ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 02:04:47 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แฮม ขอบพระคุณครับผม
ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 09:31:10 pm »

พรรณนาวงศ์พระอัตถทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๔
เมื่อพระปิยทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระ-
ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธานแล้วเสื่อมไป เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย มีอายุนับ

ประมาณมิได้เจริญแล้ว ก็เสื่อมลงโดยลำดับ จนมีอายุแสนปี พระพุทธเจ้าพระนาม

ว่าอัตถทัสสี ผู้เห็นอรรถอย่างยิ่ง ก็อุบัติขึ้นในโลก. พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี

บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้วถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนาง

สุทัสสนเทวี อัครมเหสีในราชสกุลของ พระเจ้าสาคระ กรุงโสภณะ

ที่งามอย่างยิ่ง อยู่ในพระครรภ์ ๑๐ เดือน ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ

สุจินธนราชอุทยาน. พอพระมหาบุรุษประสูติจากพระครรภ์พระชนนี เจ้าของ

ทรัพย์ทั้งหลาย ก็พากันได้ขุมทรัพย์ใหญ่ ที่ฝังกันไว้นาน สืบๆ ตระกูลกันมา

เพราะเหตุนั้น ในวันรับพระนามของพระองค์ พระชนกชนนีจึงเฉลิมพระนาม

ว่า อัตถทัสสี พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี. ทรงมีปราสาท ๓ หลัง

ที่มีกลิ่นหอมอย่างยิ่ง ชื่อ อมรคิรี สุรคิรี และคิริวาหนะ มีพระสนมนารี

สามหมื่นสามพันนาง มีพระนางวิสาขาเทวีเป็นประมุข.

เมื่อพระโอรสพระนามว่า เสลกุมาร ของ พระนางวิสาขาเทวี
ทรงสมภพ พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ขึ้นทรงพญาม้าชื่อ สุทัสสนะ เสด็จ

ออกมหาอภิเนษกรมณ์ทรงผนวช มนุษย์เก้าโกฏิก็บวชตามเสด็จ พระมหาบุรุษ

อันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน ในวันวิสาขบูร-

ณมี เสวยข้าวมธุปายาสที่มหาชนนำมาเป็นเครื่องสังเวยนางนาคชื่อว่าสุจินธรา

นางนาคที่มีเรือนร่างทุกส่วนอันมหาชนเห็นอยู่ ถวายพร้อมด้วยถาดทอง ทรง

ยับยั้งพักกลางวัน ณ สวนสาละรุ่น ที่ประดับด้วยต้นไม้รุ่น ๑๐ ต้น เวลาเย็น

ทรงรับหญ้าคา ๘ กำ ที่พญานาคชื่อ มหารุจิ ผู้ชอบใจธรรมถวาย แล้วเสด็จ

เข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ จัมปกะ ต้นจำปา ทรงลาดสันถัตหญ้าคากว้างยาว ๕๓

ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ ทรงเปล่งพระอุทานว่า

อเนกชาติสํสารํ ฯ ล ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์

ทรงประพฤติมา ทรงยับยั้งอยู่ ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ วัน ทรงรับอาราธนา

แสดงธรรมของท้าวมหาพรหม ทรงเห็นภิกษุใหม่เก้าโกฏิที่บวชกับพระองค์

เป็นผู้สามารถแทงตลอดอริยธรรมได้ เสด็จไปทางอากาศลงที่อโนมราชอุทยาน

ใกล้อโนมนคร อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ

ที่นั้น ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.

ต่อมาอีก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นำโลกเสด็จจาริกไปในเทวโลก
ทรงแสดงธรรมโปรดในที่นั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ก็ครั้ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าอัตถทัสสี เสด็จเข้าไปยังกรุงโสภณะ เหมือนพระผู้มีพระภาค

เจ้าของเราเสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมโปรด ธรรมาภิสมัย

ครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ก็ทรงกำจัดความมืดใหญ่ บรรลุ
พระโพธิญาณอันอุดม.
พระองค์ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรง
ประกาศพระธรรมจักร ทรงยังหมื่นโลกธาตุ พร้อม
ทั้งเทวโลกให้อิ่มด้วยอมฤตธรรม.
พระโลกนาถแม้พระองค์นั้น ก็ทรงมีอภิสมัย ๓
ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ครั้งพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า เสด็จจาริกไปใน
เทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ต่อมา ครั้งพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในสำนัก
พระชนก อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺเถว ความว่า ในกัปนั้นนั่นเอง แต่
ในที่นี้ วรกัปท่านประสงค์เอาว่ามัณฑกัป ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลัง ในการ

พรรณนาวงศ์ของพระปทุมุตตรพุทธเจ้าว่า ในกัปใด บังเกิดพระพุทธเจ้า ๓

พระองค์ กัปนั้นชื่อว่า วรกัป เพราะฉะนั้นในที่นี้ วรกัป ท่านจึงประสงค์เอา

ว่า มัณฑกัป. บทว่า นิหนฺตฺวาน แปลว่า กำจัดแล้ว หรือปาฐะก็อย่างนี้

เหมือนกัน. บทว่า สนฺโต แปลว่า มีอยู่. บทว่า อมเตน ได้แก่ ด้วย

ดื่มอมฤตธรรมคือการบรรลุมรรคผล. บทว่า ตปฺปยิ แปลว่า ให้อิ่มแล้ว

อธิบายว่าให้อิ่มหนำสำราญ. บทว่า ทสสหสฺสี ก็คือ ทสสหสฺสิโลกธาตุํ.

บทว่า เทวจาริกํ ความว่า จาริกไปในเทวโลก เพื่อแนะนำเทวดาทั้งหลาย

ได้ยินว่า ในสุจันทกนคร พระสันตราชโอรสและอุปสันตะบุตรปุโรหิต
ไม่เห็นสาระในไตรเพทและลัทธิสมัยอื่นทุกอย่าง จึงวางคนที่รอบรู้และแกล้ว

กล้าไว้ ๔ คน ที่ประตูทั้ง ๔ ของพระนคร โดยสั่งว่า พวกท่านเห็นหรือ

ได้ยินสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นบัณฑิตผู้ใด พวกท่านจงมาบอกเรา สมัยนั้น

พระโลกนาถอัตถทัสสีเสด็จถึงสุจันทกนคร. ลำดับนั้น พวกบุรุษที่คนเหล่านั้น

บอกแล้ว ก็พากันไปแจ้งการเสด็จมาในที่นั้นของพระทศพลแก่สองท่านนั้น

แต่นั้นพระสันตราชโอรสและอุปสันตะบุตรปุโรหิต ฟังข่าวการเสด็จมาของ

พระตถาคต ก็มีใจร่าเริง มีบริวารพันหนึ่งไปรับเสด็จพระทศพลผู้ไม่มีผู้เสมอ

ถวายบังคมแล้วนิมนต์ ถวายมหาทานที่ไม่มีใครเทียม แด่พระสงฆ์มีพระพุทธ

เจ้าเป็นประธาน วันที่ ๗ ก็ฟังธรรมกถาพร้อมด้วยผู้คนชาวนครทั้งสิ้น เขาว่า

วันนั้น บุรุษเก้าหมื่นแปดแสน พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาแล้วบรรลุ

พระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางบริษัทนั้น.

นั้นเป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๑.

ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมแก่พระเสลเถระ โอรส
ของพระองค์ ทรงยังบุรุษแปดหมื่นแปดพันให้เลื่อมใสแล้ว ให้บวชด้วยเอหิ-

ภิกขุภาวะให้เขาบรรลุพระอรหัตแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นสันนิ-

บาตครั้งที่ ๒. ต่อมาอีก เมื่อทรงแสดงธรรมแก่เทวดาและมนุษย์วันมาฆบูรณมี

ในมหามงคลสมาคม ทรงยังสัตว์เจ็ดหมื่นแปดพันให้บรรลุพระอรหัต ทรงยก

ปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ พระ-
องค์นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้
ไร้มลทิน มีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.
พระสาวกเก้าหมื่นแปดพันประชุมกันเป็นสันนิ-
บาตครั้งที่ ๑ พระสาวกแปดหมื่นแปดพันประชุมกัน
เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
พระสาวกขีณาสพ ผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น ผู้
ไร้มลทิน ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่เจ็ดหมื่นเจ็ดพันประชุม
กัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา อันโลกสมมติว่าเป็น
พราหมณ์มหาศาล ชื่อสุสิมะ ในนครจัมปกะ พระโพธิสัตว์นั้นสละสมบัติทุก

อย่าง แก่คนจน คนอนาถา คนกำพร้า คนเดินทางไกลเป็นต้น ไปใกล้ป่า

หิมพานต์ บวชเป็นดาบส ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว เป็นผู้

มีฤทธานุภาพมาก แสดงความไม่มีโทษและความมีโทษ แห่งกุศลธรรมและ

อกุศลธรรมทั้งหลายแก่มหาชน รอคอยการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า.

สมัยต่อมา เมื่อพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้นำโลกทรงอุบัติในโลกแล้ว
ทรงยังฝนคืออมฤตธรรมให้ตกลงในท่ามกลางบริษัท ๘ ณ กรุงสุทัสสนมหา-

นคร พระโพธิสัตว์ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ก็ไปสู่โลกสวรรค์ แล้วนำเอา

ดอกไม้ทิพย์ มีมณฑารพ ปทุม ปาริฉัตตกะ เป็นต้น มาจากเทวโลก เมื่อ

จะสำแดงอานุภาพของตน จึงปรากฏตัว ยังฝนดอกไม้ให้ตกลงในทิศทั้ง ๔

เหมือนมหาเมฆตกใน ๔ ทวีป แล้วสร้างสิ่งที่สำเร็จด้วยดอกไม้มีที่บูชา เสา

ระเนียด ข่ายทองที่สำเร็จด้วยดอกไม้เป็นต้น เป็นมณฑปดอกไม้โดยรอบ

บูชาพระทศพลด้วยฉัตรดอกมณฑารพ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรง

พยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนาม

ว่าโคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะสูง โดยชื่อว่าสุสีมะ
อันแผ่นดินคือโลกสมมติว่า เป็นผู้ประเสริฐ.
เรานำดอกไม้ทิพย์ คือ มณฑารพ ปทุม
ปาริฉัตตกะ จากเทวโลก บูชาพระสัมพุทธเจ้า.
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า มหามุนีพระองค์นั้นทรง
พยากรณ์เราว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป ท่านผู้นี้จักเป็น
พระพุทธเจ้า.
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์ ก็ร่าเริง สลดใจ
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้
บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชฏิโล ได้แก่ ชื่อว่าชฎิล เพราะมีชฎา
มุ่นมวยผม. บทว่า มหิยา เสฏฺฐสมฺมโต ความว่า อันโลกแม้ทั้งสิ้น

สมมติยกย่องอย่างนี้ว่า เป็นผู้ประเสริฐสุด สูงสุด เลิศ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าอัตถทัสสีพระองค์นั้น ทรงมีพระนคร ชื่อว่า
โสภณะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสาคระ พระชนนีพระนามว่า

พระนางสุทัสสนา คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระสันตะ และ พระอุปสันตะ

พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอภยะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระธัมมา และ

พระสุธัมมา โพธิพฤกษ์ชื่อว่า จัมปกะ พระสรีระสูง ๘๐ ศอก พระรัศมี

แห่งพระสรีระแผ่ไปโดยรอบ ประมาณโยชน์หนึ่งทุกเวลา พระชนมายุแสนปี

พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิสาขา พระโอรสพระนามว่า เสละ

ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ม้า. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระอัตถทัสสีศาสดา ทรงมีพระนครชื่อว่าโสภณะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสาคระ พระชนนีพระ
นามว่า พระนางสุทัสสนา.
พระอัตถทัสสีศาสดา มีพระอัครสาวกชื่อว่า
พระสันตะ และ พระอุปสันตะ พระพุทธอุปัฏฐาก
ชื่อว่า พระอภยะ.
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระธัมมา และพระสุธัมมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่า จัมปกะ.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสมอด้วยพระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ สูง ๘๐ ศอก งามเหมือนพญาสาลพฤกษ์
เต็มบริบูรณ์เหมือนพระจันทร์.
พระรัศมีตามปกติของพระองค์ มีหลายร้อยโกฏิ
แผ่ไปโยชน์หนึ่ง สิบทิศทั้งเบื้องสูงเบื้องต่ำทุกเมื่อ.
พระพุทธเจ้าเป็นผู้องอาจในนรชน เป็นมุนียอด
แห่งสรรพสัตว์ ผู้มีพระจักษุพระองค์นั้น ทรงดำรงอยู่
ในโลกแสนปี.
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ทรงแสดง
พระรัศมีที่ไม่มีอะไรเทียบ เจิดจ้าไปในโลกทั้งเทวโลก
ทรงถึงความเป็นผู้ไม่เที่ยงแท้ ดับขันธปรินิพพาน
เพราะสิ้นอุปาทาน เหมือนดวงไฟดับ เพราะสิ้นเชื้อ
ฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฬุราชาว ปูริโต ความว่า เหมือน
ดวงจันทร์ราชาแห่งดวงดาว บริบูรณ์ไร้มลทินทั่วมณฑลในฤดูสารท. บทว่า

ปากติกา ความว่า เกิดขึ้นตามปกติ ไม่ใช่ตามอธิษฐาน เมื่อใด พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงประสงค์ เมื่อนั้น ก็ทรงแผ่พระรัศมีไปในจักรวาลแม้หลาย

แสนโกฏิ. บทว่า รํสี แปลว่า พระรัศมีทั้งหลาย. บทว่า อุปาทาน-

สงฺขยา ได้แก่ เพราะสิ้นอุปาทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จ

ดับขันธปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เพราะสิ้นอุปาทาน ๔ เหมือน

ไฟดับเพราะสิ้นเชื้อ พระธาตุทั้งหลายของพระองค์ เรี่ยรายไปด้วยพระอธิษฐาน.

คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาวงศ์พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า