ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 01:59:40 am »

 :45: อนุโมทนาครับพี่แฮม ขอบพระคุณครับผม
ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:58:48 pm »

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพํ ความว่า เทวดาทั้งหลายถือดอกไม้
ทิพย์มีดอกมณฑารพ ดอกปาริฉัตตกะ ดอกไม้กัลปพฤกษ์ ดอกบัว เป็นต้น

มนุษย์ทั้งหลายก็ถือดอกไม้มนุษย์. บทว่า สโมกิรนฺติ ความว่า โปรยปราย

ลงบนตัวเรา. บทว่า วุฏฺฐหนฺตสฺส ได้แก่ กำลังลุกขึ้น. บทว่า เวทยนฺติ

ได้แก่ ให้ทรงรู้แล้ว ให้ทรงเข้าใจแล้ว. บทว่า โสตฺถี แปลว่า ความสวัสดี

บัดนี้ เพื่อแสดงอาการที่ให้ทรงรู้ จึงกล่าวว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่

เป็นต้น อธิบายว่า ข้าแต่ท่านสุเมธบัณฑิต ท่านปรารถนาตำแหน่งอันยิ่งใหญ่

ท่านจงได้ตำแหน่งนั้น สมปรารถนาเถิด.

บทว่า สพฺพีติโย ความว่า ชื่อ อีติ เพราะเป็นที่มาของอันตราย,
อันตรายทั้งปวง ชื่อว่า สัพพีติยะ ได้แก่ อุปัทวะ. บทว่า วิวชฺชนฺตุ

ได้แก่ อย่ามีเลย. บทว่า โสโก โรโค วินสฺสตุ ความว่า โศก

กล่าวคือความเศร้า และโรคกล่าวคือความเสียดแทง จงพินาศไป. บทว่า

เต ได้แก่ ตว แก่ท่าน. บทว่า มา ภวนฺตฺวนฺตรายา ได้แก่

อันตรายทั้งหลายจงอย่ามี. บทว่า ผุส ได้แก่ จงถึง จงบรรลุ. บทว่า โพธึ

ได้แก่ พระอรหัตมรรคญาณ ถึงพระสัพพัญญุตญาณก็ควร. บทว่า อุตฺตมํ

ได้แก่ ประเสริฐสุด พระอรหัตมรรคญาณ ท่านกล่าวสูงสุด เพราะให้พระพุทธ.-

คุณทั้งปวง.

บทว่า สมเย ความว่า เมื่อถึงสมัยออกดอกบานของต้นไม้นั้น ๆ.
บทว่า ปุปฺผิโน ได้แก่ ต้นไม้ดอก. บทว่า พุทฺธญาเณหิ ได้แก่ ด้วยพุทธ-

ญาณ ๑๘. บทว่า ปุปฺผสุ ได้แก่ จงออกดอก. บทว่า ปูรยุํ ได้แก่

บำเพ็ญแล้ว . บทว่า พุชฺฌเร ได้แก่ ตรัสรู้แล้ว. บทว่า ชินโพธิยํ

ได้แก่ ในความตรัสรู้ของพระชินเจ้าคือของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อธิบายว่า

ที่โคนต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ปุณฺณมาเย ได้แก่

ในราตรีเพ็ญ. บทว่า ปุณฺณมโน ได้แก่ มีมโนรถเต็มแล้ว.

บทว่า ราหุมุตฺโต ได้แก่ พันจากราหู คือโสพภานุ. บทว่า ตาเปน
ได้แก่ ด้วยแสงร้อนแรง แสงสว่าง. บทว่า โลกา มุจฺจิตฺวา ความว่า เป็น

ผู้อันโลกธรรมฉาบทาไม่ได้แล้ว . บทว่า วิโรจ ได้แก่ จงรุ่งเรือง. บทว่า

สิริยา ได้แก่ ด้วยพุทธสิริ. บทว่า โอสรนฺติ ได้แก่ ย่อมเข้าไปสู่มหาสมุทร.

บทว่า โอสรนฺตุ ได้แก่ จงเข้าไป. บทว่า ตวนฺติเก ความว่า

สู่สำนักของท่าน. บทว่า เตหิ ได้แก่ อันเทวดาทั้งหลาย. บทว่า

ถุตปฺปสฺตฺโถ ได้แก่ ชมแล้วและสรรเสริญแล้ว หรืออันพระทีปังกรพุทธเจ้า

เป็นต้นที่เทวดามนุษย์ชมแล้ว ทรงสรรเสริญแล้ว เหตุนั้นจึงชื่อว่า ผู้อันพระ-

พุทธเจ้าที่เทวดามนุษย์ชมแล้วทรงสรรเสริญแล้ว. บทว่า ทส ธมฺเม ได้แก่

บารมีธรรม ๑๐. บทว่า ปวนํ แปลว่า ป่าใหญ่ อธิบายว่า เข้าไปป่าใหญ่ใกล้

ธัมมิกบรรพต. คาถาที่เหลือ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาเรื่องความปรารถนาของท่านสุเมธ
แห่งอรรถกถาพุทธวงศ์ ชื่อ มธุรัตถวิลาสินี
ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:57:43 pm »

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสโล ได้แก่ ที่สำเร็จด้วยหิน. บทว่า
อจโล ได้แก่ ไม่คลอนแคลน. บทว่า สุปฺปติฏฺฐิโต ได้แก่ ชื่อว่าตั้งมั่นด้วยดี

เพราะไม่คลอนแคลนนั่นแล. ปาฐะว่า ยถาปิ ปพฺพโต อจโล นิขาโต

สุปฺปติฏฺฐิโต ดังนี้ก็มี. บทว่า ภุสวาเตหิ ได้แก่ ด้วยลมมีกำลัง. บทว่า

สกฏฺฐาเนว ได้แก่ ในฐานของตนนั่นแหละ อธิบายว่า ในฐานตามที่ตั้งอยู่

นั่นแล คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้น ก็ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่าอันพุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย จะพึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็หาไม่ เห็นเมตตาบารมีอันดับเก้า

แล้ว ก็สอนตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้อง

บำเพ็ญเมตตาบารมี ท่านพึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งในผู้มีประโยชน์

เกื้อกูล ทั้งในผู้ไม่มีประโยชน์เกื้อกูล เปรียบเหมือนน้ำย่อมเอิบอาบ

ทำความเย็นเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งบาปชน ทั้งกัลยาณชน แม้ฉันใด

ถึงตัวท่าน มีจิตเป็นอย่างเดียวกันด้วยเมตตาจิต ในสรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็จัก

เป็นพระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน อธิษฐานเมตตาบารมีอันดับเก้าไว้นั่นแล

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา
มิได้ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วย
อบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นเมตตาบารมีอัน
ดับเก้า ซึ่งพระผู้แสวงคุณยังใหญ่ทั้งหลาย พระองค์
ก่อนๆ ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานเมตตาบารมี อันดับเก้านี้ไว้มั่น
ก่อน จงเป็นผู้ไม่มีผู้เสมอด้วยเมตตา ผิว่า ท่านต้อง
การบรรลุพระโพธิญาณ.
ธรรมดาน้ำ ย่อมแผ่ความเย็นไปเสมอกัน ทั้งใน
คนดีและคนชั่ว ย่อมพัดพาซึ่งมลทินคือ ธุลีไป แม้
ฉันใด.
ท่านจงแผ่เมตตาไปสม่ำเสมอ ในคนที่เป็นประ-
โยชน์เกื้อกูล และชนที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลฉันนั้น
เหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งเมตตาบารมีแล้ว ก็จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสโม โหหิ ได้แก่ จงเป็นผู้ไม่มีผู้
เสมือนด้วยเมตตาภาวนา. ในคำนั้น ปาฐะว่า ตฺวํ สมสโม โหหิ ดังนี้ก็มี.

ปาฐะนั้น มีความง่ายแล. บทว่า สมํ ได้แก่ ชั่งได้. บทว่า ผรติ ได้แก่ ถูก

ต้อง. บทว่า ปวาเหติ ได้แก่ ชำระ. บทว่า รโช ได้แก่ ธุลีที่จรมา. บทว่า

มลํ ได้แก่ มลทินมีมลทินคือเหงื่อเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นที่สรีระ ปาฐะว่า รชมลํ

ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า หิตาหิเต ได้แก่ ผู้มีประโยชน์

และผู้ไม่มีประโยชน์ อธิบายว่ามิตรและอมิตร. บทว่า เมตฺตาย ภาวย ได้

แก่จงเจริญเพิ่มพูนเมตตา คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
ทั้งหลายจะพึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้นหามิได้ เห็นอุเบกขาบารมีอับดับสิบ จึงสอนตน

เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญอุเบกขาบารมีพึง

วางตัวเป็นกลาง ทั้งในสุข ทั้งในทุกข์ ขึ้นชื่อว่าแผ่นดิน ย่อมเป็นกลางในผู้ใส่

ของสะอาดบ้างแม้ฉันใด ถึงตัวท่าน เมื่อวางตัวเป็นกลางได้ในสุขและทุกข์ก็

จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น ก็อธิษฐานอุเบกขาบารมีอันดับสิบไว้มั่นด้วย

เหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา
มิได้ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบ
รมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เมื่อเราเลือกเฟ้น ก็เห็นอุเบกขาบารมี
ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ ซ่อง
เสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานอุเบกขาบารมี อันดับสิบนี้ไว้ให้
มั่นก่อน ท่านจงเป็นผู้มั่นคงดั่งตาชั่ง ก็จักบรรลุพระ-
โพธิญาณได้.
ธรรมดาแผ่นดิน ย่อมวางเฉยต่อสิ่งของที่เขาทิ้ง
ลง ไม่ว่าสะอาด ไม่สะอาด แม้ทั้งสองอย่างเว้นความ
ยินดียินร้าย แม้ฉันใด.
ท่านจงเป็นดั่งตาชั่งในสุขและทุกข์ทุกเมื่อฉันนั้น
เหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งอุเบกขาบารมีแล้ว ก็จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุลาภูโต ได้แก่ ตั้งอยู่ในความเป็นกลาง
คันตาชั่งที่เขาชั่งเท่ากัน ก็ตั้งอยู่เท่ากันไม่หกลง ไม่กระดกขึ้น ฉันใด แม้

ตัวท่านก็ต้องเป็นเสมือนตาชั่งในสุขและทุกข์ทั้งหลาย จึงจักบรรลุพระสัมโพธิ-

ญาณได้ ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า โกปานุนยวชฺชิตา ได้แก่ เว้นความ

ยินดียินร้าย. ปาฐะว่า ทยาโกปวิวชฺชิตา ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือน

กัน คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในขันติบารมีนั่นแล.

แต่นั้น สุเมธบัณฑิต ครั้นเลือกเฟ้นบารมีธรรม ๑๐ นี้แล้ว ต่อจาก
นั้น ก็คิดว่า ธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้าอันช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ

อันพระโพธิสัตว์ทั้งหลายพึงบำเพ็ญในโลกนี้ มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ไม่มียิ่งไป

กว่า แต่ว่าบารมีเหล่านี้ ไม่มีอยู่แม้ในอากาศเบื้องบน ไม่มีอยู่แม้ในทิศทั้งหลาย

มีทิศบูรพาเป็นต้น แต่ว่าตั้งอยู่ในระหว่างเนื้อหัวใจของเราเท่านั้น เห็นว่า

บารมีเหล่านั้นตั้งอยู่ในหัวใจตนอย่างนี้แล้ว ก็อธิษฐานบารมีเหล่านั้นทั้งหมด

ไว้มั่น เมื่อพิจารณาบ่อยๆ ก็พิจารณาทั้งอนุโลม ทั้งปฏิโลม จับปลายเอามา

ชนต้น จับต้นเอามาชนปลาย จับกลางเอามาชนทั้งสองข้าง จับปลายทั้งสองข้าง

เอามาชนกลาง บริจาคสิ่งของภายนอกชื่อ บารมี บริจาคอวัยวะ ชื่อ อุปบารมี

บริจาคชีวิต ชื่อปรมัตถบารมี รวมเป็นบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถ-

บารมี ๑๐ รวมบารมี ๓๐ ทัศ พิจารณาเหมือนหมุนกลับน้ำมันในยนตร์ เมื่อ

สุเมธบัณฑิตนั้นพิจารณาบารมี ๑๐ อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม มหาปฐพีอันกว้าง

หนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ก็ส่งเสียงร้องก้องกัมปนาทสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว

ประหนึ่งกำอ้อที่ถูกช้างเหยียบ และประหนึ่งเครื่องยนตร์หีบอ้อยที่บีบคั้น

ปั่นหมุนประหนึ่งล้อแป้นทำภาชนะดินและล้อยนตร์บีบคั้นน้ำมันฉะนั้น ด้วย

เหตุนั้น จึงตรัสว่า

ธรรมซึ่งช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ ในโลกมี
เพียงเท่านี้เท่านั้น ที่สูงนอกไปจากนั้นไม่มี ท่านจง
ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้นอย่างมั่นคง.
เมื่อเรากำลังพิจารณาธรรมเหล่านี้ โดยลักษณะ
แห่งกิจคือสภาวะ หมื่นแผ่นพสุธาก็หวาดไหวเพราะ
เดชแห่งธรรม.
ปฐพีไหวส่งเสียงร้อง เหมือนยนตร์หีบอ้อยบีบ
อ้อย แผ่นดินก็ไหวเหมือนลูกล้อในยนตร์บีบน้ำมันงา
ฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตฺตกาเยว ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า
บารมี ๑๐ ที่ยกแสดงไม่ขาดไม่เกิน. บทว่า ตตฺทฺธํ ความว่า ที่สูงไปกว่า

บารมี ๑๐ นั้นไม่มี. บทว่า อญฺญตฺร แปลว่าอื่น ลักษณะศัพท์พึงถือตาม

คัมภีร์ศัพท์ศาสตร์ ความว่า พุทธการกธรรมอื่นจากบารมี ๑๐ นั้น ไม่มี.

บทว่า ตตฺถ ได้แก่บารมี ๑๐ เหล่านั้น. บทว่า ปติฏฺฐห แปลว่า จงตั้งอยู่

ความว่า จงทำให้บริบูรณ์ตั้งอยู่.

บทว่า อิเม ธมฺเม ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า สมฺมสโต ได้แก่
ทรงสอบสวน พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถอนาทระ. บทว่า สภาวสรสาลฺก-

ขเณ ความว่า ทรงพิจารณาโดยลักษณะที่มีกิจคือหน้าที่กล่าวคือสภาวะความ

จริง. บทว่า ธมฺมเตเชน ได้แก่ ด้วยเดชคืออำนาจแห่งการรู้จักเลือกเฟ้น

บารมี. รัตนะเรียกว่า วสุ ในบทว่า วสุธา. ธรรมชาติใดทรงไว้ซึ่งรัตนะนั้น

หรือรัตนะทรงอยู่ในธรรมชาตินั้น เหตุนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วสุธา ทรง

ไว้ซึ่งรัตนะหรือเป็นที่ทรงรัตนะ. ธรรมชาตินั้นคืออะไร คือเมทนีแผ่นดิน.

บทว่า ปกมฺปถ แปลว่าไหวแล้ว อธิบายว่าก็เมื่อสุเมธบัณฑิตกำลังเลือกเฟ้น

บารมีทั้งหลาย ด้วยเดชแห่งญาณของสุเมธบัณฑิตนั้น หมื่นแผ่นปฐพีก็กัมป-

นาท.

บทว่า จลติ ได้แก่ ไหว มี ๖ ประการ. บทว่า รวติ ได้แก่ บันลือ
ส่งเสียงร้อง. บทว่า อุจฺฉุยนฺตํว ปิฬิตํ แปลว่า เหมือนยนตร์หีบอ้อย

บีบอ้อย. ปาฐะว่า คุฬยนฺตํว ปีฬิตํ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.

บทว่า เตลยนฺเต แปลว่าในยนตร์ที่คั้นน้ำมัน . บทว่า ยถา จกฺกํ ได้แก่

เหมือนยนตร์ที่มีล้อใหญ่ของผู้ใช้ยานมีล้อ [ล้อรถ-เกวียน]. บทว่า เอวํ

ความว่า ยนตร์ที่ใช้ลูกกลมคั้นน้ำมัน ย่อมหมุน ย่อมสั่น ฉันใด เมทนีคือแผ่น

ดินนี้ก็สั่น ฉันนั้น. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่อย่างนี้ มนุษย์ชาวรัมมนครที่เข้าเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า ไม่อาจยืนอยู่ได้ ก็ล้มสลบเหมือนต้นสาละใหญ่ ถูกยุคันธวาตะ

พัดกระหน่ำ ภาชนะดินมีหม้อเป็นต้น ก็หมุนกระทบกันและกันแหลกเป็นจุรณ

ไป. มหาชนหวาดกลัว ก็เข้าไปหาพระศาสดา ทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่รู้เหตุนี้ว่า นี้เป็นอาการหมุนตัวของนาค หรือของ

ภูต ยักษ์ เทวดาพวกหนึ่งหรือพระเจ้าข้า อนึ่งเล่ามหาชนนี้ทั้งหมดถูกภัยรบกวน

จักเป็นความชั่วของโลกนี้ หรือเป็นความดีพระเจ้าข้า ขอโปรดตรัสบอกเหตุนี้

ด้วยเถิด.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงสดับคำของชนเหล่านั้น แล้วตรัสว่า พวก
ท่านอย่ากลัวกันเลย อย่าคิดอะไรเลย ไม่มีภัยที่เกิดจากเหตุการณ์นี้แก่พวก

ท่านดอก. ผู้ใดเราพยากรณ์ว่า วันนี้ สุเมธบัณฑิตจักเป็นพระพุทธเจ้านาม

ว่า โคตมะ ในอนาคตกาล ผู้นั้นกำลังพิจารณาบารมีทั้งหลายในบัดนี้ ด้วย

เดชแห่งธรรมของท่านผู้กำลังพิจารณานั้น ทั่วหมื่นโลกธาตุจึงไหวและส่งเสียง

ร้องพร้อมๆ กัน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

บริษัทที่อยู่ในที่เฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ตัวสั่นงันงกอยู่
ในที่นั้น พากันนอนสลบอยู่เหนือพื้นดิน.
หม้อเป็นอันมากหลายร้อยหลายพัน กระทบกัน
และกัน แหลกเป็นจุรณอยู่ในที่นั้น.
มหาชนทั้งหลาย หวาดสะดุ้งกลัวหมุนวนมีใจ
ถูกบีบ พากันมาประชุมเข้าเฝ้าพระทีปังกรพุทธเจ้า
ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ เหตุดีเหตุชั่วจักมีแก่
โลกหรือ โลกถูกเหตุนั้นรบกวนทั้งโลกหรือ ขอพระ-
องค์โปรดทรงบรรเทาความกลัวนั้นด้วยเถิด.
ครั้งนั้นพระมหามุนีทีปังกร ทรงยังมหาชนเหล่า
นั้นให้เข้าใจแล้วตรัสว่า พวกท่านจงวางใจ อย่ากลัว
ในการที่แผ่นดินไหวทั้งนี้เลย.
วันนี้ เราพยากรณ์ผู้ใดว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า
ผู้นั้นกำลังพิจารณาธรรมก่อนๆ ที่พระชินเจ้าทรงเสพ
แล้ว.
เมื่อท่านผู้นั้นกำลังพิจารณาธรรมคือพุทธภูมิไม่
เหลือเลย ด้วยเหตุนั้น หมื่นแผ่นปฐพีนี้ในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลกจึงไหว.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา แปลว่า มีประมาณเท่าใด. บทว่า
อาสิ แปลว่า ได้มีแล้ว. ปาฐะว่า ยา ตทา ปริสา อาสิ ดังนี้ก็มี ปาฐะ

นั้นมีความว่า บริษัทใดตั้งอยู่ในที่นั้น. บทว่า ปเวธมานา แปลว่า ไหว

อยู่. บทว่า สา ได้แก่ บริษัทนั้น. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่เข้าเฝ้านั้น.

บทว่า เสติ แปลว่า นอนแล้ว.

บทว่า ฆฏา แปลว่า แห่งหม้อทั้งหลาย คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ลงใน
อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ความว่า หลายพันแห่งหม้อทั้งหลาย. บทว่า สญฺจุณฺณม-

ถิตา แปลว่า เป็นจุรณด้วย แหลกด้วย ความว่า แหลกเป็นจุรณ. บทว่า

อญฺญมญฺญํ ปฆฏฺฏิตา แปลว่า กระทบซึ่งกันและกัน. บทว่า อุพฺพิคฺคา

ได้แก่ มีใจหวาด. บทว่า ตสิตา ได้แก่ เกิดสะดุ้ง. บทว่า ภีตา ได้แก่ กลัว

ภัย. บทว่า ภนฺตา ได้แก่ มีใจแปรปรวน อธิบายว่า มีใจหมุนไปผิดแล้ว

คำเหล่านี้ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของกันและกัน. บทว่า สมาคมฺม ได้แก่ มา

ประชุมกัน หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.

บทว่า อุปทฺทุโต ได้แก่ ถูกย่ำยี. บทว่า ตํ วิโนเทหิ ได้แก่ จง
บรรเทา อธิบายว่า จงกำจัดภัยที่คุกคามนั้น. บทว่า จกฺขุม ได้แก่ ข้าแต่

พระองค์ผู้มีพระจักษุ ด้วยจักษุ ๕. บทว่า เตสํ ตทา ได้แก่ ครั้งนั้น ยัง

ชนเหล่านั้น คำนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า สญฺญาเปสิ

ได้แก่ ให้รู้ให้ตื่น. บทว่า วิสฺสตฺถา ได้แก่ มีจิตสนิทสนม. บทว่า มา ภาถ

แปลว่า อย่ากลัว. บทว่า ยมหํ ตัดบทเป็น ยํ อหํ หมายถึงสุเมธบัณฑิต.

บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า ปุพฺพกํ ได้แก่ ของเก่า. บทว่า

ชินเสวตํ ความว่า อันพระชินเจ้าทั้งหลายเสพแล้ว ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์.

บทว่า พุทฺธภูมึ ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยเหตุที่พิจารณา

นั้น. บทว่า กมฺปิตา ได้แก่ ไหวแล้ว . บทว่า สเทวเก ได้แก่ ในโลกพร้อม

ทั้งเทวโลก.

ต่อนั้น มหาชนฟังพระดำรัสของพระตถาคตแล้วก็ร่าเริงยินดี พากัน
ถือดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้นออกจากรัมมนคร เข้าไปหาพระ-

โพธิสัตว์ บูชาด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้น ไหว้แล้ว ทำประทักษิณแล้ว

กลับเข้าไปยังรัมมนคร ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาบารมี ๑๐ กระทำ

อธิษฐานวิริยะให้มั่น แล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เพราะฟังพระพุทธดำรัส ใจของมหาชนก็สงบ
เย็นในทันที ทุกคนจึงเข้ามาหาเรา พากันกราบไหว้
เราอีก.
ครั้งนั้น เรายึดถือพระพุทธคุณ ทำใจไว้มั่น น้อม
นมัสการพระทีปังกรพุทธเจ้าเเล้วจึงลุกขึ้นจากอาสนะ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มโน นิพฺพายิ ความว่า ใจของมหาชน

ผู้มีใจหวาด เพราะแผ่นดินไหว ก็สงบเย็น อธิบายว่า ถึงความสงบ เพราะฟัง

เหตุที่แผ่นดินไหวนั้น. ปาฐะว่า ชโน นิพฺพายิ ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น ง่าย

เหมือนกัน. บทว่า สมาทิยิตฺวา ได้แก่ ถือเอาโดยชอบ อธิบายว่า สมาทาน.

บทว่า พุทฺธคุณํ ได้แก่ บารมีทั้งหลาย. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ ผู้เอ็นดูสรรพสัตว์กำลังลุกขึ้นจากอาสนะ
เทวดาสิ้นทั้งหมื่นจักรวาล ก็ประชุมกันบูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น

อันเป็นทิพย์ ก็เปล่งสดุดีมงคลเป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้

ท่านปรารถนาความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ แทบบาทมูลของพระทีปังกรทศพล ขอ

ความปรารถนานั้นจงสำเร็จแก่ท่านโดยไม่มีอันตรายเถิด ภัยหรือความหวาดกลัวใน

ความปรารถนานั้นอย่าได้มีแก่ท่านเลย โรคแม้จำนวนเล็กน้อย ก็จงอย่าเกิดใน

สรีระของท่าน ท่านจงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วแทงตลอดพระสัมมาสัมโพธิ-

ญาณโดยเร็ว ต้นไม้ดอกต้นไม้ผลย่อมออกดอก ออกผลตามฤดูกาล ฉันใด

แม้ตัวท่านก็อย่าล่วงเลยฤดูสมัยนั้นเสีย จงสัมผัสพระโพธิญาณโดยพลันเทอญ.

ครั้นเปล่งสดุดีอย่างนี้แล้ว ก็พากันกราบไหว้แล้วกลับไปยังเทวสถานของตนๆ

ฝ่ายพระโพธิสัตว์อันเทวดาทั้งหลายสดุดีแล้ว ดำริว่า เราจักบำเพ็ญบารมี ๑๐

แล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า ในที่สุดสี่อสงไขย กำไรแสนกัป แล้วอธิษฐานความ

เพียรไว้มั่นคง โลดขึ้นสู่อากาศ ไปยังหิมวันตประเทศที่มีคณะฤษี. ด้วยเหตุ

นั้น จึงตรัสว่า

เทวดาถือดอกไม้ทิพย์ มนุษย์ถือดอกไม้มนุษย์
เทวดาและมนุษย์ทั้งสองโปรยดอกไม้ทั้งหลาย แก่เรา
ผู้กำลังลุกขึ้นจากอาสนะ.
ก็เทวดาและมนุษย์ทั้งสองนั้น พากันแซ่ซ้อง
สวัสดีว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่ ท่านจงได้
ความปรารถนานั้น สมปรารถนาเถิด.
ขอเสนียดจัญไร จงปราศไป ความโศก โรค
จงพินาศไป อันตรายทั้งหลายจงอย่ามีแก่ท่าน ขอท่าน
จงสัมผัสพระโพธิญาณอันสูงสุดโดยเร็วเถิด.
ต้นไม้ดอก ย่อมออกดอกบานเมื่อถึงฤดูกาล ฉัน
ใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงบานด้วยพุทธญาณ
ฉันนั้นเหมือนกันเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงบำเพ็ญบารมี
๑๐ ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ท่านก็จงบำเพ็ญบารมี
๑๐ ฉันนั้นเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตรัสรู้ที่โพธิมัณฑ-
สถาน ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้
ที่โพธิมัณฑสถานของพระชินเจ้าฉันนั้นเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักร ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจง
ประกาศพระธรรมจักร ฉันนั้นเถิด.
ดวงจันทร์ในราตรีเพ็ญเต็มดวง รุ่งโรจน์ ฉันใด
ท่านมีมโนรถเต็มแล้ว จงรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ
ฉันนั้นเถิด.
ดวงอาทิตย์พ้นจากราหูแล้ว ย่อมรุ่งโรจน์ ฉันใด
ท่านพ้นจากโลกแล้ว ก็จงรุ่งโรจน์ด้วยสิริ ฉันนั้น
เหมือนกันเถิด.
แม่น้ำทุกสาย ย่อมไหลลงสู่มหาสมุทร ฉันใด
โลกพร้อมทั้งเทวโลก ขอจงชุมนุมยังสำนักของท่าน
ฉันนั้นเถิด.
ครั้งนั้น เรานั้นอันเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น
สดุดีสรรเสริญแล้ว ก็สมาทานบารมีธรรม ๑๐ ประการ
เมื่อจะยังธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์จึงเข้าไปในป่าใหญ่.
ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:56:17 pm »

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลีนวิริโย แปลว่า มีความเพียรไม่ย่อ
หย่อน. บทว่า สพฺพภเว ได้แก่ ในภพที่เกิดแล้วเกิดอีก. อธิบายว่า ในภพ

ทั้งปวง, ปาฐะว่า อารทฺธวิริโย หุตฺวา สมฺโพธึ ปาปุณิสฺสสิ ดังนี้ก็มี

คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
ทั้งหลาย มิใช่พึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นขันติบารมีอันดับหกจึงสอนตนเอง

อย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญขันติบารมี ต้อง

อดทนทั้งในการยกย่อง ทั้งในการดูหมิ่น เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายย่อมทิ้ง

ของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่ทำความรัก

หรือความขัดเคือง ด้วยเหตุนั้น ย่อมอดทนอดกลั้นได้ทั้งนั้น ฉันใด แม้ตัวท่าน

ก็ต้องอดทนในการยกย่องและดูหมิ่นของคนทั้งปวงได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันจึง

จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ก็อธิษฐานขันติบารมีอันดับหกไว้มั่นคง ด้วยเหตุนั้น

จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
พระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นขันติบารมีอันดับ
หก ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ
ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานขันติบารมี อันดับหกนี้ไว้ให้มั่น
ก่อน ท่านจงมีใจไม่เป็นสองในขันติบารมีนั้น ก็จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ขึ้นชื่อว่าแผ่นดิน ย่อมทนสิ่งของที่เขาทิ้งลงมา
สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างทุกอย่าง ไม่ทำความยินดี
ยินร้าย ฉันใด.
แม้ตัวท่าน ก็ต้องอดทนการยกย่องและการดู
หมิ่นของชนทั้งปวง ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่งแห่ง
ขันติบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในขันติบารมีนั้น. บทว่า
อเทฺวชฺฌมานโส ได้แก่ มีใจส่วนเดียว. บทว่า สุจิมฺปิ ได้แก่ ของสะอาด

มีจันทน์หญ้าฝรั่นของหอมดอกไม้เป็นต้นบ้าง. บทว่า อสุจิมฺปิ ได้แก่ ของ

ไม่สะอาดมีซากงู สุนัข คนและมูตร น้ำลาย น้ำมูกเป็นต้นบ้าง บทว่า สหติ

ได้แก่ อดกลั้น. บทว่า นิกฺเขปํ ได้แก่ นิกฺขิตฺตํ อันเขาทิ้งแล้ว. บทว่า

ปฏิฆํ ได้แก่ ความโกรธ. บทว่า ตยา คือ เพราะพฤติการณ์นั้น หรือ

เพราะเหตุที่ทิ้งของนั้น. ปาฐะว่า ปฏิฆํ ทยํ ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น มีความว่า

ไม่ทำความยินดียินร้าย เพราะการทั้งของนั้น. บทว่า สมฺมานาวมานกฺขโม

ความว่า แม้ตัวท่านก็จงทนการยกย่องและการดูหมิ่นของคนทั้งปวง. พุทธบริษัท

ทั้งหลาย สวดกันว่า ตเถว ตฺวมฺปิ สมฺภเว สมฺมานนวิมานกฺขโม

ดังนี้ก็มี ปาฐะว่า ขนฺติยา ปารมึ คนฺตฺวา ดังนี้ก็มี ความว่า ถึงโดย

บำเพ็ญขันตินั้นให้เป็นบารมี. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล. ต่อแต่

นี้ไป จักไม่กล่าวความมีประมาณเท่านี้ กล่าวแต่ที่แปลกกัน แสดงปาฐะอื่น

ไป.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
ทั้งหลายมิใช่มีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นสัจบารมีอันดับเจ็ด จึงสอนตนเอง

อย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้แต่สัจบารมี

เมื่อสายฟ้าแม้ตกลงตรงกระหม่อม ท่านก็อย่าพูดเท็จทั้งรู้ โดยอคติมีฉันทาคติ

เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์เป็นอาทิ ธรรมดาดาวประกายพรึก ถึงละทาง

โคจรของตนในฤดูทุกฤดู ก็ไม่โคจรไปทางอื่น โคจรอยู่ในทางของตนเท่านั้น

แม้ฉันใด ถึงตัวท่านละสัจจะก็ไม่พูดเท็จฉันนั้นเหมือนกัน ก็จักเป็นพระพุทธ-

เจ้าได้ แล้วอธิษฐานสัจบารมีอันดับเจ็ดไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา
ไม่ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรม
บ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นสัจบารมีอันดับ
เจ็ด ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ ซ่อง
เสพกันเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานสัจบารมีอันดับเจ็ดนี้ไว้มั่นก่อน
ท่านมีวาจาไม่เป็นสองในสัจบารมีนั้น ก็จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณ.
ธรรมดาดาวประกายพรึก เป็นดังตาชั่งของ
โลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่ว่าในฤดูฝนฤดูหนาวฤดูร้อน
ไม่โคจรออกนอกวิถีโคจรเลย แม้ฉันใด.
ถึงตัวท่าน ก็อย่าเดินออกนอกวิถีทางในสัจจะทั้ง
หลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่งสัจบารมีแล้วก็จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในสัจบารมี. บทว่า
อเทฺวชฺฌวจโน แปลว่า มีวาจาไม่เท็จ. บทว่า โอสธี นาม แปลว่า ดาวประ-

กายพรึก. ในการถือเอายา ชนทั้งหลายแลเห็นดาวประกายพรึกขึ้นจึงถือเอายา

เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่าดาวประกายพรึก. บทว่า ตุลาภูตา ได้แก่ เป็น

เครื่องวัด. บทว่า สเทวเก แปลว่า ของโลกพร้อมทั้งเทวโลก. บทว่า สมเย

ได้แก่ ในฤดูฝน. บทว่า อุตุวสฺเส ได้แก่ ในฤดูหนาวฤดูร้อน. ปาฐะว่า สมเย

อุตุวฏฺเฏ ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้นมีความว่า บทว่า สมเย ได้แก่ ฤดูร้อน. บทว่า

อุตุวฏฺเฏ ได้แก่ฤดูหนาวและฤดูฝน. ได้แก่ ฤดูหนาวและฤดูฝน. บทว่า

น โอกฺกมติ วีถิโต ดาวประกายพรึก ย่อมไม่โคจรออกจากวีถี คือ ไม่

โคจรไปนอกวิถีโคจรของตนในฤดูนั้น ๆ คือ โคจรไปทิศปัจฉิม ๖ เดือน

โคจรไปทิศบูรพา ๖ เดือน. อีกนัยหนึ่ง ยา มีขิง ดีปลี พริกเป็นต้น ชื่อว่า

โอสธี. บทว่า น โวกฺกมติ ความว่า ยาขนานใด ๆ สามารถให้ผล ยา

ขนานนั้น ๆ ให้ผลแล้ว ไม่ให้ผลของตัวเองก็ไม่สูญหายไป. บทว่า วีถิโต

ได้แก่ จากทางไป. อธิบายว่า ยาแก้ดีก็รักษาดี แก้ลมก็รักษาลม แก้เสมหะ

ก็รักษาเสมหะ. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต นั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย มีเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่ ก็เห็นอธิษฐานบารมีอันดับแปด จึง

สอนตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญแม้แต่

อธิษฐานบารมี ตั้งอธิษฐานใดไว้ ก็เป็นผู้ไม่คลอนแคลนในอธิษฐานนั้น

ชื่อว่าภูเขา เมื่อลมพัดมากระทบทุกทิศก็ไม่หวั่นไม่ไหว นิ่งอยู่ในที่ของตน

เท่านั้น ฉันใด ถึงตัวท่านเมื่อไม่คลอนแคลนในอธิษฐานของตน ก็จักเป็น

พระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน ก็อธิษฐาน อธิษฐานบารมีอันดับแปดไว้มั่น

และด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้นก็
หาไม่ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วย
อบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นอธิษฐานบารมี
อันดับแปด ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ
ซ่องเสพกันเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีอันดับแปดนี้ไว้ให้
มั่นก่อน ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้น
แล้ว ก็จักบรรลุพระโพธิญาณได้.
ภูเขาหิน ที่ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมไม่
ไหวด้วยลมแรงกล้า ย่อมตั้งอยู่ในฐานของตน ฉันใด.
ถึงตัวท่าน ก็จงไม่หวั่นไหว ในอธิษฐานบารมี
ทุกเมื่อ ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งอธิษฐาน-
บารมีแล้ว จึงจักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:55:21 pm »

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เหเต ได้แก่ น หิ เอเตเยว มิใช่
พุทธธรรมเหล่านั้นเท่านั้น. บทว่า โพธิปาจนา ได้แก่ บ่มมรรค หรือ

อบรมบ่มพระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ทุติยํ สีลปารมึ ความว่า ธรรมดาศีล

เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทุกอย่าง ผู้ตั้งอยู่ในศีล ย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรม

ทั้งหลาย ทั้งย่อมได้คุณส่วนโลกิยะและโลกุตระทุกอย่าง เพราะฉะนั้น เราจึง

เห็นศีลบารมีเป็นอันดับสองว่า ควรบำเพ็ญศีลบารมี.

บทว่า อาเสวิตนิเสวิตํ ได้แก่ เจริญแล้วและทำให้มากแล้ว. บทว่า
จมรี ได้แก่ เนื้อจามรี. บทว่า กสฺมิญฺจิ ได้แก่ ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง คือ

ในต้นไม้เถาวัลย์และเรียวหนามเป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่ง. บทว่า ปฏิลคฺคิตํ

แปลว่า ติดอยู่. บทว่า ตตฺถ ความว่า ขนหางติดอยู่ในที่ใด มันก็ยืนยอมตาย

ในที่นั้น. บทว่า น วิโกเปติ ได้แก่ ไม่ตัด. บทว่า วาลธึ ได้แก่ ไม่ตัด

ขนหางไป อธิบายว่า ยอมตายในที่นั้นนั่นแหละ.

บทว่า จตูสุ ภูมีสุ สีลานิ ความว่า ศีลทั้งหลายแจกเป็น ๔
ฐานะ คือปาติโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และปัจจย-

สันนิสสิตศีล. แต่เมื่อว่าโดยภูมิ ศีล ๔ แม้นั้นนั่นแล นับเนื่องในภูมิ ๒

นั่นแล. บทว่า ปริปูรย ได้แก่ จงให้บริบูรณ์ โดยไม่มีขาดเป็นท่อน เป็นช่อง

ด่างพร้อยเป็นต้น. บทว่า สพฺพทา ได้แก่ ทุกเวลา. บทว่า จมรี วิย

ได้แก่ เหมือนเนื้อจามรี. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็มีความง่ายทั้งนั้นแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่าพุทธการกธรรม
มิใช่มีเพียงเท่านี้ ก็เห็นเนกขัมมบารมีเป็นอันดับสาม จึงสอนตนเองอย่างนี้ว่า

ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี บุรุษที่อยู่ใน

เรือนจำมานาน ย่อมไม่รักเรือนจำนั้น ที่แท้ก็เอือมระอา ไม่อยากอยู่ แม้

ฉันใด แม้ตัวท่านก็จงเห็นภพทั้งปวงเป็นเสมือนเรือนจำ จงเอือมระอาอยากพ้น

ไปจากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะอย่างเดียว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ

เป็นดังนั้น ท่านก็จักเป็นพระพุทธเจ้าได้. แล้วอธิษฐานเนกขัมมบารมีอันดับ

สามไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้น
เราจึงเลือกเฟ้นพุทธธรรมแม้อื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
โพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นเนกขัมมบารมี
อันดับสาม ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ
ซ่องเสพกันอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานเนกขัมมบารมีอันดับสามนี้ไว้ให้
มั่นก่อน จงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ผิว่า ท่านต้องการ
จะบรรลุพระโพธิญาณ.
บุรุษอยู่ในเรือนจำมานาน ระทมทุกข์ ย่อมไม่
เกิดความรักในเรือนจำนั้น แสวงหาทางพ้นอย่างเดียว
ฉันใด.
ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ มุ่งหน้า
ต่อเนกขัมมะ เพื่อหลุดพ้นจากภพ ฉันนั้นเหมือนกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺทุฆเร แปลว่า เรือนจำ. บทว่า
จิรวุฏฺโฐ แปลว่า อยู่มาตลอดกาลนาน. บทว่า ทุขฏฺฏิโต ได้แก่ ถูกทุกข์บีบ

คั้น. บทว่า น ตตฺถ ราคํ ชเนติ ความว่า ไม่ยังความคิด ความรักให้เกิด

ให้อุบัติในเรือนจำนั้นได้ อธิบายว่า ไม่ยังความรักให้เกิดในเรือนจำนั้นอย่างนี้

ว่า เราพ้นเรือนจำนี้แล้วจักไม่ไปในที่อื่น บุรุษผู้นั้นจะแสวงหาความหลุดความ

พ้นไปทำไมเล่า. บทว่า เนกฺขมฺมาภิมุโข ได้แก่ จงมุ่งหน้าต่อการออกบวช.

บทว่า ภวโต ได้แก่ จากภพทั้งปวง. บทว่า ปริมุตฺติยา ได้แก่ เมื่อหลุดพ้น

ปาฐะว่า เนกฺขมฺมาภิมุโข หุตฺวา สมฺโพธึ ปาปุณิสฺสสิ ดังนี้ก็มีคำที่

เหลือในข้อนั้น มีความง่ายทั้งนั้นแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
มิใช่มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นปัญญาบารมีอันดับสี่ แล้วสอนตนเองอย่างนี้ว่า

ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้ปัญญาบารมี ท่านไม่พึงเว้น

คนชั้นต่ำชั้นกลางและชั้นสูงไรๆ เข้าไปหาบัณฑิตทุกท่าน แล้วถามปัญหา

ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่เว้นตระกูลทั้งหลายมีตระกูลต่ำเป็นต้นไร ๆ

เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับ ย่อมได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้เร็วฉันใด

แม้ท่านก็จงเข้าไปหาบัณฑิตทุกท่านถามปัญหา ก็จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น

เหมือนกัน แล้วอธิษฐานปัญญาบารมีอันดับสี่ไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้น
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
พระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นปัญญาบารมี
อันดับสี่ ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ
ซ่องเสพกันอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานปัญญาบารมี อันดับสี่นี้ไว้ให้มั่น
จงบำเพ็ญปัญญาบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุ
พระโพธิญาณ.
เหมือนอย่างว่า ภิกษุเมื่อขอก็ขอทั้งตระกูลชั้นต่ำ
ตระกูลชั้นกลางและตระกูลชั้นสูง ไม่เว้นตระกูลทั้ง
หลายเลย ดังนั้นจึงได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไป
ได้ ฉันใด.
ท่านสอบถามชนผู้รู้ทุกเวลา ถึงฝั่งปัญญาบารมี
แล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ฉันนั้นเหมือนกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขนฺโต ได้แก่ ผู้เที่ยวไปบิณฑบาต.
บทว่า หีนมุกฺกฏฺฐมชฺฌิเม ความว่า ตระกูลทั้งชั้นต่ำ ชั้นสูง และชั้นกลาง

ท่านทำเป็นลิงควิปลาส. บทว่า น วิวชฺเชนฺโต ได้แก่ ไม่บริหาร อธิบายว่า

ภิกษุละลำดับเรือนเที่ยวบิณฑบาต ชื่อว่าเว้นไม่ทำอย่างนั้น. บทว่า ปริปุจฺ-

ฉนฺโต ความว่า เข้าไปหาบัณฑิต ผู้มีชื่อเสียงในที่นั้น ๆ สอบถามโดยนัย

เป็นต้นว่า ท่านเจ้าข้า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มี

โทษดังนี้. บทว่า พุธํ ชนํ ได้แก่ ชนผู้เป็นบัณฑิต. ปาฐะว่า พุเธ ชเน

ดังนี้ก็มี. บทว่า ปญฺญาย ปารมึ ได้แก่ ฝั่งแห่งปัญญาบารมี. ปาฐะว่า

ปญฺญาปารมิตํ คนฺตฺวา ดังนี้ก็มี คำที่เหลือในข้อแม้นี้ ก็มีความง่ายเหมือน

กันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต นั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย มิใช่เพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นวิริยบารมีอันดับห้า พึงสอนตน

เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญแม้แต่วิริยบารมี

ราชสีห์ พระยามฤค มีความเพียรมั่นคงในอิริยาบถทั้งหมดแม้ฉันใด แม้ตัว

ท่านก็ต้องมีความเพียรมั่นคง มีความเพียรไม่ท้อถอยในอิริยาบถทั้งปวง ในภพ

ทั้งปวงอยู่ฉันนั้น จึงจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ อธิษฐานวิริยบารมีอันดับห้าไว้

อย่างมั่นคง ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
โพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นวิริยบารมีอันดับ
ห้า ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ
ซ่องเสพกันเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทาน วิริยบารมีอันดับห้านี้ไว้ให้มั่น
ก่อน จงบำเพ็ญวิริยบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุ
พระโพธิญาณ.
ราชสีห์พระยามฤค มีความเพียรไม่ท้อถอยใน
อิริยาบถนอน ยืน เดิน ประคองใจทุกเมื่อ ฉันใด.
ท่านจงประคองความเพียรไว้ให้มั่นในภพทั้งปวง
ถึงฝั่งแห่งวิริยบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ
ฉันนั้นเหมือนกัน.
ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:54:24 pm »

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธสฺส วจนํ สุตฺวา ทสสหสฺสีน
จูภยํ ความว่า สดับพระดำรัสของพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า และของ

เทวดาในหมื่นจักวาล. บทว่า อุภยํ ได้แก่ อุถเยสํ คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ

ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ หรือ คำทั้งสอง. บทว่า เอวํ จินฺเตสหํ ได้แก่

เราคิดอย่างนี้.

บทว่า อเทฺวชฺฌวจนา ได้แก่ มีพระดำรัสไม่เป็นสองอย่าง อธิบาย
ว่า มีพระดำรัสเป็นอย่างเดียว. ปาฐะว่า อจฺฉิทฺทวจนา ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น

มีความว่าไม่มีโทษ. บทว่า อโมฆวจนา ได้แก่ มีพระดำรัสไม่เท็จ. บทว่า

วิตถํ ความว่า คำเท็จไม่มี. บทว่า ธุวํ พุทฺโธ ภวามหํ พึงทราบว่าท่าน

ทำเป็นคำปัจจุบันกาล โดยเป็นเรื่องแน่นอนและเป็นเรื่องมีโดยแท้ว่า เราจัก

เป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว.

บทว่า สูริยุคฺคมนํ ได้แก่ การอุทัยของดวงอาทิตย์หรือปาฐะก็อย่างนี้
เหมือนกัน. บทว่า ธุวสสฺสตํ ได้แก่ มีความเป็นโดยส่วนเดียว และเที่ยง

แท้. บทว่า นิกฺขนฺตสยนสฺส ได้แก่ ผู้ออกไปจากที่นอน. บทว่า

อาปนฺนสฺตฺตานํ ได้แก่ สัตว์ผู้มีครรภ์หนัก อธิบายว่าผู้มีครรภ์. บทว่า

ภารโมโรปนํ ได้แก่ ภารโอโรปนํ อธิบายว่า การปลงลงซึ่งครรภ์. ม

อักษรทำการสนธิบท คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายทั้งนั้นแล.

สุเมธบัณฑิต ทำการตกลงใจอย่างนี้ว่า เรานั้นจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่แท้ เพื่อใคร่ครวญถึงพุทธการกธรรมทั้งหลาย จึงเลือกเฟ้นธรรมธาตุทั้งสิ้น

โดยลำดับว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย อยู่ที่ไหนหนอ เบื้องบน เบื้องล่าง

ในทิศใหญ่ทิศน้อยทั้งหลาย ก็เห็นทานบารมีอันดับแรก ที่พระโพธิสัตว์ทั้ง

หลายเก่าๆ ในกาลก่อนช่องเสพเป็นประจำกันมา จึงสอนพระองค์เองอย่างนี้ว่า

ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับตั้งแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีก่อน เหมือนอย่าง

ว่า หม้อน้ำที่เขาคว่ำปากลง ย่อมหลั่งน้ำออกไม่เหลือเลย ไม่นำน้ำกลับเข้าไป

ฉันใด ท่านก็ไม่พึงเสียดายทรัพย์หรือยศ บุตรภรรยาหรืออวัยวะใหญ่น้อย

เมื่อให้ทุกอย่างที่ยาจกต้องการๆ กันไม่เหลือไว้เลยในที่ทั้งปวง ก็จักนั่งเป็น

พระพุทธเจ้าที่โคนโพธิพฤกษ์ ดังนี้แล้วอธิษฐานทานบารมีไว้มั่นเป็นอันดับ

แรก ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เอาเถิด เราจักเลือกเฟ้นพุทธการกธรรม ทางโน้น
ทางนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง ทั้งสิบทิศ ตราบเท่าที่
ธรรมธาตุยังเป็นไป.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นทานบารมีเป็น
อันดับแรก เป็นทางใหญ่ ที่พระผู้แสวงคุณใหญ่
หลายพระองค์ก่อน ๆ ประพฤติตามกันมาแล้ว.
ท่านจงสมาทาน ทานบารมีนี้ไว้มั่นเป็นอันดับ
แรกก่อน จงบำเพ็ญทานบารมี ผิว่าท่านต้องการจะ
บรรลุพระโพธิญาณ.
หม้อที่เต็มด้วยน้ำอย่างใดอย่างหนึ่งวางคว่ำปาก
ลงก็สำรอกน้ำออกไม่เหลือเลย ไม่รักษาน้ำไว้ในหม้อ
นั้น แม้ฉันใด.
ท่านเห็นยาจก ทั้งชั้นต่ำชั้นกลางและชั้นสูง แล้ว
จงให้ทานไม่เหลือเลย เหมือนหม้อน้ำที่คว่ำปาก ฉัน
นั้นเหมือนกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเชื้อเชิญ.
บทว่า พุทฺธกเร ธมฺเม ได้แก่ ธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้า ธรรม

๑๐ ประการมี ทานปารมิตา เป็นต้น ชื่อว่าธรรมทำความเป็นพระพุทธเจ้า.

บทว่า วิจินามิ ได้แก่ จักเลือกเฟ้น อธิบายว่า จักทดสอบ จักสอบสวน.

บทว่า อิโต จิโต ได้แก่ ช้างโน้น ข้างนี้. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน

ความว่า จะเลือกเฟ้นในที่นั้นๆ. บทว่า อุทฺธํ ได้แก่ ในเทวโลก. บทว่า

อโธ ได้แก่ ในมนุษยโลก. บทว่า ทสทิสา ได้แก่ ในสิบทิศ อธิบายว่า

พุทธการกธรรมเหล่านั้นอยู่ที่ไหนหนอ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ในทิศ

ใหญ่ทิศน้อย. คำว่า ยาวตา ในคำว่า ยาวตา ธมฺมธาตุยา นี้ เป็นคำกล่าว

กำหนด. บทว่า ธมฺมธาตุยา ได้แก่ แห่งสภาวธรรม พึงเห็นว่าเติมคำที่เหลือ

ว่า ปวตฺตนี แปลว่า ความเป็นไปแห่งสภาวธรรม ท่านอธิบายไว้อย่างไร

ท่านอธิบายไว้ว่า จักเลือกเฟ้นเพียงเท่าที่สภาวธรรม คือธรรมส่วนกามาวจร

รูปาวจรเป็นไป.

บทว่า วิจินนฺโต ได้แก่ ทดสอบ สอบสวน. บทว่า ปุพฺพเกหิ
ได้แก่ อันพระโพธิสัตว์ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ. บทว่า อนุจิณฺณํ ได้แก่

สะสม ซ่องเสพ. บทว่า สมาทิย ได้แก่ จงทำการสมาทาน อธิบายว่า จง

สมาทานอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้ เราควรบำเพ็ญทานบารมีนี้ก่อน. บทว่า ทาน-

ปารมิตํ คจฺฉ ได้แก่ ถึงทานบารมี. อธิบายว่าทำให้เต็ม. บทว่า ยทิ โพธึ

ปตฺตุมิจฺฉสิ ความว่า ถ้าท่านปรารถนาจะเข้าไปโคนโพธิ์แล้วบรรลุ พระ-

อนุตตรสัมมาสัมโพธิ. บทว่า ยสฺส กสฺสจิ ความว่า เต็มด้วยน้ำหรือน้ำนม

อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อประกอบ สัมปุณฺณ ศัพท์ ปราชญ์ทางศัพทศาสตร์

ประสงค์ฉัฏฐีวิภัตติ หรือฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. ความว่า ด้วยน้ำ

อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อโธกโต ได้แก่ อันเขาคว่ำปากลง. บทว่า น

ตตฺถ ปริรกฺขติ ได้แก่ รักษาไว้ไม่ได้ในการไหลของน้ำนั้น อธิบายว่าหลั่ง

น้ำออกไม่เหลือเลย. บทว่า หีนมุกฺกฏฺฐมชฺฌิเม ได้แก่ ชั้นต่ำชั้นกลางและ

ชั้นประณีต ม อักษรทำบทสนธิ. บทว่า กุมฺโภ วิย อโธกโต ได้แก่

เหมือนหม้อที่วางคว่ำปาก. สุเมธบัณฑิตสอนตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อน

สุเมธ ท่านพบคนยาจกที่เข้าไปหา จงบำเพ็ญทานบารมีด้วยการบริจาคทรัพย์

ทั้งหมดของตนไม่ให้เหลือ อุปบารมีด้วยการบริจาคอวัยวะ และปรมัตถปารมี

ด้วยการบริจาคชีวิต.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า ไม่ควรมีแต่พุทธ-
การกธรรมเพียงเท่านี้ ก็เห็นศีลบารมีเป็นอันดับสอง จึงสอนตนเองอย่างนี้ว่า ดู

ก่อนสุเมธบัณฑิตตั้งแต่นี้ไป ท่านควรบำเพ็ญศีลบารมี ขึ้นชื่อว่าเนื้อจามรีไม่อาลัย

แม้แต่ชีวิต ย่อมรักษาขนหางของตนอย่างเดียว ฉันใด ตั้งแต่นี้ไป ท่านไม่

อาลัยแม้แต่ชีวิต รักษาศีล อย่างเดียว ฉันนั้น แล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า จึง

อธิษฐานศีลบารมีอันดับสองไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้
เท่านั้น เราจึงเลือกเฟ้นพุทธธรรมแม้อื่นๆ ที่ช่วย
อบรมบ่มโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นศีลบารมีอันดับ
สอง ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ พา
กันซ่องเสพอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานศีลบารมีอันดับสองนี้ไว้มั่นก่อน
จงบำเพ็ญศีลบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุพระ-
โพธิญาณ.
เนื้อจามรี รักษาขนหางที่ติดอยู่ในที่บางแห่ง
ยอมตายอยู่ในที่นั้น ไม่ยอมให้ขนหางกระจุย ฉันใด
ท่านจงทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ในฐานะ ๔ จง
บริรักษ์ศีลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้น
เหมือนกัน.
ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:53:22 pm »

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ สุตฺวาน วจนํ ความว่า ฟังคำ
พยากรณ์พระโพธิสัตว์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรนี้. บทว่า อสมสฺส

ได้แก่ ชื่อว่าไม่มีผู้เสมอ เพราะไม่มีผู้เสมอเหมือน เหมือนอย่างที่ตรัสว่า

น เม อาจริโย อตฺถิ สทิโส เม น วิชฺชติ
สเทวกสฺมึ โลกสฺมึ นตฺถิ เม ปฏิปุคฺคโล.
เราไม่มีอาจารย์ ผู้เสมือนเราไม่มี ผู้เทียบเรา
ไม่มีในโลก พร้อมทั้งเทวโลก.
บทว่า มเหสิโน ความว่า ชื่อว่ามเหสี เพราะเสาะแสวงหาคุณคือศีล
สมาธิปัญญาใหญ่. ผู้แสวงหาคุณใหญ่พระองค์นั้น. บทว่า นรมรู ได้แก่มนุษย์

และเทวดาทั้งหลาย ก็ศัพท์นี้ชี้แจงความอย่างสูง สัตว์แม้ทั้งหมด แม้แต่นาค

สุบรรณและยักษ์เป็นต้นในหมื่นโลกธาตุก็พากันดีใจ. บทว่า พุทฺธพีชํ กิร

อยํ ความว่า พากันดีใจว่า ได้ยินว่า หน่อเนื้อพุทธางกูรนี้เกิดขึ้นแล้ว.

บทว่า อุกฺกฏฺฐิสทฺทา ความว่า เสียงโห่ร้องเป็นไปอยู่. บทว่า
อปฺโผเฏนฺติ ได้แก่ ยกแขนขึ้นปรบมือ. บทว่า ทสสทสฺสี แปลว่า หมื่นโลก

ธาตุ. บทว่า สเทวกา ความว่า หมื่นโลกธาตุกับเทวดาทั้งหลายที่ชื่อว่า สเทวกะ

ย่อมนมัสการ. บทว่า ยทิมสฺส ตัดบทว่า ยทิ อิมสฺส หรือปาฐะ ก็อย่างนี้

เหมือนกัน. บทว่า วิรชฺฌิสฺสาม ได้แก่ ผิว่าเราไม่บรรลุ. บทว่า อนาค-

ตมฺหิ อทฺธาเน แปลว่า ในอนาคตกาล. บทว่า เหสฺสาม แปลว่า จักเป็น.

บทว่า สมฺมุขา แปลว่า ต่อหน้า. บทว่า อิมํ คือ อิมสฺส ทุติยาวิภัตติ
ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ แปลว่า ของท่านผู้นี้.

บทว่า นทึ ตรนฺตา ได้แก่ ผู้ข้ามแม่น้ำ ปาฐะว่า นทิตรนฺตา

ดังนี้ก็มี. บทว่า ปฏิติตฺถํ ได้แก่ ท่าเรือเฉพาะหน้า. บทว่า วิรชฺฌิย แปลว่า

พลาดแล้ว. บทว่า ยทิ มุญฺจาม ความว่า ผิว่า พวกเราจักพ้นพระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นี้โดยไม่ได้ทำกิจไป. บทว่า มม กมฺมํ ปกิตฺเตตฺวา

ได้แก่ ทรงพยากรณ์ประโยชน์ที่เราเจริญแล้ว. บทว่า ทกฺขิณํ ปาทมุทฺธริ

แปลว่า ยกพระบาทเบื้องขวา. ปาฐะว่า กตปทกฺขิโณ ดังนี้ก็มี.

บทว่า ชินปุตฺตา ได้แก่ สาวกของพระศาสดาทีปังกร. บทว่า เทวา
มนุสฺสา อสุรา จ อภิวาเทตฺวาน ปกฺกมุํ ความว่า ท่านเหล่านี้แม้ทั้ง

หมดมีเทวดาเป็นต้น ทำประทักษิณเรา ๓ ครั้ง บูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น ตั้ง

อัญชลีไว้เป็นอย่างดี ไหว้แล้วก็กลับ แลดูบ่อย ๆ แล้วชมด้วยสดุดีนานาประการ

ที่มีอรรถพยัญชนะอันไพเราะแล้วหลีกไป. ปาฐะว่า นรา นาคา จ คนฺธพฺพา

อภิวาเทตฺวาน ปกฺกมุํ ดังนี้ก็มี.

บทว่า ทสฺสนํ เม อติกฺกนฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาค
เจ้าล่วงทัศนวิสัยของเราไปแล้ว. ปาฐะว่า ชหิเต ทสฺสนูปจาเร ดังนี้ก็มี.

บทว่า สสงฺเฆ ได้แก่ พร้อมกับพระสงฆ์ ชื่อว่า สสังฆะ พร้อมกับพระ-

สงฆ์นั้น. บทว่า สยนา วุฏฺฐหิตฺวา ได้แก่ ลุกขึ้นจากตม อันเป็นที่ ๆ

ตนนอนลงแล้ว. บทว่า ปลฺลงฺกํ อาภุชึ ความว่า ทำบัลลังก์คือขัดสมาธิ

นั่งเหนือกองดอกไม้. ปาฐะว่า หฏฺโฐ หฏฺเฐน จิตฺเตน อาสนา วุฏฺฐหึ

ตทา ดังนี้ก็มี. ปาฉะนั้น มีอรรถง่าย.

บทว่า ปีติยา จ อภิสฺสนฺโน ได้แก่ อันปีติสัมผัสซาบซ่านแล้ว.
บทว่า วสีภูโต ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ชำนาญ. บทว่า ณาเน ได้แก่ รูปาวจร

ฌานและอรูปาวจรฌาน. บทว่า สหสฺสิยมฺหิ แปลว่า หมื่น. บทว่า โลกมฺหิ

ได้แก่ ในโลกธาตุ. บทว่า เม สมา ได้แก่ เสมือนเรา. พระองค์ตรัสโดยไม่

แปลกว่า ผู้ที่เสมอไม่มี บัดนี้เมื่อจะทรงกำหนดความนั้นนั่นแลจึงตรัสว่า ไม่มีผู้

เสมอในอิทธิธรรมทั้งหลาย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทธิธมฺเมสุ ความ

ว่า ในอิทธิธรรม ๕. บทว่า ลภึ แปลว่า ได้แล้ว. บทว่า อีทิสํ สุขํ

ได้แก่ โสมนัสเช่นนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงว่า ครั้งนั้น สุเมธดาบส ฟังพยากรณ์
ของพระทศพลแล้ว สำคัญความเป็นพระพุทธเจ้าประหนึ่งอยู่ในกำมือแล้วก็มี

หัวใจเบิกบาน มหาพรหมในชั้นสุทธาวาสทั้งหลาย ในหมื่นโลกธาตุ เคยเห็น

อดีตพระพุทธเจ้ามา เพื่อประกาศความเที่ยงแท้ไม่แปรผันแห่งพระดำรัสของ

พระตถาคต เพราะเห็นปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นในการพยากรณ์นิยตพระโพธิสัตว์

เมื่อทรงแสดงคำที่เทวดาทั้งหลายแสดงความยินดีกะเรา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้

จึงตรัสว่า ปลฺลงฺกาภุชเน มยฺหํ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺกาภุชเน มยฺหํ ได้แก่ ในการ
นั่งขัดสมาธิของเรา. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ทสสหสฺสาธิวา-

สิโน ได้แก่ มหาพรหมทั้งหลายที่อยู่ในหมื่นโลกธาตุ. บทว่า ยา ปุพฺเพ

ได้แก่ ยานิ ปุพฺเพ คำนี้พึงทราบว่าท่านกล่าวลบวิภัตติ. บทว่า ปลฺลงฺก-

วรมาภุเช ได้แก่ ในการนั่งขัดสมาธิอย่างดี. บทว่า นิมิตฺตานิ ปทิสฺสนฺติ

ความว่า นิมิตทั้งหลาย ปรากฏแล้ว เมื่อควรจะกล่าวคำเป็นอดีตกาล ก็กล่าว

คำเป็นปัจจุบันกาล ถึงคำที่กล่าวเป็นปัจจุบันกาลแต่ก็ควรถือความเป็นอดีตกาล.

บทว่า ตานิ อชฺช ปทิสฺสเร ความว่า นิมิตเหล่าใด เกิดขึ้นแล้วในการ

ที่นิยตพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งขัดสมาธิแม้ในกาลก่อน นิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกัน

อยู่ในวันนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอนทีเดียว. แต่มิใช่

นิมิตเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว. คำว่า นิมิตเหล่านั้นก็เห็นกันอยู่ในวันนี้ พึง

ทราบว่า ท่านกล่าวก็เพราะเสมือนนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วนั้น.

บทว่า สีตํ แปลว่า ความเย็น. บทว่า พฺยปคตํ แปลว่า ไปแล้ว
ไปปราศแล้ว. บทว่า ตานิ ความว่า ความเย็นก็คลายไปความร้อนก็ผ่อนไป

บทว่า นิสฺสทฺทา ได้แก่ ไม่มีเสียง ไม่อึกทึก. บทว่า นิรากุลา

แปลว่า ไม่วุ่นวาย. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า น สนฺทนฺติ

ได้แก่ ไม่นำไป ไม่ไหลไป. บทว่า สวนฺติโย แปลว่า แม่น้ำทั้งหลาย. บทว่า

ตานิ ได้แก่ ไม่พัดไม่ไหล. บทว่า ถลชา ได้แก่ ดอกไม้ที่เกิดที่ต้นไม้ตาม

พื้นดินและบนภูเขา. บทว่า ทกชา ได้แก่ ดอกไม้ที่เกิดในน้ำ. บทว่า ปุปฺผนฺติ

ได้แก่ บานแล้วแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายในกาลก่อน. คำเป็นปัจจุบันลงในอรรถ

อดีตกาล พึงทราบ โดยนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล. บทว่า เตปชฺช

ปุปฺผิตานิ ความว่า ดอกไม้แม้เหล่านั้น บานแล้วในวันนี้.

บทว่า ผลภารา ได้แก่ ทรงผล. บทว่า เตปชฺช ตัดบทว่า เตปิ
อชฺช ท่านกล่าวว่า เตปิ โดยลิงควิปลาส เพราะท่านกล่าวว่า ลตา วา

รุกฺขา วา. บทว่า ผลิตา แปลว่า เกิดผลแล้ว. บทว่า อากาสฏฺฐา จ

ภุมฺมฏฺฐา ได้แก่ ไปในอากาศ และที่ไปบนแผ่นดิน. บทว่า รตนานิ ได้

แก่ รัตนะทั้งหลาย มีแก้วมุกดาเป็นต้น. บทว่า โชตสฺติ แปลว่า ส่องแสงสว่าง.

บทว่า มานุสฺสกา ได้แก่ เป็นของมนุษย์ทั้งหลาย ชื่อว่ามานุสสกะของมนุษย์.

บทว่า ทิพฺพา ได้แก่ เป็นของเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่าทิพพะของเทวดา.

บทว่า ตุริยา ได้แก่ ดนตรี ๕ คือ อาตตะ วิตตะ อาตตะวิตตะ สุสิระและ

ฆนะ. บรรดาดนตรีเหล่านั้น ในดนตรีมีกลองเป็นต้นที่หุ้มหนัง ดนตรีที่หุ้ม

หนังหน้าเดียวชื่อว่าอาตตะ ดนตรีที่หุ้มหนังสองหน้าชื่อว่าวิตตะ ดนตรีมีพิณ

ใหญ่เป็นต้นที่หุ้มหนังหมด ชื่อว่าอาตตะวิตตะ ดนตรีมีปี่เป็นต้น ชื่อว่าสุสิระ.

ดนตรีมีสัมมตาลเป็นต้น ชื่อว่าฆนะ. บทว่า วชฺชนฺติ ได้แก่ บรรเลงแล้ว

โดยนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง คำที่เป็นปัจจุบันกาล พึงทราบว่าใช้ในอรรถ

อดีตกาล แม้ในคำเช่นนี้ต่อๆ ไป ก็นัยนี้. บทว่า อภิรวนฺติ ความว่า ร้องดัง

บันลือลั่นเหมือนดนตรีทีผู้ฉลาดบรรเลงแล้ว ประโคมแล้ว ขับร้องแล้ว.

บทว่า วิจิตฺตปุปฺผา ได้แก่ ดอกไม้ทั้งหลาย มีกลิ่นและสีต่าง ๆ อัน
งดงาม. บทว่า อภิวสฺสนฺติ แปลว่า ตกลงแล้ว อธิบายว่าหล่นแล้ว. บทว่า

เตปิ ความว่า ดอกไม้อันงดงามแม้เหล่านั้น ตกลงอยู่ก็เห็นกันในวันนี้ อธิบาย

ว่าอันหมู่เทวดาและพรหมโปรยลงมาอยู่. บทว่า อภิรวนฺติ ได้แก่ บันลือลั่น.

บทว่า นิรเย ได้แก่ ในนรกทั้งหลาย. บทว่า ทสสหสฺเส ได้แก่ หลายหมื่น.

บทว่า นิพฺพนฺติ ได้แก่ สงบ อธิบายว่าถึงความสงบ. บทว่า ตารกา ได้แก่

ดาวฤกษ์ทั้งหลาย. บทว่า เตปิ อชฺช ปทิสฺสนฺติ ความว่า ดวงดาวแม้

เหล่านั้น ก็เห็นกันกลางวันวันนี้ เพราะดวงอาทิตย์สุกใสไร้มลทิน.

บทว่า อโนวฏฺเฐน ได้แก่ คำว่า อโนวฏฺเฐ นี้เป็นตติยาวิภัตติลงใน
อรรถสัตตมีวิภัตติ. อีกนัยหนึ่ง บทว่า อโนวฏฺเฐ ได้แก่ ไม่มีอะไรแม้ปิด

กั้น. คำว่า น เป็นเพียงนิบาตเหมือนในประโยคเป็นต้นว่า สุตฺวา น ทูตวจนํ

ฟังคำของทูตดังนี้. บทว่า ตมฺปชฺชุพฺภิชฺชเต ความว่า น้ำแม้นั้นก็พุขึ้นใน

วันนี้ อธิบายว่าแทรกพุ่งขึ้น. บทว่า มหิยา ได้แก่ แผ่นดิน เป็นปัญจมีวิภัตติ.

บทว่า ตาราคณา ได้แก่ หมู่ดาวทั้งหมด มีดาวเคราะห์และดาวนักษัตร

เป็นต้น. บทว่า นกฺขตฺตา ได้แก่ ดาวฤกษ์ทั้งหลาย. บทว่า คคนมณฺฑเล

ความว่า ส่องสว่างทั่วมณฑลท้องฟ้า. บทว่า พิลาสยา ได้แก่ สัตว์ที่อยู่ใน

ปล่องมีงู พังพอน จรเข้และเหี้ย เป็นต้น. บทว่า ทรีสยา ได้แก่ สัตว์ที่อยู่ใน

แอ่งน้ำ หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า นิกฺขมนฺติ ได้แก่ ออกไป

แล้ว. บทว่า สกาสยา แปลว่า จากที่อยู่ของตนๆ ปาฐะว่า ตทาสยา ดังนี้ก็มี

ปาฐะนั้นมีความว่า ในครั้งนั้นคือในกาลนั้น จากที่อยู่คือปล่อง. บทว่า ฉุทฺธา

ได้แก่ อันเขาซัดไปแล้ว ขึ้นไปแล้ว คือออกไป.

บทว่า อรตี ได้แก่ ความกระสัน. บทว่า สนฺตุฏฺฐา ได้แก่สัน-
โดษด้วยสันโดษอย่างยิ่ง. บทว่า วินสฺสติ ได้แก่ ไปปราศ. บทว่า ราโค

ได้แก่กามราคะ. บทว่า ตทา ตนุ โหติ ได้แก่ มีประมาณน้อย ทรงแสดง

ปริยุฏฐานกิเลสด้วยบทนี้. บทว่า วิคตา ได้แก่ สูญหาย. บทว่า ตทา ได้แก่

ครั้งก่อน อธิบายว่า ครั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ. บทว่า น ภวติ

แปลว่า ไม่มี. บทว่า อชฺชเปตํ ความว่า แม้ครั้งท่านนั่งขัดสมาธิในวันนี้

ภัยนั้นก็ไม่มี. บทว่า เตน ลิงฺเคน ชานาม ความว่า พวกเราทุกคนย่อม

รู้ด้วยเหตุที่ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า.

บทว่า อนุทฺธํสติ ได้แก่ ไม่ฟุ้งขึ้น. บทว่า อนิฏฺฐคนฺโธ ได้แก่
กลิ่นเหม็น. บทว่า ปกฺกมติ แปลว่า หลีกไปแล้ว ปราศไปแล้ว. บทว่า

ปวายติ แปลว่า พัดไปแล้ว. บทว่า โสปชฺช ได้แก่ กลิ่นทิพย์แม้นั้น ในวันนี้.

บทว่า ปทิสฺสนฺติ ได้แก่ เห็นกันแล้ว. บทว่า เตปชฺช ได้แก่ เทวดา

ทั้งหมดแม้นั้นในวันนี้. ศัพท์ว่า ยาวตาเป็นนิบาตลงในอรรถว่ากำหนด ความว่า

มีประมาณเท่าใด. บทว่า กุฑฺฑา แปลว่า กำแพง. บทว่า น โหนฺตาวรณา

ได้แก่ ทำการขวางกั้นไม่ได้. บทว่า ตทา ได้แก่ ครั้งก่อน. บทว่า

อากาสภูตา ได้แก่ กำแพงบานประตูและภูเขาเหล่านั้น ไม่อาจทำการขวางกั้น

ทำไว้ข้างนอกได้ อธิบายว่าอากาศกลางหาว. บทว่า จุติ ได้แก่ มรณะ. บทว่า

อุปฺปตฺติ ได้แก่ ถือปฏิสนธิ. บทว่า ขเณ ได้แก่ ในขณะพระโพธิสัตว์ทั้ง

หลายนั่งขัดสมาธิในกาลก่อน. บทว่า น วิชฺชติ แปลว่า ไม่มีแล้ว . บทว่า

ตานิปชฺช ความว่า การจุติปฏิสนธิ ในวันนี้แม้เหล่านั้น. บทว่า มา นิวตฺติ

ได้แก่ จงอย่าถอยหลัง. บทว่า อภิกฺกม ได้แก่ จงก้าวไปข้างหน้า คำที่เหลือ

ในเรื่องนี้ ง่ายทั้งนั้นแล.

ต่อจากนั้น สุเมธบัณฑิต สดับคำของพระทีปังกรทศพล และของ
เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล ก็เกิดอุตสาหะ อย่างยิ่งยวด คิดว่า ธรรมดาพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวาจาไม่โมฆะเปล่าประโยชน์ พระวาจาของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายไม่เปลี่ยนเป็นอื่น. เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่เหวี่ยงไปในอากาศก็ตก

แน่นอน สัตว์ที่เกิดมาแล้วก็ตาย เมื่ออรุณขึ้นดวงอาทิตย์ก็ขึ้นสู่ท้องฟ้า ราชสีห์

ออกจากที่อยู่ ก็บันลือสีหนาท สตรีมีครรภ์หนักก็ปลงภาระแน่นอน เป็น

อย่างนี้โดยแท้ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็แน่นอนไม่

โมฆะเปล่าประโยชน์ ฉันนั้นเหมือนกัน เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เราสดับพระดำรัสของพระพุทธเจ้า และคำของ
เทวดาในหมื่นโลกธาตุ ทั้งสองแล้ว ก็ยินดีร่าเริงเบิก
บานใจ ในครั้งนั้น จึงคิดอย่างนี้ว่า
พระชินพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่เป็นสอง
มีพระดำรัสไม่เป็นโมฆะ คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้ง
หลายไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ก้อนดินถูกเหวี่ยงไปในอากาศ ย่อมตกที่พื้นดิน
แน่นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ก็เที่ยงแท้แน่นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ความตายของสัตว์ทั้งหมด เที่ยงแท้ แน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็เที่ยง
แท้แน่นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
เมื่อสิ้นราตรี ดวงอาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอน ฉันใด
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็เที่ยงแท้แน่
นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี
เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ราชสีห์ออกจากที่นอน ก็บันลือสีหนาทแน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐก็ฉันนั้น
คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี เราจะเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
สัตว์มีครรภ์หนัก ก็ปลงภาระแน่นอน ฉันใด
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็เที่ยงแท้แน่
นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี
เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:52:22 pm »

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกวิทู ได้แก่ ชื่อว่า โลกวิทู เพราะทรง
รู้จักโลกโดยประการทั้งปวง. ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ ทรงรู้ทั่ว

ทรงแทงตลอดโลก แม้โดยประการทั้งปวง คือโดยสภาวะความจริง โดยสมุทัย

ความเกิด โดยนิโรธความดับ โดยนิโรธุบายอุบายให้ถึงนิโรธ เพราะฉะนั้น

ท่านจึงเรียกว่า โลกวิทู เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

เพราะฉะนั้นแล ท่านสุเมธผู้รู้จักโลก ถึงที่สุดโลก
อยู่จบพรหมจรรย์ รู้ที่สุดโลก สงบแล้ว ย่อมไม่หวัง
โลกนี้และโลกอื่น.
อนึ่ง โลกมี ๓ คือ สังขารโลก สัตวโลกและ โอกาสโลก บรรดา
โลกทั้ง ๓ นั้น ธรรมทั้งหลายมีปฐวีเป็นต้น ที่อาศัยกันเกิดขึ้น ชื่อว่า สังขาร-

โลก. สัตว์ทั้งหลาย มีสัญญา ไม่มีสัญญา แลมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่

ใช่ ชื่อว่า สัตวโลก. สถานที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า โอกาสโลก

ก็โลกทั้ง ๓ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แล้วตามสภาพความเป็นจริง เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านจึงเรียกว่า โลกวิทู. บทว่า อาหุตีนํ

ปฏิคฺคโห ได้แก่ ชื่อว่าผู้รับทักษิณาทาน เพราะเป็นผู้ควรรับทานทั้งหลาย

เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล. บทว่า อุสฺสีสเก มํ ฐตฺวาน ได้แก่ ประทับยืน

ใกล้ศีรษะเรา. ความว่า ได้ตรัสคำนี้คือคำที่ควรกล่าว ณ บัดนี้. บทว่า ชฏิลํ

ความว่า ชฎาของนักบวชนั้นมีอยู่ เหตุนั้น นักบวชนั้นชื่อว่าชฎิล ผู้มีชฎา, ชฎิล

นั้น. บทว่า อุคฺคตาปนํ ได้แก่ ผู้มีตบะสูง. บทว่า อหุ ได้แก่ ในวัน อธิบาย

ว่า ครั้งนั้น. หรือว่าปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า กปิลวฺหยา ได้แก่

เรียกว่า ชื่อว่า กบิลพัศดุ์. บทว่า รมฺมา ได้แก่ น่ารื่นรมย์. บทว่า ปธานํ

ได้แก่ ความเพียร. บทว่า เอหิติ แปลว่า จักถึง จักไป. คำที่เหลือในคาถา

ทั้งหลายง่ายทั้งนั้นแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต เกิดความโสมนัสว่า ได้ยินว่า ความ
ปรารถนาของเราจักสำเร็จผล. มหาชนฟังพระดำรัสของพระทีปังกรทศพลแล้ว

ก็พากันร่าเริงยินดีว่า ท่านสุเมธดาบสได้เป็นหน่อพืชพระพุทธเจ้า. สุเมธ

บัณฑิตนั้นก็คิดอย่างนี้ ชนทั้งหลายก็ได้ทำความปรารถนาว่าบุรุษกำลังจะข้าม

แม่น้ำ เมื่อไม่อาจข้ามโดยท่าตรงหน้าได้ก็ย่อมข้ามโดยท่าหลัง ฉันใด พวก

เราเมื่อไม่ได้มรรคผลในศาสนาของพระทีปังกรทศพล ในอนาคตกาล ก็พึง

สามารถทำให้แจ้งมรรคผล ต่อหน้าท่าน ในสมัยที่ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า ก็

ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้พระทีปังกรทศพลก็ทรงสรรเสริญพระมหาสัตว์ผู้เป็น

พระโพธิสัตว์ ทรงบูชาด้วยดอกไม้ ๘ กำ ทรงทำประทักษิณและเสด็จหลีกไป

แม้พระขีณาสพสี่แสนรูปนั้น ก็พากันบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยดอกไม้และของหอม

ทำประทักษิณแล้วหลีกไป.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ผู้ทรงทำประทีปคือความรู้โลก
ทั้งปวง อันพระขีณาสพสี่แสนรูปแวดล้อมแล้ว อันชาวรัมมนครบูชาอยู่ อัน

เทวดาทั้งหลายถวายบังคมอยู่ เสด็จพุทธดำเนิน ประหนึ่งยอดภูเขาทองอันประ-

เสริฐที่อาบแสงสนธยา เมื่อปาฏิหาริย์ทั้งหลายเป็นอันมากดำเนินไปอยู่ ก็เสด็จ

ไปตามหนทางที่ชาวรัมมนครประดับประดาตกแต่งนั้น เสด็จเข้าไปยังรัมมนคร

อันน่าอภิรมย์ อบอวลด้วยกลิ่นดอกไม้หอมนานาชนิด กลิ่นจุณที่น่าชื่นชม

ธงประฏากที่ยกขึ้นไสว มีหมู่ภมรที่ติดใจในกลิ่น บินว่อนเป็นกลุ่มๆ มืดครึ้ม

ด้วยควันธูป สง่างามดังเทพนคร พระทินกรทศพลก็ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์

ที่สมควรอย่างใหญ่ที่เขาบรรจงจัดไว้ เหมือนดวงจันทร์งดงามยามฤดูสารท

เหนือยอดยุคนธร เหมือนดังดวงทินกรกำจัดกลุ่มความมืด ทำความแย้มแก่ดง

ปทุม. แม้ภิกษุสงฆ์ก็นั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตนๆ ตามลำดับ. ส่วนอุบาสกชาว

รัมมนคร ผู้พรั่งพร้อมแล้วด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้น ก็ช่วยกันถวายทานที่ประ-

ดับพร้อมด้วยของเคี้ยวเป็นต้นชนิดต่าง ๆ สมบูรณ์ด้วยสีกลิ่นและรส ไม่มีทาน

อื่นเสมอเหมือน เป็นต้นเหตุแห่งสุข แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์สดับคำพยากรณ์ของพระทศพลก็สำคัญความ
เป็นพระพุทธเจ้าประหนึ่งอยู่ในกำมือ ก็บันเทิงใจ เมื่อชาวรัมมนครกลับกัน

หมดแล้ว ก็ลุกขึ้นจากที่นอนคิดว่าจักเลือกเฟ้นบารมีทั้งหลาย จึงนั่งขัดสมาธิ

เหนือยอดกองดอกไม้ เมื่อพระมหาสัตว์นั่งอยู่อย่างนั้น เทวดาสิ้นทั้งหมื่น

จักรวาล ก็ให้สาธุการ กล่าวว่า ท่านสุเมธดาบสเจ้าข้า ในเวลาที่ท่านนั่งขัด

สมาธิ หมายจักเลือกเฟ้นบารมีของพระโพธิสัตว์องค์ก่อนๆ ธรรมดาบุพนิมิต

เหล่าใดปรากฏ บุพนิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ทั้งหมด ท่านจักเป็น

พระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย พวกเรารู้ข้อนี้ว่า บุพนิมิตเหล่านี้ปรากฏแก่ผู้

ใด ผู้นั้นจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจงประ-

คองความเพียรของตนไว้ให้มั่น แล้วได้ชมพระโพธิสัตว์ด้วยสดุดีนานาประการ

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย สดับคำของพระทีปัง-
กรทศพล ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ไม่มีผู้เสมอเหมือนนี้
แล้ว ก็พากันดีใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพืชพระพุทธเจ้า
เสียงโห่ร้องอึงมี่ เสียงปรบมือ เสียงหัวเราะ
หมื่นโลกธาตุเทวดาก็ทำอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่าพวกเราจะพลาดคำสอน ของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อพระ-
พักตร์ของพระโลกนาถพระองค์นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำพลาดท่าน้ำเฉพาะ
หน้าแล้ว ก็ถือเอาท่าน้ำท่าหลังข้ามแม่น้ำฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่าพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้
เสีย ในอนาคตกาล ก็จักอยู่ต่อพระพักตร์ของพระ
ชินเจ้าพระองค์นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระทีปังกรทศทูล ผู้รู้จักโลก ทรงเป็นปฏิคาหก
ผู้รับของบูชา ทรงประกาศกรรมของเราแล้ว ก็ทรง
ยกพระบาทเบื้องขวา.
พุทธชิโนรสทั้งหมด ที่อยู่ ณ ที่นั้น ก็พากันทำ
ประทักษิณเรา เทวดา มนุษย์และอสูรทั้งหลายก็กราบ
ไหว้แล้วหลีกไป.
เมื่อพระโลกนาถพร้อมทั้งพระสงฆ์ เสด็จลับตา
เราไปแล้ว ครั้งนั้น เราก็ลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิ.
เราประสบสุขโดยสุข เบิกบานโดยปราโมช อัน
ปีติสัมผัสซาบซ่านแล้ว นั่งขัดสมาธิในเวลานั้น.
ครั้นนั่งขัดสมาธิแล้ว เวลานั้น เราคิดอย่างนี้ว่า
เราเป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงฝั่งในอภิญญา ๕.
ในหมื่นโลกธาตุ ไม่มีฤาษีที่จะเสมอเรา ไม่มีผู้
เสมอในอิทธิธรรมทั้งหลาย เราได้ความสุขเช่นนี้.
ขณะที่เรานั่งขัดสมาธิ ทวยเทพในหมื่นโลกธาตุ
ก็เปล่งเสียงโห่ร้องว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ขณะพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ บุพนิมิต
เหล่าใดปรากฏก่อน บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันใน
วันนี้.
ความหนาวก็หายไป และความร้อนก็สงบไป
บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ-
พุทธเจ้าแน่นอน.
หมื่นโลกธาตุ ก็ปราศเสียง ปราศจากความวุ่น
วาย บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
ลมขนาดใหญ่ก็ไม่พัด แม่น้ำทั้งหลายก็ไม่ไหล
บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ-
พุทธเจ้าแน่นอน.
ดอกไม้บนบก ดอกไม้ในน้ำ ก็บานหมดใน
ขณะนั้น ดอกไม้แม้เหล่านั้นทั้งหมด ก็บานแล้วใน
วันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ผิว่า ไม้เถาก็ดี ไม้ต้นก็ดี ก็มีผลในขณะนั้น
ต้นไม้แม้เหล่านั้นทั้งหมด ก็ออกผลในวันนี้ ท่านจัก
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
รัตนะทั้งหลาย ที่อยู่ในอากาศและที่อยู่ภาคพื้น
ดิน ก็ส่องแสงโชติช่วงในขณะนั้น รัตนะแม้เหล่านั้น
ก็โชติช่วงในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ดนตรีทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็น
ของทิพย์ ก็บรรเลงในขณะนั้น ดนตรีทั้งสองแม้นั้น
ส่งเสียงลั่นในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ฝนดอกไม้อันไพจิตร ก็หล่นลงมาจากท้องฟ้า
ในขณะนั้น ฝนดอกไม่แม้เหล่านั้น ก็หลั่งลงมาในวัน
นี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
มหาสมุทรก็คะนอง หมื่นโลกธาตุก็ไหว แม้ทั้ง
สองนั้น ก็ส่งเสียงลั่นในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธ-
เจ้าแน่นอน.
ไฟหลายหมื่นในนรก ก็ดับในขณะนั้น ไฟแม้
เหล่านั้นก็ดับแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่นอน.
ดวงอาทิตย์ทั้งใสไร้มลทิน ดวงดาวทั้งหลายก็
เห็นได้หมด ดวงดาวแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวัน
นี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
เมื่อฝนไม่ตก น้ำก็พุขึ้นมาจากแผ่นดิน ในขณะ
นั้น น้ำแม้นั้น ก็พุขึ้นแล้วจากแผ่นดินในวันนี้ ท่าน
จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
หมู่ดาวและดาวนักษัตรทั้งหลาย ก็แจ่มกระจ่าง
ตลอดมณฑลท้องฟ้า ดวงจันทร์ก็ประกอบด้วยดาวฤกษ์
วิสาขะ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในโพรง ที่อยู่ในร่องน้ำก็ออก
จากที่อยู่ของตน สัตว์แม้เหล่านั้นก็ออกจากที่อยู่แล้ว
ในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ความไม่ยินดีทั้งหลายไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายย่อมเป็นผู้สันโดษ ในขณะนั้นสัตว์แม้เหล่านั้น
ก็เป็นผู้สันโดษแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่นอน.
ในขณะนั้น โรคทั้งหลายก็สงบไป ความหิวก็
หายไป บุพนิมิตแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ในขณะนั้น ราคะก็เบาบาง โทสะ โมหะก็เสื่อม
หาย กิเลสแม้เหล่านั้นก็เลือนหายไปหมดในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ในขณะนั้นภัยก็ไม่มี ความไม่มีภัยนั้นก็เห็นแม้
ในวันนี้ พวกเรารู้กัน ด้วยเหตุนั้น ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
กิเลสดุจธุลีไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน ความไม่ฟุ้งแห่ง
กิเลสดุจธุลีนั้นก็เห็นกันแม้ในวันนี้ พวกเรารู้กัน ด้วย
เหตุนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาก็จางหายไป กลิ่นทิพย์ก็
โชยมา กลิ่นหอมแม้นั้น ก็โชยมาในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
เทวดาทั้งหมดเว้นอรูปพรหมก็ปรากฏ เทวดาแม้
เหล่านั้น ก็เห็นกันหมดในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธ-
เจ้าแน่นอน.
ขึ้นชื่อว่านรกมีประมาณเท่าใด ก็เห็นกันได้หมด
ในขณะนั้น นรกแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
กำแพงบานประตู และภูเขาหิน ไม่เป็นที่กีด
ขวางในขณะนั้น กำแพงบานประตูและภูเขาหินแม้
เหล่านั้น ก็กลายเป็นอากาศไปในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
การจุติและปฏิสนธิ ย่อมไม่มีในขณะนั้น บุพ-
นิมิตแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันได้ในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
ขอท่านโปรดจงประคับประคอง ความเพียรไว้
ให้มั่น อย่าถอยกลับ โปรดก้าวไปข้างหน้าต่อไปเถิด
แม้พวกเราก็รู้เหตุข้อนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่
นอน.
ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:51:14 pm »

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสตฺตํ ความว่า ความปรารถนา
ย่อมสำเร็จ แก่ผู้ตั้งอยู่ในอัตภาพเป็นมนุษย์เท่านั้น แล้วปรารถนาเป็นพระ-

พุทธเจ้า ย่อมไม่สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในชาตินาคเป็นต้น. ถ้าถามว่า

เพราะเหตุไร ก็ตอบได้ว่า เพราะชาตินาคเป็นต้น เป็นอเหตุกสัตว์.

บทว่า ลิงฺคสมฺปตฺติ ความว่า ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้แม้
อยู่ในอัตภาพเป็นมนุษย์ ก็ต้องตั้งอยู่ในเพศชายเท่านั้น ย่อมไม่สำเร็จแก่หญิง

หรือบัณเฑาะก์คนไม่มีเพศและคนสองเพศ. ถ้าถามว่าเพราะเหตุไร ก็ตอบได้ว่า

เพราะลักษณะไม่บริบูรณ์ จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสตรี ไม่เป็นฐานะ ไม่เป็น

โอกาสพึงทราบความพิศดารเอาเองเถิด. เพราะฉะนั้น ความปรารถนาย่อมไม่

สำเร็จ แม้แก่ผู้มีชาติเป็นมนุษย์แต่ตั้งอยู่ในเพศสตรี.

บทว่า เหตุ ความว่า ความปรารถนาย่อมสำเร็จแม้แก่บุรุษ ที่ถึง
พร้อมด้วยเหตุ เพื่อบรรลุพระอรหัตในอัตภาพนั้นได้เท่านั้น ไม่สำเร็จแก่บุรุษ

นอกจากนี้.

บทว่า สตฺถารทสฺสนํ ความว่า ถ้าบุรุษปรารถนาในสำนักของ
พระพุทธเจ้าซึ่งยังทรงพระชนมชีพอยู่เท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ

ความปรารถนาในพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเสด็จปรินิพพานแล้ว หรือ ที่สำนัก

พระเจดีย์หรือที่โคนโพธิพฤกษ์ หรือที่พระพุทธปฏิมา หรือในสำนักของ

พระปัจเจกพุทธเจ้าและพุทธสาวก ย่อมไม่สำเร็จ. เพราะเหตุไร

เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าและพุทธสาวก ไม่สามารถที่จะรู้ถึงภัพพสัตว์และ

อภัพพสัตว์แล้วกำหนดด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดกรรมและวิบากแล้วพยากรณ์

ได้. เพราะฉะนั้น ความปรารถนาจึงสำเร็จได้ในสำนักของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.

บทว่า ปพฺพชฺชา ความว่า ความปรารถนา ย่อมสำเร็จแม้แก่ผู้
ปรารถนาในสำนักของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า หรือต้องบวชในดาบสทั้งหลาย

จำพวกที่เป็นกัมมกิริยวาทีหรือในภิกษุทั้งหลายเท่านั้น. เพราะเหตุไร เพราะ

ว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นบรรพชิตเท่านั้นจึงบรรลุพระสัมโพธิญาณได้

ที่เป็นคฤหัสถ์ บรรลุไม่ได้. เพราะฉะนั้น จึงต้องเป็นบรรพชิตเท่านั้น แม้ใน

กาลตั้งปณิธานความปรารถนามาแต่ต้น.

บทว่า คุณสมฺปตฺติ ความว่า ปรารถนาย่อมสำเร็จ แม้แก่บรรพชิต
ผู้ได้สมาบัติ ๘ มีอภิญญา ๕ เท่านั้น แต่ไม่สำเร็จแก่ผู้เว้นจากคุณสมบัตินี้.

เพราะเหตุไร เพราะคนไร้คุณสมบัติไม่มีโพธิญาณนั้น.

บทว่า อธิกาโร ความว่า ผู้ใดแม้ถึงพร้อมด้วยคุณ ก็ยังเสียสละ
ชีวิตตนเพื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้น ซึ่ง

พรั่งพร้อมแล้วด้วยอธิการนี้เท่านั้น ไม่สำเร็จแก่คนนอกจากนี้.

บทว่า ฉนฺทตา ความว่า ผู้ใดแม้ถึงพร้อมแล้วด้วยอภินีหาร ก็มี
ฉันทะ พยายาม อุตสาหะ แสวงหาอย่างใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่พุทธการก-

ธรรมทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้นเท่านั้น ไม่สำเร็จแก่คน

นอกจากนี้ ข้ออุปมาแห่งความเป็นผู้มีฉันทะเป็นใหญ่ ในข้อนั้น มีดังนี้. ก็ถ้า

บุคคลพึงคิดอย่างนี้ว่า ผู้ใดสามารถข้ามห้องจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งมีน้ำเป็นอัน

เดียวกันด้วยกำลังแขนของตนไปถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธ-

เจ้าได้. ส่วนผู้ใด ไม่สำคัญกิจนี้เป็นของทำได้ยากสำหรับตน ประกอบด้วย

ฉันทะอุตสาหะอย่างใหญ่อย่างนี้ว่า เราจักข้ามห้องจักรวาลนี้ไปถึงฝั่ง ความ

ปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้น ไม่สำเร็จแก่คนนอกจากนี้.

ก็สุเมธบัณฑิต รวบรวมธรรม ๘ ประการนี้ไว้แล้ว ทำอภินีหารเพื่อ
เป็นพระพุทธเจ้า จึงนอนลง. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ประทับยืน

ประชิดใกล้ศีรษะของสุเมธบัณฑิต เห็นสุเมธดาบสนอนอยู่เหนือหลังตม ทรง

ส่งอนาคตังสญาณว่า ดาบสผู้นี้ ทำอภินีหารเพื่อเป็นพระพุทธเจ้านอนลงแล้ว

ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงพิจารณาทบทวนดู ก็ทรงทราบ

ว่า ล่วงไปสี่อสงไขยกำไรแสนกัป นับแต่กัปนี้ไป เขาจักเป็นพระพุทธเจ้า

พระนามว่าโคตมะ ประทับยืนพยากรณ์ท่ามกลางบริษัทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอเห็นดาบสผู้มีตบะสูงซึ่งนอนเหนือหลังตมผู้นี้ไหมหนอ. ภิกษุทั้ง

หลายกราบทูลว่าเห็นพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดาบสผู้นี้ทำอภินีหารเพื่อเป็นพระ-

พุทธเจ้า จึงนอนลงแล้ว ความปรารถนาของดาบสผู้นี้จักสำเร็จ ในที่สุดสี่

อสงไขยกำไรแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป ดาบสผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า

โคตมะ ในโลก ในอัตภาพนั้นของดาบสนั้น นครชื่อว่า กบิลพัศดุ์ จักเป็น

ที่ประทับอยู่ จักมีพระชนนีพระนามว่า มหามายาเทวี พระชนก พระนามว่า

พระเจ้าสุทโธทนะ พระอัครสาวกทั้งสอง ชื่อว่า อุปติสสะ และ โกลิตะ

พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า อานันทะ พระอัครสาวิกาทั้งสองชื่อว่า เขมา

และ อุบลวรรณา ดาบสผู้มีญาณกล้าจักเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความ

เพียรอย่างใหญ่ รับข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายที่โคนต้นนิโครธ เสวยที่

ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วขึ้นสู่โพธิมัณฑสถาน จักตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิใบ ด้วย

เหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ผู้รู้โลก ทรง
รับทักษิณา ประทับยืนใกล้ ๆ ศีรษะ ได้มีพุทธดำรัส
กะเราดังนี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงดูชฏิลดาบสผู้นี้ ซึ่งมีตบะสูงจัก
เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ในกัปซึ่งนับไม่ได้ ตั้งแต่
กัปนี้ไป.
พระตถาคตเสด็จออกจากกรุงกบิลพัศดุ์ ที่น่ารื่น
รมย์ ทรงตั้งความเพียร ทรงทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิ-
โครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จสู่ริม

ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จเข้าสู่โคนโพธิพฤกษ์

ตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้แล้ว.

ต่อนั้น พระผู้ยอดเยี่ยม มีพระมหายศ ทรงทำ
ประทักษิณโพธิมัณฑสถาน จักตรัสรู้ ณ โคนโพธิใบ.

พระชนนีพุทธมารดาของดาบสผู้นี้ จักมีพระนาม
ว่า มายา พระพุทธบิดาจักมีพระนามว่า สุทโธทนะ

ดาบสผู้นี้ จักมีพระนามว่าโคตมะ.

พระโกลิตะและพระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ
ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่นแล้ว จักเป็นพระอัคร-

สาวก พุทธอุปฐาก ชื่อว่าอานนท์ จักบำรุงพระชิน-

เจ้าผู้นี้.

พระเขมาและพระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ
มีจิตสงบ ตั้งมั่นแล้ว จักเป็นอัครสาวิกา ต้นไม้เป็น

ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า

อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.

จิตตะและหัตถาฬวกะ จักเป็นยอดอุปัฏฐาก
อุตตราและนันทมารดา จักเป็นยอดอุปัฎฐายิกา.

ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:50:04 pm »

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิยากํสุ แปลว่า พยากรณ์แล้ว. ปาฐะว่า
ทีปงฺกโร นาม ชิโน ตสฺส โสธียตี ปโถ ดังนี้ก็มี. บทว่า โสมนสฺสํ

ปเวทยึ ความว่า เสวยโสมนัส. บทว่า ตตฺถ ฐตฺวา ได้แก่ ยืนอยู่ในประ-

เทศที่ลงจากอากาศนั่นเอง. บทว่า สํวิคฺคมานโส ได้แก่ มีใจประหลาด

เพราะปีติ. บทว่า อิธ ได้แก่ ในบุญเขตคือพระพุทธเจ้าทีปังกรพระองค์นี้. บทว่า

พีชานิ ได้แก่ พืชคือกุศล. บทว่า โรปิสฺสํ ได้แก่ จักปลูก. บทว่า ขโณ

ได้แก่ ชุมนุมขณะที่ ๙ เว้นจากอขณะ ๘ ขณะนั้นหาได้ยากเราก็ได้แล้ว. บทว่า

เว เป็นเพียงนิบาต. บทว่า มา อุปจฺจคา ความว่า ขณะนั้น อย่าได้เป็น

ไปล่วง คืออย่าล่วงเลยไป. บทว่า ททาถ แปลว่า จงให้. บทว่า เต ได้แก่

พวกมนุษย์ที่เราถาม. บทว่า โสเธมหํ ตทา ตัดบทเป็น โสเธม อหํ ตทา.

บทว่า อนิฏฺฐิเต ได้แก่ ยังไม่เสร็จ ทำค้างไว้.

ในบทว่า ขีณาสเวหิ นี้ อาสวะมี ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ
ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะ ๔ เหล่านี้ของภิกษุเหล่าใดสิ้นไปแล้ว ละแล้ว

ถอนแล้ว ระงับแล้ว ไม่ควรเกิด อันไฟคือญาณเผาแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่อ

ว่าขีณาสพ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ด้วยภิกษุขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่าไม่มีมลทิน ก็

เพราะเป็นผู้สิ้นอาสวะนั่นเอง.

ในบทว่า เทวา มนุสฺเส ปสฺสนฺติ นี้ ไม่มีคำที่จะกล่าวในข้อที่
เทวดาทั้งหลายเห็นมนุษย์. ด้วยว่า โดยการเห็นอย่างปกติ แม้เทวดาทั้งหลาย

ย่อมเห็นมนุษย์ทั้งหลายเหมือนอย่างที่มนุษย์ทั้งหลายยืนอยู่ในที่นี่เห็นอยู่. บทว่า

เทวตา ได้แก่ เทพทั้งหลาย. บทว่า อุโภปิ ได้แก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งสอง

พวก. บทว่า ปญฺชลิกา ได้แก่ ประคองอัญชลี อธิบายว่า เอามือทั้งสองตั้ง

ไว้เหนือศีรษะ. บทว่า อนุยนฺติ ตถาคตํ ได้แก่ ไปข้างหลังของพระตถาคต.

พึงทราบลักษณะว่า เมื่ออนุโยค [นิคคหิต] มีอยู่ ทุติยาวิภัตติ ย่อมลงใน

อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า อนุยนฺติ ตถาคตํ. บทว่า วชฺช-

ยนฺตา แปลว่า บรรเลงอยู่.

บทว่า มนฺทารวํ ได้แก่ ดอกมณฑารพ. บทว่า ทิโสทิสํ แปลว่า
โดยทุกทิศ. บทว่า โอกิรนฺติ แปลว่า โปรย. บทว่า อากาสนภคตา

แปลว่า ไปในท้องฟ้าคืออากาศ อีกนัยหนึ่งไปสู่อากาศ คือไปสวรรค์นั่นเอง.

จริงอยู่สวรรค์ท่านเรียกว่าท้องฟ้า. บทว่า มรู แปลว่า เทวดาทั้งหลาย. บทว่า

สรลํ ได้แก่ ดอกสน. บทว่า นีปํ ได้แก่ ดอกกะทุ่ม. บทว่า นาคปุนฺนาค-

เกตกํ ได้แก่ ดอกกะถิน ดอกบุนนาค ดอกเกต. บทว่า ภูมิตลคตา

ได้แก่ ไปที่แผ่นดิน.

บทว่า เกเส มุญฺจิตฺวาหํ ความว่า เปลื้อง คือ สยายผมจากกลุ่ม
และชฎาเกลียวที่มุ่นไว้. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในโอกาสที่ให้แก่เรา. บทว่า

จมฺมกํ ได้แก่ท่อนหนัง. บทว่า กลเล ได้แก่ ในโคลนตม. บทว่า อวกุชฺ -

โช แปลว่า คว่ำหน้า. นิปชฺชหํ ตัดบทเป็น นิปชฺชึ อหํ. ศัพท์ว่า มา

ในบทว่า มา นํ เป็นนิบาตลงในอรรถปฏิเสธ. ศัพท์ว่า นํ เป็นนิบาตลง

ในอรรถปทบูรณะทำบทให้เต็มความว่า ขอพระพุทธเจ้า อย่าทรงเหยียบที่ตม

เลย. บทว่า หิตาย เม ภวิสฺสติ ความว่า การไม่ทรงเหยียบที่ตมนั้น

จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา ตลอดกาลนาน. ปาฐะว่า สุขาย เม ภวิสฺ-

สติ ดังนี้ก็มี.

แต่นั้น สุเมธบัณฑิตนอนบนหลังตมแล้วก็คิดอย่างนี้ว่า ถ้าเราพึง
ปรารถนาไซร้ เราก็พึงเป็นสังฆนวกะ เผากิเลสทั้งหมดแล้วเข้าไปยังรัมมนคร

แต่เราไม่มีกิจที่จะเผากิเลสแล้วบรรลุพระนิพพาน ด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก ถ้า

กระไร เราพึงเป็นเหมือนพระทีปังกรทศพล บรรลุปรมาภิสัมโพธิญาณ ขึ้น

สู่ธรรมนาวา ยังมหาชนให้ข้ามสังสารสาครแล้วจึงปรินิพพานในภายหลัง นี้เป็น

การสมควรแก่เรา. แต่นั้น จึงประชุมธรรม ๘ ประการ ลงนอนทำอภินีหาร

เพื่อเป็นพระพุทธเจ้า. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า

เรานอนเหนือแผ่นดินแล้ว ใจก็ปริวิตกอย่างนี้
ว่า วันนี้เราปรารถนา ก็จะพึงเผากิเลสทั้งหลายของ
เราได้.
แต่ประโยชน์อะไรของเราด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก
ด้วยการทำให้แจ้งธรรมในพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เรา
จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธเจ้า ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก.
ประโยชน์อะไรของเรา ด้วยบุรุษผู้เห็นกำลังจะ
ข้ามสังสารสาครแต่เพียงคนเดียว เขาจักบรรลุสัพพัญ-
ญุตญาณแล้ว ยังโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามสังสาร
สาคร.
ด้วยอธิการบารมีนี้ ที่เราบำเพ็ญในพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นบุรุษสูงสุด เราบรรลุสัพพัญญุตญาณแล้วจะยัง
หมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามสังสารสาคร.
เราตัดกระแสแห่งสังสาร กำจัดภพ ๓ ได้แล้ว
ขึ้นสู่ธรรมนาวา จักยังโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้าม
สังสารสาคร.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฐวิยํ นิปนฺนสฺส แปลว่า นอนเหนือ
แผ่นดิน หรือว่าปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า เจตโส ความว่า ใจก็ได้มี

ปริวิตก. ปาฐะว่า เอวํ เม อาสิ เจตนา ดังนี้ก็มี. บทว่า อิจฺฉมาโน

ได้แก่ หวังอยู่. บทว่า กิเลเส ความว่า ธรรมชาติเหล่าใด ย่อมเศร้าหมอง

ย่อมทำให้เดือดร้อน เหตุนั้น ธรรมชาติเหล่านั้นชื่อว่ากิเลส คือกิเลส ๑๐ กอง

มีราคะเป็นต้น. บทว่า ฌาปเย ได้แก่ พึงให้ไหม้ อธิบายว่า เราพึงยังกิเลส

ทั้งหลายของเราให้ไหม้.

คำว่า กึ. เป็นคำปฏิเสธ. บทว่า อญฺญาตกเวเสน ได้แก่ ด้วยเพศ
ที่ไม่ปรากฏ ที่ไม่มีใครรู้จัก ที่ปกปิด อธิบายว่า ก็เราพึงทำอาสวะให้สิ้น

เหมือนภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้ หรือพึงบำเพ็ญพุทธการกธรรม ทำมหา-

ปฐพีให้ไหวในสมัยถือปฏิสนธิ ประสูติ ตรัสรู้ และประกาศพระธรรมจักรเป็น

ผู้ตรัสรู้เองเป็นพระพุทธเจ้า ยังสัตว์ให้ตรัสรู้พึงเป็นผู้ข้ามเอง ยังสัตว์ให้ข้าม

สังสารสาคร พึงเป็นผู้หลุดพ้นเอง ยังสัตว์ให้หลุดพ้น. บทว่า สเทวเก ได้

แก่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.

บทว่า ถามทสฺสินา ได้แก่ เห็นเรี่ยวแรงกำลังของตน. บทว่า
สนฺตาเรสฺสํ ได้แก่ จักให้ข้าม. บทว่า สเทวกํ ได้แก่ ยังหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

เทวดา หรือยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก. บทว่า อธิกาเรน ได้แก่ ด้วยการกระ-

ทำที่วิเศษยิ่ง. อธิบายว่า ด้วยการเสียสละชีวิตตนเพื่อพระพุทธเจ้า แล้วนอน

เหนือหลังตม ชื่อว่า อธิการ.

บทว่า สํสารโสตํ ความว่า การท่องเที่ยวไปทางโน้นทางนี้ในกำเนิด
คติ วิญญาณฐิติ และสัตตาวาส ๙ ด้วยอำนาจกรรมและกิเลส ชื่อว่า สังสาร

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ขนฺธานํ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนาน จ
อพฺโพจฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ.
เรียงลำดับแห่งขันธ์ ธาตุและอายตนะเป็นไปไม่
ขาดสาย ท่านเรียกว่าสังสาร.
สังสารนั้นด้วย กระแสด้วย เหตุนั้นจึงชื่อว่าสังสารโสตะ ซึ่งสังสาร
และกระแสนั้น. อีกนัยหนึ่ง กระแสแห่งสังสาระ ชื่อว่าสังสารโสตะ ความว่า

ตัดกระแสคือตัณหาอันเป็นเหตุแห่งสังสาร. บทว่า ตโย ภเว ได้แก่กามภพ

รูปภพและอรูปภพ. กรรมและกิเลสอันให้เกิดภพ ๓ ท่านประสงค์ว่า ภพ ๓.

บทว่า ธมฺมนาวํ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘. จริงอยู่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น

ท่านเรียกว่า ธรรมนาวา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องข้ามโอฆะ ๔. บทว่า

สมารุยฺห แปลว่า ขึ้น. บทว่า สนฺตาเรสฺสํ แปลว่า จักให้ข้าม.

แต่อภินีหารย่อมสำเร็จแก่ท่านผู้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า เพราะ
ความประชุมพร้อมแห่งธรรม ๘ ประการ คือ ๑. ความเป็นมนุษย์ ๒. ความ

สมบูรณ์ด้วยเพศ ๓. เหตุ ๔. การพบพระศาสดา ๕. การบรรพชา

๖. ความสมบูรณ์ด้วยคุณ ๗. ความมีอธิการ ๘. ความมีฉันทะ.