ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 02:04:59 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แฮม ขอบพระคุณครับผม
ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 09:33:31 pm »

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นท้าวสักกเทวราช อันทวยเทพ
ในเทวโลกทั้งสองแวดล้อมแล้ว เสด็จมาบูชาพระตถาคต ด้วยของทิพย์มีของ

หอมและดอกไม้เป็นต้น และด้วยทิพยดนตรี พระศาสดาแม้พระองค์นั้น ก็

ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนาม

ว่า โคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ครั้งนั้น เราเป็นท้าวสักกปุรินททะ ได้บูชาด้วย
ของหอม ดอกไม้ และดนตรีทิพย์.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่าม
กลางเทวดา ทรงพยากรณ์เราว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อ สรณะ พระชนก
พระนามว่า พระเจ้าสรณะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุนันทา คู่พระ

อัครสาวกชื่อว่า พระปรุมะ และ พระปุสสเทวะ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า

สุเนตตะ๑ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระสัจจนามา โพธิ-

พฤกษ์ชื่อว่า พิมพิชาละ ต้นมะกล่ำเครือ พระสรีระสูง ๘๐ ศอก พระชนมายุ

แสนปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิจิโกฬิเทวี พระโอรสพระนามว่า

พระปุญญวัฒนะ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระธัมมทัสสีศาสดา ทรงมีพระนครชื่อว่าสรณะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสรณะ พระชนนีพระ
นามว่า พระนางสุนันทา.
พระธัมมทัสสีศาสดา มีพระอัครสาวก ชื่อว่า
พระปทุมะ และ พระปุสสเทวะ พระพุทธอุปัฏฐาก
ชื่อว่า พระสุเนตตะ.
๑. บาลีเป็น ลุทัตตะ.

พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระเขมาและพระสัจจนามา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่าต้นพิมพิชาละ.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มี
ผู้เสมอพระองค์นั้น สูง ๘๐ ศอก ทรงรุ่งโรจน์ด้วย
พระเดชในหมื่นโลกธาตุ.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น งดงามเหมือนต้นพญา
สาลพฤกษ์ที่ออกดอกบานสะพรั่ง เหมือนสายฟ้าใน
นภากาศ เหมือนดวงอาทิตย์เที่ยงวัน.
พระผู้มีพระจักษุดำรงอยู่ในโลกแสนปี พระ-
ชนมายุของพระผู้มีพระเดช ที่ไม่มีใครเทียบพระองค์
นั้น ก็เท่านั้น.
พระองค์ทั้งพระสาวก แสดงพระรัศมีทำพระ-
ศาสนาให้ไร้มลทินแล้ว ก็ปรินิพพานเหมือนดวงจันทร์
เคลื่อนจากต้องนภากาศ.
แก้อรรถ
ต้นมะกล่ำทอง ชื่อว่า ต้นพิมพิชาละในพระคาถานั้น. บทว่า
ทสสหสฺสิมฺหิ ธาตุยา ก็คือ ทสสหสฺสิยา โลกธาตุยา ในหมื่นโลกธาตุ.

บทว่า วิชฺชูว ก็คือ วิชฺชุลตา วิย เหมือนสายฟ้า. บทว่า อุปโสภถ

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น งดงามเหมือนสายฟ้าและเหมือนดวง

อาทิตย์งามเวลาเที่ยงวันฉะนั้น . บทว่า สมกํ ความว่า พระชนมายุของพระ-

องค์ ก็เท่า ๆ กับนรสัตว์ทั้งปวง. บทว่า จวิ แปลว่า เคลื่อนแล้ว. บทว่า

จนฺโทว ความว่า เหมือนดวงจันทร์เคลื่อนจากท้องฟ้า. ได้ยินว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าธัมมทัสสี ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเกสาราม กรุง

สาลวดี คำที่เหลือในคาถาทุกแห่งชัดแล้วทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาวงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
ข้อความโดย: ตถตา
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 09:32:36 pm »

พรรณนาวงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๕
เมื่อพระอัตถทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว อันตรกัปก็ล่วงไป
แล้ว เนื้อสัตว์ทั้งหลายที่มีอายุนับไม่ได้ลดลงโดยลำดับ จนมีอายุได้แสนปี

พระศาสดาพระนามว่า ธัมมทัสสี ผู้ทำความสว่างแก่โลก ทำการกำจัดมลทิน

มีโลภะเป็นต้น เป็นนายกเอกของโลก อุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้น

แล้ว ก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางสุนันทาเทวี อัครมเหสีของ

พระเจ้าสรณะ ผู้เป็นที่พึ่งของโลกทั้งปวง ณ กรุงสรณะ ถ้วนกำหนดทศมาส

พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ สรณะราชอุทยาน เหมือนจันทร์

เพ็ญโคจรลอดช่องเมฆ ในฤดูฝน เมื่อพระมหาบุรุษ พอประสูติจากพระครรภ์

พระชนนีเท่านั้น โวหารการว่ากล่าวที่ไม่ชอบธรรม ในศาสตร์และคัมภีร์อัน

กล่าวด้วยเรื่องอธิกรณ์ (การตัดสินคดี) ก็เสื่อมหายไปเองแล ดำรงอยู่แต่การ

ว่ากล่าวที่ชอบธรรมเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น ในวันเฉลิมพระนามของพระองค์

พระชนกชนนีจึงเฉลิมพระนามว่า ธัมมทัสสี พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่

แปดพันปี นัยว่าทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า อรชะ วิรชะ และ สุทัสสนะ

มีพระสนมนารีสองแสนสองหมื่นนาง มีพระนาง วิจิโกฬิเทวี เป็นประมุข.

เมื่อพระโอรสพระนามว่า ปุญญวัฒนะ ของพระนาง วิจิโกฬิเทวี
สมภพ พระมหาบุรุษนั้น ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงเป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง

เหมือนเทพกุมาร เสวยสมบัติเหมือนเทพสมบัติ ทรงลุกขึ้นในยามกลาง ประ-

ทับบนที่สิริไสยาสน์ ทรงเห็นอาการอันวิการของเหล่าสนมที่หลับไหล ก็

เกิดสังเวช เกิดจิตคิดออกมหาภิเนษกรมณ์ ในลำดับเกิดจิตนั่นแล สุทัสสน-

ปราสาทของพระองค์ก็ลอยขึ้นสู่นภากาศ อันจตุรงค์เสนาแวดล้อมแล้ว ลอยไป

เหมือนดวงอาทิตย์และเหมือนเทพวิมาน แล้วก็ลงตั้งอยู่ใกล้โพธิพฤกษ์ชื่อต้น

รัตตกุรวกะ มะกล่ำทอง ได้ยินว่า พระมหาบุรุษ ทรงรับผ้ากาสายะที่ท้าว

มหาพรหมน้อมถวาย ทรงผนวชแล้ว เสด็จลงจากปราสาท ประทับยืนอยู่ไม่

ไกล. ปราสาทก็ลอยไปทางอากาศอีก ทำโพธิพฤกษ์ไว้ข้างในแล้วตั้งลงที่แผ่น

ดิน แม้นางสนมนารีพร้อมทั้งบริวาร ก็ลงจากปราสาท เดินไปชั่วครึ่งคาวุต

ก็หยุด ณ ที่นั้น เว้น นางสนมนารี ปริจาริกาและหญิงรับใช้ของนางสนมเหล่า

นั้น มนุษย์ทุกคนก็บวชตามเสด็จ ภิกษุทั้งหลาย ก็มีจำนวนถึงแสนโกฏิ.

ลำดับนั้น พระธัมมทัสสีโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญความเพียร ๗ วัน
เสวยข้าวมธุปายาสที่ พระนางวิจิโกฬิเทวี ถวาย ทรงพักกลางวัน ณ ป่า

พุทรา เวลาเย็นทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อสิริวัฒนะถวาย

แล้วเสด็จไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อพิมพิชาละ ต้นมะกล่ำเครือ ทรงลาดสันถัตหญ้า

กว้าง ๕๓ ศอก ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิพฤกษ์นั้น ทรง

เปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯ ล ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา แล้ว

ทรงยับยั้งอยู่ใกล้ ๆ โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์ ทรงรับอาราธนาท้าวมหาพรหม

แล้วทรงทราบว่า ภิกษุแสนโกฏิที่บวชกับพระองค์เป็นผู้สามารถแทงตลอดพระ-

สัทธรรมได้ ก็เสด็จหนทาง ๑๘ โยชน์ วันเดียวเท่านั้นก็ถึงอิสิปตนะ อันภิกษุ

เหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ก็ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ อิสิปตนะนั้น ครั้งนั้น

อภิสมัยครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้
มีพระยศยิ่งใหญ่ ก็กำจัดความมืดมนอนธการแล้ว
เจิดจ้าในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก.
ในกาลที่พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชที่ไม่
มีผู้เทียบได้พระองค์นั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมนฺธการํ ความว่า ได้แก่ อนธการ
คือโมหะ ที่ชื่อว่าตมะ.

ครั้งพระราชาพระนามว่า สัญชัย ในนครชื่อ ตคระ ทรงเห็นโทษ
ในกาม และคุณอันเกษมในเนกขัมมะ จึงทรงผนวชเป็นฤษี คนเก้าหมื่นโกฏิ

บวชตามเสด็จ ชนเหล่านั้น ได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ หมดทุกคน ครั้ง

นั้น พระธัมมทัสสีศาสดาทรงเห็นอุปนิสสัยสมบัติของชนเหล่านั้น จึงเสด็จไป

ทางอากาศ ถึงอาศรมบทของสัญชัยดาบสแล้ว ทรงยืนอยู่ในอากาศ ทรง

แสดงธรรมอันเหมาะแก่อัธยาศัยของดาบสเหล่านั้น ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดขึ้น

นั้นเป็นอภิสมัย ครั้งที่ ๒. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนสัญชัย-
ฤษี อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งท้าวสักกะจอมทวยเทพ ประสงค์จะฟังธรรมของพระทศพล จึง
เสด็จเข้าไปเฝ้า อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึง

ตรัสว่า

ครั้งท้าวสักกะพร้อมทั้งบริษัทเข้าเฝ้า พระผู้เป็น
นายกพิเศษ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ.
ส่วนครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้าทรงบวช พระปทุมกุมาร และพระ-
ปุสสเทวกุมาร พระกนิษฐภาดาต่างพระมารดา พร้อมทั้งบริวารในกรุงสรณะ

ทรงทำสุทธิปวารณา ท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิซึ่งบวชภายในพรรษานั้น นั้น

เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๑ ต่อมาอีก ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก

ภิกษุร้อยโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ประกาศคุณานิสงส์เเห่งธุดงค์ ๑๓ ณ พระสุทัสสนาราม ทรงสถาปนาพระ-

มหาสาวก ชื่อ หาริตะ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง

ท่ามกลางภิกษุแปดสิบโกฏิ นั้นเป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระธัมมทัสสี ผู้เป็นเทพแห่งเทพ แม้พระองค์
นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้
มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้าเจ้าจำพรรษา ณ กรุง
สรณะ ภิกษุสาวกแสนโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต
ครั้งที่ ๑.
ต่อมาอีก ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกมา
สู่มนุษย์โลก ภิกษุสาวกร้อยโกฏิประชุมกัน เป็นสัน
นิบาตครั้งที่ ๒.
ต่อมาอีก ครั้งพระพุทธเจ้าทรงประกาศธุดงค-
คุณ ภิกษุสาวกแปดสิบโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต
ครั้งที่ ๓.