ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 01:21:03 am »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับผม^^
ข้อความโดย: เลดี้เบื๊อก
« เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 08:27:59 pm »

ควรที่จะตื่นได้แล้ว
[/b]

               โลกเป็นที่มาของธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ คือมีความดีและความเลว พระตถาคตโคดมเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
   
                โลเก ธัมมัง อนุตะรัง แปลว่า ธรรมค้ำจุนโลก
   
              โลกนี้น่าอยู่ถ้าหากว่าเรารู้จักธรรมะ คำว่าธรรมะก็คือธรรมชาติที่มีอยู่ในโลกและอยู่ในการปรุงแต่งของโลก ของสังขารและรูปนาม เกิดดับมา จากการปรุงแต่ง ส่วนธรรม เป็นธรรมาอนัตตา ธรรมไม่มีตัวตน ความดีก็ไม่มีตัวตน สังขารก็ไม่มีตัวตน เพราะสังขารเกิดแล้วก็ดับจึงเรียกว่า ไม่มีตัวตน หลังจากการตายแล้วมีแต่ความสูญเปล่า หาตัวตนไม่เห็น มีตัวตนแต่เมื่อมีชีวิตอยู่เท่านั้น เมื่อตายแล้วหาชีวิตไม่เห็น จึงได้ว่าไม่มีตัวตน ใครทำความดี ผู้นั้นก็จะได้รับผล ส่วนความดีที่อยู่ข้างในเราเรียกว่า อริยทรัพย์ภายใน ไม่สามารถที่จะแบ่งปันให้คนอื่นได้ จึงได้ว่าความดีไม่มีตัวตน เพราะไม่สามารถ จะให้ผู้อื่นได้ อาตมาขอยกตัวอย่างเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานี้ พระองค์มาสร้างคุณงามความดี อยู่ในโลกมนุษย์เรานี้ พระองค์ประสูติในโลก เรานี้ พระองค์ได้ตรัสรู้ รู้แจ้งธรรมอยู่ในโลกมนุษย์เรานี้ ไม่ได้ตรัสรู้ในที่อื่น พระองค์ได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ได้มาสร้างปัญญา บารมีอยู่ในโลกมนุษย์เรานี้ แล้วเสด็จปรินิพพานที่โลกเรานี้ ไม่ได้เสด็จปรินิพพานอยู่ในสวรรค์ชั้นพรหมใดๆทั้งสิ้น
   
               วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าหรือความเจริญทางวัตถุที่มาเสริมสร้างปรุงแต่ง และสร้างขึ้นมาตามความต้องการที่จะใช้เครื่องมือต่างๆ เราเรียกว่าวัตถุ สิ่งของต่างๆ เป็นวัตถุทางวิทยาศาสตร์ ส่วนธรรมชาติของโลก คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ภูเขา ป่าไม้ หิน ทราย และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกื้อกูล มีอยู่ใน โลกอันเป็นธรรมชาติ ตลอดจนร่างกาย รูปนามของมนุษย์ก็เกิดจากธรรมชาติ เกิด แก่ เจ็บ ตายก็เป็นธรรมชาติ อันเป็นส่วนประกอบที่มีมาในธรรมชาติ โดยมิได้มีผู้ใดปรุงแต่งขึ้นมา และไม่มีสิ่งใดมาหยุดยั้งได้ ถึงเวลาเกิดก็เกิด ถึงเวลาตายก็ตาย ไม่สามารถหยุดยั้งได้ อยากรู้ให้ตื่น ถ้าเราไม่ตื่นเราจะรู้ได้ อย่างไร สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าอยากรู้ อยากเห็น อยากเข้าใจ อยากได้ เราต้องตื่นก่อนจึงรู้ตามมาทีหลัง นี้คือ ความตื่นของพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตื่น ไปในทางที่ดี ตื่นไปในทางที่ประเสริฐ ตื่นไปในทางที่พ้น คำว่าพ้นคือพ้นจากความหลง พระองค์รู้ได้โดยมิมีความกังขาสงสัยใดๆทั้งสิ้น อันนี้คือการตื่นของพระองค์ที่ประเสริฐนัก
   
              ส่วนตื่นในทางที่ผิด อาตมาขอยกตัวอย่าง เช่น พระเทวทัตที่ตื่นไปในทางที่ผิด เราจะเห็นได้ถึงการตื่นในทางที่ผิด ก็คือ ริษยาคนอื่น นี่คือการตื่นไป ในทางที่ผิด ผลที่จะได้รับจะเป็นอย่างใด ตัวอย่างพระเทวทัต ถูกแม่พระธรณีสูบ เพราะริษยาพระพุทธเจ้า นี่คือการตื่นในทางที่ผิด ผลที่จะได้รับก็ผิด จากธรรมชาติ ไม่ได้ตื่นไปในทางที่ดี ดังนั้น อาตมาจึงขอฝากท่านไว้ด้วย
   
              ผลกรรมทั้งหมดที่พระเทวทัตสร้างไว้ ผลเนั้นก็ได้รับตามมา อันนี้พระเทวทัตได้มาสร้างผลกรรมในโลกมนุษย์เรานี้ แล้วก็รับกรรมในโลกเรานี้ ไม่ได้ไปรับกรรมที่สวรรค์ชั้นพรหมใดๆ ฉะนั้นเราจึงเห็นได้แน่ชัดว่าดีก็ตาม เลวก็ตาม บุญบาปก็ตาม สุขทุกข์ก็ตาม เจริญและเสื่อมก็ตาม ล้วนแล้วแต่ เกิดมาจากตัวเราเป็นผู้สร้างทั้งนั้น เรามาสร้างอยู่ในโลกมนุษย์นี้เอง เราไม่ได้สร้างอยู่ที่สวรรค์ชั้นพรหมใด ๆ
   
              ดังนั้น ถ้าเราไม่ตื่นแล้ว เราจะรู้ได้อย่างใด ว่าทางใดผิด ทางใดถูก ตื่นจากความหลง ถ้าเราไม่ตื่นแล้ว เราจะรู้ได้อย่างใดว่าเราหลง หลงอะไร หลงรู้มาก แต่รู้เอาประโยชน์ของตน ไม่รู้ประโยชน์ของคนอื่น คือรู้ในการเห็นแก่ตัว
   
              คำที่ว่าหลงนี้ อาตมาจะอธิบายให้ท่านผู้เจริญได้รู้ถึงความเป็นจริง คำที่ว่าหลงเป็นผลแห่งความเสื่อม และความทุกข์ทั้งหลายที่เราสร้างไว้ ผลที่ ได้รับตามมาก็หาความเจริญไม่ได้ ผลจะได้รับจากความหลง คือ ความเศร้าหมอง ความทุกข์ ความเดือดร้อน
   
             หลงเข้าใจผิดคิดว่าเราเป็นผู้ที่ประเสริฐกว่าคนอื่น หลงยกตนข่มท่าน เข้าใจว่าเราเป็นผู้ถูกต้อง และคิดว่าเราเป็นผู้ประเสริฐอยู่เสมอ ส่วนคนอื่น เป็นผู้ผิดและไม่ประเสริฐ ไม่ดี ไม่งาม ไม่เฉลียวฉลาด ไม่รู้ไม่ดีเหมือนเรา วัตถุสิ่งของที่เราชอบใจ พอใจ หลงเข้าใจว่าของเราดีกว่าของคนอื่น เพราะอะไร เพราะหลงไม่ตื่น เมื่อเรายังไม่ตื่นแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราหลง
   
              ดังนั้น อาตมาจะอธิบายให้แก่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้รู้ตามความเข้าใจของอาตมาว่าไปตามความจริงของความหลง หลงเข้าใจผิดคิดว่าสิ่งที่เรา คิดนั้นถูกต้องอยู่เสมอ ส่วนคนอื่นนั้นยังหาความเจริญไม่ได้ ยิ่งเติมความหลงเข้าไปอีก ดังที่อาตมากล่าวมาแล้วก็เพราะเราพอใจในสิ่งของวัตถุทั้งหลาย ที่เรามีนั้น เราเลยคิดว่าของเราดีกว่าของคนอื่น
   
               แต่ถ้าตื่นแล้วก็สามารถรู้ได้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยากรู้ อยากเข้าใจว่าเราต้องการอาหาร ต้องการวัตถุสิ่งของ หรือการไปมาในสถานที่ต่างๆ และ การสร้างคุณงามความดี ความสงบ อันจะนำความสุขมาให้แก่ตน และคนอื่น รู้สุข รู้ทุกข์ รู้ดี รู้เลว รู้ได้ในอารมณ์ของความต้องการ เมื่อรู้แล้วก็จะเป็น ผู้เห็นความสว่าง ออกจากความหลงได้ ก็เพราะเรามีปัญญารู้แจ้งได้ เพราะเราเป็นผู้ตื่นจากความหลงแล้วปัญญาก็จะสว่างรู้เหตุผลได้ในความเป็น จริง
   
              ส่วนความหลงในหลักพระพุทธศาสนา พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า อวิชาคือความโง่ เพราะความหลงเราจึงนินทาว่ากล่าวคนอื่น หลงตัวหลงในทางที่ผิด   ถ้าเราตื่นแล้วเราจะรู้ รู้แล้วเราก็จะเป็นผู้เจริญ
   
             เราเจริญแล้วผู้อื่นก็ได้รับผลตามมานั้นด้วย และสังคมก็จะได้รับผลนั้นด้วย สังคมก็จะดี สังคมดีคือสังคมมีความสงบ เกิดการรู้จักรักษาอารมณ์ ให้อยู่ในสิ่งที่ควร เพราะเรารู้ผู้อื่น
   
             ดังนั้นเราควรที่จะตื่นได้แล้ว ก็เป็นที่มาของความหมายของคำว่า ตื่น ที่อาตมาได้เอามาอภิปรายทั้งหมดนั้น ขอฝากไว้พิจารณาหาเหตุผล ควรหรือ ไม่ควรท่านจงใช้สติปัญญาของท่านเองว่าควรตื่นได้หรือยัง
   
              ขอความสุข ความเจริญ ทั้งหลายเกิดแก่ท่านสาธุชนทั้งหลาย โดยทั่วถึงกันเทอญ
   
   
              เรียบเรียงตามคำอภิปรายของหลวงตาจันทร์พี มณีวงศ์
              โดย ชไมพร ธรรยศ
               ณ .19 Heather Grove]
               Fairfield Lower Hutt
               Wellington New Zealand
               15 July 1997

   
   วิปัสสนาทางสายกลางภูมิ ๖
   โดย หลวงตา จันทร์พี มณีวงศ์
   http://www.luongta.com
   http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=636.0