ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 15, 2010, 08:35:04 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 15, 2010, 04:18:40 pm »




การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตนับว่าเป็นบาปอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่มีคุณต่อมนุษย์ เช่น วัว ควาย เป็นต้น ผลจากการฆ่าสัตว์ยังทำให้เกิดมามีอายุสั้นอีกด้วย ในหลายกรณีผลกรรมก็สามาถส่งผลทันตาเห็นในชาติปัจจุบัน และบ่อยครั้งจะเห็นผลได้ชัดในเวลาใกล้จะตาย เรื่องของลุงหวดเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของเพชฌฆาตที่กรรมส่งผลทันทีในชาติปัจจุบัน
       
       ลุงหวดเป็นชาวนาอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ปกติแกเป็นคนใจดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ใครขอให้ช่วยอะไร แกก็ไม่เคยปฏิเสธ เพราะรู้สึกเกรงใจ แต่การเกรงใจ ของลุงหวดโดยไม่คำนึงถึงความถูกผิดนี้ ก็เป็นสาเหตุให้แกได้รับกรรมไม่ดี เรื่องก็มีอยู่ว่า
       
       ตามปกติแล้ว ชาวบ้านในต่างจังหวัด หากในหมู่บ้านมีงานแต่งงาน งานบวช หรืองานประจำหมู่บ้านก็ตาม ก็มักจะฆ่าสัตว์ใหญ่ เช่น หมู วัว ควาย เป็นต้น เพื่อนำมาทำอาหารเลี้ยงแขก หากบ้านไหนไม่ทำก็เป็นเรื่องแปลกประหลาดและรู้สึกเสียหน้า ที่ไม่มีอาหารดีๆ เลี้ยงแขก การฆ่าสัตว์ใหญ่จึงกลายเป็นประเพณีท้องถิ่นไปโดยอัตโนมัติ
       
       ในความรู้สึกของคนทั่วไปย่อมบอกว่า งานทำบุญต่างๆ นั้นไม่ควรจะฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่สำหรับชาวบ้านที่ยึดถือประเพณีสืบต่อกันมานานนั้น ยากที่จะเปลี่ยนความคิดได้ แม้บางคนไม่เห็นด้วย แต่ก็ต้องทำตามสังคม เพื่อไม่ให้ถูกตำหนิติเตียน แต่การฆ่าสัตว์ในงานต่างๆ ของหมู่บ้านนั้น ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเพชฌฆาต เพราะจะมีคนหนึ่งเป็นเพชฌฆาตประจำหมู่บ้านมาช่วยจัดการ
       
       เดิมทีลุงหวด ไม่ได้เป็นเพชฌฆาตประจำหมู่บ้าน แต่เวลามีงานแกมักจะไปดูว่าเขาฆ่าวัวฆ่าควายกันอย่างไร ตอนแรกแกรู้สึกหวาดเสียวที่เห็นเขาฆ่าสัตว์อย่างทารุณ แต่เมื่อได้เห็นบ่อยครั้งจึงเริ่มรู้สึกเคยชินกับการฆ่ามากขึ้นเรื่อยๆ อยู่มาวันหนึ่ง นายสมาน เพชฌฆาตประจำหมู่บ้านเกิดเจ็บป่วย ไม่สามารถไปฆ่าควายให้ชาวบ้านได้ จึงต้องหาคนทำหน้าที่แทน ในที่สุดชาวบ้านจึงขอให้ลุงหวดช่วยจัดการ เพราะเห็นแกมาร่วมฆ่าสัตว์อยู่บ่อยๆเมื่อโอกาสมาถึง ลุงหวดก็ได้ลิ้มรสของการเป็นเพชฌฆาต อย่างเต็มตัว
       
       ลุงหวดเล่าให้ฟังว่า ครั้งแรกรู้สึกตื่นเต้นอยู่เหมือนกัน กลัวๆ กล้าๆ แต่เมื่อได้ดื่มเหล้าที่เพื่อนๆ ส่งมา ทำให้ใจกล้ามากขึ้น แกดื่มเหล้าจนเริ่มรู้สึกมึน และยิ่งมีเพื่อนยุให้ทำมากเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มความกล้ามากขึ้นเท่านั้น ในที่สุด แกก็จับมีดปลายแหลมขึ้นมา และบอกให้คนอื่นๆ ช่วยกันผูกควายและจับให้แน่น เพื่อไม่ให้มันดิ้นมาก เมื่อควายอยู่ในสภาพที่นิ่งสนิทแล้ว ลุงหวดก็ใช้มีดปลายแหลมแทงไปที่คอของมันเต็มแรง!! ควายจึงร้องและดิ้นรนสุดขีดด้วยความเจ็บปวด เลือดของมันค่อยๆไหลลงกะละมังที่นำมารองไว้ ลุงหวดจึงแทงซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้เลือดของมันไหลออกมามากขึ้น มันจะได้ตายเร็วๆ!!
       
       ควายแก่ตัวนี้ดิ้นอยู่สักพัก จึงขาดใจตาย ทุกคนที่ไปร่วมฆ่าก็ไชโยโห่ร้อง เหมือนกับว่าภารกิจสำคัญของพวกเขาได้เสร็จสิ้นลงแล้ว แต่ลุงหวดเล่าให้ฟังว่าตอนนั้นแกได้มองเห็นตาของควาย ดูเหมือนว่ามันมีน้ำตาไหลออกมาตลอดก่อนที่มันจะขาดใจตาย แต่ช่วงนั้นแกไม่ได้รู้สึกสะทกสะท้านอะไร เพราะอยู่ในอาการมึนเมา ใจจึงหยาบกระด้าง
       
       หลังการเป็นเพชฌฆาตครั้งแรกผ่านไป ลุงหวดก็เริ่มมีความเชี่ยวชาญฆ่าวัวฆ่าควายมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งที่มีงานใหญ่ในหมู่บ้าน แกก็จะรับอาสาเป็นเพชฌฆาต แกมีชีวิตเป็นเพชฌฆาตอยู่อย่างนั้นหลายปีทีเดียว จนดูเหมือนว่าการฆ่าสัตว์จะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาของแก ยิ่งฆ่าสัตว์ใหญ่ได้มากเท่าใด ใจของแกก็ยิ่งกระด้างมากขึ้นเท่านั้น แม้ว่าแกจะไปวัดอยู่บ้าง แต่ก็เหมือนกับว่า มีอะไรมาปิดบังดวงตาแห่งปัญญา ไม่ให้มองเห็นผิดชอบชั่วดี หลายครั้งภรรยาของแกได้ขอร้อง ไม่อยากให้แกทำ เพราะกลัวกรรมจะตามสนอง แต่ลุงหวดก็ไม่สนใจใยดี คิดว่าผลกรรมอย่างนั้นคงไม่มีจริงหรอก ไม่มีวัวควายตัวไหนที่จะพื้นขึ้นมาแทงคอเขาได้
       
       แต่สิ่งที่ลุงหวดคิดนั้นผิดถนัด เพราะว่าการทำงานของกฎแห่งกรรมบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องให้ผลตรงๆ คือ เราฆ่าวัวฆ่าควายแล้ววัวควายจะฟื้นกลับมาฆ่าเรา เป็นต้น แต่มันจะแสดงออกมาในรูปแบบอื่น ที่อาจจะละม้ายคล้ายกับที่เราทำไว้แล้ว กรณีของลุงหวดเป็นอีกกรณีหนึ่งที่ผลแห่งกรรมได้สนองแกอย่างแยบยล และแสดงออกมาคล้ายกับกรรมที่แกได้กระทำไว้
       
       หลังจากที่ได้ฆ่าสัตว์ใหญ่อยู่หลายปี ลุงหวดก็เริ่มแก่ชรามากขึ้นเรื่อยๆ บ่อยครั้งแกหน้ามืดเหมือนกับว่าจะเป็นลม วันหนึ่งลุงหวดเดินไปที่ทุ่งนา เพื่อจะไปทำนาตามปกติ แกก็เกิดหน้ามืดขึ้นมากะทันหัน จึงค่อยๆเซล้มลงไป และคอของแกได้เสียบเข้ากับเหล็กแหลมที่ปักดินอยู่ตรงนั้นพอดี (ไม่รู้ว่าเหล็กนี้มาปักอยู่ข้างถนนในทุ่งนาได้อย่างไร) มันเสียบเข้าคอลุงหวดลึกพอสมควร แกดิ้นทุรนทุรายร้องโหยหวนอยู่คนเดียวกลางทุ่งนาอันกว้างใหญ่ แต่ไม่มีใครเดินผ่านมาสักคน!!
       
       เลือดของลุงหวดไหลออกมาไม่หยุด ทำให้แกหมดแรงลงเรื่อยๆ ในตอนนั้นสิ่งที่แกนึกขึ้นมาในใจก็คือ ภาพของวัวควายที่ตนเองเคยใช้มีดแหลมแทงคอนั่นเอง
ซึ่งแกก็ไม่รู้ว่าทำไมต้องนึกถึงมันด้วย จึงพยายามจะห้ามความคิดนี้ แต่ก็ห้ามไม่ได้ ในที่สุดลุงหวดก็สิ้นสติด้วยความเจ็บปวดอยู่ตรงนั้น กระทั่งพักใหญ่ๆมีชาวบ้านผ่านมาเห็นเข้า จึงช่วยนำตัวส่งโรงพยาบาล
       
       เมื่อถึงมือหมอ ลุงหวดก็ฟื้นคืนสติขึ้นมาอีกครั้ง แต่ในจิตใจของแกนั้นเป็นทุกข์หนักยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด เพราะนึกถึงแต่กรรมที่ตนเองเคยกระทำไว้ บางครั้งแกก็ละเมอร้องเหมือนเสียงวัวเสียงควาย จนพยาบาลรู้สึกแปลกใจ แต่ถึงแม้ว่าแพทย์และพยาบาลจะพยายามช่วย กันรักษาลุงหวดอย่างสุดความสามารถ แต่ก็ไม่สามารถยื้อ ชีวิตแกไว้ได้ ในที่สุดแกก็ขาดใจตายอย่างทุรนทุราย!!
       
       การทำกรรมชั่วนั้น ยิ่งทำมากเท่าไหร่ ใจก็จะหยาบกระด้างมากขึ้นเท่านั้น เหมือนกับกรณีของลุงหวด ที่ทำเพียงแค่อยากลอง แต่ในที่สุดก็กลายเป็นเพชฌฆาตเสียเอง และมีใจหยาบกระด้างจนรู้สึกว่า การฆ่าสัตว์นั้นเป็นของปกติธรรมดาไป ในที่สุดแกจึงได้รับผลแห่งกรรม สมกับที่กระทำไว้นั้นเอง
       
       (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 121 ธันวาคม 2553 โดย มาลาวชิโร)

 
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9530000170623