ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 02:04:23 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แฮม ขอบพระคุณครับผม
ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 09:26:14 pm »

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉิทฺโท แปลว่า มีรูเล็ก พึงเห็น
เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อนุทรา กญฺญา หญิงสาวท้องเล็ก อาจารย์

บางพวกกล่าว ฉิทฺทํ โหติ ปริตฺตกํ ดังนี้ก็มี. บทว่า ปตฺติโก แปลว่า

มีใบมาก. อธิบายว่า ปกคลุมด้วยใบทั้งหลาย มีสีเหมือนแก้วผลึก บทว่า

อุชุ ได้แก่ ไม่คด ไม่งอ. บทว่า วํโส แปลว่า ไม้ไผ่. บทว่า พฺรหา

ได้แก่ ใหญ่โดยรอบ. บทว่า เอกกฺขนฺโธ ความว่า งอกขึ้นลำเดียวโดด

ไม่มีเพื่อน. บทว่า ปวฑฺฒิตฺวา แปลว่า เติบโตแล้ว. บทว่า ตโต สาขา

ปภิชฺชติ ได้แก่ กิ่ง ๕ แฉก แตกออกจากยอดไผ่ต้นนั้น. ปาฐะว่า ตโต

สาขา ปภิชฺชถ ดังนี้ก็มี. บทว่า สุพทฺโธ ได้แก่ ที่เขาผูกโดยอาการผูก

เป็นห้าเส้นอย่างดี. กำแววหางนกยูง ที่เขาทำผูกเพื่อป้องกันแดด เรียกว่า

โมรหัตถะ.

บทว่า น ตสฺส กณฺฏกา โหนฺติ ความว่า ไผ่ต้นนั้น เป็นต้น
ไม้มีหนามตามธรรมดา ก็ไม่มีหนาม. บทว่า อวิรโฬ ได้แก่ ปกคลุมด้วย

กิ่งไม่มีช่อง. บทว่า สนฺทจฺฉาโย ได้แก่ มีร่มเงาทึบ ท่านกล่าวว่ามีร่มเงา

ทึบ ก็เพราะไม่มีช่อง. บทว่า ปญฺญาสรตโน อาสิ ได้แก่ ๕๐ ศอก.

บทว่า สพฺพาการวรูเปโต ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยความประเสริฐทั้งหลาย

โดยอาการทั้งปวง ชื่อว่า ประกอบพร้อมด้วยความประเสริฐโดยการพร้อม

สรรพ. บทว่า สพฺพคุณมุปาคโต เป็นเพียงไวพจน์ของบทหน้า.

บทว่า อปฺปมาโณ ได้แก่ เว้นจากประมาณ หรือชื่อว่า ไม่มีประ-
มาณ เพราะไม่อาจจะนับได้. บทว่า อตุลิโย แปลว่า ชั่งไม่ได้. อธิบายว่า

ไม่มีใครเหมือน. บทว่า โอปมิเมหิ ได้แก่ ข้อที่พึงเปรียบ. บทว่า

อนูปโม ได้แก่ เว้นการเปรียบ อธิบายว่า อุปมาไม่ได้ เพราะไม่อาจกล่าว

อุปมาว่า เหมือนผู้นี้ ผู้นี้. บทว่า คุณานิ จ ตานิ ก็คือ คุณา จ เต ความว่า

พระคุณทั้งหลาย มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส

คำที่เหลือทุกแห่ง ความง่ายทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาวงศ์พระสุชาตพุทธเจ้า
ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 09:25:35 pm »

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปตฺตานํ ความว่า ผู้ไม่ถึงพร้อม
ในภพน้อยภพใหญ่. ปาฐะว่า อปฺปวตฺตา ภวาภเว ดังนี้ก็มี. ความก็

อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า ติทิโวโรหเณ ได้แก่ เมื่อพระชินพุทธเจ้าเสด็จ

ลงจากโลกสวรรค์. จึงเห็นว่าลงในอรรถกัตตุการก ท่านกล่าวเป็นการกวิปลาส.

อีกนัยหนึ่ง บทว่า ติทิโวโรหเณ ได้แก่ ในการเสด็จลงจากเทวโลก. บทว่า

ชิเน ได้แก่ เมื่อพระชินพุทธเจ้า พึงเห็นสัตตมีวิภัตติลงในในอรรถฉัฏฐี

วิภัตติ.

ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
สดับข่าวว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

สดับธรรมกถา ก็ถวายราชสมบัติในมหาทวีปทั้ง ๔ พร้อมด้วยรัตนะ ๗ แด่

พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทรงผนวชในสำนักของพระศาสดา

ชาวทวีปทั้งสิ้น รวบรวมรายได้ที่เกิดในรัฐ ทำหน้าที่ของคนวัดให้สำเร็จ ถวาย

มหาทานเป็นประจำแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน พระศาสดาแม้

พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนาม

ว่า โคตมะ ในอนาคตกาล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

สมัยนั้น เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นใหญ่
ในทวีปทั้ง ๔ มีกำลังมาก ท่องเที่ยวไปในอากาศ.
เรามอบถวายราชสมบัติอย่างใหญ่ ในทวีปทั้ง ๔
และรัตนะ ๗ แด่พระพุทธเจ้าผู้สูงสุด แล้วบวชใน
สำนักของพระองค์.
ชาววัดทั้งหลาย รวบรวมรายได้ในชนบทมาจัด
ปัจจัย ที่นอน ที่นั่ง สำหรับพระภิกษุสงฆ์.
แม้พระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่ในหมื่นโลกธาตุ
พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็น
พระพุทธเจ้า ในที่สุดสามหมื่นกัป.
พระตถาคตตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้
บริบูรณ์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุ-
ศาสน์ทั้งหมด ยังพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งาม.
เราอยู่อย่างไม่ประมาทในพระศาสนานั้น เจริญ
พรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งแห่งอภิญญาแล้ว ไปสู่
พรหมโลก.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุทีปมฺหิ ความว่า แห่งมหาทวีป ๔ ที่มี
ทวีป [น้อย.] เป็นบริวาร. บทว่า อนฺตลิกฺขจโร ความว่า ทำจักรรัตนะไว้ข้าง

หน้าท่องเที่ยวไปในอากาศ. บทว่า รตเน สตฺต ได้แก่ รัตนะ ๗ มีหัตถิรัตนะ

เป็นต้น. บทว่า อุตฺตเม ก็คือ อุตฺตมานิ เเปลว่า อุดม อีกนัยหนึ่ง พึงเห็น

อรรถว่าอุตฺตเม พุทฺเธ แปลว่าในพระพุทธเจ้า ผู้อุดม. บทว่า นิยฺยาตยิตฺวาน

ได้แก่ ถวาย. บทว่า อุฏฺฐานํ ได้แก่ ผลประโยชน์ที่เกิดในรัฐ อธิบายว่า

รายได้. บทว่า ปฏิปิณฺฑิย ได้แก่ รวมเอามาเก็บไว้เป็นกอง. บทว่า ปจฺจยํ

ได้แก่ ปัจจัยต่างๆ มีจีวรเป็นต้น . บทว่า ทสสหสฺสิมฺหิ อิสฺสโร ได้แก่

เป็นใหญ่ในหมื่นโลกธาตุ คำนี้นั้น พึงทราบว่า ตรัสหมายถึงเขตแห่งชาติ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นใหญ่แห่งโลกธาตุ ที่ไม่มีที่สุด. บทว่า ตึสกฺปฺป-

สหสฺสมฺหิ ความว่า ในที่สุดสามหมื่นกัปนับแต่กัปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าสุชาตะ ทรงมีพระนคร ชื่อว่า สุมังคละ พระ
ชนกพระนามว่า พระเจ้าอุคคตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี

คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ พระพุทธอุปัฏฐาก

ชื่อว่าพระนารทะ พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนาคา และ พระนาคสมาลา

โพธิพฤกษ์ชื่อว่ามหาเวฬุ ต้นไผ่ใหญ่ เขาว่าต้นไผ่ใหญ่นั้น มีรูลีบ ลำต้นใหญ่

ปกคลุมด้วยใบทั้งหลายที่ไร้มลทิน สีเสมือนแก้วไพฑูรย์ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง

งามเพริศแพร้วเหมือนกำแววหางนกยูง ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีพระ

สรีระสูง ๕๐ ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนาง

สิรีนันทา พระโอรสพระนามว่า อุปเสนะ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน

คือ ม้าต้น. พระองค์ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหาร สิลาราม กรุง

จันทวดี ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อว่า สุมงคล พระชนกพระนามว่า พระเจ้า
อุคคตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี.
พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระอัครสาวก ชื่อว่าพระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระนารทะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระนาคา และพระนาค-
สมาลา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นเรียกว่ามหาเวฬุ.
ไผ่ต้นนั้น ลำต้นตัน ไม่มีรู มีใบมาก ลำตรงเป็น
ไผ่ต้นใหญ่ น่าดูน่ารื่นรมย์.
ลำเดียวโดด เติบโต กิ่งทั้งหลายแตกออกจาก
ต้นนั้น ไผ่ต้นนั้นงามเหมือนกำแววทางนกยูง ที่เขา
ผูกกำไว้ดีแล้ว.
ไผ่ต้นนั้นไม่มีหนาม ไม่มีรู เป็นไผ่ใหญ่ มีกิ่ง
แผ่ไปไม่มีช่อง มีร่มเงาทึบน่ารื่นรมย์.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ว่าโดยส่วนสูง ก็
๕๐ ศอก ทรงประกอบด้วยความประเสริฐ โดยเพราะ
อาการพร้อมสรรพ ทรงถึงพระพุทธคุณครบถ้วน.
พระรัศมีของพระองค์ ก็เสมอด้วยพระพุทธเจ้า
ที่ไม่มีผู้เสมอ แล่นออกโดยรอบพระวรกายไม่มีประ-
มาณ ชั่งไม่ได้ เปรียบไม่ได้ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรง
พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมาก
ให้ข้ามโอฆสงสาร.
ครั้งนั้น ปาพจน์คือธรรมวินัย งามด้วยพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย เหมือนคลื่นในสาคร เหมือนดารากร
ในท้องนภากาศ ฉะนั้น.
พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้
เสมอพระองค์นั้น ด้วยพระคุณเหล่านั้นที่ชั่งไม่ได้ด้วย
ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า
แน่แท้.
ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 09:24:42 pm »

พรรณนา วงศ์พระสุชาตพุทธเจ้าที่ ๑๒
ภายหลัง ต่อมาจากสมัยของพระสุเมธพุทธเจ้า ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล
เมื่อสัตว์ทั้งหลายมีอายุที่นับไม่ได้มาโดยลำดับ และลดลงตามลำดับ จนมีอายุ

เก้าหมื่นปี พระศาสดาพระนามว่า สุชาตะ ผู้มีพระรูปกายเกิดดี มีพระชาติ

บริสุทธิ์ ก็อุบัติในโลก แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีแล้วบังเกิดในสวรรค์

ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางปภาวดี

อัครมเหสีในราชสกุลของ พระเจ้าอุคคตะ กรุงสุมงคล ถ้วนกำหนดทศมาส

ก็ออกจากพระครรภ์ของพระชนนี. ในวันเฉลิมพระนาม พระชนกชนนีเมื่อจะ

ทรงเฉลิมพระนามของพระองค์ ก็ได้ทรงเฉลิมพระนามว่า สุชาตะ เพราะ

เกิดมาแล้ว ยังสุขให้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ทั่วชมพูทวีป. พระองค์ทรงครอง

ฆราวาสวิสัยเก้าพันปี ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่าสิรี อุปสิรี และสิรินันทะ๑

ปรากฏพระสนมนารีสองหมื่นสามพันนาง มี พระนางสิรินันทาเทวี เป็น

ประมุข.

เมื่อพระโอรสพระนามว่า อุปเสน ของพระนางสิรินันเทวีทรงสมภพ
แล้ว พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงม้าต้นชื่อว่า หังสวหัง เสด็จออกมหา-

ภิเนษกรมณ์ ทรงผนวช มนุษย์โกฏิหนึ่ง ก็บวชตามพระองค์ผู้ทรงผนวชอยู่

ลำดับนั้น พระมหาบุรุษนั้น อันมนุษย์เหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญ

เพียร ๙ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส รสอร่อย ที่ธิดาของ

สิรินันทนเศรษฐีแห่งสิรินันทนนคร ถวายแล้ว ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน

๑. บาลีเป็น สิริ อุปสิริ และจันทะ

เวลาเย็น ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่สุนันทอาชีวกถวายแล้ว เสด็จเข้าไปยังโพธิ-

พฤกษ์ ชื่อ เวฬุ ต้นไผ่ ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๓ ศอก เมื่อดวงอาทิตย์

ยังคงอยู่ ก็ทรงกำจัดกองกำลังมาร พร้อมทั้งตัวมาร ทรงแทงตลอดพระสัมมา-

สัมโพธิญาณ ก็ทรงเปล่งพระอุทานที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงประพฤติมา

แล้ว ทรงยับยั้งอยู่ใกล้โพธิต้นพฤกษ์นั่นแล ตลอด ๗ สัปดาห์ อันท้าวมหาพรหม

ทูลอาราธนาแล้ว ทรงเห็น พระสุทัสสนกุมาร พระกนิษฐภาดาของพระองค์

และเทวกุมาร บุตรปุโรหิต เป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมคือสัจจะ ๔

เสด็จไปทางอากาศ ลงที่ สุมังคลราชอุทยาน กรุงสุมงคล ให้พนักงาน

เฝ้าราชอุทยาน เรียก พระสุทัสสนกุมาร กนิษฐภาดาและ เทวกุมาร บุตร

ปุโรหิตมาแล้ว ประทับนั่งท่ามกลางกุมารทั้งสองนั้น พร้อมด้วยบริวาร ทรง

ประกาศพระธรรมจักร ณ ที่นั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์โกฏิหนึ่ง นี้เป็น

อภิสมัยครั้งที่ ๑.

ครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคน มหาสาล-
พฤกษ์ ใกล้ประตูสุทัสสนราชอุทยานเสด็จเข้าจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เทวโลก

ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒. ครั้งพระ

สุชาตทศพลเสด็จเข้าเฝ้าพระชนก ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์หกล้าน นี้เป็น

อภิสมัยครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล มีพระพุทธเจ้าพระนามว่า
สุชาตะ ผู้นำ มีพระหนุดังคางราชสีห์ มีพระศอดังโค
อุสภะ มีพระคุณหาประมาณมิได้ เข้าเฝ้าได้ยาก.
พระสัมพุทธเจ้า รุ่งเรืองด้วยพระสิริ ย่อมงาม
สง่าทุกเมื่อ เหมือนดวงจันทร์หมดจดไร้มลทิน เหมือน
ดวงอาทิตย์ ส่องแสงแรงร้อน ฉะนั้น.
พระสัมพุทธเจ้า บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด
สิ้นเชิงแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุง
สุมงคล.
เมื่อพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงแสดง
ธรรมอันประเสริฐ สัตว์แปดสิบโกฏิตรัสรู้ ในการ
แสดงธรรมครั้งที่ ๑.
ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณ
มิได้ เสด็จเข้าจำพรรษา ณ เทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๒
ได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน.
ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วย พระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ เข้าไปโปรดพระชนก อภิสมัยครั้งที่ ๓.
ได้มีแก่สัตว์หกล้าน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺเถว มณฺฑกปฺปมฺหิ ความว่า
ในมัณฑกัปใด พระผู้มีพระภาคเจ้า สุเมธะ ทรงอุบัติแล้ว ในกัปนั้นนั่น

แหละ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าสุชาตะก็อุบัติแล้ว. บทว่า สีหหนุ ได้แก่ ชื่อว่า

สีหหนุ เพราะพระหนุของพระองค์เหมือนคางราชสีห์ ก็ราชสีห์ คางล่างเท่านั้น

เต็ม คางบนไม่เต็ม. ส่วนพระมหาบุรุษนั้น เต็มทั้งสองพระหนุเหมือนคาง

ล่างของราชสีห์ จึงเป็นเสมือนดวงจันทร์ ๑๒ คา ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

สีหหนุ. บทว่า อุสภกฺขนฺโธ ได้แก่มีพระศอเสมอ อิ่ม กลม เหมือนโค

อุสภะ อธิบายว่า มีลำพระศอเสมือนกลองทองกลมกลึง. บทว่า สตรํสีว

แปลว่า เหมือนควงอาทิตย์. บทว่า สิริยา ได้แก่ ด้วยพระพุทธสิริ. บทว่า

โพธิมุตฺตมํ ได้แก่ พระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดมนุษย์ที่มาใน สุธรรม-
ราชอุทยาน กรุงสุธรรมวดี ทรงยังชนหกล้านให้บวชด้วยเอหิภิกขุภาวะ

ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น นั้น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.

ต่อจากนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ภิกษุห้าล้านประชุม

กัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒. พระสุทัสสนเถระพาบุรุษสี่แสนซึ่งฟังข่าวว่า

พระสุทัสสนกุมาร ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า บรรลุพระอรหัต

จึงมาเข้าเฝ้าพระสุชาตนราสภ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดบุรุษ

เหล่านั้น ทรงให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใน

สันนิบาตที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึง

ตรัสว่า

พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีสันนิ-
บาตประชุมพระสาวก ผู้เป็นพระขีณาสพไร้มลทินมี
จิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.
พระอรหันตสาวก ผู้ถึงกำลังแต่งอภิญญา ผู้ไม่
ต้องไปในภพน้อยภพใหญ่ หกล้าน เหล่านั้นประชุม
กันเป็นการประชุมครั้งที่ ๑.
ในสันนิบาตต่อมาอีก เมื่อพระชินพุทธเจ้า
เสด็จลงจากเทวโลก พระอรหันตสาวกห้าล้าน
ประชุมกัน เป็นการประชุมครั้งที่ ๒.
พระสุทัสสนอัครสาวก เมื่อเข้าเฝ้าพระนราสภ
ก็เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสาวกสี่แสน.