต่ใครยังไม่ดู ต้องดูครับ และ อย่าครับ
อย่าฟังใครเล่าเด็ดขาด ยิ่งไอ้ช่วงท้ายเนี่ย อย่าเด็ดขาดครับ
จะว่าไป ไอ้ช่วงท้ายนี่แหละที่ทำให้หนังชีวิตเรื่องนี้ครบรสแบบคาดไม่ถึง
หนังมีแง่คิดเยอะ แต่ผมไม่ขอพูดมากครับ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
อย่าเชื่อผมครับจนกว่าจะได้ดู ผมเห็นมีเลหลังขายอยู
่ 29 -39 บาทเองมั้ง ซื้อครับ ซื้อไปเลย ไม่ต้องลังเล รับประกันว่ามันช่างคุ้มเกินคุ้มจริงๆ ครับ
แล้วก็ต้องขอเท้าความเบื้องหลังการสร้างกันตามระเบียบครับ
เรื่องนี้ก็สร้างจากเรื่องสั้นน่ะครับของพี่ King ซึ่งพี่แกก็ได้แรงบันดาลใจการเขียนเรื่องนี้มาจากความทรงจำในวัยเด็กครับ
ที่เขาชอบดูหนังเกี่ยวกับคนคุก พอโตขึ้นมาเขาก็ถ่ายทอดมุมมองที่เขาสนใจ
เรื่องในคุกนี้ออกมาทางนิยาย (นอกจากเรื่องนี้ก็ยังมี The Green Mile อีกเรื่อ
ง ที่เกี่ยวกับคุกเหมือนกัน)
ต่อมาเมื่อถึงช่วงจะสร้าง ก็มีการติดต่อขอซื้อสิทธิ์เรื่องนี้จากพี่
King ซึ่งผู้ที่ติดต่อก็ไม่ใช่ใคร คือ Darabont นี่แหละ และพี่ King
แกก็ขายสิทธิ์เรื่องนี้มาให้โดยสนนราคาที่ถูกสุดๆ นั่นก็เพราะทั้ง King และ Darabont เป็นเพื่อนสนิทกันมาก่อนนั่นเอง
ต้องย้อนไปนิดครับ เมื่อประมาณต้นยุค 80 ซึ่งเป็นช่วงที่นิยายของพ
ี่ King เริ่มถูกนำไปสร้างเป็นหนังพอดี (เรื่องแรกก็คือ Carrie) แต่ทว่า ส่วนมากงานที่ดัดแปลงจากนิยายของเขานั้นมักจะไม่ค่อยตรงใจกับพี่
King ซักเท่าไหร่ (แม้มันจะทำเงินก็เถอะ) ไม่ว่าจะ Carrie หรือ Salem's Lot
แต่เรื่องที่หนักข้อที่สุดต้องยกให้ The Shining ที่กำกับโดย
Stanley Kubrick นี่แหละ ที่ลุง Kubrick แกเล่นดัดแปลงตีความเรื่องราวของ The Shining ออกมาตามความคิดของลุงแกเอง ซึ่งตีความไปประมาณว่าเล่นเรื่องทางจิตวิทยามากกว่าจะเน้นเรื่องพลังเหนือธรรมชาติ
ก็อันนี้แหละครับที่ทำเอาพี่ King แกของขึ้นเลยไม่ยอมรับหนังเรื่องนั้นซะยังงั้นน่ะ
และก็ด้วยการที่พี่ King แกช้ำมามากมายนักหนาจากการที่เห็นนิยายของตัวเองเปลี่ยนไป
ไม่ใช่แบบที่ตนต้องการ พี่ King แกก็เลยชักจะเริ่มไม่ค่อยอยาก
ให้ใครมาแตะงานของเขาอีกต่อไป แต่แล้วชื่อของ Frank Darabont ก็โผล่เข้ามาพอดี เข้ามารับหน้าที่ดัดแปลงเรื่องสั้นที่ชื่อ The Woman in the Room ของพี่
King มาเป็นหนังสั้นๆ ความยาว 30 นาที ซึ่งตอนแรกพี่ King ก็หวั่นๆ บ้างล่ะครับ
แต่ไปๆ มาๆ ปรากฏว่า Darabont แกสามารถดัดแปลงเรื่องสั้นดังกล่าว
ได้โดนใจพี King แบบสุดๆ เคารพงานดั้งเดิมของพี่แกสุดๆ
แล้วยังคุยกันถูกคออีกต่างหากนะครับ นั่นก็เลยกลายเป็นจุด
เริ่มต้นของมิตรภาพที่สวยงามตั้งแต่นั้นมา
ดังนั้นพอ Darabont จะมาทำเรื่องนี้ ก็ด้วยมิตรภาพที่เขามีต่อพี่ King (ถือว่าเป็นคนเขียนบทรายแรกที่ทำงานได้ประทับใจและให้ความเคารพพี่ King ขนาดนั้น) ราคาเรื่องสั้นชุดนี้เลยถูกสุดๆ ด้วยประการละฉะนี้แล
ต่อมาเมื่อ Darabont แกทำงานดัดแปลงบทจากเรื่องสั้น โดยได้บริษัมที่ชื่อ
Castle Rock Entertainment มาเป็นแบ๊คให้ พอทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ก็พอดีที่ผู้กำกับ Rob Reiner แห่ง Stand By Me (งานอีกชิ้นที่ดัดแปลงจากเรื่องของ
King ผ่านมาเห็นเข้า) แล้วก็ลองอ่านๆๆๆ (เพราะพี่ Reiner แกเป็นใหญ่พอตัวในบริษัท
Castle Rock ครับ) แล้วพี่ท่านก็ชอบ เลยเสนอเงิน 2.5 ล้านดอลล่าร์เหนาะๆ
ขอซื้อบทต่อจากนาย Darabont ซะเลย
แต่ Darabont ก็แข็งใจปฏิเสธไป เนื่องจากเขามีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า "งานชิ้นนี้คือโอกาสที่เขาจะได้สร้างสรรค์งานชิ้นที่ยอดเยี่ยมที่สุดชิ้นหนึ่งเท่าที่เคยมีมา"
และบัดนี้ ดูเหมือนว่า ความคิดนั้นของเขา จะไม่ผิดไปจากความจริงแม้แต่น้อย
คอหนังไม่ว่าแนวไหนก็ตาม ห้ามพลาด ลองว่าถ้าคุณเป็นคอหนังแล้ว เรื่องนี้ ต้องดูครับ
สี่ดาวเต็มๆครับ
*************
ผมดูเกือบ 20 รอบแล้วครับหนังเรื่องนี้ มีคติมีแนวคิดเยอะ หลายอย่างเข้ากับหลักพุทธศาสนา หลาย ๆ อย่างเข้ากับหลักจิตวิทยา.... เขาทำได้เยี่ยมจริง ๆ แนวคิดที่ผมคิดออกมา มีดังนี้
1. ทุกคนมีโอกาสติดคุกได้ ทั้ง ๆ ที่ตนเองไม่ได้ทำความผิด และเป็นเรื่องจริง คนที่ติดคุกในปัจจุบันนี้ ผมว่าอาจจะเกิน 50 % ด้วยซ้ำไป ที่ติดคุกโดยที่ตนเองไม่ได้ทำความผิด ในปัจจุบัน แต่เป็นความผิดในอดีตชาติ (ต้องอ่านเรื่องอดีตกรรมต่าง ๆ จากคัมภีร์ทางพุทธศาสนา)
2. มนุษย์เมื่อถึงคราวจะตาย นอนอยู่ดี ๆ ในบ้าน ก็อาจตายได้ (วิบากกรรมที่ชายชู้กับเมียรักทำร่วมกัน)
3. มันมีความจริงอย่างหนึ่งว่า ทุกคนเมื่ออยู่ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งนาน ๆ มีหน้าที่และชื่นชอบในหน้าที่นั้น จนลืมไปว่าสถานที่นั้นคือคุก อาจจะยึดติดกับสถาบัน เหมือนกับบรูคส์ (ข้อความที่ เรดพูด มีเหตุผลทุกข้อความ)
4. บุคคลเมื่อขาดแรงจูงใจที่จะมีชีวิตอยู่ คือเมื่อมองเห็นว่าตนเองไม่มีคุณค่า หลาย ๆ คนจะคิดฆ่าตัวตาย และจะทำสำเร็จ...(เหมือนบรูคส์ ซึ่งต่างกับเรด) เรด ไม่คิดฆ่าตัวตาย เพราะเขายังเห็นว่าเขามีเพื่อน มีความสำคัญต่อเพื่อน และเพื่อนก็ให้ความสำคัญ คือเห็นคุณค่าของเขา...
5. ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในเพศ หรือสถานะใด มันมีความหวัง และบางครั้งความหวังนั้น บุคคลจะสมหวังได้ก็ต่อเมื่อ มันถึงเวลาอันสมควร และเวลาอันสมควร ไม่อาจจะมีใครกำหนดได้ เหมือนเรด ที่คำขอทัณฑ์บนเขาผ่าน เมื่อถึงเวลาอันสมควร (เหมือนผลแห่งบุญและบาป มันมีกาลเวลาแห่งการให้ผล)
6. คำพูดของเรดที่ว่า "นกบางตัว ขนมันสวยงามเหลือเกิน มันไม่ได้เกิดมาเพื่อจะอยู่เฉพาะในกรง เมื่อมันบินจากไป อย่าไปอิจฉา อย่าไปอาลัยเยื่อใย" อะไรทำนองนี้ (เป็นคำพูดที่มีเหตุผล ไพเราะ)
7. สิ่งที่น่าทึ่งก็คือ คำพูดที่ว่า "หนทางรอด อยู่ในหนังสือเล่มนี้" และมันเป็นความจริง "พระเจ้าไม่เข้าข้างคนผิด" "วันพิพากษาของพระเจ้ากำลังใกล้เข้ามา" เป็นคำพูดที่แซมมวล นอร์ตั้น ต้องจดจำไปตลอด แม้ในขณะที่กระสุนปืนวิ่งผ่านสมองของเขาไป.....
8. และสิ่งสุดท้าย "บุคคลทำกรรมเช่นใดไว้ จะเป็นบุญหรือเป็นบาป บุคคลจะได้รับผลของกรรมนั้น" แน่นอน.....
ผมได้อะไรดี ๆ อีกหลายอย่างในภาพยนต์เรื่องนี้ Shawshank
โดย: vee IP: 114.128.29.184 วันที่: 31 ตุลาคม 2551 เวลา:13:34:24 น.
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=323721