ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 02:16:15 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 08:11:03 am »


เสียงพร้อมบทสวดธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร

ธรรมจักร์ ธัมมะจัก Drammajak Thammajak U 1-2


ธรรมจักร์ ธัมมะจัก Drammajak Thammajak U 2-2
ธ้มมะจักรกัปปะวัตตะนะสูตร ท่อนที่๒
ขอบคุณน้อง"บางครั้ง"ค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 08:01:34 am »



                 สรุป

จากการวิเคราะห์คำสอน เหตุการณ์ และวาระจิตของท่านโกณฑัญญะ ด้วยวิธีการแปลความทั้งสองแบบ ดังที่กล่าวมาเราจะพบว่า
หากเราใช้การแปลความแบบที่ 1 คือ

    * ธรรมจักร หมายถึง สิ่งนำชีวิตไปสู่ความเจริญ ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย , วงล้อธรรม ,อาณาจักรธรรม
    * กามสุขัลลิกานุโยค หมายถึงการเสพกามคุณ 5
    * อัตตกิลมถานุโยค หมายถึง การทรมานตนเอง


มาวิเคราะห์ และอธิบาย พระสูตร ธัมมจักกัปปวัตนสูตรแล้ว จะทำให้พระสูตรนี้เป็นเนื้อหาที่เป็นเพียง การเทศนา ตรัสสอนของพระพุทธองค์ แก่ ผู้ฟังให้เข้าใจ อย่างธรรมดาเท่านั้น จะไม่มีวิธีการฝึกจิต ให้ฝึกอยู่ด้วย ที่เมื่อเราอ่านแล้วก็จะทำความเข้าใจ แล้วก็ผ่านไป ไม่ให้ความสนใจอะไรมากกว่านี้ และก็จะเกิดปัญหา ข้อสงสัยตามมาอีกหลายประการ ที่วิธีการแปลความ แบบที่ 1 จะไม่สามารถอธิบายความได้หมด

หากเราใช้วิธีการแปลความแบบที่ 2 คือ

    * ธรรมจักร หมายถึง สภาพการหมุนวน ระหว่างอายตนะภายนอก กับ อายตนะภายใน
    * กามสุขัลลิกานุโยค หมายถึง การทำให้จิตติดอายตนะภายใน
    * อัตตกิลมถานุโยค หมายถึง การทำให้จิตติดอายตนะภายนอก


มาวิเคราะห์ และอธิบาย พระสูตร ธัมมจักรกัปปวัตนสูตรแล้ว จะทำให้พระสูตรนี้มีเนื้อหาที่ไม่เป็นเพียงการเทศนาสั่งสอนผู้ฟังอย่างธรรมดาเท่านั้น แต่จะเป็นการเทศนาคำสอนที่เป็นวิธีการฝึกจิต เพื่อให้ถึงการมีดวงตาเห็นธรรมด้วย และสามารถตอบปัญหาข้อสงสัยที่วิธีการแปลความแบบที่ 1 ตอบไม่ได้ อีกทั้งจะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เชื่อมโยงต่อกันโดยตลอดของพระสูตร และเมื่อเราได้ปฏิบัติตามคำตรัสในพระสูตรนี้ อาการทางจิตก็จะเกิดขึ้นตามที่ได้กล่าวไว้ในพระสูตรนี้ทุกประการ ดังที่ได้อธิบายมา

ดังนั้น การแปลความพระสูตร ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร จึงควรแปลและทำความเข้าใจ ในคำและเนื้อหาที่สำคัญ สามประการ ให้ถูกต้อง คือ

    * ธรรมจักร หมายถึง สภาพการหมุนวน ระหว่างอายตนะภายนอก กับ อายตนะภายใน
    * กามสุขัลลิกานุโยค หมายถึง การทำให้จิตติดอายตนะภายใน
    * อัตตกิลมถานุโยค หมายถึง การทำให้จิตติดอายตนะภายนอก


เพราะพระสูตรนี้เป็นพระสูตรสำคัญ เป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธองค์ตรัสสอนสาวก หากเราไม่ทำความเข้าใจให้ถูกต้องครอบคลุมแล้ว การจะทำความเข้าใจเนื้อหาอื่นๆ ที่พระพุทธองค์ตรัสสอนก็อาจทำให้เราเข้าใจผิดไป เปรียบเหมือนหัวขบวนรถไฟหากเข้ารางผิด ท้ายขบวนก็พลอยผิดไปด้วย จึงเป็นเรื่องที่ผู้ที่แสวงหาธรรมะอย่างจริงจังไม่ควรมองข้ามไป

                 

พระพุทธเจ้านั้นท่านตรัสให้สาวกช่วยกันเข็นกงล้อธรรมจักร ก็คือให้เห็นการหมุน เพราะการถ่ายทอดธรรมะนั้นจะต้องถ่ายทอดให้เห็นการหมุนนี้ เมื่อคนไหนเห็นการหมุนแล้วโอกาสที่จะมีดวงตาเห็นธรรมมันก็มากขึ้นเพราะอย่างน้อยจิตก็ปล่อยวางจากอายตนะภายนอก ภายในได้แล้วเหลือเพียงการปล่อยการหมุนเท่านั้น ดังนั้นพระพุทธองค์ท่านจึงตรัสให้เข็นกงล้อธรรมะจักร เมื่อกงล้อธรรมจักรยังมีอยู่ในโลกนี้ มวลมนุษย์ก็จะได้รับประโยชน์ จะได้มีโอกาสมีดวงตาเห็นธรรม ไปสู่สภาวะจิตหลุดพ้น ได้มรรคผลนิพพาน เมื่อใดธรรมจักรไม่ได้เข็น ธรรมะก็จะไม่ก้าวหน้า จะหยุดอยู่กับที่ คือ หยุดอยู่กับ ความนึก ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ความสว่าง ความสะอาด ความสงบ




Pics by : Google
ขอบพระคุณที่มาเนื้อหาข้อมูลจาก : อิงธรรม ๒๕๕๒
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: ธันวาคม 11, 2010, 03:21:12 pm »

อนุโมทนาค่ะ พี่แป๋ม

 :13:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 11, 2010, 02:20:22 pm »


5.ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าเทวดาบันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม เสียงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ทั้งหมื่นโลกธาตุุหวั่นไหว แสงสว่างอันยิ่งใหญ่ ได้ปรากฏแล้วในโลก

เมื่อใช้การแปลความแบบที่ 2 มาอธิบาย เราก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า คำว่า ธรรมจักร ในข้อความนี้ ก็คือ การหมุน ที่พระพุทธองค์ได้บอกวิธีทำให้เกิด ให้เห็น ได้เกิดขึ้นมาแล้ว

ส่วนคำอธิบายเกี่ยวกับเหล่าเทวดาบันลือเสียง จนเสียงขึ้นไปถึงชั้นพรหม และทั้งหมื่นโลกธาตุหวั่นไหว แสงสว่างอันยิ่งใหญ่ปรากฏขึ้นในโลก ก็จะกล่าวถึงความรู้และประสบการณ์ของการที่ได้ฝึกจิตตามวิธีการที่กล่าวไว้ในพระสูตรนี้แล้ว ก็จะทำให้ได้ทราบว่า

เหล่าเทวดา เหล่าพรหมทั้งหลายนั้น ก็คือจิตที่ยังติดอยู่กับแสงสว่างของธาตุรู้หรือวิญญาณธาตุ ที่ได้ปรุงประกอบแสงสว่างออกมาเป็นรูปร่างที่ละเอียด ที่เกินกว่าความสามารถของตามนุษย์ตามปกติจะเห็นได้ การจะเห็นภพภูมิของเหล่าเทวดา พรหมนี้ อย่างน้อยเราต้องฝึกจิตให้เข้าถึงแสงสว่างของธาตุรู้ หรือ ตติยฌาน ถึงจะสามารถมองเห็นได้ ซึ่งพวกเทวดา พวกพรหมนี้ ก็จะดำรงกายละเอียดอยู่ตามระดับชั้นบรรยากาศที่สูงต่ำต่างๆ กัน ตามระดับความละเอียด ความหนักเบาของจิต เมื่อภพภูมิของเขาอยู่กับระดับความละเอียดของแสงสว่างของวิญญาณธาตุ และวิญญาณธาตุนี้เป็นธาตุที่เชื่อมโยงกันอยู่ ดังนั้น หากวิญญาณธาตุตรงส่วนไหนของโลกเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น ก็จะกระเทือนถึงกัน ทำให้เหล่าเทวดาสามารถรับรู้ความเปลี่ยนแปลงนั้นได้

กรณีเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ เทศนาธัมมจักรกัปปวัตนสูตร เหตุที่ทำให้เหล่าเทวดารู้ว่ามีการแสดงธรรมจักรเกิดขึ้นก็คือ จิตของท่านโกณฑัญญะหมุนขึ้นมา ทำให้ธาตุรู้ของท่านโกณฑัญญะถูกกระเทือนด้วยแรงเหวี่ยงของการหมุน และแรงเหวี่ยงของการหมุนนี้ก็ไปกระเทือนธาตุรู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นด้วย ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนต่อๆ กันไป เป็นลูกคลื่น จนความสั่นสะเทือนไปถึงธาตุรู้ของเหล่าเทวดา เมื่อพวกเทวดาทั้งหลายได้รับแรงสะเทือนนี้ ก็ทำให้ทราบว่า เกิดการหมุนขึ้น เทวดาชั้นที่ต่ำกว่าก็ส่งเสียงบอกต่อกันขึ้นไปยังเทวดาชั้นที่สูงกว่า จนไปถึงชั้นพรหม

ส่วนแสงสว่างอันยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการสั่นไหวสะเทือนไปทั่วหมื่นโลกธาตุนั้น เกิดขึ้นมาจาก เมื่อจิตของท่านโกณฑัญญะปล่อยวางจากการหมุน คือ ละคลายจิตออกจาก แรงสืบต่อ หรือ แรงตัณหา จิตก็หมดสภาพของแรงดึงที่จะร้อยรัดธาตุรู้เอาไว้อีก ธาตุรู้หรือวิญญาณธาตุของท่านโกณฑัญญะก็จะแตกตัว กระจัดกระจาย พุ่งออกไปจากใจของท่านโกณฑัญญะ เกิดเป็นแสงสว่างที่ละเอียดกระจายตัวออกไปจากใจของท่านโกณฑัญญะ แล้วแสงสว่างนั้นก็ยังไปกระทบกับวิญญาณธาตุที่อยู่ในบรรยากาศของโลก และของเหล่าเทวดาอีก ชนกันเกิดเป็นแสงสว่างที่ต่อเนื่อง อย่างกว้างใหญ่ ไปทั่วทั้งโลกและออกไปยังอวกาศ โลกธาตุนับหมื่นที่อยู่ในรัศมีของการกระเทือนก็จะสั่นไหวไปหมด

เมื่อธาตุรู้กระจายตัวคืนสู่บรรยากาศของโลกไปแล้ว สำหรับจิตของท่านโกณฑัญญะก็ไม่ได้ยึดเกาะสิ่งใดอีก เป็นเช่นนั้นเอง หรือ ตถาตา ไม่ข้องเกี่ยวกับสิ่งใด ไม่เหลือร่องรอยอะไรให้เห็นให้ปรากฏ ในสภาวะตถาตาเช่นนี้ เทวดา มาร พรหม หรือ ผู้ที่รู้วาระจิตผู้อื่นก็ไม่สามารถจะเห็นได้

ดังนั้นจากคำอธิบายนี้ ก็จะทำให้เราได้รู้ตามมาด้วยว่า จิตที่บรรลุธรรมนั้นไม่ใช่เป็นจิตที่เห็นแสงสว่าง แต่เป็นเรื่องที่จิตต้องปล่อยวางจากแสงสว่าง หากยังเห็นแสงสว่างอยู่ นั่นคือ จิตยังมีแรงตัณหาร้อยรัดแสงเอาไว้ ยังติดกับวิญญาณธาตุอยู่

6. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญโกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ อธิบายความได้ว่า

เป็นการที่พระพุทธองค์รู้วาระจิตของท่านโกณฑัญญะ ว่า ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว แต่การรู้วาระจิตในกรณีนี้ไม่ใช่ว่าพระพุทธองค์เห็นจิตของท่านโกณฑัญญะเข้าถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือไปอยู่ที่ใดที่หนึ่ง แต่ท่านทราบด้วยเหตุ 2 ประการ คือ

    * ขณะที่เทศนาอยู่ท่านก็ตามวาระจิตของท่านโกณฑัญญะอยู่ แล้วเห็นจิตของท่านโกณฑัญญะหมุนขึ้น ท่านก็ตรัสให้ปล่อยวางจากการหมุน ท่านโกณฑัญญะก็ปล่อยวางจิตจากการหมุน จนเกิดแสงสว่างสว่างของธาตุรู้พุ่งออกจากตัวกระจายออกไปคืนสู่บรรยากาศ นี้เป็นเหตุที่ 1
    * จิตของท่านโกณฑัญญะหายไปจากการตามวาระจิตของพระพุทธองค์ เพราะหมดสภาพความเป็นตัวตนไป ไม่ยึดเกาะสิ่งใดจึงไม่มีอะไรให้รู้ให้เห็นอีก นี้เป็นเหตุที่ 2

ด้วยเหตุสองประการนี้พระพุทธองค์จึงทราบว่า ท่านโกณฑัญญะ มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 11, 2010, 01:00:55 pm »


4. ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา
ข้อความนี้เขียนได้อีกแบบหนึ่งว่า
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสคำกล่าวนี้อยู่ คือ ตรัสว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา ท่านโกณฑัญญะได้มีดวงตาเห็นธรรมขึ้น

จากข้อความนี้ เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์แล้ว จะเกิดเหตุการณ์สองเหตุการณ์ ที่มีความสัมพันธ์กัน คือ พระพุทธองค์ตรัสถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมดับไปเป็นธรรมดา เมื่อตรัสจบ ท่านโกณฑัญญะ ก็บรรลุธรรม เมื่อใช้วิธีการแปลความแบบที่ 2 มาอธิบายเหตุการณ์ในช่วงนี้ก็จะทำให้เราสามารถเข้าใจได้ว่า เมื่อพระพุทธองค์เทศนามาจนถึง เรื่อง อริยสัจ 4 ท่านโกณฑัญญะ ได้ปรับจิตปล่อยวางจากอายตนะภายในกับภายนอก จนเห็นการหมุนขึ้นมาแล้ว แต่จิตยังไม่ปล่อยวางจากการหมุน กำลังดำรงจิตให้อยู่กับการหมุนอยู่ พระพุทธองค์ท่านย่อมรู้ในวาระจิตของ ท่านโกณฑัญญะ ว่าในขณะนี้ท่านโกณฑัญญะ ได้เห็นการหมุนระหว่าง อายตนะภายในกับภายนอกแล้ว แต่ยังไม่ปล่อยวางจิตจากการหมุน เหตุที่ท่านต้องตรัสต่ออีกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา ก็เพื่อให้ท่านโกณฑัญญะปล่อยวางจิตจากการหมุน ให้จิตกับการหมุนแยกออกจากกัน

คำว่า สิ่ง ในคำตรัสของพระพุทธองค์นั้น ก็คือ การหมุนนั่นเอง ดังนั้น ความหมายของคำตรัสนี้จึงสามารถอธิบายได้ว่า
เมื่อปล่อยวางจากความยึดติดสองส่วนได้แล้ว ก็จะเห็นการหมุน
การหมุนนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติธรรมดาในชีวิตของคนเรา ที่เมื่อเกิดการกระทบผัสสะขึ้น ก็จะส่งแรงจากการกระทบจากอายตนะภายนอก เข้าไปหาอายตนะภายใน แล้ววนออกมารับผัสสะภายนอกอีก หมุนวน เช่นนี้เรื่อยไป เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นรอบๆ เป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนี้ ยึดถือเอาแท้จริงไม่ได้ จึงควรปล่อยวาง การหมุนเสีย

เมื่อท่านโกณฑัญญะได้ฟัง และเข้าใจดังนี้แล้ว ท่านก็ปฏิบัติตาม ปล่อยวางจิตออกจากการการหมุน จิตก็ไร้ที่ยึดเกาะ เป็นอิสระ เข้าถึงสภาพเดิมของจิต มีดวงตาเห็นธรรมทันที

การหมุนที่เกิดขึ้นกับท่านโกณฑัญญะนั้นก็คงเกิดขึ้นระหว่างหูกับใจ เพราะท่านกำลังใช้หูฟังคำเทศนา หากไม่ใช่การหมุนระหว่างหูกับใจ ก็จะฟังไม่รู้เรื่อง

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 11, 2010, 12:30:13 pm »


3. อริยสัจ 4 คือ ทุกข์มีอยู่ อุปาทานขันธ์ 5 คือตัวทุกข์ สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์มีอยู่ คือ ตัณหา นิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์มีอยู่ คือ ความดับของตัณหา มรรค

ข้อปฏิบัติทำให้ลุถึงความดับทุกข์มีอยู่

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ญานเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาในกาลก่อนว่า ก็อริยสัจ คือ
ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว
เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรละ เหตุให้เกิดทุกข์ เราละได้แล้ว
ความดับทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง ความดับทุกข์ เราทำให้แจ้งแล้ว
ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ เป็นอย่างนี้ ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ ควรทำให้เกิด ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ เราทำให้เกิดแล้ว

คำตรัสเรื่องอริยสัจนี้เจตนาก็จะกล่าวถึง ลำดับการฝึกจิต 4 ขั้นตอนที่เป็นความจริงแท้ ที่จะสรุปเชื่อมคำสอนที่ได้กล่าวไปทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นกระบวนการเพื่อตรัสรู้ คือ

ทุกข์มีอยู่ อุปาทานขันธ์ 5 คือตัวทุกข์ ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว อธิบายความได้ว่า

ทุกข์ คือ การที่จิตเกิดอุปาทานยึดติดขันธ์ 5 เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ให้ได้ หรือ
ทุกข์ คือ จิตเกิดภาวะนิ่งไปยึดติดอายตนะภายใน หรือ ภายนอก ข้างใดข้างหนึ่ง เป็นสิ่งที่เราต้องกำหนดให้รู้ก่อนว่า เมื่อเราเกิดความทุกข์ขึ้นมา เพราะเราไปยึดติดขันธ์ 5 ตัวไหน และ ยึดที่อายตนะภายใน หรือ ภายนอก


สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์มีอยู่ คือ ตัณหา เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรละ เหตุให้เกิดทุกข์ เราละได้แล้ว อธิบายความได้ว่า

เหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา หรือ แรงดึง , แรงสันตติ , แรงสืบต่อ ที่เกิดขึ้นเป็นปกติ ระหว่าง อายตนะภายใน กับ ภายนอก ที่ส่งต่อ หมุนวน เชื่อมโยงสภาพรู้ต่อกัน เป็นแรงที่คอยดึงจิตให้เข้าไปยึดติด กับ ขันธ์ 5 อายตนะ 6 เป็นสิ่งที่จิตเราควรละจากแรงสืบต่อนี้ให้ได้

นิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์มีอยู่ คือ ความดับสนิทโดยไม่เหลือของตัณหา ความดับทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง ความดับทุกข์ เราทำให้แจ้งแล้ว อธิบายความได้ว่า


ทุกข์จะดับไปได้นั้น จิตต้องละจาก การยึดติด อายตนะภายใน และ อายาตนะภายนอก พร้อมกัน หรือ จิตจะต้องละจาก แรงสืบต่อที่หมุนวนส่งต่อกันระหว่าง อายตนะภายใน กับ ภายนอก ที่เกิดขึ้นเป็นปกติ เป็นจังหวะ เกิด ดับ เกิด ดับ

เมื่อพิจารณาคำตรัสของพระพุทธองค์ในตอนนี้ ก็จะเผยความหมายที่ไม่ให้จิตติด กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค คือ เมื่อจิตละจากการยึดติด อายตนะภายใน ภายนอกแล้ว ก็จะเห็นการหมุนวนระหว่างอายตนะภายใน ภายนอก เมื่อจิตเห็นเช่นนี้แล้วก็จะไม่เข้าไปยึด ขันธ์ 5 และ อายตนะ ทุกข์จึงเกิดขึ้นไม่ได้ ต้องดับไป

ในขั้นตอนนี้
จึงเป็นการถอนจิตจาก การยึดติด ขันธ์ 5 อายตนะ 6 มาติดอยู่กับ การหมุนแทน ให้จิตทันเห็นการหมุนที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบันขณะ เกิด ดับ เกิด ดับ หมุนวนต่อเนื่องกันไป


เมื่อมาพิจารณา ท่านโกณฑัญญะที่เป็นผู้ฟังอยู่ หากท่านเริ่มฝึกจิตไม่เอาจิตไปติด ข้างใน ข้างนอก ตั้งแต่ต้นแล้ว อย่างช้าที่สุดการหมุนควรเกิดขึ้นกับท่านเมื่อพระพุทธองค์ ตรัสมาถึงตอนนี้ และก็ควรเป็นช่วงเวลานี้ที่อย่างช้าที่สุดเช่นกันที่ท่านพราหมณ์โกณฑัญญะ จะได้เริ่มฝึกจิตไม่ให้ติดข้างใน ข้างนอก เพราะเริ่มเข้าใจเนื้อหาที่พระพุทธองค์เทศนามากขึ้น และการหมุนก็คงจะเกิดกับท่านเป็นอย่างเร็วเมื่อพระพุทธองค์ ตรัสมาถึงตอนนี้

มรรค ข้อปฏิบัติที่ทำให้สัตว์ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์มีอยู่ ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ เป็น อย่างนี้ ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ควรทำให้เกิด ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ เราทำให้เกิดแล้ว

มรรค ในอริยสัจนี้ สามารถอธิบายความได้ สองระดับ คือ

มรรค อันเป็นผลจาก นิโรธ ที่เมื่อเราเห็นการหมุนแล้ว จากนั้นจิตละจากการหมุนอีกที จิตก็จะไร้ที่ยึดเกาะเข้าถึงสภาพเดิมของจิต เป็นอิสระอย่างสมบูรณ์ หรือ กล่าวได้ว่า มีดวงตาเห็นธรรม เห็นมรรค เห็นทาง

เมื่อรู้แล้วว่า มรรค หรือ ธรรม คือ อะไร ต่อไปเราก็นำเอาสภาวะมรรคนั้นมาเป็นเครื่องมือในการประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ กับ การงาน แปดประการที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

ทางสายกลางแปดประการที่พระพุทธองค์กล่าวในช่วงแรก กับ ข้อปฏิบัติแปดประการเพื่อทำให้ดับทุกข์ ก็คือ สถานการณ์และการงาน แปดประการเหมือนกัน จะต่างกันที่ ช่วงแรกกล่าวถึงการนำเอาหลักการไม่ติด ส่วนสุดสองส่วนไปใช้กับการงานแปดประการ เพื่อให้เห็นถึงการหมุนก่อน ช่วงหลัง เป็นภาวะจิตที่ปล่อยการหมุนไปแล้ว เข้าถึงธรรม เป็นการนำเอา ธรรม ที่ตนเข้าถึง มาใช้กับการงานแปดประการ เพื่อดำรงสภาวะธรรมที่ตนเข้าถึง ก็เป็นเรื่องเดียวกัน แต่สภาวะจิตของ ผู้กระทำการงานต่างกัน ความแตกฉาน และ เครื่องมือที่ใช้ทำการงาน ก็ต่างกัน

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 11, 2010, 11:41:39 am »


วิธีการแปลความ แบบที่ 2

1. ที่สุดสองอย่างที่ไม่ควรเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค แปลความได้ว่า

ที่สุดสองอย่างที่ไม่ควรเสพคือ การทำให้จิตติดอายตนะภายในโดยการฝึกจิตให้สงบรวมเป็นหนึ่งกับใจ และ การทำให้จิตติดอายตนะภายนอกโดยการทรมานร่างกาย เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่เกิดประโยชน์เพื่อการบรรลุธรรม
ซึ่งนอกเหนือจากคำแปลเป็น อายตนะภายใน กับภายนอกแล้ว ยังสามารถแปล อายตนะภายใน เป็น ผู้รู้ และ อายตนะภายนอก เป็นสิ่งถูกรู้ได้ด้วย คือ หากต้องการฝึกจิตเพื่อบรรลุธรรม จะต้องดำรงภาวะจิตไม่ให้ไปติด อายตนะภายใน หรือ ผู้รู้ และ อายตนะภายนอก หรือ สิ่งถูกรู้

หากความหมายเป็นดังนี้แล้ว ผู้ฟังก็จะรู้ว่าเป็น วิธีการฝึกจิตเพื่อบรรลุธรรม โดยเฉพาะท่านโกณฑัญญะ เป็นผู้มีปัญญาเมื่อฟังออกว่าให้ดำรงจิตไม่ให้ติด อายตนะภายใน คือการเข้าฌานที่นักบวชสมัยนั้นทำกันอยู่มาก และให้ดำรงจิตไม่ติดอายตนะภายนอก คือการทรมานร่างกายอย่างที่นักบวชสมัยนั้นทำกันอยู่มากเหมือนกัน ท่านน่าจะเริ่มฝึกจิตเลย ไม่ได้นั่งฟังเฉยๆ เริ่มปรับภาวะจิตไม่ให้ติดอายตนะทั้งสองส่วน

2. ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว เพื่อความตรัสรู้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ แปลความได้ว่า

แนวทางสายกลางที่จะไม่ไปติด อายตนะภายใน และ ภายนอกนั้น พุทธองค์ได้พบแล้ว เป็นไปเพื่อตรัสรู้ คือ ในการดำรงชีวิตประจำวันนั้นให้มี

    * สัมมาทิฏฐิ คือ ดำรงจิตไม่ให้ติด ผู้มีความเห็น กับ สิ่งที่ถูกเห็น หรือ ไม่ให้มีความแตกต่างระหว่างผู้มีความเห็น กับ สิ่งที่ถูกเห็น
    * สัมมาสังกัปโป คือ ดำรงจิตไม่ให้ติด ผู้คิด กับ สิ่งที่ถูกคิด หรือไม่ให้มีความแตกต่างระหว่างผู้คิด กับ สิ่งที่ถูกคิด
    * สัมมาวาจา คือ ดำรงจิตไม่ให้ติด ผู้พูด กับ สิ่งที่ถูกพูด หรือ ไม่ให้มีความแตกต่างระหว่างผู้พูด กับ สิ่งที่ถูกพูด
    * สัมมากัมมันโต คือ ดำรงจิตไม่ให้ติด ผู้ทำการงาน กับ สิ่งถูกกระทำ หรือ ไม่ให้มีความแตกต่างระหว่างผู้ทำการงาน กับ สิ่งถูกกระทำ
    * สัมมาอาชีโว คือ ประกอบอาชีพที่ไม่ทำให้ผู้อื่น และตนเองเดือดร้อน
    * สัมมาวายาโม คือ ไม่มีความสุดโต่งในการเพียรกระทำสิ่งต่างๆ ไม่มีผู้รับ และ ปฏิเสธจาก การกระทำนั้น
    * สัมมาสติ คือ ดำรงจิตไม่ให้ติด ผู้ระลึก กับ สิ่งถูกระลึก หรือ ผู้นึก กับ สิ่งถูกนึก หรือ อดีต กับ อนาคต ไม่มีความแตกต่าง ระหว่างผู้ระลึก กับ สิ่งถูกระลึก หรือ ผู้นึก กับ สิ่งถูกนึก หรือ อดีต กับ อนาคต
    * สัมมาสมาธิ คือ ดำรงจิตไม่ให้ติด ผู้รู้ กับ สิ่งถูกรู้ หรือ ไม่มีความแตกต่าง ระหว่าง ผู้ร ู้กับ สิ่งถูกรู้


ทั้งแปดประการนี้ เมื่อพิจารณาดูแล้วหากแปลออกมาเช่นนี้ ก็คือ การขยายความเรื่องไม่ให้ติดอายตนะภายใน ภายนอกอยู่นั่นเอง คือ ผู้รู้ กับ สิ่งถูกรู้ โดยอธิบายออกมาในสถานการณ์ต่างๆ ว่าจะนำเอาหลักการที่ไม่ติด อายตนะภายใน ภายนอกไปใช้งานกับสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างไร การทำจิตไม่ติดสองส่วน กับเรื่อง ทางสายกลาง แปดประการ ก็คือ เรื่องเดียวกัน เพียงแต่อธิบายมากน้อยต่างกัน โดยการทำจิตไม่ติดสองส่วนเป็นเรื่อง หลักการ ส่วน ทางสายกลางแปดประการ เป็นเรื่องการนำไปใช้

ผู้ที่ฟังข้อความนี้อยู่เมื่อฟังรู้ว่า พระพุทธองค์กล่าวถึงสัมมาสมาธปรับจิตไม่ให้ติด อายตนะภายนอก ภายใน แล้วทำให้ตรัสรู้ได้ ก็น่าจะได้ทดลองทำตาม โดยเฉพาะท่านโกณฑัญญะแล้ว เมื่อพระพุทธองค์กล่าวถึงเรื่อง ที่สุดสองอย่างที่ไม่ควรเสพจบลงไปแล้ว หากท่านยังไม่ได้ฝึกจิตตาม ท่านก็น่าจะเริ่มปฏิบัติจิต คล้อยตามคำสอนพระพุทธองค์ เมื่อพระพุทธองค์กล่าวมาถึงตรงนี้

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 11, 2010, 11:36:49 am »


3. อริยสัจ 4 คือ

ทุกข์มีอยู่ อุปาทานขันธ์ 5 คือตัวทุกข์
สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์มีอยู่ คือ ตัณหา
นิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์มีอยู่ คือ ความดับของตัณหา
มรรค ข้อปฏิบัติทำให้ลุถึงความดับทุกข์มีอยู่

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ญานเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาในกาลก่อนว่า
ก็อริยสัจ คือ

ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว
เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรละ เหตุให้เกิดทุกข์ เราละได้แล้ว

ความดับทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง ความดับทุกข์ เราทำให้แจ้งแล้ว

ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ เป็นอย่างนี้ ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ ควรทำให้เกิด
ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ เราทำให้เกิดแล้ว


มาถึงตอนนี้ผู้ฟังก็คงยังฟังอยู่อย่างเฉยๆ ยังไม่เกิดปฏิกิริยาอะไร ก็ฟังให้เข้าใจไปตามเนื้อความตามธรรมดา แต่อาจเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า ทำไมพระพุทธองค์ท่านกล่าว ปฏิปทาสายกลางแปดประการ ก่อนที่จะกล่าวถึง อริยสัจ 4 ? แล้วก็มากล่าวถึงปฏิปทาสายกลางแปดประการอีกในเรื่องอริยสัจ 4 แต่ให้นิยามต่างออกไปเล็กน้อย คือ ตอนแรก ท่านกล่าวว่า ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น ส่วนตอนหลัง ในอริยสัจ 4 ท่านกล่าวว่า ข้อปฏิบัติที่ทำให้สัตว์ลุถึงความดับทุกข์มีอยู่ แม้จะเป็นเรื่องเดียวกันมีแปดข้อเหมือนกัน แต่ให้นิยามต่างกัน และอยู่ในบริบทที่ต่างกันจึงน่าจะมีความหมายที่ต่างออกไปบ้าง แล้วความหมายที่ต่างออกไปนี้ คืออะไร ?

4. ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะ ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา
ข้อความนี้เขียนได้อีกแบบหนึ่งว่า
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสคำกล่าวนี้อยู่ คือ ตรัสว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา ท่านโกณฑัญญะก็ได้มีดวงตาเห็นธรรม

เมื่อใช้การแปลความแบบที่ 1 มาอธิบายก็จะเกิดคำถามขึ้นมาว่า

ท่านโกณฑัญญะเกิดมีดวงเห็นธรรมขึ้นมาได้อย่างไร ?
ทำไมคำตรัสนี้ทำให้ท่านโกณฑัญญะ มีดวงตาเห็นธรรม ?
แล้วทำไมคำตรัสอื่นที่ได้ตรัสจบไปอย่างมากมายไม่ทำให้ท่านโกณฑัญญะบรรลุธรรม ?


หากเราจะอธิบายว่าการมีดวงตาเห็นธรรมของท่านโกณฑัญญะนั้นคือ การฟังเนื้อความที่พระพุทธองค์เทศนามาตามลำดับได้รู้เรื่องว่าพระพุทธองค์กล่าวถึงอะไรไปบ้าง หากอธิบายด้วยคำอธิบายเช่นนี้ ก็เหมือนกับดูแคลนภูมิปัญญาของท่านพราหมณ์โกณฑัญญะไป เพราะเพียงการฟังเพื่อให้รู้เรื่อง ว่าพระพุทธองค์ตรัสอะไรออกมาบ้างเพียงเท่านี้ ก็คงไม่ต้องเป็นถึงผู้เป็นอุคฆฏิตัญญูบุคคล ถึงจะเข้าใจได้ฉับพลัน คนทั่วไปก็ฟังให้รู้เรื่องได้ และพระสูตรนี้ก็คงมีคนได้อ่านมาแล้วอย่างมากมาย ถ้าหากใช้เกณฑ์ว่าการฟังแล้วฟังรู้เรื่อง เข้าใจเนื้อหาว่ามีอะไรบ้าง คนที่อ่านพระสูตรนี้แล้วคงมีดวงตาเห็นธรรมกันหมด ซึ่งในความเป็นจริงไม่เป็นอย่างนั้น

และข้อความ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา ก็จะเป็นอีกข้อความหนึ่งที่ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า

ทำไมข้อความนี้ ไม่เชื่อมโยงกับคำสอนที่พระพุทธองค์ได้ตรัสจบไป ?
แล้วถ้าเชื่อมต่อได้ เชื่อมต่อได้อย่างไร ?
ข้อความนี้เกี่ยวข้องอย่างไร กับการมีดวงตาเห็นธรรมของท่านโกณฑัญญะ ?
ข้อความนี้ กล่าวขึ้นด้วยจุดประสงค์อะไร ?

สิ่งใดกันแน่ที่ข้อความนี้ กล่าวถึงว่า มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และ ดับไปเป็นธรรมดา ?


5. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าเทวดาบันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม เสียงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ทั้งหมื่นโลกธาตุหวั่นไหว แสงสว่างอันยิ่งใหญ่ ได้ปรากฏแล้วในโลก

อาจแปลความได้ว่า เมื่อพระพุทธองค์ แสดงคำสอนที่เป็นสิ่งนำชีวิตให้เจริญก้าวหน้าแล้ว เหล่าเทวดา ก็ส่งเสียงว่า นั้นคือ คำสอนอันยอดเยี่ยม เสียงขึ้นไปถึงชั้นพรหม จนโลกธาตุหวั่นไหว แสงสว่างมากเกิดขึ้นในโลก

ซึ่งก็จะเกิดมีคำถามขึ้นมาอีกว่า

คำว่าธรรมจักรนี้ หากหมายถึงคำสอนแล้ว ทำไมถึงมากล่าวเอาตอนสุดท้าย ทำไมไม่กล่าวตั้งแต่แรก ?
พวกเทวดาคือใคร ? โผล่มาจากไหน ? ทำไมต้องกล่าวถึง ?
พวกเทวดารู้ได้อย่างไรว่าพระพุทธองค์แสดงธรรมจักร ?
ทำไมโลกธาตุต้องหวั่นไหว ? หวั่นไหวเพราะอะไร ?
แสงสว่างที่ยิ่งใหญ่คืออะไร ? มาจากไหน ? เกิดขึ้นได้อย่างไร ?


6. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญโกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ

แปลความได้ว่า คงเป็นการที่พระพุทธองค์รู้วาระจิตท่านพราหมณ์โกณฑัญญะ ว่า ท่านพราหมณ์โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 11, 2010, 11:33:17 am »


2. ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว เพื่อความตรัสรู้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ แปลความได้ว่า

แนวทางสายกลางที่จะไม่ติด กามคุณ 5 และ การทรมานร่างกาย นั้นตถาคตได้รู้แล้ว ได้แก่ ความเห็นชอบ ความคิดชอบ พูดชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ ความเพียรชอบ ระลึกชอบ มีจิตตั้งมั่นชอบ หมายถึง ให้เลิกจาก การเสพกาม การทรมานตนเสีย ให้มาฝึกฝนใหม่ตามแนวทางทั้งแปดประการ โดยให้ทำสิ่งแปดประการนี้ให้ถูกต้อง คือ ให้มีทัศนคติ ความคิด การพูด การทำงาน การเลี้ยงชีพ ความเพียร มีสติ มีสมาธิ ที่ถูกต้อง

ผู้ฟังก็คงยังฟังอยู่อย่างเฉยๆ ไม่เกิดปฏิกิริยาอะไร ก็ฟังให้เข้าใจไปตามเนื้อความตามธรรมดา แต่อาจเกิดความสงสัยขึ้นว่า ทั้งแปดประการนี้หมายถึงอยู่ระหว่าง กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค ใช่ไหม เพราะพระพุทธองค์กล่าวว่า ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว หากอยู่ระหว่างจริงแล้ว เนื้อหาปฏิปทาสายกลาง แปดประการไปอยู่ระหว่าง การไม่เสพกาม กับ การไม่ทรมานตนเอง ได้อย่างไร ไม่เห็นเนื้อหาจะเกี่ยวกันเลย

สำหรับประเด็น ปฏิปทาสายกลาง นี้ก็มีการพยายามแปลความออกมากันได้หลายแบบ โดยเฉพาะการแปลความออกมาเป็นเรื่องการฝึกจิต คือ สัมมาสมาธิ กับ สัมมาสติ

สัมมาสมาธิ คือการทำจิตให้เป็นกลางไม่ให้จิตเกิด อกุศล หรือ กุศลขึ้น ก็จะฝึกจิตให้สงบโดยทำจิตเข้าไปอยู่กับ ศูนย์กลางใจ หรือ ศูนย์กลางกาย ซึ่งการเข้าใจเช่นนี้ทำให้จิตของคนฝึก เกิดภาวะจิตขึ้น สามลักษณะ ที่เรียกว่า ความสว่าง ความสะอาด ความสงบ

    * ความสว่าง คือ จิตสว่างอยู่กับแสงสีเหลือง ก็เข้าใจว่าการทำจิตเข้าศูนย์กลางใจ กับ ศูนย์กลางกายนั้น คือ ทางสายกลาง เป็นสัมมาสมาธิ ทำให้ตนได้เห็นธรรม คือ แสงสว่างสีเหลือง
    * ความสะอาด คือ จิตสว่างอยู่กับแสงสีขาว หรือ กับภาพนิมิต ก็เข้าใจว่าการทำจิตเข้าศูนย์กลางใจ กับ ศูนย์กลางกายนั้น คือ ทางสายกลาง เป็นสัมมาสมาธิ ทำให้ตนได้เห็นธรรม คือ แสงสีขาว หรือ ภาพนิมิต
    * ความสงบ คือจิตเกิด อุเบกขา เป็นความว่าง เป็นความเป็นกลาง ก็เข้าใจว่าการทำจิตเข้าศูนย์กลางใจ กับ ศูนย์กลางกายนั้น คือ ทางสายกลาง เป็นสัมมาสมาธิ ทำให้ตนได้เห็นธรรม คือ ความว่าง ความเป็นกลาง ไม่ทุกข์ไม่สุข

ซึ่งหากพิจารณาให้ดีแล้ว การทำจิตเข้าศูนย์กลางใจ กับ กายนั้น ล้วนเป็นการฝึกจิตให้สงบแบบสมถะกรรมฐานทั้งสิ้น คือ ให้จิตรวมกับธาตุรู้ จึงทำให้เกิดการสรุปกันว่าธรรมะนั้นคือ ความสว่าง สะอาด สงบ ซึ่งหากเราแปล กามสุขัลลิกานุโยค เป็นเรื่องการทำจิตให้สงบ ความเข้าใจว่า สัมมาสมาธิ คือ การทำจิตเข้าศูนย์กลางใจ กับ ศูนย์กลางกาย นั้นย่อมไม่เกิดขึ้น และก็อย่าลืมว่า หากเราแปลความ แบบที่ 1 ก่อนที่พระพุทธองค์ท่านจะกล่าวถึง ปฏิปทาสายกลางแปดประการ ท่านก็ไม่ได้กล่าวถึงวิธีการฝึกจิตมาก่อน ซึ่งหากเราแปลความว่า สัมมาสมาธิ เป็นการทำจิตให้เป็นกลางที่ศูนย์กลางใจ กลางกาย ก็จะไม่เข้าด้วยเหตุผล เพราะถ้ากล่าวถึงการฝึกจิต ก็ต้องกล่าวตั้งแต่เริ่มเรื่อง การไม่ติดสองส่วน ซึ่งไม่เห็นว่าพระพุทธองค์กล่าวว่า สัมมาสมาธิ คือเป็นการทำจิตเป็นกลางที่ศูนย์กลางใจ กลางกาย ด้วยคำไหน

สัมมาสติ คือ การกำหนดรู้ในอาการ ต่างๆ ของ กาย เวทนา จิต ธรรม ทำให้จิตก็จะอยู่กับสภาพรู้กับอาการต่างๆ ของ กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เกิดขึ้น โดยพยามฝึกทำให้ การเคลื่อนไหวของกายให้ช้าที่สุดเพื่อให้จิตตนเองตามทันการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น จนจิตเกิดภาวะดับมืดไป ก็เข้าใจว่า การดับ คือ การเห็นธรรมะ ซึ่งประเด็นนี้ย่อมไม่เข้ากับ คำกล่าวตอนที่ท่านโกณฑัญญะบรรลุธรรม เพราะท่านกล่าวถึงแสงสว่าง เมื่อเรามาสรุปว่า ธรรมะคือ การดับ จึงย่อมไม่สอดคล้องกับคำกล่าวใน ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร
เมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว วิธีการฝึกสมาธิ ฝึกสติ ที่กล่าวมา ก็ล้วนเป็นวิธีการฝึกจิตที่คิดค้นกันมาทีหลัง หรือ นำเอาจากพระสูตรอื่นมาเพื่อมาตีความให้ คำตรัส ปฏิปทาสายกลาง ในธัมมจักรกัปปวัตนสูตร ให้เข้ากับวิธีการฝึกจิตที่ได้คิดค้นขึ้น หรือ ที่นำมาจากพระสูตรอื่น โดยเฉพาะ มหาสติปัฏฐานสูตร และก็ไม่เคยได้กล่าวถึงกันเลยว่า ในธัมมจักรกัปปวัตนสูตรนี้ มีวิธีการฝึกจิตอยู่